โปรดช่วยอุปการะเด็กยากไร้ ccfthai.or.th เพียง 500 บาทต่อเดือน
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2553
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
12 มิถุนายน 2553
 
All Blogs
 
พ่อค้าตลาดหุ้น

ตอนที่สี่
*************************************************
พ่อค้าตลาดหุ้น

พ่อค้าตลาดหุ้น มักจะซื้อหุ้นในตลาดในช่วงที่เป็นขาลง และเป็นการซื้อแบบค่อยๆสะสมไปเรื่อยๆ แบบที่หลายๆท่านมักจะกล่าวถึงกรณีนี้ว่า เป็นการซื้อเฉลี่ยขาลง ซึ่งเป็นวิธีที่หลายๆคนก็บอกว่าไม่ถูก ในความเห็นผมเอง คำว่าถูกหรือผิด ไม่สามารถนำมาใช้ตัดสินเพียงวิธีการซื้อขายอย่างใดอย่างหนึ่ง การเป็นพ่อค้าที่มีทุนสำรองอยู่เสมอ พูดอีกนัยหนึ่งก็คือ อย่าทุ่มจนหมดตัวนั่นเอง คนขยันไม่ได้ประสพความสำเร็จจากการเปิดสาขาทุกสาขา บางสาขาที่เปิดก็ต้องปิดไป เพราะทำกำไรไม่ได้ตามเป้าหมาย (ไม่คุ้มทุนและเวลา) สิ่งหนึ่งที่พ่อค้าตลาดหุ้นคิดอยู่เสมอก็คือ โอกาสในปัจจุบันมีมากกว่าในอดีตหลายเท่านัก แต่หลายๆคนมักจะพูดว่าโอกาสร่ำรวยในอดีตมีมากกว่าปัจจุบัน คิดดูง่ายๆ คนขยัน เปิดสาขาแห่งหนึ่ง ต้องมีเงินลงทุนตกแต่งร้านเพียงใด ต้องเสียค่าเช่าพื้นที่หรือเสียเงินทองสร้างตึกเพียงใด แต่พ่อค้าตลาดหุ้นไม่ต้องเสียค่าเช่าหรือเสียค่าก่อสร้างสิ่งใดๆ เขาไม่ต้องเสียเงินให้กับใครเลย ยกเว้น เขาต้องเสียเงินให้กับสิ่งที่หลายๆคนเรียกว่า ค่าคอมมิสชั่น หรือค่ารถไปห้องค้า ซึ่งคิดๆดูให้ดีก็ยังถูกกว่าค่าโสหุ้ยต่างๆในการนำสินค้าไปถึงมือลูกค้าเสีย อีก ประเด็นเรื่องค่าคอมมิสชั่นไม่ใช่สิ่งสำคัญอะไรเลยหากการค้าขายหุ้นทุกครั้ง มีกำไรมากกว่าค่าคอมมิสชั่น ซึ่งไม่ต่างอะไรกับการขายสินค้าที่บางอย่างกำไรมาก บางอย่างกำไรน้อย การที่ยอมให้โบรคได้คอมฯบ้าง อันที่จริงก็เป็นเรื่อง Think Win-Win แบบหนึ่ง สิ่งที่เขาสร้างขึ้นมาก็เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับพ่อค้าตลาดหุ้นไม่มากก็ น้อย คนที่ทำให้โบรคได้คอมฯ มากหรือน้อยกว่าตนเองก็เป็นนักลงทุนในตลาดเองนั่นแหละครับ ซึ่งขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการค้านั่นแหละครับ

พ่อค้าตลาดหุ้น ได้นึกเปรียบเทียบการค้าในตลาดหลักทรัพย์กับการขายสินค้าในห้างของคนขยันว่า ห้างของคนขยันมีพื้นที่จำกัด แต่พื้นที่ร้านค้าของ พ่อค้าตลาดหุ้น ไม่เคยเต็ม สิ่งที่เหมือนกันก็คือ ไม่ว่า คนขยัน หรือ พ่อค้าตลาดหุ้น ต่างก็มีเงินทุนจำกัดอยู่ถึงจุดหนึ่งเหมือนกัน (แต่ไม่เท่ากันนะครับ) และต่างต้องค้นหาสินค้าราคาถูกที่มีคุณภาพมาวางขายให้ลูกค้าเลือกซื้อ (พ่อค้าตลาดหุ้นก็ต้องเฟ้นหาหุ้นของธุรกิจที่มีอนาคตซึ่งคนส่วนใหญ่อาจมอง ไม่เห็นมาเก็บไว้ในพอร์ทเช่นเดียวกัน) ดังนั้น การบริหารเงินทุน และการเลือกซื้อสินค้าเพื่อนำมาขาย จึงนับเป็นหัวใจของการประสพความสำเร็จอย่างแท้จริง แต่มีสิ่งหนึ่งที่มักเป็นตัวเร่งซึ่งทำให้หลายๆคนตัดสินใจผิดพลาด สิ่งนั้นก็คือ เวลา หลายๆคนมักนึกว่า ค้าขายในตลาดต้องใช้เวลาอันสั้นให้ได้กำไรอย่างรวดเร็ว แต่พ่อค้าตลาดหุ้นคิดว่า จะใช้เวลาเท่าใดไม่สำคัญ แต่เมื่อขายต้องมีกำไร จะกำไรมากหรือน้อยก็ไม่สำคัญแต่ต้องเป็นกำไรอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ พ่อค้าตลาดหุ้นยังได้รับรู้ว่า ไม่ว่าตลาดจริงหรือตลาดหุ้นต่างมีความเสี่ยงในการลงทุนเหมือนๆกัน (ดังตัวอย่างจากสินค้ารสองอย่างข้างต้น) และการลงทุนในตลาดจริงหรือตลาดหุ้นให้ประสพผลสำเร็จสมควรต้องใช้เวลานานพอ สมควร บางสินค้าที่ได้กำไรมากมาย ก็เหมือนบางหุ้นที่กำไรหลายเท่า แต่กำไรเหล่านั้นไม่ใช่สิ่งที่แน่นอน แต่คล้ายๆกับได้รับโชคลาภ อันอาจสืบเนื่องจากการทำบุญกุศลทั้งในภพนี้หรือภพก่อนหน้า พ่อค้าตลาดหุ้นยังค้นพบอีกว่า คนขยัน หาสินค้าตัวหนึ่งมาวางขาย ต้องมีองค์ประกอบของอุปสรรคมากกว่า พ่อค้าตลาดหุ้น หลายประการ เช่น

- ต้องมีคนเห็นซื้อสินค้านั้น (บางทีวางไว้ในที่อับ คนก็ไม่เห็น) แต่หุ้นทุกตัวมีลูกค้าเห็นทุกวัน
- ต้องมีลูกค้าแวะเวียนเข้าร้านในจำนวนมากพอควร (บางสาขาไม่ค่อยมีคนเข้า ก็ต้องปิดสาขาไป ซึ่งเสียเงินลงทุนเปิดร้านไปพอควร) แต่ตลาดหุ้นมีคนเข้ามาดูนับแสนรายทุกๆวัน
- ต้องห่วงว่าสินค้าของตนมีราคาแพงกว่าร้านคู่แข่ง (คิดในขณะที่ยังมีกำไรในการขายสินค้า) แต่ในตลาดหุ้น ไม่ต้องสนใจว่าราคาสินค้าใครจะแพงกว่า เพราะใช้มาตราฐานเดียวและเปิดเผยให้เห็นกันโดยถ้วนหน้า
- สินค้าในห้างของคนขยัน มีมากมายนับหมื่นรายการ แต่สินค้าในตลาดมีเพียง ไม่กี่ร้อยรายการ การบริหารจัดการถือได้ว่าน้อยกว่ากันมากนัก (แต่จำนวนหุ้นที่น่าซื้อมาขายกลับมีไม่มากนักในช่วงเวลาต่างๆกัน)
- สินค้าในห้างแทบทุกชนิด มีวันหมดอายุหรือเสื่อมคุณภาพ แต่หุ้นมีเฉพาะวันหมดอายุ ไม่มีวันเสื่อมคุณภาพ (แต่มีการเสื่อมราคา 5555)
- อีกหลายกรณีที่เคยนึกออกครับ แต่เวลาจะพิมพ์แล้วจำไม่ได้ ใครนึกออกช่วยๆกันเสริมหน่อยก็ดีนะครับ 5555

ดังนั้น พ่อค้าตลาดหุ้นจึงพบว่า การค้าขายในตลาดหุ้น จึงมีต้นทุนต่ำกว่า การค้าขายจริงๆมากมายนัก และการบริหารที่สำคัญที่สุดเพื่อประกอบการในฐานะพ่อค้าตลาดหุ้นให้ได้รับผล สำเร็จ อยู่ที่การบริหารเงินทุนและการเลือกซื้อหุ้นในช่วงเวลาต่างๆเท่านั้น และในช่วงเวลาที่ผ่านมา พ่อค้าตลาดหุ้นก็ค้นพบเห็นสิ่งที่ค่อนข้างเป็นความจริงหลายประการคือ

- หุ้นที่มีราคาสูงเกินไปในช่วงหนึ่ง ต้องมีราคาลดลงในสักวันหนึ่ง
- หุ้นที่มีราคาต่ำเกินไปในช่วง Panic ต้องมีราคาเพิ่มขึ้นหลังจากหาย Panic
- หุ้นทุกตัว ไม่เคยมีราคาคงที่
- ในขณะที่ตลาดหุ้นเป็นขาขึ้น ก็มีหุ้นบางตัวมีราคาต่ำลง
- ในขณะที่ตลาดหุ้นเป็นขาลง ก็มีหุ้นบางตัวมีราคาสูงขึ้น
- หากธุรกิจยังคงมีผลกำไร ราคาหุ้นจะไม่มีราคาเป็นศูนย์อย่างแน่นอน
- หากตลาดหลักทรัพย์มีเหตุต้องปิดดำเนินการ เงินของพ่อค้าตลาดหุ้น จะยังคงเหลืออยู่ประมาณกึ่งหนึ่งเสมอ

จบบริบรูณ์
*************************************************




Create Date : 12 มิถุนายน 2553
Last Update : 12 มิถุนายน 2553 21:40:52 น. 6 comments
Counter : 653 Pageviews.

 


สวัสดีครับ ขอบคุณที่แวะเข้ามา ผมหวังว่าเราคงได้พบกันอีกนะครับ


โดย: veerar วันที่: 18 มิถุนายน 2553 เวลา:23:25:29 น.  

 


โดย: ชีวิตยังมีพรุ่งนี้เสมอ วันที่: 19 มิถุนายน 2553 เวลา:20:42:39 น.  

 
ผมพยายามฝึกเป็นพ่อค้าตลาดหุ้นบ้าง

แต่ผมว่าผมคงต้องเริ่มที่ ความใจเย็นและอดทนของตัวเองให้ได้ก่อนเป็นอันดับต้นๆ
รวมทั้งประเมินมูลค่าหุ้นให้ได้แม่นยำมากขึ้น หาความรู้ใส่มากๆ

สักวัน ผมจะได้เป็นพ่อค้ากับเค้าบ้าง


โดย: kunjoja วันที่: 4 กรกฎาคม 2553 เวลา:21:59:47 น.  

 
โชคดีครับคุณ kunjoja

ขอบคุณคุณ ชีวิตยังมีพรุ่งนี้เสมอกับคุณ veerar ที่เข้ามาเม้นนะครับ


โดย: ษุภณัฏฐ์ วันที่: 6 กรกฎาคม 2553 เวลา:21:38:05 น.  

 
ให้กีบจขบ.

โดนๆๆ

มีขึ้นก็ต้องมีลง

มีออกก็ต้องมีเข้า



โดย: น้องนู๋ GaZib วันที่: 14 กันยายน 2553 เวลา:15:36:17 น.  

 
ข้อถามหน่อยครับ
ผมอยากเล่นหุ้น ต้องทำไงบ้าง เตรียมตัวยังไง และจะเล่นหุ้นอะไรดีครับ .....


โดย: PjKoaw S Class IP: 124.122.128.62 วันที่: 23 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา:12:04:11 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Moritaka Muto
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




Friends' blogs
[Add Moritaka Muto's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.