Dr.Danai @ DNT Consultants
Group Blog
 
<<
มกราคม 2549
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
30 มกราคม 2549
 
All Blogs
 
เครื่องมือวัดความสำเร็จของ CEO แบบครบวงจร

ในหลายๆ ตอนของเรื่อง CEO SCORECARD ที่ได้อธิบายเกี่ยวกับแนวคิดของผู้เขียนว่า จะมีกรอบแนวคิดหรือทฤษฎีอะไรที่จะใช้วัดความสำเร็จของ CEO ตลอดจนวิธีการสร้างโมเดลความสามารถของ CEO
ดังนั้นส่วนของเรื่องราวต่อไปจะเป็นแนวคิดหรือวิธีการในประสบการณ์ของผู้เขียนเกี่ยวกับ “เครื่องมือวัดความสำเร็จของ CEO แบบครบวงจร” โดยที่ผู้เขียนได้กำหนดเครื่องมือวัดความสามารถของ CEO ใน 2 มิติด้วยกันคือ
# มิติแรกเครื่องมือวัดความสำเร็จของ CEO โดยใช้การวัดด้วย KPIs หมายความว่า เป็นการนำแนวคิดของการประเมินองค์กรแบบสมดุล (BSC : The Balanced Scorecard) กับ ดัชนีวัดผล-สำเร็จธุรกิจ (KPIs : Key Performance Indicators) เข้ามาวัดความสำเร็จของ CEO ซึ่งการวัด CEO ในส่วนนี้จะเป็นการวัดความสำเร็จโดยรวมของธุรกิจ

ถ้าจะอธิบายให้ง่ายที่สุดหรือเข้าใจได้ง่ายๆ ผู้บริหารธุรกิจสามารถพิจารณาได้ดังนี้
1) วิสัยทัศน์ธุรกิจ (Corporate Vision) สามารถใช้นำหรือเป็นภาพ หรือทิศทางในอนาคตของธุรกิจได้หรือไม่
2) ภารกิจ (Mission) ที่อยู่หรือกำหนดขึ้นตามวิสัยทัศน์ธุรกิจนั้น สามารถแปลไปสู่กลยุทธที่ดีพอหรือไม่
3) มีโมเดลหรือเครื่องมือใดที่จะใช้วัดความสำเร็จของภารกิจที่กำหนดไว้ตั้งแต่ต้น

ทั้ง 3 ขั้นตอนนี้ในวิธีการของผู้เขียนจะได้ “KPIs วัด CEO” ที่สมบูรณ์และถูกต้องตามการพัฒนาโมเดลดัชนีวัด (Indicators Model)
# มิติที่สอง เครื่องมือวัดความสามารถของ CEO เป็นการวัดด้านความสามารถของ CEO หมายความว่า ธุรกิจได้ร่วมกันพิจารณาโดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูงว่า “ผู้นำหรือผู้บริหารระดับสูงรวมถึงบุคคลที่จะขึ้นเป็น CEO ของธุรกิจ” จะมีความสามารถอะไรบ้างที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ
ประเด็นก็เป็นที่ถกเถียงกันมาก ซึ่งผู้เขียนได้แลกเปลี่ยนทัศนะในเรื่องนี้กับ CEO หรือ MD
บางธุรกิจ อาทิ
- CEO หรือ MD ที่พบมักจะมีแนวความคิดว่า ผู้บริหารที่มีผลลัพธ์หรือหากสามารถวัดความสำเร็จได้อย่างแท้จริงแล้วก็จะต้องมีความสามารถด้วย
ดังนั้นการวัดเพียงผลลัพธ์หรือผลสำเร็จ เช่น การมี KPIs วัดความสำเร็จของผู้บริหารแต่ละท่านก็ไม่จำเป็นที่จะต้องไปวัดด้านความสามารถ
- การวัดด้านความสามารถ เป้นสิ่งที่เป็นนามธรรม จับต้องยากและส่วนใหญ่มักจะเป็นลักษณะของการประเมินตามมาตราสาวนประมาณค่า (Rating Scales) หรือไม่ก็เกิดอคติได้ง่าย อีกทั้งรายการที่ใช้วัดหรือประเมินความสามารถของผู้บริหารจะซ้ำซ้อนกับการประเมินผลการปฏิบัติงานในแนวเดิมที่ธุรกิจทำอยู่โดยผลที่ออกมาคือ มีความสามารถของผู้บริหารที่ได้จากการประเมินอยู่ในระดับความสามารถที่สูง แต่ผลสำเร็จของงานขัดแย้งกับระดับความสามารถของผู้บริหาร
-ในทัศนะของ CEO หรือ MD หรือในมุมมองผู้ประกอบการ สิ่งที่สนใจมากที่สุดก็คือ “ผลสำเร็จหรือผลลัพธ์ของธุรกิจ” ดังนั้นการที่จะให้รอคอยหรือวัดอะไรที่ยังไม่เคยดำเนินการในเรื่องของความสามารถ โดยเฉพาะการต้องเชื่อมโยงเรื่องเหล่านี้ด้วยแง่มุมทางด้านวิชาการ ยิ่งทำให้ CEO หรือ MD ก็ไม่ค่อยสนใจเท่าไหร่ เพราะเป็นวิชาการที่ไม่มีการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษา
ดังนั้น การจะมีเครื่องมือวัดความสามารถของ CEO จะมีขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินการในลักษณะแบบย่อๆ ได้ดังนี้
1)การกำหนด “โมเดลความสามารถของ CEO หรือผู้บริหาร” จะสามารถจัดทำได้ในหลายๆ รูปแบบด้วยกัน อาทิ
- การจัดทำ กลุ่มโฟกัส (FG: Focus Group) เพื่อค้นหาว่า “โมเดลความของสามารถของ CEO หรือผู้บริหาร” จะมีโมเดลในรูปแบบใดได้บ้าง
- การประเมินระบบ 360 องศาคือ การจัดทำแบบประเมินความสามารถของ CEO หรือผู้บริหารแล้วนำไปประเมินผู้บริหารระดับสูงหรือ CEO เพื่อนำมาสรุปเป็นโมเดลความสามารถของ CEO หรือผู้บริหาร
- การใช้เทคนิค KRA Analysis (Key Result Area Analysis) เพื่อวิเคราะห์แล้วสรุปเป็นโมเดลความสามารถของ CEO หรือผู้บริหาร
2) จัดทำ “กลุ่มความสามารถและรดับความสามารถ” (Levels of Competencies) เพื่อจะได้นำไปใช้ในการวัดหรือประเมินความสามารถของ CEO หรือผู้บริหาร
3) พัฒนาเครื่องมือในการวัดหรือประเมินความสามารถของ CEO หรือผู้บริหาร อาทิ
- แบบทดสอบวัดความสามารถของ CEO (CEO Competencies Test)
- การประเมินระบบ 360 องศา (360 Degree System)
- ศูนย์ประเมินความสามารถ (AC : Assessment Centers)
- การประเมินความสามารถที่แท้จริงด้วยพอร์ตโฟลิโอ (Portfolio Assessment)
4) ทำการวัดหรือประเมินความสามารถของ CEO หรือผู้บริหารเพื่อการเปรียบเทียบโปรไฟล์ความสามารถของ CEO หรือผู้บริหาร


ในตอนต่อไปจะได้มีโอกาสแนะนำเครื่องมือในการพัฒนา โมเดลความสามารถของ CEO หรือผู้บริหาร รวมถึงเครื่องมือการวัดและประเมินความสามารถของ CEO หรือผู้บริหารที่นิยมใช้กันในธุรกิจ ตลอดจนแนวคิดการนำ “การประเมินระบบ 360 องศากับ AC (Assessment Centers) เข้ามาใช้ร่วมกัน
ทั้งหมดนี้จะเป็น หัวใจสำคัญของเรื่อง CEO SCORECARD ที่ยังไม่เคยมีที่ใดพูดถึงอย่างถึงแก่นจริงๆ มาก่อน

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
Dr.Danai Thieanphut
DNT Consultants



Create Date : 30 มกราคม 2549
Last Update : 10 กุมภาพันธ์ 2550 12:59:23 น. 0 comments
Counter : 2955 Pageviews.

dnt
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 41 คน [?]




ที่ปรึกษาธุรกิจชั้นนำด้านจัดการกลยุทธ
( ผู้นำและริเริ่มการจัดทำ Balanced
Scorecard & KPIs)
การบริหาร HR ที่เน้นความสามารถ
(Competency Based Approach)
การพัฒนา HRD-KM และ
การจัดการสมัยใหม่
*************************
Friends' blogs
[Add dnt's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.