Dr.Danai @ DNT Consultants
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2549
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728 
 
10 กุมภาพันธ์ 2549
 
All Blogs
 

เครื่องมือวัดความสำเร็จของ CEO แบบครบวงจร

ในหลายๆ ตอนของเรื่อง CEO SCORECARD ที่ได้อธิบายเกี่ยวกับแนวคิดของผู้เขียนว่า จะมีกรอบแนวคิดหรือทฤษฎีอะไรที่จะใช้วัดความสำเร็จของ CEO ตลอดจนวิธีการสร้างโมเดลความสามารถของ CEO
ดังนั้นส่วนของเรื่องราวต่อไปจะเป็นแนวคิดหรือวิธีการในประสบการณ์ของผู้เขียนเกี่ยวกับ “เครื่องมือวัดความสำเร็จของ CEO แบบครบวงจร” โดยที่ผู้เขียนได้กำหนดเครื่องมือวัดความสามารถของ CEO ใน 2 มิติด้วยกันคือ
# มิติแรกเครื่องมือวัดความสำเร็จของ CEO โดยใช้การวัดด้วย KPIs หมายความว่า เป็นการนำแนวคิดของการประเมินองค์กรแบบสมดุล (BSC : The Balanced Scorecard) กับ ดัชนีวัดผล-สำเร็จธุรกิจ (KPIs : Key Performance Indicators) เข้ามาวัดความสำเร็จของ CEO ซึ่งการวัด CEO ในส่วนนี้จะเป็นการวัดความสำเร็จโดยรวมของธุรกิจ

ถ้าจะอธิบายให้ง่ายที่สุดหรือเข้าใจได้ง่ายๆ ผู้บริหารธุรกิจสามารถพิจารณาได้ดังนี้
1) วิสัยทัศน์ธุรกิจ (Corporate Vision) สามารถใช้นำหรือเป็นภาพ หรือทิศทางในอนาคตของธุรกิจได้หรือไม่
2) ภารกิจ (Mission) ที่อยู่หรือกำหนดขึ้นตามวิสัยทัศน์ธุรกิจนั้น สามารถแปลไปสู่กลยุทธที่ดีพอหรือไม่
3) มีโมเดลหรือเครื่องมือใดที่จะใช้วัดความสำเร็จของภารกิจที่กำหนดไว้ตั้งแต่ต้น

ทั้ง 3 ขั้นตอนนี้ในวิธีการของผู้เขียนจะได้ “KPIs วัด CEO” ที่สมบูรณ์และถูกต้องตามการพัฒนาโมเดลดัชนีวัด (Indicators Model)
# มิติที่สอง เครื่องมือวัดความสามารถของ CEO เป็นการวัดด้านความสามารถของ CEO หมายความว่า ธุรกิจได้ร่วมกันพิจารณาโดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูงว่า “ผู้นำหรือผู้บริหารระดับสูงรวมถึงบุคคลที่จะขึ้นเป็น CEO ของธุรกิจ” จะมีความสามารถอะไรบ้างที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ
ประเด็นก็เป็นที่ถกเถียงกันมาก ซึ่งผู้เขียนได้แลกเปลี่ยนทัศนะในเรื่องนี้กับ CEO หรือ MD
บางธุรกิจ อาทิ
- CEO หรือ MD ที่พบมักจะมีแนวความคิดว่า ผู้บริหารที่มีผลลัพธ์หรือหากสามารถวัดความสำเร็จได้อย่างแท้จริงแล้วก็จะต้องมีความสามารถด้วย
ดังนั้นการวัดเพียงผลลัพธ์หรือผลสำเร็จ เช่น การมี KPIs วัดความสำเร็จของผู้บริหารแต่ละท่านก็ไม่จำเป็นที่จะต้องไปวัดด้านความสามารถ
- การวัดด้านความสามารถ เป้นสิ่งที่เป็นนามธรรม จับต้องยากและส่วนใหญ่มักจะเป็นลักษณะของการประเมินตามมาตราสาวนประมาณค่า (Rating Scales) หรือไม่ก็เกิดอคติได้ง่าย อีกทั้งรายการที่ใช้วัดหรือประเมินความสามารถของผู้บริหารจะซ้ำซ้อนกับการประเมินผลการปฏิบัติงานในแนวเดิมที่ธุรกิจทำอยู่โดยผลที่ออกมาคือ มีความสามารถของผู้บริหารที่ได้จากการประเมินอยู่ในระดับความสามารถที่สูง แต่ผลสำเร็จของงานขัดแย้งกับระดับความสามารถของผู้บริหาร
-ในทัศนะของ CEO หรือ MD หรือในมุมมองผู้ประกอบการ สิ่งที่สนใจมากที่สุดก็คือ “ผลสำเร็จหรือผลลัพธ์ของธุรกิจ” ดังนั้นการที่จะให้รอคอยหรือวัดอะไรที่ยังไม่เคยดำเนินการในเรื่องของความสามารถ โดยเฉพาะการต้องเชื่อมโยงเรื่องเหล่านี้ด้วยแง่มุมทางด้านวิชาการ ยิ่งทำให้ CEO หรือ MD ก็ไม่ค่อยสนใจเท่าไหร่ เพราะเป็นวิชาการที่ไม่มีการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษา
ดังนั้น การจะมีเครื่องมือวัดความสามารถของ CEO จะมีขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินการในลักษณะแบบย่อๆ ได้ดังนี้
1)การกำหนด “โมเดลความสามารถของ CEO หรือผู้บริหาร” จะสามารถจัดทำได้ในหลายๆ รูปแบบด้วยกัน อาทิ
- การจัดทำ กลุ่มโฟกัส (FG: Focus Group) เพื่อค้นหาว่า “โมเดลความของสามารถของ CEO หรือผู้บริหาร” จะมีโมเดลในรูปแบบใดได้บ้าง
- การประเมินระบบ 360 องศาคือ การจัดทำแบบประเมินความสามารถของ CEO หรือผู้บริหารแล้วนำไปประเมินผู้บริหารระดับสูงหรือ CEO เพื่อนำมาสรุปเป็นโมเดลความสามารถของ CEO หรือผู้บริหาร
- การใช้เทคนิค KRA Analysis (Key Result Area Analysis) เพื่อวิเคราะห์แล้วสรุปเป็นโมเดลความสามารถของ CEO หรือผู้บริหาร
2) จัดทำ “กลุ่มความสามารถและรดับความสามารถ” (Levels of Competencies) เพื่อจะได้นำไปใช้ในการวัดหรือประเมินความสามารถของ CEO หรือผู้บริหาร
3) พัฒนาเครื่องมือในการวัดหรือประเมินความสามารถของ CEO หรือผู้บริหาร อาทิ
- แบบทดสอบวัดความสามารถของ CEO (CEO Competencies Test)
- การประเมินระบบ 360 องศา (360 Degree System)
- ศูนย์ประเมินความสามารถ (AC : Assessment Centers)
- การประเมินความสามารถที่แท้จริงด้วยพอร์ตโฟลิโอ (Portfolio Assessment)
4) ทำการวัดหรือประเมินความสามารถของ CEO หรือผู้บริหารเพื่อการเปรียบเทียบโปรไฟล์ความสามารถของ CEO หรือผู้บริหาร


ในตอนต่อไปจะได้มีโอกาสแนะนำเครื่องมือในการพัฒนา โมเดลความสามารถของ CEO หรือผู้บริหาร รวมถึงเครื่องมือการวัดและประเมินความสามารถของ CEO หรือผู้บริหารที่นิยมใช้กันในธุรกิจ ตลอดจนแนวคิดการนำ “การประเมินระบบ 360 องศากับ AC (Assessment Centers) เข้ามาใช้ร่วมกัน
ทั้งหมดนี้จะเป็น หัวใจสำคัญของเรื่อง CEO SCORECARD ที่ยังไม่เคยมีที่ใดพูดถึงอย่างถึงแก่นจริงๆ มาก่อน
Aj.Danai Thieanphut
DNT Consultants




 

Create Date : 10 กุมภาพันธ์ 2549
3 comments
Last Update : 10 กุมภาพันธ์ 2550 12:54:09 น.
Counter : 1412 Pageviews.

 

ต้องการทราบทฤษฎี ศักยภาพ
มีอะไรบ้าง เขียนอ้างอิงโดยผู้ใด

 

โดย: nina/peenina@hotmail.com IP: 203.121.152.222 29 มีนาคม 2549 10:04:46 น.  

 

ต้องขอโทษด้วยที่ไม่ได้ตอบเพราะไปต่างประเทศ และเพิ่งกลับมาครับ
จริง ๆ เรื่องของทฤษฎีทางศักยภาพ จะเริ่มมาจากแนวคิดของ 2 นักคิด
-คนแรกคือ หลักกการของปีเตอร์ ( Peter L.) ที่อธิบายทฤษฎีไร้ความสามารถของผู้บริหารว่าถึงจุดหนึ่งจะไร้ความสามารถ จึงต้องมีการเตรียมไว้ก่อน
-คนที่สองคือ ชายน์ ( Shein E.) คนนี้ดังมากที่อธิบายเกี่ยวกับกรวยของอาชีพ (ศึกษาได้จากหนังสือผม การบริหารทรัพยากรบุคคล เรื่องการวางแผนอาชีพ และแผนสืบทอดตำแหน่ง)
นอกนั้น ก็เป็นนักคิดรุ่นหลัง ๆ แล้ว ที่มาอธิบาย ศักยภาพในมิตืของความสามารถ ซึ่งในหนังสือหลายเล่มด้าน HR ของผมได้พูดถึงอยู่เสมอ ๆ
อ.ดนัย เทียนพุฒ

 

โดย: Danai IP: 58.8.115.24 13 พฤษภาคม 2549 10:00:52 น.  

 

ชือ Edgar Shein จริง ๆ น่าจะใช้ "ไชน์" จะครงกว่าครับ
อ.ดนัย

 

โดย: Danai IP: 58.8.115.24 13 พฤษภาคม 2549 10:03:32 น.  


dnt
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 41 คน [?]




ที่ปรึกษาธุรกิจชั้นนำด้านจัดการกลยุทธ
( ผู้นำและริเริ่มการจัดทำ Balanced
Scorecard & KPIs)
การบริหาร HR ที่เน้นความสามารถ
(Competency Based Approach)
การพัฒนา HRD-KM และ
การจัดการสมัยใหม่
*************************
Friends' blogs
[Add dnt's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.