กุ๊ดจัง
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 75 คน [?]




ไม่มีสาระ...จริงๆ นะ..

แต่ถ้าหลวมตัวมาแล้ว จะแอบอ่านก้อไม่ว่ากัน ถ้ารับแนวเถื่อนนิดๆ ถ่อยหน่อยๆ แต่จริงใจได้ ^_^

คิดถึง ถูกใจ ก้อเจิมกันสักนิดนุง แต่ถ้าไม่ถูกใจ มาทางไหนเชิญกลับไปทางนั้น ไม่ต้องเม้นไว้ให้เปลืองมือนะ ฮ่าๆๆ
HighStudio

สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
บทความ โดย littlemiumiu.com อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ต้นฉบับ.
อยู่บนพื้นฐานของงานที่ www.littlemiumiu.com.
การอนุญาตนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในสัญญาอนุญาตนี้ อาจมีอยู่ที่ www.littlemiumiu.com
Group Blog
 
 
เมษายน 2557
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
26 เมษายน 2557
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add กุ๊ดจัง's blog to your web]
Links
 

 
วิธีรับมือกับลูก ด้วยความเข้าใจการเชื่อมโยง สมองซ้าย ขวา Brain Integration

Brain Integration

การทำงานของสมอง โดยการเชื่อมโยงสมอง ซ้ายและขวา ของเด็กๆ นั้น

สำหรับเด็กแล้ว สมองซีกขวา ความรู้สึกอารมณ์พัฒนาก่อน สมองซีกซ้าย ที่เป็นเหตุผล และความคิด


ทำความเข้าใจแบบง่ายๆ ว่า มนุษย์เรา ไม่ว่าจะเด็ก หรือผู้ใหญ่ เมื่อประสาทสัมผัสรับรู้ ก่อนจะแปรรูปออกมาเป็นการกระทำ  มีเบสิกพื้นฐานคือ
ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ แบ่งได้ เยอะเนอะ เช่น Maslow's  hierachy of needs 


ดังนั้น เมื่อมีเหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้น มีความต้องการที่ไม่ได้รับการตอบสนอง มากระทบกับอารมณ์ ความรู้สึกของลูก สมองที่รับความรู้สึก เกิดความสับสน ยุ่งเหยิง ไม่สามารถเข้าใจได้ 


สิ่งที่พ่อแม่สามารถทำได้ คือ 

1. เชื่อมโยงกับลูก ด้วย ภาษา ที่เชื่อมโยงไปยังสมองซีกขวาก่อน  การรับรู้ความรู้สึก อารมณ์ ที่เกิดขึ้นของลูก บางที เด็ก ไม่รู้ตัวเองด้วยซ้ำว่า มีอารมณ์บางอย่างเกิดขึ้น บางทีผู้ใหญ่ก็ไม่รู้ตัวนะ สติ ตระหนักรู้จึงเป็นเรื่องสำคัญที่เราควรฝึก  เด็กๆ ยิ่งแล้วใหญ่ บางอารมณ์ ความรู้สึกที่ซับซ้อน เขายังไม่สามารถอธิบายได้  


พ่อแม่สามารถสร้างพื้นที่ในการสื่อสาร ผ่าน เรื่องเล่า ให้เค้าค่อยๆ เข้าใจตัวเอง ปลดปล่อยอารมณ์ออกมา 


2. จากนั้นแล้วเราจึงสอดแทรกตรรกะ เหตุผลลงไป แต่ระวังจะเป็นการเทศนา สั่งสอน ตัดสิน ชี้ถูก ชี้ผิด  อันนั้นไม่ใช่ อันนี้ควรทำ อันนี้ไม่ควรทำ  หรือ เป็นการทำ "เพื่อที่จะ"  บางอย่าง 


ถ้าเป็นไปได้ ส่วนตัวคิดว่า สอนตรรกะ และเหตุผล ผ่านกระบวนการ coaching จะดีมาก (กำลังฝึกอยู่เหมือนกันฮะ)
Coaching  ไม่ใช่การสั่งสอน แต่เป็นการใช้คำถาม แล้วเปิดพื้นที่ของคำถาม ทำให้คนที่อยู่ตรงหน้าเรา เข้าถึงการคิดหาคำตอบได้เองแบบสมบูรณ์ 100% ถ้าเป็นแบบนี้ได้ คำตอบมักจะนำไปสู่พฤติกรรมใหม่ๆ โดยที่เจ้าตัวเอง เป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงด้วยตัวเอง

ถึงแม้เราจะรู้คำตอบที่ถูก ที่ควรอยู่แล้ว เราก็ไม่อยากจะยัดเยียดคำตอบของเรา สิ่งที่เราเชื่อ ให้คนอื่น ฝึกให้เด็กๆ ลองคิด หาคำตอบด้วยตัวเอง (ตามวัย  คงไม่คาดหวังจะได้คำตอบสวยหรูจากเด็กเล็กๆ ใช่ป่าว) 




Memory

เมื่อเด็ก สามารถเชื่อมโยงเรื่องเล่า กับความรู้สึกตัวเองได้แล้ว เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จะกลายเป็นความทรงจำ ที่สมองรับรู้ชัดว่าเป็นอดีต

การปฏิเสธความรู้สึกเจ็บปวด สับสนที่เกิดขึ้นมาในขณะนั้นของลูก หรือพยายามใช้เหตุผล สมองซีกซ้าย เข้าไปอธิบาย สอน ก่อนที่ความรู้สึกจะถูกรับรู้ ส่งผลให้สิ่งเหล่านั้นยังคงค้างอยู่  ไม่หายไปไหน เป็นความทรงจำที่เราอาจจะจำไม่ได้ แต่แทรกซึมลงไปในจิตไร้สำนึก ที่แม้เวลาจะผ่านไป ความทรงจำเหล่านั้นยังคงคอยหลอกหลอน โดยไม่รู้ตัว เช่น เด็กบางคนมีประสบการณ์เลวร้ายบางอย่าง การต้องออกไปพูดหน้าชั้นเรียน หรือ ถูกทำให้อับอาย ถูกทิ้งไว้ที่โรงเรียนพ่อแม่ลืมไปรับ การถูกทำให้รอคอย เมื่อเวลาผ่านไปถึงจะลืมเรื่องราวเหล่านั้นไปแล้ว แต่ความกลัวไม่เป็นที่รัก ความไม่กล้าแสดงออก การกลัวถูกทิ้ง ยังคงอยู่กับเราเสมอ

การที่ลูกหกล้ม แล้วผู้ใหญ่วิ่งเข้าไปบอกว่า ไม่เจ็บหรอกลูก นิดเดียวเอง อย่าร้องไห้ จึงเป็นการตัดอารมณ์ความรู้สึกของเด็ก ผลักไสอารมณ์ความรู้สึก และการทำงานของสมองซีกขวาอย่างสิ้นเชิง เมื่อความรู้สึกไม่ถูกรับรู้ ไม่มีพื้นที่ในการรับฟังหรือปลดปล่อย เรามีแนวโน้มที่จะเก็บมันไว้ และไม่รับรู้ถึงมันอีกต่อไป

เราเติบโตขึ้นมา โดยไม่รู้จักวิธีการแสดงความรู้สึก ถึงแม้ภายนอกอาจจะดูเข้มแข็ง มีเหตุผล แต่ภายใน เราไม่สามารถที่จะเข้าใจตัวเองและผู้คนรอบข้างได้
ความไม่เข้าใจตัวเองและผู้อื่นนี้ อาจแปรเปลี่ยนกลายเป็นความเหงาที่ต้องหาสิ่งเติมเต็มจากภายนอก ไม่ว่าจะเป็นการไขว่คว้าหาคนรัก จากลูก จากเพื่อน หรือคนรอบข้าง ต้องการการยอมรับ การได้มาครอบครองซึ่งสิ่งของ เพื่อเติมเต็มความรู้สึกต่างๆ

แค่เรื่องเล็กๆ ของสมอง ก็อาจจะกลายเป็นเรื่องใหญ่ได้ โดยที่เราไม่รู้ตัว



ตัวอย่างการใช้ความเข้าใจเกี่ยวกับ Brain Integration มาใช้กับเด็ก

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=nugade&month=26-04-2014&group=12&gblog=26




Create Date : 26 เมษายน 2557
Last Update : 10 มิถุนายน 2557 15:22:12 น. 0 comments
Counter : 1832 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.