1ตุลาคม "วันชาติจีน"

คำว่า “กั๋วชิ่ง(国庆)” ในภาษาจีนหมายถึง กิจกรรมเฉลิมฉลองการสถาปนาประเทศ ปรากฏครั้งแรกในยุคราชวงศ์จิ้นตะวันตก (西晋) ทั้งนี้ สามารถสืบค้นได้จากผลงานประพันธ์ของลู่จี (陆机) นักประพันธ์ที่มีชีวิตอยู่ในยุคดังกล่าว อย่างไรก็ดี การเฉลิมฉลองวันชาติที่นับว่าเป็นเรื่องใหญ่ กลับไม่ได้มีความสลักสำคัญเท่ากับวันพระราชสมภพ (诞辰) และวันขึ้นครองราชย์(登位) ของกษัตริย์แต่อย่างใด (ในสมัยราชวงศ์ชิงถึงกับขนานนามวันพระราชสมภพว่าเป็น “เทศกาลหมื่นปี” 万岁节) ดังนั้น ชาวจีนโบราณจึงรวมเรียกวันที่กษัตริย์เสด็จขึ้นครองราชย์และวันพระราชสมภพว่าเป็น “วันชาติจีน” ขณะที่ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน (中华人民共和国) กลับยึดเอาวันสถาปนาประเทศเป็นวันชาติโดยถือเอาวันที่ 1 เดือนตุลาคมของทุกปี

ก่อนที่จะมีการกำหนดวันดังกล่าวให้เป็นวันชาติจีนใหม่ ทางคณะรัฐบาลยุคนั้นซึ่งนำโดยประธานาธิบดีเหมาเจ๋อตง (毛泽东) ได้เตรียมการหลายอย่างเพื่อการนี้ จึงเป็นที่มาของสัญลักษณ์ธงประจำชาติ พิธีการชักธงขึ้นสู่ยอดเสาที่ตั้งตระหง่านอยู่บริเวณหน้าจัตุรัสเทียนอันเห มิน (天安门广场) ตลอดจนเพลงชาติและพิธีกรรมต่างๆ ที่ผู้นำจีนใหม่ทุกยุคทุกสมัยล้วนปฏิบัติสืบต่อกันเป็นธรรมเนียม

เริ่มจากวันที่ 6–8 เดือนมกราคม ปี ค.ศ. 1949 คณะรัฐบาลกลางร่วมประชุมกันที่เนินเขาซีป๋อ (西柏) ตำบลผิงซาน(平山县) มณฑลเหอเป่ย (河北省) การประชุมในครั้งนั้นมีผู้เสนอญัตติให้มีแถลงการณ์สถาปนาประเทศสาธารณรัฐ ประชาชนจีนขึ้นอย่างเป็นทางการ และมีการจัดตั้งรัฐบาลกลางเพื่อร่วมร่างนโยบายบริหารประเทศ นำไปสู่การเปิดประชุมวิสามัญครั้งแรกของคณะบริหารประเทศ ณ กรุงปักกิ่งระหว่างวันที่ 21–29 เดือนกันยายนปีเดียวกัน จากนั้น จึงมีการกำหนดร่างกฎหมายของคณะรัฐบาลให้มีการกำหนดเมืองหลวงของประเทศ (国都) ธงประจำชาติ (国旗)เพลงชาติ (国歌)ตลอดจนการเริ่มใช้ศักราชจีนใหม่ (纪年) โดยที่ประชุมลงมติให้เหมาเจ๋อตงเป็นผู้นำรัฐบาล และมีจูเต๋อ (朱德) หลิวเซ่าฉี (刘少奇) ซ่งชิ่งหลิง (宋庆龄) หลี่จี้เซิน (李济深)จางหลัน (张澜) และเกากั่งเหวย (高岗为) ดำรงตำแหน่งเป็นรองประธานาธิบดี พร้อมกันนี้ยังมีการเลือกคณะกรรมการบริหารประเทศจำนวน 180 คน

ทั้งนี้ กว่าที่จะมีการกำหนดใช้ธง 5 ดาวบนพื้นสีแดงดังในปัจจุบัน ทางคณะกรรมการได้เคยประกาศให้ประชาชนทั่วไปส่งผลงานการออกแบบธงชาติจีนตาม ความคิดของตนโดยไม่มีการกำหนดข้อจำกัดใดๆ ทั้งสิ้น ผลปรากฏว่า เมื่อคณะกรรมการพิจารณาจากผลงานที่เข้ารอบแล้ว ต่างลงความเห็นว่า ธงชาติรูปที่มีด้ามเคียวและขวานบนดาวดวงใหญ่ 1 ดวงกับดาวดวงเล็กอีก 4 ดวงถือว่าเหมาะสมที่สุด แต่เนื่องจากมีความคล้ายคลึงกับธงชาติของประเทศสหภาพโซเวียต (苏联)ในยุคนั้นซึ่งอาจทำให้คนทั่วไปเกิดความสับสน ยิ่งไปกว่านั้น ในฐานะที่เป็นประเทศเอกราช ธงชาติจึงจำเป็นต้องมีความเป็นเอกเทศ ด้วยเหตุผลเหล่านี้ทำให้รูปแบบของธงดังกล่าวไม่ผ่านการเห็นชอบจากคณะผู้จัด ทำ แต่หลังจากที่เผิงกวงหาน (彭光涵)ผู้รับผิดชอบเรื่องการออกแบบธงรายงานต่อประธานเหมาฯ แล้ว ท่านกลับไม่เห็นชอบกับรูปแบบธงชนิดอื่นๆ ที่ผ่านเข้ารอบ เว้นแต่รูปแบบของธงผืนข้างต้น และเสนอให้ลบภาพเคียวและขวานออก จึงเหลือเป็นธงที่มีดาว 5 ดวงบนพื้นสีแดง จากนั้นก็เปลี่ยนมาเรียกเป็น “ธง 5 ดาวบนพื้นแดง” (五星红旗)

ขณะที่ “เพลงมาร์ชทหารหาญ” (义勇军进行曲) หรือเพลงชาติของจีนปรากฏครั้งแรกในปี ค.ศ. 1935 โดยมีเถียนฮั่น(田汉) เป็นผู้ประพันธ์เนื้อร้องและเนี่ยเอ่อ (聂耳) เป็นผู้ประพันธ์ทำนองเพลง เดิมทีใช้เป็นเพลงนำภาพยนตร์เรื่อง “เฟิง อวิ๋นเอ๋อร์หนี่ว์” (风云儿女) ซึ่งบรรยายเกี่ยวกับเหตุการณ์หลังวันที่ 18 กันยายน เมื่อลัทธิจักรวรรดินิยมญี่ปุ่นเข้ายึดครองมณฑลเฮยหลงเจียง (黑龙江省) มณฑลจี๋หลิน (吉林省) และมณฑลเหลียวหนิง (辽宁省) อำนาจอธิปไตยของประเทศตะวันตกอยู่ในภาวะหน้าสิ่วหน้าขวาน หลังจากที่เถียนฮั่นเขียนบทภาพยนตร์เรื่องนี้เสร็จ กลับถูกทางรัฐบาลจับกุม แต่เนื่องจากเนี่ยเอ่อมีความมานะจึงทำทุกวิถีทางเพื่อผลักดันให้ภาพยนตร์ เรื่องดังกล่าวออกฉาย หลังจากนั้นไม่นาน เพลงปลุกใจบทนี้ได้กลายเป็นสัญลักษณ์แห่งการต่อต้านการรุกรานจากต่างชาติ หลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นช่วงเหตุการณ์โค่นล้มเจียงไคเช็ก (蒋介石)และการต่อสู้เพื่ออธิปไตยของกองทัพปลดแอก (解放军建国) จนสามารถสถาปนาเป็นประเทศเอกราชที่ปกครองภายใต้ระบบสังคมนิยมในที่สุด

จวบจนปัจจุบัน ต้นเสาที่ใช้ในการเชิญธงชาติจีนขึ้นสู่ยอดบริเวณจัตุรัสเทียนอันเหมินนั้น ผ่านการบูรณะเพิ่มเติมเพียงครั้งเดียว กล่าวคือ เสาต้นเดิมที่เหมาเจ๋อตงเป็นผู้เชิญธงขึ้นสู่ยอดเสาเป็นครั้งแรกในวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1949 นั้น มีความสูงเพียง 22 เมตร ต่อมาในวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1991 มีการซ่อมแซมเพิ่มเติม โดยเพิ่มความสูงขึ้นเป็น 32.6 เมตร เหตุที่มีการซ่อมแซมเพิ่มเติมนั้นเกิดจากปัจจัยหลัก 2 ประการ คือ เสาต้นเดิมผ่านการใช้งานนานนับ 42 ปี จึงเกิดการสึกกร่อน ขณะเดียวกัน ช่วงเวลานั้น มีกลุ่มสิ่งปลูกสร้างที่มีความโอ่อ่าและสูงตระหง่านอย่างหอประชุมสภา นิติบัญญัติแห่งชาติจีน (人民大会堂)พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ (历史博物馆) และหอรำลึกเหมาเจ๋อตง (毛泽东纪念堂) ที่สร้างขึ้นใหม่บริเวณจัตุรัสแห่งนี้ ส่งผลให้เสาเชิญธงต้นเดิมมีความสูงลดหลั่นจากสิ่งปลูกสร้างอื่นอย่างชัดเจน ไม่เข้ากับสิ่งปลูกสร้างสมัยใหม่เหล่านี้ เสาต้นใหม่ที่ผ่านการบูรณะสามารถแบ่งเป็น 3 ชั้น เริ่มจากการการปูหยกขาวที่มีความสูง 80 เซนติเมตร ล้อมรอบโคนเสาชั้นใน มีทางเดินเข้าออกด้านซ้ายและขวาที่มีความกว้างขนาด 2 เมตร ชั้นกลางปูด้วยหินลวดลายสีแดงล้อมบริเวณโคนเสาธงโดยรอบ มีความกว้าง 2 เมตรกว่า การใช้สีแดงเพื่อสื่อความหมายถึง “เลือดรักชาติของประชาชนชาวจีน” ชั้นนอกสุดเป็นพื้นสีเขียวที่มีความกว้าง 5 เมตร ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของเกียรติภูมิแห่งมาตุภูมิ บริเวณทั้งสี่ด้านของแท่นเสาธงจะล้อมรั้วที่ทำด้วยทองเหลือง 56 อัน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการร่วมมือร่วมใจของชาวจีนทั้ง 56 ชนชาติ ภายใต้ธงแดง 5 ดาวผืนนี้






ข้อมูลจากForward mail



Create Date : 03 ตุลาคม 2552
Last Update : 3 ตุลาคม 2552 20:22:44 น.
Counter : 652 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Caffein Dog
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 14 คน [?]



Group Blog
ตุลาคม 2552

 
 
 
 
1
4
5
6
9
10
11
13
15
16
17
18
19
20
22
23
24
25
26
27
28
29
 
All Blog