"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
 
มกราคม 2553
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
4 มกราคม 2553
 
All Blogs
 
คลองดำเนินสะดวก อายุยืนยาวมา 144 ปีแล้วค่ะ

...






คลองดำเนินสะดวก เป็นคลองเชื่อมระหว่างแม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำแม่กลองเข้าด้วยกัน โดยในสมัยโบราณการคมนาคมขนส่งทั่วไป จะเป็นทางบก ใช้สัตว์หรือเกวียน ทางเรือมีใช้บ้างเป็นส่วนน้อย เพราะท้องที่อำเภอดำเนินสะดวกในสมัยก่อนเป็นที่ไร่

นอกนั้นก็เป็นต้นเสือหมอบและดงไผ่ แต่ก็ไม่ได้ขึ้นเป็นป่าทึบ ที่ดินสูงจากน้ำทะเลเพียงประมาณ 3 ฟุต เรียกกันว่าโคกไผ่ (ตำบลดอนไผ่ในปัจจุบัน) ไม่มีคลองมากมายเหมือนเช่นในปัจจุบัน


ประวัติ

จุดเริ่มต้นของคลองเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2409 ร.ศ.89 ปีขาล อัฐศก ร.ศ.85 จ.ศ.1228 เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้ทรงพระราชดำริ เห็นว่าการคมนาคมที่ไปมาระหว่างพระนครกับสมุทรสาครมีคลองภาษีเจริญที่ทำการสัญจรไปมาได้สะดวกดี

แต่ถ้ามีคลองระหว่างกรุงเทพฯ สมุทรสงคราม และราชบุรีก็จะสะดวกขึ้นอีกเป็นอันมาก โดยอาศัยแม่น้ำแม่กลองเป็นสื่อกลาง เมื่อมีคลอง การไปมาหาสู่ทางน้ำก็จะมีความสะดวกคล่องตัวมากยิ่งขึ้น

ในปี พ.ศ. 2409 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ที่พระสมุหกลาโหม เป็นผู้อำนวยการขุดคลองที่เชื่อมจากแม่น้ำท่าจีนเริ่มจากปากคลองบางยาง ตำบลบางยาง อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร

กับแม่น้ำแม่กลอง ตำบลบางนกแขวก อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสง คราม โดยมีสมเด็จพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เป็นผู้ควบคุมดูแล และใช้กำลังของทหาร ข้าราชการ ชาวบ้าน รวมถึงชาวจีนที่มาอาศัยอยู่ในเมืองไทยใหม่ๆ ร่วมกันขุด

โดยใช้กำลังของคนล้วนๆ กลางคืนจะทำการขุดทั้งคืนเพราะอากาศไม่ร้อน ใช้วิธีขุดดินขึ้นระยะหนึ่งแล้วเว้นไว้ระยะหนึ่ง พอน้ำหลากมาก็เซาะดิน ที่ไม่ได้ขุดพังไป เมื่อขุดคลองสำเร็จแล้ว จึงนำแผนขึ้นทูลเกล้า ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4

ซึ่งทรงเห็นว่าเป็นคลองที่มีเส้นตรง ได้รับความสะดวกในการสัญจร จึงทรงพระราชทานนามคลองที่ขุดใหม่นี้ว่า “ คลองดำเนินสะดวก ” และได้ทำพิธีเปิดใช้คลองนี้เมื่อวันจันทร์ เดือน 7 ขึ้น 4 ค่ำ ตรงกับวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2411

หลังจากนั้นตลิ่งก็ถูกน้ำกัดเซาะ ซึ่งเป็นผลจากคลื่นเรือยนต์ประเภทต่างๆ ทำให้คลองขยายกว้างเป็น 10 วาถึง 20 วา ด้วยขนาดและความยาวของคลอง ประกอบกับเป็นคลองตัดตรงไปยังหลายพื้นที่ ทำให้มีเจ้านายผู้ใหญ่หลายคนมาจับจองที่ดินซึ่งรกร้าง พร้อมขุดคลองซอยแยกจากคลองใหญ่เพื่อเข้าสู่พื้นที่ของตน พื้นที่รกร้างเหล่านั้นจึงกลายเป็นเรือกสวนไร่นา

งบประมาณในการขุดคลองดำเนินสะดวก

งบประมาณในการขุดคลองดำเนินสะดวก ใช้งบประมาณ 1,400 ชั่ง เป็นเงิน 112,000 บาท โดยเป็นทรัพย์สินของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จำนวน 400 ชั่ง สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ จำนวน 1,000 ชั่ง

และเนื่องจากสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ รัชกาลที่ 4 จึงทรงอนุญาตให้ท่านและคนในสายสกุลบุนนาคเข้าจับจองที่ดิน 2 ฝั่งคลองเป็นจำนวนมาก

สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ยังได้สร้างวัดขึ้นแห่งหนึ่งเป็นอนุสรณ์ชื่อว่า วัดปราสาทสิทธิ์ธิดาราม กับปราสาทหลังเล็กๆริมคลอง วัดนี้ถือเป็นวัดแรกริมฝั่งคลองดำเนินสะดวก ปัจจุบันตั้งอยู่เกือบกึ่งกลางความยาวของคลอง ในเขตตำบลปราสาทสิทธิ์

การคมนาคมขนส่ง

หลังจากที่เปิดใช้คลองดำเนินสะดวกแล้ว คลองก็เต็มไปด้วยเรือนานาชนิดที่สัญจรไปมาไม่เว้นแม้แต่กลางคืน ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพญี่ปุ่นได้ใช้คลองดำเนินสะดวกเป็นเส้นทางเดินทางไปยัง จ.ราชบุรี

หลังจากนั้นคลองดำเนินสะดวกเป็นเส้นทางหลักที่สำคัญที่สุดในการสัญจรไปมาของชาวบ้านมาอย่างยาวนาน จนกระทั่งภายหลังมีการตัดถนนใหม่ๆ ย่นระยะทางให้สั้นลง และเข้าถึงทุกที่ ในขณะที่คลองซอย ซึ่งมีมากถึง 200 สาย นั้นเริ่มตื้นเขิน และค่อยๆ เลิกใช้ไปทีละสาย ชาวบ้านต่างหันมาใช้ถนนแทน

ประตูน้ำของคลองดำเนินสะดวกมี 2 แห่ง คือประตูน้ำบางยาง ในอ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร และประตูน้ำบางนกแขวก ในอ.บางคนที จ.สมุทร สงคราม ทั้ง 2 แห่งกว้าง 6 เมตร สูง 5 เมตร สร้างขึ้นเป็นทางปล่อยเรือเข้าออกคลองซึ่งมีมากมายในสมัยก่อน

และยังสามารถกั้นน้ำเค็มที่จะทำลายผลผลิตของชาวบ้านได้อีกด้วย ประตูน้ำทั้ง 2 แห่งได้ถูกทำลายลงในปี พ.ศ. 2488 จากระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตรเพื่อขัดขวางการเดินเรือของญี่ปุ่น อย่างไรก็ตามประตูน้ำทั้ง 2 แห่งก็ได้รับการสร้างขึ้นมาใหม่เช่นเดิมในปีพ.ศ. 2489

ความยาวและหลักเขต

ความยาวของคลองดำเนินสะดวกนั้น เป็นที่ถกเถียงกันมาอย่างยาวนาน เพราะเดิมทีเมื่อเริ่มขุดคลองไม่ได้ขุดจากแม่น้ำท่าจีนไปถึงแม่น้ำแม่กลอง หากแต่มีคลองบางยางแยกจากแม่น้ำท่าจีนลึกเข้าไป 3.8 กิโลเมตร

เมื่อขุดจึงขุดจากต้นคลองบางยางไปออกแม่น้ำแม่กลอง มีประตูน้ำกั้นคลองบางยางกับคลองขุดใหม่ ถ้านับตามนี้จะมีความยาว 840 เส้น (32กิโลเมตร) แต่ถ้านับเริ่มตั้งแต่ที่แม่น้ำท่าจีนแล้วจะยาว 895 เส้น (35.8 กิโลเมตร)

ธรรมดาของคลองสมัยโบราณจะมีหลักเขตเพื่อบอกที่อยู่ที่แน่ชัดของผู้คนริมคลอง มีเสาหินสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ 10 x 10 นิ้ว ปักไว้ที่พื้นดิน หลักเขตจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความยาวของคลอง คือ หลักละ 100 เส้น (8 กิโลเมตร) สำหรับคลองดำเนินสะดวกนั้น มีหลักทั้งหมด 8 หลัก

หลักที่ 1 อยู่ในเขตคลองบางยางเดิม จุดเริ่มต้นจากประตูน้ำบางยาง นับเป็นระยะทางได้ 100 เส้น (4 กิโลเมตร) มีเสาหินสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ 8x8 นิ้ว ปักไว้ที่พื้นดินริมคลองดำเนินสะดวก สูงจากพื้นดินขึ้นไป 1 วา สลักเลข 1

เพื่อเป็นสัญลักษณ์บอกให้ทราบ จากประตูน้ำบางยางซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นคลองดำเนินสะดวกที่อยู่ติดกับแม่น้ำท่าจีน จนถึงเสาหินเลขที่ 1 เรียกว่าหลักหนึ่ง อยู่ในเขตอำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร โดยทั่วไปมักเรียกว่า คลองบางยาง

หลักที่ 2 เริ่มนับระยะทางจากเสาหินเลขที่ 1 ไปอีก 100 เส้น (4 กิโลเมตร) มีเสาหินลักษณะเดียวกันแต่สลักหมายเลข 2 เป็นสัญลักษณ์ปักไว้ริมคลองดำเนินสะดวก เรียกว่าหลักสอง ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร

หลักที่ 3 เริ่มนับระยะทางจากเสาหินเลขที่ 2 ไปอีก 100 เส้น มีเสาหินลักษณะเดียวกันแต่สลักหมายเลข 3 เป็นสัญลักษณ์ปักไว้ริมคลองดำเนินสะดวก พื้นที่ระหว่างเสาหินเลข 2 ถึงเสาหินเลข 3 เรียกว่าหลักสาม ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร

หลักที่ 4 เริ่มนับระยะทางจากเสาหินเลขที่ 3 ไปอีก 100 เส้น มีเสาหินลักษณะเดียวกันแต่สลักหมายเลข 4 เป็นสัญลักษณ์ปักไว้ริมคลองดำเนินสะดวก พื้นที่ระหว่างเสาหินเลข 3 ถึงเสาหินเลข 4 เรียกว่าหลักสี่ ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร

ส่วนมากชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าวมักเรียกชุมชนตนเองตามหมายเลขเสาหิน เช่น ชาวหลักสี่ ชื่อโรงเรียนหรือวัด ก็มักจะเรียกตามไปด้วย เช่น โรงเรียนหลักสี่ราษฎร์สโมสร หรือวัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร ซึ่งมีหลวงพ่อโตที่พุทธศาสนิกชนทั่วไปให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างมาก

หลักที่ 5 เริ่มนับระยะทางจากเสาหินเลขที่ 4 ไปอีก 100 เส้น มีเสาหินลักษณะเดียวกันแต่สลักหมายเลข 5 เป็นสัญลักษณ์ปักไว้ริมคลองดำเนินสะดวก พื้นที่ระหว่างเสาหินเลข 4 ถึงเสาหินเลข 5 เรียกว่าหลักห้า ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร

ส่วนมากชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าวมักเรียกตนเองว่า ชาวหลักห้า และมักเรียกชื่อโรงเรียนหรือวัด ตามหลักเขตดังกล่าวไปด้วย เช่น วัดหลักห้า หรือวัดปราสาทสิทธิ์นั่นเอง

ซึ่งมีองค์หลวงพ่อไตรรัตน์โรจน์ฤทธิ์ ซึ่งประชาชนทั่วไป ชาวไทย ชาวลาว และชาวจีนที่อาศัยอยู่ในชุมชนและใกล้เคียงให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างมาก จะมีการแห่องค์หลวงพ่อไตรรัตน์โรจน์ฤทธิ์ทางเรือ เพื่อให้พุทธศาสนิกชนในคลองดำเนินสะดวกได้สักการบูชาเป็นประจำทุกปี

หลักที่ 6 เริ่มนับระยะทางจากเสาหินเลขที่ 5 ไปอีก 100 เส้น มีเสาหินลักษณะเดียวกันแต่สลักหมายเลข 6 เป็นสัญลักษณ์ปักไว้ริมคลองดำเนินสะดวก พื้นที่ระหว่างเสาหินเลข 5 ถึงเสาหินเลข 6 เรียกว่าหลักหก ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี

หลักที่ 7 เริ่มนับระยะทางจากเสาหินเลขที่ 6 ไปอีก 100 เส้น มีเสาหินลักษณะเดียวกันแต่สลักหมายเลข 7 เป็นสัญลักษณ์ปักไว้ริมคลองดำเนินสะดวก พื้นที่ระหว่างเสาหินเลข 6 ถึงเสาหินเลข 7 เรียกว่าหลักเจ็ด ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี

หลักที่ 8 เริ่มนับระยะทางจากเสาหินเลขที่ 7 ไปอีก 100 เส้น มีเสาหินลักษณะเดียวกันแต่สลักหมายเลข 8 เป็นสัญลักษณ์ปักไว้ริมคลองดำเนินสะดวก พื้นที่ระหว่างเสาหินเลข 7 ถึงเสาหินเลข 8 เรียกว่าหลักแปด ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี

จากเสาหินหมายเลข 8 มีระยะทางของคลองดำเนินสะดวกอีกประมาณ 40 เส้น จึงจะถึงประตูน้ำบางนกแขวกหรือประตูน้ำหลักแปด ซึ่งเป็นประตูน้ำที่เปิดปิดเพื่อเข้าออกสู่แม่น้ำแม่กลอง ซึ่งอยู่ในเขต ตำบลบางนกแขวก อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม ชาวบ้านมักเรียกว่าคลองบางนกแขวก

นอกจากนั้นยังมีเสาหินสี่เหลี่ยมสลักเลข 0 อีกเสาหนึ่ง ตั้งอยู่ห่างจากประตูน้ำบางยาง 1 ก.ม. เลยประตูน้ำบางยางออกไป 55 เส้น ซึ่งจะแตกต่างไปจากเสาหินหมายเลข 1-8 ที่สลักตัวเลขเป็นเลขไทย เลขโรมัน และเลขจีน

ในขณะที่เสาหินนี้สลักเป็นเลขไทยเท่านั้น ระยะทางในช่วงนี้จะไม่มีใครเรียกว่าหลักศูนย์เลย แต่จะเรียกกันว่าปากคลองบางยาง อย่างไรก็ตามบริเวณหลักศูนย์นี้โดยทั่วไปไม่นับว่าอยู่ในส่วนของคลองดำเนินสะดวก เพราะตั้งอยู่นอกประตูน้ำบางยางออกไป

ตลาดน้ำในคลองดำเนินสะดวก

สมัยก่อนตลาดน้ำจะมีเพียงไม่กี่ครั้งใน 1 เดือน เพราะน้ำจะขึ้นลงตลอดเวลา จึงจำเป็นต้องมีตลาดน้ำมากมายหลายแห่งในละแวกเดียวกัน โดยมากจะมีติดๆ กัน เรียกว่า นัด ดังนั้นคลองดำเนินสะดวกจึงเป็นที่ตั้งของตลาดน้ำหลายแห่ง

ตลาดน้ำที่เกิดขึ้นเป็นแห่งแรกคือ ตลาดน้ำดำเนินสะดวก ปากคลองลัดราชบุรี หรือคลองลัดพลี เป็นคลองที่ลัดเข้าตัวจังหวัดราชบุรีได้โดยไม่ต้องผ่านประตูน้ำ แต่เดิมมีชื่อเรียกว่า นัดศาลาห้าห้อง นัดศาลาแดง หรือนัดหลักแปด

เพราะเดิมสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ให้ปลูกศาลาเป็นไม้มี 5 ห้อง หลังคามุงกระเบื้องสีแดง เป็นที่พักคนงาน มีผู้คนหนา ต่อมากลายเป็นตลาดสำคัญคู่กับนัดปากคลอง (นัดปากคลองมีวัน 1 , 6 และ 11 ค่ำ นัดดำเนินสะดวกมีวัน 2, 7 และ 12 ค่ำ)

นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2447 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ยังได้เสด็จประพาสต้นตลาดน้ำแห่งนี้อีกด้วย ตลาดน้ำคลองลัดพลีในปัจจุบันได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ อยู่ตรงข้ามกับตลาดน้ำคลองต้นเข็ม ซึ่งเป็นที่รู้จักและโด่งดังไปทั่วโลก

เป็นตลาดที่เกิดขึ้นมาใหม่ นอกจากนั้นก็ยังมีตลาดน้ำคลองโพธิ์หัก ตลาดน้ำบ้านแพ้วและตลาดน้ำเล็กๆ แห่งอื่นอีกด้วย ตลาดน้ำที่สำคัญในคลองดำเนินสะดวกได้แก่

ตลาดน้ำดำเนินสะดวก(คลองลัดพลี)
ตลาดน้ำดำเนินสะดวก(คลองต้นเข็ม)
ตลาดน้ำหลักห้า
ตลาดน้ำบ้านแพ้ว

ลำคลองสาขา
คลองลัดพลี
คลองขุนพิทักษ์

คลองต้นตาล
คลองตาหลวง
คลองบางคนที

สถานที่สำคัญริมคลองดำเนินสะดวก

วัดปราสาทสิทธิ์
วัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


สิริสวัสดิ์จันทรวาร ปรีดิ์มานกมลโรจน์ค่ะ


Create Date : 04 มกราคม 2553
Last Update : 4 มกราคม 2553 8:08:34 น. 0 comments
Counter : 1328 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.