เชื่อใน "โชคชะตา" เดินตามทางที่อยากไป

<<
ตุลาคม 2553
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
1 ตุลาคม 2553
 

วิเคราะห์งบดุล

คุณขาไก่ซุปเปอร์..............................................

การวิเคราะห์งบดุล จะบอกนักลงทุนว่า บริษัทมีความสามารถที่จะผ่านวิกฤติที่จะเข้ามากระทบได้หรือไม่ เปรียบเหมือนเป็นการประเมินสุขภาพทางการเงินของบริษัท ว่าหากอนาคตมีโรคภัยเข้ามารุมเร้า จะแข็งแรงพอที่จะต่อสู้กับโรคร้ายนั้นหรือไม่ครับ

ดังนั้นนักลงทุนควรให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์งบดุล ซึ่งผมเองก็ให้ความสำคัญมากเลยทีเดียวครับ

รายการในงบดุลจะแสดงเป็น 3 ส่วนหลัก ๆ
1. สินทรัพย์
2. หนี้สิน
3. ส่วนของผู้ถือหุ้น
ซึ่งแบ่งเป็นสมการง่าย ๆ คือ สินทรัพย์ทั้งหมดของบริษัทจะเท่ากับ หนี้สินบวกส่วนของผู้ถือหุ้นครับ ทั้ง 3 รายการที่แสดงในงบดุลนี้ มีรายละเอียดปลีกย่อยค่อนข้างเยอะและสามารถนำมาคำนวณเป็นอัตราส่วนทางการเงินได้หลากหลาย หากนักลงทุนสนใจในรายละเอียด สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมจากหนังสือ หรือแหล่งความรู้อื่น ๆ ได้ครับ สำหรับกระทู้ห้องเรียนนี้ ผมจะอธิบายข้อมูลหลัก ๆ ว่ามีส่วนสำคัญจุดไหนบ้าง ที่นักลงทุนควรให้ความสนใจในงบดุล

งบดุลที่ผมจะอธิบายสามารถดูได้จาก //www.set.or.th ซึ่งเป็นงบดุลรวมและจะแสดงเป็นรายไตรมาส ซึ่งรายการที่ขึ้นอยู่จะเป็นงบดุลของไตรมาสล่าสุดครับ ถ้านักลงทุนต้องการดูงบดุลแบบละเอียดสามารถ download จากงบการเงินฉบับล่าสุดได้ครับ

การอ่านงบดุลผมจะเริ่มอ่านจากบรรทัดบนสุดลงมาด้านล่าง ในบรรทัดที่ย่อหน้าจะอธิบายรายละเอียดของบรรทัดก่อนย่อหน้า เหตุผลที่จำเป็นต้องอ่านจากบรรทัดบนสุดลงมาด้านล่าง เพราะรายการที่แสดงในงบดุลนั้น จะแสดงตามสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องที่สุดที่บริษัทมีไล่ลำดับลงมา ซึ่งบริษัทที่ดีควรมีสภาพคล่องสูง หมายความว่า มีสินทรัพย์ที่พร้อมจะนำมาใช้ในการดำเนินการได้ทันที หากมีความจำเป็น

มาไล่ดูงบดุลของหุ้น ABC กันต่อครับ คงยังจำกันได้อยู่ ที่ผมได้ยกตัวอย่างให้การวิเคราะห์ผลการดำเนินการรวมย้อนหลังไปเมื่ออาทิตย์ที่แล้วครับ อาทิตย์นี้มาวิเคราะห์งบดุลกัน

ไล่ตามหัวข้อทั้ง 3 ข้อด้านบนดังนี้ครับ โดยในตอนต้นนี้ผมจะอธิบายรายละเอียดรายบรรทัดเพื่อความเข้าใจก่อน จะยังไม่พูดถึงหุ้น ABC แต่อย่างใดครับ ไว้อธิบายจบบรรทัดของงบดุลแล้ว ผมจะนำแต่ละข้อมูลมาเกี่ยวโยงและบอกกับนักลงทุนว่า ความหมายที่ได้นั้นคืออย่างไร

สินทรัพย์ จะเรียงลำดับในส่วนที่มีสภาพคล่องมากที่สุดเป็นบรรทัดแรก และบรรทัดถัดลงไป จะเป็นสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องรองลงมา ซึ่งรายการสินทรัพย์ของแต่ละบริษัทแต่ละกิจการจะแตกต่างกันออกไป ไม่เหมือนกันซะทีเดียวครับ โดยผมจะอธิบายเป็นรายบรรทัดดังนี้ครับ



บรรทัดที่ 1 เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด – เงินสดหรือสินทรัพย์ที่สามารถนำไปใช้จ่ายในการดำเนินการได้ทันที มีสภาพคล่องสูงสุดในบรรดาสินทรัพย์ทั้งหมดครับ

บรรทัดที่ 2 เงินลงทุนระยะสั้น – รายการนี้อาจจะมาจากการที่บริษัทได้นำเงินสดไปลงทุนในสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องอื่น ๆ เช่น หุ้น ตราสารหนี้ เป็นต้น โดยสามารถนำเงินส่วนนี้กลับมาได้ทันที ภายในระยะเวลาอันสั้น

บรรทัดที่ 3 ลูกหนี้และตั๋วเงินรับการค้าสุทธิ – หมายถึงว่าบริษัทสามารถขายสินค้าได้แล้ว แต่ยังไม่ถึงกำหนดจ่ายค่าสินค้า ต้องรอเครดิตอย่างเช่น 30 วัน 60 วัน 90 วันเป็นต้น

บรรทัดที่ 4 สินค้าคงเหลือ – เป็นสินค้าที่ผลิตเสร็จแล้ว ตีมูลค่าเรียบร้อยแล้ว แต่ยังรอการขายอยู่ หากยังขายไม่ได้นั่นก็ไม่ได้หมายถึงเงินครับ ยังคงเป็นสต๊อกต่อไปครับ

บรรทัดที่ 5 สินทรัพย์หมดเวียนอื่น ๆ – เป็นสินทรัพย์ อื่น ๆ ที่สามารถตีเป็นสินทรัพย์ได้ เป็นพวกสินทรัพย์จุกจิกเล็กน้อยครับ

บรรทัดที่ 6 รวมสินทรัพย์หมุนเวียน – จะนำมูลค่าของบรรทัดด้านบนทั้งหมดมารวมกันครับ ซึ่งคำว่าสินทรัพย์หมุนเวียนจะหมายถึงว่า เป็นสินทรัพย์ที่มีการได้มาและใช้ไปภายในระยะเวลา 1 ปี คือ มีการหมุนเวียนไปมาภายใน 1 ปีครับ รายการต่อลงไปจากนี้จะเป็นสินทรัพย์ที่ไม่หมุนเวียนภายใน 1 ปี ซึ่งอาจเป็นสินทรัพย์ที่บรัทลงทุนในระยะยาว หรืออุปกรณ์วัสดุคงทนที่บริษัทลงทุนเพื่อใช้ในการดำเนินการ เช่น ที่ดิน อาคาร เครื่องจักร เป็นต้น อธิบายในบรรทัดที่ 7-11 ครับ

โดยสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนเหล่านี้ ผมจะดูว่ามีความสอดคล้องกับลักษณะการดำเนินการของธุรกิจหรือไม่ เช่น บริษัทดำเนินธุรกิจ ค้าส่ง สั่งซื้อของมาเพื่อขายต่อให้ลูกค้า ไม่มีความจำเป็นต้องมีสินทรัพย์คงทนเช่น เครื่องจักร ที่ดิน อาคาร ที่ต้องมีมูลค่าสูงมากนัก หากมีสินทรัพย์หมุนเวียนเพียง 100 ล้าน มีสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนถึง 700 ล้านบาท ผมก็จะมีคำถามกับบริษัทนี้แล้วว่า เหตุผลใดจึงต้องมีเยอะเพียงนี้

อีกตัวอย่างเป็นบริษัทที่ดำเนินการผลิตสินค้าและขายเอง โดยจำเป็นต้องใช้เครื่องไม้เครื่องมือที่อาศัยเทคโนโลยีขั้นสูงขึ้นไป ซึ่งมีราคาแพง และมีความจำเป็นต้องมีพื้นที่สำหรับเป็นส่วนโรงงานผลิต จึงเป็นเหตุเป็นผลที่ว่าจะมีสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนสูงในระดับหนึ่ง ซึ่งนักลงทุนก็ใช้ประกอบการวิเคราะห์ได้ครับ ว่าธุรกิจนั้น ๆ มีข้อสังเกตที่ผิดปกติหรือไม่อย่างไร

......................................................

มาดูต่อเลยครับ พูดถึงส่วนสินทรัพย์ไปแล้ว วันนี้ส่วนของหนี้สินครับ

ไล่ตามบรรทัดเพื่ออธิบายความหมายก่อนเช่นเคยนะครับ ซึ่งบรรทัดด้านบน ๆ สุดจนถึงล่างสุด จะเป็นไล่ตามลำดับความสำคัญ หากเป็นส่วนของหนี้สิน ก็จะหมายถึงว่าหนี้สินที่จำเป็นต้องใช้คืนก่อน ไปจนหลังสุดครับ

บรรทัดที่ 1 เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน – อาจจะเป็นเงินส่วนที่เบิกเกินบัญชีหรือกู้ยืมระยะสั้น นำมาเพื่อการใช้จ่ายในการดำเนินการ ต้องใช้คืนเมื่อครบกำหนดซึ่งอาจเป็นช่วงเวลาไม่นาน เป็น 1 เดือนหรือสองเดือนเป็นต้น

บรรทัดที่ 2 เจ้าหนี้และตั๋วเงินจ่ายการค้าสุทธิ – หมายถึงคู่ค้าที่บริษัทซื้อสินค้ามาเพื่อดำเนินการใด ๆ แต่ยังไม่ครับกำหนดชำระ อาจเป็นเครดิต 1 เดือน 2 เดือนก็ได้



บรรทัดที่ 3 เจ้าหนี้ระยะสั้นอื่น – สุทธิ – เป็นหนี้สินอื่น ๆ ที่ไม่ได้ชี้แจงในบรรทัดที่ 1 และ 2 ต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมเองครับ

บรรทัดที่ 4 ส่วนของหนี้สินระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี – หนี้สินทุกอย่างที่มีกำหนดต้องชำระภายในหนึ่งรอบดำเนินการของบริษัทหรือหนึ่งปี

บรรทัดที่ 5 หนี้สินหมุนเวียนอื่น – หนี้สินอื่น ๆ ที่ไม่ได้อธิบาย แต่ต้องชำระคืนภายได้ 1 ปีเช่นเดียวกัน

บรรทัดที่ 6 รวมหนี้สินหมุนเวียน – เป็นผลรวมของหนี้สินหมุนเวียนทั้งหมด ตั้งแต่บรรทัดที่ 1 จนถึง 5 เป็นหนี้สินที่ต้องชำระคืนภายในหนึ่งรอบดำเนินการ

บรรทัดที่ 7 หนี้สินไม่หมุนเวียนอื่น – เป็นหนี้สินที่ไม่มีกำหนดชำระภายในหนึ่งปี ซึ่งอาจเป็นหนี้สินระยะยาวเช่น กู้เงินเพื่อสร้างโรงงานและมีกำหนดชำระในระยะยาว เป็นต้น ในที่นี่บริษัท ABC ที่ยกมาไม่มีหนี้สินไม่หมุนเวียนอื่น มีเพียงกองทุนเงินบำเหน็จพนักงานซึ่งอาจมีระยะเวลาชำระมากกว่าหนึ่งปี

บรรทัดที่ 8 รวมหนี้สินไม่หมุนเวียน – หนี้สินระยะยาวทั้งหมด

บรรทัดที่ 9 รวมหนี้สิน – รวมหนี้สินทั้งหมดทั้งมวลของบริษัทจดทะเบียนนั้น ๆ ทั้งหนี้สินระยะสั้นและระยะยาว รายการนี้จะไปแสดงในหน้าแรกของผลประกอบการรวมของบริษัท

ส่วนของผู้ถือหุ้นครับ ไล่ตามบรรทัดเช่นเดิม ดังนี้ครับ

บรรทัดที่ 1 ถึงบรรทัดที่ 3 – เป็นส่วนของหุ้นจดทะเบียนในตอนต้นที่เข้าในตลาดหลักทรัพย์ สำหรับผมจะผ่านไปเลยครับ

บรรทัดที่ 4 ผลต่างจากการแปลงค่างบการเงิน – เป็นส่วนต่างทางการเงินครับ สำหรับผมจะไม่สนใจมากนัก หากเยอะจนเกินไป ก็เป็นจุดสังเกตให้ไปหาข้อมูลเพิ่มเติมครับ

บรรทัดที่ 5 กำไร(ขาดทุน) สะสม – เป็นประวัติของบริษัทว่าตั้งแต่เปิดดำเนินการมาจนถึง ณ ข้อมูลล่าสุด บริษัทได้ทำกำไรสะสมเป็นเท่าไร บริษัทที่ดีไม่ควรมีกำไรสะสมเป็นลบและควรมีกำไรสะสมในส่วนนี้เพิ่มขึ้นในทุก ๆ ปี สามารถดูเปรียบเทียบกับงบดุลของปีก่อนได้ครับ

บรรทัดที่ 6 และ 7 เป็นส่วนของผู้ถือหุ้นทั้งหมด จะแสดงในหน้าผลประกอบการรวมของบริษัทเช่นเดียวกับสินทรัพย์ หนี้สินด้วยครับ




Create Date : 01 ตุลาคม 2553
Last Update : 1 ตุลาคม 2553 22:41:09 น. 2 comments
Counter : 9474 Pageviews.  
 
 
 
 
ช่วยผมที่ไม่ได้เรียนมาทางด้านนี้มากครับคุณ Ooh 1234
 
 

โดย: แจ้ห่ม47 วันที่: 2 ตุลาคม 2553 เวลา:10:25:53 น.  

 
 
 
ขอบคุณครับ
 
 

โดย: โต้คลื่น วันที่: 3 ตุลาคม 2553 เวลา:10:10:33 น.  

Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

Ooh 1234
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 17 คน [?]




Hello all of you.
Welcome to my blog....
[Add Ooh 1234's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com