มกราคม 2554

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
6
7
8
9
10
12
13
14
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
27
28
29
30
31
 
 
All Blog
น้องแพรวา กับบาทบาทสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน
มีหลายท่านสงสัยและให้ความสนใจกรณีน้องแพรว่า ขับรถประมาททำให้ทีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก และชั่วข้ามคืนสังออนไลน์ก็กระหน่ำซ้ำเติมลงไปก่อให้เกิดกระแสการปฏิเสธทางสังคมอย่างรุนแรงอย่างไม่เคยมีมาก่อน ครั้นเมื่อกระบวนการเข้าสู่การพิจารณาของสถานพินิจฯ กระแสก็ยังไม่ตก มีการสอบถามกันอย่างมากมายว่าสถานพินิจฯ จะทำอย่างไร? จึงขออนุญาตใช้เวทีนี้บอกขั้นตอนและทัศนส่วนตัวเพิ่มเติม ดังนี้
คดีนี้เยาวชนเข้ามอบตัวเอง พนักงานสอบสวนและสถานพินิจไม่มีอำนาจควบคุมตัวตามกฎหมาย ขั้นตอนเมื่อพนักงานสอบสวนนำเยาวชนมาบ้านเมตตาก็ต้องดำเนินการเหมือนคดีทั่วไป คือ ถ่ายภาพ พิมพ์ลายนิ้วมือ ทำการสืบเสาะและพินิจโดยพนักงานคุมประพฤติ ด้วยการสอบปากคำเบื้องต้นเกี่ยวกับพฤติการณ์การกระทำความผิด นิสัยความประพฤติ สติปัญญา การศึกษาอบรม สภาพแวดล้อม การอบรมสั่งสอน ฐานะความเป็นอยู่ พร้อมทั้งตรวจสุขภาพกายและจิต เพื่อทำความเห็นรายงานต่อศาลเยาวชนและครอบครัวว่าวิธีการที่เหมาะสมกับเยาวชนรายนี้ควรเป็นอย่างไร ภายใน30วัน แต่ดุลพินิจสุดท้ายอยู่ที่ศาลเยาวชนและครอบครัวจะพิจารณา
หากการดำเนินการไม่แล้วเสร็จภายในวันเดียว พนักงานคุมประพฤติก็จะออกใบนัดให้มาพบพนักงานคุมประพฤติ นักจิตวิทยา และนักสังคมสงเคราะห์ตามกำหนดเวลาจนกว่าจะแล้วเสร็จ
ปกติคดีเด็กและเยาวชนจะคำนึีงถึงการศึกษา อนาคตและสวัสดิภาพของเด็กและเยาวชนมากกว่าโทษ ไม่คำนึงถึงกระแสสังคม ส่วนการชดเชยหรือชดใช้ทางแพ่งก็เป็นอีกกรณีที่ผู้เสียหายสามารถดำเนินการได้ตามกฏหมายอื่นอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตามกรณีนี้ เนื่องจากเยาวชนยังไม่มีใบอนุญาตขับขี่ฯ ผู้ที่อนุญาตให้เยาวชนรายนี้ใช้รถยนต์ ก็ควรรับผิดชอบ ซึ่งพนักงานสอบสวนควรแจ้งข้อกล่าวให้ในฐานะเป็นผู้ให้การสนับสนุนหรือส่งเสริมให้เยาวชนประพฤติตนไปในทางเสียหายหรือกระทำความผิดตามมาตรา26(3) ของ พรบฺคุ้มครองเด็ก
นอกจากนี้ คดีนี้ควรเป็นอุทาหรณ์สำหรับเยาวชนทั่วไปว่า ก่อนจะทำอะไรต้องคิดถึงผลกระทบให้รอบด้านเสียก่อน เพราะหากเกิดความเสียหายขึ้นมาแล้ว มิใช่เฉพาะกันตนเองและครอบครัวเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อบุคคลและครอบครัวอื่นๆอย่างประมาณค่ามิได้ และที่สำคัญตัวน้องที่ก้าวพลาดกระทำความผิดในครั้งนี้ จะมีแผลเป็นทางใจติดตัวไปชั่วชีวิต จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพบนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ให้ความช่วยเหลือ ไม่ควรปล่อยให้เวลาเป็นเครื่องรักษา และในระยะนี้ไม่ควรให้น้องเขาอยู่คนเดียว ในที่นี้รวมไปถึงญาติผู้เสียหายก็ควรมีองกรค์ที่เกี่ยวข้องเข้าไปดูอย่างใกล้ชิดเช่นกัน



Create Date : 05 มกราคม 2554
Last Update : 5 มกราคม 2554 19:53:39 น.
Counter : 1092 Pageviews.

6 comments
  
สวัสดีค่ะ

ดิฉันสนใจเรื่องนี้ค่ะ
เห็นใจผู้สูญเสีย นึกถึงหัวอกแม่

ได้มาอ่านที่ไม่ก่นด่าเด็กที่ประมาท
ก็ด้วยเห็นใจครอบครัวเธอนะคะ


ทำกรรมดี ต้องได้ดีค่ะ สวรรค์มีตา
และ นรก ก็มีนัยนา เช่นกัน


อ่านประวัติท่านแล้ว ขอแสดงความนับถือค่ะ

สวัสดีวันพุธที่ ๔ วันที่สวมเสื้อสีฟ้ามีมงคลค่ะ

โดย: นาถค่ะ (sirivinit ) วันที่: 5 มกราคม 2554 เวลา:14:08:32 น.
  
ขอบคุณที่ท่านช่วยให้ข้อมูลเป็นวิทยาทานนะครับ
ผมเองก็เฝ้าตามความเคลื่อนไหวด้วยความอยากรู้บทสรุปอยู่เช่นกัน

ไม่กล้าออกความเห็นเพราะในมุมหนึ่งอุบัติเหตุที่เกิดจากความประมาทน่าจะเป็นสิ่งที่อภัยให้กันได้ ไม่ควรเอาเป็นเอาตายกันเกินไป ใช้ชีวิตที่เหลือให้ดีน่าจะมีประโยชน์โดยรวมมากกว่า
แต่อีกมุมหนึ่ง ถ้าไม่สร้างความรับผิดชอบที่เหมาะสมต่อผู้กระทำผิดให้เป็นบรรทัดฐาน มันก็คงไม่ดีเช่นกัน แล้วกรณีนี้อะไรคือจุดเหมาะสมที่จะตัดสินใจ

สำหรับผมคิดไม่ออกจริงๆครับ

อ้อ คิดเหมือนคุณข้างบน ประวัติท่านน่าเลื่อมใสมากครับ ผมนับถือ และขอคารวะ
โดย: แอบมาซุ่ม วันที่: 5 มกราคม 2554 เวลา:15:41:22 น.
  
สวัสดีค่ะ

ติดตามคดีนี้เหมือนกัน ไม่ขอออกความคิดเห็น เหตุการณ์นี้เกิดจากความประมาท จริงๆ เลยค่ะ
โดย: ญ. วันที่: 5 มกราคม 2554 เวลา:16:28:27 น.
  
ขอบคุณครับ สำหรับข้อมูลครับ
โดย: herepin วันที่: 5 มกราคม 2554 เวลา:23:07:41 น.
  
ด้วยความเคารพนะคะท่าน

สถานพินิจ จำต้องทำตามหน้าที่ และ กฎหมาย/พรบ. ซึ่งมันไม่เอื้อต่อเหตุการณ์บางเหตุการณ์สักเท่าไหร่ กรณีนี้เห็นได้ชัดเจน ไม่ต้องอธิบายอะไรแล้ว

เด็กขับรถชนคนตายเป็นเบือ กับ เด็กลักเล็กขโมยน้อย ถ้าเ้ข้ามารายงานตัวก็ต้องปล่อยกลับไปเช่นกันใช่หรือไม่ ทั้งๆ ที่ผลลัพธ์นั้นต่างกันลิบลับ กรรมนั้นหรือคือการกระทำนะคะ อยากให้ทบทวนตรงจุดนี้เป็นอย่างมาก

ฝากเสียงเล็กๆ ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการแก้ไขกฎหมาย/พรบ.ดังกล่าว ให้ครอบคลุมกับแต่ละกรณีด้วยค่ะ
โดย: เอ๋ IP: 58.136.189.119 วันที่: 6 มกราคม 2554 เวลา:9:09:14 น.
  
สงสารน้องๆบางคนที่ยากจน ไม่มีเิงินประกันตัวแล้วยัง ถูกผลักออกจากระบบการศึกษา สังคมรังเกียจ ผมมีประสพการณ์กับเด็กๆเหล่านี้มาพอสมควร
โดย: นพพล IP: 182.53.63.196 วันที่: 11 มีนาคม 2554 เวลา:19:37:26 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

คนทำงานด้านเด็ก
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]



รองปลัดกระทรวงยุติธรรม
เกิด 17 ก.พ.2502 จังหวัดชัยนาท เป็นบุตร นายสุเทพ-นางชิ้น ไทยเขียว
จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 7 โรเรียนวัดโพธิ์ทอง ต.บางขุด อ.สรรคบุรี แล้วมาเรียนมัธยมที่โรงเรียนคุรุประชาสรรค์ อ.สรรคบุรี จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
"ตอนเรียนมัธยม เป็นช่วงปี 2515-2517 ผมต้องขี่จักรยานไปกลับวันละ 18 ก.ม. ลำบากมากโดยเฉพาะในหน้าฝน ผมเป็นคนที่ไม่ตั้งใจเรียน แต่ไม่เกเร พอผมเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อยากทำนาเหมือนคุณพ่อคุณแม่ แต่ธรรมชาติช่วย จังหวะที่ผมเรียนจบ เกิดน้ำท่วมใหญ่ รวมถึงที่นา ผมต้องลงไปช่วยคุณพ่อ คุณแม่ยกฟ้อนข้าวขึ้นที่สูง เหนื่อยมาก รู้สึกลำบาก ไม่อยากทำนาอีกแล้ว เริ่มอยากเรียนหนังสือต่อ"
ผมจึงตัดสินใจเดินทางเข้ากรุงเทพฯ พักอยู่กับญาติที่กองรักษาการณ์ทำเนียบรัฐบาล ตัวเลือดตามล่องกระดานกัดติดหลังเป็นแถวเลยอยู่ไม่ได้ น้าชายไปฝากอยู่กับแฟนของเพื่อนตำรวจเป็นหมอนวดแถวถนนเพชรบุรีอยู่อีก 1 สัปดาห์ ต่อมาจึงได้หาที่พักถาวรได้ที่วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ขณะนั้นมีน้าชายชื่อ นายวิชิต เรียนทัพ อดีตนายก อบต.บางขุด พักอาศัยอยู่ก่อน
"ผมสอบเข้าศึกษาต่ออะไรก็ไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นจ่าอากาศ ช่างฝีมือทหาร เตรียมทหาร หรือแม้แต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคค่ำ ซึ่งเป็นผลมาจากการไม่ตั้งใจเรียน มาเรียนต่อได้เพราะวิทยาลัยครูเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ กิ่งเพชร ราชเทวี เปิดรับนักศึกษาภาคค่ำ ในขณะที่สถาบันการศึกษาอื่นๆ ได้เปิดเรียนไปแล้วเกือบหนึ่งเทอมแล้ว จึงมีที่เรียน"
"ช่วงที่อยู่วัดเห็นพระเณรนั่งดูหนังสือ ไม่นอน ผมจึงไม่นอน ผลการเรียนจึงเริ่มดีขึ้น โดยกลางวันทำงาน กลางคืนเรียน ไม่อยากใช้เงินคุณพ่อคุณแม่ เพราะรู้ว่าท่านลำบาก กระทั่งเรียนจบอนุปริญญา หรือปกศ.สูง เอกสังคมศึกษา ในระดับปริญญาไม่มีที่เรียนกลางคืน ต้องเรียนกลางวัน จึงไม่ได้ทำงานจนจบการศึกษาบัณฑิตหรือ กศ.บ. เอกสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตพลศึกษา"
"ช่วงนั้น ผมขอหลวงพ่อคุมศาลาเผาศพ และรับอาราธนาศีล บริการน้ำ-อาหาร รับจ้างจุดธูปเพื่อหาเงินเรียนจนจบปริญญาตรี สอบเข้าศึกษาต่อปริญญาโทได้ขณะที่เรียนเทอมสุดท้ายของปริญญาตรี จบปริญญาโท สังคมศาสตรมหาบัณฑิต (สค.ม.) อาชญาวิทยาและกระบวนการยุติธรรม มหาวิทยาลัยมหิดล รุ่นที่ 4 ทำงานภาคเอกชนอยู่ 4 ปี จึงเข้ารับราชการเมื่อวันที่ 1 ก.ค.2529 โดยเป็นพนักงานคุมประพฤติ 3 จังหวัดชลบุรี"
ต.ค. 2541 เติบโตมาเป็นเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 7 จ่าศาลจังหวัดปากพนัง รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานโครงการพัฒนาระบบงานศาล, 16 ก.พ. 2542 เป็นจ่าศาลจังหวัดอำนาจเจริญ, 18 มี.ค. 2542 ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผน กระทรวงยุติธรรม คณะกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการพิจารณาจัดระเบียบกระทรวงยุติธรรม, 4 มิย. 2544 ได้รับเลือกตั้งเป็น อกพ. สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม, 8 มิย.2544 รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการศูนย์บริการข้อมูลตุลาการ สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม, 15 ต.ค. 2544 ช่วยทำงานในตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงาน โครงการส่งเสริมประสิทธิภาพสถานพินิจ สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม, 7 พ.ย. 2544 คณะกรรมการบริหารแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 9 พ.ศ.2545-2549, 12 มีค.2545 กรรมการและเลขานุการการเตรียมความพร้อมในการจัดทำโครงสร้างกระทรวงยุติธรรมตามมติคณะรัฐมนตรี, 3 ต.ค.2545 รักษาราชการแทนรองอธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน
ขึ้นเป็นผู้บริหารระดับ 9 ในตำแหน่ง รองอธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน เมื่อ 25 เมย.2546
ย้ายไปเป็นรองอธิบดีกรมคุมประพฤติ 1 ปี 8 เดือน ก่อนจะได้รับคำสั่งให้กลับมาทำงานในตำแหน่งรองอธิบดีพินิจและคุ้ม ครองเด็กและเยาวชนอีกครั้งและได้ขึ้นเป็นอธิบดีในที่สุด
ผลงานดีเด่นที่เป็นที่ยอมรับ คือ จัดทำมาตรฐานกลางการปฏิบัติงานธุรการศาล และนำวิธีการบริหารงานคุณภาพทั่วทั้งองค์กร (Total Quality Management/ TQM) จนศาลจังหวัดนครราชสีมาได้รับ การประกาศรับรองด้านบริการ ISO 9000
การปฏิรูปกระทรวงยุติธรรม ในฐานะเป็นคณะกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการพิจารณาจัดระเบียบกระทรวงยุติธรรม ตามมติคณะรัฐมนตรี จนสามารถรวบรวมหน่วยงานต่างๆ ในกระบวนการยุติธรรมเข้ามาอยู่ร่วมกันในปัจจุบัน
ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณด้านการบำบัด ฟื้นฟู และพัฒนาผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2550 และได้รับเลือกเป็นข้าราชการพลเรือนดีเด่น พ.ศ.2544 เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของสภาลูกเสือแห่งชาติ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 9 สค.2550
"ทุกอย่างที่ทําให้เรามาถึงวันนี้ ได้กรรมเป็นตัวกํากับทั้งหมด และอะไรที่เราเคยเสีย ใจแบบสุดๆ หรือว่าเศร้าใจอย่างสุดๆ ความรู้สึกนั้นมันไม่เคยเสถียรเลย มันลดลงมาหมด
วันนี้ดีใจที่ได้เป็นอธิบดี อาจจะดีใจจน ตัวลอย แต่ว่าไม่เท่าไหร่ก็ลดลง เพราะฉะนั้นถ้าเราเข้าใจเท่าทันโลก เข้าใจเรื่องกฎของไตรลักษณ์ เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป มียศเสื่อมยศ มีลาภเสื่อมลาภ เพราะฉะนั้นอย่าไปยึดติด ที่สําคัญที่สุด คือเรามีหน้าที่ หน้าที่นั้นต้องทําให้ดีที่สุดในการที่จะมองไปที่ประชาชนและเด็กๆ
ผมเชื่อว่าผมอาจจะมีกรรมดีที่ได้มีหน้าที่การงานที่ดี แต่ส่วนหนึ่งผมว่า ผมก็อาจจะเคยทํากรรมอะไรไว้บางอย่างกับเด็กๆ ผมถึงต้องชดใช้อะไรมากมายถึงขนาดนี้ รู้สึกว่าต้องเป็นทุกข์เป็นร้อน เห็นอะไรไม่สบายใจต้องเข้าไปจัดการ ฉะนั้นเมื่อเป็นอย่างนี้ เราก็อยากเห็นสังคมมีคุณธรรม มีจริยธรรม เพราะทุกวันนี้เรื่องเหล่านี้มันตกต่ำไปมาก"
สมรสกับเบญจพร ไทยเขียว ซึ่งรับราชการครู มีบุตรชาย 2 คน นายชัชชล ไทยเขียว อายุ 25 ปี จบศึกษาด้านภาษาและวัฒนธรรม และศึกษาดนตรีและทำเครื่องดนิตรีกู่ฉินไปด้วยที่ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ประกอบอาชีพส่วนตัวสอนคนตรีกู่ฉิน และจำหน่ายเครื่องคนตรีจีนคุณภาพจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน อาจารย์พิเศษ
และนายยิ่งคุณ ไทยเขียว อายุ 23 ปี จบศึกษาคณะวิศวศาสตร์คอมพิวเตอร์ สถาบันเทคโนโลยีไทยญี่ปุ่น ปัจจุบันกำลังศึกษา MBA มหาวิทยาลัยหอการค้า