ความดับลงแห่งกองทุกข์ มีได้เพราะการดับไปแห่งความเพลิน
Group Blog
 
<<
กันยายน 2553
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
15 กันยายน 2553
 
All Blogs
 
สัมมาทิฎฐิ ในการเจริญธรรมสาม เพื่อละธรรมสาม




สัมมาทิฎฐิ ในการเจริญธรรมสาม เพื่อละธรรมสาม


..........ภิกษุ ท.! ธรรม ๓ อย่าง เหล่านี้มีอยู่ สามอย่าง อย่างไรเล่า ? สามอย่าง คือ ราคะ โทสะ โมหะ

..........ภิกษุ ท.! เหล่านี้แล ธรรม ๓ อย่างนั้น

..........ภิกษุ ท.! เพื่อละเสียซึ่งธรรมสามอย่างเหล่านี้ ควรเจริญซึ่งธรรม ๓ อย่าง ธรรมสามอย่าง อย่างไรเล่า ? สามอย่างคือ

เจริญ อสุภะ เพื่อละเสียซึ่งราคะ
เจริญ เมตตา เพื่อละเสียซึ่ง โทสะ
เจริญ ปัญญา เพื่อละเสียซึ่ง โมหะ


..........ภิกษุท.! ธรรม ๓ อย่างเหล่านี้ อันบุคลควรเจริญเพื่อละเสียซึ่งธรรมสามอย่างเหล่าโน้นแล

สัมมาทิฎฐิ ในการเจริญธรรมสาม เพื่อละธรรมสาม ( อีกนัยหนึ่ง )


..........ภิกษุ ท.! ธรรม ๓ อย่าง เหล่านี้ มีอยู่ สามอย่าง อย่างไรเล่า ? สามอย่างคือ กามสัญญา พยาบาทสัญญษ วิหิงสาสัญญา

..........ภิกษุ ท.! เพื่อละเสียซึ่งธรรมสามอย่างเหล่านี้ ควรเจริญซึ่งธรรม ๓ อย่าง ธรรมสามอย่าง อย่างไรเล่า ? สามอย่างคือ

เจริญ เนกขัมมสัญญา เพื่อละเสียซึ่ง กามสัญญา
เจริญ อัพยาปาทสัญญา เพื่อละเสียซึ่ง พยาปาทสัญญา
เจริญ อวิหิงสาสัญญา เพื่อละเสียซึ่ง วิหิงสาสัญญา


..........ภิกษุ ท.! ธรรม ๓ อย่าง เหล่านี้ อันบุคคล ควรเจริญเพื่อละเสียซึ่งธรรมสามอย่างเหล่าโน้นแล

สัมมาทิฎฐิ ในการเจริญธรรมสาม เพื่อละธรรมสาม ( อีกนัยหนึ่ง )


..........ภิกษุ ท.! ธรรม ๓ อย่างเหล่านี้ มีอยู่ สามอย่าง อย่างไรเล่า ? สามอย่าง คือ กามวิตก พยาปาทวิตก วิหิงสาวิตก

..........ภิกษุ ท.! เหล่านี้แล ธรรม ๓ อย่างนั้น

..........ภิกษุ ท.! เพื่อละเสียซึ่งธรรมสามอย่างเหล่านี้ ควรเจริญธรรม ๓ อย่าง ธรรมสามอย่าง อย่าไงเล่า ? สามอย่าง คือ

เจริญ เนขัมมวิตก เพื่อละเสียซึ่ง กามวิตก
เจริญ อัพยาปาทวิตก เพื่อละเสียซึ่ง พยาปาทวิตก
เจริญ อวิหิงสาวิตก เพื่อละเสียซึ่ง วิหิงสาวิตก


..........ภิกษุ ท.! ธรรม ๓ อย่าง เหล่านี้ อันบุคคลควรเจริญเพื่อละเสียซึ่งธรรมสามอย่างเหล่าโน้นแล

สัมมาทิฎฐิ ในการเจริญธรรมสาม เพื่อละธรรมสาม ( อีกนัยหนึ่ง )


..........ภิกษุ ท.! ธรรม ๓ อย่าง เหล่านี้ มีอยู่ สามอย่าง อย่างไรเล่า ? สามอย่าง คือ กามธาตุ พยาปาทธาตุ วิหิงสาธาตุ

..........ภิกษุ ท.! เพื่อละเสียซึ่งธรรมสามอย่างเหล่านี้ ควร เจริญซึ่ง ธรรม ๓ อย่าง ธรรมสามอย่าง อย่างไรเล่า ? สามอย่างคือ

เจริญ เนขัมมธาตุ เพื่อละเสียซึ่ง กามธาตุ
เจริญ อัพยาปาทธาตุ เพื่อละเสียซึ่ง พยาปาทธาตุ
เจริญ อวิหิงสาธาตุ เพื่อละเสียซึ่ง วิหิงสาธาตุ


..........ภิกษุ ท.! ธรรม ๓ อย่าง เหล่านี้ อันบุคคลควรเจริญเพื่อละเสีซึ่งธรรมสามอย่างเหล่าโน้นแล




Create Date : 15 กันยายน 2553
Last Update : 15 กันยายน 2553 14:13:44 น. 22 comments
Counter : 469 Pageviews.

 
อานนท์
ราคะ = เวทนาที่เกิดจากสุข
ปฏิฆะ = เวทนาที่เกิดจากทุกข์
อวิชา = เวทนาที่เกิดจากไม่สุขไม่ทุกข์
แล้ว โทสะ มันเหมือน ปฏิฆะ หรือป่าว
แล้ว โมหะ มันคือ อวิชาหรือป่าว
แล้วถ้ามันคือคำเดียวกัน ทำไมไม่ใช้คำให้เหมือนกันทำไมถึงแยก มีอะไรแฝงหรือป่าวถึงแยก คำความหมายเดียวกันแต่เป็นคนละคำ หรือใช้ใน บริบทแตกต่างกัน เราไม่เข้าใจ


โดย: ครีม IP: 124.121.236.147 วันที่: 16 กันยายน 2553 เวลา:9:50:58 น.  

 
ถูกแล้ว อาครีม

โลภะ = ราคะ = รัก =โลภ= พอใจ= สุข

โทสะ = ปฎิฆะ =โกรธ = ไม่พอใจ = เป็นทุกข์

โมหะ = ไม่สุขไม่ทุกข์ = หลง = ความไม่รู้ = อวิชชา

ก็ คำหนึงคำ สามารถ แทนกันได้ หลายๆชื่อ

พระพุทธเจ้า ใช้ ให้ หลากหลาย เพื่อประโยชน์ ในการแตกลูกธรรมะ ออกไป

ก็ เหมือน นิพพาน นั่น แหละ ใช้ วิมุตติ ก็ ได้ใช้ นิโรธก็ได้ มีชื่อ ให้เรียกอีกเยอะ

หรือ เหตุ ใช้ คำว่า ปัจจัย ก็ได้

หรือ จิต =มโน =วิญญาณ =ใจ ก็ ใช้แทนกันได้

เป็นการ แตกลูกธรรมะ หน่ะ เผื่อ คนไม่เข้าใจ คำนี้ แต่เข้าใจอีกคำหนึ่ง แต่พอพระพุทธเจ้าพูด ประโยคซ้ำกัน คนก็จะเข้าใจว่า อ๋อ คำนี้ แปลเหมือนกับคำนี้ เพราะบางคนอาจจะเข้าใจคำนี้ แต่อีกคำจะไม่เข้าใจ

เช่น อานนท์ เข้าใจ คำว่า จิต แต่เราไม่รู้ว่ามโน มันแปลว่าอะไร แต่พระพุทธเจ้าพูดซ้ำ ทำให้เรา เข้าใจคำว่ามโนด้วย

แต่ อาครีม เข้าใจ คำว่ามโน แต่ ไม่เข้าใจ คำว่าจิต พอพระพุทธเจ้า พูดซ้ำ ก็ จะ เข้าใจ คำว่า จิต ไปด้วย ก็จะทำให้ คนเข้าใจธรรมะได้ กว้างมากขึ้น

การพูดซ้ำ และ ใช้คำหลากหลาย ก็ จะทำให้ ทั้งอานนท์ และ อาครีม เข้าใจ ทั้งคำว่า จิต และ มโน ด้วยกันทั้งคู่

เข้าใจยัง อาครีม


โดย: อานนท์ IP: 125.25.242.102 วันที่: 16 กันยายน 2553 เวลา:14:13:11 น.  

 
เข้าใจแระอานนท์ ขอบคุณมากๆไว้เรามีข้อสงสัยจะเข้ามาถามใหม่ วันนี้เรายังไมได้อ่านพุทธวจนะเลย เลยไม่มีข้อสงสัยอะไรจะถาม ไว้เราโยงใยแมงมุมเสร็จแระค่อยถามใหม่นะ


โดย: ครีม IP: 124.121.236.147 วันที่: 16 กันยายน 2553 เวลา:16:45:10 น.  

 
ตอบ คุณ อะไรกัน

1. ตามประโยตที่ว่า (เป็นผู้มีปกติพิจรณาเห็นธรรมเป็นเหตุ เกิดขึ้นในจิตอยู่บ้าง,เห็นธรรมเป็นเหตุเสื่อมไปในจิตอยู่บ้าง,เห็นธรรมเป็นเหตุทั้งเกิดขึ้นและเสื่อมไปในจิตอยู่บ้าง) คือตรงนี้ ผมงงและสับสน ว่าอะไร ธรรมอะไรเป็นเหตุเกิดและเสื่อมครับ หมายถึง ปฏิจจสมุปาท หรือครับ หรือว่า เหตุเกิด คือ อวิชชา ???

ตอบ ใช่ครับ ธรรมธาตุ ใด ก็ ตามที่มีการเกิดปรากฎ ย่อม มีความเสื่อม ปรากฎ แล้ว ก็ จะดับไปในที่สุด ธรรมธาตุใดก็ตามที่มีความเกิดปรากฎ มีความเสื่อมปรากฎ เราเรียก ธรรมธาตุ นั้น ว่า สังขตธรรม

ระบบสังขตธรรม มีขึ้นเพราะอวิชชา ถ้าไม่มีอวิชชาแล้ว ธรรมธาตุ ที่มีความเกิดปรากฎ ก็ จะไม่มี เมื่อ เกิดไม่ปรากฎ เสื่อมก็ไม่ปรากฎ เมื่อ เกิดก็ไม่มี เสื่อมก็ไม่มี ดับย่อมไม่มี ระบบ ที่เกิดไม่ปรากฎ เสื่อมไม่ปรากฎดับไม่ปรากฎ ธรรมธาตุนั้น เรียกว่า อสังขตธรรม

เหตุเกิด ของธรรมธาตุ ในระบบสังขตธรรม ก็ คือ อวิชชา พอมีอวิชชาแล้ว ก็ มี สังขารทั้งหลาย คือ ทุกสิ่งทุกอย่างเลย ที่ มัน เกิดได้ มันก็เสื่อมได้ มันดับได้ ก็เป็นไปตามสายของปฎิจสมุปบาท เกิดขึ้นจนกระทั่งเสื่อม แล้วมันก็ดับไปในที่สุด

ไม่ทราบพอเข้าใจที่อธิบายใหมครับ ถ้ายัง ไม่เข้าใจก็มาถามใหม่ครับ

2. ที่กล่าวว่า (อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้วทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ ผลอานิสงส์อย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาผล๒ประการ เป็นสิ่งที่หวังใด้ คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือว่าถ้ายังมีอุปาธิเหลืออยู่ ก็จักเป็น อนาคามี) ...ถามว่า ถ้า เจริญอานาปานสติให้มากแล้ว เป็นโสดาบัน และ สกิทาคามี ไม่ได้หรือครับ เพราะบอกว่า (ในบรรดาผล๒ประการ) คือเฉพาะ อานาคามี และ อรหันต์ ???

ตอบ ก็ อานิสงส์ ใหญ่ คือ อรหันต์ ไงครับ ถ้า ไม่ได้อรหันต์ ก็ เป็น อนาคามี นี่พระพุทธเจ้า ตรัสเองเลยว่า ถ้าทำให้มากแล้ว ย่อมมีอานิสงส์ใหญ่ คืออรหัตผล เป็นที่หวังได้

แต่ถามว่า ทำไมอานิสงส์ไม่ทำให้เป็น พระโสดาบัน หรือ เป็นสกิทาคามีหรือ ก็ โสดาบัน แค่เปลี่ยนความเห็น แล้วมีศีล 5 บริบูรณ์ ก็ เป็นพระโสดาบันแล้ว ยังไม่เกี่ยว กะ อานาปาเลย สกิทาคามี ก็ เหมือนกัน แค่เปลี่ยนความเห็น มีศีล 5 และ ราคะ กับ โทสะ เบาบางลง ก็ เป็น พระสกิทาคามีแล้ว ยังไม่เกี่ยวกับ อานาปาเลย พอจะเข้าใจใหมครับ

3. ในโพชฌงค์ ๗ นั้น สงสัย 3 ตัว คือ...

คำว่า (ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์) นี่ ใช่ความหมายเดียวหรือเหมือนกันกับคำว่า (โยนิโสมนสิการ) ใหมครับ?

และอีก 2 ตัวคือ (ปีติสัมโพชฌงค์ และ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์) นั้น หมายถึง ตัว ปีติ และ สุข ที่เป็นอารมณ์ ของ ฌาณที่ 2 และ 3 หรือครับ ...ถ้าใช่ งั้นก็ไปซ้ำกับ (สมาธิสัมโพชฌงค์) หรือครับ แล้ว ฌาณที่ 4 หายไปไหน ไม่เห็นมี (เอกัคคตาสัมโพชฌงค์) เลยครับ หรือมี ก็คือ (อุเบกขาสัมโพชฌงค์) นั่นเอง หรือครับ ?

ตอบ ธัมมวิจยะ คือ การใคร่ครวญสอดส่องธรรม การพิจารณาดูธรรมที่ประพฤติปฏิบัติอยู่นั้น, ถ้ามีอารมณ์อะไรเกิดขึ้น ก็ให้รู้ตามเป็นจริง ไม่หลงอารมณ์ที่เกิดขึ้น ในการประพฤติ. ปัญญาที่พิจารณาอยู่ ในการประพฤติประกอบกับสติ จึงเป็นธัมมวิจยสัมโพชฌงค์

ส่วน โยนิโสมนสิการ แปลว่า การทำไว้ในใจโดยแยบคาย หรือ พิจารณาโดยแยบคาย เป็นผู้ฉลาดในการพิจารณา

ถามว่า ทั้ง 2 อย่างนี้ เหมือนกันใหม ก็มีข้อแตกต่าง ตรงที่ ธัมมวิจยะ แค่ สอดส่องดูสภาวะธรรมที่ กำลังปรากฎ ว่ามีอะไรเกิดขึ้น มีอะไรดับไปบ้าง ส่วน โยนิโสมนสิการ คือ การฉลาดในการ ใช้ธรรมะที่นำมาใช้ในการพิจารณา ข้อที่เราสงสัย

สรุป ก็ คือ ธัมมวิจยะ นั้น คือการพิจารณา สอดส่องธรรม ที่กำลังปรากฎตามที่เป็นจริง โดยมิได้เกิดจากการปรุงแต่ง

ส่วน โยนิโสมนัสิการ คือการ พิจารณาธรรม โดยการปรุงแต่ง นั่นเอง

ไม่ทราบว่า พอจะเข้าใจตรงจุดนี้ใหมครับ

ส่วน ปิติ สัมโพชฌงค์ ก็ คือ ปิติ ในองค์ฌาณแหละ ครับ

ส่วน ปัสสัทธิ สัมโพชฌงค์ คำว่า ปัสสัทธิ แปลว่า ความสงบรำงับ ก็ มีอยู่ในองค์ฌาณ เหมือนกัน

คำว่า โพชฌงค์ 7 คือ องค์ ธรรม 7 อย่างที่พร้อมที่จะบรรลุธรรม

ทีนี้ การจะบรรลุธรรม พระพุทธเจ้า บอก ว่า สามารถ บรรลุธรรมได้ ตั้งแต่ ฌานที่ 1 เป็นต้นไป แสดงว่า ตั้งแต่ฌาณที่ 1 ก็ สามารถ มีโพชฌงค์ 7 ครบได้ครับ

ในฌาณที่ 1 องค์ฌาณ ประกอบด้วย วิตก วิจาร ปิติ สุข อุเบกขา ( เอกัคคตา ) เอาโพชฌงค์ 7 ลองมาเทียบดูสิครับ ถ้ามีโพชฌงค์ครบ ก็ พร้อมที่จะบรรลุธรรมได้ ทุกวินาที

ฉะนั้น ที่ถามมา ก็ ไม่เกี่ยวกัน ครับ ใน ทุกๆ ฌาณ ตั้งแต่ ฌาณ 1-2-3-4 มี โพชฌงค์ ครบใหม ละครับ ให้นำโพชฌงค์ เข้าไปเทียบดูในองค์ฌาณที่เรา ปฎิบัติอยู่ ถ้า สติปัฏฐาน4 บริบูรณ์ โพชฌงค์ 7 บริบูรณ์แสดงว่า พร้อมแล้ว ที่จะตรัสรู้ พร้อมที่จะบรรลุธรรม

ไม่ทราบว่า ที่อธิบายยัง งง อยู่ใหม ครับ ถ้า ยังไม่เข้าใจก็ มาถามใหม่ ครับ

ขออภัยครับ ผมดันไปลบ คำถาม คุณอะไรกันอีกแล้ว แต่ผม ก็ ทวนคำถาม ให้แล้วครับ


โดย: จูปีเตอร์เทพแห่งดาวพฤหัส วันที่: 17 กันยายน 2553 เวลา:11:16:23 น.  

 
ปริภูโต มุทุ โหติ อติติกโข จ เวรวา
อ่อนไป ก็ถูกเขาหมิ่น แข็งไป ก็มีภัยเวร

มีความสุขในการดำเนินชีวิต ด้วยหลักมัชฌิมาปฏิปทา ตลอดไป..นะคะ




โดย: พรหมญาณี วันที่: 18 กันยายน 2553 เวลา:17:16:28 น.  

 
(((...ตอนนี้ผมเข้าใจแจ่มแจ้งแล้วครับว่า สมถะกับวิปัสนา เป็นเรื่องเดียวกัน แยกกันไม่ออกจริงๆ และ ต้องเป็นสิ่งที่ทำควบคู่กันไปนั่นเอง...)))

...มีข้อสงสัย ขอถาม 3 ข้อ นะครับ ก็คือว่า...

1. คำว่า (เจตนา) ใช้แทน หรือมีความหมาย เดียวกับคำว่า (สังขาร) ใช่ไหมครับ ถ้าใช่ มันเหมือนกันในแง่ใหนบ้างครับ ยังไม่ค่อยเข้าใจ หรือว่า ความคิดเรา ทุกขณะ จะมี (เจตนา) อยู่ด้วยตลอดแบบนี้หรือครับ...?

...แล้ว พระพุทธพจน์ ที่ว่า ( เรากล่าวว่าเจตนานั้นแลเป็นตัวกรรม ) นี่เป็นตัว (เจตนา) ใน (กุศล และ อกุศล) หรือ (กรรมดำ และ กรรมขาว) นั้น จึงเป็นกรรม ที่จะส่งผลเป็นวิบากต่อไป...ตรงนี้เข้าใจ แต่ว่า ถ้าคำว่า (เจตนา) ที่เป็นความหมายเดียวกับ (สังขาร) นั้น จะหมายรวมถึง จิตของ พระอรหันต์ ด้วยใช่ไหมครับ ที่ ไม่เป็นทั้ง (กรรมดำ และ กรรมขาว)...คือเป็นเพียง เจตนา ที่ไม่เป็นเหตุ ให้เกิด วิบาก แบบนี้ใช่ไหมครับ...?

2. สภาวะ ของ พระอรหันต์ นั้น มี เหลือ แค่ 4 ขันธ์ ใช่ไหมครับ เพราะว่า ไม่มี เวทนา 3 แล้ว ก็เหลือแค่ รูป-สัญญา-สังขาร-วิญญาณ...และตัว สังขาร "เป็นสังขารที่ไม่มีอวิชชา" แต่ก็ยังมี สังขาร แบบนี้ถูกต้องใช่ไหมครับ...?

3. คือ คำถามต่อไปนี้ ค่อนข้าง ละเอียดนะครับ เป็น การสรุปความเข้าใจของผม ที่ประกอบกับการปฏิบัติ ไปด้วย และ สงสัยขึ้นมาแบบนี้ ก็คือว่า...

...คำว่า (((หยุดปรุงแต่ง))) นั้น คือ หมายเอาเฉพาะ การหยุดปรุงแต่ง ไปใน (ราคะ โทสะ โมหะ) เท่านั้น ใช่ไหม และที่บอกว่า ให้ละการเกิดของจิต หรือ ที่ว่า (ภพแม้เพียงเล็กน้อย โดยที่สุดแม้ชั่วกาลเพียงลัดนิ้วมือเดียว ก็น่ารังเกียจดั่งมูตรคูถ) นี่หมายเอาเฉพาะ ให้ละการเกิด ของจิต ที่มี (ราคะ โทสะ โมหะ) อยู่ด้วย เท่านั้น ใช่ไหมครับ...?

...แต่ไม่ได้หมายถึงให้ละการเกิด ของ...

- รูป
- สัญญา
- สังขาร(ที่ไม่มี ราคะ โทสะ โมหะ)
- วิญญาณ

...(((...แต่ให้ละ...)))... (ราคะ และโทสะ) ที่อยู่ใน เวทนาขันธ์ และ (โมหะ) ที่อยู่ใน สังขารขันธ์... ก็คือให้ ระงับ และ เพียรเผากิเลส ทำลาย มันออกจากจิต...

...สรุปคือ ให้ เพียรเผากิเลส ที่เป็น เฉพาะ (ราคะ โทสะ โมหะ) ...ก็คือ...

- (ราคะ และ โทสะ) ที่อยู่ใน เวทนา
- (โมหะ) ที่อยู่ใน สังขาร

...แต่...ไม่ได้หมายความว่า ให้ละการเกิดของจิตทั้งหมดเลย ใช่ไหม เพราะเนื่องจากว่า...

- รูป ...ก็ เป็นแค่ รูป ไม่ได้เป็น กุศล หรือ อกุศล !!
- สัญญา ...ก็ เป็นแค่ สัญญา ไม่ได้เป็น กุศล หรือ อกุศล !!
- สังขาร (ที่ไม่มี ราคะ โทสะ โมหะ) ...ก็ เป็นแค่ สังขาร ไม่ได้เป็น กุศล หรือ อกุศล !!
- วิญญาณ ...ก็ เป็นแค่ วิญญาณ ไม่ได้เป็น กุศล หรือ อกุศล !!

...คือเป็นไปไม่ได้ ที่จะไปละการเกิดของ รูป นาม ทั้งหมด แต่ให้ละเฉพาะ กิเลส ที่เจืออยู่ในจิต เท่านั้น นอกนั้น มันก็เกิดขึ้น และ ดับไป ตามเหตุ ตาม ปัจจัย ของมัน เพราะ ต่อให้ บรรลุอรหันต์ แล้ว ขันธ์ก็ยังมีอยู่ คือนิพพานตอนยังเป็นๆ ถ้าจิตดับหมด คือ ดับตอน ร่างกายตาย แตกดับ คือ เป็น นิพพาน จริงๆ นั่นเอง...

...ตรงนี้ ความเข้าใจของผม เป็นยังไง ถูกไหมครับ ??? คือความเข้าใจของผมตอนนี้ เป็นแบบนี้เลยครับ !!! และผมคิดว่าใช่แน่ ถ้าไม่ถูกยังไง ช่วย อธิบายให้ความกระจ่างด้วยนะครับ เพราะว่า ตรงนี้สำคัญมากๆ และผม งงครับ ตัวกังขา ตัวนี้ เป็นตัวสำคัญมาก เลยครับ มันเกาะผมอยู่แน่นเลย ช่วยไล่มันออกไปให้ผมหน่อยครับ 555...???.......0_o....


โดย: อะไรกัน@งง 0_o IP: 118.174.191.32 วันที่: 19 กันยายน 2553 เวลา:0:27:58 น.  

 
อ๋อ...สงสัย คุณ นนท์ อยู่วัดนาป่าพง...เพิ่มคำถามอีก นิดนึงคือ...สงสัย ความหมาย ตาม พระพุทธพจน์ ที่ว่า...

[๓๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ อย่างนี้ ตลอด ๗ ปีเขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ
พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑
๗ ปี ยกไว้
ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๖ ปี ... ๕ ปี ... ๔ ปี ... ๓ ปี ... ๒ ปี ...๑ปี เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ
พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑
๑ ปียกไว้
ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๗ เดือน เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ
พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑
๗ เดือนยกไว้
ผู้ใดผู้หนึ่งเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ อย่างนี้ ตลอด ๖ เดือน ... ๕ เดือน ... ๔ เดือน ...๓ เดือน ... ๒ เดือน ... ๑ เดือน ... กึ่งเดือน เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ
พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑
กึ่งเดือนยกไว้
ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๗ วัน เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ
พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์โทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ ฉะนี้แล คำที่เรากล่าว ดังพรรณนามาฉะนี้ เราอาศัยเอกายนมรรคกล่าว แล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น ยินดี ชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว ฉะนี้แล ฯ


1. ...คืออยากถามว่า...ตกลง หมายความว่า ถ้า ปฏิบัติ เร่งความเพียร อย่างจริงจัง ทุกๆวันไปอย่างต่อเนื่อง ก็จะสำเร็จถายในระยะเวลา อย่างมากไม่เกิน 7 ปี หรือ อาจจะแค่ 7 วัน ก็บรรลุอรหัตผล ได้ ใช่ไหมครับ ขึ้นอยู่กับ ปัญญาที่สั่งสมมา เต็มรอบหรือยัง...?

2. แล้วคำว่า ๗ ปี ยกไว้ ๑ ปียกไว้ ๗ เดือนยกไว้ กึ่งเดือนยกไว้ นี่หมายความว่า อะไรครับ...ไม่เข้าใจ...?

3. แล้วทำไม ต้องเน้นกล่าวไปที่ (อรหันต์ และ อนาคามี) อีกแล้ว แล้ว (โสดาบัน) และ (สกทาคามี) ไปไหน ...หรือว่า ถ้า ปฏิบัติ แบบ ไม่เร่งความเพียรมาก ไม่จริงจังมาก ไม่ทุกวันและไม่ค่อยต่อเนื่อง คือ ย่อหย่อนลงมา ก็จะได้ โสดาบัน แบบนี้หรือครับ...??

4. คือ...ยกตัวอย่าง เนื้อหาลักษณะนี้ ใช่ พระพุทธพจน์ ไหมครับ หรือไม่ใช่ เพราะผมดูไม่ออก เช่น...

****************************
มหาวรรค อานาปาณกถา
[๓๖๒] เมื่อพระโยคาวจรเจริญสมาธิอันปฏิสังยุตด้วยอานาปานสติมีวัตถุ ๑๖ ญาณ๒๐๐ อันเนื่องมาแต่สมาธิย่อมเกิดขึ้น คือ ญาณในธรรมอันเป็นอันตราย ๘ ญาณในธรรมอันเป็นอุปการะ ๘ ญาณในอุปกิเลส ๑๘ ญาณในโวทาน ๑๓ ญาณในความเป็นผู้ทำสติ ๓๒ ญาณด้วย
สามารถสมาธิ ๒๔ ญาณด้วยสามารถวิปัสสนา ๗๒นิพพิทาญาณ ๘ นิพพิทานุโลมญาณ ๘ นิพพิทาปฏิปัสสัทธิญาณ ๘ ญาณในวิมุติสุข ๒๑ ฯ

****************************


โดย: อะไรกัน@งง 0_o IP: 192.168.1.53, 61.7.133.170 วันที่: 19 กันยายน 2553 เวลา:16:33:37 น.  

 
ตอบ คุณ อะไรกัน

1.คำว่า (เจตนา) ใช้แทน หรือมีความหมาย เดียวกับคำว่า(สังขาร) ใช่ไหมครับ ถ้าใช่ มันเหมือนกันในแง่ใหนบ้างครับ ยังไม่ค่อยเข้าใจ หรือว่า ความคิดเรา ทุกขณะ จะมี(เจตนา) อยู่ด้วยตลอดแบบนี้หรือครับ...?

...แล้ว พระพุทธพจน์ ที่ว่า ( เรากล่าวว่าเจตนานั้นแลเป็นตัวกรรม ) นี่เป็นตัว (เจตนา) ใน (กุศล และ อกุศล) หรือ(กรรมดำ และ กรรมขาว) นั้น จึงเป็นกรรม ที่จะส่งผลเป็นวิบากต่อไป...ตรงนี้เข้าใจ แต่ว่า ถ้าคำว่า (เจตนา) ที่เป็นความหมายเดียวกับ (สังขาร) นั้น จะหมายรวมถึง จิตของพระอรหันต์ ด้วยใช่ไหมครับ ที่ ไม่เป็นทั้ง (กรรมดำ และกรรมขาว)...คือเป็นเพียง เจตนา ที่ไม่เป็นเหตุ ให้เกิดวิบาก แบบนี้ใช่ไหมครับ...?

ตอบ ใช่ครับ เจตนา ใช้แทนสังขาร ได้ ครับ คำว่า เจตนาหมายถึง ความตั้งใจ ความมุ่งหมายที่จะทำ ความจงใจ ซึ่งเป็นตัวนำให้เกิดความคิดปรุงแต่ง หรือ เป็นประธานในสังขาร ขันธ์ เลยทีเดียว และเป็นตัวการในการทำกรรม ที่กล่าวว่า เรากล่าวซึ่ง เจตนาว่าเป็นกรรม คือ พอมีเจตนาที่จะทำกรรม มันก็ เป็นการ ปรุงแต่ง ทาง กายสังขาร (กายกรรม ) วจีสังขาร (วจี กรรม ) จิตสังขาร (มโนกรรม)

แล้ว ส่วน พระอรหันต์ ไม่มี เจตนา ที่จะทำกรรมแล้ว เพราะท่านหมดอุปาทานในขันธ์ทั้ง 5 แล้ว แต่ ท่านยังสามารถใช้การปรุงแต่ง ได้อยู่ แต่การปรุงแต่งของท่าน ไม่ใช่เป็นการปรุงแต่งเพื่อตัวท่านเอง แต่เพื่อเป็นประโยชน์ต่อ มหาชนชาวโลก ที่จะมาเรียนรู้และศึกษาธรรมะ ให้เข้าใจ เหมือนที่พระพุทธเจ้า ปรุงแต่ง คิดและสอนธรรมะ ท่านก็ยังใช้ สังขาร มาปรุงแต่งบัญญัติศัพท์ ธรรมะต่างๆเพื่อให้ คนที่มาศึกษาธรรมะจะได้มีความเข้าใจ

2. สภาวะ ของ พระอรหันต์ นั้น มี เหลือ แค่ 4 ขันธ์ ใช่ไหมครับ เพราะว่า ไม่มี เวทนา 3 แล้ว ก็เหลือแค่ รูป-สัญญา-สังขาร-วิญญาณ...และตัว สังขาร "เป็นสังขารที่ไม่มีอวิชชา" แต่ก็ยังมี สังขาร แบบนี้ถูกต้องใช่ไหมครับ...?

ตอบ พระอรหันต์ ก็ ยังมีขันธ์ทั้ง 5 ทำงานครบ ครับ เพียงแต่ ท่านไม่มีอุปาทานในขันธ์ทั้ง 5 แล้ว และ พระอรหันต์ ก็ มี 2 แบบ คือ สอุปาทิเสสนิพพาน และ อนุปาทิเสสนิพพาน

แบบแรก สอุปาทิเสสนิพพาน ก็ ยัง มีสุข ทุกข์ ได้ พอ จิตไหลไปถึง ตัวอุปาทาน ท่านค่อยตัด สายปฎิจสมุปบาท
ส่วน พระอรหันต์ที่เป็น อนุปาทิเสสนิพพาน ท่าน ตัดที่เวทนาเลย พอ ผัสสะมากระทบปุ๊ป ท่าน วางเลย ก็ จะ ไม่มี สุข ไม่มี ทุกข์ อะไร เหลืออยู่แต่ อุเบกขา และ ขันธ์ 5 ก็ ยังทำงานครบ เหมือนเดิม ไม่ใช่ เวทนาขันธ์ หายไป 1 ขันธ์ แบบที่เข้าใจครับ

3. ...คำว่า (((หยุดปรุงแต่ง))) นั้น คือ หมายเอาเฉพาะ การหยุดปรุงแต่ง ไปใน (ราคะ โทสะ โมหะ) เท่านั้น ใช่ไหมและที่บอกว่า ให้ละการเกิดของจิต หรือ ที่ว่า (ภพแม้เพียงเล็กน้อย โดยที่สุดแม้ชั่วกาลเพียงลัดนิ้วมือเดียว ก็น่ารังเกียจดั่งมูตรคูถ) นี่หมายเอาเฉพาะ ให้ละการเกิด ของจิต ที่มี (ราคะ โทสะ โมหะ) อยู่ด้วย เท่านั้น ใช่ไหมครับ...?

ตอบ ใช่ครับ

4. (คำถามต่อเนื่องจากข้อ 3 )...แต่ไม่ได้หมายถึงให้ละการเกิด ของ...

- รูป- สัญญา- สังขาร(ที่ไม่มี ราคะ โทสะ โมหะ) - วิญญาณ

...(((...แต่ให้ละ...)))... (ราคะ และโทสะ) ที่อยู่ใน เวทนาขันธ์ และ (โมหะ) ที่อยู่ใน สังขารขันธ์... ก็คือให้ ระงับ และ เพียรเผากิเลส ทำลาย มันออกจากจิต...

ตอบ ข้อนี้ ยัง เข้าใจไม่ตรงครับ คือ ราคะ โทสะ และ โมหะ นี้ เกิดขึ้น ใน ขันธ์ ได้ทุกขันธ์เลยครับ

เช่น เราพอใจในรูป ก็ มีราคะในรูป เราเห็นรูป ที่เราไม่พอใจ ก็มี โทสะ ในรูป เรา เฉยในรูป ก็ มีโมหะในรูป

เวทนา ก็ เช่นกัน เรามีความสุข แล้วเราไปพอใจ เราก็มีราคะในเวทนา เรามีสุข แต่เราก็ยังไม่พอใจ ก็ เป็น โทสะในเวทนา หรือ พอสุข แล้ว เรา ก็ เฉยๆ แต่ยังมี อุปาทาน ยึดอยู่ว่ายังมีผู้เฉยๆ ก็ ยังมีโมหะอยู่ในเวทนา

สัญญา ก็ เช่นกัน เรามีความจำที่เกิดขึ้นในอดีต แล้วเราพอใจ ไม่พอใจ หรือ เฉยๆ นั่นก็คือ เรามี ราคะ โทสะ และโมหะใน สัญญา

สังขาร ก็เช่นกัน

วิญญาณ เราพอใจ ในวิญญาณ หรือ ไม่พอใจในวิญญาณ หรือ เฉยๆ วิญญาณ ไปรับรู้ อะไรมา เรา พอใจ ไม่พอใจ หรือเฉยๆ

ทุกขันธ์ สามารถ มีราคะ โทสะ โมหะ เกิดขึ้นได้หมด ครับ
สิ่งที่เรา ละการเกิดของอุปาทาน ในขันธ์ทั้ง 5 ไม่ให้ เกิด อุปาทาน คือ ยึดมั่น ในขันธ์ 5 ว่าเป็นตัวเรา เมื่อ ไม่มีอุปาทาน ในขันธ์ 5 ราคะ โทสะ โมหะ มันก็ ยังมีอยู่ แต่ พระอรหันต์ ท่านก็ เพียงเห็นว่า ราคะเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้ว ก็ ดับไป โทสะ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป โมหะ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไปคือ เห็นเวทนา ต่างๆ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ ดับไป
คือ เมื่อ หมด อุปาทานในขันธ์ 5 แล้ว ไม่ใช่ ขันธ์ 5 ดับหมด แต่ ขันธ์ 5 ก็ ยังทำงานปรกติ เพียงแค่ไม่มีอุปาทานแล้ว เท่านั้น

5. ( คำถามต่อเนื่อง )...สรุปคือ ให้ เพียรเผากิเลส ที่เป็น เฉพาะ (ราคะ โทสะ โมหะ) ...ก็คือ...

- (ราคะ และ โทสะ) ที่อยู่ใน เวทนา
- (โมหะ) ที่อยู่ใน สังขาร

ตอบ ข้อนี้ ได้ตอบไปแล้วว่า ราคะ โทสะ โมหะ อยู่ใน ทุกขันธ์เลย ครับ ไม่ใช่ ราคะและโทสะ อยู่แค่ในเวทนา หรือ โมหะ อยู่แค่ในสังขาร แต่มีอยู่ใน ทุกขันธ์เลย

.6.(คำถามต่อเนื่อง) ..แต่...ไม่ได้หมายความว่า ให้ละการเกิดของจิตทั้งหมดเลย ใช่ไหม เพราะเนื่องจากว่า...

- รูป ...ก็ เป็นแค่ รูป ไม่ได้เป็น กุศล หรือ อกุศล !!
- สัญญา ...ก็ เป็นแค่ สัญญา ไม่ได้เป็น กุศล หรือ อกุศล !!
- สังขาร (ที่ไม่มี ราคะ โทสะ โมหะ) ...ก็ เป็นแค่ สังขาร ไม่ได้เป็น กุศล หรือ อกุศล !!
- วิญญาณ ...ก็ เป็นแค่ วิญญาณ ไม่ได้เป็น กุศล หรือ อกุศล !!

ตอบ ถูก ครับ ไม่ได้ ให้ ละการเกิดของจิต เพราะธรรมชาติของจิต มันเกิดดับของมัน มันมีอยู่แล้ว ตามธรรมชาติ เราไปทำให้มันไม่เกิด ไม่ได้ ยกเว้นว่า เราปรินิพพานดับขันธ์ ไปนั่นแหละ ครับ

ส่วน เรื่อง กุศล หรือ อกุศล มันเกิดขึ้นในจิต เท่านั้นครับ ส่วน รูป เวทนา สัญญา สังขาร เป็น ภพ หรือ ที่ตั้งอาศัย ของ กุศล และ อกุศล ที่เกิดขึ้นในจิต เท่านั้น


7.(คำถามต่อเนื่อง ).คือเป็นไปไม่ได้ ที่จะไปละการเกิดของ รูป นาม ทั้งหมด แต่ให้ละเฉพาะ กิเลส ที่เจืออยู่ในจิต เท่านั้น นอกนั้น มันก็เกิดขึ้น และ ดับไป ตามเหตุ ตาม ปัจจัย ของมัน เพราะ ต่อให้ บรรลุอรหันต์ แล้ว ขันธ์ก็ยังมีอยู่ คือนิพพานตอนยังเป็นๆ ถ้าจิตดับหมด คือ ดับตอน ร่างกายตาย แตกดับ คือ เป็น นิพพาน จริงๆ นั่นเอง...

ตอบ ข้อนี้ เข้าใจ ถูกแล้ว ครับ


โดย: จูปีเตอร์เทพแห่งดาวพฤหัส วันที่: 19 กันยายน 2553 เวลา:16:39:30 น.  

 
1..คืออยากถามว่า...ตกลง หมายความว่า ถ้า ปฏิบัติ เร่งความเพียร อย่างจริงจัง ทุกๆวันไปอย่างต่อเนื่อง ก็จะสำเร็จถายในระยะเวลา อย่างมากไม่เกิน 7 ปี หรือ อาจจะแค่ 7 วัน ก็บรรลุอรหัตผล ได้ ใช่ไหมครับ ขึ้นอยู่กับปัญญาที่สั่งสมมา เต็มรอบหรือยัง...?

ตอบ ใช่ ครับ ถูกต้องแล้ว ครับ

2. แล้วคำว่า ๗ ปี ยกไว้ ๑ ปียกไว้ ๗ เดือนยกไว้ กึ่งเดือนยกไว้ นี่หมายความว่า อะไรครับ...ไม่เข้าใจ...?

ตอบ คำว่า ยกไว้ ก็หมายถึง อาจจะไม่ถึง เช่น 7 ปี ยกไว้ก็ หมายถึงว่า อาจจะไม่ถึง 7 ปี หรือ กึ่งเดือนยกไว้ ก็หมายความว่า อาจจะไม่ถึง ครึ่งเดือน ก็ บรรลุ เป็นพระอรหันต์ได้

3. แล้วทำไม ต้องเน้นกล่าวไปที่ (อรหันต์ และ อนาคามี)อีกแล้ว แล้ว (โสดาบัน) และ (สกทาคามี) ไปไหน ...หรือว่า ถ้า ปฏิบัติ แบบ ไม่เร่งความเพียรมาก ไม่จริงจังมาก ไม่ทุกวันและไม่ค่อยต่อเนื่อง คือ ย่อหย่อนลงมา ก็จะได้โสดาบัน แบบนี้หรือครับ...??

ตอบ ก็ อย่างที่เคย อธิบายเรื่อง อานิสงค์ ของอานาปาฯว่า โสดาบัน แค่ เปลี่ยนความเห็น กับมีศีล 5 เท่านั้น พอเริ่ม หันมาทำสติปัฏฐาน แบบต่อเนื่อง และจริงจัง และปฎิบัติให้เป็นไปเพื่อบรรลุมรรคผลนิพพาน แสดงว่า ผู้นั้น ต้องเริ่มมี คุณสมบัติในความเป็นพระโสดาบันแล้ว แล้ว ทำสติปัฏฐาน 4 ไปเรื่อยๆแบบจริงจัง ที่มีความเพียรมาก พระพุทธเจ้าก็ ประกัน เรื่องเวลาไว้ว่า ไม่เกิน 7 ปี บรรลุได้แน่นอน

ฉะนั้น โสดาบัน กับ สกทาคามี ยังไม่ต้อง ทำอะไรมาก แค่มีศีล 5 บริบูรณ์ และ เริ่มตั้งใจ จะปฏิบัติเพื่อ ไปนิพพาน ก็ได้คุณสมบัตินั้นแล้ว จากนั้นเมื่อ ตั้งใจ ทำให้มาก ก็ ได้อรหันต์แน่นอน พระพุทธเจ้าว่างั้น


4. คือ...ยกตัวอย่าง เนื้อหาลักษณะนี้ ใช่ พระพุทธพจน์ไหมครับ หรือไม่ใช่ เพราะผมดูไม่ออก เช่น..

มหาวรรค อานาปาณกถา

[๓๖๒] เมื่อพระโยคาวจรเจริญสมาธิอันปฏิสังยุตด้วยอานาปานสติมีวัตถุ ๑๖ ญาณ๒๐๐ อันเนื่องมาแต่สมาธิย่อมเกิดขึ้น คือ ญาณในธรรมอันเป็นอันตราย ๘ ญาณในธรรมอันเป็นอุปการะ ๘ ญาณในอุปกิเลส ๑๘ ญาณในโวทาน ๑๓ ญาณในความเป็นผู้ทำสติ ๓๒ ญาณด้วย
สามารถสมาธิ ๒๔ ญาณด้วยสามารถวิปัสสนา ๗๒นิพพิทาญาณ ๘ นิพพิทานุโลมญาณ ๘ นิพพิทาปฏิปัสสัทธิญาณ ๘ ญาณในวิมุติสุข ๒๑ ฯ

ตอบ แบบนี้ ไม่ใช่ พุทธวัจน ครับ ถ้า มี การ กล่าวขึ้นมาลอยๆ หรือ ขึ้นต้นด้วย บทว่า ว่าที่ ความว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ หรือ เอยขึ้นมาลอยๆแบบนี้ เป็น อรรถกถาแต่งขึ้นเอง ครับ

ส่วน พุทธวัจน จะขึ้นต้นด้วย ดูกร ภิกษุ ท.! ,ดูกร!อานนท์, ดูกร! สาลีบุตร, ดูกร! โมคัลลานะ ,ดูกร พราหม ,ดูกร คหบดี ดูกรมานพ ดูกร ท่านผู้เป็นจอมเทพ หรือ อาจจะ ไม่มีคำว่าดูกร แต่ ทรงเรียกชื่อ คนที่พระองค์จะตรัสด้วย เช่น พาหิยะ ปุณณะ วัจฉะ อานนท์ มารุมกายบุตรฯลฯ แล้ว ก็ ตามด้วย เนื้อหาธรรมะ ครับ แบบนี้ จึงจะเป็นพุทธวัจน


โดย: จูปีเตอร์เทพแห่งดาวพฤหัส วันที่: 19 กันยายน 2553 เวลา:17:11:50 น.  

 
...อ๋อครับ งั้นเดี๋ยว ย้อนไปดู คำตอบก่อนหน้า ก่อน คือ...

...ส่วนใหญ่พอเข้าใจแล้วครับ สรุปก็คือ...

(พระอรหันต์ ไม่มีเจตนาแล้ว)

(และที่บอกว่า ราคะ โทสะ โมหะ อยู่ใน ทุกขันธ์เลย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร เป็น ภพ หรือ ที่ตั้งอาศัย ของ กุศล และ อกุศล ที่เกิดขึ้นในจิต เท่านั้น แต่ไม่ได้เกิดในรูป ...แต่รูป เป็น เพียง ปัจจัย ให้จิตอาศัยเกิด กุศล หรือ อกุศล นั่นเอง แต่ตัวรูปเอง ไม่ได้เป็น กุศล หรือ อกุศล แต่เป็นที่จิต)

**********************

...และมีรายละเอียดที่ยังไม่แจ่มแจ้ง ถามต่อ คือว่า...

1. ที่บอกว่า พระอรหันต์ ก็ ยังมีขันธ์ทั้ง 5 ทำงานครบ คือ สอุปาทิเสสนิพพาน ก็ ยัง มีสุข ทุกข์ ได้ ตรงนี้หมายถึง สุข ทุกข์ แบบไหนครับ สุขกาย และ ทุกข์กาย และ อุเบกขา แค่ 3 ใช่ไหม ใช่ไหม...?

...และ อนุปาทิเสสนิพพาน ท่าน ตัดที่เวทนาเลย พอ ผัสสะมากระทบปุ๊ป ท่าน วางเลย ก็ จะ ไม่มี สุข ไม่มี ทุกข์...เอ๊ ตรงนี้ ยังไม่เข้าใจครับ ? คือ พระอรหันต์ ยังมีเวทนา ทั้ง 5 เลย หรือครับ คือ...

1 สุขกาย
2 ทุกข์กาย
3 สุขใจ(ราคะ)-(อภิชชา)
4 ทุกข์ใจ(โทสะ)-(โทมนัส)
5 อุเบกขา

...เพราะบอกว่า ท่าน ตัดที่เวทนาเลย พอ ผัสสะมากระทบปุ๊ป ท่าน วางเลย เอ๊ คือ พอ อภิชชา และ โทมนัส เกิด ก็วางได้ทันทีเลย แบบนี้หรือครับ แต่ผมเข้าใจว่า มันไม่มีเกิดเลยไม่ใช่หรือครับ ?? เพราะไม่งั้นก็ขัดกับ การที่บอกว่า...

(พระอรหันต์ เปรียบเหมือน ถูกลูกศรแทง ดอกเดียว คือ มีแค่ (สุขกาย และ ทุกข์กาย) เพราะยังมี ร่างกายอยู่ เช่น...

(พอ สุขกายเกิด XอภิชชาX ก็ไม่เกิด)
(พอ ทุกข์กายเกิด XโทมนัสX ก็ไม่เกิด)

...คือ ไม่เกิดเลย ไม่ใช่หรือครับ ไม่ใช่ เกิด แต่ดับทันที ตกลงเป็นแบบไหนกันแน่ครับ งง ระหว่าง (ไม่เกิดเลย) หรือ (เกิดแต่ว่าดับได้ทันที) เพราะไม่มี อุปาทาน...???

2. แล้ว ตัว เอกัคคตา นี่ ก็คือ ตัว อุเบกขา(ไม่อิงอามิส) ตัวเดียวกัน ใช่ไหมครับ...

3. และ ตัว อุเบกขา นี่ เป็น กุศล หรือ อกุศล ครับ แต่ผมเข้าใจว่า ไม่ใช่ทั้ง กุศล และ อกุศล ถูกไหมครับ...แล้วที่กล่าวว่า (ถ้าละความเพลินในอุเบกขาได้ จิตก็สิ้น อวิชชาสวะ ได้เลย)...

...นี่แสดงว่า อุเบกขา เป็น อกุศล หรือ !!! เพราะ ถ้า เป็นกลางๆ(คือไม่เป็น กุศล และ อกุศล) แล้ว ละอุเบกขา แล้ว ทำให้ จิตสิ้น อวิชชาสวะ ได้ไงครับ...เพราะต้องละ กรรมดำและกรรมขาว ถึงจะทำไห้ สิ้น อวิชชาสวะ ได้ หรือว่า หมายความว่ายังไงครับ งง ...?

4.ข้อนี้เป็นในส่วนของการปฏิบัติ นะครับ...
...คือขณะ ปฏิบัติ ผมจะไม่ไปสนใจที่รูปน่ะครับ ผมจะสนใจที่ จิตเท่านั้น คือไม่สนใจหรอกว่า...

จะเป็น ...(ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)
จะเป็น ...(รูป เสียง กลิ่น รส โผฐัพะ)

...แต่ผมจะ สนใจที่ จิต เลย...คือดูอยู่ที่ จิตเลย เพราะก็เหมือนกัน แต่ง่ายกว่า และไม่ต้อง พิจรณา มาก เพราะ เรากำลัง ละคลายจาก สังขตธรรมทั้งหมด แบบนี้ เลย ดีไหมครับ ...???


โดย: อะไรกัน@งง 0_o IP: 192.168.1.57, 61.7.133.171 วันที่: 19 กันยายน 2553 เวลา:19:05:04 น.  

 
ตอบ คุณ อะไรกัน

1.ที่บอกว่า พระอรหันต์ ก็ ยังมีขันธ์ทั้ง 5 ทำงานครบ คือสอุปาทิเสสนิพพาน ก็ ยัง มีสุข ทุกข์ ได้ ตรงนี้หมายถึงสุข ทุกข์ แบบไหนครับ สุขกาย และ ทุกข์กาย และอุเบกขา แค่ 3 ใช่ไหม ใช่ไหม...?

ตอบ ที่จริง จะบอกว่า สุขกาย หรือ ทุกข์กาย ไม่ได้ ครับเพราะ สุข ทุกข์ เกิดที่ใจ ไมได้เกิดที่กาย ครับ กาย มันสุข หรือทุกข์ ไม่ได้ ถ้าไม่มีใจ เข้าไปรับรู้ และใจ เป็น ผู้ปรุงแต่ง ว่า สุข ทุกข์ หรือ อุเบกขา

1.2. (คำถามต่อเนื่องจากข้อ 1).และ อนุปาทิเสสนิพพาน ท่าน ตัดที่เวทนาเลย พอ ผัสสะมากระทบปุ๊ป ท่าน วางเลย ก็ จะ ไม่มี สุข ไม่มี ทุกข์...เอ๊ ตรงนี้ ยังไม่เข้าใจครับ ? คือ พระอรหันต์ ยังมีเวทนา ทั้ง 5 เลย หรือครับคือ...

1 สุขกาย 2 ทุกข์กาย 3 สุขใจ(ราคะ)-(อภิชชา) 4 ทุกข์ใจ(โทสะ)-(โทมนัส)5 อุเบกขา

ตอบ ก็ อย่างที่บอกแล้ว กาย ไม่มีสุข ทุกข์ อะไร ผู้ที่สุข ทุกข์ อุเบกขา คือใจ ครับ

1.3.คำถามต่อเนื่อง...เพราะบอกว่า ท่าน ตัดที่เวทนาเลยพอ ผัสสะมากระทบปุ๊ป ท่าน วางเลย เอ๊ คือ พอ อภิชชาและ โทมนัส เกิด ก็วางได้ทันทีเลย แบบนี้หรือครับ แต่ผมเข้าใจว่า มันไม่มีเกิดเลยไม่ใช่หรือครับ ?? เพราะไม่งั้นก็ขัดกับ การที่บอกว่า...

(พระอรหันต์ เปรียบเหมือน ถูกลูกศรแทง ดอกเดียว คือ มีแค่ (สุขกาย และ ทุกข์กาย) เพราะยังมี ร่างกายอยู่ เช่น...
(พอ สุขกายเกิด XอภิชชาX ก็ไม่เกิด)(พอ ทุกข์กายเกิด XโทมนัสX ก็ไม่เกิด)

...คือ ไม่เกิดเลย ไม่ใช่หรือครับ ไม่ใช่ เกิด แต่ดับทันที ตกลงเป็นแบบไหนกันแน่ครับ งง ระหว่าง (ไม่เกิดเลย) หรือ (เกิดแต่ว่าดับได้ทันที) เพราะไม่มี อุปาทาน...???

ตอบ พระอรหันต์ อนุปาทิเสส นิพพาน ไม่มี สุข ทุกข์มากระทบ ในจิตเลย ครับ แสดงว่าพอผัสสะกระทบ
ปุ๊ปท่านรู้ตัวแล้วตัดเลย เอาเป็นว่า สุข ทุกข์ ไม่เกิด ครับ มีแต่อุเบกขา ตามนั้น ครับ ส่วนคำถามที่กล่าวมาที่ว่ามีลูกศรแทงนี่ ไม่รู้ เป็นคำกล่าวของใคร สุขกาย ทุกข์กาย นี่ก็ ผิดแล้ว สุข ทุกข์ เกิดที่จิต ครับ กายไม่ได้มีสุขทุกข์อะไร กายเป็นแค่ธาตุดิน ครับ จิต เข้าไปรับรู้แล้วจึงเกิดสุขหรือ ทุกข์

ส่วนพวกที่เกิด สุข ทุกข์แล้ว วางได้เร็ว หรือ ดับทันที ยังถือว่า เป็น พวก สอุปาทิเสสนิพพาน ครับ

2. แล้ว ตัว เอกัคคตา นี่ ก็คือ ตัว อุเบกขา(ไม่อิงอามิส) ตัวเดียวกัน ใช่ไหมครับ...

ตอบ เอกัคคตา หมายถึง จิตตั้งมั่น มีอารมณ์อันเดียว จะว่า เป็น อุเบกขาที่ไม่อิงอามิส ก็ ได้ ครับ

3. และ ตัว อุเบกขา นี่ เป็น กุศล หรือ อกุศล ครับ แต่ผมเข้าใจว่า ไม่ใช่ทั้ง กุศล และ อกุศล ถูกไหมครับ...แล้วที่กล่าวว่า (ถ้าละความเพลินในอุเบกขาได้ จิตก็สิ้น อวิชชาสวะ ได้เลย)...

...นี่แสดงว่า อุเบกขา เป็น อกุศล หรือ !!! เพราะ ถ้า เป็นกลางๆ(คือไม่เป็น กุศล และ อกุศล) แล้ว ละอุเบกขาแล้ว ทำให้ จิตสิ้น อวิชชาสวะ ได้ไงครับ...เพราะต้องละ กรรมดำและกรรมขาว ถึงจะทำไห้ สิ้น อวิชชาสวะ ได้ หรือว่าหมายความว่ายังไงครับ งง ...?

ตอบ อุเบกขา นี่เป็น กุศล ครับ จะสิ้น อวิชชาสวะ ได้ ก็ต้อง ละทั้ง กุศล และ อกุศล ครับ ถึงเป็น กุศล ก็ ต้องละธรรมะของพระพุทธเจ้า ถึงฝั่งแล้วก็ ต้องทิ้งหมดเช่นกันไม่แบกไปด้วย ก็ อุเบกขานี่เป็น กรรมขาว ครับ จะ สิ้นอวิชชาก็ ต้องละ ทั้ง กรรมดำ และกรรมขาว ครับ

4.ข้อนี้เป็นในส่วนของการปฏิบัติ นะครับ......คือขณะปฏิบัติ ผมจะไม่ไปสนใจที่รูปน่ะครับ ผมจะสนใจที่ จิตเท่านั้น คือไม่สนใจหรอกว่า... จะเป็น ...(ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) จะเป็น ...(รูป เสียง กลิ่น รส โผฐัพะ)

...แต่ผมจะ สนใจที่ จิต เลย...คือดูอยู่ที่ จิตเลย เพราะก็เหมือนกัน แต่ง่ายกว่า และไม่ต้อง พิจรณา มาก เพราะ เรากำลัง ละคลายจาก สังขตธรรมทั้งหมด แบบนี้ เลย ดีไหมครับ ...???

ตอบ ดีมาก แล้ว ครับ ทำมาถูกทางแล้ว อนุโมทนาด้วยน๊ะครับ


โดย: จูปีเตอร์เทพแห่งดาวพฤหัส วันที่: 19 กันยายน 2553 เวลา:21:58:47 น.  

 
(((สรุปก็คือส่วนใหญ่ เข้าใจแล้วครับ)))

... ถ้างั้น คำว่า (สุขกาย และ ทุกข์กาย) ก็หมายถึง โผฏฐัพพารมณ์ ที่มากระทบ กาย นั่นเอง เช่นมี ของมากระทบกาย ไม่ว่าจะเป็น เย็น หรือ ร้อน อ่อน หรือ แข็ง ตึง หรือ ไหว...

...แต่พอกระทบ แล้ว ก็รู้ว่า กายกระทบ กับ โผฏฐัพพารมณ์ แต่ตัว โผฏฐัพพารมณ์เอง ยังไม่ใช่ เวทนา นั่นเอง และ โผฏฐัพพารมณ์ จะ หนักขนาดไหน ก็ยังเป็น แค่ โผฏฐัพพารมณ์ ใช่ไหมครับ เช่น ถูกกระทบอย่างแรง เช่นถูกตี หกล้ม เจ็บป่วย แขนขาด ขาขาด ฯลฯ...แต่ยังไม่ใฃ่เวทนา ทั้ง 3 นั่นเอง...คือถึงร่างกายจะเป็นอะไรยังไง แต่ถ้าไม่มีจิต ร่างกายก็เป็นแค่ ธาตุ...นั่นเอง

...แต่ทำไม ค้นคำว่า "ปสาท" หรือ "ปสาทะ' และ "กายปสาท" ดันเจอแต่ใน ส่วน ของ พระอภิธรรมปิฎก งั้นคำนี้ ไม่ใช่ พุทธวจณ หรือครับ....?

...แล้วคำพวกที่อธิบายเกี่ยวกับ กรรม เช่น...

-ชนกกรรม (กรรมแต่งให้เกิด)
-อุปัตกัมภกกรรม (กรรมสนับสนุน)
-อุปปีฬกกรรม (กรรมบีบคั้น)
-อุปฆาตกกรรม(กรรมตัดรอน)

...พยัญชนะ และ อรรถะ เหล่านี้ ใช่ พระพุทธวจณไหม ครับ เพราะค้นดูก็มีใน พระสุตตันตปิฎก พระไตรปิฎก ฉบับมหามกุฏฯ นะครับ แต่อยู่ในส่วนของ อรรถกถา จริงๆด้วย และ ส่วนใหญ่จะ มีคำว่า บทว่า หรือ กล่าวขึ้นมาลอยๆ และหลายคำที่คุณนนท์ เอามาให้ดูเลยครับ ว่า คำขึ้นต้นแบบไหน ใช่ แบบไหนไม่ใช่...!!!

...งั้น ตกลงไม่ใช่ พุทธวจณ หรือครับ หรือว่า พยัญชนะ ไม่ใช่ แต่ เนื้อหา ใช่ไหมครับ พวก (กรรมแต่งให้เกิด กรรมสนับสนุน กรรมบีบคั้น กรรมตัดรอน) น่ะครับ หรือก็มี แต่ไม่ตรงกับ พุทธวจณ ทั้งหมด หรืออาจจะตรงบ้าง ไม่ตรงบ้าง ...เพราะ ก่อนนี้ ผมศึกษาและจำพวกคำและ เนื้อหา เหล่านี้ ได้น่ะครับ เพราะเห็นว่า สำคัญ...?

(((...งั้นก็ขออนุโมทนา ครับ ที่ชี้แนวทางและทำให้หาย งง...เพื่อจะได้เป็นแนวทางศึกศาและปฏิบัติ เพื่อ บรรลุ อมตะธรรม ต่อไป...)))


โดย: อะไรกัน IP: 192.168.1.57, 61.7.133.137 วันที่: 20 กันยายน 2553 เวลา:14:21:05 น.  

 
ตอบ คุณ อะไรกัน

1.คำว่า "ปสาท" หรือ "ปสาทะ' และ "กายปสาท" ดันเจอแต่ใน ส่วน ของ พระอภิธรรมปิฎก งั้นคำนี้ ไม่ใช่ พุทธวจณ หรือครับ....?

ตอบ ก็ คือ ไม่ใช่ พุทธวัจน ครับ เป็นคำสาวกแต่งเติมขึ้นใหม่เอง พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนครับ

2 -ชนกกรรม (กรรมแต่งให้เกิด)-อุปัตกัมภกกรรม (กรรมสนับสนุน)-อุปปีฬกกรรม (กรรมบีบคั้น)-อุปฆาตกกรรม(กรรมตัดรอน)

ตอบ คำพวกนี้ สาวก ก็ คิดเอง แต่งเติมขึ้นเอง พระพุทธเจ้า ก็ ไม่เคยสอนครับ

ถึง จะอยู่ในส่วน สุตันตะ แต่สาวก ก็แต่งเติมเข้าไปครับ วิธีสังเกตุ ว่า คำใหน เป็น พุทธวัจน ก็ ได้ เคยบอกไว้แล้วว่า ให้ สังเกตุ คำว่า ดูกร ภิกษุ ท ! หรือ เอยชื่อ ผู้ที่พระองค์ ทรงตรัสด้วย ครับ

คุณ อะไรกัน มัวแต่ไปจำในสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนมามากมาย แล้ว ก็ ไม่มีประโยชน์อะไรเลย ลบๆๆมันออกเสียบ้างครับ จำแต่ คำสอนพระพุทธเจ้าอย่างเดียวพอ ครับ พวกที่แต่งเติม ขึ้นใหม่ คงไม่เก่งไปกว่าพระพุทธเจ้าหรอก ครับ ทีแรกที่เราเรียน มั่วซั่ว เพราะ เราไม่รู้

ทีนี้ เรารู้แล้ว ว่า สาวก แต่งเติม ธรรมะเขียนเอาเองเข้าไปมากมาย ถูกมั่ง ผิดมั่ง มั่วมั่ง คิดเองมั่ง ใส่เข้าไปเยอะแยะ จนมั่วไปหมด แล้วคนก็ ไปจำ แต่คำพวกนี้ แล้ว ก็ ไม่เข้าใจ ธรรมะที่พระพุทธเจ้าสอนเลย ศาสนาเราจะเสื่อม ก็ เพราะ แบบนี้ แหละครับ

ผมจะบอกว่า ไม่เพียงแต่ ธรรมะ ที่ สาวก รุ่นหลัง แต่งเติมมั่วเข้าไป ในพระวินัย คุณอะไรกัน ลองไปเปิดดู

วินัย ข้อ ที่ 1 อาบัติ ปาราชิก พระพุทธเจ้า บอกใครทำผิด ถือว่าขาดจากความเป็นพระ

แต่ สาวก เข้าไปเติม อนาบัติ คือ ยกเว้น ได้ จะเห็นว่า มีข้อ มีจิต ฟุ้งซ่าน ก็ ถือว่ายกเว้น ไม่เป็นอาบัติ

แบบนี้ พระ ไปปล้ำ สีกา ก็ บอกว่า อาตมา มีจิตฟุ้งซ่าน ไม่ถือเป็นอาบัติ หรือ ครับ

นี่คือ ตัวอย่าง ที่ สาวก เติมเข้าไป ว่า ตัวเอง เก่งกว่าพระพุทธเจ้า แล้ว หุหุ พระพุทธเจ้า บอก ขาดจากความเป็นพระ แต่ สาวก เติมเข้าไปว่า ถ้า มีจิตฟุ้งซ่าน ไม่ถือเป็นอาบัติ นี่คือ ความเสื่อม ของ พระศาสนา

เพราะพวกสาวก มั่วซั่ว ที่ สำคัญตนผิด ว่าได้พระอรหันต์แล้ว เเต่งเติมคำของตัวเองเข้าไป มั่วซั่วไปหมด แล้ว คนก็ไปสนใจเรียนกันมาก

ใครมี เงิน มีพาว์เวอร์ ก็ เอา คำสอนตัวเองใส่เข้าไปในพระไตรปิฎก อีกหน่อย คง ได้เห็น พระไตรปิฎก ฉบับของวัดที่เพ่งลูกแก้ว เป็นแน่แท้ แล้ว ก็ จะแห่กันไปศึกษากัน เพราะ เขาจะพาไปนิพพานได้ หมดโลก นี่ เก่งกว่าพระพุทธเจ้า เสียอีก เวรกำ


โดย: จูปีเตอร์เทพแห่งดาวพฤหัส IP: 125.25.11.185 วันที่: 20 กันยายน 2553 เวลา:16:45:54 น.  

 
เซ็งลูกค้า อุเบขาหลุด มีเหวี่ยงนิดหน่อย... แต่ยังมีสติอยู่แต่ทำให้รู้สึกเบื่อหน่าย โลกนี้จัง ...........T_T


โดย: ครีม IP: 124.122.70.172 วันที่: 21 กันยายน 2553 เวลา:11:13:16 น.  

 
อิอิ อาครีม บอกแล้วให้ ทิ้ง บริษัท ไปอยู่วัด อิอิ


โดย: อานนท์ IP: 125.25.11.185 วันที่: 21 กันยายน 2553 เวลา:12:22:42 น.  

 
อชฺเชว กิจฺจมาตปฺปํ โก ชญฺญา มรณํ สุเว
น หิ โน สงฺครํ เตน มหาเสเนน มจฺจุนา

บุคคลควรทำความเพียรเผากิเลสเสียแต่วันนี้ ใครเล่าจะรู้ความตายจักมีในวันพรุ่งนี้
เพราะพวกเราไม่สามารถผ่อนผันกับมัจจุราชผู้มีกองทัพใหญ่นั้นได้

มีความสุขในชีวิต ด้วยการเตรียมพร้อมกับทุกสภาวะ ตลอดไป..นะคะ




โดย: พรหมญาณี วันที่: 21 กันยายน 2553 เวลา:13:06:43 น.  

 
เราทิ้งแระใครจะเลี้ยงแม่เราละ ขนาดอานนท์ไม่ต้องเลี้ยงแม่แล้วยังไม่ทิ้งเลย ชิ มาให้เราทิ้ง ... ดีนะที่ฝึกอุเบขามาพอสมควรไม่งั้นเมื่อคืนลูกค้ารายนี้โดนเราแน่ๆแหระ ....ทำไมพูดไม่เข้าใจก็ไม่รู้เลยมานั่งคิดเอ๊ะ หรือว่าเราพูดไม่รู้เรื่องเลยทำให้เขาไม่เข้าใจในคำพูดของเราแต่เราก็อธิบายจำได้ว่า ประมาณสองชั่วโมงนั่งอธิบายโทรมาอีกที เอ๊ะประเด็นเดิมเลย แสดงว่าเราพูดไม่เข้าใจหรือว่าเขาฟังไม่เข้าใจเริ่ม จะ งง แระ มาคิดอีกทีเราผิดหรือว่าเขาผิดเนี่ย กำ เราทำงานต้องมีเงือนไขของตัวเองและของบริษัท อย่างเราไม่ค่อยตามใจลูกค้าแบบได้ไปหมดทุกอย่างเราทำไม่ได้อะตามใจแบบนั้น เราเข้าใจนะว่าทำงานเหนื่อย แต่เราก็ต้องมีลิมิตความเหนื่อยของเราด้วยอะ ไม่ใช่ตามใจเขาตลอด แล้วบอกว่าเราไม่พบกันครึ่งทาง จริงๆเราอะ ให้เขาเกินครึ่งทางด้วยซ้ำ ยืดหยุ่นให้สุดๆเลยอะ คิดดูนะโทรมาหาเรา สามทุ่มครึ่งให้เรานั่งอ่านเงื่อนไขของเขา และให้ตอบกลับภายในสามทุ่ม กำก็เพิ่งจะส่งมา แล้วให้เราตอบกลับเป็นเมล์เราก็งง อะ แบบว่า ที่ส่งมาให้เราเป็นเงื่อนไขของทางบริษัทเขาทำกะลูกค้า ทำไมจะต้องให้เราอ่านและคอนเฟิมกลับไป เราก็อธิบายว่านั่นเป็นเงื่อนไขของคุณที่ทำกะลูกค้า แต่เราอะเป็นเงื่อนไขที่ทำกะสายการบิน คนละอย่างไม่เกี่ยวกันเพราะฉะนั้นคุณทำไปเลยไม่ต้องให้เราไปนั่งพรูฟอีกหรอก เขาก็ไม่ยอมเราก็ไม่เข้าใจหลักการทำงานยังบอกเราอีกว่าต้องทำให้เดียวนี้เพราะตอนเช้าจะส่งไปที่กระทรวงเราก็งง ก็ส่งไปดิเกี่ยวไรกะเรา บอกไปก็ไม่เข้าใจสักอย่าง เบื่อหน่ายกะการอธิบาย สี่ทุ่มครึ่งโทรมาอีกบอกว่าถ้าเราไม่ทำให้เขา เขาจะไปใช้อีกที่ที่ทำให้เขาได้เราเลยบอกถ้างั้นไปใช่ที่อื่นก็ได้ เราบอกว่าลูกค้าใครๆก็อยากได้แต่ถ้ามันทำงานกันลำบากขนาดนี้เราก็ไม่อยากจะทำ เราบอกเลยคุณเดินทางช่วง ไฮมากๆ ตั๋วก็เต็มโรงแรมก็เต็ม แต่จะมาบีบเราด้วยเงือนไขคุณเราไม่ทำเพราะเรายังไมได้รับการตอบรับจากทางสายการบินเลยให้เรา พรูฟไร เราไม่ทำ เฮอออ .....พิมพ์แระมันส์ไปหน่อย ระบายให้ฟังแระกันเมื่อคืนไมได้หลับได้นอนนั่งเซ็งจนเกือบเช้า


โดย: ครีม IP: 124.122.70.172 วันที่: 21 กันยายน 2553 เวลา:13:48:24 น.  

 
บ่นต่ออีกนิสสส คิดดูดิถ้าเป็นบริษัทอื่นเขาจะสามารถโทรมาให้ทำงานตอนกลางคืนขนาดนี้ได้มั้ยอะ ก็ไม่ใช่ปะนี้โทรมาจิก ให้เราทำงาน เราดูเวลา เฮ้ย นี่มันสี่ทุ่มครึ่งแล้วทำพรุ่งนี้ไมได้หรือไง ก็บอกว่าพรุงนี้ต้องทำเข้ากระทรวงเราก็อ่าว แล้วเวลาตัวเองเสาร์อาทิตย์ทำไมไม่ส่งมาให้เราทำ พอวันธรรมดาคนอื่นจะนอนพักผ่อน บอกไม่ได้ต้องรีบ เนี่ยแหระคนเรา ....


.... เรามีอุปาทานบางๆและ ไหลตามไปนิดหน่อยแต่ยังมีสติ แต่ก็ทิ้งไม่หมด มันไมได้เป็นอารมณ์นะแต่มันรู้สึกเบื่อหน่ายอะ เราไม่รู้ว่ามันกำลังจางคลาย หรือว่า ยังไงเพราะเราเห็นอะไรไม่เที่ยงตลอดสองวันนี้เป็นร้อยอย่าง
แล้วเราก็ทิ้งอารมณ์ตลอดเลย เรามองมันอัตโนมัติว่านี่ไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์ ....เห็นเยอะมากจนเซ็งเลยอะ เฮออ


โดย: ครีม IP: 124.122.70.172 วันที่: 21 กันยายน 2553 เวลา:14:01:30 น.  

 
อิอิ บ่น เป็น ยาย แก่ เลย อาครีม อิอิ


โดย: อานนท์ IP: 125.25.28.21 วันที่: 21 กันยายน 2553 เวลา:15:25:39 น.  

 
...อ่อ คุณ ครีม วุ่นกับงาน กับคน กับเรื่องราว ที่ไม่เป็นไปอย่างที่ควรจะเป็น งั้นขอเป็นกำลังใจให้นะครับ ...ขอให้จิตหลุดพ้นจาก สิ่งทั้งหลายที่เป็น สมมุติ ทั้งหมด ออกมาสู่โลกแห่งความเป็นจริง ที่ไม่มี คน ไม่มี เรื่องราว มีแต่ สภาวะ ของรูปนาม และธาตุ ทั้งหลาย ที่ เป็นปัจจัยหนุนเนืองซึ่งกันและกัน เท่านั้น...

แต่เรา มีหน้าที่ ในการ ทำเหตุปัจจัย ไปในทางที่ควรจะเป็น เพื่อยู่รอดในชีวิต แต่ ความเข้าใจจะตั้งอยู่ บน ความเป็นจริงที่ ไม่มี สัตว์ บุคคล ตัวตน ใดๆทั้งสิ้น ถ้าเข้าใจแบบนั้นได้ ถึงจะมีใครมาทำให้เราโกรธ เราก็ ไม่โกรธ เพราะ ใคร โกรธ ใคร ไม่มีใครเลย ไม่มีเรา ไม่มีเขา ไม่มี สัตว์ บุคคล ตัวตน อะไรทั้งนั้น จึงไม่มีเราที่ไปโกรธเขา มีแต่ สภาวะ ธรรมธาตุ แต่ละอย่างๆ ที่ เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป และ เป็นปัจจัย หนุนเนืองต่อๆกันมา และดับไปหมดแล้ว เพราะ ทุกสิ่งมีอายุอยู่เพียงแค่ ขณะจิตเดียว เท่านั้น

ผมลองมาคิดดู กับตัวผมเองเวลามีปัญหาอะไร ผมจะไม่โกรธ ใครเลย เช่น คนนั้น นิสัยไม่ดี ทำไมคิด และทำแบบนั้น ทำแบบนั้น เดือดร้อนคนอื่น หรืออะไรต่างๆนานา

แต่จริงแล้ว เราไปสร้างเรื่องราวที่เป็นความสมมุติ ทั้งหมด เองต่างหาก เพราะจริงๆแล้ว มีแค่ รูปธรรม กับ นามธรรม เป็นปัจจัย หนุนเนือง ซึ่งกันและกัน แค่นั้นเอง เราไปคิดต่างๆนานา ทำให้โลกมีอะไรมากมาย หลากหลาย แต่จริงๆแล้ว ทุกสิ่งมีแค่ รูปธาตุ และ นามธาตุ เป็นปัจจัยหนุนเนืองกัน และ มีอายุอยู่เพียงแค่ เสี้ยววินาที เท่านั้น ก็ดับไปหมดแล้ว...

ผมรู้ว่า ที่พิมพ์มา คุณ ครีม รู้หมดแล้วล่ะครับ แต่ก็พิมพ์ไปงั้นแหละ เพื่อเป็นกำลังใจ ต่อ กัลยาณมิตร ด้วยกันนะครับ และ เพื่อทบทวน ความเข้าใจของผมด้วยน่ะครับ .......0_o

สำหรับผมเอง ต้องรีบแล้วล่ะครับ ถ้าเร่งความเพียรตั้งแต่ เมื่อ 10 ปีที่แล้ว ป่านนี้ ผมคงได้ ธรรมจักษุ ไปแล้ว แต่ดันเพิ่งมาเจอคุณ นนท์ เลย เพิ่งมาจับแนวทางถูก เหมือนผมมีรถอยู่แล้ว แต่ไม่รู้ วิธีขับ แต่คุณ นนท์ มาสอนวิธีขับรถ ให้ผมไงครับ 555..............ขออนุโมทนา....ZZZZZZZZ


โดย: อะไรกัน IP: 118.174.191.190 วันที่: 21 กันยายน 2553 เวลา:15:31:00 น.  

 
ขอบคุณอะไรกันมากค่ะ....โลกนี้มันวุ่นวายจริงๆแหระค่ะบางทีการที่เราเจริญวิปัสนา ก็ทำให้เห็นถึงความเบื่อหน่ายว่าโลกนี้มัน ไม่มีไรเที่ยงเลย ยึดสิ่งไหนก็ทุกข์หมดทุกอย่าง จนเรากลัวนะเพราะว่าทุกๆวันเราก็จะสารวนอยู่แต่เรื่องที่เป็น ความเป็นไปของโลกนี้ทั้งนั้น กลัวว่ามันจะกลืนเราไป เพราะเราจะชินต่อการอยากได้อยากมี โน้นนี้นั่นตลอดเวลา บางทีคิดนะค่ะ ว่า เอ๊ะเราจะไปบวชสะเลยดีมั้ยเพราะ เรากลัวความเพียรเราจะถอยกลับ นี่ไมได้พูดเล่นนะ กลัวจริงๆ


โดย: ครีม IP: 124.122.70.172 วันที่: 21 กันยายน 2553 เวลา:16:03:49 น.  

 
ก็ พยายาม ออกจาก โลก สมมุติ ไปก่อน จับ ฉวยได้ไว ใน กุศลธรรม อะไรทำได้ ก็ ทำไปก่อน ในเมื่อ เรายังทิ้ง ทุกอย่างไม่ได้ ก็ ทำเท่าที่เราทำได้นั่นแหละ ได้แค่ใหน ก็ แค่นั้น อานนท์ เอง ก็เหมือนกัน อยากไป แต่ ก็ ยังไปไม่ได้ รอเหตุ ปัจจัย พร้อม ก่อน มันก็ คงไปเอง แต่ตอนนี้ เราก็ ทำในสิ่งที่เราทำได้ ทำให้เต็มที่รึยังหละ ทุกสิ่งมันหลอกเราให้หลง ทั้งนั้น เเต่ เรา ก็ ยังไม่เข้มแข็งพอที่จะตัดมันให้ขาดได้ T_T


โดย: อานนท์ IP: 125.25.28.21 วันที่: 21 กันยายน 2553 เวลา:16:27:37 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

จูปีเตอร์เทพแห่งดาวพฤหัส
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




ดูกรภิกษุทั้งหลาย : บัดนี้ เราขอเตือนพวกเธอว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา พวกเธอจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด ฯ
Friends' blogs
[Add จูปีเตอร์เทพแห่งดาวพฤหัส's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.