PINK PANDA
<<
สิงหาคม 2550
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
20 สิงหาคม 2550
 
 
การบริโภคในเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ

เดี๋ยวนี้ การบริโภคในเศรษฐศาสตร์กระแสหลักได้บุกโหมมีกำลังมาก จนคนส่วนใหญ่ถูกมอมเมาด้วยระบบการตลาด กระตุ้นให้เกิดการบริโภคจนไม่รู้ว่าอะไรเหมาะ หรือไม่เหมาะ ดีหรือไม่ดี ถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง
ลองมาพิจารณาการบริโภคในเศรษฐศาสตร์กระแสหลักในปัจจุบันเทียบเคียงกับเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ เพื่อใช้ปัญญาไตร่ตรองดู ก็จะเห็นว่าความหลงกับปัญญา นั้นแตกต่างกันมากที่เดียว
1. “ทันสมัย” เป็นตัวบ่งชี้ความถูกต้อง เราจะซื้อโทรศัพท์รุ่นใหม่ๆ คอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ๆ เพื่อแสดงว่าเราทันสมัย ทั้งที่ไม่มีความจำเป็นเท่าใดนัก หากไม่ใช้ก็อาจถูกดูหมิ่น ดูแคลนว่า “ล้าสมัย”
ในทางพุทธนั้น จะซื้อจะเปลี่ยนรุ่นตามการพิจารณา “คุณค่าแท้ คุณค่าเทียม” ว่ามีประโยชน์อะไร และส่วนไหนเป็นคุณภาพส่วนเกินที่ซื้อมาแต่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ เฉพาะตัว เฉพาะตน ชาวพุทธนั้น จะยกย่อง “ความพอดี พอเพียง” เป็นสำคัญ
2. “เชื่อตรรกะเหตุผล” เป็นตัวบ่งชี้ความถูกต้องว่ากินแล้วมีพลัง เป็นยาชูกำลัง เอาคำว่าวิจัยแล้ว ทดลองแล้วมาอ้าง เป็นหลุมพรางแต่งความเชื่อแล้วซื้อ แล้วนำมาใช้งาน เป็นการแก้ที่ปลายเหตุ
ในทางพุทธนั้นจะ “เชื่อตามหลักความจริง” ทำไมต้องกินยาชูกำลังด้วย มีอะไรเป็นเหตุปัจจัย มีทางเลี่ยงเป็นอย่างอื่นได้หรือไม่ ไม่บริโภคแล้วจะเป็นอย่างไร เราจะบริโภคด้วยปัญญา” ไม่ใช่บริโภคไปตาม “ความหลงงมงาย”
3. “ทรัพยากรธรรมชาติเป็นของข้า” ทำให้เกิดจากจัดสรร สัตว์ พืช หิน ดิน แร่ น้ำ น้ำมัน ที่มีอยู่กระจายทั่วโลก เอามาจัดสรรแบ่งปันซื้อขาย อย่างเต็มที่ตามเงื่อนไขราคาและกลไกตลาด แต่ลืมไปว่าสิ่งเหล่านี้ อาจหมดเปลืองสูญหายไปได้ และอาจหมดโดยเร็ว จนคนรุ่นลูกรุ่นหลานมีปัญหา
ในทางพุทธนั้น ให้มองคน พืช สัตว์ เป็นเพื่อนร่วมทุกข์ร่วมสุข เกิดแก่เจ็บตาย ต้องรู้จัก “ใช้อย่างรู้ค่า” และรู้จัก “กตัญญูกตเวที” ต่อธรรมชาติที่เป็นผู้ให้ ต้องรักษาให้มีอยู่ต่อไป โดยการสร้างสมดุลธรรมชาติ
4. “มาตรฐาน” ที่นำมาใช้ในการตั้งนิยาม อธิบายพฤติกรรมสังคม เรื่องที่สมมติไปกับวิทยาศาสตร์ จะพิจารณาด้านประโยชน์ต่อมนุษย์เท่านั้น แต่ด้านความเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติ ยังถูกละเลยอยู่ และมุ่งเน้นไปที่ “รูป” เป็นส่วนใหญ่
ในทางพุทธนั้น มองว่าการใช้ประโยชน์จะต้องมีมาตรฐาน ในทางไม่เบียดเบียน ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง “จริยธรรม” หรือ “วินัยสังคม” เช่น สูบบุหรี่นั้น ความเป็นสิ่งต้องห้าม ทั้งเสพและผลิต การทำนมกล่องนั้นจะต้องขอทราบ การไม่ทำให้กล่องนั่นไปเบียดเบียนสิ่งแวดล้อมด้วย และต้องมีมาตรฐานอย่างนี้ ทุกๆ ผลิตภัณฑ์สินค้าและขอให้มาตรฐานมุ่งไปที่ “ใจ” หรือ “นวัตกรรม”
5. “การวัดความเจริญ” ในเศรษฐศาสตร์กระแสหลักจะมุ่งวัดที่เชิงวัตถุ เช่น ความสะดวก ความรวดเร็ว การได้รับความพึงพอใจ แล้วได้รับความสุขจากการที่กิเลสได้รับการตอบสนอง
ในทางพุทธนั้นจะวัด “ความสุขจากภายใน” ในเรื่องของความเจริญ เป็นเรื่องของการพัฒนาจิต ที่มีการพัฒนาทางวัตถุที่พอเพียง จะเป็นคนที่มี “ความอดทน” “ความอดกลั้น” “ความสุขจากภายในที่ได้ปฏิบัติอย่างถูกต้อง” และ “การได้ภูมิปัญญาจากการชนะความไม่ได้ดั่งใจหรือทุกข์
6. “การเติบโตของมายา” มีการพัฒนาทางจินตนาการที่แปลกพิสดาร ที่ไม่เหมือนใคร จึงมีโครงการที่ไม่มีใครได้ประโยชน์ สำรวจอวกาศ ออกแบบงานวิจัยที่เจาะลึก ทำยากไม่มีใครเข้าใจ ศิลปกรรมก็แบบสื่อความหมายไม่ได้ หรือมีคนเข้าใจได้ในวงแดบๆ เป็นความรู้แบบมายาเป็นใบไม้นอกกำมือ
ในทางพุทธนั้น จะเน้นการเติบโตด้านความรู้ในเชิง “ความรู้ที่จำเป็น” “ความรู้ในกำมือเดียว” ที่ให้หลุดจากโลกมายา เป็นความรู้ที่ต้องการฟื้นจากทุกข์ ฟื้นจากมายาและผลักดันให้ไปสู่ “โลกของความจริงแท้”
7. “สุดโต้งโดยการทำเรื่องเล็กเป็นเรื่องใหญ่” โดยคิดว่าเป็นศิลปะแห่งปัญญา ได้แก่ มหกรรมกีฬา นิทรรศการยิ่งใหญ่ การส่งเสริมการกินเปิบพิสดาร การท่องเที่ยวที่เกินพอดี
8. “สิทธิส่วนตัวที่คิดว่าชอบธรรม” เป็นเรื่องของข้า จะทำอย่างไรก็ได้มี
- ขับรถราคาแพงสุดๆ นาฬิกาเรือนละเป็นแสน ก็เรื่องของสิทธิส่วนบุคคลมีเงินซะอย่าง
- แต่งตัวพิสดารอย่างก็ไม่มีใครละอาย มันเป็นสิทธิ คนหัวโบราณเท่านั้นที่ไม่ชอบ
- ซื้อของเท่าไรก็ได้ จะกักตุนจนคนอื่นหมดสิทธิก็ไม่มีมาตรการห้าม
- เดินขึ้นลงด้วยลิฟต์ สิ้นเปลืองพลังงานเท่าใดก็ไม่มีใครว่า
- จัดมหกรรมบันเทิงสุดๆ เพื่อความสนุกแบบสุดๆ

ในเชิงพุทธนั้น “การบริโภคเกินพอดี” นั้นเป็นการเบียดเบียนตนเองและคนอื่น รวมถึงสิ่งแวดล้อมด้วย รวมไปถึงการสะสมกิเลส “ตัวกูของกู” หรือ “อัตตา” มาขึ้นเรื่อยๆ จากบริโภคนิยม
9. “แก้ปัญหาโดยการกลบทุกข์” โดยให้จิตผ่อนคลายโดยการไปดูหนัง ฟังเพลง เล่นกีฬา ดูทีวี อ่านหนังสือ ไปเที่ยว เล่นการพนัน ดื่มสุรา พูดทั้งวัน ประชุมทั้งวัน การแก้ปัญหาแบบเศรษฐกิจทุนนิยม จึงเต็มไปด้วยปัญหาอกแตก ยิ่งแก้ยิ่งยุ่ง เรื้อรัง จับปัญหาไม่ถูก
ในทางเชิงพุทธนั้น ต้องการให้ใช้ “อริยสัจ” ดับทุกข์ มีปัญหาก็แก้ที่สาเหตุ
10. “การทำงานคือ ความทุกข์” ดังนั้นจับต้องจำกัดเวลาทำงานและส่งเสริมให้พักผ่อนส่งเสริมให้ท่องเที่ยว ถือว่านั้นคือความสุข
ในทางพุทธนั้น “การทำงานหรือการปฏิบัติธรรม” ไม่จำกัดเวลาทำงาน ไม่ส่งเสริมการท่องเที่ยว ถือว่าการทำงานเลี้ยงชีพอย่างสุจริตคือความสุข
11. “การบริโภค เพื่อสุขภาพร่างกายและเป็นสิทธิส่วนบุคคล” ดังนั้นการซื้อหา การนำมาบริโภค จึงมีสิทธิและสามารถทำได้เต็มที่
ในทางพุทธนั้น “การบริโภคเพื่อให้เกิดกำลังในการทำงาน และบริโภคตามความเป็นจำเป็น”
12. “กระบวนการบริโภคเพื่อกลบทุกข์” ทำให้ผ่อนคลายหายเครียดหายเหนื่อยได้ทันที หรือลืมไปชั่วขณะ
ในทางพุทธ “การบริโภคเพื่อพิจารณาว่าชีวิตนี้คือความทุกข์”
13. “เป็นทาสเวลา” ใช้เวลาเพื่อฆ่าเวลา และบางครั้งก็แข่งขันความเร็ว โดยต้องการชนะเวลา
ในทางพุทธนั้น พิจารณาว่า เวลาเป็นของสมมติ ไม่เป็นทาสของเวลา จนเวลากัดกินใจตนเอง ขณะบริโภคต้องบริโภคด้วยความรู้เท่าทัน
14. “บริโภคด้วยความพอใจนั้นยุติธรรม” แม้ว่าจะทำให้ผู้อื่นแล้วสังคมเดือดร้อน ก็อดทนกันได้
ในทางพุทธนั้น ต้อง”บริโภคด้วยสติสัมปชัญญะ” ไม่ทำให้ตนเองและผู้อื่นเดือดร้อน
15. “บริโภคแบบสะสม และกักตุนอย่างไรขอบเขต” ทั้งสิ่งของที่เป็นวัตถุและนามธรรม
ในทางพุทธนั้น “บริโภคเท่าที่จำเป็น” ไม่ส่งเสริมการกักตุน ทั้งทางรูปธรรม และนามธรรม
สุดท้าย แนวคิดในเชิงเศรษฐกิจและเชิงพุทธจะเน้นที่การบริโภคเท่าที่จำเป็น ไม่กักตุน ไม่บริโภคสิ่งไร้สาระบริโภคไม่เบียดเบียน ไม่บริโภคเพื่อกลบทุกข์ แต่ให้พิจารณาบริโภคเพื่อยังชีพให้ดำรงอยู่ได้ และไม่บริโภคด้วยความอยากหรือตามใจกิเลส จนหลงมัวเมา จนขาดปัญญาพิจารณาไตร่ตรอง


สมหวัง วิทยาปัญญานนท์
16 พฤษภาคม 2548

พุทธวิธีบริหาร
Buddhist Style in Management


ข้อเสนอแนะ
พุทธศาสตร์กับเศรษฐศาสตร์


Create Date : 20 สิงหาคม 2550
Last Update : 22 สิงหาคม 2550 14:27:24 น. 0 comments
Counter : 757 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
 

grooveriderz
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Pink Pandaขอฝากเนื้อฝากตัวด้วยน่ะค๊าบ
[Add grooveriderz's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com pantip.com pantipmarket.com pantown.com