Welcome to my planet, and enjoy taking a wonderful journey

<<
มีนาคม 2554
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
9 มีนาคม 2554
 

สปาปลา วัณโรคเทียม เตือนกันตั้งแต่ปีที่แล้วแต่ก็เงียบไป

โดย mootie | วันที่ 18 ธันวาคม 2552 เสี่ยงติดเชื้อวัณโรค



ปัจจุบัน “สปาปลา” กำลังเป็นที่นิยม มีผู้สนใจหันมาประกอบกิจการกันมากขึ้น ขณะเดียวกันก็มีผู้สนใจไปใช้บริการเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน

“สปาปลา” เป็นสปาที่ใช้ ปลาการารูฟา หรือ ด็อกเตอร์ฟิช มาใช้ในการบำบัดและผ่อนคลายให้กับลูกค้า โดยการนำเอาปลาดังกล่าวใส่ไว้ในตู้ปลาหรืออ่างปลา ให้ผู้ใช้บริการหย่อนเท้าลงไปแช่ให้ปลาว่ายเข้ามาตอด

ที่ว่าช่วยบำบัดและผ่อนคลาย ก็เพราะ ปลาการารูฟา จะมารุมตอดเอาผิวที่ลอกและเสียออกไปจากตัวคน แม้ จะยังไม่มีรายงานทางวิชาการที่น่าเชื่อถือ แต่ก็เชื่อกันว่าสามารถบำบัดโรคสะเก็ดเงิน และโรคภูมิแพ้ผิวหนังได้ และเวลาที่ปลาเข้ามาตอดก็จะทำให้รู้สึกเหมือนถูกนวดกระตุ้น ช่วยให้ผ่อนคลายได้

ว่ากันว่า สปาปลา มีถิ่นกำเนิดแถบลุ่มแม่น้ำในประเทศแถบเอเชียตะวันออกกลาง ได้แก่ ตุรกี ซีเรีย อิรัก อิหร่าน ปากีสถาน แต่ปัจจุบันได้แพร่หลายไปทั่วโลก และที่นิยมมากสุดหนีไม่พ้น ประเทศญี่ปุ่น สำหรับประเทศไทยเองก็กำลังเป็นที่นิยมไม่น้อยหน้ากัน

แต่รู้หรือไม่ว่า การใช้บริการสปาปลาก็มีข้อจำกัดเหมือนกัน???

ก่อนอื่น ผู้สนใจเข้ารับบริการในสปาปลา ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าทางร้านเอาปลาอะไรมาใส่ไว้ในอ่างปลา เพราะปลาการารูฟาจะเป็นปลาที่ไม่มีฟันแหลมคม ไม่ทำให้เกิดบาดแผลที่เท้าของผู้ใช้บริการ แต่เนื่องจากปลาดังกล่าวเป็นปลานำเข้า ราคาแพง และหายาก จึงมีผู้ประกอบการหัวใสแอบเอาปลาที่มีลักษณะและพฤติกรรมคล้ายกันมาใช้แทน

การใช้ปลาชนิดอื่นเพื่อทดแทนปลานำเข้า ผู้ใช้บริการต้องตรวจสอบให้ดีว่าปลาที่ใช้มีปากแบบดูดและมีนิสัยชอบดูด ไม่ใช่กัดงับด้วย ขากรรไกร เพราะแทนที่จะเป็นการบำบัดรักษา ตอดเอาผิวที่ลอกออก อาจทำให้เกิดแผลที่เท้าได้

ตรวจสอบปลาแล้ว ก็ต้องมาตรวจสอบตัวเองว่ามีแผลที่เท้า หรือว่าเพิ่งจะโกนขนหน้าแข้ง หรือตัดเล็บมาหรือไม่ หากมีแผลหรือเพิ่งโกนขนหน้าแข้ง หรือเพิ่งจะตัดเล็บเท้ามา ก็ไม่ควรจะไปใช้บริการสปา เพราะอาจทำให้ติดโรคจากการใช้บริการสปาปลาได้

นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ ประธานกรรมการทุนวิจัยวัณโรค ดื้อยา ศิริราชมูลนิธิในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ กล่าวว่า “สปาปลาถือเป็นแฟชั่น เป็นของแปลกใหม่ที่ใคร ๆ ก็อยากลอง แต่ก็ต้องตระหนักถึงอันตรายของมันด้วย 15 รัฐในสหรัฐอเมริกา ได้มีการสั่งห้ามไม่ให้มีการเปิดสปาปลา เพราะไม่ถูกสุขลักษณะอนามัย และมีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อโรคจากการใช้บริการสปาปลาได้ โดยเฉพาะโรควัณโรคเทียมที่ทำให้เกิดโรคผิวหนังในคนได้ ซึ่งเป็นโรคเรื้อรังที่รักษาหายได้ยากและต้องใช้เงินในการรักษาเป็นจำนวนมาก”

วัณโรคเทียม เป็นโรคที่ไม่ติดต่อระหว่างคนต่อคน เหมือนกับวัณโรคปอด ยกเว้นมีแผล เป็นโรคที่ทนต่อคลอรีน ทำให้เกิดแผลบริเวณผิวหนัง ตุ่มหนอง เรื้อรังไม่หาย

นอกจากเชื้อวัณโรคเทียมแล้ว ยังมีโอกาสที่จะติดเชื้อโรคอื่น ๆ ที่เกิดจากเชื้อราและเชื้อแบคทีเรีย จากการแช่เท้าอยู่ร่วมกันในอ่างปลา โดยมีน้ำเป็นตัวนำพา และการที่ปลาตอดคนโน้นทีคนนี้ที ก็สามารถเป็นพาหะนำโรคได้เช่นกัน

ดังนั้นก่อนใช้บริการสปาปลา ต้องตรวจสอบให้ดีว่ามีแผลที่เท้า เพิ่งโกนหน้าแข้ง หรือเพิ่งจะตัดเล็บเท้ามาหรือไม่ เพราะแผลเพียงเล็กน้อย แบบแทบจะมองไม่เห็น เชื้อโรคก็สามารถเข้าไปได้

ที่สำคัญอย่างยิ่ง ไม่ควรลืมสอบถามเจ้าหน้าที่ของสถานบริการถึงสุขอนามัย ทั้งเรื่องการคัดกรองผู้เข้าใช้บริการ การดูแลสุขอนามัยของน้ำและปลา ก่อนการตัดสินใจใช้บริการ

“แบคทีเรียบางชนิดที่อาศัยอยู่ในน้ำ จะทนต่อระบบกรอง ยูวี และทนต่อคลอรีน นอกจากผู้ใช้บริการสปาปลาจะต้องระมัดระวังให้มากแล้ว ผู้ที่เลี้ยงปลาสวยงามเองก็ต้องระมัดระวัง เพราะมีสิทธิติดเชื้อวัณโรคเทียม และโรคอื่น ๆ ที่เกิดจากเชื้อราและเชื้อแบคทีเรีย โดยมีน้ำเป็นตัวนำพาได้เหมือนกับการใช้บริการสปาปลาเช่นกัน” นพ.มนูญ กล่าวสรุป.
ที่มา: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
Update:18-12-52
อัพเดทเนื้อหาโดย: ณัฏฐ์ ตุ้มภู่
****************
ส่วนวิชาการ

โรควัณโรคเทียม (รหัส 307530031)
1.สาเหตุของโรค
เกิดจากเชื้อ Corynebacterium pseudotuberculosis เป็นเชื้อแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในเซลล์
monocyte และ macrophage เชื้อสามารถมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้เป็นเวลานาน และเชื้อในร่างกายก็ไม่
ถูกทำลายด้วย phagocyte ดังนั้นสัตว์ที่ติดเชื้อจึงเป็นพาหะของเชื้อไปตลอดชีวิต ลักษณะของโรคที่พบจะ
เป็นแบบเรื้อรัง ความสำคัญทางเศรษฐกิจของโรคนี้ คือ รอยโรคที่เกิดขึ้นส่งผลต่อคุณภาพซากและหนังสัตว์
โดยพบโรคนี้ได้ทั้งในแพะและแกะ ในม้าก็สามารถพบโรคนี้ได้แต่เชื้อที่ก่อโรคเป็น biotype ที่แตกต่างจากที่
ก่อโรคในแพะและแกะ

2.การติดต่อของโรค
เชื้อจะเข้าสู่ร่างกายผ่านทางบาดแผลหรือเยื่อเมือก ทั้งจากการสัมผัสโดยตรงหรือโดยอ้อมกับเชื้อที่
ออกมาจากก้อนฝีภายนอกที่แตกออกซึ่งปนเปื้อนอยู่ในสิ่งแวดล้อม เมื่อเข้าสู่ร่างกายเชื้อจะไปที่ต่อม
น้ำเหลือง เข้าไปอยู่ในเซลล์และกระจายไปทั่วร่างกายผ่านระบบน้ำเหลือง โดย phospholipase D
exotoxin ที่สร้างจากเชื้อจะเป็นตัวหลักที่ทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อ สัตว์ที่ติดเชื้อจะเป็นพาหะของ
โรคตลอดชีวิต เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายไม่สามารถทำลายเชื้อได้

3.อาการของโรค
ระยะฟักตัวของโรคนาน 2-6 เดือน หรืออาจจะมากกว่านี้ สัตว์ที่ติดเชื้อจะเริ่มมีก้อนฝีที่ superficial
lymph node ในบริเวณที่ใกล้กับตำแหน่งที่เชื้อเข้าสู่ร่างกายก่อน โดยส่วนใหญ่มักจะเป็นในต่อมน้ำเหลืองที่
บริเวณหัวหรือคอ เช่น parotid, mandibular และ prescapular lymph node เนื่องจากบริเวณดังกล่าวมี
โอกาสเกิดแผลได้ง่าย จากนั้นจึงเกิดฝีที่ต่อมน้ำเหลืองอื่นๆ ทั่วร่างกายตามทิศทางการไหลของน้ำเหลือง ใน
แพะมักเป็นฝีที่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณผิวหนัง ภายในก้อนฝีเป็นหนองสีเหลืองเขียวหรือขาว หากฝีบริเวณ
ผิวหนังเกิดการแตกออกจะพบขนรวมตัวกันเป็นกระจุก ในขณะที่แกะมักเป็นฝีที่อวัยวะภายใน ซึ่งจะทำให้มี
อาการที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับอวัยวะที่เกิดฝีขึ้น เช่น มีอาการระบบทางเดินหายใจ ความสมบูรณ์พันธุ์ต่ำ
เต้านมอักเสบหรือ อาการทางระบบประสาท ลักษณะของหนองที่พบในแพะมักจะเหลวกว่าและเหม็นน้อย
กว่าหนองที่พบในแกะ โดยก้อนฝีที่พบในแกะเมื่อผ่าดูจะมีลักษณะคล้ายหัวหอม นอกจากฝีที่พบได้จากการ
ติดเชื้อนี้แล้ว สัตว์ที่ติดเชื้อจะมีน้ำหนักตัวลดลง และให้ผลผลิตน้อยลงด้วย

4.การตรวจวินิจฉัย
พิจารณาได้จากการที่มีการบวมในบริเวณที่เป็นตำแหน่งต่อมน้ำเหลือง ก้อนบวมอาจจะมีลักษณะ
แข็งหรือกระเพื่อมน้ำขึ้นอยู่กับลักษณะฝีที่อยู่ภายใน หากในฝูงมีประวัติการเกิดโรควัณโรคเทียมอยู่ก่อน
หน้านี้แล้วก็สามารถวินิจฉัยว่าเป็นโรควัณโรคเทียมได้เลย แต่หากในฝูงไม่เคยมีประวัติอาจต้องใช้การตรวจ
ทางห้องปฏิบัติการร่วมด้วย โดยใช้การตรวจทางซีรั่มวิทยา เช่น agglutination test, ELISA และ
hemolysis-inhibition test อย่างไรก็ตามการตรวจทางซีรั่มอาจให้ผลบวกเทียมได้ในกรณีที่สัตว์เคยสัมผัส
กับเชื้อหรือสัตว์เป็นโรค paratuberculosis เนื่องจากเกิดปฏิกิริยาทางภูมิคุ้มกันข้ามกัน อาจทำการทดสอบ
ด้วยการฉีดแอนติเจน “lymphadenin” เข้าในผิวหนังบริเวณไหล่และดูผลการตอบสนองหลังจากฉีด 48
ชั่วโมง การตรวจทางรังสีวินิจฉัยและการผ่าชันสูตรอาจช่วยวินิจฉัยในกรณีที่เกิดเป็นฝีภายใน สามารถ
ยืนยันการติดเชื้อได้โดยทำการเพาะเชื้อจากหนอง โดยจะต้องเจาะเก็บหนองด้วยวิธีการที่ปลอดเชื้อ อย่างไร
ก็ตามการเพาะเชื้อจากหนองมักมีเชื้ออื่นเจริญร่วมด้วย และเชื้อ Corynebacterium pseudotuberculosis
อาจขึ้นช้า

5.การรักษา
เนื่องจากเชื้ออยู่ในก้อนฝีที่มีถุงหุ้มและยังอยู่ภายในเซลล์ ทำให้ยาปฏิชีวนะไม่สามารถเข้าถึงเชื้อได้
จึงไม่ให้ผลในการรักษา อาจทำการรักษาด้วยการเปิดผ่าเอาหนองออกให้หมดและเก็บไปทำลายด้วยการ
เผา โดยการเปิดผ่าไม่ควรทำในบริเวณที่เลี้ยงสัตว์และต้องทำการฆ่าเชื้อบริเวณแผลให้เรียบร้อยหลังการผ่า
ด้วยสารละลายไอโอดีน และแยกสัตว์ที่ผ่านการเปิดผ่าก้อนฝีออกจากฝูงจนกว่าแผลจะหายดี ไม่ควรปล่อย
ให้ฝีแตกเองภายในฝูง เพราะจะก่อให้เกิดการปนเปื้อนและการติดเชื้อภายในฝูงตามมา หากฝีแตกเองให้ใช้
ยาฆ่าเชื้อทำความสะอาดและแยกสัตว์ออกจากฝูงเช่นกัน การผ่าเอาฝีออกทั้งก้อนโดยไม่เปิดถุงหุ้มเป็นวิธีที่
ดีกว่าเนื่องจากโอกาสที่จะก่อให้เกิดการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมน้อย แต่จะต้องอาศัยสัตวแพทย์ที่มี
ประสบการณ์ อย่างไรก็ตามหลังการผ่าอาจเกิดฝีขึ้นซ้ำอีกได้
การควบคุมและป้องกันโรค
คัดทิ้งสัตว์ที่แสดงอาการหรือแยกสัตว์ที่ติดเชื้อจากการตรวจทางซีรั่มวิทยาออกจากฝูง ทำการฆ่า
เชื้อบริเวณที่มีหนองจากแพะป่วยปนเปื้อน บริเวณที่เลี้ยงสัตว์ต้องไม่มีสิ่งที่จะก่อให้เกิดบาดแผลกับสัตว์ซึ่ง
จะเป็นช่องทางให้เชื้อเข้าสู่ร่างกาย เช่น ลวด ตะปู รวมถึงทำการควบคุมพยาธิภายนอกเป็นประจำ เพื่อ
ไม่ให้สัตว์คันซึ่งจะทำให้เกิดแผลตามมา ดูแลใส่ยาฆ่าเชื้อที่บาดแผลบนตัวสัตว์ รวมถึงสายสะดือในลูกสัตว์
แรกเกิด ทำการฆ่าเชื้ออุปกรณ์ต่างๆ ที่ปนเปื้อนเลือดก่อนใช้ เช่น เข็ม ฉีดยา อุปกรณ์สำหรับสัก เครื่องมือ
ผ่าตัด อุปกรณ์ตัดขน นอกจากนี้ควรคัดทิ้งสัตว์ที่อาการระบบทางเดินหายใจเรื้อรังและน้ำหนักลดหรือแยก
ออกจากฝูง เนื่องจากสัตว์เหล่านี้อาจติดเชื้อหรือมีฝีภายใน ปัจจุบันมีวัคซีนทางการค้าสำหรับแกะ ส่วนแพะ
มีการทำ autogenous vaccine แต่ยังมีผลข้างเคียงอยู่ โดยแนะนำให้ทำวัคซีนในลูกสัตว์ช่วงอายุ 3-4 เดือน
ความสำคัญทางสาธารณสุข
เชื้อนี้สามารถก่อให้เกิดการติดเชื้อที่ผิวหนังในคนได้ ดังนั้นผู้ที่สัมผัสกับสัตว์ที่ติดเชื้อหรือสงสัยว่า
ติดเชื้อจะต้องใส่ถุงมือทุกครั้ง
******




 

Create Date : 09 มีนาคม 2554
6 comments
Last Update : 9 มีนาคม 2554 6:52:15 น.
Counter : 3433 Pageviews.

 
 
 
 

ยาที่ใช้ตอนนี้ยังไม่ดื้อ น่าจะเป็ฯ Clarithromycin(500mg)หรือเปล่า ไม่แน่ใจ
 
 

โดย: oozing (oozingplanet ) วันที่: 9 มีนาคม 2554 เวลา:6:50:54 น.  

 
 
 
คำถาม 10ข้อ
1. โรควัณโรคเทียมเกิดจากเชื้อใด
ก. Mycobacterium tuberculosis
ข. Mycobacterium paratuberculosis
ค. Corynebacterium pseudotuberculosis
ง. Corynebacterium paratuberculosis
2. ช่องทางหลักในการติดต่อเชื้อคือทางใด
ก. การกิน
ข. การสัมผัส
ค. การหายใจ
ง. การสืบพันธุ์
3. อาการที่เกิดในสัตว์ที่เป็นโรคข้อใดถูกต้อง
ก. เริ่มจากเป็นฝีที่ superficial lymph node ที่บริเวณใกล้เคียงกับตำแหน่งที่เชื้อเข้าสู่ร่างกาย
ข. เกิดฝีที่อวัยวะภายใน เช่น ปอด ไต เต้านม
ค. สัตว์ที่ติดเชื้อจะซูบผอม และให้ผลผลิตลดลง
ง. ถูกทุกข้อ
4. เหตุใดจึงมักพบฝีที่บริเวณหัวและคอของแพะก่อน
ก. เป็นตำแหน่งที่เกิดบาดแผลได้ง่าย
ข. ต่อมน้ำเหลืองบริเวณนี้มีขนาดใหญ่อยู่แล้ว
ค. ต่อมน้ำเหลืองบริเวณนี้มีการทำงานมากกว่าตำแหน่งอื่น
ง. เป็นบริเวณที่มีต่อมน้ำเหลืองมาก
5. ข้อใดถูกต้อง
ก. แกะมักจะเป็นฝีภายในและข้างในมีลักษณะเหมือนหัวหอม
ข. แพะมักจะเป็นฝีภายในและข้างในมีลักษณะเหมือนหัวหอม
ค. แกะมักจะเป็นฝีภายนอกและข้างในมีลักษณะเหมือนหัวหอม
ง. แพะมักจะเป็นฝีภายนอกและข้างในมีลักษณะเหมือนหัวหอม
6. การตรวจทางซีรั่มอาจให้ผลบวกเทียมได้ในกรณีใด
ก. สัตว์เคยสัมผัสกับเชื้อ
ข. สัตว์ติดเชื้อ Burkholderia pseudomallei
ค. สัตว์ติดเชื้อ Mycobacterium tuberculosis
ง. สัตว์ติดเชื้อ Mannheimia haemolytica
7. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการวินิจฉัยโรค
ก. เก็บตัวอย่างหนองด้วยขั้นตอนที่ปลอดเชื้อ
ข. ถ้าเกิดจากโรควัณโรคเทียมมักไม่มีเชื้ออื่นขึ้นร่วมด้วย
ค. ต้องใช้เวลานานเพื่อยืนยันว่าตัวอย่างไม่มีเชื้อ Corynebacterium pseudotuberculosis
ง. การตรวจทางซีรัมเป็นวิธีการตรวจที่มีความไวสูง
8. วิธีการรักษาข้อใดไม่เหมาะสม
ก. ผ่าเลาะเอาก้อนฝีออกทั้งก้อน
ข. ใช้ยาปฏิชีวนะที่ผ่านการทดสอบความไว
ค. ถ้าฝีแตกเองให้แยกสัตว์ออกจากฝูงและใส่ยาฆ่าเชื้อ
ง. เปิดผ่าเอาหนองออก ฆ่าเชื้อให้เรียบร้อยและแยกสัตว์ออกจากฝูง
9. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการควบคุมป้องกันโรควัณโรคเทียม
ก. ดูแลสุขลักษณะภายในฟาร์มให้ดี
ข. ระวังไม่ให้สัตว์เกิดบาดแผลจากอุปกรณ์ภายในโรงเรือน
ค. ถ่ายพยาธิภายในเป็นประจำ
ง. ปัจจุบันมีวัคซีนที่จะช่วยลดการเกิดฝีได้
10. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับโรควัณโรคเทียม
ก. สัตว์ที่เป็นโรคจะเป็นพาหะไปตลอดชีวิต
ข. ลักษณะของโรคเป็นแบบเรื้อรัง
ค. ทำให้เกิดโรคในคนได้
ง. ไม่มีข้อถูก
 
 

โดย: oozing (oozingplanet ) วันที่: 9 มีนาคม 2554 เวลา:6:57:16 น.  

 
 
 
ขอบคุณข้อมูลดีๆอย่างนี้ค่ะ กำลังจะไปใช้บริการเลย กลัวเลยค่ะ
 
 

โดย: บาร์บี้แสนสวย วันที่: 9 มีนาคม 2554 เวลา:7:05:35 น.  

 
 
 
ไม่เคยคิดจะใช้บริการพวกนี้เลยอ่ะ

มันตอดใครมานักก็ไม่รู้ แล้วก็มาตอดเราอีก

~~ บรื๊ออออ ~~ น่ากลัวอ่ะ
 
 

โดย: เด็กน้อยตัวแสบ วันที่: 9 มีนาคม 2554 เวลา:10:17:11 น.  

 
 
 
ขอบคุณครับ
 
 

โดย: herepin วันที่: 10 มีนาคม 2554 เวลา:2:17:50 น.  

 
 
 
เคยคิดครับแต่ไม่หลงกลไป เพราะ ที่บ้านมีปลาหางนกยูงในบ่อกรองของบ่อใหญ่ซึ่งเลี้ยงปลาคาร์พ เวลาผมลงไปล้างบ่อ เจ้าหางนกยูงจะมาตอด เสมอ สปาไม่ใช่แค่ขาล่ะ ทั้งตัวเลยครับ

บางที ไม่ได้ล้างบ่อ ก็แช่ขาลงไป เล่นๆครับ เย็นดี มันก็มาทานใหญ่เลย
ไม่รู้ว่าทานอะไรบ้าง อร่อยไหม (ใครรู้เรื่องนิสัยปลา ช่วยบอกด้วยนะครับ)

ผมคิดว่า ปลาหางนกยูง อาจจะใช้ได้ ขยายพันธุ์ง่าย และ ทำเองที่บ้านได้ด้วย ไม่ต้องใช้ร่วมกับคนอื่น

แต่การสปาอาจไม่สู้เท่า เพราะ ไม่มีแรงดูดเท่า (เท่าที่รู้ ปลาที่เขาใช้จะมีฟันเล็กๆด้วย) ปลาหางนกยูง คงไม่มีฟัน เหมือนเจ้าปลาพวกนั้น

ใครมีความรู้เรื่อง ปลาทั้งสอง ประเภท ช่วยกันมาตอบ ขยายความรู้ให้หน่อยนะครับ
 
 

โดย: oozingplanet (oozingplanet ) วันที่: 30 มีนาคม 2554 เวลา:0:16:59 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

oozingplanet
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




ร้อนหนาวอยู่ที่กาย สุขทุกข์อยู่ที่ใจ
[Add oozingplanet's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com