♥ หน้าตา คือหน้าต่าง....สื่อท่าทาง..จาก..จิตใจ ♥
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2554
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
16 ตุลาคม 2554
 
All Blogs
 

นาทีที่ต้องพูดความจริง

วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2554 เวลา 14:00:29 น.


(ที่มา : มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 14 ตุลาคม 2554 หน้า 10)





นาทีนี้ คนกรุงเทพฯโดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร (กทม.) รอบนอกแนวคันกั้นน้ำต่างหวาดผวาไม่เป็นอันหลับนอน เพราะกลัวว่าเมื่อตื่นขึ้นมา บ้านจะเจิ่งนองไปด้วยน้ำ



เข้าไปคุยกับ อาจารย์ศศิน เฉลิมลาภ เลขาธิการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร ในฐานะนักธรณีวิทยาคนหนึ่งของเมืองไทย ชี้แนะการจัดการเรื่องน้ำท่วมในเมืองหลวงอย่างน่าสนใจว่า กทม.ทำทุกอย่างเรื่องการจัดการน้ำได้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้แล้ว แต่ กทม.ยังไม่คิดจะจัดการเรื่องคนที่จะต้องได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมเลย

"เวลานี้คนกรุงเทพฯจะมี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่คิดว่าน้ำท่วมแน่ๆ จึงตื่นตระหนก หวาดกลัว ไม่เป็นอันทำอะไร โทรศัพท์หาเพื่อน หาที่พึ่งพิงทางใจ และกักตุนอาหาร กับกลุ่มที่มั่นใจว่าน้ำไม่ท่วมแน่นอน เพราะไม่เคยเห็น และไม่รู้ข้อมูลว่ามันจะท่วมจริงๆ หรือมีโอกาสท่วม สิ่งที่ผมอยากให้ กทม.โดยเฉพาะทีมผู้บริหารดำเนินการคือ ให้ข้อมูลทุกอย่างตามความเป็นจริง ออกแถลงข่าวให้คน กทม.ทราบ" อ.ศศินกล่าว

ในเรื่องของการจัดการ "คน" ที่จะต้องได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ กทม.จะต้องรีบทำอย่างเร่งด่วน แม้ว่าทำตอนนี้อาจจะช้าไป เพราะในอีกไม่กี่วันข้างหน้าหลายพื้นที่ใน กทม.น้ำต้องท่วม ก็ดีกว่าไม่จัดการอะไรเลย "สร้างเครือข่ายในพื้นที่ ชุมชน เพื่อเตรียมพร้อม หากประชาชนเกิดความเดือดร้อน ต้องการความช่วยเหลือเรื่องอาหาร น้ำดื่ม ยารักษาโรค หรือการเดินทางสัญจรไปมา"

อ.ศศินบอกว่า มั่นใจว่าความตื่นตระหนกหรือการเมินเฉยกับเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นของคน กทม.ที่ผ่านมาเกิดจากการขาดการสื่อสารของคณะผู้บริหารที่มีต่อประชาชนนั่นเอง

หวังว่าคำเสนอแนะเช่นนี้ ผู้บริหาร กทม.คงจะรับฟังและนำไปพิจารณาปฏิบัติ เพื่อให้ประชาชนปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง

ขณะเดียวกัน มีข้อมูลหนึ่งที่น่าสนใจ นำมาพิจารณา สำหรับการปฏิบัติตัวของชาว กทม. เป็นข้อมูลการประเมินความเสี่ยงโดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของพื้นที่ ที่อาจจะเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมในเขต กทม.ของบริษัททีม ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษา รับดำเนินการสำรวจวิจัย ข้อมูลเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านน้ำ แก่หน่วยงานราชการและภาคเอกชนต่างๆ สำหรับการเตรียมความพร้อมรับมือปัญหาอุทกภัยดังนี้ (ดูประกอบแผนที่)

สีแดง พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม ระดับที่ 3 หรือเสี่ยงสูงสุด เป็นพื้นที่น้ำท่วมแน่นอน พื้นที่ที่อยู่นอกคันกั้นน้ำพระราชดำริ น้ำจะท่วมสูงประมาณ 1-2 เมตร จะท่วมนานประมาณ 1-2 เดือน จำเป็นต้องอยู่กับน้ำให้ได้ หรืออพยพไปอยู่ที่อื่น

พื้นที่เสี่ยงระดับ 3 ทางตะวันออกของกรุงเทพฯนี้ จะเป็นทางที่น้ำจะหลากจากแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำป่าสัก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ลงสู่ทะเลโดยน้ำจะใช้เวลาในการเดินทางมาก ได้แก่ พื้นที่บริเวณอำเภอวังน้อย อำเภอหนองเสือ ทางตะวันออกของอำเภอธัญบุรี พื้นที่ทางตะวันออกของเขตหนองจอก อำเภอบางน้ำเปรี้ยว และพื้นที่ฝั่งตะวันออกของคลองพระองค์ไชยานุชิต

คันป้องกันน้ำท่วมต่างๆ มีแนวโน้มว่าจะไม่สามารถป้องกันได้ และหากมีน้ำรั่วเข้ามาในพื้นที่ใดก็จะมีระดับน้ำท่วมสูง 1.0-2.0 เมตร แล้วแต่ความสูงต่ำของแต่ละพื้นที่

พื้นที่เสี่ยงระดับ 3 ด้านตะวันตกของกรุงเทพฯ ได้แก่ อำเภอลาดบัวหลวง อำเภอลาดหลุมแก้ว อำเภอสามโคก อำเภอเมืองปทุมธานี อำเภอบางใหญ่ และพื้นที่ด้านตะวันตกของถนนกาญจนาภิเษก ที่อยู่เหนือคลองมหาสวัสดิ์ขึ้นไป และพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำท่าจีน การเตรียมตัว ให้ขนย้ายทรัพย์ขึ้นที่สูงไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร จอดรถยนต์ไว้ในที่สูง และติดตามข่าวอย่างใกล้ชิด

สีเหลืองเข้ม พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม ระดับที่ 2 เป็นพื้นที่มีความเสี่ยงสูง เป็นพื้นที่ที่น้ำเคยท่วมเมื่อปี 2538 ซึ่งเป็นปีน้ำท่วมสูงสุด เป็นพื้นที่รัฐบาลพยายามป้องกันไม่ให้น้ำเข้าท่วม หากป้องกันไม่ได้ คันจะพัง น้ำจะมาเร็วและแรง ดังนั้นให้ติดตามข่าวและติดตามระดับน้ำในคลองตลอดเวลา หากมีรั่วเข้ามาท่วมได้ น้ำจะท่วมสูงประมาณ 1-2 เมตร และจะท่วมนานประมาณ 1-2 เดือน

พื้นที่เสี่ยงระดับ 2 ฝั่งตะวันออก ได้แก่ พื้นที่ฝั่งตะวันออกของ อ.เมืองปทุมธานี อ.คลองหลวง พื้นที่ที่อยู่เหนือคลองรังสิตประยูรศักดิ์ พื้นที่ที่อยู่เหนือถนนสายไหม และพื้นที่ด้านตะวันออกของถนนหทัยราษฎร์ ถนนร่มเกล้า ถนนกิ่งแก้ว และพื้นที่ด้านตะวันออกของถนนบางบำหรุไปบางพลี

พื้นที่เสี่ยงระดับ 2 ฝั่งตะวันตกได้แก่ พื้นที่ จ.นนทบุรี ที่อยู่ทางตะวันออกของถนนกาญจนาภิเษก มาถึงแม่น้ำเจ้าพระยา พื้นที่ อ.สามพราน ที่อยู่ใต้คลองมหาสวัสดิ์ ที่อยู่ห่างจากแม่น้ำท่าจีน อ.กระทุ่มแบน อ.เมืองสมุทรสาคร ที่อยู่ห่างจากแม่น้ำท่าจีน และพื้นที่ด้านตะวันตกของเขตจอมทอง การเตรียมตัว ให้เตรียมย้ายของมีค่าขึ้นที่สูง เตรียมวางแผนหาที่จอดรถยนต์ในที่สูงและติดตามข่าวและเฝ้าระวังใกล้ชิด

สีเหลืองอ่อน พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมระดับที่ 1 เป็นพื้นที่มีความเสี่ยงปานกลาง ได้แก่ พื้นที่ฝั่งตะวันออกของ จ.นนทบุรี กทม. และ จ.สมุทรปราการ ที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่เสี่ยงระดับ 2 และ 3 ดังกล่าวข้างต้น พื้นที่นี้หากมีการท่วม น้ำจะท่วมสูงประมาณ 0.50 เมตร การเตรียมตัวนั้นขอให้ติดตามข่าวและเฝ้าระวัง

พิจารณาเอาไว้ เป็นอีก 1 ข้อมูล ไม่เสียหลาย...

"นาทีที่ต้องพูดความจริง




 

Create Date : 16 ตุลาคม 2554
1 comments
Last Update : 16 ตุลาคม 2554 4:54:39 น.
Counter : 1167 Pageviews.

 

น้ำท่วมนั้นเพราะใครกัน...

บทความ : จากแสนแสบถึง ผดุงกรุงเกษม

วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ.2554 07:54 น.




ยามนี้ ถ้าไม่พูดถึงสถานการณ์น้ำท่วมเมืองสยาม คงต้องตกยุคตกสมัยเป็นแน่แท้

โดนกันอย่างทั่วหน้าทุกภูมิภาคของประเทศไทย หนักที่สุดตอนนี้คงต้องยกให้กับภาคกลาง ไล่มาตั้งแต่ "จ.นครสวรรค์ อุทัยธานี ลพบุรี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี และ นนทบุรี" ส่วนทางภาคตะวันตก อย่าง จ.สุพรรณบุรี และ นครปฐม ก็โดน แต่ยังไม่มากนัก

เหตุที่ทางภาคตะวันตกยังประสบปัญหาน้ำท่วมไม่หนักนั้น ไม่รู้ว่าจะชื่นชม "บิ๊กเติ้ง บรรหาร ศิลปอาชา" ดีหรือเปล่า มันก็ดีหรอกนะที่น้ำไม่ท่วมบ้านตัวเอง แต่มันจะดีจริงเหรอที่น้ำไปทะลักเข้าบ้านคนอื่น ทั้งๆ ที่ช่วยได้ แต่ก็ไม่ช่วยกันแบ่งเบา ก็แล้วแต่นานาทัศนะกับกรณีนี้

เรื่องความเสียหายคงไม่ต้องพูดถึง เพราะความเสียหายครั้งนี้ไม่ได้น้อยไปกว่าที่ประเทศญี่ปุ่นประสบกับ "โศกนาฏกรรมสึนามิ " เมื่อวันที่ 11 มีนาคม ที่ผ่านมา ภาพที่เห็นไม่ได้น่ากลัวและรุนแรงอย่างคลื่นยักษ์ แต่น้ำที่หลากหรือล้นตลิ่ง มันก็เคลื่อนตัวทำลายล้างทุกสิ่งได้เช่นกัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ความเสียหายใดก็ไม่เท่ากับความเสียหายที่เกิดจากความแตกแยก
ของพี่น้องคนไทยด้วยกัน

ภาพพี่น้องคนไทยต่างฝ่ายต่างโต้เถียง ด่าท่อใส่กันตามแนวคันกั้นน้ำ ภาพการเข้าพังกระสอบทราย ภาพของการถือมีดวิ่งไล่ฟันผู้ประสบภัยด้วยกัน อันเนื่องมาจากความเครียด ภาพเหล่านี้ไม่น่าจะเกิดขึ้นกับสังคมไทยและสังคมชนบทเลย
แม้แต่นิด

อย่างที่เรารู้กัน น้ำที่ท่วมภาคกลางนั้นลงมาจากภาคเหนือ "แม่น้ำปิง วัง ยม และน่าน" ไหลมารวมกันที่ปากน้ำโพ จ.นครสวรรค์ ก่อนไหลเข้าสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ลงสู่อ่าวไทย จ.สมุทรปราการ

น้ำจำนวนมหาศาลก้อนนี้ "กรมชลประทาน" เป็นผู้ที่น่าจะรู้ดีที่สุด คิดกันง่ายๆ ไม่ต้องคิดมาก คือ กรมชลฯ รู้ทั้งรู้ว่าจะมีน้ำก้อนใหญ่ไหลมาจากภาคเหนือ มันก็เกิดคำถามว่า ทำไมกรมชลฯ ไม่รีบผันน้ำที่มีอยู่แล้วออกอ่าวไทยให้เร็วที่สุด เพื่อที่แม่น้ำแต่ละสายจะได้มีพื้นที่รองรับน้ำ เพราะอาจจะทำให้หนักเป็นเบาได้ ทำไมไม่ใช้ประตูระบายน้ำแต่ละประตูให้เกิดประโยชน์ เมื่อไม่ใช้แล้วจะสร้างขึ้นมาทำไม

คงไม่กล้ากล่าวโทษกรมชลฯ ที่เป็นผู้ทำให้เกิดน้ำท่วมอย่างรุนแรงอยู่ขณะนี้ ถ้าไม่เคยประสบกับเหตุที่กรมชลฯ เคยทำผิดพลาดมา ขอย้อนกลับไปเมื่อปี 2549 ณ บ้านเกิด "จ.นครปฐม" ประสบกับปัญหาน้ำท่วมอย่างหนัก อันเพราะเกิดจากกรมชลฯ ไม่ระบายน้ำจากแม่น้ำสุพรรณบุรี เข้าสู่แม่น้ำท่าจีน เมื่อไม่ระบายก็เกิดการอั้น จนในที่สุด ประตูน้ำไม่สามารถรองรับน้ำได้อีก จึงตัดสินใจเปิดประตูน้ำกลางดึกตูมเดียวเข้าแม่น้ำท่าจีน ต.บางหลวง อ.บางเลน จมน้ำก่อนใคร พื้นที่ไร่นา บ้านเรือนอยู่ใต้น้ำ เจ้าของสวนกล้วยไม้บางรายถึงกับหมดตัว

ถ้ากรมชลฯ มีแผนการทำงานที่ดีกว่านี้ ความเสียหายครั้งนั้นก็คงไม่เกิดขึ้น.!!!

ครั้งนี้ก็เช่นกัน กรมชลฯ รู้สึกตัวช้าเกินไป หรือกรณี "ประตูระบายน้ำบางโฉมศรี พัง" ยังคงต้องใช้เวลาอันยาวนานในการซ่อมแซม นี่ก็ยังไม่รู้ว่าจะเสร็จเมื่อไหร่กันแน่ แล้วอย่างนี้ ประชาชนตาดำๆ เขาจะอยู่กันอย่างไร

"ไม่รู้ว่าเหตุที่กรมชลฯ รู้สึกตัวช้า เพราะมัวแต่เตรียมจัดงานเลี้ยงให้กับข้าราชการที่เกษียณอายุราช รวมถึงข้าราชการที่จะเกษียณอายุก็ปลดเกียร์ว่างตั้งแต่ 2 เดือนก่อนหรือเปล่า...."


**************
นรภัทร ตรีแดงน้อย ..รายงาน

"น้ำท่วมนั้นเพราะใครกัน"

 

โดย: tudong 16 ตุลาคม 2554 5:05:39 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


tudong
Location :
นครปฐม Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




๏หนึ่ง..อภัยพ่อแม่ แม้...........ผิดพลาด
สอง....มิตรสหายจะขาด.........มิได้
สาม....คนชิดใกล้ ญาติ.........โอนอ่อน
สี่.......อย่าลืมตนเองไซร์........พลาดพลั้ง ควรอภัย ๚–
Friends' blogs
[Add tudong's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.