โรคกรดไหลย้อน
ตามปกติแล้ว ช่วงต่อของกระเพาะอาหารและหลอดอาหารจะมีกล้ามเนื้อหู รูดที่ทำหน้าที่ปิดกั้นไม่ให้อาหารหรือกรดในกระเพาะอ าหารไหลย้อนกลับขึ้นไปยังหลอดอาหาร

โรคกรดไหลย้อน คือภาวะที่กรดหรือน้ำย่อยจากกระเพาะอาหารสามารถไหลย้ อนขึ้นไปยังหลอดอาหารได้ ซึ่งอาจเกิดได้จากกล้ามเนื้อหูรูดดังกล่าวทำงานผิดปก ติไป


ปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้เกิดกรดไหลย้อน ที่สำคัญได้แก่ ความ อ้วน การตั้งครรภ์ การสูบบุหรี่ และอาหารบางประเภท เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาหารรสจัด ทั้งเปรี้ยว เผ็ด เค็ม อาหารมัน อาหารทอด ตลอดจนช็อกโกแลต หอม กระเทียม มะเขือเทศ และผลไม้รสเปรี้ยว

ภาวะกรดไหลย้อนกลับสามารถเกิดขึ้นได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นโรคกรดไหลย้อนเสมอไป จะสรุปได้ว่าเป็นโรคกรดไหลย้อนก็ต่อเมื่อเป็นมานานต่ อเนื่องและเกิดขึ้นมากกว่า 2 ครั้งในหนึ่งสัปดาห์ จนทำให้เกิดอาการเจ็บป่วย

อาการของกรดไหลย้อน แบ่งได้เป็น 2 ระบบ คือ
- อาการทางหลอดอาหาร จะมีอาการเจ็บคอ กลืนลำบาก รู้สึกเหมือนมีก้อนอยู่ในคอ แสบลิ้นเรื้อรังโดยเฉพาะในตอนเช้า จุกแน่นหน้าอกคล้ายอาหารไม่ย่อย เรอบ่อย คลื่นไส้ อาการมักจะเป็นมากขึ้นหลังอาหารมื้อหลัก เวลาโน้มตัวไปข้างหน้า ยกของหนัก หรือนอนหงาย ที่สำคัญคือจะมีอาการปวดแสบบริเวณหน้าอกและลิ้นปี่หร ืออาจลามขึ้นมาที่คอ เรอเปรี้ยวหรือรู้สึกขมในปาก

- อาการทางกล่องเสียงและปอด จะมีเสียงแหบเรื้อรังหรือแหบเฉพาะตอนเช้า หรือมีเสียงผิดปกติไปจากเดิม ไอเรื้อรัง ไอหรือสำลักในเวลากลางคืน กระแอมบ่อยๆ บางรายอาจมีอาการทางระบบหายใจ เช่น หอบหืด หรืออาการเจ็บหน้าอกได้

ภาวะอาการเหล่านี้อาจทำให้หลอดอาหารอักเสบหรือเป็นมา กจนเกิดแผล มีเลือดออก หรือทำให้ปลายหลอดอาหารตีบทำให้กลืนอาหารลำบาก หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เยื่อบุหลอดอาหาร บางรายอาจรุนแรงจนถึงขั้นเป็นมะเร็งหลอดอาหารได้ นอกจากนี้ยังอาจทำให้โรคปอดแย่ลง เช่น โรคหอบหืดเป็นมากขึ้น ไอเรื้อรัง หรือปอดอักเสบ

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ช่วยให้อาการของโรคกรดไหลย้อนดีขึ้นได้ ดังนี้
- ผู้ที่มีน้ำหนักเกินควรลดน้ำหนัก เพราะคนอ้วนจะมีความดันในช่องท้องสูง ทำให้เกิดกรดไหลย้อนได้มาก
- งดสูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่จะทำให้เกิดกรดมาก และทำให้กล้ามเนื้อหูรูดไม่แข็งแรง
- หลีกเลี่ยงสุรา เบียร์ ชา กาแฟ น้ำอัดลม ซึ่งจะกระตุ้นให้กระเพาะหลั่งกรดมากขึ้น
- งดอาหารมัน อาหารทอด อาหารรสจัด และอาหารที่ปรุงด้วยหัวหอม กระเทียม มะเขือเทศ ผลไม้รสเปรี้ยว รวมทั้งช็อกโกแลต
- งดอาหารก่อนนอน 3 ชั่วโมง เพราะทุกครั้งที่รับประทานอาหาร กระเพาะจะหลั่งกรดออกมาเพิ่มขึ้น เพิ่มความเสี่ยงที่กรดจะไหลย้อนกลับ
- รับประทานอาหารแต่พออิ่ม หรืออาจแบ่งเป็นมื้อเล็กๆ กินทีละน้อย แต่กินบ่อยๆ
- นอนให้ศีรษะสูงประมาณ 6-10 นิ้ว โดยหนุนที่ขาเตียง ไม่ควรใช้หมอนหนุนที่ศีรษะเพราะจะทำให้ความดันในช่อง ท้องสูงขึ้น
- ใส่เสื้อผ้าหลวมๆ เพื่อไม่ให้เกิดความดันในช่องท้อง
- หากอาการไม่รุนแรงนัก การบริหารกล้ามเนื้อหน้าท้องจะช่วยให้การบีบรัดของกล ้ามเนื้อกระเพาะอาหารทำงานได้ดีขึ้น

โรค กรดไหลย้อนสามารถรักษาให้หายได้โดยการรับประทานยา ในกลุ่มยาลดกรดและยายับยั้งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหา ร รวมถึงยาที่ช่วยให้กล้ามเนื้อบริเวณกระเพาะอาหารทำงา นได้ดีขึ้น ควรรับประทานยาสม่ำเสมอตามแพทย์สั่ง ไม่ควรลดขนาดยาหรือหยุดยาเอง และควรพบแพทย์ตามนัดอย่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยบางรายอาจใช้เวลานานประมาณ 1 - 3 เดือน กว่าอาการจะดีขึ้น

นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงยาบางชนิดที่ทำให้กระเพาะหลั่ งกรดมากขึ้น หรือทำให้หูรูดหย่อน เช่น ยาแก้ปวดแอสไพริน NSAID และวิตามิน C

ส่วนการรักษาโดยการผ่าตัด จะใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรง เมื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการใช้ยาไม่ได้ผล จึงจะใช้วิธีการผ่าตัดผูกหูรูดกระเพาะอาหารเพื่อไม่ใ ห้กรดไหลย้อน





ข้อมูลจากForward mail



Create Date : 12 ตุลาคม 2552
Last Update : 12 ตุลาคม 2552 0:55:00 น.
Counter : 474 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Caffein Dog
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 14 คน [?]



Group Blog
ตุลาคม 2552

 
 
 
 
1
4
5
6
9
10
11
13
15
16
17
18
19
20
22
23
24
25
26
27
28
29
 
All Blog