Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2553
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
2 มิถุนายน 2553
 
All Blogs
 

สิ่งนี้คืออะไร ความชั่วร้าย ความเจ็บป่วย หรือรูปแบบของจิตใจ สมาธิสั้นในผู้ใหญ่

คนส่วนมากคงไม่คิดว่าจะมีสมาธิสั้นในผู้ใหญ่ และไม่คิดว่าจะมีผลกระทบต่อชีวิตเราอย่างไร จริง ๆ แล้วไม่เฉพาะเด็กเท่านั้นที่มีอาการสมาธิสั้น ผู้ใหญ่ก็เป็น ผู้ใหญ่ที่เป็นก็คือเด็กที่เคยสมาธิสั้นนั่นแหละ เพียงแต่ว่าเราไม่เคยรู้มาก่อนว่าเราเป็น เพราะเมื่อหลายปีก่อนยังไม่มีโรคนี้ คนรู้จักน้อยมาก

เมื่อเราได้มา พบว่าตัวเองสมาธิสั้น มันมีผลกระทบต่อชีวิตเรามาก เราเข้าใจตัวเองมากขึ้น แต่ก็มีความเศร้าอยู่ พยายามหาคนรักษาก็ไม่มีการรักษาโดยตรงที่เมืองไทย มีแต่หมอจิเวชเด็ก ทุกวันนี้เรายังคงดิ้นรนที่จะรักษา ทำให้ตัวเองมีสุขมากขึ้น มองสิ่งที่ผ่านมาแล้วยอมรับมัน

เราเชื่อว่า มีคนอีกหลาย ๆ คนที่เป็นสมาธิสั้น แต่ไม่รู้ว่าตัวเองเป็น ไม่รู้ว่ามันมีผลต่อชีวิตเราอย่างไร หวังว่าถ้าได้อ่านบทความนี้ จะำทำให้เข้าใจได้มากขึ้นนะคะ

สามีเราได้เห็นถึงความสำคัญจึงแปล หนังสือบางบท จากหนังสือ Delivered from Distraction เขียนโดย Edward M' Hallowell, M.D., and John J. Ratey, M.D.

สิ่งนี้คืออะไร ความชั่วร้าย ความเจ็บป่วย หรือรูปแบบของจิตใจ

จากกรอบของความเชื่อสู่กรอบทางวิทยาศาสตร์
นับแต่อดีตกาล มนุษย์มองว่าจิตใจเป็นเสมือนตู้เซฟที่ปิดล็อคอยู่ ทุกคนใช้ใจทำงานตลอดเวลา แต่เราก็ไม่รู้ว่าจิตใจทำงานอย่างไร การศึกษาค้นคว้าด้านจิตใจยังคงเป็นวิทยาศาสตร์ในด้านมืด และออกไปทางไสยศาสตร์เสียมาก เราเคยแต่จะใช้ชื่อเรียกหยาบ ๆ เพื่ออธิบายกับกลไกของความคิด ความรู้สึกและพฤติกรรมของเรา เราพึ่งคู่ของคำวิเศษฐ์ที่ตรงข้ามกันเพียง 3 คู่ในการระบุอาการทางจิต

เพื่อระบุถึงความเฉียบแหลมทางปัญญา หรือความไม่เฉียบคม เราใช้คำว่า “ฉลาด” และ “โง่” เพื่อระบุถึงรูปแบบของพฤติกรรมหนึ่ง ๆ เราใช้คำว่า “ดี” และ “เลว” เพื่อระบุถึงความสามารถของคนคนหนึ่งที่จะจัดการกับอารมณ์ เราใช้คำว่า “เข้มแข็ง” และ “อ่อนแอ”

หากเป็นกรณีรุนแรง เราก็จะมีคำขยายความพิเศษสำรองไว้

ในกรณีของปัญหาด้านสติปัญญาขั้นรุนแรง เราคิดค้นคำที่ดูกึ่งเป็นทางการแพทย์ เช่น ปัญญาทึบ ไร้สมอง โง่เง่าเต่าตุ่น คำเหล่านี้ ในอดีตเคยเป็นคำนิยามทางการแพทย์ที่สื่อความชัดเจนและแม่นยำ เทียบได้กับคำว่า hyperthyroidism และ hypopituitarism ในปัจจุบัน
ในกรณีของพฤติกรรมก่อกวนสังคม เราก็มีคำที่แรงขึ้น เช่น เป็นบ้า ผีเข้า หรือชั่วช้า สารเลว แท้จริงแล้ว ความบ้าและความชั่วร้าย เป็นสิ่งที่เกี่ยวพันกันในความนึกคิดของคนทั่วไปเสมอมานับแต่อดีต

ในกรณีของความเครียดทางอารมณ์ เรามักใช้คำที่ออกจะเหยียดหยาม เช่น ขี้ขลาด อ่อนแอ หรือเข้าสังคมไม่ได้ หรือหากจะให้ดูลึกล้ำขึ้น เราก็คิดค้นคำเช่น nervous breakdown ซึ่งไม่ได้มีความหมายตรงตามนั้นไม่ว่าจะเป็นทางวิทยาศาสตร์หรือทางประสาทวิทยาแต่อย่างไร คำเหล่านี้ได้มาจากความสำคัญผิดว่าเรารู้เป็นอย่างดีว่าคนหนึ่งรู้สึกนึกคิดอย่างไรในจังหวะชีวิตหนึ่ง ๆ แต่แท้จริงแล้วเราไม่รู้

ในอดีต การบำบัดสำหรับทุกปัญหาในกรณีที่ไม่หนักหนามากนักไม่ว่าจะเป็นด้านสติปัญญา พฤติกรรมก่อกวน หรือความอ่อนแอทางอารมณ์ล้วนมีอยู่แนวเดียว คือคำพูดที่ว่า พยายามอีกหน่อยสิ กลับตัวกลับใจซะ และตั้งสติให้มั่น ถ้าคำพูดเหล่านั้นไม่ส่งผล คุณก็อาจถูกลงโทษ เพื่อดูว่าความเจ็บปวดและความขายหน้าเหล่านั้น จะผลักดันคุณให้พยายามมากขึ้นได้หรือไม่ หากการลงโทษยังไม่ส่งผล คุณก็จะถูกตราหน้าว่าเป็นคนใช้ไม่ได้

สำหรับการบำบัดในกรณีอาการรุนแรงนั้นก็รุนแรงเอาการ ถ้าคุณถูกระบุว่าปัญญาทึบ หรือถูกระบุว่าเป็นบ้า ผีเข้าหรือคนชั่วช้า หรือถูกกล่าวหาว่าเป็นคนขี้ขลาดหรืออยู่กับสังคมไม่ได้ คุณก็มีโอกาสถูกทรมานหรือไม่ก็ถูกประหารเลยทีเดียว สังคมในอดีตนั้นไม่ยอมรับปัญหาทางจิตในขั้นรุนแรง เมื่อไม่รู้จะรับมืออย่างไร เราก็โยนบาปไปให้ผู้ที่ตกอยู่ในอาการเหล่านั้น

ไม่แปลกเลยที่หลายพันปีผ่านมา ความเข้าใจอย่างมีหลักการเหตุผลต่อปัญหาทางจิตใจฝังรากแน่นอยู่กับกรอบความเชื่อ ในมุมมองของคนทั่วไป ก็เพราะใครก็ไม่อยากถูกระบุอาการทางจิตใจว่าเป็นพวกปัญญาทึบ ชั่วช้าหรืออ่อนแอ ไม่เพียงเพราะคำเหล่านี้เป็นที่น่ารังเกียจ แต่การบำบัดที่ตามมา (ที่อาจบำบัดหรือไม่ก็ตาม) ช่างโหดร้ายเหลือเกิน และแน่ล่ะผู้คนก็ไม่อยากให้ลูกหลานของตนถูกระบุด้วยอาการเหล่านั้น ซึ่งรวมไปถึงการถูกบำบัดด้วย

ปัจจุบันแม้ว่าความรู้ความเข้าใจของเราได้ลบล้างการระบุอาการแบบโบราณเหล่านั้นไปแล้ว ความเชื่อยังคงอยู่ นั่นคือเหตุผลว่าทำไมในทางการแพทย์แล้ว ไม่มีศาสตร์ใดที่มีช่องว่างระหว่างระดับความรู้ความเข้าใจและระดับการนำความรู้ไปใช้มากไปกว่าด้านสุขภาพจิต

หากคุณดูไปถึงอาการพื้นฐานของ ADD ไม่ว่าจะเป็นการไขว้เขวง่าย โผงผาง ไม่ยั้งคิด และการอยู่ไม่สุข คุณก็จะพบว่ามีคนจำนวนมากที่มีลักษณะอาการหลักทั้งสามนี้อยู่มาก แต่จากอดีตมาจนกระทั่งศตวรรษที่ 20 คนเหล่านี้ถูกมองผ่านกรอบของความถูกผิดเท่านั้น การระบุอาการด้วยกรอบของความถูกผิดแก่คนคนหนึ่งส่งผลด้านลบต่อผู้ที่ทุกข์ระทมอยู่แล้ว

ในศตวรรษที่ 20 อย่างค่อยเป็นค่อยไป แพทย์หลาย ๆ ท่านได้สร้างกรอบขึ้นใหม่เพื่อมองลงไปถึงอาการเหล่านี้ ด้วยกรอบของวิทยาศาสตร์ การวินิจฉัยทางการแพทย์ได้เข้ามาแทนที่การวินิจฉัยด้วยกรอบของความถูกผิด แต่กรอบใหม่นี้ก็เข้ามาแทนที่ได้เฉพาะผู้ที่เปิดรับ ในอดีตแพทย์หลายคนก็ไม่ยอมรับ แต่ก็โชคดีที่แพทย์หลายคนกล้าที่จะเปิดรับแนวคิดเหล่านี้


หนึ่งในแพทย์ที่บุกเบิกแนวคิดเหล่านั้นคือคุณหมอชารลส์ แบรดเลย์ ในปี ค.ศ. 1937 เขาได้ค้นพบปรากฏการณ์ที่น่าทึ่ง เขาได้จัดตั้งแผนกคนไข้สำหรับเด็กที่มีพฤติกรรมก่อกวน ขึ้นโดยได้ช่วยเด็กเหล่านี้มาจากโรงเรียนดัดสันดาน ซึ่งในสมัยนั้นเด็กมักถูกเฆี่ยนตีเป็นรายวัน คุณหมอแบรดลีย์ ได้พยายามศึกษาถึงพฤติกรรมเกเรเหล่านี้ด้วยมุมมองแบบวิทยาศาสตร์

วันหนึ่งเขาเกิดแนวคิดหนึ่งขึ้นมาที่น่าจะพิสูจน์ได้ว่ามุมมองแบบวิทยาศาสตร์ต่อพฤติกรรมทางจิตใจนี้จะมีประโยชน์เพียงใด เขาตัดสินใจให้ยาแก่เด็กเหล่านั้น โดยเป็นยากระตุ้นประสาท เขาได้อ่านวารสารวิชาการและพบว่าในผู้ใหญ่ที่ได้ใช้ยาเหล่านี้เพื่อลดน้ำหนัก ได้รายงานการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมและอารมณ์ในลักษณะที่คุณหมอแบรดลีย์คิดว่าอาจเป็นประโยชน์แก่เด็ก ๆ เขาจึงอยากทดลองดู ผมเดาว่าหัวหน้าพยาบาลของเขาคงคิดว่าคุณหมอแบรดเลย์คงสติแตกไปแล้วแน่ เมื่อเขาสั่งว่า “ลองให้ยากระตุ้นประสาทกับเด็กเกเรพวกนี้ดู”

ยาที่เขาให้คือแอมเฟตามีน ผลคือยากลับไม่ได้มีผลกระตุ้นประสาทแก่เด็ก ๆ แต่กลับไปกระตุ้นการมีสมาธิ ยาให้ผลเสมือนห้ามล้อที่ไปชะลอสมองลง เช่นเดียวกันกับที่ห้ามล้อมีผลชะลอรถให้ช้าลง ยากระตุ้นประสาทไปกระตุ้นวงจรยับยั้งชั่งใจในสมองของเด็ก ในที่สุดพวกเด็ก ๆ ก็สามารถควบคุมพฤติกรรมของตนได้....... เป็นการค้นพบที่น่าทึ่งแห่งยุคสมัยเลยทีเดียว

การค้นพบนี้เองคือ.....การบำบัดด้วยยากระตุ้นประสาท .........ให้ผลดี ในขณะที่การบำบัดด้วยการกรอง....ความถูกผิดนับพันปีที่ผ่านมา ไม่ว่าด้วยการใช้ความอับอายหรือการทรมานล้วนล้มเหลว

แต่ก็เหมือนการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ส่วนมาก การทดลองนี้ทำให้หลายคนไม่พอใจ แนวคิดที่ว่าการใช้ยาสามารถช่วยการทำงานของสมองได้ ในขณะที่กำลังจากจิตใจมนุษย์กลับทำไม่ได้ มีผลท้าทายทัศนคติของคนมากมาย เทียบได้กับเมื่อโคเปอร์นิคัสบอกว่าโลกนี้ไม่ได้เป็นศูนย์กลางของสุริยจักรวาล เรามนุษย์ผู้สูงส่ง ทำไมจะควบคุมตนเองไม่ได้

อย่างไรก็ดี การบำบัดให้ผลดีอย่างไม่น่าเชื่อ จึงทำให้แพทย์หลายคนเริ่มทำตามแนวที่คุณหมอแบรดลีย์บุกเบิกไว้ ตั้งแต่นั้นมาการบำบัดด้วยยากับอาการที่ปัจจุบันเราเรียกว่า ADD ก็เริ่มขึ้น พร้อม ๆ ไปกับการศึกษาวิจัยทางการแพทย์ที่ลึกซึ้งมากขึ้น

งานวิจัยต่อมาได้นำไปสู่การค้นพบว่าสภาวะทางจิตใจ ไม่เพียงก่อให้เกิดพฤติกรรมอยู่ไม่สุข แต่ยังทำให้ไม่มีสมาธิและเหม่อลอยไปได้โดยไม่ตั้งใจ การค้นพบอาการที่สังเกตจากบุคคลภายนอกไม่เห็นนี้ นำมาสู่ชื่อใหม่ของพยาธิสภาพคือ สมาธิสั้น หรือ ADD

ในช่วงปี คศ 1970 นักวิจัยได้เริ่มตระหนักว่าอการเหล่านี้ไม่จำเป็นว่าจะต้องหายไปเมื่อเติบโตขึ้น ADD นั้นเคยถูกตั้งสมมติฐานว่าจะหายไปเมื่อคนไข้เข้าสู่วัยรุ่น แต่ผู้บุกเบิกค้นคว้าในสาขานี้ เช่น LB HH และ PW ก็พบว่าแม้อาการ ADD จะหายไปในหลายกรณี ก็ไม่ได้หายไปเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ เด็กหลาย ๆ คนยังคงมีอาการ ADD อยู่จนเป็นผู้ใหญ่ ก็ด้วยผลการศึกษาเหล่านี้ที่วงการศึกษาด้าน ADD เริ่มเปิดศักราชขึ้น ในปัจจุบันมีการประมาณว่าในเด็กที่เป็น ADD ประเภทต่าง ๆ อย่างน้อย 60% ยังคงมีอาการอยู่จนกระทั่งเป็นผู้ใหญ่

ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อนักวิจัยวิเคราะห์ลึกเข้าไปในกลุ่มคน พวกเขาก็ได้ตระหนักว่าผู้หญิงทั้งเด็กและผู้ใหญ่ก็เป็น ADD ได้ ไม่ใช่ว่าจะเป็นเฉพาะในเพศชาย ด้วยเหตุที่ผู้หญิงมักจะมีพฤติกรรมก่อกวนน้อยกว่าผู้ชาย การพุ่งเป้าสนใจไปที่เพศหญิงจึงมีน้อย ผู้หญิงจึงถูกวินิจฉัยอาการพบน้อยกว่า ถึงแม้จะไม่พบมากในเพศหญิง แต่ ADD ก็เกิดได้ในผู้หญิงทั้งเด็กและผู้ใหญ่ โดยเปรียบเทียบแล้วสัดส่วนผู้มีอาการจะอยู่ที่ช่อหญิงราว 3 ต่อ 1

โดยทั่วไปแล้ว เพศหญิงจะมีอาการหุนหันไม่ยั้งคิดและไม่อยู่สุขน้อยกว่า แต่จะมีอาการขาดสมาธิและฝันกลางวันอยู่อย่างเงียบ ๆ มากกว่า มีงานเขียนที่เกี่ยวกับ ADD ในเพศหญิงที่ดีมากอยู่หลายเล่มจากผู้เขียนเช่น SS, K and PCE
เมื่อความเข้าใจใน ADD มีมากขึ้น จำนวนผู้คนที่ได้รับการบำบัดจากอาการ ADD ก็มีมากขึ้น ม่านหมอกของความเชื่อที่ปกคลุมอยู่ก็จางไป คนเริ่มเข้าใจมากขึ้น ถึงแม้ว่ายังมีคนจำนวนมากที่ฝังใจว่า ADD คือความล้มเหลวทางจิตใจมากกว่าสภาพอาการที่มาจากกายภาพอย่างแท้จริง

ต่อเมื่อในราวปี ค.ศ. 1990 ที่งานวิจัยได้ลบล้างการวินิจฉัยในกรอบความถูกผิดและระบุชัดว่าอาการ ADD มีพื้นฐานมาจากกลไกทางชีววิทยา
อลัน เซเมทกินได้ตีพิมพ์ผลการศึกษาอันเลื่องชื่อของเขา ใน The New England Journal of Medicine ผลงานนั้นซึ่งเป็นผลจากการใช้ PET (Positron Emission Tomography) scan ได้แสดงถึง ความแตกต่างในระดับของการเมตาโบลิซึ่มของกลูโคสในสมองของผู้ใหญที่เป็น ADD เทียบกับผู้ใหญ่ที่ไม่เป็น แม้ผลที่ได้จะแปรปรวนเกินกว่าที่จะถูกนำมาใช้เป็นวิธีคัดกรองอาการ ADD แต่ผลการศึกษานี้ได้ขับเคลื่อนการศึกษาอื่น ๆ ให้ไปข้างหน้า
จากนั้นนักวิจัยได้ศึกษาโดยใช้เครื่อง MRI และได้พบความแตกต่างนอกเหนือจากนั้นอีก โดยพบการหดตัวของปริมาตรสมองในผู้ที่มีอาการ ADD การหดตัวนี้เกิดเฉพาะในบริเวณสมองส่วนหน้า corpus callosum ,caudate nucleus และ vermis ของส่วน cerebellum บริเวณของสมองเหล่านี้ล้วนมีส่วนต่ออาการของ ADD

ยิ่งไปกว่านั้น การศึกษาด้านพันธุกรรมต่อมาก็แสดงให้เห็นว่า ADD มีการสืบทอดในครอบครัว ดัชนีที่เรียกว่า Heritability เป็นค่าทางสถิติที่มาจากการเทียบน้ำหนักระหว่างผลจากพันธุกรรมกับผลจากสิ่งแวดล้อม ดัชนีนี้ได้มาจากการศึกษาในคู่แฝดและในเด็กที่ถูกรับมาเลี้ยง ค่า Heritability ของ ADD ถูกระบุอยู่ที่ราว 75% ซึ่งนับว่าสูงมากในบรรดาอาการทางพฤติกรรมศาสตร์

ยิ่งไปกว่านั้น ขณะที่โครงการจำแนกจีโนมของมนุษย์ (human genome project) เริ่มบรรลุผล นักวิจัยก็เริ่มที่จะสามารถระบุกลุ่มของยีนที่มีผลต่อการผลิตสารสื่อประสาท เอนไซม์และโมเลกุลนำพาต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับ ADD ยีนเหล่านี้อาจรวมกันเข้าเป็นรูปแบบทางพันธุกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับ ADD แต่ด้วยความแตกต่างหลากหลาย ภายในกลุ่มคนที่เป็น ADD และด้วยจำนวนยีนปริมาณมากที่เกี่ยวข้อง และด้วยผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมที่มีต่อการตีความยีนเหล่านี้ เราจึงยังไม่มีการทดสอบ ADD ด้วยวิธีทางพันธุกรรม แต่ที่แน่ชัดคือการศึกษาเหล่านี้ได้วางรากฐานที่แน่ชัดถึงความเกี่ยวเนื่องทางพันธุกรรมต่ออาการ ADD

เรามาได้ไกลมากแล้วจากงานบุกเบิกของคุณหมอแบรดลีย์ในปี ค.ศ. 1937 มันไม่เป็นเหตุเป็นผลอีกต่อไปที่จะมอง ADD ว่าเป็นความล้มเหลวทางจิตใจของคนคนหนึ่ง หลักฐานได้ชี้ชัดว่า ADD มีพื้นฐานมาจากปัจจัยทางกายภาพ รวมทั้งอาจมีได้หลากหลายปัจจัย เมื่อการศึกษามีความก้าวหน้าต่อไป แต่ที่แน่ใจได้ก็คือ ไม่มีปัจจัยใดที่จะมีชื่อเรียกว่าความเกียจคร้านหรือความโง่เง่า

หาก ADD เป็นลักษณะของจิตใจที่มีรากฐานมาจากกายวิภาค พันธุกรรมและชีวเคมี คำถามอาจเกิดขึ้นว่าแล้วจะทำอะไรได้ แท้จริงแล้วกฏระเบียบและการจัดการอย่างเข้มข้นยังคงสำคัญอยู่ต่อการบำบัด เพียงแต่ว่ามันไม่เพียงพอที่จะไปบำบัดความผิดปกติที่มีอยู่ในสมอง และเช่นเดียวกันก็ไม่เพียงพอสำหรับอาการ ADD

“ไม่อย่างนั้นหรอก” คนที่เห็นแย้งก็จะเอ่ยขึ้น “ถ้าเด็กจะนั่งลงนิ่ง ๆ แล้วตั้งใจแล้ว เขาก็ทำได้ ลองถ้าเขามีปืนมาจ่อหัวล่ะ เขาทำได้แน่ ๆ” ที่จริงแล้วไม่หรก ถึงแม้เขาจะมีปืนมาจ่อหัวพร้อมเป่าสมองให้กระจายในนาทีใดที่เขาเหม่อ ไม่ช้าไม่นาน เขาก็จะลืมว่ามีปืนอยู่ที่นั่น แล้วเขาก็จะใจลอยออกไป ทางเดียวที่จะช่วยชีวิตของเขาได้คือต้องบอกคนถือปืนให้คอยเตือนเขาว่ามีปืนจ่ออยู่ที่หัวในทุก ๆ ราวสิบวินาที แต่ถ้าเราจะช่วยเขาให้ดั่งใจได้จริง ๆ ก็ไม่จำเป็นต้องมีปืน การย้ำเตือนอย่างเดียวก็เพียงพอแล้ว การใช้การข่มขู่ไม่เพียงพอที่จะทำให้เขาคงสติไว้ได้ แต่การคอยย้ำเตือนทำได้ กฏระเบียบเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพมากกว่าการข่มขู่มากในการบำบัด ADD

คำพูดบอกหลายสิ่งได้อย่างลึกซึ้ง เหมือนกับคำพูดง่าย ๆ ที่เด็กเล็กคนหนึ่งที่เป็น ADD บอกกับผม “ความคิดของหนูเหมือนผีเสื้อ สวยมากเลย แต่ก็บินไปไกล” หลังจากการบำบัด เขาบอกว่า “ตอนนี้หนูมีตาข่ายจับผีเสื้อแล้ว




 

Create Date : 02 มิถุนายน 2553
3 comments
Last Update : 2 มิถุนายน 2553 20:38:08 น.
Counter : 1070 Pageviews.

 

สวัสดีค่ะ...แวะมาทักทายค่ะ

 

โดย: nootikky 2 มิถุนายน 2553 20:01:09 น.  

 

 

โดย: nuyza_za 2 มิถุนายน 2553 20:03:17 น.  

 

ทักทายทุกคน

เราเปงลูกชั่วมากเลยใช่ไหม

คนที่เป็นลูกชั่วๆๆ

ย่อมได้รับการหมางเมินเป็นธรรมดา

ทุกคนมักรังเกียจ

รู้ไหมขนาดพี่ๆยังเกลียดเราเลยนะ

ขอระบายหน่อยนะทุกคน

 

โดย: อิอิอิหุหุหุ(ลูกชั่ว) IP: 180.180.198.186 6 พฤศจิกายน 2553 14:58:26 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


pinkyjung
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add pinkyjung's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.