♥ หน้าตา คือหน้าต่าง....สื่อท่าทาง..จาก..จิตใจ ♥
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2555
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
12 พฤศจิกายน 2555
 
All Blogs
 
พระราชบัญญัติ ว่าด้วยวินัยทหาร พุทธศักราช ๒๔๗๖

                                                                                     สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

พระราชบัญญัติ
ว่าด้วยวินัยทหาร
พุทธศักราช ๒๔๗๖
ประชาธิปก ป.ร.
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรม
ราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่สภาผู้แทนราษฎรถวายคำปรึกษาว่า เพื่อปฏิบัติการตามความในมาตรา ๗
แห่งประมวลกฎหมายอาชญาทหาร และเนื่องจากทหารบก ทหารเรือ ได้รวมเป็นกระทรวง
เดียวกัน สมควรตราบทบัญญัติว่าด้วยวินัยทหารเสียใหม่
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและ
ยินยอมของสภาผู้แทนราษฎรดังต่อไปนี้
หมวด ๑
บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้ให้เรียกว่า “พระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยทหาร
พุทธศักราช ๒๔๗๖”
มาตรา ๒๑ ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้น
ไป
มาตรา ๓ ให้ยกเลิกฎว่าด้วยยุทธวินัยและรลงอาญาทหารบกฐานละเมิดยุทธ
วินัย ลงวันที่ ๒๓ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๖๔ กฎเสนาบดีว่าด้วยอำนาจลงอาญาทหารเรือ ลง
วันที่ ๑๑ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๖๕ และบรรดากฎ ข้อบังคับอื่น ๆ ในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้ว
ในพระราชบัญญัตินี้ หรือซึ่งแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้
หมวด ๒
ว่าด้วยวินัย

๑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๐/-/หน้า ๔๗๓/๒๐ สิงหาคม ๒๔๗๖


สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา


มาตรา ๔ วินัยทหารนั้น คือ การที่ทหารต้องประพฤติตามแบบธรรมเนียมของ
ทหาร
มาตรา ๕ วินัยเป็นหลักสำคัญที่สุดสำหรับทหาร เพราะฉะนั้นทหารทุกคนจัก
ต้องรักษาโดยเคร่งครัดอยู่เสมอ ผู้ใดฝ่าฝืนท่านให้ถือว่าผู้นั้นกระทำผิด
ตัวอย่างการกระทำผิดวินัยทหารมีดังต่อไปนี้
(๑) ดื้อ ขัดขืน หลีกเลี่ยง หรือละเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาเหนือตน
(๒) ไม่รักษาระเบียบการเคารพระหว่างผู้ใหญ่ผู้น้อย
(๓) ไม่รักษามรรยาทให้ถูกต้องตามแบบธรรมเนียมของทหาร
(๔) ก่อให้แตกความสามัคคีในคณะทหาร
(๕) เกียจคร้าน ละทิ้ง หรือเลินเล่อต่อหน้าที่ราชการ
(๖) กล่าวคำเท็จ
(๗) ใช้กิริยาวาจาไม่สมควร หรือประพฤติไม่สมควร
(๘) ไม่ตักเตือนสั่งสอน หรือลงทัณฑ์ผู้ใต้บังคับบัญชาที่กระทำ ผิดตาม
โทษานุโทษ
(๙) เสพเครื่องดองของเมาจนถึงเสียกิริยา
มาตรา ๖๒ ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่จัดการระวังรักษาวินัยทหารที่ตนเป็น
ผู้บังคับบัญชาอยู่นั้นโดยกวดขัน ถ้าหากว่าในการรักษาวินัยทหารนั้นจำเป็นต้องใช้อาวุธ เพื่อทำ
การปราบปรามทหารผู้ก่อการกำเริบก็ดี หรือเพื่อบังคับทหารผู้ละทิ้งหน้าที่ให้กลับทำหน้าที่ของ
ตนก็ดี ผู้บังคับบัญชาและผู้ที่ช่วยเหลือในการนั้นจะไม่ต้องรับโทษในการที่ตนได้กระทำไปโดย
ความจำเป็นนั้นเลย แต่เมื่อมีเหตุดังกล่าวนี้ผู้บังคับบัญชาจักต้องรายงานไปยังผู้บังคับบัญชาเหนือ
ตน และรายงานต่อไปตามลำดับชั้นจนถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมโดยเร็ว
มาตรา ๗ ทหารผู้ใดกระทำผิดต่อวินัยทหารจักต้องรับทัณฑ์ตามวิธีที่ปรากฏใน
หมวด ๓ แห่งพระราชบัญญัตินี้ และอาจต้องถูกปลดจากประจำการ หรือถูกถอดจากยศทหาร
หมวด ๓
อำนาจลงทัณฑ์
มาตรา ๘ ทัณฑ์ที่จะลงแก่ผู้กระทำผิดต่อวินัยทหารดั่งกล่าวไว้ในหมวด ๒ นั้น
ให้มีกำหนดเป็น ๕ สถาน คือ
(๑) ภาคทัณฑ์


๒ มาตรา ๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยทหารแก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช
๒๔๗๗
-



Create Date : 12 พฤศจิกายน 2555
Last Update : 12 พฤศจิกายน 2555 17:43:07 น. 3 comments
Counter : 2560 Pageviews.

 
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

(๑) ภาคทัณฑ์
(๒) ทัณฑกรรม
(๓) กัก
(๔) ขัง
(๕) จำขัง
มาตรา ๙๓ ภาคทัณฑ์ คือ ผู้กระทำผิดมีความผิดอันควรต้องรับทัณฑ์สถานหนึ่ง
สถานใดดังกล่าวมาแล้ว แต่มีเหตุอันควรปราณี จึงเป็นแต่แสดงความผิดของผู้นั้นให้ปรากฏหรือ
ให้ทำทัณฑ์บนไว้
ทัณฑ์กรรมนั้น ให้กระทำการสุขา การโยธา ฯลฯ เพิ่มจากหน้าที่ประจำซึ่งตน
จะต้องปฏิบัติอยู่แล้ว หรือปรับให้อยู่เวรยาม นอกจากหน้าที่ประจำ
กัก คือ กักตัวไว้ในบริเวณใดบริเวณหนึ่งตามแต่จะกำหนดให้
ขัง คือ ขังในที่ควบคุมแต่เฉพาะคนเดียวหรือรวมกันหลายคนแล้วแต่จะได้มี
คำสั่ง
จำขัง คือ ขังโดยส่งไปฝากให้อยู่ในความควบคุมเรือนจำทหาร
นอกจากทัณฑ์ที่กล่าวไว้นี้ ห้ามมิให้คิดขึ้นใหม่ หรือใช้วิธีลงทัณฑ์อย่างอื่นโดย
เด็ดขาด
มาตรา ๑๐๔ ผู้มีอำนาจบังคับบัญชาซึ่งลงทัณฑ์แก่ผู้กระทำผิดได้นั้น คือ
(๑) ผู้บังคับบัญชา หรือ
(๒) ผู้ซึ่งได้รับมอบอำนาจให้บังคับบัญชาตามที่กระทรวงกลาโหม ส่วนราชการที่
ขึ้นตรงต่อกระทรวงกลาโหม กองทัพบก กองทัพเรือ หรือกองทัพอากาศ กำหนด
ในการที่จะลงทัณฑ์นั้น ให้กระทำได้แต่เฉพาะตามกำหนดในตารางกำหนดทัณฑ์
ท้ายพระราชบัญญัตินี้
ส่วนผู้มีอำนาจบังคับบัญชาชั้นใดจะมีอำนาจเป็นผู้ลงทัณฑ์ชั้นใด และผู้อยู่ใน
บังคับบัญชาชั้นใดจะเป็นผู้รับทัณฑ์ชั้นใดให้ถือเกณฑ์เทียบดังต่อไปนี้
๓ มาตรา ๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยทหาร (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๔๘๐
๔ มาตรา ๑๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยทหาร (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๐๕


โดย: tudong วันที่: 12 พฤศจิกายน 2555 เวลา:17:45:53 น.  

 
ตารางเกณฑ์เทียบชั้นผู้ลงทัณฑ์และผู้รับทัณฑ์๕

ตำแหน่งชั้น เป็นผู้ลงทัณฑ์ชั้น เป็นผู้รับทัณฑ์ชั้น
๑. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ๑ -
๒. แม่ทัพ ๒ -
๓. ผู้บัญชาการกองพล ผู้บังคับการกองเรือ ผู้บัญชาการ
กองพลบิน ๓ -
๔. ผู้บัญชาการกรม ผู้บังคับหมวดเรือ ผู้บังคับกองบิน ๔ ก
๕. ผู้บังคับหมู่เรือชั้น ๑ ๕ ข
๖. ผู้บังคับกองพัน ผู้บังคับหมู่เรือชั้น ๒ ผู้บังคับการเรือ
ชั้น ๑ ผู้บังคับฝูงบิน ๖ ค
๗. ผู้บังคับหมู่เรือชั้น ๓ ผู้บังคับการเรือชั้น ๒ ต้นเรือ
ชั้น ๑ ผู้บังคับหมวดบินชั้น ๑ ๗ ก
๘. ผู้บังคับกองร้อย ผู้บังคับการเรือชั้น ๓ ต้นเรือชั้น ๒
นายกราบเรือ ผู้บังคับหมวดบินชั้น ๒ ๘ จ
๙. ผู้บังคับหมวด ต้นเรือชั้น ๓ ผู้บังคับหมวดบินชั้น ๓ ๙ ฉ
๑๐. ผู้บังคับหมู่ นายตอน - ช
๑๑. นักเรียนทหารซึ่งเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วจะได้เป็น
นายทหารชั้นสัญญาบัตร บุคคลผู้ซึ่งอยู่ในระหว่างเข้า
รับการฝึกวิชาทหารโดยคำสั่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
กลาโหมตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการฝึกวิชา
ทหาร - ซ
๑๒. นักเรียนทหารซึ่งเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วจะได้เป็น
นายทหารประทวน ลูกแถว - ฌ
มาตรา ๑๑ ผู้ลงทัณฑ์ หรือรับทัณฑ์ ถ้าตำแหน่งไม่ตรงตามความในมาตรา ๑๐
แห่งหมวดนี้แล้ว ให้ถือตามที่ได้เทียบตำแหน่งไว้ในข้อบังคับสำหรับทหาร
มาตรา ๑๒ กำหนดอำนาจลงทัณฑ์ตามที่ตราไว้นี้ ผู้มีอำนาจลงทัณฑ์สั่งลงทัณฑ์
เต็มที่ได้สถานใดสถานหนึ่งแต่สถานเดียว ถ้าสั่งลงทัณฑ์ทั้งสองสถานพร้อมกัน ต้องกำหนดทัณฑ์
ไว้เพียงกึ่งหนึ่งของอัตราในสถานนั้น ๆ ห้ามมิให้ลงทัณฑ์คราวเดียวมากกว่าสองสถาน
๕ ตารางเกณฑ์เทียบชั้นผู้ลงทัณฑ์และผู้รับทัณฑ์ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติว่าด้วย
วินัยทหาร (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๐๕


โดย: tudong วันที่: 12 พฤศจิกายน 2555 เวลา:17:48:21 น.  

 
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

มาตรา ๑๓ ก่อนที่ผู้มีอำนาจลงทัณฑ์จะลงทัณฑ์ครั้งคราวใดก็ดี ให้พิจารณาให้
ถ้วนถี่แน่นอนว่า ผู้ที่จะต้องรับทัณฑ์นั้นมีความผิดจริงแล้ว จึงสั่งลงทัณฑ์นั้น ต้องระวังอย่าให้เป็น
การลงทัณฑ์ไปโดยโทษจริต หรือลงทัณฑ์แก่ผู้ที่ไม่มีความผิดโดยชัดเจนนั้นเป็นอันขาด เมื่อ
พิจารณาความผิดละเอียดแล้วต้องชี้แจงให้ผู้กระทำผิดนั้นทราบว่ากระทำผิดในข้อใด เพราะเหตุ
ใด แล้วจึงลงทัณฑ์
มาตรา ๑๔๖ ถ้าผู้มีอำนาจบังคับบัญชาได้ลงทัณฑ์ข้าราชการชั้นสัญญาบัตร ต้อง
ส่งรายงานการลงทัณฑ์นั้นเสนอตามลำดับชั้นจนถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
มาตรา ๑๕ เมื่อผู้มีอำนาจบังคับบัญชาได้ทราบว่า ผู้ซึ่งอยู่ในบังคับบัญชาของตน
มีความผิดจนปรากฏแน่นอนแล้ว แต่ความผิดนั้นควรรับทัณฑ์ที่เหนืออำนาจจะสั่งกระทำได้ ก็ให้
รายงานชี้แจงความผิดนั้น ทั้งออกความเห็นว่าควรลงทัณฑ์เพียงใด เสนอตามลำดับชั้นจนถึงผู้มี
อำนาจลงทัณฑ์ได้พอกับความผิด เพื่อขอให้ผู้นั้นสั่งการต่อไป
มาตรา ๑๖๗ ถ้าเป็นความผิดซึ่งมีวิธีวางอัตรากำหนดทัณฑ์ไว้แน่นอนแล้ว เช่น
ฐานขาดหนีราชการทหาร เป็นต้น หากกำหนดทัณฑ์นั้นเหนืออำนาจของผู้บังคับบัญชาที่จะสั่งลง
ทัณฑ์ได้ ก็ให้นำเสนอเพียงชั้นที่กล่าวต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายทหารบก ผู้มีอำนาจบังคับบัญชาตำแหน่งชั้นผู้บังคับการกรม หรือชั้นผู้
บังคับกองพันที่อยู่ต่างท้องถิ่นกับผู้มีอำนาจบังคับบัญชาชั้นผู้บังคับการกรม
(๒) ฝ่ายทหารเรือ ผู้มีอำนาจบังคับบัญชาตำแหน่งชั้น ผู้บังคับหมวดเรือ หรือชั้น
ผู้บังคับกองพันที่อยู่ต่างท้องถิ่นกับผู้มีอำนาจบังคับบัญชาชั้นผู้บังคับหมวดเรือ
(๓) ฝ่ายทหารอากาศ ผู้มีอำนาจบังคับบัญชาตำแหน่งชั้นผู้บังคับกองบิน
แม้ว่ากำหนดทัณฑ์นั้นจะเหนืออำนาจก็ดี ก็ให้ผู้บังคับบัญชาชั้นที่กล่าวนี้มีอำนาจ
ลงทัณฑ์ได้ทีเดียว ไม่ต้องนำเสนอตามลำดับชั้นต่อไปอีก
มาตรา ๑๗ นายทหารที่เป็นหัวหน้าทำการควบคุมทหารไปโดยลำพัง ให้มี
อำนาจที่จะสั่งลงทัณฑ์ผู้อยู่ใต้อำนาจในระหว่างเวลาที่ควบคุมอยู่นั้นเสมอผู้มีอำนาจเหนือจาก
ตำแหน่งของตนขึ้นไปอีกชั้นหนึ่งได้ เว้นแต่นายทหารซึ่งมีอำนาจเป็นผู้ลงทัณฑ์ชั้น ๒ ขึ้นไปจึงไม่
ต้องเพิ่ม
มาตรา ๑๘๘ ถ้าผู้มีอำนาจลงทัณฑ์ได้สั่งลงทัณฑ์ผู้กระทำผิดในฐานขังแล้วและผู้
ที่รับทัณฑ์ขังนั้นกระทำผิดซ้ำอีก ผู้มีอำนาจลงทัณฑ์จะสั่งเพิ่มทัณฑ์ ก็ให้พิจารณาดูกำหนดทัณฑ์ที่
๖ มาตรา ๑๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยทหารแก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช
๒๔๗๗
๗ มาตรา ๑๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยทหาร (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๐๕


โดย: tudong วันที่: 12 พฤศจิกายน 2555 เวลา:17:49:40 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

tudong
Location :
นครปฐม Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




๏หนึ่ง..อภัยพ่อแม่ แม้...........ผิดพลาด
สอง....มิตรสหายจะขาด.........มิได้
สาม....คนชิดใกล้ ญาติ.........โอนอ่อน
สี่.......อย่าลืมตนเองไซร์........พลาดพลั้ง ควรอภัย ๚–
Friends' blogs
[Add tudong's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.