กุ๊ดจัง
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 75 คน [?]




ไม่มีสาระ...จริงๆ นะ..

แต่ถ้าหลวมตัวมาแล้ว จะแอบอ่านก้อไม่ว่ากัน ถ้ารับแนวเถื่อนนิดๆ ถ่อยหน่อยๆ แต่จริงใจได้ ^_^

คิดถึง ถูกใจ ก้อเจิมกันสักนิดนุง แต่ถ้าไม่ถูกใจ มาทางไหนเชิญกลับไปทางนั้น ไม่ต้องเม้นไว้ให้เปลืองมือนะ ฮ่าๆๆ
HighStudio

สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
บทความ โดย littlemiumiu.com อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ต้นฉบับ.
อยู่บนพื้นฐานของงานที่ www.littlemiumiu.com.
การอนุญาตนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในสัญญาอนุญาตนี้ อาจมีอยู่ที่ www.littlemiumiu.com
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2555
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
2 ตุลาคม 2555
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add กุ๊ดจัง's blog to your web]
Links
 

 

เก็บตกจากเสวนา เด็กไทย(ไม่)ไปอาเซียน

เมื่อสัปดาห์ก่อนไปงานเปิดตัวรายการ Asean Beyond และฟังเสวนา ที่มีทั้งพิธีกร อาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิในแวดวงการศึกษา ทำวิจัย และทำรายการทีวี เกี่ยวกับอาเซียน ทำให้เข้าใจอะไรๆ มากขึ้นอีกนิด เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ แนวคิด ปัจจุบัน และอนาคต


เรื่องของประชาคมอาเซียน ที่หลายๆ คน คิดว่าไกลตัว...หรือ ฟังผ่านหูผ่านตา ก็รู้บ้างเลาๆ ว่า ประเทศไทย กับอีก 9  ประเทศ จะมารวมกันเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 แล้วยังไงต่อ? คนไทยจะตกงานไม๊ แรงงานจะไหลออก รึไหลเข้า อาชีพไหนจะได้รับผลกระทบบ้าง เด็กไทยจะเป็นยังไงแล้ว การรวมตัวที่ว่า เรารวมกันในแง่เศรษฐกิจอย่างเดียวรึเปล่า

ขอเล่าให้ฟังพอสังเขป คร่าวๆ ว่า การรวมกันเข้าสู่ประชาคมอาเซียน จริงๆ แล้ว มีเรื่องที่เกี่ยวข้องด้วยกันทั้งหมด 3 เรื่องใหญ่ เราไม่ได้รวมตัวกันแค่เรื่องเศรษฐกิจ แต่เราจะพัฒนาไปพร้อมๆกันทั้ง 3  เรื่อง เพื่อให้มีศักยภาพที่สามารถแข่งกับโลกภายนอกได้มากยิ่งขึ้น มีขีดความสามารถการผลิตที่สูงขึ้น ลดความแตกต่างในภูมิภาค
ได้แก่
เรื่องเศรษฐกิจ : AEC (Asean Economic Community) หรือ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 

เรื่องการเมืองและความมั่นคง : APSC (Asean Political Security Community) เพื่อลดความขัดแย้ง พิพาทต่างๆ พัฒนาการฑูต และการร่วมมือกันในทางการทหาร สร้างเสถียรภาพและความไว้เนื้อเชื่อใจกันทางการเมือง(หรอวะ...แค่ประเทศเดียวกันยังทะเลาะกันจะตายห่า 555)

เรื่องสังคมและวัฒนธรรม : ASCC (Asean Socio-Cultural Community) รวมไปถึงเรื่อง การศึกษา พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สวัสดิการสังคม การจัดการสิ่งแวดล้อม การควบคุมโรคติดต่อ สร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอัตลักษณ์อาเซียน(ไปเพื่ออะไร??ไอ่คนคิดอาจจะยังงงๆ ตัวเองอยู่ก็เป็นได้) เป็นต้น

สัญลักษณ์ของประชาคม จะเห็นว่า เป็นรูปรวงข้าว 10 รวง...เพราะ ความเหมือนกันอยู่สิ่งเดียวของชาวเราสิบประเทศนั่นเอง....กินข้าวเหมือนกัน >_<

สีอะไรหมายถึงอะไร คิดว่าหลายๆ คนในที่นี้ ได้เรียนรู้ไปพร้อมๆ คุณลูกที่บ้านไปแล้วแน่แท้...
อิคำทักทายสวัสดีของแต่ละประเทศ เสื้อผ้า ชุดประจำชาติ ดอกไม้ประจำประเทศ สารพัดจะให้ท่อง (เพื่อ ????) ตามสไตล์การศึกษาไทย เรารู้อะไรบ้างจากการท่องสิ่งเหล่านี้ หรือไปขวนขวายหาเสื้อผ้าชุดประจำชาติมาให้เด็กๆของเราใส่...เราได้เรียนรู้อะไรบ้าง?????

สิ่งหนึ่งที่โดนใจมากจากการเสวนาคือ

เราสามารถสอนเด็กๆ ของเราให้รู้เรื่องราวเกี่ยวกับเพื่อนบ้าน ผ่านประสบการณ์ ประวัติศาสตร์ และการเรียนรู้ผ่านตำรา แต่เราหารู้ไม่ว่า ตำราบ้านเราบางส่วน มีรากฐานมาจากอคติ และดูถูกเพื่อนบ้านด้วยกันเอง เราไม่ได้ยอมรับประวัติศาสตร์ในแบบที่เป็นจริง มีการผลัดกันแพ้ ผลัดกันชนะ เรายังยึดติดอยู่กับภาวะ กูนี่คือฮีโร่ ประเทศไทยผู้ไม่เคยแพ้(จริงหรอ) ผู้ไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของชาติใด (แต่ชาติอื่นๆที่เป็นเมืองขึ้นเจริญล้ำหน้าไปหมดแล้ว) ตำราเรายังคงจดจำความพ่ายแพ้ของผู้อื่น จารึกกลิ่นอายเย้ยหยันเพื่อนบ้านลงไปจางๆ

แล้วเราจะรวมกันได้อย่างไร ถ้าเรายังดูถูกเพื่อนบ้านของเรา ยึดติดอยู่กับชัยชนะในอดีต 

ทองที่ประดับบนเจดีย์ชเวดากองยังเป็นทองที่พม่าขนไปจากกรุงศรี ไทยลาวยังคงเป็นบ้านพี่เมืองน้องกัน (ลาวบอกว่า..ใครน้องมรึงไม่ทราบ!!) กัมพูชายังคงเป็นเขมร ไทยกะเวียดนามยังคงแย่งกันเป็นอันดับ 1 ส่งออกข้าวไปทั่วโลก 

เราสามารถสอนลูกหลานให้เป็นพลเมืองอาเซียนได้ด้วยการเปลี่ยนแปลงทัศนคติในการอยู่ร่วมกัน เรียนรู้ที่จะแพ้ ถ่อมตัว เข้าใจเพื่อนบ้านและประวัติศาสตร์ในแง่มุมต่างๆ ที่เป็นมิติสากลมากขึ้น

ถึงแม้ภาษาจะเป็นสิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน เด็กในสมัยหน้าต้องได้ภาษาอย่างน้อย 3 ภาษา อังกฤษ ต้องพูดสื่อสารได้เหมือนภาษาแม่ สำเนียงอาจจะไม่ใช่สิ่งที่เราต้อง concern อีกต่อไป เพราะในชีวิตประจำวันจริงๆ เราจะเจอคนที่ใช้ภาษาอังกฤษในรูปแบบหลากหลายมาก และอย่างน้อย อีก 1 ภาษา จะจีน หรืออื่นๆก็ตามสะดวก

ด้วยนโยบายด้านการศึกษาที่แตกต่าง วัฒนธรรมที่แตกต่าง ทำให้ ทั้ง 10  ประเทศทีพลเมืองที่มีลักษณะเฉพาะแตกต่างกัน นักวิชาการเค้าลองคิดว่า ในความแตกต่างทั้งหลายเหล่านี้ ถ้าเรามองอาเซียนเป็นองค์กรหนึ่งองค์กร ประชากรแต่ละประเทศ จะเหมาะสมกับตำแหน่งใดในองค์กร
CEO  คงจะเป็นประเทศอื่นไม่ได้เลย ต้องยกให้เค้า สิงคโปร์ เนื่องด้วยประชากรในประเทศมีทักษะในการบริหารงานสูงมาก ไม่ว่าจะด้านการเงิน (CFO ก็เป็นได้) การลงทุน ภาวะผู้นำ และการจัดการ รวมไปถึงทักษะด้านภาษาที่สามารถใช้ได้ทั้งภาษาอังกฤษ จีน และมลายู

CCO (Chief community officer) ยกให้ บรูไน และเวียดนาม เพราะความเป็นมิตร ช่างเจรจาต่อรอง
ด้านการวิจัยและพัฒนา....เทพแห่งข้อมูล ต้องชาวมาเลเซีย
ด้านการต่างประเทศ ยกให้ ฟิลิปปินส์ ด้วยภาษาอังกฤษที่แข็งแรงกว่าชาติอื่นในภูมิภาค
ด้านการตลาดและประชาสัมพันธ์ ลูกค้าสัมพันธ์ ตำแหน่งนี้เป็นของชาติไทย และลาว...จริงจังไม่เป็น เฮฮาพาที ยิ้มสยาม เยสๆ ตลอดเว รึจะกึ่งๆ ไปออกแนว ไอที ชาติไทยเราก็พอกล้อมแกล้มได้อยู่

ถ้าจะจัดอันดับ ranking ให้กับระบบการศึกษาใน 10  ประเทศนี้ 
สิงคโปร์ เวียดนาม และมาเล จัดอยู่ในกลุ่มต้นๆ เพราะมีนโยบายการศึกษาที่ชัดเจน โดยเฉพาะสิงคโปร์ ที่เริ่มต้นทิศทางการศึกษาแบบใหม่ Teach less, Learn more สร้างประเทศให้เป็น learning nations  มาตั้งแต่ปี 2549 ถึงปัจจุบัน เนื่องจากระบบการศึกษาสมัยก่อนมุ่งเน้นเฉพาะผลลัพธ์ในมิติเดียว ทำให้ผลิตประชากรออกมามีคุณภาพแต่ไม่ยั่งยืน รัฐบาลยังไม่พอใจคุณภาพถึงแม้จะเป็นอันดับหนึ่งในภูมิภาคหรืออันดับต้นๆ ของโลกแล้วก็ตาม ทำให้เค้าจัดการเปลี่ยนระบบการศึกษาใหม่  
น่าขนลุกมากเมื่อเปิด VTR สัมภาษณ์เด็กมัธยมจากรร.ในสิงคโปร์ว่า โตขึ้นอยากมีอาชีพอะไร
เด็กคนแรกบอกว่าอยากเป็นนักวิจัย โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับการทำงานของระบบหัวใจ บลาๆๆ ลงดีเทลเยอะมว๊ากกก
เด็กอีกคนบอกว่า อยากเป็นนักจิตวิทยา วิเคราะห์โดยเฉพาะเกี่ยวกับการทำงานของ บลาๆๆๆ ไรสักอย่างลืมไปละ....แต่ฟังแล้วดิชั้น อึ้งงง ว่าเด็กมัธยม รู้ความต้องการของตัวเองได้ลึกมากขนาดนี้เลยหรอเนี่ย ด้วยคำถามเดียวกันนี้ ดิชั้นคิดว่าถ้ามาถามเด็กไทย....คงได้คำตอบแค่ว่า หมอ..บัญชี  ถาปัด วิดวะคอม อะไรเทือกๆนี้ เรียนๆ ไปแล้วก็ไม่รู้ว่าตัวเองจะชอบอีกหรือเปล่าด้วยซ้ำ

การศึกษามาเล ก็ใช่ย่อย สามารถเป็น regional hub เน้นเรื่องการ research and development ได้เลย
เวียดนาม เน้นการเป็น oversea training hub และการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างประเทศ (เวียดนามส่งคนไปเทรนที่โน่นที่นี่เยอะมากกกก)


กัมพูชา ฟิลิปปินส์ อินโด เป็นอีกกลุ่มประเทศที่ให้ความสำคัญในการผลิตพลเมืองอาเซียน
กัมพูชาเน้นสอนภาษาจีนและอังกฤษ
ฟิลิปปินส์ นี่เป็นประเทศส่งออกคนไปทำงานนอกประเทศอยู่แล้ว กว่า 10 ล้านคน ทำงานนอกประเทศแล้วส่งเงินกลับเข้าไป แข็งมากเรื่องภาษา
อินโด เค้าว่าเค้าเป็น  learning &knowledge-based society

โถวถัง! ประเทศเราอยู่ไหนนะ...อ่อ..กลุ่มสุดท้ายนี่ไง 

ไทย ลาว บรูไน โดยเฉพาะประเทศไทยกะลาว เอาแค่ พัฒนาให้ประชากรมีการศึกษาเท่าเทียมกันทั้งประเทศก่อน ยังยากส์...(นั่งดู tablet จิ้มๆ เล่นไปก่อนนะเด็กๆ) 
บรูไน นี่เน้น Quality in higher education institutions. 

ยิ่งถ้าเทียบงบประมาณที่รัฐลงทุนไปกับการพัฒนาการศึกษา เทียบกับคุณภาพการศึกษาแล้ว ชีช้ำกะหล่ำปลี งบประมาณไทยอยู่อันดับต้นๆ แค่คุณภาพน่ะ ท้ายๆ...
แต่ถ้าไม่เฉลี่ยทั้งประเทศ เอาเฉพาะเมืองหลวง ประเทศไทยน่าจะอยู่อันดับ 3 รองจาก สิงคโปร์ และมาเลเซียตามลำดับ

สุดท้าย....แต่ไม่ท้ายสุด ไว้รอมิวมิวพาทุกคนไปเที่ยวชมประเทศอาเซียน ผ่านมุมมองของเด็กน้อยกันนะ ไม่นานเกินรอออออ(หรอออออ)




 

Create Date : 02 ตุลาคม 2555
0 comments
Last Update : 2 ตุลาคม 2555 2:30:37 น.
Counter : 1375 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.