keigolin
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 14 คน [?]




สวัสดีค่ะ ยินดีต้อนรับเข้าสู่ blog ของ keigo นะคะ ^^

blog นี้เป็น blog เก่าค่ะ ได้ย้ายบ้านไป thisiskeigo.wordpress.com แล้ว ไปติดตามกันได้ที่นั่นค่ะ ^^
หรือติดตามเพจกันได้ที่ http://www.facebook.com/thisiskeigo
ขอบคุณที่ติดตามกันค่ะ ^^
New Comments
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2548
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
9 มิถุนายน 2548
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add keigolin's blog to your web]
Links
 

 

พูดจาภาษาหมอ #1 by-หมอแมว-

พูดจาภาษาหมอ
วันก่อนได้ยินเรื่องคนไข้ฟ้องหมอที่มาผ่าตัดหลังจนเธอเป็นอัมพาต ทั้งที่เธอเป็นแค่โรคภูมิแพ้
อ่านแล้วงงครับ โรคภูมิแพ้อะไรที่ทำให้ผ่าตัด และจนเป็นอัมพาต
พออ่านเนื้อความแล้วก็เข้าใจเลยว่าคนไข้คนนั้นรู้เรื่องและเข้าใจดีพออยู่แล้ว แต่สื่อหนังสือพิมพ์ขาดความรู้และเขียนข่าวโดยไม่มีความรู้(ถ้ารู้แล้วเขียนอย่างนั้นเรียกว่าขายข่าว ผิดจรรยาบรรณและศีลธรรม ซึ่งผมว่านักข่าวไทยส่วนใหญ่เป็นคนดีและคงไม่ทำตัวไร้จรรยาบรรณขนาดนั้น)
ก็เลยมาคิดถึงภาษาที่ก่อความเข้าใจผิดในชีวิตการทำงานและเอามาเล่าครับ

1.ว่าด้วยแผนกต่างๆ

อายุรกรรม บางคนฟังแล้วอาจนึกถึงคำว่า อายุ-ระกำ แล้วพาลสงสัยว่านี่มันแผนกอะไรกัน รักษาคนแก่ทีนี่ชอกช้ำทำร้ายจิตใจอะไรขนาดนี้เชียวหรือ
ที่จริงหมายถึงแผนกโรคทั่วไปที่การรักษาโดยยาเป็นหลักครับ ไม่ได้หมายถึงโรคคนแก่ พวกโรคหัวใจโรคปอดโรคไตโรคเลือดทั้งหลายแหล่ มักอยู่ในแผนกนี้
ศัลยกรรม ผมมาจับได้ว่าคนหลายคนไม่รู้จักว่าศัลย์แปลว่าผ่าตัด ก็ตอนที่ออกตรวจแล้วพบว่า ผู้ป่วยบางคนที่มารอ ถามผมว่าชื่อ....เหรอ เขานึกว่าชื่อหมอ"สัน" เพราะพยาบาลที่อยู่หน้าห้องบอกว่าให้รอพบหมอศัลย์
แผนกนี้ก็จะรักษาโรคที่การรักษาหลักต้องใช้การผ่าตัดเป็นหลักสำคัญ
แต่ถึงอย่างไรก็ตาม การรักษาผู้ป่วย ไม่ได้มีการแบ่งอายุกรรมศัลยกรรมครับ หมอที่ผ่าตัดก็ให้ยาเป็น และหมอที่ใช้ยาก็ผ่าตัดเป็น รวมทั้งถ้าไม่มั่นใจก็จะปรึกษากันได้

สูตินรี โรคที่ผู้หญิงเป็น.....
กุมาร โรคที่เด็กเป็น....
ออร์โธปิดิค โรคกระดูก(และกล้ามเนื้อ) เป็นแผนกเดียวในการแพทย์ไทยกระมังที่ไม่มีการแปลจากภาษาอังกฤษเป็ฯไทย
จักษุตา
โสตนาสิกลาลิงซ์ โสตศอนาสิก = หูคอจมูก

OPD
คำนี้ผมว่าคงจะได้ยินบ่อยๆหากไปที่โรงพยาบาลของรัฐ ฟังแล้วคงจะงงพอสมควร เพราะอย่างผมเองเวลาบอกTaxiว่าให้ไปโรงพยาบาลก็มักจะบอกว่าไปที่ตึกนี้เพราะอยู่ที่หน้าโรงพยาบาล เวลาบอกไปtaxiก็จะงงแล้วถามว่ามันคือตึกไหน ผมก็จะบอกไปอีกว่า "อ๋อ ตึกผู้ป่วยนอกครับ"
taxiก็จะงงอีก ถามว่ามันคืออะไร... ผู้ป่วยนอก หมายถึงผู้ป่วยต่าวชาติหรืออย่างไร(สรุปแล้วก็ให้ไปหน้าโณงพยาบาลแหละครับ เพราะมันก็เป็นตึกแรกของทุกโรงพยาบาลนั่นแหละ)
OPDย่อมาจาก out patient department แปลออกมาเป็ฯไทย(ภาษาราชการ)เรียกว่าผู้ป่วยนอก ซึ่งความหมายคือ ตึกที่ผู้ป่วยเข้ามารับการรักษาแล้วสามารถกลับไปได้(จะกลับไปกินยาหรือทำตัวตามที่แพทย์แนะนำก็ตามแต่)
จะมีอีกคำที่รู้จักน้อยกว่าครับ นั่นคือ IPD หมายถึงin patient department หรือผู้ป่วยใน หมายถึงผู้ป่วยที่เข้ามารับการรักษาแล้วแพทย์ให้นอนโรงพยาบาล.

Ward
เวลาถามเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับว่าผู้ป่วยชื่อนามสกุลนี้พักที่ไหน มักจะได้รับคำตอบว่า "ผู้ป่วยคนนี้พักอยู่ที่วอร์ด....."
วอร์ด หมายถึงตึกผู้ป่วยที่ควบคุมด้วยพยาบาลและแพทย์กลุ่มเดียวกันครับ โดยมากมักเป็นชั้นๆเดียวกัน

ER อีอาร์
ที่จริงแล้วหากดูทีวีก็คงเคยได้ยินว่าอีอาร์หมายถึงห้องฉุกเฉินที่มักให้ผู้ป่วยที่ฉุกเฉินเป็นอันตรายถึงชีวิตในเวลาอันสั้นเข้ามาตรวจ
แต่ในเมืองไทย ห้องฉุกเฉินหรือERนี้ หมายถึง
ห้องที่ผู้ป่วยที่รู้สึกว่าตนเองฉุกเฉินมารับการรักษา
มีไข้ไม่สบายเป็นหวัด
ถ่ายสัก10ครั้ง
ยาหมดมาขอรับยาเพิ่ม
ขอใบรับรองแพทย์ไปหยุดงาน
มีแผลหมากัด

ดังนั้นในหลายโรงพยาบาลผู้ป่วยจะเข้ามารักษาโดยเดินตรงเข้าห้องฉุกเฉินเพื่อหวังว่าคิวจะน้อยและได้รับการตรวจรักษาเร็วๆ(แซงคิดคนอื่นนั่นแหละ) และทำให้ผู้ป่วยที่ฉุกเฉินจริงได้รับการรักษาล่าช้าลงไป....
เรื่องนี้เดี๋ยวมีอีกยาว


2.ว่าด้วยการตรวจพูดคุย
ทอนซิล
คำนี้ได้ยินบ่อยเวลาตรวจดูข้างในคอ ซึ่งทอนซิลนี้คืออวัยวะอย่างนึงที่ปกติมักทำหน้าที่ดักจับเชื้อโรคในลำคอ (อยากเห็นรูปก็พิมพ์คำว่าtonsil)

ต่อมน้ำเหลือง
น้ำเหลือง เป็ฯส่วนหนึ่งในการไหลเวียนของร่างกายที่นอกเหนือไปจากระบบที่มีเลือด
ถ้าเปรียบระบบเลือด เป็นท่อน้ำท่อประปา ระบบน้ำเหลืองก็เหมือนท่อน้ำทิ้งแบบนึง
ต่อมน้ำเหลืองเป็นจุดรวมของท่อน้ำเหลือง ซึ่งเปรียบประดุจป้อมปราการที่คอยดักจับเชื้อโรคที่อยู่ในร่างกาย
สังเกตได้ว่าถ้าเป็นไข้ไอเจ็บคอจะคลำได้เม็ดๆตามคอ...

กระดูก ส่วนใหญ่ไม่ค่อยสับสนกันนักยกเว้นสองชิ้นนี้คือ สะบัก กับ สะบ้า
สะบ้า patella กระดูกกลมๆรีๆตรงหน้าหัวเข่า
สะบัก scapula กระดูกที่อยู่ใต้ไหล่ เป็นแผ่นโตๆทางด้านหลัง
กระดูกเชิงกราน อยู่ที่แถวๆเอวลงไปจนถึงก้นกบ
ปล. คำถามที่ไม่ควรถามหมอคือ กระดูกสันหลังมีกี่ชิ้น เพราะเคยมีรายการนึงเอามาถามออกทีวีแล้วหมอตอบไม่ได้ .... ก็เพราะว่ากระดูกสันหลังของคนเราในท่อนล่างๆที่ก้นกบ จะมีจำนวนชิ้นจริงๆคือสองชิ้น แต่ในทางการแพทย์ถือว่าชิ้นๆนึงในนั้นเป็นชิ้นที่ประกอบด้วยกระดูกที่เข้ามารวมตัวกัน
ประมาณเดียวกับถามว่าธงชาติไทยมีกี่แถบ
คนบางคนบอกว่ามี5แถบ คนบางคนบอกว่ามี3แถบ(ตามความหมาย) ...ประมาณนั้น

วินิจฉัย (diagnosis)
หมายถึงการบอกว่าโรคที่หมอคิดว่าผู้ป่วยเป็นคือโรคอะไร เป็นภาษาทางราชการ
แต่เคยมีปัญหาว่าผู้ป่วยไปร้องเรียนว่าแพทย์ได้ทำการทดลองยาโดยใช้ผู้ป่วยเป็นหนูลองยา
พอสืบไปสืบมา ผู้ป่วยก็บอกว่าที่ทราบเพราะแพทย์บอกว่า "วิจัย"ผู้ป่วยว่าเป็นโรคนั้นโรคนี้ ดังนั้นแปลว่าเอาผู้ป่วยไปลองยาลองวิจัย.....
เป็นหนึ่งในภาษาราชการที่คนไทยไม่ทราบไม่เข้าใจครับ


.....เวลาโดนหมากัดงูกัด
พอไปหาหมอ ก็จะมีการฉีด "วัคซีน" และ/หรือ "เซรุ่ม"
วัคซีน คือยาชนิดนึงที่ฉีดเข้าไปแล้วจะทำให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานด้วยตนเองขึ้นมา ที่เจอบ่อยๆคือโรคบาดทะยักโปลิโอไอกรนคอตีบ อันนี้ฉีดกันถ้วนทั่ว พอฉีดแล้วต่อไปได้รับเชื้อก็ไม่ต้องกังวลมากนัก
เซรุ่ม คือยาชนิดนึงที่ให้เพื่อเข้าไปต่อสู้เชื้อโดยตรง ไม่รอให้ร่างกายสร้างขึ้นมาเอง ใช้ในกรณีที่โรคที่เป็นนั้นร้ายแรงหากรอให้ร่างกายสร้างภูมิขึ้นมาก็จะไม่ทันการณ์ ดังนั้นจึงต้องให้กำลังเสริมเข้าไปช่วยต้านไว้จนกว่าร่างกายจะฝึกทหารของตนเองได้
ส่วน ซีรั่ม ในแชมพูยี่ห้อต่างๆ ไม่รู้เหมือนกันครับว่าแปลว่าอะไร

แหลบ แลป Lab
คำพวกนี้หมอมักไม่พูดกับผู้ป่วย แต่ผู้ป่วยมักได้ยินเวลาไปโรงพยาบาลแล้วมีเจ้าหน้าที่พูดกันเอง
คำนี้หมายถึงการตรวจทางห้องปฎิบัติการ..... (พอพูดคำนี้ก็จะถามว่าแล้วห้องที่ว่ามันคืออะไร)
ซึ่งก็คือการที่ตรวจโดยใช้เครื่องมืออุปกรณ์เสริมเข้ามาช่วย
ตรวจเลือด ถ้ามองด้วยตาเปล่าก็รู้แค่ว่า เลือดแดง ข้นนิดๆ .... แต่พอเอาไปทำแลป ก็จะรู้ว่าในเลือดมีอะไรอยู่ในนั้นบ้าง
ซึ่งผลเลือดจะออกมาอยู่ใน ใบแหลบ ใบแลป หรือใบlabแล้วส่งไปให้หมอ
ปัจจุบัน คนไทยคงไม่รู้จักคำนี้ในภาษาไทยกันมากนัก เพราะที่จริงใบแหลบในภาษาไทยก็มีที่หมายถึงใบพลู

ไข่ขาวในปัสสาวะ
คำนี้คงได้ยินกันบ่อยเมื่อเทียบกับคำอื่นๆ หมายถึงว่าเจอสารตัวนึงที่ชื่อว่าAlbuminในปัสสาวะเปรียบได้กับโปรตีนตัวนึง ซึ่งพอดีว่าเจ้าสารตัวนี้เวลาเจอมากๆในปัสสาวะจะทำให้มีฟอง(เป็นฟองที่ตั้งไว้ชั่วโมงนึงก็ไม่แตก) ซึ่งในไข่ไก่ส่วนไข่ขาวนั้นมีสารพวกนี้ และพอเอาไข่ขาวผสมน้ำเขย่าก็จะได้ลักษณะเดียวกัน
ซึ่งหลังจากสอบถามผู้ป่วยหลายคน พอได้ยินคำว่าไข่ขาวในปัสสาวะก็งงเหมือนกัน เปลี่ยนจากงงภาษาอังกฤษมาเป็นงงภาษาไทย และเปลี่ยนจากคิดว่าหมอพูดภาษาอังกฤษทำไมไม่รู้เรื่องมาเป็น แย่จังเราไม่รู้จักคำนี้
ไข่ขาวในปัสสาวะ พบได้ในหลายๆโรค ซึ่งที่พบบ่อยๆคือเบาหวาน ที่พบได้และรุนแรงได้ก็พบในโรคไตบางชนิด
บางคนพอบอกผลไป แล้วบอกให้มางดน้ำงดอาหารมาตรวจเบาหวาน ... กลับไปคุยกับคนข้างบ้านที่รู้จักคนเป็นโรคไต.... คราวนี้ก็เลยคิดว่าตนเองเป็นโรคไต ตายแน่ๆ ก็ไม่กลับมาหาหมอ ไปซื้อยาล้างไต(สีผสมอาหาร)มากิน.....
ดังนั้นผมขอแนะนำว่า เวลาได้ยินคำว่า ไข่ขาวในปัสสาวะ ให้ถามหมอต่อครับว่า "สงสัยว่าป่วยเป็นอะไร"

ช้อนชา ช้อนโต๊ะ
ถ้าได้ยาน้ำไปกิน ควรใช้ช้อนจากโรงพยาบาลที่ให้ไปพร้อมกัน ถ้าไม่มีก็ขอให้ถามเจ้าหน้าที่ห้องยาหรือเภสัชกรในทันที.....
เพราะคำว่าช้อนชา และช้อนโต๊ะ ในทางการแพทย์และทางวิทยาศาสตร์ เป็นหน่วยการตวง ซึ่ง1ช้อนชาเท่ากับ5ซีซี 1ช้อนโต๊ะเท่ากับ15ซีซี
ส่วนคนไทยมักนึกถึงช้อนกาแฟ และช้อนแกงกินข้าวต้ม ซึ่งโดยทั่วไปจะขนาดไม่เท่ากัน

3.สารพัดสารพันอุปกรณ์มหัศจรรย์

เอ็กซเรย์ X-ray อันนี้น่าจะรู้จัก
เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องที่ใช้รังสีX เข้าถ่ายภาพ แต่ได้ภาพในแนวตัดขวาง
เครื่องแม่เหล็กไฟฟ้า MRI เอ็มอาร์ไอ : ใช้ถ่ายภาพเหมือนกัน แต่ไม่ได้ใช้รังสีเอกซ์ ใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
Ultrasound อัลตร้าซาวน์ ถ่ายภาพด้วยคลื่นเสียง
กลืนแป้ง ฉีดสี.... เป็นการใส่สารเข้าไปในร่างกายโดยสารนี้จะถ่ายเห็นชัดด้วยเครื่องมือ แต่มองด้วยตาไม่เห็ฯ

จะถ่ายด้วยวิธีใดก็แล้วแต่ ก็ต้องใช้คนอ่านและแปลผลครับ ไม่ใช่ว่าใช้เอกซเรย์คอมพิวเตอร์แล้วคอมพิวเตอร์จะอ่านให้ซะหน่อย

4. คำพูดกำกวม

งดน้ำงดอาหาร กินข้าวกินน้ำครั้งสุดท้ายเมื่อไร
จะได้ยินคำถามนี้ก่อนการผ่าตัด ครับ เนื่องจากในการผ่าตัดที่ดมยาสลบ พอสลบไปแล้วของในกระเพาะอาจท้นอ้วกขึ้นมาได้ ถ้าลงปอดจะอันตรายมาก ดังนั้นต้องไม่มีน้ำหรืออาหารในกระเพาะที่มากพอที่จะล้นขึ้นมาตอนสลบ
ดังนั้นเมื่อถามว่ากินข้าวกินน้ำ"ครั้ง"สุดท้ายเมื่อไหร่ ให้ตอบในครั้งสุดท้ายที่มีน้ำหรืออาหารไหลลงคอไปครับ
ไม่ใช่ตอบข้าวน้ำ"มื้อ"สุดท้ายที่กิน
เพราะตอนเรียน ผมได้เห็นผู้ป่วยคนนึงที่บอกว่ากินครั้งสุดท้ายเมื่อตอนเที่ยง แต่พอวางยาสลบก็มีทองหยิบทองหยอดฝองทองขนมชั้นออกมาเต็มไปหมด รายนี้สำลักเข้าปอดและต้องอยู่โรงพยาบาลนานขึ้น(ดีที่แข็งแรงอยู่ก่อนก็เลยไม่ถึงตาย)

เป็นอะไรมา
คำพูดยอดฮิตที่หมอจะถามเวลาไปหาครับ
ในระบบการเรียนของแพทย์ เวลาเรียนจะมีการสอนให้หาประเด็นสำคัญที่ผู้ป่วยเข้ามาหา เพราะว่านั่นมักจะเป็นปัญหาสำคัญและมักสาวถึงต้นเหตุของโรคได้
แต่ในทางปฏิบัติ เมื่อผู้ป่วยได้ยินปุ๊บ จะบอกทันทีถึงโรคที่เป็นอยู่ อาการที่เป็นทั้งหมด และอาการที่ไม่เกี่ยวกับครั้งนี้แต่ไหนๆก็มาแล้ว บอกให้หมดไปเลย
อย่างที่ผมเจอและเกือบโดนร้องเรียน "คนไข้"คนหนึ่งมาตอนช่วงที่กำลังยุ่งๆ ในห้องฉุกเฉิน
"เป็นอะไรมาครับ"ผมถาม.... "ไม่สบาย"คนไข้ตอบ
"มีอาการอะไรถึงต้องมาโรงพยาบาลครับ"ผมถามใหม่ "ปวดหัว ปวดฟัน ปวดตามตัว ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน เวียนหัว ตามองไม่ชัด ใจคอไม่ดี ปวดหัวใจ หายใจไม่อิ่ม"(จริงๆมีอีก แต่ผมไม่อยากไปค้นเวชระเบียนมาอ่านใหม่ เอาแค่ที่พอนึกได้แล้วกันครับ)
ในที่สุดหลังจากแวะเวียนไปตรวจคนที่ด่วนกว่าและกลับมาตรวจอาการ ก็รู้ว่าอาการหลักคือนอนไม่หลับ อาการที่เหลือเป็นนิดๆ หายไปแล้วเป็ฯส่วนใหญ่...(แล้วก็โดนบ่นแนวจะร้องเรียนว่าผมไม่ยอมสนใจ มัวไปตรวจคนอื่นไปตรวจตามคิว)

แต่นานๆที(ไม่ได้เจอกันบ่อยๆ) ที่เป็นโรคแล้วอาการไปคนละเรื่อง เช่นเป็นโรคหัวใจดันไปปวดก้น หรือเป็นโรคปอดแล้วไปปวดท้อง เป็นไส้ติ่งแล้วปวดขา (แต่ก็พอหาได้)


นี่เป็นแค่หนึ่งในหลายๆคำที่พูดกำกวมกันครับ ไว้โอกาสหน้าคงได้มีโอกาสมาเล่าสู่กันฟังใหม่





ไม่รู้ว่าเอามาจากในพันทิพหรือเปล่า ชื่อหมอแมวนี่มันคุ้น ๆ ตายังไงก็ไม่รู้ค่ะ แต่ยังไงก็ตาม ไปเจอในเว็บบอร์ดรุ่นเจ้าเก่า อิอิ ก็เลยแอบฉกมาเก็บไว้ในบล็อคตัวเองซะงั้น ฮา ๆ




 

Create Date : 09 มิถุนายน 2548
2 comments
Last Update : 9 มิถุนายน 2548 19:50:39 น.
Counter : 2420 Pageviews.

 

ขอบคุณมากนะครับ ให้ความรู้ผมตั้งเยอะ ขอให้หมอโชคดีนะครับ ขอบคุณจริง ๆ นะครับ ผมจะเอ็นเข้าหมอให้ได้ และเป็นหมอที่ดีเหมือนหมอแมวนะครับ

 

โดย: นุ นักเรียน ม. 5 เขตดอนเมือง IP: 124.121.163.119 29 กรกฎาคม 2550 20:09:06 น.  

 

ถ้าท่านจำเป็นที่จะต้องได้รับการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan)ท่านต้องให้เจ้าหน้าที่ใช้ แผ่นบิสมัส (Bismuth Shield) ป้องกันอันตรายจากรังสีในส่วนที่ต้องได้รับรังสีโดยตรง ซึ่งสามารถลดปริมาณรังสีที่ท่านได้รับมากกว่า 50% (เช่น บริเวณตา,เต้านม,ไทรอยด์) (ข้อมูลสนับสนุนจาก AJR, BJR, AJNR, European Radiology)

 

โดย: June IP: 210.213.42.142 30 เมษายน 2551 13:20:16 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.