เชื่อใน "โชคชะตา" เดินตามทางที่อยากไป

<<
กรกฏาคม 2553
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
21 กรกฏาคม 2553
 

ภาษีกับการลงทุน สำหรับผู้ลงทุนบุคคลธรรมดา

การเสียภาษีถือเป็นหน้าที่ที่พึงปฏิบัติของผู้มีเงินได้ทุกคน สำหรับการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ก็เช่นเดียวกัน ผู้ลงทุนย่อมมีโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนในรูปของตัวเงิน ดังนั้น จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องมีเรื่องของภาษีเข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ว่าผู้ลงทุนนั้นจะเป็นคนไทยหรือชาวต่างชาติก็ตาม ยกเว้นกรณีที่ผู้ลงทุนเป็นบุคคลธรรมดาและได้รับเงินกำไรจากการขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ จะไม่ต้องเสียภาษีแต่อย่างใด สำหรับรายละเอียดของภาษีที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์สรุปได้ดังนี้
กรณีผู้ลงทุนที่เป็นบุคคลธรรมดา

ประเภทเงินได้ : เงินกำไรจากการขายหลักทรัพย์

ผู้ลงทุนไทย
( ผู้ลงทุนที่เป็นคนไทยและต่างประเทศที่อยู่ในประเทศไทยตั้งแต่ 180 วันขึ้นไปใน 1 ปีปฏิทิน)

-ได้รับยกเว้น
(เว้นแต่เงินกำไรจากการขายหลักทรัพย์ ประเภทหุ้นกู้ พันธบัตร ซึ่งจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ร้อยละ 15 โดยมีสิทธิเลือกที่จะนำมารวมคำนวณภาษีปลายปีหรือไม่ก็ได้)

ผู้ลงทุนต่างชาติ
( ผู้ลงทุนที่เป็นคนไทยและต่างประเทศที่อยู่ในประเทศไทยไม่ถึง 180 วันใน 1 ปีปฏิทิน)

- ได้รับยกเว้น
(เว้นแต่เงินกำไรจากการขายหลักทรัพย์ ประเภทหุ้นกู้ พันธบัตร ซึ่งจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ร้อยละ 15 โดยมีสิทธิเลือกที่จะนำมารวมคำนวณภาษีปลายปีหรือไม่ก็ได้

ประเภทเงินได้ : เงินปันผล

ผู้ลงทุนไทย
( ผู้ลงทุนที่เป็นคนไทยและต่างประเทศที่อยู่ในประเทศไทยตั้งแต่ 180 วันขึ้นไปใน 1 ปีปฏิทิน)

1)กรณีได้รับเงินปันผลจากบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
ภาษี ณ ที่จ่าย : ถูกหักในอัตรา ร้อยละ 10
ภาษีสิ้นปี : สามารถเลือกดำเนินการได้ 2 วิธี
1.นำเงินปันผลที่ได้รับทั้งสิ้นในปีนั้นมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีรวมกับเงินได้ประเภทอื่น ซึ่งจะได้รับเครดิตภาษีเงินปันผล 3 ใน 7 ของเงินปันผลที่ได้รับ
2. ไม่นำเงินปันผลที่ได้รับทั้งสิ้นในปีนั้นมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีตอนสิ้นปี โดยกรณีนี้ถือว่าผลลงทุนยอมเสียภาษีสำหรับเงินปันผลในอัตราร้อยละ 10 = อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย

2. เงินปันผลที่ได้รับจากกองทุนรวม ตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
ภาษี ณ ที่จ่าย : ไม่มี เว้นแต่ผู้ลงทุนยอมให้หักไว้ตาม
ภาษีสิ้นปี : สามารถเลือกดำเนินการได้ 2 วิธี
1. นำเงินปันผลที่ได้รับทั้งสิ้นในปีนั้นมารวม คำนวณเพื่อเสียภาษีรวมกับเงินได้ประเภทอื่น
2. ยอมให้หักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 10 โดยสิ้นปีผู้ลงทุนไม่ต้องนำเงินปันผลที่ได้รับจากกองทุนรวมมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีตอนสิ้นปี โดยกรณีนี้ถือว่าผลลงทุนยอมเสียภาษีสำหรับเงินปันผล = อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย


3. กรณีได้รับเงินปันผล จากบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม การลงทุน หรือ BOI
ภาษี ณ ที่จ่าย : ไม่มีภาษีสิ้นปี : ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้สิ้นปี

ผู้ลงทุนต่างชาติ
( ผู้ลงทุนที่เป็นคนไทยและต่างประเทศที่อยู่ในประเทศไทยไม่ถึง 180 วันใน 1 ปีปฏิทิน)

1) กรณีได้รับเงินปันผลจากบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
1. ผู้ลงทุนต่างชาติที่อยู่ในประเทศไทยตั้งแต่ 180 วันขึ้นไป จะต้องเสียภาษีเหมือนผู้ลงทุนไทย
2. ผู้ลงทุนต่างชาติที่อยู่ในประเทศไทยน้อยกว่า 180 วันภาษี ณ ที่จ่าย : ถูกหักในอัตรา ร้อยละ 10ภาษีสิ้นปี : ต้องนำเงินปันผลไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้สิ้นปี รวมกับเงินได้ประเภทอื่น
2. เงินปันผลที่ได้รับจากกองทุนรวม ตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
ภาษี ณ ที่จ่าย : ไม่มีภาษีสิ้นปี : ต้องนำไปรวมคำนวณ เพื่อเสียภาษีตอนสิ้นปีรวมกับเงินได้ประเภทอื่น
3) กรณีได้รับเงินปันผลจากบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม การลงทุน หรือ BOI : เหมือนผู้ลงทุนไทย

ประเภทเงินได้ : ดอกเบี้ยหุ้นกู้

ผู้ลงทุนไทย
( ผู้ลงทุนที่เป็นคนไทยและต่างประเทศที่อยู่ในประเทศไทยตั้งแต่ 180 วันขึ้นไปใน 1 ปีปฏิทิน)

ภาษี ณ ที่จ่าย : ถูกหักในอัตรา ร้อยละ 15
ภาษีสิ้นปี : มีสิทธิเลือกที่จะนำดอกเบี้ยมารวมคำนวณ เพื่อเสียภาษีเงินได้ปลายปีหรือไม่ก็ได้

ผู้ลงทุนต่างชาติ
( ผู้ลงทุนที่เป็นคนไทยและต่างประเทศที่อยู่ในประเทศไทยไม่ถึง 180 วันใน 1 ปีปฏิทิน)

ผู้ลงทุนต่างชาติที่อยู่ในประเทศไทยตั้งแต่ 180 วันขึ้นไป และอยู่ในประเทศไทยน้อยกว่า 180 วัน : เหมือนผู้ลงทุนไทย

ประเภทเงินได้ : อากรแสตมป์ (ตราสารการโอน)

ผู้ลงทุนไทย
( ผู้ลงทุนที่เป็นคนไทยและต่างประเทศที่อยู่ในประเทศไทยตั้งแต่ 180 วันขึ้นไปใน 1 ปีปฏิทิน)

การติดอากรแสตมป์สำหรับการโอนหลักทรัพย์
1. กรณีมีตราสารการโอน ติดอากรในอัตรา 1 บาท สำหรับทุกจำนวน 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาท คิดตามราคาหุ้นที่ชำระแล้ว หรือตามราคาในตราสารการโอน แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า
2. กรณีโอนหลักทรัพย์จดทะเบียนที่ตลาดหลักทรัพย์ หรือบริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นนายทะเบียนไม่ต้องติดอากรแสตมป์
3. กรณีไม่มีตราสารการโอน เช่น โอนในระบบไร้ใบหุ้น (Scripless) ไม่ต้องติดอากรแสตมป์

ผู้ลงทุนต่างชาติ
( ผู้ลงทุนที่เป็นคนไทยและต่างประเทศที่อยู่ในประเทศไทยไม่ถึง 180 วันใน 1 ปีปฏิทิน)

การติดอากรแสตมป์สำหรับการโอนหลักทรัพย์ : เหมือนผู้ลงทุนไทย

ที่มา : //www.settrade.com/brokerpage/IPO/StaticPage/Education/tax.html

.......................................................................

ความคิดเห็นที่ 12

เพิ่มเติมข้อมูลคะ

.เงินปันผลจากกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนซึ่งได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 31 ให้ได้รับ ยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ตลอดระยะเวลาที่ผู้ได้รับการส่งเสริมได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ นิติบุคคลนั้น"

ที่มา : //www.boi.go.th/thai/about/basic_incentive.asp

บริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน BOI เงินปันผลที่เราได้มาไม่ต้องจ่ายภาษี ไม่มีหัก ณ ที่จ่าย และไม่ต้องนำมาคิดภาษีเงินได้สิ้นปีคะ

สามารถสืบค้นได้ว่าบริษัทที่นักลงทุนสนใจ ได้รับการส่งเสริมการลงทุนหรือไม่ ตามนี้จ้า

//www.boi.go.th/thai/about/form_promoted_companies.asp

เลือกจังหวัดที่บริษัทตั้งอยู่จ้า

......................................................................
จากกระทู้ //www.pantip.com/cafe/sinthorn/topic/I9489914/I9489914.html



Create Date : 21 กรกฎาคม 2553
Last Update : 12 สิงหาคม 2553 7:49:20 น. 0 comments
Counter : 1155 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

Ooh 1234
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 17 คน [?]




Hello all of you.
Welcome to my blog....
[Add Ooh 1234's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com