เพราะความต้องการของมนุษย์ไม่มีที่สิ้นสุด เราจึงมาเพื่อ เติมเต็มฝันให้เขาเหล่านั้น "พัฒนาชุมชน"

ชายที่26
Location :
น่าน Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




เพราะเราคือผู้นำสารจากผู้สร้าง มาถึงชนบทที่ห่างไกล
จงเรียกเราว่า "นักพัฒนาชุมชน"

หากชาวบ้านอยากกินปลา จง อย่านำปลาให้ชาวบ้าน
แต่ จงสอนวิธีการจับปลาให้เขาเหล่านั้นแทน



Group Blog
 
 
พฤษภาคม 2550
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
1 พฤษภาคม 2550
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add ชายที่26's blog to your web]
Links
 

 

ก่อปราชญ์ของชุมชน

.....ท่านเคยเห็นโฆษณาหนึ่งทางโทรทัศน์ไหมครับ "เครียด จน กินเหล้า" แล้วเปลี่ยนมาเป็น "เครียดจนต้องเลิกเหล้าดีกว่า" แล้วหันมาสู่ การมุ่งมั่นทำงาน เก็บเงิน สร้างความรู้ สุดท้ายก็กลายเป็นปราชญ์แห่งชุมชนไป.

.....การเปลี่ยนแปลงแบบโฆษณานี้ มันไม่ง่ายอย่างที่เห็นเลย แต่ก็ไม่ได้ยากไปกว่าความสามารถและพยายามของมนุษย์เองที่ต้องการสิ่งที่ดีกว่าให้กับชีวิตของตนเองท่านว่าจริงไหมครับ ในหัวข้อนี้ ที่จั่วหัวไว้ว่า "ชุมชนสู่ความยั่งยืน" นั้น ก็ยังอยู่ในหมวดหลักของการพัฒนาชุมชนนะครับ ก็ทำไงได้หละครับ ไม่ว่าจะรวยมั่งมีศรีสุขขนาดไหนหรือจนจนกินหญ้านอนเอาขี้เถ้าห่มแทนผ้าอย่างไร ก็ต้องมีการพัฒนาอยู่ดี อ๊ะ..อาจงง ท่านอาจจะว่า "โอ๊ยคนรวยต้องไปพัฒนาอะไรเค้าอีก" อืมม์...การพัฒนามิใช้มีเพียงด้านเดียวนะครับ เพราะไม่มีสูตรที่ตายตัว คนรวยอาจใช้เงินฟุ้งเฟ้ออยากได้อะไรก็คงได้อย่างเนรมิตรเอา มันก็ง่ายอยู่ครับ แต่หากมีกระบวนการพัฒนาทางด้านกระบวนการทางความคิดหรือเสริมการพัฒนาทางด้านองค์ความรู้เศรษฐกิจพอเพียงเข้าไปบวกกับสิ่งแวดล้อมอะไรอีกหน่อย ท่านรองคิดดูว่าจะเป็นอย่างไร? หากเขารับองค์ความคิดความรู้นั้นๆไปปฏิบัตินะครับ โดยเฉพาะทฤษฏีเศรษฐกิจพอเพียง ท่านคิดว่า เค้าจะเป็นอย่างไร?สถานะความมั่นคงทางครอบครัว เศรษฐกิจ ของเค้าจะดีขึ้นกว่าเดิมไหม และส่งผลต่อระบบส่วนรวมไหม จากฟุ่มเฟือยก็ลดลง จากใช้ของจากต่างประเทศก็หันมาใช้ของไทย จากที่อะไรก็ซื้อเค้าใช้ หันมาทำเองผลิตเองเงินทองจะรั่วไหลไหม นี่แหละครับ ใครว่า การพัฒนาไม่มีความสำคัญ....

.....กล่าวโดยรวมแล้ว การพัฒนาไม่ว่าโดยรูปแบบใดๆ ไม่ว่า พัฒนาสังคม พัฒนาชุมชน พัฒนาบุคคล ฯลฯ ล้วนแต่มีความสำคัญต่อชนทุกระดับทั้งสิ้นครับ อย่างน้อยก็พัฒนาความรู้ของตนเองหละ อ่ะฮ๊า!! นี่แหละครับสิ่งที่ผมกำลังจะพูดถึง "ชุมชนสู่ความยั่งยืน" ท่านคิดว่า "การพัฒนาด้วยอะไร ที่ทำให้มีความยั่งยืน" มากที่สุดครับ...... นั่นคือ การนำองค์ความรู้ต่างๆที่เป็นประโยชน์นำไปเผยแพร่ สอน ชี้แนะหรือแนะแนวทางให้กับชาวบ้านครับ เพื่ออะไร? เพื่อชุมชน (ชุมชนของผมหมายถึงกลุ่มชาวบ้านในชุมชน ชาวบ้านทั่วไปไม่ว่ารวยหรือจนไม่แบ่งแยก) จะได้มีองค์ความรู้ที่สามารถนำมาใช้ได้กับตน โดยที่ไม่ต้องพึ่งพาอาศัยภายนอกมากมายไงครับ พูดง่ายๆคือ ความรู้ติดตัวนั้นและครับ...




.....จะได้อะไรในการใช้ความรู้แกชุมชน ก่อนอื่นเรามาดูก่อนว่า คนเรานั้นมีกี่ประเภท ที่มีผลต่อการพัฒนา คือมีในทุกชนชั้นนะครับ ไม่จำเพาะว่า มีในระดับนั้นระดับนี้


1.หัวไวใจสู้
2.รอดูทีท่า
3.เบิ่งตาลังเล
4.หันเหหัวดื้อ
5.งอมือจับเจ่า
6.ไม่เอาไหนเลย



เท่าที่นับได้มีคนอยู่ทั้งหมด 6 ประเภทครับ ซึ่งแบ่งออกได้ เป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่าย 3 ประเภทล่างและฝ่าย 3 ประเภทบน ฝ่าย 3 ประเภทบนนั้น มีผลต่อการพัฒนาชุมชนในด้านดี แต่ 3 ฝ่ายล่าง นั้น ขุนยังไงก็ไม่ขึ้น ซึ่งมันก็มีอยู่ในทุกสังคมและชนชั้นหละครับ ในการพัฒนาชุมชนจะต้องเจอบ่อยๆ และเจออยู่ร่ำไป .

.....งั้นผมจะพูดในเฉพาะ 3 ประเภทบนนะครับ ในคน 3 ประเภทแรกนี้ ก็มี 1.หัวไวใจสู้ คนประเภทนี้จะมีความสนใจ เมื่อได้รับฟัง ศึกษา คิดตาม เค้าจะมองเห็นช่องทางทันทีและปรับตัวได้ไวกับสถานการณ์มาก จะเป็นผู้ที่ริเริ่มอะไรๆก่อนคนอื่น และได้โอกาสมากกว่าคนอื่นที่จะตามมา คนประเภทนี้แหละครับ ที่การนำองค์ความรู้เข้าไปให้แล้วได้ผลมากที่สุด พวกนี้จะเรียกได้ว่ามีโอกาสเป็น "ปราชญ์" ของชุมชนได้มากที่สุด

2.รอดูท่าที คนประเภทนี้ มีความสนใจ แต่ความมั่นใจไม่ค่อยมี จะคอยดูเพื่อนทำก่อน ถ้าเขาทำได้ผลเอามั่งสิ แต่โอกาศนั้นก็น้อยลง

3.เบิ่งตาลังเล เป็นคนที่ต้องคอยยุคอยส่งเสริมมากหน่อย ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ลังเล จะทำก็กลัว คิดมาก มีโอกาสทำแต่ช้าทำเมื่อไรก็ไม่รู้ แต่ทำแน่

เอาหละครับ 3 ประเภทนี้พอ อีก 3 ล่าง อ่านชื่อประเภทก็พอจะรู้จะครับ ว่าเป็นไง ผมไม่พูดถึงละกัน

.....นี่แหละครับ การนำองค์ความรู้เข้ามาให้กับชุมชน สามารถทำให้คนในชุมชนมีประกายความคิดใหม่ๆในการดำเนินชีวิตได้ หาทางออกให้กับการดำเนินชีวิตได้ โดยที่ไม่ต้องหวังรอพึ่งจากสังคมภายนอกในระบบประชาสงเคราะห์แต่ฝ่ายเดียว การนำองค์ความรู้นั้นๆเข้ามา หากเจอคนประเภทที่ 1 ก็เรียกว่า จะเจอปราชญ์ชุมชนเชียวหละ เขาจะมีความเข้าใจ และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันของตนเอง จนเกิดความเชียวชาญในองค์ความรู้นั้นๆ และยังมีความสามารถที่จะนำองค์ความรู้นั้นๆออกไปเผยแพร่ให้กับชุมชนได้อีก จนเกิดเป็น เครือข่ายชุมชน หรือ ในระดับที่ใหญ่กว่าก็คือ องค์กรระดับชุมชน

.....การก่อเกิดปราชญ์ในชุมชนนั้น ก็เกิดได้จากการนำองค์ความรู้ที่มีคุณประโยชน์เข้าไปเผยแพร่ให้กับชุมชนนั้นเอง ปัจจัยเสริมที่จะเกิดปราชญ์ก็คือ ในชุมชนนั้นๆจะต้องมีบุคคลที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ทั้งนี้ทั้งนั้น องค์ความรู้ที่นักพัฒนาชุมชนจะเอาเข้าไปเผยแพร่นั้นจะต้องเป็นองค์ความรู้ที่สอดคล้องกับความต้องการของชาวบ้านมากที่สุดเป็นสำคัญ

.....เพราะการพัฒนาชุมชนทุกอย่างจะต้องขึ้นกับชุมชน ไม่ใช่ขึ้นกับตัวนักพัฒนา จะต้องดำเนินไปตามความต้องการของชุมชนอย่างสอดคล้อง ไม่ขัดกับสิ่งต่างๆของชุมชน เข้าทางว่า "นักพัฒนาชุมชนต้องทำตัวดั่งน้ำ เปลี่ยนรูปได้ ไหลตามทางน้ำและเย็น" หากขาดสิ่งเหล่านี้ คำว่า "ปราชญ์ชุมชน" จะไม่อาจก่อเกิดได้เลย.

.....ท่านคิดว่า เมื่อชุมชนใดมีปราชญ์ของชุมชนอยู่แล้ว ชุมชนนั้นๆจะเกิดความยั่งยืนที่แท้จริงและยาวนานหรือไม่..




 

Create Date : 01 พฤษภาคม 2550
6 comments
Last Update : 1 พฤษภาคม 2550 17:23:12 น.
Counter : 2977 Pageviews.

 

ขอบคุณที่แวะไปเยี่ยมค่ะ
ชอบงานพัฒนาชุมชนค่ะ น่าสนใจมากเลย

สงสัยเราจะเป็นคนประเภท รอดูทีท่ามังค่ะ อิ อิ

 

โดย: the Vicky 6 พฤษภาคม 2550 15:17:29 น.  

 

สู้ต่อไปค่ะ ท่านผู้นำ

ขอบคุณที่แวะไปเยี่ยมนะคะ

 

โดย: varissaporn327 6 พฤษภาคม 2550 22:06:14 น.  

 

อย่ากรู้ปลาไม่มีเหงือก

 

โดย: ดน IP: 125.25.244.239 30 ตุลาคม 2550 23:00:33 น.  

 

อย่ากรู้ว่าปลาไม่มีเหงือกมีปล่าว

 

โดย: ดน IP: 125.25.244.239 30 ตุลาคม 2550 23:04:04 น.  

 

ผมอยากติมตามเนื้อหาอย่างใกล้ชิด ไม่ทราบว่าจะติดต่อกับผู้เขียนบทความนี้ได้อย่างไร เพราะผมจะทำวิจัยเกี่ยวกับ มลาบรี

 

โดย: Envir Man MU IP: 58.9.185.119 16 มีนาคม 2551 9:16:18 น.  

 

 

โดย: ด.ร. IP: 124.121.57.243 22 พฤษภาคม 2551 20:39:57 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.