กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
กรกฏาคม 2565
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
space
space
20 กรกฏาคม 2565
space
space
space

การปกครองครั้งพุทธกาล



บรรดาแคว้น ๑๖ แคว้น แคว้นที่ยิ่งใหญ่มีอำนาจมากก็มีแค่ ๕ แคว้น หรือ ๕ รัฐ หรือ ๕ ประเทศ คือ

๑. มคธ      ราชคฤห์เป็นเมืองหลวง

๒. โกศล    มีสาวัตถีเป็นเมืองหลวง

๓. วัชชี      มีเวสาลีเป็นเมืองหลวง แต่ต่อมาถูกพระเจ้าอชาตศัตรูยกทัพไปกำจัด

๔. วังสะ      มีโกสัมพีเป็นเมืองหลวง

๕. อวันตี     มีอุชเชนีเป็นเมืองหลวง  ดังที่คนไทยรู้จักกันมากในนิยายรัก เรื่องกามนิต วาสิฏฐี

   สองแคว้นหลังนี้  อยู่ไกลออกไปทางตะวันตก โดยเฉพาะแคว้นอวันตีอยู่ไกลมาก วัดจากราชคฤห์ ไม่คำนึงถึงถนนหนทาง ลัดฟ้า ตัดตรงเป็นเส้นไม้บรรทัด ถึงเมืองหลวงอุชเชนี ก็ ๘๑๕ กิโลเมตร และคงเดินทางยาก อยู่ในแถบเทือกเขาวินธัย  (เขียนตามศัพท์แท้ๆ เป็น วินธยะ) เรียกกันว่าเป็นทักขิณาบถ หรืออย่างสันสกฤตว่าทักษิณาบถ คือ ดินแดนหนใต้ เป็นปัจจันตชนบท

   แคว้นมคธเป็นแคว้นที่ปกครองแบบราชาธิปไตย อยู่ติดกับแคว้นกาสี ซึ่งปกครองแบบสามัคคีธรรม ฝรั่งเรียก ปกครองแบบ republic หรือสาธารณรัฐ


   ในการปกครองแบบสามัคคีธรรมนั้น  ไม่ใช่มีผู้ปกครองเด็ดขาดเพียงผู้เดียว แต่ใช้วิธีที่มีชนชั้นปกครองจำนวนหนึ่ง ซึ่ง มากทีเดียวอาจถึง ๗,๗๐๗ องค์หมุนเวียนกันขึ้นปกครอง เวลาจะบริหารราชการการแผ่นดินก็ต้องมีการประชุมในสภา ซึ่งมีหอประชุมที่เขาเรียกว่า สัณฐาคาร (บางทีเขียน สันถาคาร)  เมื่อเวลามีเรื่องราวจะต้องตัดสินใจหรือวินิจฉัยกัน เช่นจะรบหรือไม่รบกับต่างประเทศ หรือเกิดเรื่องราวสำคัญขึ้น หรือมีราชการอะไรที่สำคัญจะต้องตัดสินวินิจฉัย อย่างเช่น เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน กษัตริย์มัลละซึ่งปกครองแบบนี้ ก็ต้องมาประชุมกันในสัณฐาคารเพื่อพิจารณาว่า จะปฏิบัติอย่างไรในการปลงพระสรีระของพระพุทธเจ้า อย่างนี้เป็นต้น

    แคว้นวัชชีปกครองแบบสามัคคีธรรม ซึ่งต้องประชุมกันในสัณฐาคาร พวกกษัตริย์วัชชีมีชื่อเรียกกันว่า ลิจฉวี

   คำว่า  “ปกครองแบบสามัคคีธรรม”  นี้ เป็นการจับเอาสาระมาเรียกกันภายหลัง  แต่ในคัมภีร์ ท่านเรียกราชาที่ร่วมกันปกครองแบบนี้ว่า “คณราช”   (เช่น วินย.อ.1/247 ม.อ.3/13 สํ.อ.3/102)

   แคว้นวัชชีนี้   แข่งอำนาจกันกับแคว้นมคธอย่างยิ่งทีเดียว  แต่หลังพุทธกาลไม่นานก็ปรากฏว่า วัชชีได้สูญเสียอำนาจแก่แคว้นมคธ

   ตอนต้นพุทธกาล   มคธมีพระเจ้าแผ่นดินพระนามว่าพิมพิสาร  ครั้นถึงปลายพุทธกาล พระเจ้าอชาตศัตรู  ซึ่งเป็นโอรสของพระเจ้าพิมพิสาร ได้ส่งอำมาตย์ชื่อวัสสการพราหมณ์ เข้าไปยุแหย่ ทำให้กษัตริย์ลิจฉวีที่ปกครองแคว้นวัชชีนั้นแตกความสามัคคีกันหมด
 


 

 
เล่าเรื่อง: กามนิต

https://www.youtube.com/watch?v=uwyh74eVIUc
 
นิยายรักอิงธรรมะเรื่องกามนิต วาสิฏฐี

https://www.youtube.com/watch?v=PW7K0fLEICQ

 



Create Date : 20 กรกฎาคม 2565
Last Update : 21 กรกฎาคม 2566 10:03:15 น. 0 comments
Counter : 1071 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space