มิถุนายน 2553

 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog
ครูขาหนูไม่มีเสื้อสี ขอใส่ชุดพลศึกษาได้ไหม ?

หนูน้อยหน้าตาจิ้มลิ้มน่ารัก นักเรียนชั้น ม.1 เพิ่งเปิดเทอมมาได้สัปดาห์เดียวเดินตัวรีบหน้าซีดมาพบครูที่ปรึกษา


“คุณครูขา วันพฤหัสบดีนี้ วันที่โรงเรียนกำหนดให้นักเรียนใส่เสื้อสี หนูขออนุญาตใส่ชุดพลศึกษาแทนได้ไหมค่ะ” หนูน้อยพูดจาน้ำเสียงเชิงอ้อนวอน


“หนูซื้อเสื้อสีไม่ทัน หรือเสื้อหมดลูก” ครูประจำชั้นถามด้วยความเอ็นดู


“ไม่ใช่หนูซื้อไม่ทันหรอกค่ะ หนูไม่มีเงินซื้อค่ะ แม่หนูเพิ่งได้งานทำ สิ้นเดือนนี้ถึงจะได้รับเงินเดือน แม่บอกว่าจะซื้อให้เดือนหน้าค่ะ” หนูน้อยตอบด้วยน้ำตาคลอเบ้า


ครูประจำชั้นเข้าสวมกอดปลอบใจพรางกล่าวเบา ๆ ข้างหูของหนูน้อยว่า “ไม่เป็นไรลูก หนูรู้ราคาไหมค่ะว่าเสื้อสีตัวละเท่าไหร่”


“170 บาทค่ะ” หนูน้อยตอบและเริ่มสะอื้นเบา ๆ


ครูประจำชั้นกอดร่างหนูน้อยกระชับ “ คุณครูจะออกเงินซื้อเสื้อให้หนูไปก่อนนะ และหนูไม่ต้องนำเงินมาใช้หนี้คุณครูนะ แต่คุณครูขอสัญญาจากหนูว่าจะตั้งใจเรียนได้ไหมค่ะ”


หนูน้อยกอดครูประจำชั้นแน่น กล่าวบอกคุณครูประจำชั้นด้วยน้ำเสียงที่หนักแน่น “หนูจะตั้งใจเรียนไม่ทำให้คุณครูเสียใจค่ะ”


หลังจากแม่หนูน้อยออกจากห้องพักครูไป ครูประจำชั้นกลั้นน้ำตาไว้ไม่อยู่ซบหน้าร้องไห้กับโต๊ะนานเท่านาน และลำพึงในใจว่า “ทำไมหนอโรงเรียนจึงไม่กำหนดนโยบายให้ชุดพลศึกษากับเสื้อสีเป็นชุดเดียวกัน ทำไมต้องซื้อแยกเพิ่มภาระให้กับครอบครัว ทำไม ทำไม”


ประเทศไทยจงเจริญ




Create Date : 15 มิถุนายน 2553
Last Update : 15 มิถุนายน 2553 15:11:10 น.
Counter : 989 Pageviews.

10 comments
  
นั่นซินะคะ
ทำไม โรงเรียนถึงมีนโยบาย นั่นโน้นนี่
ให้ผู้ปกครองต้องจ่ายเพิ่มจากที่ควร
โดย: goyajang วันที่: 15 มิถุนายน 2553 เวลา:15:39:21 น.
  
โดย: หาแฟนตัวเป็นเกลียว วันที่: 15 มิถุนายน 2553 เวลา:15:56:49 น.
  
เป็นเรื่องแปลกจริงๆ ครับ ที่ทาง รร. มักกำหนดให้เด็กต้องเสียค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น และจริงๆ รร.ก็คงไม่ได้อะไรจากตรงนี้ ทำไมถึงไม่ออกกฎแบบเห็นแก่นักเรียนบ้างหนอ นอกจากเรื่องเสื้อก็จะมีพวกอุปกรณ์การเรียนครับ การทำรายงาน ที่บางครั้งต้องให้เด็กสิ้นเปลืองโดยเปล่าประโยชน์จริงๆ
ขอใช้คำนี้ด้วยครับ ประเทศไทยจงเจริญ
โดย: gaius วันที่: 15 มิถุนายน 2553 เวลา:16:18:59 น.
  
เป็นเรื่องของนโยบายผู้บริหารโรงเรียนที่จะลดหย่อนได้หรือไม่ เพราะเด็กบางคนน่าสงสารจริงๆ
โดย: toy-ppat IP: 125.27.53.162 วันที่: 15 มิถุนายน 2553 เวลา:17:07:40 น.
  
กีฬาสีเลยอยากให้เป็นสี
ลองใช้แค่ผ้าพันคอสีก็ประหยัดกว่าเสื้อสีตั้งเยอะ(และใช้ขนาดเดียว) ทางโรงเรียนซื้อได้และให้นักเรียนแต่ละห้องยืมใช้ช่วงกีฬาสี แค่นี้ก็ไม่รบกวนค่าใช้จ่ายผู้ปกครองครับ

ประเทศไทยจงเจริญ(เพราะคนไทยใช้พรหมวิหาร4)
โดย: ธเนศ IP: 124.122.183.213 วันที่: 15 มิถุนายน 2553 เวลา:17:16:34 น.
  
เป็นนโยบาย,เป็นหน้าเป็นตาผ.อ เป็นความพร้อมเพรียง เป็นความสวยงาม เป้นความฟุ่มเฟือย และเป็นความห่วยของระบบบริหารร.ร...
โดย: emma64 วันที่: 15 มิถุนายน 2553 เวลา:19:31:46 น.
  
แระเทศไทยยังไม่ยกระดับนิสัยความรับผิดชอบ ถ้าเทียบกับคนเกาหลีใต้ ค้องปลูกฝังกันใหม่เริ่มคั้งแต่เด็กๆ เพราะผูใหญ่มันปลูกกันยาก
โดย: cha IP: 222.123.180.192 วันที่: 18 มิถุนายน 2553 เวลา:0:03:18 น.
  
เรื่องทำนองนี้เป็นปัญหาโลกแตกของระบบราชการไทย
- การกำหนดนโยบายควรเป็นแนวทางกว้างๆ
- การปฏิบัติตามนโยบายผู้ปฏิบัติควรมีความกล้าหาญในการตัดสินใจว่าจากนโยบายดังกล่าว จะปฏิบัติอย่างไร
- เรื่องนี้ ผมมองว่าปัญหาไม่ได้อยู่ที่นโยบาย แต่อยู่ที่ผู้บริหารโรงเรียนที่ขาดความกล้าหาญในการตัดสินใจ ...การศึกษาไทยเจริญยากเพราะผู้บริหารโรงเรียนมักจะไม่กล้าตัดสินใจใดๆและขาดความรับผิดชอบต่อการสั่งการในการปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้อง
- ผมเชื่อว่าถ้าคนอย่างท่านท่านอธิบดีธวัชชัยฯ หรือ ผม เป้นผู้บริหารโรงเรียน เรื่องทำนองนี้จะไม่เกิดขึ้น
สงสารการศึกษาไทยที่ปฏิรูปยากเพราะผู้บริหารทุกระดับทำงานแบบ play save ( ชอบอ้างว่าปฏิบัติตามนโยบาย )และขาดความกล้าหาญในการตัดสินใจในสิ่งที่ถูกต้อง
วิเชียร ศรีลูกหว้า
โดย: วิเชียร ศรีลูกหว้า IP: 125.25.105.54 วันที่: 25 มิถุนายน 2553 เวลา:10:48:57 น.
  
เน€เธซเน‡เธ™เธ”เน‰เธงเธขเธเธฑเธšเธ„เธงเธฒเธกเธ„เธดเธ”เธ‚เธญเธ‡เธ—เนˆเธฒเธ™เธญเธฒเธˆเธฒเธฃเธขเนŒเธงเธดเน€เธŠเธตเธขเธฃ เธจเธฃเธตเธฅเธนเธเธซเธงเน‰เธฒ
โดย: เธญเน‰เธญเธข เน€เธžเธŠเธฃเธšเธนเธฃเธ“เนŒ IP: 118.172.235.80 วันที่: 11 กรกฎาคม 2553 เวลา:22:17:23 น.
  
วันก่อนผมนั่งคุยกับเพื่อนที่เป้นหัวหน้าคณะ
คุยกันเรื่องเครื่องแบบและการแต่งกาย

เพื่อนบอกว่า
เขาบอกเด็กว่า

เสื้อที่ใส่มาเรียนสีอะไรก็ได้
ขอให้มาเรียนแล้วเอาสมองมาตั้งใจเรียน

เท่านี้ก็พอแล้ว


ฟังดูแรง
แต่ผมก็เห็นด้วยในท่าทีนี้ครับ


สมัยก่อนตอนเป็นครูฝึกสอน
นกัเรียนของผมย้อมผมสีม่วงเลย
ผมไม่ว่า แต่บอกเขาว่าขอให้มาเรียน
และขอให้เรียนรู้เรื่องกาละเทศะ

เด้ฏก็ฟังดีครับ

ผมว่าครูต้องเพื่อนกับเด็กให้ได้ก่อน
ต้องให้ความรัก ความเข้าใจ
ก่อนให้ความรู้ครับ


โดย: กะว่าก๋า วันที่: 19 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:8:42:40 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

คนทำงานด้านเด็ก
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]



รองปลัดกระทรวงยุติธรรม
เกิด 17 ก.พ.2502 จังหวัดชัยนาท เป็นบุตร นายสุเทพ-นางชิ้น ไทยเขียว
จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 7 โรเรียนวัดโพธิ์ทอง ต.บางขุด อ.สรรคบุรี แล้วมาเรียนมัธยมที่โรงเรียนคุรุประชาสรรค์ อ.สรรคบุรี จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
"ตอนเรียนมัธยม เป็นช่วงปี 2515-2517 ผมต้องขี่จักรยานไปกลับวันละ 18 ก.ม. ลำบากมากโดยเฉพาะในหน้าฝน ผมเป็นคนที่ไม่ตั้งใจเรียน แต่ไม่เกเร พอผมเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อยากทำนาเหมือนคุณพ่อคุณแม่ แต่ธรรมชาติช่วย จังหวะที่ผมเรียนจบ เกิดน้ำท่วมใหญ่ รวมถึงที่นา ผมต้องลงไปช่วยคุณพ่อ คุณแม่ยกฟ้อนข้าวขึ้นที่สูง เหนื่อยมาก รู้สึกลำบาก ไม่อยากทำนาอีกแล้ว เริ่มอยากเรียนหนังสือต่อ"
ผมจึงตัดสินใจเดินทางเข้ากรุงเทพฯ พักอยู่กับญาติที่กองรักษาการณ์ทำเนียบรัฐบาล ตัวเลือดตามล่องกระดานกัดติดหลังเป็นแถวเลยอยู่ไม่ได้ น้าชายไปฝากอยู่กับแฟนของเพื่อนตำรวจเป็นหมอนวดแถวถนนเพชรบุรีอยู่อีก 1 สัปดาห์ ต่อมาจึงได้หาที่พักถาวรได้ที่วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ขณะนั้นมีน้าชายชื่อ นายวิชิต เรียนทัพ อดีตนายก อบต.บางขุด พักอาศัยอยู่ก่อน
"ผมสอบเข้าศึกษาต่ออะไรก็ไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นจ่าอากาศ ช่างฝีมือทหาร เตรียมทหาร หรือแม้แต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคค่ำ ซึ่งเป็นผลมาจากการไม่ตั้งใจเรียน มาเรียนต่อได้เพราะวิทยาลัยครูเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ กิ่งเพชร ราชเทวี เปิดรับนักศึกษาภาคค่ำ ในขณะที่สถาบันการศึกษาอื่นๆ ได้เปิดเรียนไปแล้วเกือบหนึ่งเทอมแล้ว จึงมีที่เรียน"
"ช่วงที่อยู่วัดเห็นพระเณรนั่งดูหนังสือ ไม่นอน ผมจึงไม่นอน ผลการเรียนจึงเริ่มดีขึ้น โดยกลางวันทำงาน กลางคืนเรียน ไม่อยากใช้เงินคุณพ่อคุณแม่ เพราะรู้ว่าท่านลำบาก กระทั่งเรียนจบอนุปริญญา หรือปกศ.สูง เอกสังคมศึกษา ในระดับปริญญาไม่มีที่เรียนกลางคืน ต้องเรียนกลางวัน จึงไม่ได้ทำงานจนจบการศึกษาบัณฑิตหรือ กศ.บ. เอกสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตพลศึกษา"
"ช่วงนั้น ผมขอหลวงพ่อคุมศาลาเผาศพ และรับอาราธนาศีล บริการน้ำ-อาหาร รับจ้างจุดธูปเพื่อหาเงินเรียนจนจบปริญญาตรี สอบเข้าศึกษาต่อปริญญาโทได้ขณะที่เรียนเทอมสุดท้ายของปริญญาตรี จบปริญญาโท สังคมศาสตรมหาบัณฑิต (สค.ม.) อาชญาวิทยาและกระบวนการยุติธรรม มหาวิทยาลัยมหิดล รุ่นที่ 4 ทำงานภาคเอกชนอยู่ 4 ปี จึงเข้ารับราชการเมื่อวันที่ 1 ก.ค.2529 โดยเป็นพนักงานคุมประพฤติ 3 จังหวัดชลบุรี"
ต.ค. 2541 เติบโตมาเป็นเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 7 จ่าศาลจังหวัดปากพนัง รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานโครงการพัฒนาระบบงานศาล, 16 ก.พ. 2542 เป็นจ่าศาลจังหวัดอำนาจเจริญ, 18 มี.ค. 2542 ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผน กระทรวงยุติธรรม คณะกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการพิจารณาจัดระเบียบกระทรวงยุติธรรม, 4 มิย. 2544 ได้รับเลือกตั้งเป็น อกพ. สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม, 8 มิย.2544 รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการศูนย์บริการข้อมูลตุลาการ สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม, 15 ต.ค. 2544 ช่วยทำงานในตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงาน โครงการส่งเสริมประสิทธิภาพสถานพินิจ สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม, 7 พ.ย. 2544 คณะกรรมการบริหารแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 9 พ.ศ.2545-2549, 12 มีค.2545 กรรมการและเลขานุการการเตรียมความพร้อมในการจัดทำโครงสร้างกระทรวงยุติธรรมตามมติคณะรัฐมนตรี, 3 ต.ค.2545 รักษาราชการแทนรองอธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน
ขึ้นเป็นผู้บริหารระดับ 9 ในตำแหน่ง รองอธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน เมื่อ 25 เมย.2546
ย้ายไปเป็นรองอธิบดีกรมคุมประพฤติ 1 ปี 8 เดือน ก่อนจะได้รับคำสั่งให้กลับมาทำงานในตำแหน่งรองอธิบดีพินิจและคุ้ม ครองเด็กและเยาวชนอีกครั้งและได้ขึ้นเป็นอธิบดีในที่สุด
ผลงานดีเด่นที่เป็นที่ยอมรับ คือ จัดทำมาตรฐานกลางการปฏิบัติงานธุรการศาล และนำวิธีการบริหารงานคุณภาพทั่วทั้งองค์กร (Total Quality Management/ TQM) จนศาลจังหวัดนครราชสีมาได้รับ การประกาศรับรองด้านบริการ ISO 9000
การปฏิรูปกระทรวงยุติธรรม ในฐานะเป็นคณะกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการพิจารณาจัดระเบียบกระทรวงยุติธรรม ตามมติคณะรัฐมนตรี จนสามารถรวบรวมหน่วยงานต่างๆ ในกระบวนการยุติธรรมเข้ามาอยู่ร่วมกันในปัจจุบัน
ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณด้านการบำบัด ฟื้นฟู และพัฒนาผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2550 และได้รับเลือกเป็นข้าราชการพลเรือนดีเด่น พ.ศ.2544 เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของสภาลูกเสือแห่งชาติ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 9 สค.2550
"ทุกอย่างที่ทําให้เรามาถึงวันนี้ ได้กรรมเป็นตัวกํากับทั้งหมด และอะไรที่เราเคยเสีย ใจแบบสุดๆ หรือว่าเศร้าใจอย่างสุดๆ ความรู้สึกนั้นมันไม่เคยเสถียรเลย มันลดลงมาหมด
วันนี้ดีใจที่ได้เป็นอธิบดี อาจจะดีใจจน ตัวลอย แต่ว่าไม่เท่าไหร่ก็ลดลง เพราะฉะนั้นถ้าเราเข้าใจเท่าทันโลก เข้าใจเรื่องกฎของไตรลักษณ์ เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป มียศเสื่อมยศ มีลาภเสื่อมลาภ เพราะฉะนั้นอย่าไปยึดติด ที่สําคัญที่สุด คือเรามีหน้าที่ หน้าที่นั้นต้องทําให้ดีที่สุดในการที่จะมองไปที่ประชาชนและเด็กๆ
ผมเชื่อว่าผมอาจจะมีกรรมดีที่ได้มีหน้าที่การงานที่ดี แต่ส่วนหนึ่งผมว่า ผมก็อาจจะเคยทํากรรมอะไรไว้บางอย่างกับเด็กๆ ผมถึงต้องชดใช้อะไรมากมายถึงขนาดนี้ รู้สึกว่าต้องเป็นทุกข์เป็นร้อน เห็นอะไรไม่สบายใจต้องเข้าไปจัดการ ฉะนั้นเมื่อเป็นอย่างนี้ เราก็อยากเห็นสังคมมีคุณธรรม มีจริยธรรม เพราะทุกวันนี้เรื่องเหล่านี้มันตกต่ำไปมาก"
สมรสกับเบญจพร ไทยเขียว ซึ่งรับราชการครู มีบุตรชาย 2 คน นายชัชชล ไทยเขียว อายุ 25 ปี จบศึกษาด้านภาษาและวัฒนธรรม และศึกษาดนตรีและทำเครื่องดนิตรีกู่ฉินไปด้วยที่ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ประกอบอาชีพส่วนตัวสอนคนตรีกู่ฉิน และจำหน่ายเครื่องคนตรีจีนคุณภาพจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน อาจารย์พิเศษ
และนายยิ่งคุณ ไทยเขียว อายุ 23 ปี จบศึกษาคณะวิศวศาสตร์คอมพิวเตอร์ สถาบันเทคโนโลยีไทยญี่ปุ่น ปัจจุบันกำลังศึกษา MBA มหาวิทยาลัยหอการค้า