สิ่งมีชีวิตที่สามารถอยู่รอดได้ในโลกนี้ ไม่ใช่สิ่งมีชีวิตที่ฉลาดที่สุด ไม่ใช่สิ่งมีชีวิตที่เข้มแข็งที่สุด แต่เป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถปรับตัวได้ดีที่สุด

Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2553
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
1 ตุลาคม 2553
 
All Blogs
 
รพ.สังกัดสธ.ขาดทุนยับ-โคม่า11.04%เจอพิษ"บัตรทอง"



รพ.สังกัดสธ.ขาดทุนยับ-โคม่า11.04%เจอพิษ"บัตรทอง"

28 กันยายน 2553 เวลา 21:34 น.


รายได้สุทธิของโรงพยาบาลสังกัดสำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 830 แห่ง ขาดทุน 1,887 ล้านบาท หรือเฉลี่ยโรงพยาบาลละ 2.27 ล้านบาท....

โดย....ธนวัฒน์ เพ็ชรล่อเหลียน


การประชุมวุฒิสภาเมื่อวันที่ 27 ก.ย. นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ สว.สรรหา ตั้งกระทู้ถาม นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.สาธารณสุข (สธ.) ถึงวิกฤตการเงินในโรงพยาบาลสังกดสธ. โดยรัฐมนตรีเจ้ากระทรวงยอมรับว่ามีโรงพยาบาลในสังกัดทั้งหมด 824 แห่ง ขาดทุนแล้ว 191 แห่ง

อย่างไรก็ตามจาก ข้อมูลจากรายงานสถานะการเงินหน่วยบริการสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ที่ทำขึ้นเพื่อเสนอนายจุรินทร์ ระบุถึงผลกำไรขาดทุนตามกลุ่มโรงพยาบาล โดยแยกตามสถานะรายได้และค่าใช้จ่ายไตรมาส 2 ปี 2553 พบว่ามีโรงพยาบาลที่มีรายได้ต่ำกว่าค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 570 แห่ง หรือ 68.67% จากทั้งหมด 830 แห่ง ขาดทุนรวม 4,372 ล้านบาท

แบ่งออกเป็นโรงพยาบาลชุมชน ซึ่งมีทั้งสิ้น 737 แห่ง ขาดทุน 509 แห่ง หรือ 69.06% เป็นเงิน 2,355 ล้านบาท โรงพยาบาลทั่วไป มีทั้งสิ้น 69 แห่ง ขาดทุน 46 แห่ง หรือ 66.67% เป็นเงิน 1,017 ล้านบาท โรงพยาบาลศูนย์ มีทั้งสิ้น 24 แห่ง ขาดทุน 15 แห่ง หรือ 62.50% เป็นเงิน 1,000 ล้านบาท ส่วนโรงพยาบาลที่ได้กำไรมีทั้งสิ้น 260 แห่ง กำไรรวม 2,485 ล้านบาท

“รายได้สุทธิของโรงพยาบาลสังกัดสำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 830 แห่ง ขาดทุน 1,887 ล้านบาท หรือเฉลี่ยโรงพยาบาลละ 2.27 ล้านบาท”รายงานระบุ



เห็นได้ว่ากลุ่มโรงพยาบาลชุมชนขาดทุนเป็นวงเงินที่ใหญ่สุด มีข้อสังเกตว่าเพราะมีแหล่งรายได้จากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) แหล่งใหญ่ในระดับ 54 – 75% รายได้ส่วนใหญ่มาจากรักษาผู้ป่วยนอก โดยรายได้ส่วนนี้จะต่ำกว่าต้นทุนที่แท้จริง

นอกจากนี้รายงานยังแจกแจงภาวะวิกฤตทางการเงินอีกว่า สถานะทุนสำรองสุทธิมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยไตรมาส 2/2553 ยิ่งลดลงไปอีก เหลือเพียง 27,786 ล้านบาท หรือลดลง 21% เมื่อเทียบกับปี 2552

ส่วนสถานการณ์ทุนสำรองสุทธิจากโรงพยาบาล 824 แห่ง พบ 91 แห่ง หรือ 11.04% มีทุนสำรองติดลบและรายได้ต่อเดือนติดลบ (วิกฤต) อีก 376 แห่ง หรือ 45.63% มีทุนสำรองเป็นบวกแต่รายได้ติดลบ (ส่อจะวิกฤต) และมี 100 แห่ง หรือ 12.41% มีทุนสำรองเป็นลบแต่รายได้เป็นบวก ส่วนที่เหลือ 257 แห่ง หรือ 31.19% มีทุนสำรองเป็นบวกในขณะที่รายได้ก็เป็นบวก

สำหรับโรงพยาบาลที่ขาดสภาพคล่องมีทั้งสิ้น 258 แห่ง พบโรงพยาบาลชุมชนมีสภาพคล่องต่ำที่สุด ตามมาด้วยโรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลศูนย์ตามลำดับ แบ่งเป็นโรงพยาบาลศูนย์ 5 แห่ง ได้แก่ รพศ.ตรัง รพศ.สวรรค์ประชารักษ์ รพศ.พระปกเปล้า รพศ.อภัยภูเบศร รพศ.มหาราชนครศรีธรรมราช

โรงพยาบาลทั่วไป 15 แห่ง แบ่งเป็นภาคตะวันออก 6 แห่ง ได้แก่ รพท.อินทร์บุรี รพท.บ้านหมี่ รพท.สมเด็จพระยุพราชสระแก้ว รพท.นครนายก รพท.หัวหิน รพท.ดำเนินสะดวก ภาคเหนือ 4 แห่ง ได้แก่ รพท.ศรีสังวรสุโขทัย รพท.สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รพท.เพชรบูรณ์ รพท.เชียงคำ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 แห่ง ได้แก่ รพท.ยโสธร รพท.อำนาจเจริญ และภาคใต้ 3 แห่ง ได้แก่ รพท.เบตง รพท.สตูล รพท.พัทลุง

โรงพยาบาลชุมชน 338 แห่ง แบ่งเป็นโรงพยาบาลเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 69 แห่ง ภาคกลางและภาคตะวันออก 63 แห่ง ภาคเหนือ 58 แห่ง และภาคใต้ 48 แห่ง


นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ได้ติดตามข้อมูลด้านงบประมาณและมีระบบเฝ้าระวังเรื่องการเงินการคลังมาโดยตล อด แต่ก็ยอมรับว่ากระบวนการจัดสรรงบประมาณจะต้องแก้ไข เนื่องจากปัจจุบันเป็นการกระจายงบประมาณตามรายหัวประชากรทำให้โรงพยาบาลบางแ ห่งที่มีประชากรน้อยเกิดปัญหางบประมาณไม่เพียงพอ

นพ.ไพจิตร์ อธิบายว่า กลุ่มโรงพยาบาลที่ขาดทุนแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1.โรงพยาบาลทั่วไประดับจังหวัด ที่ตั้งอยู่ในอำเภอซึ่งมีประชากรน้อย 2.โรงพยาบาลที่ตั้งอยู่ตามเกาะต่างๆ 3.โรงพยาบาลตามแนวชายแดน ทั้งนี้คงต้องหารือกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เพื่อร่วมกันหาทางออก

อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดปัญหาการขาดทุนของโรงพยาบาลสังกัด สธ. และแม้ว่าที่ผ่านมาจะมีความพยายามหาทางออกเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว อาทิ การเพิ่มงบรักษาพยาบาลสำหรับบุคคลไร้สถานะซึ่งทำให้มีเงินไหลเข้าระบบอีกกว่ าพันล้าน หรือแม้แต่การเกลี่ยงบจากโรงพยาบาลขนาดใหญ่ให้แก่โรงพยาบาลที่ขาดทุนอย่างไม ่เป็นทางการ ซึ่งเป็นเพียงการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า แต่ทว่าปัญหาในภาพใหญ่ก็ยังปรากฏให้เห็นอยู่

ข้อสังเกตที่น่าสนใจจากรายงานสถานะการเงินฯ ระบุว่า “ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า” เป็นสาเหตุของการขาดทุน จึงเป็นหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งฝ่ายการเมือง ข้าราชการระดับบริหาร และสปสช.ที่ต้องแก้ปัญหาร่วมกัน

จาก
//www.posttoday.com/วิเคราะห์/สดจากสนาม/52091/รพ-สังกัดสธ-ขาดทุนยับ -โคม่า11-04-เจอพิษบัตรทอง


**************************************************


ความเห็น ส่วนตัว


เรื่องจริงที่อยู่ใต้พรม ไม่นานก็จะชัดเรื่อยๆ

(โรงพยาบาลที่ผมอยู่ ขนาดขยะ ขวดน้ำเกลือ กระดาษ ขยะรีไซเคิล

เอามาขายแล้ว (ได้เป็นแสนๆ) พยาบาลต้อง ค้ดแยกขยะ ในวอร์ด ยังไม่วายติดกลุ่ม ขาดทุนด้วย จากหลัก สิบ เป็นหลักเกือบร้อยล้าน เครื่องมือแพทย์ ก็ล้าหลัง อุปกรณ์บางอย่างก็ไม่พอ )



บางคนโทษการ บริหารจัดการ

บางคนโทษนักการเมือง


สำหรับผมโทษ วิสัยทัศน์ และการวางแผนของฝ่ายบริหารในอดีต



การจะอยู่รอดให้ได้ในปัจจุบัน ต้องพึ่งตัวเอง


อย่าว่าแต่สร้างมูลค่า วิจัย ยาเองเลย




แม้แต่ยาเลียนแบบ ยังเอาผงยาจากอินเดีย แล้วมาอัดเม็ด ในประเทศไทยทำเป็นแบร์นด์ตัวเอง



การอ่อนวิจัย อ่อนในการสร้างนวัตกรรม ผมถือว่าเป็นปัญหาระดับชาติสำหรับเมืองไทย


ไม่อย่างนั้นก็ต้องเป็น ขี้ข้าซื้อยา ของ ต่างประเทศไปตลอดชาติ


แล้วจะไม่ให้ขาดทุนได้อย่างไร



และมีแนวโน้ม จะขาดทุนรุนแรขึ้นเรื่อย ๆเพราะคนอายุยืน ต้องซ่อมบ่อย


ใครเคยขับรถเก่า คงทราบดี ว่าค่าmaintanance สูงเพียงใด









Create Date : 01 ตุลาคม 2553
Last Update : 31 พฤษภาคม 2554 23:44:28 น. 1 comments
Counter : 533 Pageviews.

 
ขาดทุนหนักตอนนี้เพราะระบบจัดสรรงบไม่สมบูรณ์
แต่ถึงจัดสรรงบได้เท่าเทียมเป็นธรรมแล้วก็คงขาดทุนอยู่ดี
แค่เกลี่ยภาวะขาดทุนจาก รพ.นึงไปอีกรพ.นึง
ไม่ได้แก้รายจ่ายที่กำลังเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆๆๆๆ

ซ่อมสุขภาพฟรีเกือบหมดทุกอย่าง
ทุกอย่างฟรีหมด ตั้งแต่

เมาแล้วขับ - 90% ของอุบัติเหตุจราจร เพราะดื่มเหล้า

สูบบุหรี่ - ถุงลมปอดโป่งพอง + ความดัน โรคหัวใจ + เบาหวาน + เส้นเลือดสมองแตก + โรคกระเพาะ + มะเร็ง กินยาเป็นถุง ๆ รักษาฟรีไปอีก 20 ปี

ดื่มเหล้า - ตับแข็ง เลือดออกในทางเดินอาหาร ก็เอาเลือดที่แสนจะมีค่าเป็น 10 คนมาเทให้ เพื่อให้มีชีวิตกลับไปกินเหล้าต่อได้ 1 เดือน แล้วกลับมาให้เลือดใหม่อีก

ซ่อมฟรีไปเรื่อย ๆ ตลอดชีวิตป่วยๆ ที่เหลืออยู่
คนไทยไม่เคยคิดดูแลตัวเอง เพราะรู้ว่าไง ๆ ก็ซ่อมฟรี
และต้องซ่อมฟรีแบบ "มาตรฐานเทียบเคียงยุโรป"

มีแต่นโยบายส่งเสริมสุขภาพตั้งมาให้โรงพยาบาลทำ
แค่รับก็จะตายแล้ว บอกให้ทำงานเชิงรุก
โรงพยาบาลทำลำบากเลือดตากระเด็น

แค่บังคับใช้กฏหมายยังไม่มีปัญญา
เมาแล้วขับ จับปรับติดคุก เบิกค่ารักษาไม่ได้....จริงเหรอ
สูบบุหรี่ในที่ห้ามสูบ ปรับสองพัน ... จริงเหรอ
ขายสุราให้เด็กต่ำกว่า 18 ปี ติดคุก ... จริงเหรอ

กลับมาคาดหวังกับ โรงพยาบาลที่ขาดคน ขาดเงิน ขาดอุปกรณ์ ขาดศรัทธา จะทำงานเชิงรุกได้ผล


โดย: เจ๊งแน่ๆ IP: 118.173.229.151 วันที่: 13 พฤศจิกายน 2553 เวลา:9:44:35 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ethic&philosophy
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]





เคล็ดลับของความสำเร็จ คือการลงมือทำ
บล็อกนี้จัดทำครั้งแรกเมื่อ 13 ตค 2552 ขอบคุณทุกท่านที่มาชม (ปล รูปทุกรูปที่ถ่าย มาไม่สงวนลิขสิทธิ์ ครับ) Page Rank

Pool villa rawai-saiyoun

Tambon Rawai, Chang Wat Phuket, ไทย
ที่ของฉันใกล้กับร้านอาหารและของกิน คุณจะรักสถานที่ของฉันเพราะมุมมอง และ ตำแหน่งที่ตั้ง ที่พักของฉันเหมาะกับคู่รัก, นักผจญภัยเดี่ยว, นักเดินทางเพื่อธุรกิจ, ครอบครัว (พร้อมเด็กๆ), และ กลุ่มใหญ่
Friends' blogs
[Add ethic&philosophy's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.