มกราคม 2555

1
2
3
5
7
8
10
11
12
13
14
16
17
18
19
20
21
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog
แก้ไขอายุเด็กทำผิดรับผิดทางอายา
เทศกาล “วันเด็ก” ถือเป็นวันสำคัญที่เด็กหลายคนรอคอย เพื่อที่จะออกไปท่องเที่ยวหรือทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัว ทว่ายังมีเด็กๆ อีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งไม่มีโอกาสออกไปเที่ยววันเด็ก เพราะถูกคุมตัว เนื่องจากกระทำความผิด อยู่ที่ “สถานพินิจ”

“มติชนออนไลน์” มีโอกาสสัมภาษณ์ “ธวัชชัย ไทยเขียว” อธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กระทรวงยุติธรรม ถึงมุมมองเรื่องพัฒนาการทางสังคมของครอบครัวไทย รวมถึงการแก้กฎหมายคุ้มครองเด็กที่จะรับโทษ ให้ขยับจาก 10 ปี เป็น 12 ปี

“ธวัชชัย” ฉายภาพสถาบันครอบครัวจากประสบการณ์ว่า แต่ละยุคสมัยคำนิยามของเด็กไม่เปลี่ยน แต่บริบทรอบๆ ตัวต่างหาก ที่เปลี่ยนแปลงไปมาก ส่งผลให้พฤติกรรมของเด็กสมัยนี้แตกต่างจากเด็กสมัยก่อน คือหงุดหงิดง่าย ความอดทนต่ำ มีความสุขในโลกปัจจุบัน จึงขาดการเตรียมการในอนาคต
 
เป็นผลจากการที่คนในบ้านวัยต่างๆ ใช้เวลาร่วมกันน้อยลง การปลูกฝังเรื่อง “ขนบธรรมเนียม” จึงเริ่มหายไป

“สมัยก่อนเวลาไปวัด เด็กๆ ก็จะไปพร้อมพ่อแม่ปู่ย่าตายาย คน 3 วัยได้ทำกิจกรรมร่วมกัน เดี๋ยวนี้ไม่มีแบบนั้นอีกแล้ว และเวลาอยู่บ้าน แต่ก่อนเด็กจะได้เรียนรู้อาชีพหรือการทำงานของพ่อแม่ หลังจากการรับประทานอาหารไม่ว่าจะเช้าหรือเย็น แต่ปัจจุบันนี้พอเด็กๆ กินเสร็จก็สามารถแยกตัวไปที่สื่ออย่างอื่นได้เลย ทั้งโทรทัศน์หรือคอมพิวเตอร์ทำให้กระบวนการเรียนรู้ระหว่างคน 3 วัย ลดลง”

“ธวัชชัย” ชี้ด้วยว่า คนไทยยังขาดจุดมุ่งเรื่องการดูแลเด็กๆ

“ขณะที่เกาหลีจะมองเรื่องรักชาติ ซื่อสัตย์ กตัญญู รักสิ่งแวดล้อม การยืนบนลำแข้งตัวเอง แต่ประเทศไทยส่วนใหญ่จะมุ่งแต่คำขวัญวันเด็ก ซึ่งยังไม่สามารถแปลงไปสู่การปฏิบัติได้เลย ผมคิดว่าควรจะทำเข็มมุ่งเรื่องเด็กๆ ให้ชัดเจน ไม่ว่าจะเปลี่ยนไปกี่รัฐบาล เข็มมุ่งนี้ก็ไม่ควรเปลี่ยนบ่อย”

เมื่อถามถึงคดีของเด็กๆ ที่อยู่ในการดูแลของกรมพินิจฯ มากที่สุด “อธิบดีฯ” ตอบแบบไม่ลังเลว่า มากที่สุดคือคดียาเสพติด สูงถึง 30-37% รองลงมาเป็นคดีที่เกี่ยวกับทรัพย์ พวกลัก วิ่ง ชิง ปล้น แล้วก็ทำร้ายร่างกาย

ช่วงอายุที่อยู่ในกรมพินิจฯ มากสุดคือ 15-18 ปี ซึ่งมีสูงถึง 85% รองลงมาคืออายุต่ำกว่า 15 ปี ประมาณ 15% จากจำนวนเด็กในสถานพินิจฯ ทั้งหมด 46,000-50,000 คน
 

นอกจากนี้ ยังพบข้อมูลที่น่าตกใจว่า ระหว่างที่เด็กเหล่านี้ถูกจับกุมตัว สถานะของพวกเขาไม่ได้เป็นนักเรียนเกือบ 60%

อีกหนึ่งแนวทางที่น่าจะช่วยแก้ปัญหาเด็กได้ในระยะยาว

“ธวัชชัย” กล่าวว่า ภายในสัปดาห์นี้ จะรีบดำเนินการทำหนังสือไปยังรัฐมนตรี เรื่องการแก้กฎหมายมาตรา 73 ซึ่งเดิมระบุให้เด็กที่มีอายุน้อยกว่า 10 ปี ไม่ต้องรับโทษเมื่อกระทำผิด โดยการแก้กฎหมายครั้งนี้จะยืดอายุเด็กเป็น 12 ปี

“เมื่อ ครม.เห็นชอบ ขั้นตอนต่อไปก็ต้องเสนอสภาฯ ซึ่งต้องมีการตั้งกรรมาธิการดูแล แต่ในเรื่องข้อมูลเอกสารตอนนี้มีครบหมดแล้ว คาดว่าจะใช้เวลาดำเนินงานในส่วนของราชการเพียง 1-2 เดือน แล้วจึงค่อยไปอยู่ในวาระของสภาฯ”

สาเหตุที่ต้องมีการแก้กฎหมายเด็ก เนื่องจากเมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว ทางสหประชาชาติได้จัดการประชุม และมีมติเรื่องการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของเด็ก ซึ่งต้องคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของเด็ก หากมีการจับกุมเด็กก่อนที่จะพิจารณาคดี ควรแยกเด็กจากผู้ใหญ่ ซึ่งที่ผ่านมากฎหมายของเมืองไทยก็ได้แก้ตามไปเกือบหมดแล้ว

เหลือเพียงแต่เรื่อง “อายุ” ซึ่งทางสหประชาชาติมีมติว่าต้องส่งเสริมการรับโทษเด็กให้อายุไม่ต่ำเกินไป และเพิ่มอายุขั้นต่ำของเด็กในการรับโทษที่ 12 ปี

“เด็กควรได้รับความดูแลในเรื่องของการคุ้มครองสวัสดิภาพความปลอดภัยมากกว่าที่เป็นอยู่ ไม่ใช่ว่าเด็กทำผิด แล้วเอาพฤติกรรมไปเทียบกับผู้ใหญ่ แล้วหวังจะเอาเด็กเข้าคุกเข้าตารางอย่างเดียว มันแก้ไม่ได้ ก็มีการจะไปเสริมเติมเต็มประสบการณ์ ท้ายที่สุดเขาก็มาเป็นขยะให้กับสังคมต่อไป”

“ลองนึกดูลูกหลานที่อยู่แค่ ป.6 ทำผิด อาจจะไปลักทรัพย์ หรือทำร้ายใครจนถึงความตาย แล้วเราบอกต้องเอาเข้าคุก ก็ยุ่งแล้ว เพราะฉะนั้นวันที่เขาออกจากคุกไปก็เป็นอาชญากรรุ่นใหญ่แล้วครับ จะแก้ยาก เพราะฉะนั้นระหว่างที่ยังเด็ก ถ้าเขาก้าวพลาด ผิดจังหวะหรือทำผิด แก้ตั้งแต่เขาอายุยังน้อยแก้ง่ายกว่า แต่ถ้าเขาอายุมากขึ้น จะแก้ยากหรือแก้ไม่ได้เลย”



Create Date : 15 มกราคม 2555
Last Update : 15 มกราคม 2555 4:32:44 น.
Counter : 2015 Pageviews.

1 comments
  
//www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1326508086&grpid=01&catip&subcatid
โดย: คนทำงานด้านเด็ก (คนทำงานด้านเด็ก ) วันที่: 15 มกราคม 2555 เวลา:4:34:42 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

คนทำงานด้านเด็ก
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]



รองปลัดกระทรวงยุติธรรม
เกิด 17 ก.พ.2502 จังหวัดชัยนาท เป็นบุตร นายสุเทพ-นางชิ้น ไทยเขียว
จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 7 โรเรียนวัดโพธิ์ทอง ต.บางขุด อ.สรรคบุรี แล้วมาเรียนมัธยมที่โรงเรียนคุรุประชาสรรค์ อ.สรรคบุรี จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
"ตอนเรียนมัธยม เป็นช่วงปี 2515-2517 ผมต้องขี่จักรยานไปกลับวันละ 18 ก.ม. ลำบากมากโดยเฉพาะในหน้าฝน ผมเป็นคนที่ไม่ตั้งใจเรียน แต่ไม่เกเร พอผมเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อยากทำนาเหมือนคุณพ่อคุณแม่ แต่ธรรมชาติช่วย จังหวะที่ผมเรียนจบ เกิดน้ำท่วมใหญ่ รวมถึงที่นา ผมต้องลงไปช่วยคุณพ่อ คุณแม่ยกฟ้อนข้าวขึ้นที่สูง เหนื่อยมาก รู้สึกลำบาก ไม่อยากทำนาอีกแล้ว เริ่มอยากเรียนหนังสือต่อ"
ผมจึงตัดสินใจเดินทางเข้ากรุงเทพฯ พักอยู่กับญาติที่กองรักษาการณ์ทำเนียบรัฐบาล ตัวเลือดตามล่องกระดานกัดติดหลังเป็นแถวเลยอยู่ไม่ได้ น้าชายไปฝากอยู่กับแฟนของเพื่อนตำรวจเป็นหมอนวดแถวถนนเพชรบุรีอยู่อีก 1 สัปดาห์ ต่อมาจึงได้หาที่พักถาวรได้ที่วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ขณะนั้นมีน้าชายชื่อ นายวิชิต เรียนทัพ อดีตนายก อบต.บางขุด พักอาศัยอยู่ก่อน
"ผมสอบเข้าศึกษาต่ออะไรก็ไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นจ่าอากาศ ช่างฝีมือทหาร เตรียมทหาร หรือแม้แต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคค่ำ ซึ่งเป็นผลมาจากการไม่ตั้งใจเรียน มาเรียนต่อได้เพราะวิทยาลัยครูเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ กิ่งเพชร ราชเทวี เปิดรับนักศึกษาภาคค่ำ ในขณะที่สถาบันการศึกษาอื่นๆ ได้เปิดเรียนไปแล้วเกือบหนึ่งเทอมแล้ว จึงมีที่เรียน"
"ช่วงที่อยู่วัดเห็นพระเณรนั่งดูหนังสือ ไม่นอน ผมจึงไม่นอน ผลการเรียนจึงเริ่มดีขึ้น โดยกลางวันทำงาน กลางคืนเรียน ไม่อยากใช้เงินคุณพ่อคุณแม่ เพราะรู้ว่าท่านลำบาก กระทั่งเรียนจบอนุปริญญา หรือปกศ.สูง เอกสังคมศึกษา ในระดับปริญญาไม่มีที่เรียนกลางคืน ต้องเรียนกลางวัน จึงไม่ได้ทำงานจนจบการศึกษาบัณฑิตหรือ กศ.บ. เอกสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตพลศึกษา"
"ช่วงนั้น ผมขอหลวงพ่อคุมศาลาเผาศพ และรับอาราธนาศีล บริการน้ำ-อาหาร รับจ้างจุดธูปเพื่อหาเงินเรียนจนจบปริญญาตรี สอบเข้าศึกษาต่อปริญญาโทได้ขณะที่เรียนเทอมสุดท้ายของปริญญาตรี จบปริญญาโท สังคมศาสตรมหาบัณฑิต (สค.ม.) อาชญาวิทยาและกระบวนการยุติธรรม มหาวิทยาลัยมหิดล รุ่นที่ 4 ทำงานภาคเอกชนอยู่ 4 ปี จึงเข้ารับราชการเมื่อวันที่ 1 ก.ค.2529 โดยเป็นพนักงานคุมประพฤติ 3 จังหวัดชลบุรี"
ต.ค. 2541 เติบโตมาเป็นเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 7 จ่าศาลจังหวัดปากพนัง รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานโครงการพัฒนาระบบงานศาล, 16 ก.พ. 2542 เป็นจ่าศาลจังหวัดอำนาจเจริญ, 18 มี.ค. 2542 ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผน กระทรวงยุติธรรม คณะกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการพิจารณาจัดระเบียบกระทรวงยุติธรรม, 4 มิย. 2544 ได้รับเลือกตั้งเป็น อกพ. สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม, 8 มิย.2544 รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการศูนย์บริการข้อมูลตุลาการ สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม, 15 ต.ค. 2544 ช่วยทำงานในตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงาน โครงการส่งเสริมประสิทธิภาพสถานพินิจ สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม, 7 พ.ย. 2544 คณะกรรมการบริหารแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 9 พ.ศ.2545-2549, 12 มีค.2545 กรรมการและเลขานุการการเตรียมความพร้อมในการจัดทำโครงสร้างกระทรวงยุติธรรมตามมติคณะรัฐมนตรี, 3 ต.ค.2545 รักษาราชการแทนรองอธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน
ขึ้นเป็นผู้บริหารระดับ 9 ในตำแหน่ง รองอธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน เมื่อ 25 เมย.2546
ย้ายไปเป็นรองอธิบดีกรมคุมประพฤติ 1 ปี 8 เดือน ก่อนจะได้รับคำสั่งให้กลับมาทำงานในตำแหน่งรองอธิบดีพินิจและคุ้ม ครองเด็กและเยาวชนอีกครั้งและได้ขึ้นเป็นอธิบดีในที่สุด
ผลงานดีเด่นที่เป็นที่ยอมรับ คือ จัดทำมาตรฐานกลางการปฏิบัติงานธุรการศาล และนำวิธีการบริหารงานคุณภาพทั่วทั้งองค์กร (Total Quality Management/ TQM) จนศาลจังหวัดนครราชสีมาได้รับ การประกาศรับรองด้านบริการ ISO 9000
การปฏิรูปกระทรวงยุติธรรม ในฐานะเป็นคณะกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการพิจารณาจัดระเบียบกระทรวงยุติธรรม ตามมติคณะรัฐมนตรี จนสามารถรวบรวมหน่วยงานต่างๆ ในกระบวนการยุติธรรมเข้ามาอยู่ร่วมกันในปัจจุบัน
ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณด้านการบำบัด ฟื้นฟู และพัฒนาผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2550 และได้รับเลือกเป็นข้าราชการพลเรือนดีเด่น พ.ศ.2544 เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของสภาลูกเสือแห่งชาติ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 9 สค.2550
"ทุกอย่างที่ทําให้เรามาถึงวันนี้ ได้กรรมเป็นตัวกํากับทั้งหมด และอะไรที่เราเคยเสีย ใจแบบสุดๆ หรือว่าเศร้าใจอย่างสุดๆ ความรู้สึกนั้นมันไม่เคยเสถียรเลย มันลดลงมาหมด
วันนี้ดีใจที่ได้เป็นอธิบดี อาจจะดีใจจน ตัวลอย แต่ว่าไม่เท่าไหร่ก็ลดลง เพราะฉะนั้นถ้าเราเข้าใจเท่าทันโลก เข้าใจเรื่องกฎของไตรลักษณ์ เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป มียศเสื่อมยศ มีลาภเสื่อมลาภ เพราะฉะนั้นอย่าไปยึดติด ที่สําคัญที่สุด คือเรามีหน้าที่ หน้าที่นั้นต้องทําให้ดีที่สุดในการที่จะมองไปที่ประชาชนและเด็กๆ
ผมเชื่อว่าผมอาจจะมีกรรมดีที่ได้มีหน้าที่การงานที่ดี แต่ส่วนหนึ่งผมว่า ผมก็อาจจะเคยทํากรรมอะไรไว้บางอย่างกับเด็กๆ ผมถึงต้องชดใช้อะไรมากมายถึงขนาดนี้ รู้สึกว่าต้องเป็นทุกข์เป็นร้อน เห็นอะไรไม่สบายใจต้องเข้าไปจัดการ ฉะนั้นเมื่อเป็นอย่างนี้ เราก็อยากเห็นสังคมมีคุณธรรม มีจริยธรรม เพราะทุกวันนี้เรื่องเหล่านี้มันตกต่ำไปมาก"
สมรสกับเบญจพร ไทยเขียว ซึ่งรับราชการครู มีบุตรชาย 2 คน นายชัชชล ไทยเขียว อายุ 25 ปี จบศึกษาด้านภาษาและวัฒนธรรม และศึกษาดนตรีและทำเครื่องดนิตรีกู่ฉินไปด้วยที่ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ประกอบอาชีพส่วนตัวสอนคนตรีกู่ฉิน และจำหน่ายเครื่องคนตรีจีนคุณภาพจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน อาจารย์พิเศษ
และนายยิ่งคุณ ไทยเขียว อายุ 23 ปี จบศึกษาคณะวิศวศาสตร์คอมพิวเตอร์ สถาบันเทคโนโลยีไทยญี่ปุ่น ปัจจุบันกำลังศึกษา MBA มหาวิทยาลัยหอการค้า