เชื่อใน "โชคชะตา" เดินตามทางที่อยากไป

<<
กรกฏาคม 2553
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
22 กรกฏาคม 2553
 

ความเสี่ยงจากการลงทุนในหุ้นสามัญ

การลงทุนใดๆก็ตามย่อมมีความเสี่ยง การลงทุนในหุ้นสามัญก็เช่นเดียวกัน ในหัวข้อก่อนหน้าได้กล่าวถึงผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้นสามัญ นักลงทุนคงรับรู้ถึงความเสี่ยงอย่างหนึ่งที่เกิดจากการลงทุนแล้ว นั่นก็คือความเสี่ยงที่จะไม่ได้รับผลตอบแทนตามที่ตนคาดการณ์ไว้ ในหัวข้อนี้จะสรุปสาเหตุสำคัญ 2 ประการที่ส่งผลให้นักลงทุนไม่ได้รับผลตอบแทนตามที่คาดการณ์ไว้ (ทั้งผลตอบแทนในรูปเงินปันผล หรือในรูปส่วนต่างราคา)

1. ความเสี่ยงทางธุรกิจ

เป็นความเสี่ยงที่เกิดจากลักษณะของธุรกิจนั้นๆ เช่น ประเภทธุรกิจ โครงสร้างรายได้ ค่าใช้จ่ายของกิจการ ทั้งนี้ความเสี่ยงทางธุรกิจเกิดขึ้นจากการที่บริษัทตัดสินใจการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร กล่าวคือถ้ากิจการใดมีการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรจำนวนมาก ผลที่ตามมาคือจะทำให้กิจการนั้นมีรายการค่าเสื่อมราคา ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายคงที่จำนวนมาก ในทางตรงกันข้ามหากกิจการมีการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรน้อย รายการค่าเสื่อมราคาซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายคงที่ก็จะน้อยตามไปด้วย ซึ่งการที่กิจการมีต้นทุนคงที่จำนวนมาก เมื่อยอดขายไม่เป็นไปตามที่คาด แต่ภาระค่าใช้จ่ายยังคงที่เท่าเดิม ก็จะทำให้กำไรของกิจการติดลบอย่างมากในปีที่ยอดขายลดลง ซึ่งจะส่งผลให้ผลตอบแทนที่นักลงทุนคาดว่าจะได้รับจากการลงทุนลดลงไปด้วย

2. ความเสี่ยงทางการเงิน

เป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการที่กิจการสร้างภาระผูกพันทางการเงินไว้ เช่นการก่อหนี้ ถ้ากิจการใดมีการก่อหนี้จำนวนมาก กิจการนั้นก็จะมีภาระการจ่ายดอกเบี้ย ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายคงที่จำนวนมาก หากกิจการไม่สามารถทำกำไรได้ตามเป้าที่วางไว้ กำไรของกิจการก็จะไม่เพียงพอที่จะจ่ายดอกเบี้ยได้ เมื่อกิจการไม่สามารถจ่ายดอกเบี้ยตามภาระผูกพันได้ ก็ทำให้บริษัทมีความเสี่ยงที่อาจจะถูกฟ้องร้องดำเนินคดีได้
ความสัมพันธ์ระหว่างความเสี่ยงและผลตอบแทน

อย่างไรก็ตามนักลงทุนควรตระหนักไว้เสมอว่าการลงทุนใดๆย่อมมีความเสี่ยง และโดยปกติแล้วการลงทุนใดที่มีความเสี่ยงสูงนักลงทุนมักขอส่วนชดเชยความเสี่ยงที่สูงขึ้น นั่นก็คือคาดหวังผลตอบแทนที่ต้องการสูงขึ้นนั่นเอง และการลงทุนใดที่มีความเสี่ยงต่ำย่อมคาดหวังผลตอบแทนที่ต้องการต่ำด้วยเช่นเดียวกัน

ตัวอย่างเช่น

หากนาย ก. มีทางเลือกในการลงทุน 2 ทางเลือก คือการฝากเงินไว้กับธนาคารพาณิชย์ที่มั่นคงแห่งหนึ่ง กับให้ ข. ซึ่งเป็นเพื่อนบ้านกู้ยืม ซึ่งในกรณีนี้หาก ก. ยอมให้ ข. กู้ยืมเงิน ก.ย่อมต้องการผลตอบแทนจากการให้ ข. กู้ยืมมากกว่าการฝากเงินไว้กับธนาคารแน่นอน เนื่องจากโอกาสที่ ก. จะไม่ได้รับเงินต้น และดอกเบี้ยจากการฝากเงินไว้กับธนาคารมีน้อยมาก ในขณะที่การให้ ข. กู้ยืม ก. จะต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากการที่ ข. ไม่ชำระคืนเงินต้น และดอกเบี้ยมากกว่า ดังนั้น หาก ก. ยอมให้ ข. กู้ยืมเงิน ก. ย่อมคิดดอกเบี้ยที่สูงกว่าการที่ตนฝากเงินไว้กับธนาคารแน่นอน ดอกเบี้ยที่สูงขึ้นก็คือส่วนชดเชยความเสี่ยงที่ ก. เรียกร้องเพิ่มขึ้นจากความเสี่ยงที่ให้ ข. กู้ยืมนั่นเอง การลงทุนในหุ้นสามัญก็เช่นเดียวกันเมื่อนักลงทุนเห็นว่าการลงทุนรูปแบบนี้มีความเสี่ยงที่จะไม่ได้รับผลตอบแทนตามที่คาดมากกว่าการลงทุนรูปแบบอื่นๆ นักลงทุนย่อมเรียกร้องผลตอบแทนจากการลงทุนที่สูงขึ้น เป็นไปตามหลักการของ High Risk High Expected Return นั่นเอง

ที่มา : //edu.tsi-thailand.org/

ไม่มีอะไรเสี่ยงมากเท่ากับการไม่เข้าใจความเสี่ยง
หลักง่าย ๆ ของความเสี่ยงมีอยู่ว่า
“ผลตอบแทนยิ่งคาดไว้สูงเท่าไร ความเสี่ยงยิ่งสูงตามเท่านั้น”

นี่เป็นหลักสากล ไม่ว่าคุณจะทำอะไร ก็ต้องใช้หลักนี้อยู่แล้วเปรียบเทียบกับความเสี่ยงที่คุณต้องเผชิญ ตรงนี้ไม่มีใครบอกคุณได้นอกจากตัวคุณเอง ก็อีกนั่นแหละ…… ย่อมขึ้นอยู่กับเป้าหมายที่คุณตั้งเอาไว้สำหรับการกระทำหรือการลงทุนนั้น ๆ ของคุณ (จะเห็นได้ว่าเราจะเน้นเรื่องเป้าหมายอยู่เสมอ เพราะหากขาดข้อนี้ไปแล้ว คุณไม่มีทางรู้ได้เลยว่า คุณประสบความสำเร็จหรือไม่ หรือคุณควรเสี่ยงมากน้อยเพียงใด)

การประเมินความเสี่ยงเป็นเรื่องสลับซับซ้อน เนื่องจากมีปัจจัยที่ต้องเกี่ยวข้องมากมาย แตกต่างกันไปตามการลงทุนแต่ละประเภทหรือหลักทรัพย์แต่ละแบบ ทำให้มีเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจและคิดวิเคราะห์หลายขั้นหลายแง่ อย่างไรก็ตาม ในเบื้องต้นนี้เราขอยกตัวอย่างประเด็นสำคัญ ๆ เกี่ยวกับความเสี่ยงมาให้คุณลงคิดและตระหนักไว้ ดังนี้

• ไม่แน่ใจว่า การลงทุนที่ดูมั่นคงปลอดภัยในระยะยาวจะต้องจบลงด้วยผลตอบแทนตามที่คาดหวังเสมอไป ตัวอย่างเช่น คุณอาจจะลงทุนในพันธบัตรหรือหลักทรัพย์กิจการที่ค่อนข้างมั่นคง แต่ให้ผลตอบแทนค่อนข้างน้อย โดยเชื่อว่าในที่สุดเมื่อคิดรวม ๆ แล้ว ก็จะได้ผลตอบแทนพอสมควร แต่ความเป็นจริงก็บอกเราว่า เหตุการณ์ในระยะยาวห้าปี สิบปี หรือยี่สิบปี อาจทำให้ผลตอบแทนที่ว่าแทบจะไม่มีความหมายเลยก็ได้ ยิ่งในยุคที่เศรษฐกิจผันแปรได้ง่ายในโลกทุกวันนี้ นอกจากนี้ หากคำนวณภาวะเงินเฟ้อเข้าไปด้วยก็แทบจะ “กิน” ผลตอบแทนนั้นไปเกือบหมดเลยทีเดียว

• การลงทุนที่มีความเสี่ยงสูง อาจทำให้ดูเหมือนหมดเงินไปได้ในชั่วข้ามวันข้ามคืน แต่ก็ไม่แน่ว่า ในระยะยาว มันอาจจะให้ผลตอบแทนเฉลี่ยค่อนข้างสูง เช่น คุณอาจลงทุนในหุ้นสามัญของกิจการบางประเภท ซึ่งประสบความขาดทุนอย่างสาหัสในช่วงหนึ่ง แต่ในช่วงสามสี่ปีหลังจากนั้นกลับฟื้นตัวและสร้างผลตอบแทนให้คุณได้พอสมควรทีเดียว

• มีหุ้นหรือหลักทรัพย์ประเภทหนึ่งที่เรียกกันว่า “บลูซิป (Blue Chip)” หุ้นประเภทนี้ได้แก่ กิจการที่คาดกันว่าจะเติบโตหรือทำกำไรแน่ ๆ อย่างสม่ำเสมอ แม้จะไม่มากเท่ากับหุ้นที่มีความเสี่ยงหรือหวือหวาก็ตาม และหุ้นบลูซิปนี้ส่วนใหญ่จะอยู่ในตลาดหลักทรัพย์มาเป็นเวลานานแล้ว นี่ก็ไม่แน่อีกเหมือนกัน มีหุ้นบลูซิปเป็นจำนวนมากที่เติบโตอย่างสม่ำเสมอในช่วงห้าหรือสิบปีแรก แล้วกลับราคาตกลงฮวบฮาบในช่วงต่อมา ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากความเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจหรือการเปลี่ยนตัวผู้บริหาร ไปจนถึงการบริหารงานที่ผิดพลาด

ด้วยเหตุนี้ ไม่ว่าคุณจะเลือกลงทุนอย่างไร ต้องไม่ประมาทและไม่ทึกทักเอาว่า มีผลตอบแทนที่แน่นอนตายตัว ซึ่งไม่มีความเสี่ยงอยู่เลย ยิ่งถ้ามีใครมาบอกให้คุณลงทุนกับอะไร ที่จะให้ผลตอบแทนมหาศาลอย่างแน่นอนและรวดเร็วจนแทบไม่น่าเชื่อด้วยแล้ว ก็จงไม่เชื่อไว้ก่อน

เวลาคิดถึงความเสี่ยง เรามีวิธีคิดได้สองวิธี

วิธีที่หนึ่ง คือ การถามว่า เราจะได้หรือเราจะเสียมากน้อยแค่ไหน หากเราเสี่ยงลงทุนไป

วิธีที่สอง คือ การถามว่า อะไรจะเป็นผลลัพธ์ของการสูญเสีย หากเราเสี่ยงแล้วพลาด

ในการลงทุนทุกครั้ง คุณจะต้องสามารถตอบคำถามสองข้อนี้ให้ได้ ยิ่งถ้าคุณรู้สึกต้องเสี่ยงมาก ๆ แล้ว ก็ยิ่งต้องตอบคำถามในแบบที่สองให้ชัดเจน แล้วชั่งใจให้ดี เช่น ถ้าผลลัพธ์ของการสูญเสีย จะทำให้คุณเสียเงินลงทุนไปกว่าครึ่งของที่มีอยู่ คุณก็ควรจะทบทวนยุทธศาสตร์การลงทุนของคุณเสียใหม่

กล่าวอีกนัยหนึ่ง วิธีคิดแบบแรกเป็นการประเมินอัตราความเสี่ยงตามเงื่อนไขตัวเลขการลงทุนและผลตอบแทนล้วน ๆ ในแต่ละกรณีแต่วิธีคิดแบบที่สองทำให้คุณต้องถามคำถามเกี่ยวพันไปถึงปัจจัยและสภาพการณ์อื่น ๆ ที่อยู่นอกเหนือจากการลงทุนในกรณีนั้น ๆ

ที่มา : //www.taladhoon.com/

...................................................................................

จากกระทู้ //www.pantip.com/cafe/sinthorn/topic/I9493708/I9493708.html



Create Date : 22 กรกฎาคม 2553
Last Update : 12 สิงหาคม 2553 7:48:56 น. 0 comments
Counter : 7204 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

Ooh 1234
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 17 คน [?]




Hello all of you.
Welcome to my blog....
[Add Ooh 1234's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com