Welcome to my planet, and enjoy taking a wonderful journey

 
มีนาคม 2554
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
27 มีนาคม 2554
 

ธรณีวิทยา แผ่นดินไหว3 "การสร้างบ้านรองรับแผ่นดินไหว"

1. เทคนิควิศวกรรม ปัจจุบันได้มีการเผยแพร่เทคโนโลยีการสร้างตึกและบ้านสมัยใหม่ที่ทนต่อแผ่นดินไหว โดยฉีกตำราเก่าทิ้งจากสร้างสิ่งปลูกสร้างยึดบนตอม่อและรากฐานที่แข็งแรง เปลี่ยนเป็นสร้างบ้านไว้บนโครงสร้างเหล็กรับน้ำหนักวางบนลูกกลิ้งเหล็กและรากฐานเดิม เพื่อที่บ้านสามารถขยับตัวซ้ายขวาหน้าหลังได้ 360องศาเมื่อเกิดแผ่นดินไหวได้ในระดับนึง

โดยเลียนแบบพฤติกรรมการทรงตัวของมนุษย์ ที่สามารถให้ตัวได้เมื่อมีแรงมากะทำ
ยกตัวอย่างเวลาเรายืนทรงตัวบนรถเมล์ ตัวรถขยับไปข้างหน้าแต่ตัวเราขยับไปข้างหลังโดยที่เราไม่ล้ม และสังเกตเวลาเกิดแผ่นดินไหว แม้จะไหวเพียงไร รถเข็นตามห้างก็ยังทรงตัวอยู่ได้โดยที่ไม่ล้ม

ญี่ปุ่นเคยศึกษาเรื่องนี้ โดยวางสิ่งปลูกสร้างบนสปริง แต่ระยะหลังเริ่มหันมาติดล้อให้กับอาคารแทน

2.ปูนซีเมนต์ ก็ควรใช้ให้ถูกประเภท อะไรคือปูนก่อ อะไรคือ ปูนปอร์ตแลนด์ ใช้ให้ถูก อย่าไปเขียม

3.มีนักศึกษาอิสราเอล ออกแบบโต๊ะหลบภัย ทดสอบโดยเอาน้ำหนัก ๖๐๐ กก. ยกสูงสี่เมตร ทิ้งลงมาบนโต๊ะ
โต๊ะไม่พัง เทียบกับโต๊ะธรรมดายุบลงไปกองกับพื้น
หาซื้อมาใช้ แล้วสอนลูกให้หลบใต้โต๊ะแบบเด็กที่อยู่ในพื้นที่แผ่นดินไหวได้รับการฝึกมา

4.ตัวอย่างการเสริมโครงสร้างเพื่อรองรับแผ่นดินไหว ป้องกันภัยที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

สำหรับคนที่กำลังปลูกสร้างบ้านในเขตกทม. และปริมณทล อาจจะปรับปรุงโครงสร้างให้รองรับแผ่นดินไหวได้ โดยเพิ่มค่าใช้จ่ายอีกเพียงเล็กน้อย เช่น

เหล็กเสริมหลัก ณ จุดต่อระหว่างเสาและคาน
เหล็กเสริมของเสาและคานในระยะห่างจากขอบคอนกรีตระยะสองเท่าความลึกคาน เช่น คานลึก 40 ซม. ก็ถือระยะ 80 ซม. โดยในระยะนี้ ห้ามไม่ให้ต่อเหล็กเสริม ไม่ว่าจะโดยวิธีใด ปลายเหล็กเสริมหลักของคานหรือเสา ที่มาสิ้นสุดที่จุดนี้ ปลายเหล็กต้องมีระยะฝังในคอนกรีตเสาหรือคานไม่น้อยกว่า 50 เท่าเส้นผ่านศูนย์กลางเหล็กกลม (60 ซม. สำหรับเหล็ก 12 มม.) หรือ 25 เท่าของเหล็กข้ออ้อย (30 ซม. สำหรับ DB12)

เหล็กปลอกให้เพิ่มเป็นสองเท่าของเหล็กปลอกตามแบบ
โดยเหล็กปลอกวงแรก ห้ามห่างขอบรอยต่อเกิน 5 ซม. ระยะเพิ่มเหล็กปลอกเป็นสองเท่านี้ ยาวไปถึงระยะ 80 ซม. จากขอบรอยต่อคานและเสา ซึ่งเพิ่มเหล็กปลอกไม่กี่ตัว และเหล็กปลอก ควรดัดเหล็กเหลือปลายไม่น้อยกว่าหกเท่าของ ศก. เหล็ก เช่นปลอกหก มม. ดัดเหล็กเหลือปลายยาวจากจุดงอ 36 มม.

เหล็กเสา
ห้ามใส่มากกว่าร้อยละหก จากเดิมให้ร้อยละแปด ถ้าจำเป็นให้เพิ่มขนาดเสาแทน และให้ต่อเหล็กเสริมบริเวณกลางต้น วัตถุประสงค์คือ ให้รอยต่อได้ใช้ความเหนียวของเหล็กเสริม และให้เหล็กปลอกช่วยรัดคอนกรีตภายในไม่ให้แตกเร็ว ซึ่งจะทำให้เหล็กเสริมหมดสมรรถภาพเร็วไป ในกรณีเกิดแผ่นดินไหว

ที่มาของข้อมูล:
//www.hometophit.com/hometh/interresting.php?news_id=1127&key=%CA%C3%E9%D2%A7%BA%E9%D2%B9%E0%BC%D7%E8%CD%B5%E9%D2%B9%B7%D2%B9%E1%BC%E8%B9%B4%D4%B9%E4%CB%C7


5.อื่นๆ กฏหมายต่อเติมอาคาร
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=kittikul




 

Create Date : 27 มีนาคม 2554
0 comments
Last Update : 31 มีนาคม 2554 23:12:40 น.
Counter : 2175 Pageviews.

 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

oozingplanet
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




ร้อนหนาวอยู่ที่กาย สุขทุกข์อยู่ที่ใจ
[Add oozingplanet's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com