PINK PANDA
<<
สิงหาคม 2550
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
13 สิงหาคม 2550
 
 
แนวทางพัฒนาเศรษฐกิจของไทย

การพัฒนาเศรษฐกิจของไทยได้ดำเนินการมาโดยตลอด แต่ก่อน ๆ มาได้ดำเนินการแบบไม่มีเป้าหมายที่แน่นอน ส่วนมาก
จะเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และมีหน่วยงานของรัฐรับผิดชอบอยู่หลายหน่วยงาน บางครั้งจึงเกิดปัญหาการทำงานซ้ำซ้อน
เป็นการลงทุนโดยเสียเปล่า รัฐบาลจึงได้แก้ปัญหาโดยจัดให้มีการพัฒนาอย่างมีแผนมีขั้นตอนในการดำเนินงาน ซึ่งเรียกว่าแผน
พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประเทศไทยได้เริ่มทำการพัฒนาประเทศโดยกำหนดเป็นแผนระดับชาติครั้งแรกในปี
พ.ศ.2504 กำหนดเป็นแผนพัฒนาแผนละ 5 ปี นับถึงปัจจุบัน (พ.ศ.2543) ได้ใช้แผนพัฒนาไปแล้ว 7 แผน (เป็นเวลา 35 ปี)
แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 เริ่มใช้ในปี 2540 และจะสิ้นสุดลงในปี 2544
การพัฒนาเศรษฐกิจของไทยตามแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติทุกฉบับ ถึงแม้จะมีวัตถุประสงค์หลัก
แตกต่างกันไปบ้าง แต่ก็มุ่งแก้ปัญญาหลักที่สำคัญ ๆ อยู่ 3 ประการ คือ การพัฒนาอาชีพและรายได้ การพัฒนาตลาดแรงงาน
การพัฒนาผลผลิตและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
การพัฒนาอาชีพและรายได้ อาชีพที่ควรจะได้รับการพัฒนา มีดังนี้
1.อาชีพเกษตรกรรม เป็นอาชีพหลักของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ซึ่งประชาชนที่ประกอบอาชีพนี้ ใช้วิธีการ
เก่า ๆ ที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ ซึ่งต้องพึ่งธรรมชาติโดยเฉพาะน้ำฝนอยู่มาก ทำให้ได้ผลผลิตต่ำ แต่ต้นทุนสูงขึ้น
เรื่อย ๆ ทำให้เกษตรกรมีรายได้ต่ำฐานะยากจน
แนวทางพัฒนาอาชีพทางด้านการเกษตรนี้ จะต้องให้ความรู้แก่เกษตรกรให้รู้จักวิธีการลดต้นทุนการผลิต โดยนำเทคโนโลยี
สมัยใหม่มาใช้ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม ให้มีความรู้ในคุณภาพของดินและการบำรุงรักษาดิน ตลอดถึงการใช้ปุ๋ย และใน
ขณะเดียวกันจะต้องให้เกษตรกรรู้จักใช้ที่ดิน ในการเพาะปลูกเพื่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุด เช่น การจัดให้มีการปลูกพืชหมุนเวียน
เป็นต้น
2.อาชีพอุตสาหกรรม เป็นอาชีพที่กำลังได้รับการส่งเสริมจากรัฐบาลอย่างเต็มที่เปิดโอกาสให้ชาวต่างประเทศเข้ามา
ลงทุนในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นทุกปี ผลผลิตทางด้านอุตสาหกรรมไทย เช่น ประเภทสิ่งทอมีคุณภาพได้มาตรฐาน ได้รับความ
นิยมจากต่างประเทศ ปริมาณในการส่งออกเพิ่มมากขึ้นทุกปี
การส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรม ควรจะได้เน้นอุตสาหกรรมประเภทที่ใช้วัตถุดิบในประเทศไทย โดยเฉพาะวัตถุดิบทางด้าน
การเกษตร ซึ่งจะเป็นวิธีการหนึ่งในด้านการช่วยเหลือเกษตรกรไปในตัว และจะทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำ เพราะไม่ต้องซื้อจาก
ต่างประเทศ ซึ่งจะต้องเสียภาษีและค่าขนส่งเพิ่มมากขึ้น อาจจะทำให้สินค้าที่ผลิตได้นั้นราคาสูงเกินไป
การส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมนั้น รัฐบาลมุ่งส่งเสริมอุตสาหกรรมประเภทส่งออกเป็นสำคัญ เพื่อจะให้ได้เงินตรา
ต่างประเทศเข้าประเทศ เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ
ถึงแม้รัฐบาลจะส่งเสริมอุตสาหกรรมส่งออก ก็มิได้หมายความว่าจะไม่ส่งเสริมอุตสาหกรรมด้านอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
อุตสาหกรรมย่อยที่มุ่งตลาดภายในประเทศ และอุตสาหกรรมในครอบครัว รัฐบาลก็ได้ให้การสนับสนุนเช่นกัน เช่นการส่งเสริม
หัตถกรรมพื้นบ้าน เพื่อใช้เองและจำหน่ายเป็นรายได้แก่ครอบครัวอีกด้วย
3. อาชีพบริการ อาชีพบริการคือการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้อื่น เช่น พนักงานโรงแรม พนักงานขับรถและเก็บ
ค่าโดยสาร มัคคุเทศก์ อาชีพบริการกำลังได้รับความนิยมมากขึ้นตามลำดับ และเป็นทางหนึ่งในการแก้ปัญหาคนว่างงาน กล่าวคือ
ตลาดแรงงานด้านอื่น ๆ แคบลงทุกที แต่ด้านบริการยังมีโอกาสขยายออกไปได้อีกมากผู้ที่เข้าสู่ตลาดแรงงานจะต้องมีความสำนึกว่า
งานทุกอย่างที่สุจริตและถูกกฎหมาย เป็นงานที่มีเกียรติด้วยกันทั้งนั้น อาชีพบริการก็เป็นอาชีพที่มีเกียรติและสามารถทำรายได้ให้
แก่ครอบครัวได้เป็นอย่างดี
ในการส่งเสริมอาชีพด้านบริการ รัฐบาลควรจะส่งเสริมให้บรรยากาศเหมาะสมที่จะลงทุนทางด้านนี้ เช่น ส่งเสริม
การท่องเที่ยวเป็นต้น เมื่อมีสถานที่ที่สามารถดึงดูดความสนใจให้มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยว อาชีพบริการก็จะเกิดขึ้นอีก
หลายอาชีพ เช่น มีมัคคุเทศก์ มีการบริการอาหาร เครื่องดื่ม สถานที่พัก ขายของที่ระลึก
การพัฒนาตลาดแรงงาน
แรงงานเป็นปัญหาสำคัญประการหนึ่งของไทย ซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ตลาดแรงงานของไทย สามารถแยกประเภท
ของแรงงานออกได้ ดังนี้
แรงงานที่ใช้ความรู้ความชำนาญพิเศษ
แรงงานประเภทนี้จะต้องได้รับการฝึกอบรมมาเป็นระยะเวลานาน เช่น แพทย์ วิศวกร สถาปนิก เป็นต้น แรงงาน
ประเภทนี้ยังขาดแคลน ไม่มีปัญหาในการว่างงาน รัฐบาลเร่งผลิตแรงงานประเภทนี้ เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เพียงพอแก่ตลาดแรงงาน
แรงงานประเภทมีฝีมือ
แรงงานประเภทนี้ต้องผ่านการฝึกอบรมหรือมีประสบการณ์ในการทำงานมานานพอสมควร เช่น ช่างยนต์ ช่างไม้ ช่างปูน
แรงงานประเภทนี้เริ่มมีปัญหา เพราะผู้มีฝีมือมีจำนวนมากขึ้นทำให้เกิดการจ้างทำงานมีอัตราค่าจ้างต่ำกว่าความสามารถ หรือได้
ทำงานที่ไม่ถนัด ไม่ตรงกับความสามารถจึงทำให้ไม่อาจทำงานได้อย่างเต็มที่ และมีประสิทธิภาพ แรงงานประเภทนี้รัฐบาลได้มี
แผนในการที่จะผลิตเพิ่มขึ้นตามลำดับ และจะต้องหาทางส่งเสริมให้ได้ทำงานที่เหมาะสมกับความสามารถของแต่ละบุคคล
แรงงานไร้ฝีมือ
แรงงานประเภทนี้ไม่สู้มีปัญหาในอาชีพเกษตรกรรม แต่กำลังมีปัญหาทางด้านอุตสาหกรรม ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด
แรงงานเท่าที่ควร ส่วนมากจะเป็นแรงงานกรรมกร ใช้กำลังกายมากกว่ากำลังสมอง เช่น รับจ้าง แบกหาม ขุดดิน เป็นต้น พวกนี้
มักจะได้ค่าแรงต่ำ ไม่ค่อยพอแก่การครองชีพ มีความเป็นอยู่อย่างอัตคัดขัดสน

รัฐบาลกำลังเร่งรัดพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยจัดให้มีการฝึกอบรมวิชาชีพต่าง ๆ ในระยะสั้น เพื่อให้แรงงานไร้ฝีมือเป็นแรงงาน
ที่มีฝีมือหรือกึ่งฝีมือ ส่งเสริมความสามารถและประสิทธิภาพในการทำงาน โดยหวังให้แรงงานเหล่านั้นเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน
ต่อไป
แรงงานประเภทปัญญาชน
แรงงานประเภทนี้ได้แก่ผู้ที่จบการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ส่วนมากเป็นการศึกษาทางด้านสังคมศาสตร์มีความรู้
และสติปัญญาสูง แต่ไม่ค่อยมีฝีมือในวิชาชีพ แรงงานประเภทนี้กำลังเข้าสู่ตลาดแรงงานเพิ่มมากขึ้นทุกปี มีหน่วยงานที่จะรองรับของ
แรงงานประเภทนี้ก็คือภาครัฐบาล การรับราชการเป็นเป้าหมายหลักแต่การขยายอัตรากำลังของภาครัฐบาล เพิ่มได้ไม่เกินปีละ 2%
จึงทำให้แรงงานประเภทนี้ไม่ค่อยมีทางไป จำนวนบัณฑิตว่างงานจึงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
รัฐบาลจะแก้ปัญหาโดยส่งเสริมให้เอกชนเข้ามาช่วยกัน คือส่งเสริมให้มีการลงทุนในทุก ๆ ด้าน เพื่อให้หน่วยงานของ
เอกชนนั้นได้รับบัณฑิตในสาขาต่าง ๆ เข้าทำงานในหน่วยงานของตนบ้าง และในขณะเดียวกันจะต้องส่งเสริมให้บัณฑิตเหล่านั้น
สามารถช่วยตนเองโดยคิดสร้างงานขึ้นมาเอง เช่น ทำธุรกิจ การค้าที่เริ่มจากทุนที่ไม่มากนัก เป็นต้น


การพัฒนาผลผลิตและการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
การพัฒนาในด้านวิชาการสมัยใหม่หรือที่เรียกกันว่า เทคโนโลยีนั้นมีความจำเป็นที่จะต้องนำมาใช้ทั้งในภาคเกษตรและ
ภาคอุตสาหกรรม ทั้งนี้เพื่อให้ต้นทุนในการผลิตลดลงและเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้น เช่น ในด้านการเกษตร ควรจะใช้เครื่องทุ่นแรงเพื่อ
ให้สามารถทำงานได้มาก และทันต่อเหตุการณ์ พิสูจน์ลักษณะของดิน เพื่อจะได้นำพืชที่เหมาะสมกับดินในท้องที่นั้นมาปลูก เป็นต้น
ในด้านอุตสาหกรรม ควรจะได้นำเครื่องจักรกลมาใช้แทนแรงงานคน เพื่อให้เกิดความรวดเร็วและได้มาตรฐาน จะทำให้สามารถ
ผลิตสินค้าได้มากขึ้น และมีมาตรฐานเดียวกัน ทำให้ไม่ถูกกดราคา เป็นต้

ภาวะดุลการค้าและการเงินของประเทศ
นับตั้งแต่ประเทศไทยได้ใช้แผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศเป็นต้นมา
จะเห็นได้ว่า เศรษฐกิจโดยส่วนรวมดีขึ้นพอสมควร แต่ก็มีปัญหาและอุปสรรคเกิดขึ้นเป็นระยะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งดุลการค้ากับต่าง
ประเทศประเทศไทยเสียเปรียบดุลการค้าตลอดมา เพิ่งจะเริ่มดีขึ้นในระยะตอนปลายของแผนพัฒนาที่ 5 (ปี 2525-2529)
ดุลการค้าของไทยได้ลดการขาดดุลลงบ้าง แต่ก็ยังไม่ถึงกับได้เปรียบหรือแม้แต่เสมอดุลการค้า
มูลเหตุที่ทำให้ไทยขาดดุลการค้าคือ สินค้าส่งออกของไทยที่เป็นสินค้าหลักได้แก่ ผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งมีราคาต่ำ
เมื่อเปรียบเทียบกับสินค้าที่นำเข้าซึ่งเป็นสินค้าจำเป็น เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง เครื่องจักรและอุปกรณ์ในการก่อสร้างถึงแม้ปัจจุบัน
ประเทศไทยจะค้นพบแหล่งแก๊สธรรมชาติ แต่ก็ยังนำขึ้นมาใช้ไม่เพียงพอแก่ความต้องการ จำเป็นต้องสั่งซื้อน้ำมันดิบจาก
ต่างประเทศ และคงทำให้ไทยเสียเปรียบดุลการค้าต่อไปอีกระยะหนึ่ง
สำหรับการเงินและการคลังของประเทศ แม้ว่าประเทศไทยจะประสบมรสุมทางการเงินจากหลาย ๆ ด้าน แต่รัฐบาลไทย
ก็สามารถรักษาเสถียรภาพการเงินการคลังของประเทศไว้ได้อย่างมั่นคง อัตราดุลการชำระเงินของประเทศอยู่ในสภาพเกินดุลมา
โดยตลอด เป็นเหตุให้เศรษฐกิจในภาพรวมอยู่ในภาวะคล่องตัว อัตราเงินเฟ้ออยู่ในสภาพที่เหมาะสม เป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ
แนวโน้มในการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย
การพัฒนาเศรษฐกิจของไทยในอนาคตคาดว่าจะมีแนวโน้มไปในทางที่ดีขึ้น โดยพิจารณาจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6
ซึ่งเริ่มใช้ในปี 2530 และจะไปสิ้นสุดลงในปี 2534 ทำให้มั่นใจได้ว่า ในระยะ 5 ปีข้างหน้า เศรษฐกิจโดยส่วนรวมของประเทศ
จะขยายตัวดีขึ้น และมีเสถียรภาพมั่นคงขึ้น รายได้ของประชาชนจะสูงขึ้น เฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ต่อปี ขณะที่เงินเฟ้อจะอยู่ใน
ระดับต่ำถึงร้อยละ 2.3 และอัตราเพิ่มของประชากรจะลดลงเหลือเพียงร้อยละ 1.3 ซึ่งจะเป็นผลดีทำให้รายได้เฉลี่ยต่อหัวเพิ่มขึ้น
ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5.5 ต่อปี การส่งสินค้าออกจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นจะทำให้ขาดดุลการค้าลดน้อยลง และการขยายตัวทางด้านอุตสาหกรรม
จะเพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศอุตสาหกรรมมากยิ่งขึ้น อันจะช่วยรองรับแรงงานได้มากขึ้น ทั้งนี้เพราะรัฐบาลจะ
ยึดแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 โดยสรุป ดังนี้
1. เพิ่มประสิทธิภาพในการพัฒนาประเทศ ทั้งในด้านทรัพยากรมนุษย์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และทรัพยากรธรรมชาติ
ตลอดจนปรับปรุงระบบการบริหารและการจัดการ โดยยึดหลักการทำงานเป็นระบบและครบวงจร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทบทวน
บทบาทของรัฐให้อยู่ในกรอบที่เป็นหน้าที่อันชอบธรรมของรัฐ และคำนึงถึงความเหมาะสมกับขีดความสามารถและฐานะทาง
การเงินการคลังเป็นสำคัญ โดยหันมาเพิ่มบทบาทของเอกชนให้มากขึ้นในการพัฒนาประเทศ ไม่เฉพาะแต่ในด้านการผลิตเท่านั้น
แต่ให้รวมถึงการให้บริการพื้นฐานบางประการ ซึ่งเคยเป็นหน้าที่ของรัฐด้วย
2. ปรับปรุงระบบการผลิต การตลาด และยกระดับคุณภาพปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เพื่อให้ต้นทุนการผลิตสินค้าลดลง
กระจายสินค้าให้มากขึ้นควบคู่ไปกับการขยายตลาด ซึ่งจะทำให้สินค้าไทยสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ดียิ่งขึ้น ในขณะเดียวกัน
ก็จะเน้นการพัฒนาระบบตลาดในประเทศไปพร้อม ๆ กัน
3. มุ่งกระจายรายได้และความเจริญไปสู่ภูมิภาคและชนบทมากขึ้น โดยให้ยึดกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ทั้งในภูมิภาคและชนบท
เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักที่ควรได้รับผลจากการพัฒนาประเทศ

ข้อเสนอแนะ
การพัฒนาเศรษฐกิจไม่จำเป็นต้องไปแข่งขันกับใคร แต่ให้แข่งกับตัวเอง หรืออีกนึงคือ ลดการใช้ของฟุ่มเฟือย เก็บภาษีให้เยอะๆ ไม่นำเงินออกนอกประเทศและรัฐบาลควรส่งเสริมการส่งออกให้มากขึ้น อีกแนวทางหนึ่งในการพัฒนา คือการนำเอาเศรษฐกิจแบบพอเพียงนำมาใช้ให้เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจของไทย และเวลาที่เด็กไทยที่ไปแข่งขันอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้รางวัลกับมา รัฐบาลควรที่จะนำเอาความคิดนั้นกลับมาต่อยอดให้มันได้เกิดประโยชน์สูงสุด และที่สำคัญถ้าคนไทยรู้จักคำว่าพอเพียงให้ดีขึ้นประเทศก็จะสงบสุข

จัดทำโดย
น.ส อัญมณี ปวีณอภิชาต
น.ส ศิริพร ภัทรวรเมธ


Create Date : 13 สิงหาคม 2550
Last Update : 13 สิงหาคม 2550 20:28:43 น. 0 comments
Counter : 17369 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
 

grooveriderz
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Pink Pandaขอฝากเนื้อฝากตัวด้วยน่ะค๊าบ
[Add grooveriderz's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com pantip.com pantipmarket.com pantown.com