กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
เมษายน 2567
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
space
space
30 เมษายน 2567
space
space
space

การทำสมาธิแบบ พอง-ยุบ ทำยังไง

235 สงสัย 450

> การทำสมาธิแบบ พอง - ยุบ ทำยังไง ?

  พอดีช่วงนี้เรามีความสนใจการทำสมาธิแบบ ยุบหนอ - พองหนอ  แต่เป็นการฝึกปฏิบัติด้วยตนเองที่บ้าน  โดยศึกษาจากคลิปการอธิบายใน youtub ซึ่งในการฝึกปฏิบัติแต่ละครั้งก็เกิดคำถามหลายประเด็น จึงอยากจะสอบถาม ขอคำแนะนำ จากเพื่อนๆ ชาวพันทิปที่ฝึกสมาธิด้วยวิธี พอง-ยุบ นี้ค่ะ เพื่อจะได้เป็นประโยชน์ และเป็นแนวทางในการปฏิบัติครั้งถัดไป

ปัญหาที่เกิดขึ้น คือ

1. เวลาที่ฝึกไป แล้วรู้ตัวว่ากำลังคิด  แต่พอกำลังจะกำหนดว่า คิดหนอๆ คิดหนอๆ ความคิดนั้นก็ได้หายไปแล้ว  ประมาณว่ายังไม่ทันได้กำหนดเลย   ความคิดนั้นมันก็หายไปแล้ว เราจะวิธีการปฏิบัติอย่างไรดี ปล่อยไปเลย คือ กลับไปกำหนด พองหนอ ยุบหนอ ต่อ หรือเราจะต้องกำหนดให้ทันกับความคิดที่เกิดขึ้นนั้น

2. การกำหนดเมื่อเกิดเวทนา ความคิด หรืออารมณ์ต่างๆ เราต้องกำหนด ปวดหนอๆ คิดหนอๆ โกรธหนอๆให้สัมพันธ์กับการเข้า-ออกของการ  “พอง-ยุบ”  หรือไม่และต้องกำหนด ….. หนอช้าหรือเร็วขนาดไหนคะ

ความคิดเห็นที่ 4-1
ต้องการฝึกทั้งสติและสมาธิค่ะ  แต่ถ้ามันสามารถไปต่อได้ถึง เข้าใจรู้ว่าทุกอย่างล้วนไม่เที่ยง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เห็นกาย กับ จิตแยกออกจากกัน ก็จะดีมากเลยค่ะ

https://pantip.com/topic/42678652

     1. จขกท. ปฏิบัติถูกแล้ว  ตามที่ว่า  (ข้อความที่ขีดเส้นใต้)  อันความคิด (จิต)  มันแสดงการเกิด-ดับ  เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ตามธรรมดาของมัน  (ความคิดนี่นั่นโน่น  สุข  ทุกข์ ความสบายใจ ไม่สบายใจ ... เกิดได้มันก็ดับได้ธรรมดามันเป็นอย่างนั้น)  

ภาพกว้างอย่างนี้ครับ  ท้องพอง กับ ท้องยุบ  เป็นอารมณ์หลัก (เป็นหลัก, ว่าเป็นกรรมฐานก็ได้)  อารมณ์อื่นๆ   เช่น  ความคิด  เวทนา เป็นต้น  เป็นอารมณ์รอง  อารมณ์รองกำหนดเมื่อมันเกิดกระทบความรู้สึก   กรณีทั่วๆไปกำหนดสัก ๒-๓ ครั้งแล้วปล่อย   (กรณี จขกท. กำหนดความคิด  คิดหนอๆ มันดับไปแล้ว หรือพอจะกำหนดมันดับไปแล้ว นั่นแหละธรรมะ  พอเรารู้มันก็ดับ)   ดึงสติมากำหนดพอง กับ ยุบ ไปใหม่    ท้องพอง  ว่าพองหนอ   ท้องยุบว่า  ยุบหนอ  ว่าไป (หลัก)  มีอารมณ์อื่นแทรกเข้ามา จะเป็นเวทนา เป็นต้นก็ตาม  วางพอง-ยุบ ไปก่อน ดึงสติไปกำหนดรู้อารมณ์ที่แทรกมาตามเป็นจริงหรือตามที่มันเป็น  เช่น  สุขเวทนาเกิดแทรก  กำหนดตามนั้น  สุขหนอๆๆ สัก ๒-๓ ขณะแล้วปล่อย  ไปกำหนด พอง-ยุบไปใหม่  ทุกขเวทนาเกิดแทรก  วางพอง-ยุบ ก่อนไปกำหนดรู้สภาวทุกข์นั้น ทุกข์หนอๆๆ  สัก ๒-๓ ขณะแล้วปล่อย  (มันจะดับหรือไม่แล้วแต่  รู้แล้วปล่อยๆๆ)  ไปกำหนดพอง กับ ยุบ ไปใหม่  ท้องพอง ว่า พองหนอ ท้องยุบ ว่ายุบหนอ  ตามอาการพอง-ยุบ  หนอสุดพอง  หนอสุดยุบ ถ้าพอง-ยุบ เร็ว  ตัดหนอออก ว่า พอง-ยุบๆๆๆ  ตามอาการ

ถ้าพอง-ยุบยาว  ก็เสริมถูกหนอ  เข้าไป  เป็น พองหนอ  ยุบหนอ  ถูกหนอ  (เป็น ๓ จุด)  ถูกหนอ ตรงก้นกบที่กระทบพื้นชัด  พองหนอ  ยุบหนอ  ถูกหนอ  

     2. คำตอบอยู่ในข้อ 1 แล้ว  

235 ขณะที่เราฝึกไปอย่างนี้  สติ  สัมปชัญญะ  (ปัญญา)  สมาธิ  เป็นต้น  เกิดทุกๆขณะที่เรากำหนด สังเกตการทำงานของรูป (กาย) ของนาม (ความรู้สึกนึกคิด) ครับ


235 ว่างๆ ศึกษา  สัมมาสติ  สัมมาสมาธิไปด้วย 450

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=samathijit&month=29-10-2023&group=82&gblog=80

235 กระบวนการปฏิบัติ  ผลของการปฏิบัติ  450

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=samathijit&month=15-07-2021&group=1&gblog=41

235 เสริม ที่ว่า พอง-ยุบ  สั้น-ยาว ซึ่งมันก็คือลมหายใจเข้า-ออก สั้น-ยาว นั่นเอง  ลมหายใจเข้า ท้องก็พองขึ้น  ลมหายใจออก  ท้องก็ยุบลง   ท่านก็เอา   ท้องพอง   (= ลมหายใจเข้า)  ท้องยุบ  (= ลมหายใจออก)  เป็นกรรมฐาน  แปลว่า  ที่ทำงานของจิต, ที่ให้จิตทำงาน. ซึ่งมันก็คือเจริญอานาปานสติ   เจริญสติปัฏฐาน  นั่นแล     121  อ่านลิงค์ที่ให้ไปแล้วจะเห็นคำอธิบาย สติปัฏฐาน ๔   สติปัฏฐาน   พึงกำหนดทุกอารมณ์ทุกสภาวะที่เกิด  มันถึงจะ ๔ ให้ ถ้าไปทำแบบ ลมเข้าว่า พุท  ลมออกว่า โธ  พุท โธๆๆๆ ไปเท่านั้น   สภาวะใดเกิดก็ช่างมันไม่ต้องไปสนใจอย่างที่ว่าๆกัน  แบบนี้มันไม่  ๔  ได้แค่ ๑  เป็นสมถะ  (สมาธิ)  ล้วนๆ  ผู้ใช้ พอง-ยุบ ก็ทำนองนั้้น พองหนอ ยุบหนอๆๆๆ  สภาวะใดเกิดก็ช่างมัน ไม่กำหนด  ก็ได้แค่ ๑ เหมือนกัน คือ สมถะ ล้วนๆ ไม่ได้วิปัสสนา คือว่า ปัญญาไม่เกิด.  โยงไปเข้า  สมถกรรมฐาน   วิปัสสนากรรมฐาน อีก  121   เราเข้าใจวิธีปฏิบัติแล้วพลิกแพลงได้ทั่ว



 


Create Date : 30 เมษายน 2567
Last Update : 1 พฤษภาคม 2567 9:34:17 น. 0 comments
Counter : 86 Pageviews.
(โหวต blog นี้) 

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space