สิ่งมีชีวิตที่สามารถอยู่รอดได้ในโลกนี้ ไม่ใช่สิ่งมีชีวิตที่ฉลาดที่สุด ไม่ใช่สิ่งมีชีวิตที่เข้มแข็งที่สุด แต่เป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถปรับตัวได้ดีที่สุด

Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2559
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
6 พฤษภาคม 2559
 
All Blogs
 

ยาหน้าใส TRANXAMIC ACID (TRANSAMIN®) กับภัยที่ซ่อนอยู่





ยาหน้าใส TRANXAMIC ACID (TRANSAMIN®) กับภัยที่ซ่อนอยู่

ยาหน้าใส  Tranxamic acid  (Transamin®)  กับภัยที่ซ่อนอยู่

คุณกำลังรับประทานยาที่ทำให้หน้าใส หรือทำให้ผิวขาวอยู่หรือเปล่า?  ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่ใช้ผลิตภัณฑ์เสริมความงามคุณควรอ่านดู

transamine

จริงๆแล้ว  มนุษย์ ได้รู้จักกับยา  Tranexamic acid  (Transamin®)   มานาแล้วไม่ต่ำกว่า 10  ปีแล้ว โดยทางการแพทย์ได้นำยาทั้งในรูปฉีดและรูปกิน  มาทำการรักษา  ห้ามเลือด  ในผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกในระบบทางเดินอาหารส่วนต้น  และในภาวะเลือดประจำเดือนออกมากผิดปกติ  โดยกลไกที่ห้ามเลือดที่แท้จริงเกิดจาก  การที่ยา  Tranexamic acid  (Transamin®)  ออกฤทธิ์ยับยั้งสาร  plasmin  ที่ทำให้ลิ่มเลือดละลาย  ทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันในเส้นเลือดในผู้ป่วยที่เลือดกำลังออกอยู่และทำให้เลือดออกน้อยลงจนถึงทำให้เลือดหยุดในที่สุด
แต่ไม่กี่ปีที่ผ่านมาได้มีงานวิจัยที่ค้นพบว่า  Tranexamic acid (Transamin®)    ได้ออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์  tyrosinase  ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่จำเป็นในกระบวนการการสร้างเม็ดสีผิว (melanin)   ผลที่ได้คือทำให้กระบวนการสร้างเม็ดสีผิวถูกยับยั้ง  ผลที่ได้ก็คือทำให้ผิวขาวขึ้น  ฝ้า กระ   จางลง  งานวิจัยบางงานได้คัดกรองผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงที่โอกาสเกิดลิ่มเลือดอุดตันออก   บางงานวิจัย ก็ไม่ได้คัดกรองออก   งานวิจัยส่วนใหญ่จำนวนประชากรที่ทำวิจัย  อยู่ในหลักสิบ    คือมักมีไม่ถึง 100  คน ผลที่ได้เหมือนกัน  คือทำให้สีผิวจางลง   แต่ผลแทรกซ้อนไม่มีแน่ชัด  อาจเนื่องมาจากประชากรที่นำมาวิจัยยังน้อยจนเกินไป   และบางงานวิจัยก็ได้คัดกรองผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงออกไปแล้ว     แต่อย่างไรก็ตาม  ยาตัวนี้ ฉลากยามักมีคำเตือน ให้ระวังภาวะลิ่มเลือดอุดตัน ที่ขา สมอง  ที่ปอด  และไม่ควรใช้ในผู้ที่มีภาะวะเส้นเลือดอุดตันอยู่แล้ว   ซึ่งปัจจุบัน  ยา Tranexamic acid (Transamin®)    ได้ขึ้นทะเบียนในประเทศไทยเป็นยาที่ช่วยห้ามเลือดเท่านั้น

ในยุคปัจจุบันเป็นยุคที่ศัลยกรรมตกแต่ง  เสริมความงาม รวมถึงเวชภัณฑ์เครื่องสำอางเฟื่องฟู  ทำให้มีการใช้ยาตัวนี้แพร่หลายในยาทารักษากระฝ้า   รวมถึงนำมาใช้เป็นยากิน  เพื่อรักษา  กระ   ฝ้า ผู้ป่วย   ในคลินิกเสริมความงามบางคลินิก
อ่านรายละเอียดต่อที่

https://sarawutdammai.wordpress.com/2016/05/02/%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%AA-tranxamic-acid-transamin-%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%8B/




 

Create Date : 06 พฤษภาคม 2559
0 comments
Last Update : 6 พฤษภาคม 2559 17:22:14 น.
Counter : 1427 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


ethic&philosophy
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]





เคล็ดลับของความสำเร็จ คือการลงมือทำ
บล็อกนี้จัดทำครั้งแรกเมื่อ 13 ตค 2552 ขอบคุณทุกท่านที่มาชม (ปล รูปทุกรูปที่ถ่าย มาไม่สงวนลิขสิทธิ์ ครับ) Page Rank

Pool villa rawai-saiyoun

Tambon Rawai, Chang Wat Phuket, ไทย
ที่ของฉันใกล้กับร้านอาหารและของกิน คุณจะรักสถานที่ของฉันเพราะมุมมอง และ ตำแหน่งที่ตั้ง ที่พักของฉันเหมาะกับคู่รัก, นักผจญภัยเดี่ยว, นักเดินทางเพื่อธุรกิจ, ครอบครัว (พร้อมเด็กๆ), และ กลุ่มใหญ่
Friends' blogs
[Add ethic&philosophy's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.