มึงอย่ามาโชว์เทพใช้ M ได้มั้ย กูรำคาญว่ะ
จั่วหัวซะแรงเชียว :)
จริงๆ ไม่มีอะไรหรอก


อย่างที่บอกไปตอนที่แล้วว่าผมอยู่กลุ่ม Anti-M
อันที่จริงก็ไม่เชิงแอนตี้หรอก เพียงแต่ผมไม่ค่อยเห็นด้วยกับการใช้โหมดบันทึกภาพไม่ถูกต้องกับสถานการณ์ในการถ่ายภาพ
และไม่เห็นด้วยกับความคิดที่ว่า ใช้ M สิ เจ๋ง ใครใช้ P เป็นพวกถ่ายรูปไม่เป็น ไม่ได้เรื่อง

บอกก่อนว่า โหมดประจำตัวของผมคือ Program และ Program Shift (P*, Ps)
ไม่ใช่ว่าใช้ M ไม่เป็น ที่จริงผมก็หัดถ่ายรูปมาจากกล้องฟิล์มแมคคานิคส์ กับภาพขาวดำ และ Zone System มาเกือบสิบปีแล้ว ก็ใช้กล้องในระบบแมนนวลมาตลอด
เพิ่งจะมาฝึกใช้ P ก็สามสี่ปีหลังนี่เอง

มีคนบอกว่าน้าจะใช้ P ต้องฝึกด้วยเหรอเนี่ย... แค่กดๆ ก็ได้แล้ว

ฝึกสิครับ เพราะ P ของกล้องมีกระบวนการเลือก Combination ของช่องรับแสง และชัตเตอร์สปีดตามที่ถูกโปรแกรมมาจากบริษัทกล้อง
ซึ่งเบื้องหลังเซตติ้งเหล่านี้ ผ่านการวิเคราะห์จากวิศวกรทางออปติกส์ และช่างภาพมืออาชีพเป็นพันๆ หมื่นๆ คนมานานเป็นสิบปีแล้ว เพื่อให้ได้คอมบิเนชั่นที่ดีที่สุดในแต่ละสถานการณ์

ผมก็ต้องมาเรียนรู้นิสัยของกล้องว่า ในสภาพแสง ฉาก ทางยาวโฟกัส ระยะโฟกัส และการถ่ายแบบนี้ P มันจะมีแนวโน้มเลือก combination ไหนให้เรา และเราจะเชื่อ หรือไม่เชื่อมันเพราะอะไร
จะได้ดักทางมันถูกว่าจะต้องชิฟท์คอมบิเนชั่นนี้ไปทางไหน หรือชดเชยแสงเท่าไหร่เพื่อให้ได้ภาพในแบบที่ต้องการ
หรือว่าในครั้งนั้นๆ เราจะสามารถไว้ใจ ปล่อยให้กล้องตัดสินใจเองไปได้เลย

==========================

มีอะไรในหัว ตอนใช้ M

เวลาที่เราใช้ M จะมีความคิดอยู่ในหัวเป็นสิบๆ เรื่อง ถ้าหัดถ่ายรูปใหม่ๆ มันก็เป็นเรื่องรบกวนสมาธิในการถ่ายภาพอย่างมาก
จนกว่าจะเก่ง และใช้ได้โดยอัตโนมัตินั่นแหละถึงจะเลิกคิดได้ แต่ก็จะมีเรื่องที่อาจจะแอบกังวลอยู่นิดหน่อย แต่ไม่ทันได้นึก ก็คือ Combination ที่เราเลือกใช้นั้น เป็น combination ที่ดีที่สุดจริงหรือไม่

พอยกกล้องขึ้นเช็คค่าแสงปุ๊บ เห็นสเกลวัดแสง ก่อนปรับค่าช่องรับแสง หรือความไวชัตเตอร์ให้สเกลเข้าหา 0 หรือบวกลบตามต้องการ
ความคิดในขณะนั้นคือ เราจะเอาค่าช่องรับแสง หรือความไวชัตเตอร์เป็นหลัก
และจะวางไว้ที่ค่าไหน ก่อนปรับอีกค่าหนึ่งตาม

เอาล่ะในสถานการณ์ที่เรานิยมกันส่วนใหญ่ ในการถ่ายรูปทั่วไป
เพราะ "เขาว่า" หรือ "เชื่อว่า" (ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจริงหรือเปล่า) วางค่าช่องรับแสงไว้ที่ f/8 ก่อน จะดีที่สุด
เราก็จะปรับช่องรับแสงไปที่ f/8
แล้วจากนั้นเราก็ดูสเกลวัดแสงอีกที ถ้าค่าแสงยังไม่พอดี เราก็จะปรับค่าความไวชัตเตอร์จนกว่าจะพอดี
และหากจะต้องชดเชยการเปิดรับแสงเพิ่มลด เราก็จะหมุนเพิ่มหรือลดอีกครั้งหนึ่ง
เสร็จแล้วก็จะมองความไวชัตเตอร์อีกรอบ ดูว่าต่ำไปหรือไม่ ถ้าต่ำไป ก็จะต้องเปิดช่องรับแสงเพิ่ม

หากทำจนชำนาญแล้ว เราก็จะลัดขั้นตอนบางขั้นไปได้
แต่ทั้งนี้ในระหว่างหาค่าการเปิดรับแสงที่เหมาะๆ สมองเราก็จะทำงานในด้านเทคนิคอย่างมาก แม้ว่าเราจะทำอย่างอัตโนมัติ ไม่รู้ตัวก็เถอะ


หากอ่านในหลายๆ บทความเกี่ยวกับการทำงานของสมอง จะรู้ว่าเมื่อเราใช้สมองทำงานด้านเทคนิคมากขึ้น สมองจะลดการทำงานในด้านความคิดสร้างสรรค์ลงไปโดยไม่รู้ตัว
ซึ่งไม่ใช่เรื่องดีเลย ในการถ่ายภาพ ที่จัดว่าเป็นงานด้านศิลปะชนิดหนึ่ง

โดยมีเรื่องเทคนิคเป็นพาหนะ และเป็นพาหนะที่ทำงานโดยอัตโนมัติเสียด้วย
ทั้งที่นั่งเอนหลังสบายๆ มันก็พาเราไปถึงจุดหมายได้อัตโนมัติ เร็วกว่า และมีประสิทธิภาพกว่าเข้าไปยุ่งกะมันด้วย
แต่เราก็ดันไปเอาใจใส่ว่ามันทำงานอย่างไร ต้องปรับจูนอะไร จะขับอย่างไร แทนที่จะเอาใจใส่ และเอมอิ่มไปกับกับวิวข้างทาง

และที่สำคัญที่สุด "จุดหมาย" ที่เราต้องการไป

การลดการทำงานด้านเทคนิคของสมองไปให้มากที่สุด เราก็จะทำงานด้านจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ได้มากขึ้น จะเป็นการดีกว่า
ไม่มีประโยชน์อะไรที่จะมาโชว์เท่ห์ โชว์พาว โชว์เทพว่าข้าพเจ้านี่ใช้โหมด M ได้เก่ง วัดแสงได้แม่นเป๊ะ ไม่ต้องมาปรับแก้ทีหลัง ด้วยการถ่ายซ่อม หรือแก้ในคอมพ์เอาทีหลัง

เป็นเรื่องหนึ่งที่ผมก็ไม่เห็นประโยชน์ว่าถ้าผลท้ายสุดมันก็ได้ภาพค่าแสงที่ดีเหมือนกัน ไม่ว่าจะถ่ายวิธีไหน การจะแก้แสงทีหลังในโปรแกรม หรือถ่ายซ้ำสองสามรอบ หรือวัดแสงอย่างประณีตใช้เวลาเยอะ จะงัดวิชา Zone System มาใช้ หรือจะถ่ายคร่อมสักสิบเฟรม คุณค่าของภาพต่างกันตรงไหนหว่า

หรือว่าภาพที่วัดแสง และปรับด้วยแมนนวลเป้งเดียวเข้าเป้า มันจะมีคุณค่าทางศิลปะ หรือความสวยงามสูงกว่า...

ผมว่า ขอให้ได้แสงถูกต้องก็แล้วกัน ยังไงคนดูภาพเค้าก็ไม่สนอยู่แล้วว่าคุณจะใช้วิธีไหนเพื่อให้ได้ภาพที่มีแสงถูกต้อง ตราบใดที่ภาพมันสวย ดูดี มีคุณค่าทางศิลปะ สำเร็จในการสื่อสาร บันทึกความทรงจำของวันเวลาสถานการณ์ได้ดี (หรือบางทีแค่เห็นหน้าเค้าชัดก็พอ)

==============================================

นั่นว่ากันในเรื่องที่สภาพแสงนิ่งไม่เปลี่ยนแปลง
ส่วนเรื่องที่แสงเปลี่ยนแปลง สถานการณ์จะซับซ้อนกว่านั้นอีกสักสิบเท่า

สมมุติ เราเริ่มจากถ่ายกลางแจ้ง 200 ISO, f/16, 1/125 แล้วเกิดมีเมฆครึ้มมาบัง แสงตกลงไป 2 สต็อป เราจะแก้ปัญหาอย่างไร
การเพิ่มการเปิดรับแสงให้มากขึ้น มีทางเลือกนับไม่ถ้วนอย่างเช่น
200 ISO, f/8, 1/125
200 ISO, f/16, 1/30
800 ISO, f/16, 1/125
200 ISO, f/11, 1/60
............
........
....

และอีกนับสิบๆ ทางเลือก ว่าจะปรับค่าเดียว ปรับสองอย่าง ปรับสามอย่าง
และยังแบ่งไปอีกว่าปรับอันนู้นมาก อันนี้น้อย หรือเท่ากัน หรือฯลฯ

ความคิดเหล่านี้จะวิ่งอยู่ในหัวช่างภาพ ว่าจะเลือกค่าไหนถึงจะเหมาะที่สุด

ในสถานการณ์อีกหลายๆ แบบเช่นจากแสงมาก ลงมาที่แสงปานกลาง
จากแสงปานกลางลงมาที่แสงน้อย
จากแสงน้อย ลงมาที่น้อยยยยยยยมาก
จากแสงน้อยยยยมาก มาที่น้อย (ไม่มาก)
จากน้อยไปปานกลาง และจากปานกลางไปมาก
ในสถานการณ์เหล่านี้ การเลือกคอมบิเนชั่นทั้ง 3 จะมีวิธีการปรับเลือกที่ไม่เหมือนกัน
แม้จะกำลังถ่ายวัตถุเดียวกันอยู่ และในใจจริงก็อยากได้ภาพคล้ายๆ กันก็ตาม
นี่ยังมีความซับซ้อนที่ว่า ถ้าวัตถุ และฉากเปลี่ยนไปเข้ามาให้ปวดหัวอีกเรื่องหนึ่ง

*****
คำถามทางเทคนิค ที่นักถ่ายภาพผู้นิยม M หรือผู้ที่คิดว่าถ่าย M แล้วจะสุดยอด
ประชาชนทั่วหล้าพากับชาบู ยกย่องสรรเสริญ ปานเทพทางการถ่ายภาพมาจุติบนโลก
จะต้องตอบคือ...
*****

ทำไมเลือกใช้ช่องรับแสงนั้น ทำไมใช้ความไวชัตเตอร์นั้น ทำไมใช้ความไวแสงนั้น
และค่าที่เลือกมาจะได้ภาพอย่างไร ทำไมค่าอื่นที่ต่างกันอีกสัก 1/2-1/3 สต็อปไม่ดีเท่า ค่าที่เราเลือกใช้
และจริงหรือไม่ ที่ค่านั้นเป็นค่าที่ดีที่สุดจริง ไม่ใช่เราคิดไปเอง เชื่อไปเอง
หรือเราใช้ค่าตามคนอื่นบอกให้ใช้โดยเราไม่รู้ว่าเขาหลอก (หรือบางทีเขาก็ไม่รู้จริงๆ ว่ากำลังให้ข้อมูลผิดกับเราอยู่ )

====================================

การที่จะตอบคำถามนี้ให้ได้ ต้องขึ้นอยู่กับว่า

1. ได้ถ่ายภาพวัตถุทดสอบหา Best Aperture ของเลนส์ที่ใช้อยู่หรือยัง ในทุกช่วงทางยาวโฟกัส ในหลายๆ ระยะโฟกัส ในหลายๆ สภาพแสง
2. ได้ทดลองหาสปีดชัตเตอร์ต่ำที่สุด เท่าที่ยังให้ความคมชัดสูงสุดโดยการถือด้วยมือเปล่าของกล้องหรือยัง ในหลายๆ สภาพแสง ในหลายๆ ระยะโฟกัส ในหลายๆ ช่วงซูม
3. ได้ทดลองเปรียบเทียบภาพเดียวกันในหลายๆ ช่องรับแสง ในหลายๆ ISO ในหลายๆ สภาพแสงแล้วหรือยัง และได้ลองกับเลนส์ทุกช่วงทางยาวโฟกัส และได้ทดสอบกับหลายๆ ฉาก หลายๆ วัตถุแล้วหรือยัง
4. ได้ศึกษา Specification และ MTF Chart ของเลนส์ที่เรามีอยู่อย่างละเอียดหรือไม่
5. แตกฉานในเรื่อง Aperture, Shutter Speed และ ISO เรียบร้อยแล้วหรือไม่

ถ้าทั้ง 5 ข้อนี้ ยังไม่ผ่าน ก็จะไม่มีทางตอบคำถามข้างต้นได้อย่างถูกต้องเลย
และถ้ายังตอบคำถามข้างต้นไม่ได้ ก็ไม่มีทางเป็น M-User ได้อย่างถูกต้องเลย
และต่อให้เป็น M-User แล้ว แต่หากยังไม่ศึกษา Zone System ก็ไม่ได้เป็น M-Expert ได้เลย
แน่นอนว่าก่อนจะใช้ Zone System ก็จะต้องรู้เรื่องไดนามิคเรนจ์ของกล้องที่ใช้อย่างดีก่อน (ซึ่งก็มีการทดสอบด้วยตัวเองอีกขั้น)
ถึงจะเป็น ผู้ใช้ M ที่ดี ที่ประชาชนทั้งหลายสมควรแก่การกราบไหว้่ชาบู ชาบู

หากไม่ได้เป็น M-Expert แล้ว ก็ไม่ได้มีประโยชน์อะไรในการจะดันทุรังใช้ M ต่อไป
เพราะด้วยความสามารถ และความต้องการแค่นี้ P, A, S, Tv, Av ตอบสนองได้เหลือเฟือ
มากเกินพอ และมีประสิทธิภาพสูงในการรีดแรงม้าของกล้องที่ใช้อยู่ได้ดี ยิ่งกว่าใช้ M เสียอีก



Create Date : 23 ตุลาคม 2552
Last Update : 23 ตุลาคม 2552 12:10:33 น.
Counter : 1863 Pageviews.

7 comments
  
อ่านแล้วก็จริงค่ะ บางสถานการณ์ก็ไม่กระเสือกกระสนใช้โหมด M เหมือนกัน
โดย: ชิฟฟอนคาปูชิโน่ วันที่: 23 ตุลาคม 2552 เวลา:19:34:19 น.
  
ข้าพเจ้าเป็นสาว AV
โดย: วาฬอันดามัน วันที่: 24 ตุลาคม 2552 เวลา:11:18:08 น.
  
อ่านแล้วได้ความรู้ขอบคุณค่า
โดย: LadyMurasaki (LadyMurasaki ) วันที่: 24 ตุลาคม 2552 เวลา:19:54:22 น.
  


ชอบใช้ p เหมือนกันค่ะ
M มันยุ่งยากชอบกล กว่าจะลงตัว รมณ์เสีย ..
โดย: Nongpurch วันที่: 26 ตุลาคม 2552 เวลา:10:36:49 น.
  
เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งครับผม
โดย: ปออุ๊ก วันที่: 1 พฤศจิกายน 2552 เวลา:0:21:05 น.
  
แป๋วว่ากล้องกับเราเป็นเรื่องสัมพัทธ์ค่ะ พอสนิทกันแล้วก็ถ่ายรูปได้อย่างใจเรา แต่กว่าจะสนิทกันได้ค่าเสียหายหลายร้อยหลายพันใบเชียว

ตอนแรกๆใช้ mode P ตอนหลังๆสนิทกับ A มากกว่า คงเป็นเพราะลักษณะรูปที่ชอบถ่ายด้วย กล้องแต่ละตัวต้องเดาใจกันอยู่พักใหญ่เหมือนกัน ว่าปรับขึ้นปรับลงลักษณะไหนจะถูกใจ

ไม่ค่อยเก่งเทคนิคค่ะ อ่านที่คุณอะธิลาสเขียน มีอะไรติดหัวไปเยอะเชียว ขอบคุณมากค่ะ

โดย: SevenDaffodils วันที่: 2 พฤศจิกายน 2552 เวลา:7:56:10 น.
  
หลงเข้ามา เพื่อบอกว่า

คำย่อของโหมดต่างๆนั้น
แท้จริงแล้ว ก็คือ

Auto = auto เฟร้ย

P = Power User
Av = หนังญี่ปุ่น เอ๊ย ไม่ใช่ .. Advance
Tv = Tep ว่ะ
และสุดท้าย

M ... Master of Moron //haha
โดย: แมวเหมียวพุงป่อง วันที่: 17 กันยายน 2553 เวลา:17:22:47 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

อะธีลาส
Location :
Sydney  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 44 คน [?]



Photographer, photo educator, writer and more.......

อนุญาตให้ ใช้ ดัดแปลง แก้ไข ตัดต่อ ทำสำเนา เผยแพร่ อ้างอิง จำหน่าย จ่ายแจก ภาพ และบทความในบล็อกนี้ ส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือทั้งหมด เพื่อสาธารณะประโยชน์ เพื่อการศึกษา เพื่อกิจส่วนตัว และเพื่อการค้าได้ โดยไม่ต้องขออนุญาต ตามสัญญาอนุญาตใช้งาน Creative Commons: Attribution.


Website
http://mister-gray.bloggang.com
https://twitter.com/nickdhapana
http://500px.com/NickDhapana
https://plus.google.com/+NickDhapana
http://nickdhapana.tumblr.com
http://instagram.com/nickdhapana
https://www.facebook.com/dhapana/about


Skype & Email
cmosmyp@gmail.com


Line
nickdhapana


My Project's Page

Public Telephone
https://www.facebook.com/PublicTelephoneProject

They didn't say that.
https://www.facebook.com/pages/They-didnt-say-that/116827521834600

Exposure to the RIGHT
https://www.facebook.com/pages/Exposure2the_RIGHT/538556252881951

Thailand Perspective Project
https://www.facebook.com/ThailandPerspective

Dead on Arrival
https://www.facebook.com/pages/Dead-on-Arrival/666461363385961
ตุลาคม 2552

 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
24
25
27
28
29
30
31
 
All Blog