Dr.Danai @ DNT Consultants
Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2549
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
21 พฤษภาคม 2549
 
All Blogs
 
Systemic Scorecard By Aj.Danai T.

ในช่วงประมาณ 20 ปีที่ผู้เขียนเห็นพัฒนาการในเรื่องจัดการกลยุทธ คือช่วงแรกที่เห็นเมื่อ 20 ปีก่อนเป็นการจัดทำในลักษณะ แผนกลยุทธองค์กร (Corporate Planning) หลังจากนั้นอีกประมาณ 10 ปีเริ่มมีการพูดเรื่องวิสัยทัศน์ (Vision) ภารกิจ (Mission) และการจัดทำแผนกลยุทธ (Strategic Planning) แต่ยังอยู่บนพืนฐานแนวคิดของการจัดการกลยุทธที่มี 3 องค์ประกอบคือ (1) การวางแผนกลยุทธ (2) การนำกลยุทธไปปฏิบัติ และ (3) การควบคุมกลยุทธ ซึ่งเชื่อว่าเป็นแนวคิดที่มองในลักษณะควคุมองค์กร โดยที่คิดว่าภายนอกเปลี่ยนแปลงไม่มากนัก
หลังจากนั้นไม่นานในต่างประเทศมีเครื่องมือทางกลยุทธธุรกิจใหม่เข้ามา เช่น รีเอ็นจิเนียริ่ง (Reengineering) ความสามารถหลักของธุรกิจ (Core Competency) องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) และที่รู้จักกันดีทางกลยุทธคือ KPIs (Key Performance Indicators) กับ BSC (Balanced Scorecard) ซึ่งเป็นระบบวัดผลกลยุทธ (Strategic Measurement)
ซึ่งในช่วงพัฒนาการของ BSC & KPIs ต้องถือว่าอยู่ประมาณ 14 ปีเห็นจะได้ในเมืองไทยที่ผู้เขียนริเริ่มบุกเบิกมาถ้านับจริงๆ ก็ประมาณ 10 ปีและก็มีพัฒนาการไม่อย่างมากมาย รวมทั้งการปรับให้ Balanced Scorecard และ KPIsสามารถแก้ไขจุดอ่อนในข้อจำกัดของแคปแลนและนอร์ตันได้จนนำไปสู่การจัดทำได้อย่างเห็นผลในประเทศไทยสำหรับธุรกิจแทบทุกประเภท
จนกระทั่งปัจจุบันน่าจะขยับไปสู่ขั้นต่อไปของการจัดการกลยุทธอย่างเป็นระบบที่เหนือกว่า (Extreme Systemic Scorecard) หรือเรียกสั้นๆ ว่า “SSC-Systemic Scorecard” โดยสรุปแล้วจะฉายภาพรวมให้เห็นถึงพัฒนาการในระบวัดผลกลยุทธได้ดังนี้
-Performance Evaluation เป็นเรื่องราวของการประเมินผลงาน หรือ ที่รู้จักกันคือ กการประเมินผลการปฏิบัติงานนั่นเอง
ซึ่งมีพัฒนาการทั้งวิธีการประเมิน และผู้ที่ประเมิน
-MBO หรือ Management By Objective คือการกำหนด วัตถุประสงค์ของงาน แล้วจัดทำแผนงานตามนั้น ซึ่งต้องคิดมาจาก Drucker
-BSC & KPIs หรือ Balanced Scorecard and Key Performance Indicators ในรายละเอียดอ่านในBlogของผู้เขียนได้
ตรงนี้เป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้พูดรวมเรื่องเหล่านี้ว่า การจัดการผลงาน (PM:Performance Management)
-3SC ย่อมาจาก Systemic Strategic Scorecard เป็นการขยายหรือปรับแนวคิของ BSC ให้ครอบคลุมและสมบรูณ์ สูงสุด ซึ่งบางครั้งผู้เขียนจะเรียกทั้งหมดนี้ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันว่า CPM: Corporate Performance Management

ผู้เขียนเชื่อว่าหลายๆ ท่านที่รับผิดชอบในการจัดทำกลยุทธองค์กรหรือมีความจำเป็นต้องมีส่วนร่วมที่จะกำหนดทิศทางธุรกิจ ซึ่งหนีไม่พ้นจะต้องคิดหาเครื่องมือมาช่วยในการดำเนินการตามที่กล่าวมา
Balanced Scorecard เป็นวิถีหนึ่งที่หากทำอย่างมีความเข้าใจและปรับให้เหมาะสม ผู้เขียนเห็นว่าช่วยพัฒนากลยุทธธุรกิจได้ค่อนข้างดี โดยเฉพาะผู้บริหารหลายท่านหรือในหลายๆ ธุรกิจที่ผู้เขียนได้เป็วิทยากรที่ปรึกษาในการดำเนินการเรื่องนี้ภายใต้โมเดลธุรกิจที่ผู้เขียนพัฒนาขึ้นมา
Systemic Scorecard เป้นการจัดการกลยุทธอย่างเป็นระบบที่เหนือชั้นกว่า เพราะด้วยหลายๆ ปัจัยที่สำคญ อาทิ
(1) เป็นการเข้ามาแก้ไขจุดอ่อนขงแนวคิด BSC ที่แคปแลนและนอรตันเสนอมาตั้งแต่ปี 1992 แม้ว่าล่าสุดจะออกหนังสือเล่มใหม่ในเรื่องจัดวงกลยุทธแล้วกำลังโรดโชว์ขายหนังสือเล่มนี้ก็ไม่ช่วยอะไรให้ BSC ตามต้นแบบดั้งเดิมจัดทำจนสมบูณ์ได้
(2) BSC ในวิธีการเดิมของแคปแลนและนอร์ตันเปนระบบที่ไม่ยืดหยุ่นและยึดติดกับ “ตัวแบบ” (Template) มากเกินไปที่เรียกว่า แผนที่กยุทธ (Strategy Map) ทำให้เกิดภาวะชงักงันในขณะที่องค์กรหรือธุรกิจปรตัวสู่ องค์กรนวัตกรรม-คุณค่าสู่ลูกค้า
(3) เกิดการเข้าใจผิดในระบบการวัดกลยุทธด้วย KPIs ที่มองความสัมพันธ์ของ (F) การเงิน (C) ลูกค้า (I) กระบวนการ และ (L) การเรียนรู้และนวัตกรรมเช่น ล่างขึ้นบน (^) (Bottom Up) ซึ่งในความเป็นจริงถูกเพียงหนึ่งความคิดและนวัตกรรมต้องมีทั้ง 4 ด้านของการวัด
(4) SSC: Systemic Scorecard เสนอประเด็นสำคัญที่เป็นหัวใจคือ โมเดลธุรกิจ (Business Model) ที่เหมาะสมกับองค์กรนวัตกรรม-คุณค่าสู่ลูกค้า) การวัดกลยุทธตามโมเดลธุรกิจที่ปรับให้เหาะสมใน 5 มิติย่อยคือ มิติหลัก (Core Dimension) มี (1) คุณค่าต่อลูกค้า (2) ระบบการเปลี่ยนผ่านและปรับใหม่ (3) เครือข่ายคุณค่าต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และมิติสนับสนุน (Supporting Dimension) คือ (1) เครือข่ายกระบวนการธุรกิจที่ขยายออก (2) ความสัมพันธ์และพันธมิตรจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ขณะเดียวกันได้เสนอการนำองค์กรสู่รูปแบบองค์กรแบบฟิตสุดๆ (Organizational Fitness Model) ในโอกาสอันใกล้ผู้เขียนจะนำเสนอเชิงลึกในแต่ละเรื่องต่อไปครับ

อ.ดนัย เทียนพุฒ
Aj.Danai Thieanphut
DNT Consultants

**New Business Knowlegde Network By Dr.Danai Thieanphut
1.Business Management
2.Family Business
3.สถาบันการจัดการความรู้แห่งประเทศไทย



Create Date : 21 พฤษภาคม 2549
Last Update : 7 มกราคม 2551 17:12:41 น. 0 comments
Counter : 861 Pageviews.

dnt
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 41 คน [?]




ที่ปรึกษาธุรกิจชั้นนำด้านจัดการกลยุทธ
( ผู้นำและริเริ่มการจัดทำ Balanced
Scorecard & KPIs)
การบริหาร HR ที่เน้นความสามารถ
(Competency Based Approach)
การพัฒนา HRD-KM และ
การจัดการสมัยใหม่
*************************
Friends' blogs
[Add dnt's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.