<<
มิถุนายน 2558
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
24 มิถุนายน 2558
 

ถ้อยแถลงว่าที่ทูตUSA คนใหม่/เกล็น ทาวน์เซนด์ เดวีส์

       ถ้อยแถลงว่าที่ทูตUSAคนใหม่/เกล็น ทาวน์เซนด์ เดวีส์ 
                                                                            เตือนใจ เจริญพงษ์

หากใครได้อ่านwebsite ของสถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำไทย
คงชอบอกชอบใจในถ้อยแถลงของว่าที่ท่านทูตคนใหม่
คือ นายเกล็น เดวีส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประโยคเด็ด
กินใจหมู่เฮาคนไทยที่ต้องการเห็นประเทศไทย
มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยโดยเร็ว คือ

 “เราก็หวังจะเห็นไทยหวนคืนสู่ระบอบประชาธิปไตยเพื่อความพยายามร่วมกันระหว่างประเทศเราทั้งสองจะดำเนินก้าวหน้าได้อย่างเต็มวิสัย สหรัฐฯ เชื่อว่าราชอาณาจักรไทยจะสามารถสร้างความปรองดองสถาปนาประชาธิปไตย และเติมเต็มโชคชะตาบนหน้าประวัติศาสตร์ในฐานะชาติที่ยิ่งใหญ่และเสรี”

รวมถึงประเด็นการเคารพในสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน 
การแสดงออกทางคิดที่เป็นเสรีของประชาชนคนไทย
และการชุมนุมโดยสงบด้วย

ว่าที่ท่านทูตคนใหม่นี้คารมไม่ธรรมดาเลย 
ดูจากประว้ติส่วนตัวก็น่าทึ่ง
เพราะบ่งบอกว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ 
ผ่านงานตำแหน่งสำคัญๆมากมาย
อีกทั้งยังหยั่งรู้ความต้องการของคนไทยส่วนใหญ่เสียด้วย

ขอบันทึกถ้อยแถลงของท่านไว้ดังนี้ 
เมื่อเวลาประมาณ 9:30 น. ของวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2558 
ตามเวลาท้องถิ่นสหรัฐฯ ( ประมาณ 13:30 น. ในวันนี้ตามเวลาประเทศไทย) 

นายเกล็น ทาวน์เซนด์ เดวีส์ 
อดีตผู้แทนพิเศษด้านนโยบายเกาหลีเหนือระหว่างพ.ศ. 2555–2557 
ผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับตำแหน่ง...
เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย 
กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา 
ได้เข้าให้คำแถลงต่อคณะกรรมาธิการฝ่ายกิจการต่างประเทศของวุฒิสภา


//www.matichon.co.th/online/2015/06/14351441831435144214l.jpg

ภายใต้คำแถลงของนายเกล็น เดวีส์ ที่ถูกเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย 
ผู้ถูกเสนอชื่อเข้ารับตำแหน่งเอกอัครราชทูตฯ กล่าวถึงประเทศไทยว่า “ประเทศไทยและสหรัฐอเมริกาธำรงมิตรภาพร่วมกันมายาวนาน 
ไทยเป็นหนึ่งในพันธมิตรคู่สนธิสัญญาที่เก่าแก่ที่สุดของสหรัฐอเมริกาในเอเชีย”

“แม้ว่าสหรัฐอเมริกาจำเป็นต้องจำกัดความสัมพันธ์บางด้าน
กับไทยหลังเหตุการณ์รัฐประหารโดยทหารเมื่อเดือนพฤษภาคมพ.ศ.2557
ความสัมพันธ์ทวิภาคีนี้ยังคงกว้างขวางและก่อประโยชน์อย่างยิ่ง
แก่ทั้งสองประเทศอย่างที่ความสัมพันธ์อื่นน้อยนักจะเทียบเคียงได้” 
ซึ่งนายเดวีส์ชี้ว่าการระงับความช่วยเหลือบางประการนี้
จะดำเนินต่อไปจนกว่าไทยจะมีการบริหารประเทศ
โดยรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย
เมื่อเป็นเช่นนั้นจึงจะนำไปสู่ความสัมพันธ์อย่างเต็มรูปแบบ

“ตลอดทศวรรษที่ผ่านมา
ความแตกแยกทางการเมืองภายในประเทศไทยถลำลึกลงไปอย่างมาก 
นำไปสู่การแบ่งขั้วไม่เพียงระดับการเมืองเท่านั้น 
แต่ยังแผ่ขยายไปถึงสังคมไทยโดยรวมอีกด้วย” 
พร้อมเน้นย้ำว่าสหรัฐฯยึดมั่นสนับสนุนหลักประชาธิปไตย
และไม่ได้เข้าข้างฝ่ายใดในความขัดแย้งนี้

“การที่สหรัฐฯเรียกร้องให้ไทยกลับไปมีรัฐบาลพลเรือน
คืนสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตย
และเคารพสิทธิมนุษยชนอย่างจริงจัง 
ซึ่งรวมถึงเสรีภาพในการแสดงออก
และการชุมนุมอย่างสงบนั้น มิได้หมายความว่า 
สหรัฐฯ มุ่งเจาะจงสนับสนุนพิมพ์เขียวรัฐธรรมนูญ
หรือการเมืองประเด็นใดโดยเฉพาะ 
สิ่งเหล่านั้นเป็นคำถามที่คนไทยต้องตัดสินใจ
โดยผ่านกระบวนการทางการเมือง
ที่ครอบคลุมอันเอื้อต่อการอภิปรายที่เปิดกว้าง
และตรงไปตรงมาเกี่ยวกับอนาคตทางการเมืองของประเทศ 
หากผมได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการให้ดำรงตำแหน่ง
ผมจะดำเนินงานสานต่อในการสนับสนุนปณิธาน
ด้านประชาธิปไตยของประชาชนชาวไทย”

นายเดวีส์ระบุว่านับตั้งแต่เหตุการณ์รัฐประหาร
สหรัฐฯเน้นย้ำผ่านทั้งเวทีสาธารณะและการเจรจาส่วนตัวถึงข้อกังวล 
“ เกี่ยวกับการที่การปกครองระบอบประชาธิปไตยของไทย
ได้หยุดชะงักลง” รวมถึงการจำกัดเสรีภาพในการแสดงออก
และการชุมนุมโดยสงบของพลเมือง

ด้านความสัมพันธ์ระหว่างกองทัพสหรัฐฯ
และกองทัพไทยนั้นนายเดวี่ส์ชี้สหรัฐฯ
ยังคงยึดมั่นในการรักษาพันธมิตรด้านความมั่นคง
 “ด้วยตระหนักถึงผลประโยชน์เชิงยุทธศาสตร์ในระยะยาวของเรา” 
และประวัติศาสตร์การต่อสู้ร่วมกันของสองประเทศ
ไม่ว่าจะในสงครามเวียดนามและสงครามเกาหลี 
ทั้งการฝึกซ้อม กิจกรรมความร่วมมือต่างๆ อาทิ 
การฝึกคอบร้าโกลด์ ที่ถือเป็นการฝึกซ้อมทางทหาร
ระดับพหุภาคีที่ใหญ่ที่ในสุดในเอเชีย

อดีตผู้แทนพิเศษด้านนโยบายเกาหลีเหนือแถลงถึง
ความสัมพันธ์หลากหลายด้านของสองประเทศ
ไม่ว่าจะเป็นการค้า,วัฒนธรรม,กิจการมนุษยธรรม,
และความร่วมมือผ่านองค์กรพหุภาคีต่างๆ ในภูมิภาค

ก่อนทิ้งท้ายว่า .....
“เราก็หวังจะเห็นไทยหวนคืนสู่ระบอบประชาธิปไตย
เพื่อความพยายามร่วมกันระหว่างประเทศเราทั้งสอง
จะดำเนินก้าวหน้าได้อย่างเต็มวิสัย สหรัฐฯ 
เชื่อว่าราชอาณาจักรไทยจะสามารถสร้างความปรองดอง
สถาปนาประชาธิปไตย และเติมเต็มโชคชะตา
บนหน้าประวัติศาสตร์ในฐานะชาติที่ยิ่งใหญ่และเสรี”

โดยหลังจากสิ้นสุดการแถลงดังกล่าวแล้วคณะกรรมาธิการฯจำเป็นต้องกำหนดวันลงมติรับรองตำแหน่งก่อนส่งเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของวุฒิสภาสหรัฐอเมริกาซึ่งยังไม่ทราบกำหนดเวลาแน่ชัด

ที่มา: สถานทูตสหรัฐฯประจำประเทศไทย
........................................................................................................

ขอแสดงความยินดีและขอต้อนรับท่านทูตคนใหม่ 

หวังว่าคงได้ฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศให้พัฒนาไปในทางสร้างสรรค์และเกิดประโยชน์กับประชาชนด้วยคะ

ขออนุญาตมติชนรายวัน เมื่อวันที่ 6 กค2558ในการนำรายละเอียดเรื่องนี้รวบรวมไว้เพื่อการศึกษาต่อไป ขอขอบคุณเป็นอย่างสูง มีรายละเอียดดังนี้

//www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1438827700

มติวุฒิสภามะกัน ให้ "เดวีส์" ผู้เชี่ยวชาญเกาหลีเหนือ

 เป็นทูตสหรัฐฯประจำไทยคนใหม่แล้ว


วุฒิสภาสหรัฐอเมริกา รับรองให้นายเกล็น เดวีส์ 

เข้ารับตำแหน่งเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยแล้ว

//www.matichon.co.th/online/2015/08/14388277001438827771l.jpg


วันที่ 6 สิงหาคม - เว็บไซต์วุฒิสภาสหรัฐอเมริกาของพรรคเดโมแครตระบุว่า 
เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม ตามเวลาท้องถิ่นสหรัฐฯ 
สมาชิกวุฒิสภาลงคะแนนด้วยเสียงรับรองการแต่งตั้ง
...ให้นายเกล็น ทาวน์เซนด์ เดวีส์ จากเมืองโคลัมเบีย 
ให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำราชอาณาจักรไทย

//www.matichon.co.th/online/2015/08/14388277001438827831l.jpg

โดยหลังมีคำสั่งดังกล่าวออกมานั้น นายดับเบิลยู. แพทริค เมอร์ฟี อุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยที่เข้ามารับตำแหน่งตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ได้ทวิตข้อความบนทวิตเตอร์ @WPatrickMurphy ถึงการแต่งตั้งดังกล่าวว่า "ขอแสดงความยินดีกับสุดยอดนักการทูต ว่าที่เจ้านายในอนาคตของผมด้วยครับ!" (Congrats to my future boss, a terrific diplomat!)

//www.matichon.co.th/online/2015/08/14388277001438831717l.jpg

ขณะเดียวกัน นายเดวีส์ ได้ทวิตข้อความผ่านทางทวิตเตอร์ ส่วนตัว @GlynTDavies โโยระบุว่า "Happy & honored to be confirmed by US Senate. Jackie & I look forward to our move to Bangkok -- City of Angels!" ซึ่งทวิตเตอร์ของสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอมเริกาประจำประเทศไทย ได้แปลข้อความดังกล่าวว่า "“ผมดีใจและรู้สึกเป็นเกียรติมากที่วุฒิสภาให้การรับรอง ผมและแจ็คกี้ตั้งตารอเดินทางไปประจำที่กรุงเทพฯ – นครแห่งเทวดา!”

ก่อนหน้านี้ ว่าที่เอกอัครราชทูตเดวีส์ เคยเข้าให้คำแถลงต่อคณะกรรมาธิการฝ่ายกิจการต่างประเทศของวุฒิสภาสหรัฐฯ โดยชี้ประเด็นว่าความสัมพันธ์ของไทยและสหรัฐฯนั้นมีมาอย่างยาวนาน และแม้ว่าจำเป็นต้องจำกัดความสัมพันธ์บางด้านกับไทยหลังรัฐประหาร ความสัมพันธ์ทวิภาคีนี้ยังคงกว้างขวางและก่อประโยชน์ ซึ่งทูตเดวี่ส์คาดหวังให้ไทยหวนคืนสู่ระบอบประชาธิปไตยเพื่อดำเนินความก้าวหน้าได้อย่างเต็มวิสัย

ทั้งนี้เอกอัครราชทูตเกล็นทาวน์เซนด์ เดวีส์ เคยดำรงตำแหน่งผู้แทนพิเศษด้านนโยบายเกาหลีเหนือระหว่าง พ.ศ. 2555–2557 และปฏิบัติราชการในตำแหน่งผู้แทนสหรัฐอเมริกาประจำสหประชาชาติ ณ กรุงเวียนนา และทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (ไอเออีเอ) ระหว่างปี พ.ศ.2552-2555

โดยเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทยคนล่าสุด คือ นางคริสตี้ เคนนี่ย์ ซึ่งครบวาระการดำรงตำแหน่งเมือเดือนพฤศจิกายนปีที่ผ่านมา และหลังจากนั้นประเทศไทยปราศจากเอกอัครราชทูตสหรัฐฯเป็นเวลานานหลายเดือน/จบ
........................................................................................................

ทูตสหรัฐฯ แจงปมแสดงความเห็นก.ม.ไทย หากกระทบการค้าขึ้นอยู่กับรบ.

ขอขอบคุณเนื้อหาจากมติชนรายวัน
(30 พ.ย.58) นายกลิน ที. เดวีส์ เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย และนางคริสติน่า คาวิน ที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจ ได้แถลงข่าวเรื่องความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างสหรัฐกับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคและประเทศไทย

นายกลินกล่าวถึงการเดินทางเยือนทวีปเอเชียครั้งที่ 9 ของประธานาธิบดีบารัค โอบามา เมื่อช่วงเดือนที่ผ่านมา โดยระบุว่าแสดงถึงความตั้งใจของสหรัฐในการสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับภูมิภาคนี้ ซึ่งมีเวทีพหุภาคีที่สำคัญ ทั้งเอเปคและอาเซียน ซึ่งไทยมีบทบาทนำในทั้งสองเวทีความร่วมมือ และอยู่ในจุดยุทธศาสตร์สำคัญที่เชื่อมโยงกับหลายประเทศ ซึ่งในปีนี้ สหรัฐกับอาเซียนตกลงจะพัฒนาความร่วมมือด้านยุทธศาสตร์ เพื่อพัฒนาการต่อต้านการก่อการร้าย รวมถึงการหารือถึงความมั่นคงในน่านน้ำที่เกี่ยวข้อง และการพัฒนาด้านสิทธิมนุษยชนเพื่อให้ประชาชนในภูมิภาคได้แสดงออกอย่างเต็มประสิทธิภาพด้วย

โดยในขณะนี้ประธานาธิบดีโอบามาอยู่ระหว่างการเข้าร่วมการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 21 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งสหรัฐ ยินดีที่หลายประเทศ รวมถึงไทย ให้ความสำคัญกับปัญหาดังกล่าว โดยจะผลักดันให้เกิดความตกลงเรื่องการลดการปล่อยคาร์บอนในระยะยาว ผ่านการมีข้อเสนอเพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับประเทศต่างๆ และให้ความช่วยเหลือประเทศยากจน ซึ่งไทย ในฐานะประธานกลุ่ม 77 ถือว่ามีบทบาทสำคัญในปีนี้ด้วย

ในประเด็นความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก หรือ "ทีพีพี" นั้น นายกลิน กล่าวว่าเป็นความร่วมมือเพื่อการพัฒนาในอนาคต ที่มีการกำหนดมาตรฐานสูงสำหรับประเทศที่จะเข้าร่วม ให้มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน การดูแลสิ่งแวดล้อม ความโปร่งใสในภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ การบังคับใช้กฎหมายด้านสิทธิบัตรและทรัพย์สินทางปัญญา และการใช้อินเตอร์เน็ตอย่างเสรี ทั้งนี้นอกจากจะเป็นการลดอัตราทางภาษีสำหรับด้านการค้าแล้ว ยังเป็นเป็นการพัฒนาคุณภาพและสิทธิประโยชน์ของแรงงานและผู้บริโภคด้วย

โดยเรื่องนี้ สหรัฐยินดีที่ไทยแสดงความสนใจในการเข้าร่วมกับทีพีพี และหากมีการแสดงความจำนงอย่างเป็นทางการก็พร้อมจะช่วยเร่งประสานในเรื่องของกระบวนการ อย่างไรก็ตาม ขั้นตอนในขณะนี้ ยังอยู่ระหว่างการพิจารณารับรองของชาติสมาชิก 12 ประเทศ ดังนั้น การเปิดรับสมัครสมาชิกเพิ่มนั้นอาจยังไม่เกิดขึ้นเร็วๆนี้ จึงถือว่าไทยมีเวลาในการพิจารณาข้อตกลงว่าจะเป็นประโยชน์กับไทยหรือไม่

เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ  กล่าวด้วยว่า ในข้อกังวลเรื่องสิทธิบัตรยาของทีพีพีที่อาจทำให้ราคายาแพงขึ้นนั้น ต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของไทยจะเข้าร่วมหรือไม่ อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมทางเภสัชกรรมของไทยถือว่ามีการพัฒนาอย่างมาก และข้อตกลง ทีพีพี นั้น เกิดขึ้นจากการตกลงร่วมกันระหว่างชาติสมาชิก 12 ประเทศ ซึ่งต่างเห็นตรงกันว่าเป็นประโยชน์ โดยประเทศไทยสามารถพิจารณารายละเอียดอย่างรอบคอบได้ก่อนจะตัดสินใจ/จบ
........................................................................................................



Create Date : 24 มิถุนายน 2558
Last Update : 30 พฤศจิกายน 2558 18:14:31 น. 0 comments
Counter : 1489 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

justice0009
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




[Add justice0009's blog to your web]

MY VIP Friend

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com