ที่มาของประเพณีการล้างเท้า "เจ้าบ่าว"
เมื่อขบวนขันหมากของเจ้าบ่าวเดินทางมาถึงบ้านเจ้าสาว สิ่งหนึ่งที่พึงปฏิบัติสืบเนืองกันมาแต่โบราณกาลนั่นก็คือ "การล้างเท้าเจ้าบ่าว" เชื่อว่าหลายคนคงอยากรู้ว่า การล้างเท้าเจ้าบ่าว มีที่ไปที่มาอย่างไร วันนี้กระปุกเวดดิ้งเลยจะพาไปหาคำตอบกันค่ะ

ในสมัยโบราณนั้น ยังไม่มีรองเท้าสวมใส่เหมือนย่างในปัจจุบัน เมื่อขบวนขันหมากยกมาถึงบ้านเจ้าสาว จึงจำเป็นต้องมีการล้างเท้าให้สะอาดก่อนขึ้นเรือน ต่อมาคนไทยได้รับวัฒนธรรมทางของอิสลามมาผสมผสาน ทำให้พิธีล้างเท้าของเจ้าบ่าวต้องรองด้วยใบตองและก้อนหินใหญ่ ตามอย่างในวัฒนธรรมของอิสลาม อีกทั้งคนไทยเห็นว่าการยืนล้างเท้าบนใบตองและก้อนหิน สะอาดกว่าการยืนล้างเท้าบนพื้นดิน จึงสืบทอดปฏิบัติกันมาจนถึงปัจจุบัน


ทั้งนี้ ส่วนมากบุคคลที่จะมาล้างและช่วยเช็ดเท้าให้เจ้าบ่าวมักเป็นน้องหรือญาติของเจ้าสาว เพื่อเป็นการแสดงถึงความเคารพตามประเพณี การแสดงอัธยาศัยไมตรีในการต้อนรับเจ้าบ่าวที่จะมาเป็นพี่เขย และเป๋นการแสดงความเคารพตามประเพณี

โดยมีขั้นตอนคือ เมื่อเจ้าบ่าวถึงบริเวณหน้าประตูภายในบ้านเจ้าสาว น้องหรือญาติของเจ้าสาวจะตักน้ำสะอาด (ผสมมะกรูด มะนาว) บรรจุในขันเงิน ล้างเท้าและช่วยเช็ดเท้าให้เจ้าบ่าว เพื่อเป็นการต้อนรับเจ้าบ่าวเข้ามาอยู่ในครอบครัว ซึ่งเจ้าบ่าวต้องให้ซองเงินหรือสิ่งของเล็ก ๆ น้อย ๆ เป็นรางวัล จากนั้นญาติผู้ใหญ่ฝ่ายเจ้าสาวที่มีการครองเรือนดี จะออกมารับและจูงมือเจ้าบ่าวเข้าบ้านเพื่อทำพิธีต่อไป




ข้อมูลจาก I Do



Create Date : 23 กรกฎาคม 2553
Last Update : 23 กรกฎาคม 2553 19:13:38 น.
Counter : 1100 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Caffein Dog
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 14 คน [?]



Group Blog
กรกฏาคม 2553

 
 
 
 
2
3
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
22
25
28
31
 
All Blog