ความดับลงแห่งกองทุกข์ มีได้เพราะการดับไปแห่งความเพลิน
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2553
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
14 ตุลาคม 2553
 
All Blogs
 
ทรงตรัส กับ พระราหุล ถึง ข้อปฎิบัติเกี่ยวกับ ธาตุ ห้า




ข้อปฎิบัติเกี่ยวกับ ธาตุ ห้า


..........ราหุล ! รูป อย่างใดอย่างหนึ่ง อันเป็นภายใน เฉพาะตน เป็นของหยาบ มีลักษณะ เเข้นแข็ง อันอุปาทาน ( ของคนหรือสัตว์ ) เข้าไปถือเอาแล้ว ตัวอย่างเช่น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไตหัวใจ ตับ พังผืด ปอด ลำไส้ ลำไส้สุด อาหารในกระเพาะ อุจจาระ หรือจะยังมีรูปแม้อื่น อันเป็นภายใน เฉพาะตน เป็นของหยาบ มีลักษณะ เเข้นแข็ง อันอุปาทาน ( ของคนหรือสัตว์ ) เข้าไปถือเอาแล้ว อย่างเดียวกันนี้

..........ราหุล ! นี้เรียกว่า ปฐวีธาตุ อันเป็นภายใน ปฐวีธาตุ อันเป็นภายในด้วย ภายนอกด้วย นั้น ก็เป็น สักว่า ปฐวีธาตุ เสมอกัน ใครๆพึงเห็น ปฐวีธาตุนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามที่เป็นจริง อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ครั้นเห็นปฐวีธาตุ นั้นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริง อย่างนี้แล้ว จิตย่อมเบื่อหน่ายต่อปฐวีธาตุ ย่อมคลายกำหนัดจากปฐวีธาตุ

..........ราหุล ! เธอจงอบรมจิตให้เสมอด้วยแผ่นดิน (ปฐวี ) เถิด เมื่อเธออบรมจิตให้เสมอด้วยแผ่นดิน อยู่ผัสสะทั้งหลายที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจอันเกิดขึ้นแล้ว จักไม่กลุ้มรุมจิตตั้งอยู่

..........ราหุล ! เปรียบเหมือนเมื่อคนเขาทิ้งของสะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้าง ทิ้งคูถ บ้าง มูตร บ้าง ทิ้งน้ำลายบ้าง หนองบ้าง โลหิตบ้าง ลงบนแผ่นดิน แผ่นดินก็ไม่รู้สึกอึดอัดระอารังเกียจ ด้วยสิ่งเหล่านี้ฉันใด

..........ราหุล ! เธอจงอบรมจิตให้เสมอด้วยแผ่นดินเถิด เมื่อเธอ อบรมจิตให้เสมอด้วยแผ่นดินอยู่ ผัสสะทั้งหลายที่น่าพอใจ และไม่น่าพอใจ อันเกิดขึ้นแล้ว จักไม่กลุ้มรุมจิตตั้งอยู่ ฉันนั้นเหมือนกัน

.........ราหุล ! อาโปธาตุ เป็นอย่างไรเล่า ? อาโปธาตุ มีทั้งที่เป็นภายในและภายนอก

..........ราหุล ! อาโปธาตุ ที่เป็นภายใน เป็นอย่างไรเล่า ? อาโปธาตุ อันเป็นภายใน เฉพาะตน เป็นของเหลว อันอุปาทาน ( ของคนหรือสัตว์ ) เข้าไปถือเอาแล้ว ตัวอย่างเช่น น้ำดี เสลด หนอง โลหิต เหงื่อ มัน น้ำตา น้ำเหลืองน้ำลาย น้ำเมือก น้ำหล่อลื่นข้อ น้ำมูตร นี้ ก็ดี หรือ จะยังมีอาโปธาตุ อันเป็นภายใน เฉพาะตน เป็นของเหลว อันอุปาทานเข้าไปถือเอาแล้ว ไรๆอื่นนอกไปจากนี้ อันใดก็ดี

..........ราหุล ! อาโปธาตุทั้งสองประเภทนี้ เราเรียกว่า อาโปธาตุ อันเป็นภายใน อาโปธาตุ ที่เป็นภายในด้วย อาโปธาตุที่เป็นภายนอกด้วย นั้นก็เป็นสักว่า อาโปธาตุ เท่านั้น ใครๆพึงเห็นอาโปธาตุนั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ครั้นเห็นอาโปธาตุด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริง อย่างนี้แล้ว จิตย่อมเบื่อหน่าย ต่ออาโปธาตุ ย่อมคลายกำหนัดจากอาโปธาตุ

..........ราหุล ! เธอจงอบรมจิตให้เสมอด้วยน้ำ ( อาโป ) เถิด เมื่อเธออบรมจิตให้เสมอด้วยน้ำอยู่ ผัสสะทั้งหลายที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจอันเกิดขึ้นแล้ว จักไม่กลุ้มรุมจิตตั้งอยู่ ( ข้อความ ต่อไปจากนี้ ตรัสถึงการที่ น้ำ ไม่อึดอัดระอาต่อสิ่งปฎิกูลและไม่ปฎิกูลนานาชนิด( ดังที่กล่าวแล้วในตอนที่ว่าด้วยธาตุดิน )ที่เขาล้างลงไปในน้ำ อันเป็นอุปมาของจิตที่อบรมแล้วเสมอด้วยน้ำ ฉันใดก็ฉันนั้น )

..........ราหุล ! เตโชธาตุ เป็นอย่างไรเล่า ? เตโชธาตุ มีทั้งที่เป็นภายในและเป็นภายนอก

..........ราหุล ! เตโชธาตุที่เป็นภายใน เป็อย่างไรเล่า ? เตโชธาตุอันใด อันเป็นภายใน เฉพาะตน เป็นของเผาผลาญ อันอุปาทานเข้าไปถือเอาแล้วตัวอย่างเช่น ไฟที่ยังกายให้อุ่น ไฟที่ยังกายให้ทรุดโทรม ไฟที่ยังกายให้กระวนกระวาย และไฟที่เผาอาหารอันกินแล้ว ดื่มแล้ว เคี้ยวแล้ว ลิ้มแล้ว ให้แปรไปโดยชอบ นี้ก็ดี หรือ จะยังมีเตโชธาตุ อันเป็นภายใน เฉพาะตน เป็นของเผาผลาญ อันอุปาทานเข้าไปถือแล้ว ไรๆอื่นนอกไปจากนี้ อันใด ก็ดี

..........ราหุล ! เตโชธาตุทั้งสองประเภทนี้ เรียกว่า เตโชธาตุ อันเป็นภายในเตโชธาตุอันเป็นภายในด้วย เตโชธาตุอันเป็นภายนอกด้วย นั้นก็เป็นสักแต่ว่า เตโชธาตุ เท่านั้น ใครๆพึงเห็น เตโชธาตุนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามที่เป็นจริง อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ครั้นเห็นเตโชธาตุนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้แล้ว จิตย่อมเบื่อหน่ายต่อเตโชธาตุ ย่อมคลายกำหนัดจากเตโชธาตุ

..........ราหุล ! เธอจงอบรมจิตให้เสมอด้วยไฟ ( เตโช ) เถิด เมื่อเธออบรมจิต ให้เสมอด้วยไฟอยู่ ผัสสะทั้งหลายที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจ อันเกิดขึ้นแล้ว จักไม่กลุ้มรุมจิตตั้งอยู่ ( ข้อความต่อไปจากนี้ ตรัสถึงการที่ไฟ ไม่อึดอัดระอาต่อสิ่งปฎิกูลและไม่ปฎิกูลนานาชนิด ( ดังกล่าวแล้วในตอนธาตุดิน ) ที่เขาทิ้งลงไปให้มันไหม้ อันเป็นอุปมา ของจิต ที่อบรมแล้ว เสมอด้วยไฟ ฉันใดก็ฉันนั้น )

..........ราหุล ! วาโยธาตุ เป็นอย่างไรเล่า? วาโยธาตุ มีทั้งที่เป็นภายในและ เป็นภายนอก

..........ราหุล ! วาโยธาตุที่เป็นภายใน เป็นอย่างไรเล่า ? วาโยธาตุอันใด อันเป็นภายใน เฉพาะตน เป็นของพัดไปมา อันอุปาทาน เข้าไปถือเอาแล้วตัวอย่างเช่น ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในใส้ ลมแล่นไปตามอวัยวะน้อยใหญ่ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก นี้ก็ดี หรือ ยังจะมี วาโยธาตุ อันเป็นภายใน เฉพาะตน เป็นของพัดไปมา อันอุปาทานเข้าไปถือเอาแล้ว ไรๆอื่นนอกไปจากนี้ อันใดก็ดี

..........ราหุล ! วาโยธาตุทั้งสองประเภทนี้ เรียกว่า วาโยธาตุ อันเป็นภายใน วาโยธาตุอันเป็นภายในด้วย วาโยธาตุอันเป็นภายนอกด้วย นั้นก็ สักว่า วาโยธาตุ เท่านั้น ใครๆพึงเห็นวาโยธาตุด้วยปัญญาอันชอบตามที่เป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ครั้นเห็นวาโยธาตุนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้แล้ว จิตย่อมเบื่อหน่ายต่อวาโยธาตุย่อมคลายกำหนัดจากวาโยธาตุ

..........ราหุล ! เธอจงอบรมจิตให้เสมอด้วยลม ( วาโย ) เถิด เมื่อเธออบรมจิตให้เสมอด้วยลมอยู่ ผัสสะทั้งหลาย ที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจ อันเกิดขึ้นแล้ว จักไม่กลุ้มรุมจิตตั้งอยู่ ( ข้อความต่อไปจากนี้ ตรัสถึงการที่ลม ไม่อึดอัดระอาต่อสิ่ง ปฎิกูล และไม่ปฎิกูล นานาชนิด ( ดังกล่าวแล้วในตอนที่ว่าด้วยธาตุดิน ) ที่ลมพัดผ่านเข้าไป อันเป็นอุปมาของจิต ที่อบรมแล้ว เสมอด้วยลม ฉันใดก็ ฉันนั้น )

..........ราหุล ! อากาสธาตุ เป็นอย่างไรเล่า? อากาสธาตุมีทั้งที่เป็นภายในและภายนอก

..........ราหุล ! อากาสธาตุที่เป็นภายใน เป็นอย่างไรเล่า ? อากาสธาตุอันใด อันเป็นในภายใน เฉพาะตน เป็นของแสดงลักษณะแห่งความว่าง อันอุปาทานเข้าไปถือเอาแล้ว , ตัวอย่างเช่น ช่องหู ช่องจมูก ช่องปาก ที่ว่างอันที่อาหารกินแล้ว ดื่มแล้ว ลิ้มแล้ว เคี้ยวแล้ว ออกสู่เบื้องล่าง นี้ก็ดี หรือจะยังมีอากาสธาตุ อันเป็นในภายในเฉพาะตน เป็นของแสดงลักษณะแห่งความว่าง ไรๆอื่นนอกไปจากนี้ ซึ่งไม่ตัน มีลักษณะไม่ตัน เป็นของเปิด มีลักษณะเปิด อันเลือดและเนื้อไม่เข้าไปบรรจุอยู่ อันเป็นภายใน อันอุปาทานเข้าไปถือแล้ว อันใดก็ดี

..........ราหุล ! อากาสธาตุทั้งสองประเภทนี้ เรียกว่า อากาสธาตุอันเป็นภายใน อากาสธาตุ อันเป็นภายในด้วย อากาสธาตุอันเป็นภายนอกด้วย นั่นก็เป็นสักว่าอากาสธาตุ เท่านั้น ใครๆพึงเห็นอากาสธาตุนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามที่เป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ครั้นเห็นอากาสธาตุนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามที่เป็นจริง อย่างนี้แล้ว จิตย่อมเบื่อหน่ายต่ออากาสธาตุ ย่อมคลายกำหนัดจากอากาสธาตุ

..........ราหุล ! เธอจงอบรมจิตให้เสมอด้วยอากาสธาตุเถิด เมื่อเธออบรมจิตให้เสมอด้วยอากาสอยู่ ผัสสะทั้งหลายที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจอันเกิดขึ้นแล้ว จักไม่กลุ้มรุมจิตอยู่

..........ราหุล ! เปรียบเหมือนอากาส เป็นสิ่งมิได้ตั้งอยู่เฉพาะในที่ไรๆ มี้ฉันใด

..........ราหุล ! เธอจงอบรมจิตเสมอด้วยอากาสธาตุเถิด เมื่อเธออบรมจิตให้เสมออากาสธาตุอยู่ ผัสสะทั้งหลายที่น่าพอใจ และไม่น่าพอใจอันเกิดขึ้นแล้ว จักไม่กลุ้มรุมจิตตั้งอยู่ ฉันนั้นเหมือนกัน




Create Date : 14 ตุลาคม 2553
Last Update : 14 ตุลาคม 2553 13:02:18 น. 27 comments
Counter : 858 Pageviews.

 
ขอบคุณมากค่ะ ให้ข้อคิดต่างๆ ได้ดีมากค่ะ
ทำให้ หวานรู้สึกปลงกับชีวิตได้อีกมากเลยค่ะ
ตัวเรา ไม่ใช่ของเราจริงๆ ค่ะ

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...


โดย: แม่ออมบุญ วันที่: 14 ตุลาคม 2553 เวลา:15:27:06 น.  

 


''รูปเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นเสนียดจัญไร เป็นอุบาทว์ เป็นภัยพิบัติ เป็นอุปสรรค เป็นความฉิบหาย เป็นของมีโทษ เป็นที่พึ่งไม่ได้ เป็นเหยื่อแห่งมาร เป็นดังเพชฌฆาต เป็นของไร้สาระ เป็นดั่งหัวฝี เป็นเหตุแห่งความลำบาก เป็นของไม่ยั่งยืน เป็นของมีความตาย'' เล่ม 66 หน้า 153 สีน้ำเงิน มหาภูตรูป 4

จากพระไตรปิฎกและอรรถกถาแปลไทยฉบับมหามกุฎราชวิทยาลัย 91 เล่ม

ธรรมวินัยอันพระตถาคตเจ้าประกาศแล้วเปิดเผยไม่กำบังจึงรุ่งเรือง (เล่ม ๑๐ หน้า ๔๖๕_ปกน้ำเงิน)


โดย: shada วันที่: 14 ตุลาคม 2553 เวลา:15:31:37 น.  

 
ความเชื่อโดยไม่ไตร่ตรอง นำแต่ความเสื่อมมาให้

มีความสุขอยู่บนพื้นฐานของ “ กาลามสูตร “ ตลอดไป..นะคะ




โดย: พรหมญาณี วันที่: 15 ตุลาคม 2553 เวลา:8:34:30 น.  

 
สติมโต สทา ภทฺทํ

คนผู้มีสติ มีความเจริญทุกเมื่อ

ขอให้มีความสุขในทุกสิ่งที่กระทำอย่างมีสติ ตลอดไป..นะคะ




โดย: พรหมญาณี วันที่: 18 ตุลาคม 2553 เวลา:13:22:12 น.  

 
...โอ้โห !!!...เหลือเชื่อเลย ขอบคุณ คุณนนท์ มากครับ ที่แนะนำว่า ให้ลองเจริญสมาธิดูบ้าง เพราะ เจริญ อานาปานสติสมาธิ ไปแล้ว เริ่มได้ผลแล้วครับ...!!!

...คือตลอดทั้ง อาทิตย์ที่ผ่านมานั้น ส่วนไหญ่ผมจะลอง เจริญ สมาธิ ดู ตลอด ทุกวัน บ่อยๆ เนืองๆ พร้อมตอนไหนก็ทำเลย คือ คือคิดว่าจะลองจริงจังกับมันดูสักตั้งน่ะครับ....ก็เลยมาพิมพ์บอกเกี่ยวกับ สิ่งที่ผมปฏิบัติมา ว่าเป็นยังไง ดีหรือไม่ดี ถูกหรือไม่ถูก ต้องปรับเปลื่ยนอะไรตรงไหน....

...คือค่อนข้างเยอะ นิดนึงนะครับ พอพิมพ์ ใส่ใน Notepad ดูแล้วมันเยอะ ดู เยิ่นเย้อ ๆ เกินไป เลยตัดออกไปหลายส่วน นะครับ แต่ก็ยังเยอะอยู่ดี 555...

...จึงบอกว่า ถ้า คุณ นนท์ ขี้เกียจอ่าน ก็ไม่เป็นไร นะครับ เพราะเป็นแค่ บอกเล่าประสบการณ์ในการ เจริญสมาธิ ครับ ก็ข้ามไปอ่านในส่วน ของคำถาม ที่ผมมีข้อสงสัยใน ที่จะ โพสต์ ใน ตอนท้ายต่อไป เลยนะครับ..........

XXXXXXXXXXXXXXXXXX

...คือ ย้อนไปตอนนั้น ที่ผมบอกว่า เจริญสติ แล้วเริ่มรู้สึกก้าวหน้าขึ้นทีละนิดๆ แล้ว คุณ นนท์ บอกว่า ให้ลองเจริญสมาธิดูด้วย ก็จะดี ผมก็เลยเริ่มทำควบคู่ สลับกันไป...

...เมื่อ ประมาณ 1 เดือนกว่า มาแล้ว ที่เคยบอกว่า เจริญสมาธิแล้วรู้สึกว่า ไม่ก้าวหน้าเลย รู้สึกเสียเวลายังไงก็ไม่รู้ เลย ไม่สนใจและหันมา เจริญสติเป็นส่วนใหญ่ คือ คอยทรงจิตใว้กับการทิ้ง (ราคะโทสะ โมหะ) และรู้ตัวอยู่ตลอดในตัว สัญญาหรือสังขารพอเกิดก็ อย่าเข้าไปเป็นมัน อย่ายึดว่ามันเป็นเรา ก็คือเป็น ฌาณที่1 ไปด้วยโดยอัตโนมัติ...

...แต่ต่อมา พออ่าน เรื่อง อานาปานสติสมาธิ ไปเรื่อยๆ เริ่มเห็นความสำคัญหลายอย่าง และก็ทำตามคำกล่าวที่ว่า ไม่ควร สำคัญตนว่าเลวว่าไม่ดีว่าเจริญสมาธิไม่ได้อะไรประมาณนี้ ก็เลยลองทำดูอีกสักตั้ง...

..พอทำไปวันละนิดละหน่อย ก็ไม่ได้คิดอะไรมาก ว่าจะได้มากกว่าฌาณที่1 คือคิดว่าไม่น่าได้ฌาณที่ 2 หรอก เพราะ ความเข้าใจเดิมคือ มันเป็นเรื่องที่ สูงเกินไป......และพอทำไปเรื่อยๆ ก็ คิดแค่ว่า เราจะเจริญสมาธิ เพียงเพื่อเหตุผล 2 อย่าง...

เหตุผลที่ 1 คือ...คิดว่ามันเกื้อกูลกันอย่างแยกไม่ออกนั่นเอง คือ มันจะทำไห้เราเจริญวิปัสนาได้อย่างง่ายและมีประสิทธิภาพมากกว่า...

เหตุผลที่ 2 คือ...เราต้องการได้มากกว่าฌาณที่1 เพื่อไห้ได้พบความสุขที่ดีกว่าความสุขแบบกามคุณธรรมดา เพื่อเป็นสิ่งที่ช่วยไห้เราละคลายจาก รูปรสกลิ่นเสียงสำผัส ได้มากกขึ้นนั่นเอง ซึ่งตรงนี้ก็เป็นไปในแนวเดียวกัน กับจุดมุ่งหมายสูงสุดเพื่อ ให้เบื่อหน่าย และคลายความกำหนัดในโลกออกเสียได้ ต่อไป...

...และต่อจากนั้นพอทำไปเรื่อยๆ คือหลังจากที่ได้มาถามคุณนนท์ เกี่ยวกับ เรื่อง คุณวิเศษ อะไรพวกนั้น ก็เลยเลยมีเหตุผลที่ 3 เพราะอยากได้ คุณวิเศษ อะไรประมาณนั้น ครับ 55555 แต่ก็คิดว่า ปล่อยไห้เป็นผลพลอยได้ไปต่างหาก ไมได้ไปตั้งเป้ามุ่งว่าไห้ได้อย่างนั้น โดยลืม วิปัสสนา...

...แต่ วันนั้นฟัง พระอาจารณ์ คึกฤทธิ์ บอกว่า พระอาจารณ์อะไรที่บอกว่า ได้ คุณวิเศษแล้วก็หลงเล่นอยู่กับมันเป็น 20 ปี เลยก็มาเขียนบอกว่า อย่าไปหลงจนลืม วิปัสสนา อันเป็นทางแห่งความพ้นทุกข์....

...แต่แค่ฟัง ผมก็ไม่ได้เชื่อนะครับ ว่าได้คุณวิเศษอะไรประมาณนั้น เพราะว่า ปกติเป็นคนที่แบบ ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ เป็นแบบ ยึดปัญญาแบบสุดๆ...คือไม่ชอบความงมงายเลยแม้แต่นิดเดียว...

...และพอเมื่ออาทิตย์ก่อน ผมก็ เจริญสมาธิไปเหมือนเดิม คือ ก็ได้แค่ ฌาณที่1 และ พอได้ ฌาณที่ 2 คือมี ปีตินิดๆ หน่อยๆ คือแค่ ไม่กี่ขณะจิต แต่ไม่สามารถ ทรงอยู่ได้ ครับ...ก็ทำไปเรื่อยๆ วันละ 2-3 ครั้ง เพราะเหตุผล 2 ประการที่กล่าวมา น่ะครับ...

...พอทำๆไปก็ไม่ได้ ก้าวหน้า คือไม่ได้ฌาณที่ 2 สักที ก็ถอดใจ 555 คือก็คือว่า เอาแค่ ฌาณที่ 1 ก็พอ แต่ก็คือว่า ทำเพื่อเป็นการสั่งสมก็แล้วกัน เพราะ คิดว่า คงอาจจะใช้เวลาเป็นปีๆ ถึงจะได้ อะไรประมาณนั้น...

...เพราะเราพิจรณา จาก ข้อมูลที่เรามีคือ เราเวียนไหว้ตายเกิดมากัน นับชาติไม่ถ้วน จิตก็ไม่เคยหยุดนิ่งมาหลายแสนหลายล้านชาติ และยิ่งกว่านั้น ธรรมชาติของจิตก็มักไหลลงสู่ที่ต่ำอีก ก็ยิ่งเป็นเหมือน ต้นไม้ ที่ฝังรากลึก อยู่ๆเราเพิ่งจะมาเริ่ม ถอนต้นไม้ที่ หยั่งรากลึกมาเป็นหลายแสนหลายล้านชาติ มันคงไม่ง่าย ที่จำทำจิตไห้นิ่งๆไม่คิดอะไร...ใช่ไหมครับ...

...ก็เลย ทำไปเรื่อยๆ เพื่อเหตุผลแค่ 2 ประการที่กล่าวมา และก็ไปเรื่อยๆ พอมาเมื่อ 3-4 วันที่แล้ว ก็คิดว่า จะลองสู้กับมันดูสักตั้ง ถ้าไม่ได้คราวนี้ก็ ถอดใจแล้ว ไม่เอาแล้ว ไม่ได้ ฌาณที่ 2 สักที 555 คืดว่าเสียเวลายังไงไม่รู้ เฮ้อออออออ 0_o...

...คราวนี้ เปลื่ยนใหม่ ลองทำวิธีที่เราคิดว่ามันน่าจะเป็นไปได้ คือไม่สนใจลมหายใจ ลอง ทำจิตไห้นิ่งๆเลยครับ...คือ ประโยคที่ผมเรียบเรียงขึ้นมา เพื่อเตือนถึงแนวปฏิบัติก็คือ...(กำหนดในใจ ให้ทรงอยู่กับ ความว่างๆ )...

...ความหมายของผมก็คือ มุ่งกำหนด ตัว เอกัคคตา หรืออุเบกขา ไปเลย หรือว่า มุ่งจิตไปกำหนด เนวสัญญานาสัญญา ไปเลย คือ ไม่สนใจอะไรทั้งนั้น ทั้งรูปและนาม ปล่อยหมด อยู่กับความที่ไม่มีอะไรทั้งนั้น หรือไม่กำหนดอะไรทั้งนั้น...

...แต่จะพิจรณาควบคู่ไปด้วยว่า นี่คือประโยชน์ของการที่จิต จะว่างจาก กิเลสชั่วคราว ยังไงก็ได้ประโยชน์อยู่ดี ไม่เสียเวลา และอย่างน้อยก็เป็นการสั่งสมไปเรื่อยๆ....คือผมจะสมมุติไห้จิตของเรานั้น อยู่ใน (((นิโรธสมาบัติ))) คือ ไม่ต้องรู้ รูปนาม อะไรทั้งนั้น ไม่สนใจแล้ว 555 ฟังดูเริ่มเพื้ยนไหมครับ คุณ นนท์ 5555 เฮ้อออออออออ....

...ก็คือเพราะว่า มันไม่ได้ผลสักทีไงครับ ผมเลยลองวิธีที่ผมคิดไปเองว่ามันน่าจะได้ อย่างน้อยก็ได้ลองผิดลองถูกไปเรื่อยๆ แต่ สรุปก็คือ ทำแบบนี้ก็รู้สึกว่า มันจะได้ฌาณที่ 2 แบบแว๊บๆ เพียงแค่ 2-3 ขณะจิตเหมือนเดิม เหมือนกับที่ทำมา ก็ มันก็ไม่สามารถ ทรงอยู่ในฌาณที่ 2 ได้อีกนั่นแหละ สรุปก็คือ ล้มเหลวอีกครับ 55555 เฮ้อออออออ.....0_oแบบ ที่จะกล่าวได้ว่า ได้แล้ว อะไรประมาณนั้น...

...แต่พอมา 2 วันที่แล้ว เริ่มมาเทียบกันดูว่า ทำจิตไห้นิ่งๆ กับกำหนดลมหายใจ คือ กำหนดลมหายใจ จะดีกว่าอย่างเห็นได้ชัด แต่ก็ยังไม่ก้าวหน้าอีก คือไม่ได้ฌาณที่2 เลย ลองทำควบคู่ไปกับ การกำหนดจิตไห้นิ่งๆ คือ พอรู้ลม หายใจเข้าและออก มันก็จะมีช่วงว่าง ที่ไม่หายใจ ใช่ไหมครับ ช่วงนั้นแหละ จิตมันก็จะไปปรุงแต่งอีก ก็เลย กำหนดจิตไห้ นิ่งๆ คือ กำหนด เอกัคคตา ไปเลย พอร่างกาย หายใจอีก ก็มากำหนด ลมหายใจ แบบนี้สลับกันไปตลอด ก็ไม่ก้าวหน้าอีกเหมือนเดิม...

...พอวันต่อมา...เริ่มถอดใจอีกแล้ว คิดว่า เอาแค่ฌาณที่1ก็พอ ถ้าได้ฌาณที่ 2หรือ3 คงใช้เวลาเป้นปีๆ คือฌาณที่4 เลิกคิดไปเลย 555 เฮ้อออออ และก็ไปเจริญสติ เป็นส่วนใหญ่อีกนั่นแหละ คืออยู่ในฌาณที่1 ไปด้วย แค่นี้ก็เยี่ยมแล้ว...

...พอวันต่อมาอีก ก็มานั่งคิดพิจรณาว่า กำหนดลมหายใจเข้าออกนี่แหละ น่าจะได้ผล เพราะไม่งั้น พระพุทธองค์ จะบอกใว้ทำไม เพราะต้องเป็นสิ่งที่ดีที่สุดแล้ว ตามอานิสงค์ที่พระพุทธองค์ ทรงตรัสใว้มากมาย ที่เราได้อ่าน ในหนังสือที่คุณ นนท์ส่งมา แต่คิดว่า เราคงยังไม่เข้าใจ และยังทำไม่ได้เองต่างหาก เลยไปสรุปว่า ไม่ได้ผล...

...แต่พอฟังพระโสตถิผโล และพิจรณาตามไปไปเรื่อยๆ อ๋อ จริงๆแล้ว ความสำคัญไม่ได้อยู่ที่ลมหายใจ แต่อยู่ที่จิต ลมหายใจเป็นเครื่องมือ ไห้จิตอยู่กับอารมณ์เดียว...คือ ขณะใดที่จิต รู้ลม ขณะนั้น ไม่สามารถรู้อารมณ์อื่นได้ เพราะจิตรู้อารมณ์ทีละขณะ แต่จริงๆ ตรงนี้ผมก็รู้แล้ว แต่ยังไม่เอามาพิจรณาเท่านั้นเอง...

...แต่พอมาเทียบกับวิธีที่ผม มุ่งกำหนดจิตไห้ทรงอยู่กับ ความว่างๆเลย โดยที่ไม่สนใจลมหายใจเลย นั้น เห็นผลเลยว่า กำหนดลมหายใจ ง่ายกว่า เป็น 10 เท่าเลย เพราะจริงๆ แล้ว นั่นแหละคือจิตแล้ว รู้ลมหายใจ นั่นแหละ คือรู้จิต ดูลมหายใจก็คือดูจิต นั่นเอง เลยเข้าใจแจ่มแจ้งขึ้นมา...เพราะ กระดิกนิ้วนิดเดียว ก็คือ จิต ความสำคัญอยู่ที่ จิต ...

...สรุป รู้ลมหายใจ ก็คือ รู้จิต แต่ถ้ากำหนดจิตไห้อยู่กับความว่างๆ อย่างเดียวโดยไม่สนใจ ลมหายใจเลยนั้น ตามทฤษฏี ก็ถูกต้องและเป็นไปได้ ใช่ไหมครับ...แต่ผมก็มาเข้าใจว่า มัน เหมือนกับการที่เรา ใช้เครื่องมือ กับไม่ใช้เครื่องมือนั่นเอง...

...เหมือนกับว่า เราทำอะไรก็แล้วแต่ เช่น ไขน๊อต คือ ใช้มือ ขันน๊อตไห้แน่น มันก็แน่นไม่ได้ ต้องใช่ ประแจ ช่วยขัน หรือใช้มือ ขันน๊อตออก คือไขไม่ออก เพราะน๊อตแน่น ต้องใช้ เครื่องมือทุนแรงช่วย คือใช้ประแจ ขันออกนั่นเอง....หรือถอนหญ้า ถ้าให้เด้ดมาถอนก็ไม่ขึ้น เพราะเด็กยังแรงน้อย ต้อไห้ผู้ไหญ่ที่มีแรงเยอะมาถอน...

...ก็เปรียบเหมือน แรงเรายังไม่พอ จะไป กำหนดความว่างๆเลย มันยากกว่าการที่ ใช้ลมหายใจมาช่วยดึงจิตไห้อยู่กับอารมณเดียว เพราะเป็นเสาหลักที่ดีที่สุด และที่สำคัญคือ รู้ลมหายใจก็คือรู้จิตนั่นเอง แต่ผมไม่ได้เอ๊ใจ เพิ่งกระจ่างว่า ขณะจิตที่กำลังรู้ลม นั่นแหละ ไม่มีตัวเราของเราหรือกิเลส อยู่ในขณะจิตนั้นเลย เพราะจิตรู้อารมณ์ทีละขณะนั่นเองครับ....

...แต่ถ้า อยู่ๆ เราทำจิตไห้นิ่งๆ เป้นเอกคตาเลย โดยอยู่กับความว่างๆ เลย ไม่สนใจอะไรเลย ทำจิตไห้เป็น เนวสัญญานาสัญญา เลย โดย ทฤษฏี มันเป็นไปได้ แต่ ในทาง ปฏิบัติ เป็นไปได้ยากยิ่ง จะได้สำหรับผู้ที่ จิตมีกำลังแล้วเท่านั้น ใช่ไหมครับ...

...พอเริ่มเข้าใจตรงนี้ ซึ่งส่วนไหญ่ก็เข้าใจอยู่ก่อนแล้วทั้งหมดนั่นแหละครับ แต่ ยังไม่ได้ เอะใจ หรือเข้าใจอย่างแจ่มชัดนั่นเอง เพราะปกติไม่สนใจเรื่อง สมาธิเลย ครับ พอมาเริ่มเจริญสามธิอย่างจริงจัง ในส่วนนี้ ก็เลยเพิ่ง เริ่ม พิจรณา ในส่วนนี้ นั่นเอง...

...และพอวันต่อมา ก็เลย เริ่ม คิดแล้วว่า ลมหายใจเข้าออกนี่แหละ ลองดูสักตั้ง ถ้าไม่ได้ผลยังไงก็เลิกแล้ว ไม่เอาแล้ว เบื่อ 555 เอ้อออ...!!! นี่แหละ คิดว่าต้องได้ผล คือต้องได้ฌาณที่ 2 หรือสูงขึ้นๆไป...

...ไม่งั้น พระพุทธองค์จะแจกแจง ผลอานิสงค์ใว้ขนาดนั้นหรือ ถึงกับบอกว่า เป็นธรรมอันเอกเลย และยิ่งกว่านั้น พระพุทธองค์เอง ยังคงใช้เป็น ตถาคตวิหาร ทั้งๆที่บรรลุอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้ว ก็เลย คิดว่า (อานาปานสติสมาธิ) นี่ต้อง ไม่ธรรมดาแน่ๆ จึงเกิดความฮึดสู้ขึ้นมาครับ 55....

....คือผมยังคงติดความรู้สึกและความเข้าใจแบบเดิมๆ ที่เคยมีมาแล้วเมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้ว เราก็เคยอ่านหนังสือ ท่านพุทธทาส ก็ได้ยินบ่อยๆ เรื่อง อานาปานสติ นี่ ก็ เฉยๆ ธรรมดา น่าเบื่อด้วยซ้ำ อะไรไม่รู้ ไม่เข้าใจ กำหนด หายใจเข้าหายใจออก เป็นอะไรที่ไร้สาระไปเลยด้วยซ้ำสำหรับผมเมื่อ 10 ปีก่อนนะครับ...

...ต่อมา ผมลองกำหนดลมหายใจเข้าออกดูเหมือนเดิม ก็เลยพบว่า เรายังทำไม่ถูกต้อง นั่นเอง คือ พอกำหนด นั้น เราไม่เพ่งจิตอยู่กับลมหายใจแบบเน้นๆนั่นเอง แต่จะเป็นแบบ สักแต่ว่า รู้ลมไปงั้นแหละ แต่จิตก็ไป คิดอยู่ตลอดว่า สงบหรือยัง ๆ ซึ่งมันก็จะได้แค่ ฌาณที่ 1 ซึ่งสำหรับผมก็ไมได้ยาก......

...แต่หลังจากที่เข้าใจว่า ดูลมก็คือดูจิตนั่นเอง !!! คราวนี้เลย มุ่งเน้น เพ่งไปที่ลมหายใจแบบเน้นๆไปเลย ก็คือตรงกับความต้องการของเราคือต้องการไห้จิตเพ่งอยู่กับอารมณ์เดียวนั่นเอง และ คิดอยู่กับ ลมหายใจ อย่างเดียวเลย คราวนี้เริ่มก้าวหน้า แฮะ 55 เริ่มมีกำลังใจ คือ เริ่ม ได้ ความสงบในระดับ ปีติได้มากขึ้นๆ แต่ก็ยังทรงอยู่ไม่ได้นะครับ...

...พอมีกำลังใจมากขึ้น คราวนี้เลย ทำบ่อยๆ อยากทำตอนไหนมาทำเลย วันละ 3-4 รอบ ครับ ครั้งละประมาณ 30 นาที เริ่มทรงปีติ ได้ นานขึ้นเลย ดีใจ ว่าเริ่มก้าวหน้าแล้ว แต่ก็ยังทรงอยู่ใน ฌาณที่ 2 ไม่ได้นะครับ แค่ เฉียดๆ...

...เลยบอกกับตัวเองว่า เอาล่ะ แค่นี้พอ และตั้งใจต่อไปว่า พรุ่งนี้ ต้องทำไห้ได้มากกว่าวันนี้ อีกนิดนึง และวันต่อๆไปต้องได้มากกว่าวันนี้ อีกนิดนึง คือประมาณว่า วันพรุ่งนี้ต้องดีกว่าวันนี้ น่ะครับ ถ้ายังไม่ดีกว่า ก็จะไม่หยุดทำ จะพยายามทำไห้ผลเกิดได้ดีกว่าเมื่อวานก็ถือว่าสำเร็จแล้ว คือสั่งสมไปเรื่อยๆ ถ้าดีกว่าเดิมเพียงนิดเดียว ก็ถือว่าวันนี้ผ่านแล้ว 555....

...พอวันต่อมา ก็ดีกว่าอีกครับ ก็มีกำลังใจมากขึ้นว่า ถ้าสงบละเอียดมากขึ้นทุกๆวัน ก็คงจะได้ ลิ้มรสของ ปีติ ในฌาณที่2 ในเร็วๆนี้ เป็นแน่แท้...ZZZZ

...แต่พอทำไป ก็เริ่มมีปัญหาอีก คือ พอรู้ลมหายใจเข้าและออก และเพ่งไปที่ลมแบบเน้นๆเลย คือว่าต้องเน้นๆ !!! เพราะวันก่อนๆที่ไม่ได้คือมันไม่ เน้น !!! นั่นเอง...แต่ปัญหาไหม่ก็มา ก็คือ พอเพ่งแบบ เน้นๆ ไปแล้ว มันก็ ได้แบบ เฉียดๆ ฌาณ ที่ 2(ทุติยฌาน) เหมือนเดิม แต่ก็ไม่ก้าวหน้ามาก แต่ก็ถือว่าใช้ได้... คืออย่างน้อยก็ดีกว่าเมื่อวาน....

...ปัญหาใหม่ คือ ในขณะที่ หายใจเข้าและออก มันก็จะมีช่วงว่าง ใช่ไหมครับ คือ ช่วงว่างนั่นแหละ มันไม่มีลมหายใจ คือมันเป็นธรรมชาติของร่างกายใช่ไหมครับ คือไม่ใช่ว่า {เข้า ออก เข้า ออก เข้า ออก} สลับกันไปเลย แต่มันจะมีช่วงว่างคือ...

...{เข้า ออก}...{_______}...{เข้า ออก}...{_______}...{เข้า ออก}...{_______}...{เข้า ออก}...{_______}...{เข้า ออก}...{_______}...

...คือ พอกำหนดเพ่งเน้นไปที่ ลมหายใจเข้าและออก พอถึงช่วงว่างก็เลย เป็นปัญหาคือ จิตก็ไปคิดปรุงแต่งได้ง่ายอีก เพราะ เพราะช่วงว่างนั้น ไม่มีลมหายใจ ก็เลยจับแต่ความว่าง ไม่ได้มีลมหายใจเป็นอารมณ์...

...ผมเลยพยายาม ทำแบบสลับกันก็คือ รู้ลมเข้าลมออก และก็ดูจิตที่ว่างๆนั้นแหละ เพื่อรอไห้ลมเข้ามาต่อ ก็รู้ลมเข้าและออกต่อเนื่อง สลับกันไปแบบนี้ ปรากฏว่า ทำไห้ สมาธิถอยกลับไปอีก...

...แบบนี้คือ...{รู้ลมเข้าออก}...{__ดูจิตที่ว่าง__}...{รู้ลมเข้าออก}...{__ดูจิตที่ว่าง__}...{รู้ลมเข้าออก}...{__ดูจิตที่ว่าง__}...{รู้ลมเข้าออก}...{__ดูจิตที่ว่าง__}...

...คือ ทำแบบนี้แล้วเหมือนกับว่ามี2อารมณ์ สลับกันไป ไม่รู้ผมเข้าใจถูกหรือเปล่านะครับ..แต่มันทำไห้ไม่ได้ผลเหมือนกับการเพ่งที่ลมหายใจอย่างเดียว ช่วงว่างนั้นก็ไม่ต้องดูจิต แต่ไห้รอลมหายใจ แค่นั้นเอง...

...พอวันต่อมา ส่วนใหญ่ผมจะ พิจรณาเรื่อง นี้อย่างเดียวเลยครับ คือลองดูสักตั้ง ถ้าไม่ได้ก็ ก็พอใจแค่นี้ ก็คิดแค่นี้ครับ...พอลองทำแบบนี้เลย ได้ผลขึ้นมาอีก คือ เปลื่ยนมาดูจิตที่ว่า มาเป็น รอลมหายใจ ...

...ก็คือเป็นแบบ...

...{รู้ลมเข้าออก}...{__รอลมหายใจ__}...{รู้ลมเข้าออก}...{__รอลมหายใจ__}...{รู้ลมเข้าออก}...{__รอลมหายใจ__}...{รู้ลมเข้าออก}...{__รอลมหายใจ__}...

...แบบนี้ไปเรื่อยๆ ก็ได้ผลดีขึ้นมาอีก ก็มีกำลังใจที่จะทำต่อไป...ก็พอแค่นี้ก่อน เพราะ นั่งปวดหลัง คือมันจะปวดหลัง เป็นโน่นเป้นนี่ตลอดน่ะครับ แต่ผมฟัง พระอาจารณ์ คึกฤทธิ์ มีอย่างนึงที่ทำไห้เข้าใจคือ มันเป็นเรื่องปกติ ที่เราต้อง ทำไปไห้เคยชิน คือ ต้องหาความสมดุลในธรรม ต่อไป...

...เพราะ เมื่อ เดือนก่อน ถอดใจไปแล้ว เพราะ พอไปกำหนดลมหายใจ ทำให้ อึดอัด หายใจไม่ปกติ ติดขัดตรงนั้นตรงนี้ นั่งปวดหลัง ฯลฯ...ทันทีเลย ทำไห้รำคาญมาก พอเข้าใจว่า พบว่า เรายังไม่ได้ความสมดุลในธรรม นั่นเอง ก็เลย เข้าใจ...ว่าเรายังไม่เคยชินนั่นเอง...

...พอต่อมา ก็ทำอีก มาพิจรณาดู คือทำแบบ......{รู้ลมเข้าออก}...{__รอลมหายใจ__}...{รู้ลมเข้าออก}...{__รอลมหายใจ__}...แบบนี้สลับกันไป ก็เริ่มคิดว่า จะมีวิธีไหนไหมที่ทำไห้ จิตเรา เกาะอยู่กับ อารมณ์เดียวตลอดแบบทุกขณะจิต เลย ตามทฤษฏี มันก็จะทำจิตไห้นิ่งเป็นสมาธิได้....

...เพราะปัญหาตรงนี้ก็คือ มันมีช่วงว่างที่เราต้องรอ ลมหายใจอีก ก็เลยพยายามลอง หายใจ เข้า ออก เข้า ออก เข้า ออก เข้า ออก แล้วจิตก็เพ่งอยู่กับ ลมหายใจ เข้า ออก เข้า ออก เข้า ออก เข้า ออก...ๆๆๆๆ...

...คือ เป็นแบบ ต่อเนื่องไปเลย ฟื๊ด ฟ๊าด ฟื๊ด ฟ๊าด ฟื๊ด ฟ๊าด ฟื๊ด ฟ๊าด ไม่มีช่วงว่างไห้จิต ปรุงแต่งเลย แม้แต่นิดเดียว ลองทำดูว่า จิตมันจะเป็นสมาธิได้เร็วไหม ปรากฏว่า จิตเป้นสมาธิได้เร็วมากที่สุดเลยครับ !!! ...

...แต่ตรงนี้ ตายกันพอดี คือเป็นไปไม่ได้ 5555 ไปทำแบบ ฟื๊ด ฟ๊าด ฟื๊ด ฟ๊าด ๆๆๆๆๆ แบบไม่มีช่วงว่าง มันผิดปกติของร่างกาย 5555 คือเหมือนคนขาดอากาศหายใจ น่ะ คิดออกไหมครับ คือต้องรีบหายใจเข้าออกไห้เร็วที่สุด เพื่อไห้จิตเกาะ ไม่หนีไปจากลมหายใจ จะได้มีอารมณ์เดียว ตือต่อกันไห้นานที่สุด....

...ตรงนี้ เลยเห็นผลว่า ตามทฤษฏี นั้น ใช้ได้ผลดีมาก คือทำแบบนี้แล้ว จิตเป็นสมาธิได้เร็วที่สุด...แต่ผิดธรรมชาติ ของร่างกาย และเริ่มคิดว่า ทำยังไงดี เพราะ กำหนดลมหายใจ มันก็มีปัญหาตรงที่ ช่วงว่างนั้น ก็ต้องรอลมหายใจอีก ...

...แล้วตรงช่วงที่รอนั้น ก็เป็นช่วงที่ จิตไม่ได้มีลมหายใจเป็นอารมณ์ มันก็เคว้งคว้างปรุงแต่งได้ง่าย จะไปกำหนดความว่างๆ นั้นมันก็ไม่ได้ผลสำหรับเรา เพราะเหมือนกับว่า จิตไปเกาะอีกอารมณ์นึงอีกแล้ว คือตรงนี้ อาจจะเป็นที่ ผมเองนะครับ ที่ บอกว่าไม่ได้ผล คือไม่ได้ผลสำหรับผม แต่อาจจะได้ผลสำหรับคนอื่นก็ได้.....

...เลยเริ่มลองคิดว่า เอ๊ ลองเพ่งอะไรสักอย่างนึงดู อะไรก็ได้ เหมือนกับการเพ่งกษิณ แต่ไม่ได้เพ่งกษิณ ...เช่น เพ่งจิตจับอยู่ที่ ปากกาที่วางอยู่บนโต๊ะ แล้วก็กำหนดจิตไห้เน้นอยู่กับปากก ตลอดทุกขณะจิต มันก็เป็น แบบเดียวกับ ที่เราพยายาม หายใจเข้าออกเร็วๆติดต่อกัน ฟื๊ด ฟ๊าด ฟื๊ด ฟ๊าด ๆๆๆๆๆ ก็คือ จิตมีอารมณ์อันเดียวเหมือนกัน ......ปรากฏว่าก็ได้ผลเหมือนกัน แต่ไม่ก้าวหน้าดีเท่าที่ควรครับ....

...คือ อาทิตย์นี้ ทั้งอาทิตย์ ผมจะ ลองเน้น สู้กับมันดูสักตั้งว่า ถ้าไม่ได้ก็ เอาเท่าที่ได้ก็พอแล้ว เพราะคิดว่า เราเพิ่งเริ่มจะไห้มันก้าวหน้าเลยหรือ...คงต้องใช้เวลาเป็นปีๆ.... แต่เมื่อก่อนนี้ก็เคยทำสมาธิมาบ้างนะครับ แต่ไม่จริงจัง แค่ทำๆไปงั้นเอง เพราะไม่ได้เคยอ่านพระพุทธพจน์ เกี่ยวกับ อานาปานสติสมาธิ ในส่วนนี้ เพิ่งมารู้ตอนที่เจอคุณนนท์ นี่เอง 55....

...คือพอเพ่งปากกาแล้ว ไม่ได้ผลอะไรมากกว่าเดิม ก็เลย มานั่งพิจรณา ว่า ก็ลมหายใจนี่แหละดีที่สุดแล้ว ไม่งั้น พระพุทธองค์จะ บอกใว้ทำไม ต้องเป็นวิธีที่ดีที่สุด แล้ว พระพุทธองค์ ถึงเน้นไห้ความสำคัญ บอกพร่ำสอน...

...พอนั่งไป และพิจรณาไปด้วยว่า ทำยังไงถึงจะไม่ไห้มีช่วงว่าง ระหว่างรอลมหายใจ คือ {รู้ลมเข้าออก}...{__รอลมหายใจ__}...{รู้ลมเข้าออก}...เพื่อจะไห้จิต เข้าฌาณได้ เร็วและมีประสิทธภาพมากที่สุด...

...แล้วพอลองทำดูเรื่อยๆ ก็มา คิดออกว่า เอ๊ อ๋อ ก็แค่นี้เอง ง่ายๆ ก็คือ พอเรา รู้ลมเข้า รู้ลมออก และต่อจากนั้นมันจะเป็นช่วงที่ว่าง เราก็แค่ คิดว่า ตอนลมที่ออก นั้น คิดว่าดึงไห้มันยาวออกไป คือแค่คิดนะครับ ไม่ได้ หายใจไห้ยาวออกไปจริงๆ เพราะแบบนั้นมันไปฝืนร่างกาย แต่เราแค่รู้ลมหายใจที่ร่างกายก็ หายใจเข้าออกเป็นปรกติของมัน.....

...คือ พอหายใจเข้า ก็รู้ หายใจออกก็รู้ และตอนที่หายใจออกและถึงช่วงว่าง นี้แหละ ก็คิดในใจว่า ดึงลากลมหายใจออก ต่อเนื่องให้มันยาววววววววววออกไป เพื่อให้จิตเกาะอยู่เป็นอารมณ์เดียว ดึงยาวออกไป จนถึงช่วงที่ร่างกาย จะหายใจเข้า อีกครั้งนึง และก็ต่อเนื่องไปแบบนี้ เรื่อยๆ นั่นเอง......

...หรืออาจจะไม่ต้องทำความรู้สึกว่า..คิดดึงลากลมหายใจออก ต่อเนื่องให้มันยาวววววววววว ออกไป ก็ได้ แต่พอช่วงว่างก็คิดถึงลมหายใจอีกนั่นแหละ ถึงแม้ว่านั่นจะเป็นช่วงว่าง ที่ไม่มีลมหายใจ ก็ตาม เพราะโดยธรรมชาติของร่างกายมันจะเป็นจังหวะแบบนั้นใช่ไหมครับ....

...ถึงจะเป็น ช่วงว่าง ที่ลมหายใจ ระลอกต่อไป ยังไม่มา เราก็คิดถึง แต่ลมหายใจทั้งๆที่มันไม่มี ก็เป้นลักษณะเดียวกับเราคิดว่า ดึงลากลมหายใจออก ต่อเนื่องให้มันยาววววววววววออกไป เพราะความสำคัญคือ มันเป็นจิตที่ มีอารมณ์อันเดียว เหมือนกันนั่นเอง.....

...และพอทำแบบนี้แล้ว นั้น เหลือเชื่อเลย มันได้ผลอย่างรวดเร็ว และสงบมากกว่าที่เคยเป็นมาก่อนทั้งหมด คือ ได้เฉียดๆ ฌาณ ที่ 2(ทุติยฌาน) อย่างต่อเนื่องมากกว่าที่เคยเป็น แต่ยังไม่ถึงกับได้ ทุติยฌาน โดยสมบูรณ์ คือทรงปีติใว้ได้นะครับ...

...แต่ก็ถือว่า เริ่มก้าวหน้ามากขึ้นแล้ว และที่สำคัญเราจับหลักได้แล้ว เหลือแค่ทำไห้ได้ มันคงได้ ฌาณที่ 2 ในไม่ช้า...อ๋อลืมบอกไป จุดสำคัญที่เป็นสิ่งที่ผม ใช้ พิจรณา ควบคู่ไปกับการเพ่งจิตเน้นอยู่กับลมหายใจอยู่ตลอดก็คือว่า.....

...ก่อนทำ หรือในขณะที่ทำก็แล้วแต่ ผมก็จะทำความเข้าใจรู้ตัวควบคู่ไปด้วยว่า (เรา เจริญสมาธิเพราะ เห็นโทษของอกุศล หรือทั้ง กรรมดำและกรรมขาว ซึ่งผูกจิตเราใว้ใน วัฏสงสาร นั่นคือโทษ อาทีนวะ) และขณะที่จิตมีอารมณ์เดียว เปรียบเหมือน ประโยน์ที่ จิดจะไม่ถูก มารครอบงำเราทาง ตา หู จมูก ลิ้นกาย เป็นสภาวะปลอดภัย เหมือนกับ นิพพาน นั่นเอง....

...แล้วก็พิจรณาว่า เราทำเพื่อเหตุผล 2 ประการ ที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเองครับ คือ เพื่อ นำไปใช้เป็นกำลังในการเจริญวิปัสนาได้อย่างง่าย และ มีประสิทธิภาพ และ เพื่อไห้ได้ลิ้มรสของความสุขที่ดีกว่า เพื่อที่จะช่วยไห้เราไถ่ถอน เบื่อหน่าย คลายกำหนัด ความสุขแบบกามคุณได้มากขึ้น นั่นเอง....

...พอนั่งๆไปเรื่อยๆ เพ่งจิตเน้นอยู่กับลมหายใจไปเรื่อยๆ และก็ไม่สนใจหรอกว่า มันจะได้ฌาณที่ 2 โดยสมบูรณ์ หรือเปล่า แต่ กำหนดจิตว่า อยากจะอยู่แค่ตรงนี้ เพราะจิตที่มีอารมณ์เป็นอันเดียวแบบนี้ มันเป็นที่ ที่ปลอดภัยจากมารครอบงำเราทาง ตา หู จมูก ลิ้นกาย...

....และจะคิดว่าเป็นการพิสูจด้วยว่า เราพร้อมหรือเปล่าที่จะ อยู่แบบ ไม่ ต้องหลงไปใน รูป รส กลิ่น เสียง สำผัส นานๆ หรือตลอดไป....ก็จะเห็นประโยชน์ ว่านี่แหละ คือสภาวะจิตที่ปลอดภัยจากหมู่มาร.....

XXXXXXXXXXXXXXXXXX


โดย: อะไรกัน IP: 192.168.1.123, 61.7.133.149 วันที่: 18 ตุลาคม 2553 เวลา:17:30:08 น.  

 
((((((( ข้อสงสับคือ )))))))

1....คำว่า รูปฌาณ หมายความว่าอะไรหรือครับ ถ้าหมายความว่า (การเพ่งที่มีรูปเป็นอารมณ์) หมายถึงลมหายใจคือรูปมาเป็นอารมณ์ของจิตแบบนี้หรือครับ...

...แล้วตอนที่เราดูลมเข้าออก เราไม่ได้ไปสนใจอยู่ที่ ลม แต่สนใจที่จิตที่กำลังรู้ลม แต่ลมก็เป็นรูป ซึ่งเป็นตัวผูกจิตไห้อยู่กับอารมณ์เดียวต่างหาก...

...เพราะฉะนั้น เราดูจิตที่มีรูปเป็นตัวผูกจิต คือเราดูจิต ต่างหาก....ไม่ได้ไปสนใจอยู่ที่ลมว่าเป็นรูป ถูกต้องไหมครับ แล้วจะบอกว่า มีรูปเป็นอารมณ์ หรือครับ...เพราะดูจิต ซึ่งเป็นนาม เอ๊หรือว่าตรงนี้ ถูกแล้ว แต่ผมคิดมากไปเอง ใช่ไหมครับ 555 เฮ้อออออ....??

1.2 ...ถ้าเป็นเช่นนั้น งั้น ฌาณขั้นที่ 4 ก็ ก็ไม่ใช่การที่มีรูปเป็นอารมณ์แล้วสิครับ เพราะบอกว่า ไม่มีลมแล้ว หรือมีแต่ ละเอียดจาจับไม่ได้ หรือมีแต่ จิตไม่ไปรู้ หรือว่าเป็นแบบไหนครับ...??

...ฉะนั้น จึงบอกว่า (รูปฌาณ4) ไม่ได้ ต้องบอกว่า (รูปฌาณ3) เพราะฌาณที่ 4 ไม่ได้มีรูปเป็นอารมณ์ แต่มี เอกัคคตา หรือ อุเบกขา ซึ่งเป็นนาม เป็นอารมณ์ ก็ต้องเป็น (อรูปฌาณ1) แต่เมื่อกี้ ฟัง พระอาจารณ์ บอกว่า คำว่า อรูปฌาณ ไม่มีกล่าว ใน พุทธพจน์.....

2....ข้อนี้ งง มากครับแต่ยังไม่ได้ถามคือ ที่บอกว่า...
...ปฐมฌาน มี (วิตกวิจาร) (ปีติ) (สุข)...(เอกัคคตา)

งงติ๊บเลย เพราะเป็นแค่ ปฐมฌาน จะมี (ปีติ) (สุข) และ (เอกัคคตา) ได้ไงครับ เพราะ ตัว (ปีติ) (สุข) และ (เอกัคคตา) เป็นผลของ ฌาณ ที่สูงขึ้นไป....???

...และ ฌาณข้อต่อๆไปก็ถามในความหมายเดียวกัน คือ...

...ทุติยฌาน มี (ปีติ) (สุข) (เอกัคคตา) อ้าวก็ ฌาณที่ 2 ก็ต้องมีแค่ (ปีติ) สิครับ ยังไม่ได้ขึ้น ฌาณที่ 3 และ 4 เลย จะมี ตัว (สุข) และ (เอกัคคตา) ได้ไงครับ...

...ตติยฌาน มี (สุข) กับ (เอกัคคตา) ก็เหมือนกัน ต้องมี แค่ (สุข) สิครับ จะมี (เอกัคคตา) ได้ไง เพราะ ยังไม่ได้ฌาณที่ 4 .....

...หรือว่า หมายความว่าไงครับ ช่วยบอกหน่อยนะครับ ตรงนี้ งงมากๆ 555 เฮ้อออออออ 0_o....???

3.อยากถามว่า (สัญญาเวทยิตนิโรธ) นี่เป็นการเข้า (นิโรธสมาบัติ) ใช่ไหมครับ ??

4.คือข้อนี้ อยากถามเกี่ยวกับ อาการของการได้ฌาณ น่ะครับ ว่าเป็นยังใง คือว่า ผมเจริญ อานาปานสติสมาธิ ก็ได้ ความสงบ ก็ไม่แน่ใจว่า เป็น ฌาณที่ 2 หรือเปล่า แต่ผมคิดว่าใช่น่ะครับ แต่อาจจะไม่ใช่ เลยลองถาม คุณ นนท์ ดูคือ....

...คือ...ความรู้สึกของผมก็คือ พออยู่ใน สภาวะนั้น มันเหมือนมี สภาวะหรือพลังอะไรสักอย่างนึง มากดจิตเราใว้น่ะครับ คือทำไห้จิตใจและร่างกาย เบลอๆ ไม่เหมือนกับสภาวะปกติ...

...และสภาวะนั้น มันกดจิตเราใว้ไม่ไห้ ยินดีพอใจใน กามคุณ และไม่มีนิวร ที่เหลืออีก4....คือ มันเป็นสภาวะที่ เหมือนกลับว่า มีพลังของกลิ่นไอบางๆ มาเคลือบคลุม หรือฉาบทา เราใว้น่ะครับ.......

...ที่ผมคิดว่าเป้น ฌาณขั้นที่2 ก็คือ เพราะเราก็รู้ชัดอยู่แล้วว่า สภาวะปกติเป็นยังไง ก็เราอยู่แบบปกติมาหลายสิบปีแล้ว และนี้ก็ไม่ใช่ปกติ คิดว่าต้องเป็นฌาณขั้นที่ 2 คือมันเหมือนมี สภาวะ หรือพลังอะไรสักอย่าง ที่ทำไห้จิตเรามั่นคงอยู่กับ พลังนั้นน่ะครับ....

....ผมก็อธิบายไม่ค่อยถูก แต่ตอนที่ได้สภาวะอยู่นั้น ผมก็พยายามพิสูจและทดสอบดูว่า กามฉันทะนิวร เรามีอยู่ไหมมีอะไรบ้าง ผมก็พยายาม คิดว่า มีอะไรที่เรา ดูแล้วเคยชอบอยู่ ลองไปหาสิ่งนั้นมาดูสิว่าตอนนี้ มันจะเห็นแล้วชอบอยู่ไหม ปรากฏว่า เกินคาดครับ....มันเห็นแต่ไม่รู้สึกว่า ชอบหรือไม่ชอบครับ...

...คือ ตอนนั้น ไม่อยากดูอะไร ฟังอะไร หรือกินอาหารอร่อย อะไรทั้งสิ้น แต่เราจะรู้ได้อย่างชัดเจนว่า สิ่งนั้นสิ่งนี้ ปราณีต หรือ ไม่ปราณีต แต่จะไม่ ยินดีพอใจในความสวยงาม ประมาณนั้น เหมือนกับว่า ขณะนั้นเราได้อยู่กับสภาวะที่ดีกว่าปกติอย่างเห็นได้ชัดน่ะครับ....

...แต่ที่ผมสงสัยมาก ก็คือ ผมก็สามารถคิดปรุงแต่ง ได้ ตลอดนะครับ และตอนนั้น จิตก็ ไม่ได้ อยู่กับลมหายใจเข้าออกแล้ว ก็ปล่อยแล้ว แต่อยู่กับ จิตว่างๆ และสภาวะนี้ ที่เราพอใจจะทรงมันใว้ ก็เลยรู้สึก ขัดกันในใจว่า ทุติยฌาน มันไม่มี วิตกวิจาร ไม่ใช่ หรือ แต่ เรา คิดอะไรได้หมด แต่เป็นการคิดที่ ไม่มีความยินดีพอใจ ใน กามคุณ ครับ และที่สำคัญไม่ใช่สภาวะปกติแบบที่เคยเป็นแน่นอน...

...และที่มากกว่านั้น คือ ก็จะสามารถ ขยับร่างกาย หรือ เดินเหิน กระโดดอะไรได้แบปกตินะครับ...เลย งง ว่า ใช่ ฌาณที่ 2 ไหมครับ...คือสำหรับผมคิดว่าใช่ไงครับ มันเป็นสภาวะที่เราทรงใว้ได้ อย่างที่ไม่เคยเป็น เพราะปกติ ก็ได้ นิดๆหน่อย สลับกันไปตลอด แต่ไม่เคยทรงใว้ได้....แต่ตอนนี้มันทรงใว้ได้อย่างมั่นคงด้วย...

...ผมก็พยายามพิสูจไห้รู้แน่ชัดไปเลยว่า มันใช่หรือไม่ คือสำรวจดูแล้ว ไม่มี นิวร5 แน่นอน และไม่มีความง่วง มีแต่ความรู้สึกที่ ปีติอิ่มใจ นั่นแหละครับ คำว่า ปีติ นี่ ผมก็พูดตามการจำได้ นะครับ ว่า ตัว ปีติ เป็นผลของฌาณที่ 2 แต่ ถ้าไห้บอกความรู้สึกตามความเข้าใจเลยก็คือ....

...มันเหมือนมี สภาวะอะไรสักอย่าง มาฉาบทาที่ร่างกายเราใว้ ทำไห้เบลอๆนิดหน่อย และที่สำคัญ ก็กดจิตใจเราใว้ให้เบลอๆด้วย...แต่ว่ามีความสุข และที่สำคัญอยากอยู่อย่างนี้ไปตลอด...และอยากทรงแบบนี้ต่อไปเรื่อย...

...คือ ขณะที่อยู่ในสภาวะนั้น ผมอยากพิสูจ เลย พยายาม หาสิ่งที่เราเคย ชอบและหลงอยู่ เช่น ผมเดินไปดู ของหลายๆสิ่ง ที่เราเคยชอบอยู่ มีรูปแบบและสีสันที่สวยงาม และพยายามดูจิตว่ามัน ยินดีพอใจหรือเปล่า ปรากฏว่า ไม่ครับ และลองหันไปดู CD หลายๆแผ่นที่มีเพลงเพราะๆ พบว่าผมไม่อยากฟังอะไรเลยทั้งนั้น ครับ.....

...และผมก็พยายามพิสูจต่อไปอีกเพื่อไห้แน่ใจ ว่ามัน จะออกจากสภาวะนี้ไหม แต่ใจเราก็มีความรู้สึกตัวอยู่ตลอดเวลา ว่าพอใจอยากจะทรงสภาวะนี้ใว้นะครับ...

...ผมก็เลยพยายามดู สิ่งที่เราเคยชอบอยู่ ว่ามีรูปแบบสีสันที่สวยงาม และพยายามทำใจไห้ หลงพอใจ ในสิ่งนั้นสิ่งนี้ ปรากฏว่า มันจะมีความรู้สึก ที่ดึงจิตเราใว้อย่างมั่นคง ตลอดเวลา ให้ ไม่หลงยินดีพอใจ น่ะครับ...

...มันเป้นความรู้สึกว่า ตอนนี้เราได้ สภาวะที่มันกดจิตเราใว้ ให้เบลอๆนิดๆ และร่างกายก็เบลอๆนิดๆ แต่มีสติรู้ตัวอยู่ตลอด และมีความสุขดี ที่เราได้แบบนี้ คือมันเป็นความรู้สึกที่เหมือนกับ ตอนทำสมาธิที่ผ่านมา คือเฉียดๆ ฌาณที่2 นั่นแหละครับ แต่ตอนนี้มันทรงอาการนั้นใว้ได้เองเลย....โดยที่ผมอยากออกด้วยซ้ำ....

...คืออยากออก หมายความว่า อยากทดสอบดูตามความรู้เดิมที่ว่า ถ้าจิตคิดปรุงแต่งเป็นอกุศลนิดเดียว ฌาณหลุดเลย ถ้าจิตคิด อกุศล แล้วหลุด แสดงว่าใช่แล้วเราได้ฌาณแน่ ผมก็เลยลอง เดินไปเดินมา และทำ ต่างๆ ตามที่บอกไป ปรากฏว่า ไม่หลุดครับ มหัสจรรย์เกินคาดมากๆ....

...พอมาคิดดู ก็เลยสงสัยว่ามันจะเชื่อมกับสิ่งที่ผมสงสัยว่า (ชำนาญในการออกจากฌาณ) หรือเปล่า เพราะ เราเป็นแบบนี้เลย คือว่า มันจะไม่ออกได้แบบทันที ตอนนั้นผมลองหาคำพูดเปรียบเทียบดูก็ เลย เปรียบเทียบได้ชัดเจนกับ เช่น...เหมือนเราเพิ่งตื่นนอนไหม่ๆ ตายังลืมไม่ได้ทันที เพราะยังปรับสภาพกับแสงไม่ได้....คือเปรียบเทียบได้ลักษณะนั้นเลยครับ คือผมต้องเลิกคิด มันถึงจะค่อยๆออกได้....

...แต่ถ้าไม่ออกมันก็จะดีกว่านะครับ เพราะก็มีสติสัมปชัญญะ อยู่ตลอด แต่มันจะเป็นสภาวะเดียวที่คล้ายกับ คือคล้ายนะครับ ไม่ใช่ว่า เป้นแบบนั้น ก็คือเหมือนกันตอนที่เรา ป่วยหนัก ไม่สบายเป้นไข้ แล้วนอนจม มันจะมึนๆ โหวงเหวงๆ ประมาณนี้น่ะครับ.....

...นี่คือครั้งแรกที่ได้ วันเสาร์ กะว่าจะมาถามคุณนนท์ เลยเอาใว้ไห้ได้อีก เพื่อไห้แน่ใจ ก่อน พอวันต่อมา ก็ทำอีก คราวนี้ ก็ได้ ง่ายกว่าที่เคยทำมาครับ คือ พอได้สภาวะนั้น ก็กำหนดลมหายใจและคงอยู่ กับสภาวะนั้น ประมาณ เกือบ 1 ชั่วโมง เพราะเราอยากไห้มันมั่นคงแนบแน่น และ พอสภาวะนั้น มั่นคงแล้ว คราวนี้ ปล่อยจิตที่กำหนดลมหายใจไปเลย สนใจอยู่กับสภาวะนั้น อย่างเดียว มันก็คงอยู่ได้ ต่ออีก เป็นชั่วโมงเลยครับ รวมเป้น 2 ชั่วโมงกว่า เป็นแบบที่กล่าวมาครับ...

...แต่ครั้งที่ 2 ไม่เบลอมากเหมือนครั้งแรกที่ได้ แต่คือผมยังไม่กล้า ใช้คำว่า ปีติ หรือทุติยฌาน น่ะครับ เพราะมันอาจจะเป็นอะไรที่ ผมคิดอุปาทานไปเอง...

..เพราะฉะนั้น เพื่อไห้แน่ใจ จึงอยากถาม คุณนนท์ น่ะครับ ว่า มันเป็นความรู้สึกที่ตรงกันไหม เพราะ คุณนนท์ บอกว่า ได้ทุติยฌานแล้ว น่ะครับ เพราะ ว่า ใช่ก็น่าจะเหมือนและตรงกับที่ผมอธิบายมาทั้งหมดนะครับ........

....หรือว่าถ้าไม่ใช่ แล้ว จะเป็นยังไงถึงเรียกว่าใช่ ครับ...ช่วยไขความกระจ่างๆให้หน่อยนะครับ....???


โดย: อะไรกัน IP: 192.168.1.123, 61.7.133.149 วันที่: 18 ตุลาคม 2553 เวลา:17:31:39 น.  

 
XXXXXXXXXXXXXXXXXXXX

...อ๋ออีกนิดนึง จริงๆแล้ว มันได้มากกว่านี้อีกครับ ไม่รู้ว่า ฌาณ ที่ 3 หรือเปล่า แต่เป็นเพียงแค่ 3-4 นาที แล้วก็ค่อยๆออก เป็นเพราะว่า ผมตกใจมากนั่นเองครับ คือมันจะวูบบบบบ...ไป ประมาณ 5 วินาที เหมือนถูกดึงเข้าไปในอีกมิตินึง และมีความสุขแบบสงบที่สุด แต่ควบคุมตัวเองไม่ได้เลยครับหัวใจก็เลยเต้นรัวไป เลย...

...คือ หลังจกตกใจ และรู้สึกกลัวนิดๆ จากนั้นก็ตื่นเต้นดีใจอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนในชีวิตน่ะครับ...แต่ กำหนดอะไรต่อไม่ได้เลย...พยายามกำหนดลมหายใจต่อ ก็ไปต่อไม่ได้แล้ว....เลยอยู่ฌาณ 2 ที่เป็นสภาวะที่ผมผมค่อนข้างแน่ใจมากครับว่าใช่....

ที่สำคัญตอนนั้น ตกใจมาก เป็นแค่ เลยค่อยๆคลายออกเลย....แต่ตรงนี้ไห้ผมทำได้อีก ค่อยมาถามนะครับ เพราะเดี๋ยวจะเป็นการคิดอุปาทาน มั่ว เพ้อเจ้อไปเอง ครับ 5555...แต่ผมพิมพ์ใว้หมดแล้ว ไม่ได้มาโกหก หรือ คิดไปเอง แม้แต่คำพูดเดียวเลย นะครับ แต่เดี๋ยวค่อยเอามาถามนะครับ.....ต้องไห้ได้ หลายครั้งติดต่อกันไห้แน่ใจ เหมือน ฌาณที่ 2 ก่อน ค่อยมาถามนะครับ.....

XXXXXXXXXXXXXXXXXXXX

เอออีกนิดนึง มีเรื่องแปลกอยู่นิดนึง หรืออาจะเป้นความบังเอิญก็ได้ ผมยังไม่สรุป คือมาจากภายนอก แต่อันนี้เดี๋ยวค่อยบอกดีกว่า เดี๋ยวจะไปกันไหญ่ แต่อยากรู้ก่อนว่า สภาวะที่ผมอธิบายมาทั้งหมดนี้ ใช่ ฌาณที่ 2 ไหมครับ ....???


โดย: อะไรกัน IP: 192.168.1.123, 61.7.133.138 วันที่: 18 ตุลาคม 2553 เวลา:17:33:13 น.  

 
ตอบ คุณอะไรกัน

ประการแรก ที่จะบอกก็คือ อย่าไปคิดว่า เจริญอานาปาฯ แล้ว ไม่เห็นได้อะไรเลย ทีแรก ผมก็ คิดแบบคุณอะไรกันนี่แหละ ไม่เห็นได้อะไรเลย แต่พอ มาอ่าน อานิสงค์ ของอานาปาฯ แล้ว มีอานิสงค์ใหญ่ ขนาดได้ เป็นพระอรหันต์ทันที หรือ ได้เป็นพระอรหันต์ตอนสิ้นอายุ คือ ถ้าเรายังไม่เป็นพระอรหันต์ทันทีในปัจจุบัน ก็ อาจจะเป็นพระอรหันต์ ตอนตาย ก็ได้ ฉะนั้นอย่าไปคิดว่าเจริญอานาปาฯแล้ว ไม่ได้อะไร อีกประการ ถึง ตอนตาย จะไม่ได้เป็นพระอรหันต์ ก็ อาจจะเป็นการต่อยอดไปในชาติถัดไป ซึ่ง อย่าไปคิดว่ามันไม่ได้อะไรหรือเสียเวลาเปล่า

ประการที่สอง อย่าไปคิดว่า เราจะต้องได้ ฌานในระดับสูงๆ ที่จริง ปฐมฌาน ก็ เพียงพอต่อการเข้าวิมุติแล้ว เรามีหน้าที่เจริญอานาปาฯ ทำให้มาก เจริญให้มาก แค่นั้น ส่วนมันจะได้ฌานไหน ไม่ต้องไปสนใจมัน ก็ได้ครับ ประเด็นสำคัญมันอยู่ที่ให้เราเห็นการเกิดดับของจิต ตะหาก เมื่อมันยังไม่ได้ฌานสูงๆก็ไม่เป็นไร ให้เราตามเห็นการเกิดดับของจิตไป เห็นจิตเกิดดับ คือ เห็นความไม่เที่ยงของจิต ดูอย่างนี้ไปเรื่อยๆโดยไม่ต้องไปสนว่ามันอยู่ฌานไหน ทำแค่นี้ พอแระ ทำไปเรื่อยๆเดี๋ยวเราจะได้ฌานในระดับที่สูงขึ้นไปเอง

ประการที่สาม การวัดความก้าวหน้า ไม่ได้วัดกันด้วยระดับ ฌานที่สูง แต่วัดจากการเพลินของอารมณ์ดับไปเร็วกว่าเดิมหรือหรือไม่ ถ้าได้ฌานสูงๆแต่ความเพลินในภพ หรือเพลินต่ออารมณ์ยังนานอยู่ถือว่าไม่ก้าวหน้า แต่หาก เรายังไม่ได้ฌานระดับที่สูงเลยได้แค่ ฌานหนึ่ง แต่ความเพลินไปกับอารมณ์ สั้นลง เช่น ก่อนนี้ เราเพลินไป ครึ่งชม ตอนนี้เหลือแค่ 15 นาที ก็รู้ตัว แล้วดึงจิตกลับมารู้ลม คือ ถ้าเร็วกว่าเดิม ก็ ถือว่าก้าวหน้าแล้วครับ นี่คือ เครื่องวัดความก้าวหน้า ของการเจริญสมถะและวิปัสสนา ไม่ใช่ เราได้ฌานสูงๆๆแล้วเราจะก้าวหน้า ถ้าเราได้ฌานสี่ แต่เราไปหลงติดสุขในฌานสี่เป็นชั่วโมงก็ถือว่า เราถอยหลัง ไม่ได้ก้าวหน้าอะไร ครับ

ประการที่สี่ ในองค์ฌานที่หนึ่ง หรือ ปฐมฌานนั้น จะประกอบไปด้วย วิตก วิจาร ปิติ สุข อุเบกขา ไม่ใช่ มีแค่ วิตก วิจาร เท่านั้น ต้องมี ปิติ สุข ด้วย ครับ ไม่ใช่ ไปคิดว่า พอวิตก วิจารดับไปแล้วถึงมี ปิติ แล้วถึงจะเป็นฌานที่สอง ไม่ใช่แบบนั้น ครับ วิตก วิจาร ปิติ และสุข สามารถเกิดในระดับ ปฐมฌานแล้ว แต่อาจจะมีครบหรือไม่ครบก็ได้ เครื่องวัด ของปฐมฌานคือ อกุศลดับไปนิวรณ์ห้าดับไป ส่วน ฌานที่สอง( วิตก วิจาร ดับไปแล้ว ) ก็ จะมีแค่ ปิติ สุข อุเบกขา ยังคงเหลืออยู่ ส่วน ฌานที่สาม( ปิติ ดับไปแล้ว ) จะเหลือแค่ สุข อุเบกขา ส่วนฌานที่สี่ ( สุขดับไปแล้ว ) จะเหลือแค่ อุเบกขา เพียงอย่างเดียว

ประการที่ห้า การรู้ลมหายใจ ก็คือการดูจิต จิตคือผู้รู้ ใครเป็นผู้รู้ลมหละ ก็คือ จิต ลมหายใจที่ไหลเข้าไหลออกมันไม่ได้มีความรู้อะไร ที่รู้ว่าลมมันไหลเข้าไหลออกก็คือจิต ฉะนั้น การที่ เราดูการรู้ลมหายเข้า ออก นั่นก็คือการดูจิตนั่นเอง แล้วดูเพื่ออะไร ดูเพื่อให้รู้ว่า จิต ที่เรารู้ลมนั้น มันมีการเกิดดับ นั่นเอง ดูว่า เมื่อ จิต รู้ลม ได้สักพักเดี๋ยวจิตมันก็ไปรู้ความคิดอดีต อนาคต มันดับจากการรู้ลมไปแล้วไปรับรู้อย่างอื่น แล้วพอเรามีสติดึงมันกลับมารู้ลม จิตที่รู้ความคิด อดีต อนาคต ก็ดับไป นี่คือ จุดประสงค์หลักในการเจริญสมาธิวิปัสสนา ทำแค่นี้ โดยไม่ต้อไปสนใจว่า เราอยู่ในฌานไหน เพราะฌานไม่ใช่เป้าหมายหลักในการทำสมาธิวิปัสสนาแต่อย่าง มันจะได้ ฌานที่สูงหรือไม่ก็ไม่ต้องไปสนใจก็ได้ ครับ

ประการที่หก เรารู้ลมหายใจ ไม่ต้องไปบังคับว่ามันสั้นหรือให้มันยาว ไม่ต้องไปทำอะไรมัน แค่เราหายใจเป็นปรกติเหมือนชีวิตประจำวันที่เราหายใจนั่นแหละ หายใจธรรมดา แค่รู้ว่ามันไหลเข้าแล้วไหลออก รู้แค่นี้พอไม่ต้องไปบังคับมันแต่อย่างใด

ตอบ คุณอะไรกัน

1....คำว่า รูปฌาณ หมายความว่าอะไรหรือครับ ถ้าหมายความว่า (การเพ่งที่มีรูปเป็นอารมณ์) หมายถึงลมหายใจคือรูปมาเป็นอารมณ์ของจิตแบบนี้หรือครับ...

ตอบ ใช่ ครับ รูปฌาน หมายถึง การเพ่งรูปเป็นอารมณ์ ในที่นี้ การเจริญอานาปาฯ รูปก็คือ ลมหายใจ การที่เราเจริญสติปัฏฐานสี่ กาย เวทนา จิต ธรรม สามารถ ดู ตรงไหนก็ได้ ครับ ดู กาย ก็ได้ ลมหายใจก็คือกายอันหนึ่งในบรรดากายทั้งหลาย ดู จิต ก็ได้ คือ ดู ผู้รู้ลม ดูเวทนาก็ได้ คือ ดูผู้รู้ลมเฉยๆ คือ ไปดูที่เฉยๆ หรือ ดู อุเบกขา หรือ ดูความนิ่งความว่าง ดูธรรม ก็ได้ คือ ดูการเกิดดับ ของจิต ความไม่เที่ยงความเปลี่ยนแปลงของสมาธิ ทั้งหมดนี้ จะดูมุมไหนก็ได้หมด ในขณะที่ ลมหายใจ ยังไหลเข้าไหลออกอยู่ นี้ เรียกว่ารูปฌาน ครับ

1.2 ...ถ้าเป็นเช่นนั้น งั้น ฌาณขั้นที่ 4 ก็ ก็ไม่ใช่การที่มีรูปเป็นอารมณ์แล้วสิครับ เพราะบอกว่า ไม่มีลมแล้ว หรือมีแต่ ละเอียดจาจับไม่ได้ หรือมีแต่ จิตไม่ไปรู้ หรือว่าเป็นแบบไหนครับ...??

ตอบ ในฌานที่สี่ พระพุทธเจ้าว่า อัสสาสะ ปัสสาสะ จะดับไป คือ ลมหายใจ เริ่มจะแผ่วบางมาก จนกระทั่ง ดับไปในที่สุด แต่พอลมหายใจดับไป ก็ไม่ได้หมายความว่า เราเข้า อากาสานัญจาฯแล้ว เพราะลมหายใจดับ แต่ความรู้ ในธาตุอื่นๆยังมีอยู่ เช่น ธาตุลมตอนนี้ ดับไปแล้ว แต่ธาตุดิน คือร่างกาย จิตยังรับรู้อยู่ว่า ยังมี ร่างกายนี้ที่นั่งสมาธิอยู่ ก็ ยังถือ ว่า เป็นรูปฌานอยู่ครับ จนกว่า จิตจะไม่รับรู้ อะไรเลยที่เป็นธาตุสี่ ดินน้ำไฟลม ดับหมด แสดงว่า เหลือ แต่ นามธรรมแล้ว ก็เข้าถึงอากาสานัญจายตนะ นี่ถึงจะเป็น อรูปสัญญาสมาบัติ พระพุทธองค์ ไม่ทรงใช้คำว่า อรูปฌาน เพราะฌานคือการเพ่งรูป ครับ ในระดับอรูป ไม่มีรูปให้เพ่งแล้ว เหลือแต่ นาม จึงทรงใช้ คำว่า อรูปสัญญา แทน

2....ข้อนี้ งง มากครับแต่ยังไม่ได้ถามคือ ที่บอกว่า...
...ปฐมฌาน มี (วิตกวิจาร) (ปีติ) (สุข)...(เอกัคคตา)

ตอบ ข้อ นี้ ได้ อธิบาย ไปแล้วด้านบน คือ ปฐมฌาน จะได้ ครบเลย ทั้ง วิตกวิจาร ปิติ สุข เอกคตา ครบหมด ครับ หรือ อาจจะไม่ครบ ก็ได้ แต่เครื่องสังเกต ของ ปฐมฌาน คือ อกุศลดับนิวรณ์ห้าดับ แต่ ยังมี วิตก วิจาร อยู่ พอ เราวิตก วิจาร ไปเรื่อย ก็จะเกิด ปิติ และ สุข เอกคตา ตามมา วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกคตา ( อุเบกขา ) องค์ห้าอย่างนี้ คือ ปฐมฌาน ครับ พอ ขึ้น ฌานที่สอง (วิตก วิจาร ดับ ) จะเหลือ แค่ ปิติ สุข อุเบกขา พอ ขึ้น ฌานที่สาม ( ปิติ ดับ ) จะเหลือ สุข กับ อุเบกขา พอขึ้น ฌานที่สี่ จะเหลือแค่ อุเบกขา เพียงอย่างเดียว นี่คือ เครื่องวัดระดับฌานในแต่ละขั้น ไม่ใช่ว่า พอได้ ปิติ แล้วจะเป็นฌานสอง ไม่ใช่ครับ ปิติ สุข ได้แต่ ฌานหนึ่งเลย แต่ คนที่ได้ ฌานหนึ่ง อาจจะยังไม่มีปิติ หรือ สุข ก็ ถือ เป็นฌานหนึ่งเช่นกัน เพราะวัดแค่ อกุศลดับนิวรณ์ห้าดับ แต่ยังมีวิตก วิจาร อยู่

3.อยากถามว่า (สัญญาเวทยิตนิโรธ) นี่เป็นการเข้า (นิโรธสมาบัติ) ใช่ไหมครับ ??

ตอบ ใช่ครับ

4.คือข้อนี้ อยากถามเกี่ยวกับ อาการของการได้ฌาณ น่ะครับ ว่าเป็นยังใง คือว่า ผมเจริญ อานาปานสติสมาธิ ก็ได้ ความสงบ ก็ไม่แน่ใจว่า เป็น ฌาณที่ 2 หรือเปล่า แต่ผมคิดว่าใช่น่ะครับ

ตอบ ข้อนี้ ได้ อธิบาย ลักษณะ เครื่องวัดของระดับฌานต่างๆให้ทราบ ในข้อ ข้างบนแล้วครับ ส่วนความรู้สึกที่ พออยู่ใน สภาวะนั้น มันเหมือนมี สภาวะหรือพลังอะไรสักอย่างนึง มากดจิตเราใว้น่ะครับ คือทำไห้จิตใจและร่างกาย เบลอๆ ไม่เหมือนกับสภาวะปกติ...อันนี้ ไม่ใช่ เป็นเครื่องวัดว่าเราได้ฌานที่สอง ครับ

.นี่คือครั้งแรกที่ได้ วันเสาร์ กะว่าจะมาถามคุณนนท์ เลยเอาใว้ไห้ได้อีก เพื่อไห้แน่ใจ ก่อน พอวันต่อมา ก็ทำอีก คราวนี้ ก็ได้ ง่ายกว่าที่เคยทำมาครับ คือ พอได้สภาวะนั้น ก็กำหนดลมหายใจและคงอยู่ กับสภาวะนั้น ประมาณ เกือบ 1 ชั่วโมง เพราะเราอยากไห้มันมั่นคงแนบแน่น และ พอสภาวะนั้น มั่นคงแล้ว คราวนี้ ปล่อยจิตที่กำหนดลมหายใจไปเลย สนใจอยู่กับสภาวะนั้น อย่างเดียว มันก็คงอยู่ได้ ต่ออีก เป็นชั่วโมงเลยครับ รวมเป้น 2 ชั่วโมงกว่า เป็นแบบที่กล่าวมาครับ...

โอ้โห เยี่ยมมากครับ

อ๋ออีกนิดนึง จริงๆแล้ว มันได้มากกว่านี้อีกครับ ไม่รู้ว่า ฌาณ ที่ 3 หรือเปล่า แต่เป็นเพียงแค่ 3-4 นาที แล้วก็ค่อยๆออก เป็นเพราะว่า ผมตกใจมากนั่นเองครับ คือมันจะวูบบบบบ...ไป ประมาณ 5 วินาที เหมือนถูกดึงเข้าไปในอีกมิตินึง และมีความสุขแบบสงบที่สุด แต่ควบคุมตัวเองไม่ได้เลยครับหัวใจก็เลยเต้นรัวไป เลย...

ที่จริง เราแค่สังเกตดูมันเฉยๆว่ามันเกิดอะไรขึ้น ไม่ต้องไปตกใจ เพราะเราไม่มี ถ้าเราตกใจ ก็ มีเราเกิดขึ้น แล้ว ให้เราสักแต่ว่ารู้เฉยๆไปครับ หรือ อะไรมันจะเกิดขึ้น ก็ ไม่ต้องไปสนใจมัน ก็ได้ ครับ ให้เรา รู้อยู่เฉยๆพอ แค่นั้นครับ

ลองใหม่น๊ะครับทำไปเรื่อยๆ ไม่ต้องไปสนใจว่าจะได้ฌานไหน ไม่ต้องไปสนใจว่าอะไรมัน เกิดขึ้นในจิต ก้ ให้ สักแต่ว่ารู้เฉยๆพอครับ อย่าไปสนใจมันมาก แค่ดูว่า อะไร มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วมันก็ดับไป แค่นั้นพอครับ

ขออนุโมทนาด้วยน๊ะครับ


โดย: จูปีเตอร์เทพแห่งดาวพฤหัส วันที่: 18 ตุลาคม 2553 เวลา:23:01:15 น.  

 
...อ้าว เวรกรรม ผมนึกว่าใด้ ฌาณที่2 ซะอีก ผมตะหงิดใจอยู่แล้วว่า มีหลายอย่างที่รู้สึกขัดกัน และ งงๆอยู่....ถ้างั้น คงเป็นอาการเริ่มแรก ของคนที่กำกลังจะป่วยเป็นไข้หวัดนก 2009 มั้งครับ แต่ไปหลงผิดว่าได้ ฌาณ 55555555 เฮ้อออออออออ...ตรงนี้ก็จะพิจรณาต่อไปครับ....

...อ๋อ...คือสรุปคือ ต้องเป็นแบบที่บอกว่า (ประเด็นสำคัญมันอยู่ที่ให้เราเห็นการเกิดดับของจิต เมื่อมันยังไม่ได้ฌานสูงๆก็ไม่เป็นไร ให้เราตามเห็นการเกิดดับของจิตไป เห็นจิตเกิดดับ คือ เห็นความไม่เที่ยงของจิต ดูอย่างนี้ไปเรื่อยๆโดยไม่ต้องไปสนว่ามันอยู่ฌานไหน ทำแค่นี้ พอแระ ทำไปเรื่อยๆเดี๋ยวเราจะได้ฌานในระดับที่สูงขึ้นไปเอง)...

..อ๋อ นี่คือการที่อธิบายการปฏิบัติ ที่ตรงตามแนวทางที่ควรจะเป็นมากที่สุด เพื่อนำไปสู่ความหลุดพ้น ใช่ไหมครับ พิจรณาดูที่ คุณนนท์ ตอบก็ละเอียดมากเลยครับ คือ เป็นแนวทางที่ลัดสั้นตรงสู่นิพพานเร็วมากที่สุด โดยที่ไม่หลงไปกับความงมงายหรืออะไรมากเกินไปด้วย โอ้โห อ่านดูแล้ว รู้สึกว่าคุณ นนท์ นี่ ละเอียดละออดีเหลือเกิน...

((((( และสงสัยต่อไปคือ ))))))

...ก็สงสัย แบบที่เคยสงสัยอยู่นั่นแหละว่า ถ้าประเด็นอยู่ที่ (ให้เห็นการเกิดดับ) ฟังดูก็ น่าจะเป็นแบบนั้น คือ (เห็นเกิดดับ) แล้วเราก็น่าจะเบื่อหน่าย และ คลายกำหนัด และทำให้จิตปล่อยวางและหลุดพ้นได้...???

...แต่คือความรู้สึกผม ซึ่งผมก็เชื่อว่า หลายคน หรือใครๆที่ไหน ก็รู้ว่า นาม หรือ รูป ทุกสิ่งมันก็เกิดดับ คือใครๆก็รู้ประมาณนี้ น่ะครับ...คือ รู้อย่างนี้แล้ว คนส่วนไหญ่ก็ปล่อยวางไม่ได้อยู่ดี....ใครๆก็รู้ว่า โลกนี้ต้อง เสื่อมสลายอยู่ตลอด เป็น ไตรลักษณ์...แต่เขาก็ปล่อยวางไม่ได้.....

...คือ ผมรู้สึกว่า ใครๆก็เห็นรูปนามเกิดดับได้ โดยที่ไม่ต้องไปนั่งเพ่งจิตไห้รู้การเกิดดับไห้ยุ่งยากน่ะครับ แต่ความสงสัยของผมคือ ไม่มีความแตกต่างกัน ระหว่าง คนทั่วไปที่ดำเนินชีวิตประจำวัน ที่คนทั่วไปก็เห็นว่า สภาพจิตใจของเขาก็เปลื่ยนเกิดดับอยู่ตลอด ...เช่น เดี๋ยว ดีใจ เดี๋ยวโกรธ ต่างๆนาๆ รถยนต์ ใช้มาหลายปีก็พัง บ้านอยู่มาหลายปีก็ผุพัง และทุกสิ่งก็เปลื่ยนแปลงเกิดดับอะไรประมาณนี้.....

...ฉะนั้นผมมาคิดดูก็เลย สงสัยว่า ประเด็นมันอยู่ที่ การที่จะต้องไปนั่งเพ่งให้เห็นเกิดดับ แบบนั้น มันจะทำให้ เบื่อหน่ายคลายกำหนัด ได้ในลักษณะไหน หรือว่า มันเป็นสภาวะที่ละเอียดกว่า การที่เราดำเนินชีวิตประจำวันปกติ และรู้ว่า จิตใจเราก็เปลื่ยนไปมาอยู่ตลอด หรือ พวกทรัพย์สมบัติ ต้องเสื่อมสลาย หรืออื่นๆ ในชีวิตประจำวันปกติ......

...แต่ ถ้าสำหรับผมเองแล้ว รู้สึกว่า ผมไม่ค่อยสนใจที่อยากจะไปนั่งเพ่งจ้องเพื่อที่จะเห็นเกิดดับนะครับ ซึ่งผมก็รู้ว่า มันไม่ตรงกับประเด็นหลัก ที่เราก็ได้ยินมาตลอดว่า จะต้องไห้เห็น สภาวะแห่งความเป็นไตรลักษณ์........

...แต่ความรู้สึกของผมยังคงเป็นแบบที่เคยบอกไปตั้งนานแล้วว่า ผมไม่สนใจหรอกว่า มันจะเกิดหรือจะดับ คือ (ทุกสิ่งจะ เที่ยงแท้มีอยู่ตลอดไป) ผมก็ไม่สนใจ (ทุกสิ่งจะ มีแต่ความสุขไม่มีความทุข์เลย) ผมก็ไม่สนใจ (ทุกสิ่งจะ มีตัวตนยั่งยืนถาวรณ์ตลอดไป) ผมก็ไม่สนใจอีก.....

...ผมแค่รู้สึกว่า ทุกสิ่งมันก็แค่นั้นแหละ ก็วนเวียนอยู่อย่างนี้ ในวัฏสงสาร....แต่เห็นโทษ และการเห็นโทษของผมก็ ไม่ได้เห็นการเกิดดับ แบบที่ พระพุทธองค์บอก หรือฟังจากที่ พระอาจารณ์ คึกฤทธิ์ บอกบ่อยๆ ใช่ไหมครับ แต่การเห็นโทษของผมมีลักษณะเดียว คือ (การเกิดมันเป็นทุกข์)นั่นเอง...

...เพราะฉะนั้น การเห็นโทษ อาทีนวะ ในความรู้สึกเดียว ของผม ก็คือ เห็นว่า (การเกิดมันเป็นทุกข์) แต่ไม่ได้เห็นโทษว่า ทุกสิ่งมันเดินไปสู่ ไตรลักษณ์....ตรงนี้ ผมรู้สึกแบบนี้ ซึ่งก็ไม่ตรงกับ ประโยคที่ว่า เห็นโทษ คือเห็นว่า มันดับไปได้ ใช่ไหมครับ.....

...เพราะอย่างที่บอกไปว่า ผมไม่สนใจหรอกว่า ทุกสิ่งมันจะเกิดดับหรือเปล่า ต่อไห้มัน เกิด และมีถาวร ไม่ดับ อย่างที่บอกไป ผมก็ไม่สนใจ ที่ผมต้องการคือ อยากออกการการเวียนไหว้ตายเกิดเท่านั้น เพราะไม่เห็นสาระของการ มีการเป็น และที่สำคัญ คือ (การเกิดมันเป็นทุกข์) แค่นั้นเอง...

...แต่ฟังดูอาจจะเป็นเรื่องเดียวกันใช่ไหมครับ คือ เห็นโทษ อาทีนวะ คือ (การเกิดมันเป็นทุกข์) ก็คือ การเกิดมันดับไปไงล่ะ แต่ไม่ใช่ครับ เพราะความรู้สึกของผมมันเห็นโทษ แค่ตรงที่ว่า...เวทนาทางกายและใจเท่านั้น....ที่เป็นทุกข์ นอกจาก เวทนาแล้ว ผมไม่สนใจที่จะพิจรณาไห้เห้นเกิดดับ น่ะครับ.....

...สรุปก็คือ การเห็นโทษของผม ไม่ได้อยู่ที่การพยายามไปเห็น การเกิดดับ ของทุกสิ่ง แต่ เบื่อหน่ายต่อ (การเกิดของเวทนาที่เป็นทุกข์) เท่านั้นเอง...แบบนี้ ความรู้สึกของผมมัน ผิดแผก แปลกแยก ออกไปไหมครับ...หรือว่าขึ้นอยู่กับ แต่ละบุคคลว่า จะรู้สึกแบบไหนก็ได้ ขอไห้หลุดพ้นก็พอ....

...ส่วน รูปฌาณขั้นที่4 ก็คือ ยังเห็นรูปก็คือร่างกายที่ยังเป็นรูปอยู่นั้นเอง ก็เลยเป็นรูปฌาณ....

...ถามต่ออีกนิดนึงว่า...ที่บอกว่า ผู้ที่ได้ฌาณ ขั้นที่ 4 แล้ว จะสามารถ รู้แจ้งแทงตลอด ธาตุ อันเป้นอเนก นี่หมายความว่าไงครับ...

...หรือหมายความว่า รู้แจ้งสภาวะของ รูปนาม ว่าเป็นเพียง ธาตุ แต่ละชนิดๆ ว่าเกิดขึ้นเพราะปัจจับปรุงแต่ง เป็นเหตุหนุนเนืองกัน ไม่ใช่ สัตว์บุคคล ตัวคน แบบนี้ เป้นคำจำกัดความของคำว่า (รู้แจ้งแทงตลอด ธาตุ อันเป้นอเนก) ไหมครับ ..???

...อ๋ออีกนิดนึงคือ...การเจริญสติ วิปัสนา ของผมในรายละเอียด ก็เปลื่ยนพลิกไปพลิกมา นิดหน่อย...แต่ตอนนี้จะเป็นแบบนี้คือว่า เนื้อความสำดัญที่ผมจะเตือนตัวเองบ่อยๆในการปฏิบัติ ก็คือว่า......

...กำหนดในใจข่ม (ราคะ โทสะ โมหะ) พอเกิดก็ขว้างทิ้งทำไห้กระจัดกระจายหายไป ให้ทันทีเลย คือเพียรเผากิเลส และ ขณะเดียวกันก็มาเฝ้าดูอยู่กับ ตัว สัญญา และสังขาร(ที่ข่มโมหะใว้) เพราะฉะนั้น สัญญา และสังขารที่กำลังเฝ้าดูนี้ เป็นธรรมกลางๆ ไม่ใช่กรรมดำและกรรม ขาว เพราะ กดข่ม (ราคะ โทสะ โมหะ) ใว้ชั่วคราวแล้ว...

.....จึงดูรู้อยู่กับ ตัวเวทนา และสังขาร ทีเป็นธรรมกลางๆ ไม่ใช่กรรมดำและกรรมขาว และขณะที่ดูอยู่นั้น อย่าเข้าไปเป็นมัน และอย่ายึดว่ามันเป็นเรา...แต่ที่อธิบายมานี้ เป้นการ แฏิบัติ ที่ ทำงานตามปกติไปด้วยได้เลยนะครับ....แบบนี้ เป็นไง โอเค ไหมครับ....หรือต้องปรับเปลื่ยนมุมไหน ช่วยบอกหน่อย นะครับ.....

...เอ๊ ผมค่อนข้าง งง กับตัวเองอยู่นิดนึง ที่บอกว่า ผม กดข่ม ราคะ โทสะ และ กดข่ม โมหะ(อวิชชา) ด้วย ผมก็ไม่แน่ว่า กดข่ม โมหะ(อวิชชา) ด้วยได้ใช่ไหมครับ หรือว่า โมหะ(อวิชชา) กดข่มไม่ได้ แต่มันเป็นผลที่ เกิดจากจิตที่หลุดพ้นแล้ว หรือว่าไงครับ ตรงนี้ผม งงครับ บอกหน่อยนะครับ...55....???

...แต่ผมจะคิดไปเองว่า อะไรเป็นอกุศล ข่มไห้หมดใว้ก่อนเป็นดีกว่าไปเลย...คือเสียเวลาไม่ได้แล้ว ต้องรีบ ออกจากวัฏสงสาร แล้ว....

...เอ๊ นึกออกว่า มันอะไรสักอย่างนึง ที่ผมฟังจาก พระอาจารณ์ ที่บอกว่า อะไร เป็นสายของอะไรสักอย่าง เช่น ศีล เป็นเหตุไห้เกิด อวิปปตสาร และต่อๆไป มีพวก สุข สมาธิ ยถาภูตญาณทัสนะ นิพพิทา เบื่อหน่าย แล้วก็ หลุดพ้น วิมุต อะไรพวกนี้ มันคืออะไรครับ เป็นสายของอะไร ไม่เห็นเน้น เหมือน ปฏิจจสมุปบาทเลยครับ.......... ???

...คืออาจะเป็นคำถามกระจายๆอยู่ นะครับ ไมได้เรียงเป็นหัวข้อ เป็นระเบียบร้อย อะไรมาก ก็โทษทีครับ 5555.....


โดย: อารันไก@งงติ๊บ !!! IP: 192.168.1.101, 61.7.133.111 วันที่: 19 ตุลาคม 2553 เวลา:14:09:18 น.  

 
อ๋อ สงสัยคุณ นนท์ ติดธุระ ยงไม่ว่าง มาตอบ งั้น เดี๋ยวค่อยมาใหม่ เพราะผมก็มีคำถามเกี่ยวกับ พวกเรื่อง ฌาณอีก หลายข้อเลย ยิ่งปฏิบัติไปยิ่งสงสัย มันงงขึ้นมาเอง งงมากๆ...........................ขออนุโมทนา........

...อ๋อนิดนึงครับ ย่อหน้านั้นผมพิมพ์ผิด คือต้องเป็น....

(.....จึงดูรู้อยู่กับ ตัว สัญญา และสังขาร ทีเป็นธรรมกลางๆ ไม่ใช่กรรมดำและกรรมขาว และขณะที่ดูอยู่นั้น อย่าเข้าไปเป็นมัน และอย่ายึดว่ามันเป็นเรา...)


โดย: อะไรกัน IP: 192.168.1.53, 61.7.133.45 วันที่: 20 ตุลาคม 2553 เวลา:12:55:16 น.  

 
ตอบ คุณ อะไรกัน

1 คือความรู้สึกผม ซึ่งผมก็เชื่อว่า หลายคน หรือใครๆที่ไหน ก็รู้ว่า นาม หรือ รูป ทุกสิ่งมันก็เกิดดับ คือใครๆก็รู้ประมาณนี้ น่ะครับ...คือ รู้อย่างนี้แล้ว คนส่วนไหญ่ก็ปล่อยวางไม่ได้อยู่ดี....ใครๆก็รู้ว่า โลกนี้ต้อง เสื่อมสลายอยู่ตลอด เป็น ไตรลักษณ์...แต่เขาก็ปล่อยวางไม่ได้.....

ตอบ ก็ บารมี แต่ละคนสั่งสมมาไม่เท่ากันครับ บางคน เห็นเกิดดับครั้งเดียว เป็นพระอรหันต์เลย บางคน ต้องเห็นเป็นแสนครั้ง บางคนต้องเห็นเป็นล้านครั้ง อยู่ที่บารมี สะสมกันมาเท่าไร ดูอย่าง มาลุมกายบุตร สันตติอำมาตย์ พาหิยะ เห็นปุ๊บ บรรลุเลย แต่ พระอานนท์ อยู่ใกล้ชิดพระพุทธเจ้า รู้ธรรมะมาก พระพุทธเจ้า ปรินิพพานแล้ว พระอานนท์ ยัง เป็นแค่ พระโสดาบัน ผมถึงบอกว่า อย่าไปคิดว่า เจริญอานาปา แล้วเสียเวลาเปล่า เพราะ ถึงเราจะไม่บรรลุในชาตินี้ แต่มันก็เป็นการสั่งสม บารมี เพื่อไปต่อยอดในชาติถัดไปให้บรรลุง่ายขึ้น ส่วน ที่ว่า ใครๆๆก็ รู้ว่า ทุกสิ่งไม่เที่ยง มีเกิดก็มีดับ แต่ เขาไม่เห็นตามสภาวะที่เป็นจริงที่ปรากฏมันก็ยาก การรู้จากทฤษฎี กับ รู้จากการ เห็นจริง มันต่างกัน เหมือน คนตาบอดแต่กำเนิด ไม่เคยเห็นสีแดง เราบอกเขาว่า สีแดงเป็นยังไง แดง แชดๆแดงแสบตา แดงสด แต่เขาไม่เคยเห็น เขาก็รู้แค่ว่า สีแดงมันเป็นอย่างไรแต่ คำพูด แต่ถ้าเขาได้เห็น สีแดงจริงๆ เขาก็จะรู้ว่า อ๋อ แบบนี้นี่เอง ที่เรียกว่า สีแดง เป็นต้น

2 สำหรับผมเองแล้ว รู้สึกว่า ผมไม่ค่อยสนใจที่อยากจะไปนั่งเพ่งจ้องเพื่อที่จะเห็นเกิดดับนะครับ ซึ่งผมก็รู้ว่า มันไม่ตรงกับประเด็นหลัก ที่เราก็ได้ยินมาตลอดว่า จะต้องไห้เห็น สภาวะแห่งความเป็นไตรลักษณ์

ตอบ การเห็น การเกิดดับ นี่แหละเป็นไตรลักษณ์ที่ชัดเจนที่สุดและเห็นง่ายที่สุด เพราะมันเกิดดับตลอดเวลา ถ้าจะรอเห็น รูปกายแตกดับ รูปภายนอกมันเสี่ยม มันต้องรอเวลา กีปี 10ปี 20ปี แต่นี่ วิญญาณเรา เกิดดับ ให้เห็น ตลอดเวลาเลย แล้ว เราปล่อยวางวิญญาณ ตัวเดียว ขันธ์ห้า ก็หมด อุปาทานในขันธ์ ห้า เลย แต่ถ้า มองแต่รูป ร่างกาย หรือ สิ่งของภายนอกมันเสี่อมมันดับ เราแค่ปล่อยวางรูปได้อย่างเดียว ต้องมาปล่อยวาง นามธรรมอีก วิธี ลัดสั้นง่าย เห็นวิญญาณเกิดดับ วิมุติญาณทัศนะ ไม่เอาวิญญาณแล้ว หลุดพ้นเลย ลัดสั้นง่าย สะดวกสบายต่อการเข้ามรรคผลนิพพานเลย


3 การเห็นโทษ อาทีนวะ ในความรู้สึกเดียว ของผม ก็คือ เห็นว่า (การเกิดมันเป็นทุกข์) แต่ไม่ได้เห็นโทษว่า ทุกสิ่งมันเดินไปสู่ ไตรลักษณ์....ตรงนี้ ผมรู้สึกแบบนี้ ซึ่งก็ไม่ตรงกับ ประโยคที่ว่า เห็นโทษ คือเห็นว่า มันดับไปได้ ใช่ไหมครับ.....

ตอบ ตรงสิครับ พอเราเห็นโทษ ของมัน คือมันดับไปได้ นี่แหละ เห็นว่ามันดับนี่คือเห็น ทุกขัง หละ พอเห็นทุกขัง ก็จะ มีความรู้เกิดขึ้นมา ว่า นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา เพราะ เพราเป็นคนเห็นว่ามันดับ เหมือนเราเห็น แมวเดินมา ถูรถทับตายไปต่อหน้า แสดงว่า เราไม่ใช่แมว เพราะเราเห็นมันดับไปต่อหน้าต่อตา

4 การเห็นโทษของผม ไม่ได้อยู่ที่การพยายามไปเห็น การเกิดดับ ของทุกสิ่ง แต่ เบื่อหน่ายต่อ (การเกิดของเวทนาที่เป็นทุกข์) เท่านั้นเอง...แบบนี้ ความรู้สึกของผมมัน ผิดแผก แปลกแยก ออกไปไหมครับ...หรือว่าขึ้นอยู่กับ แต่ละบุคคลว่า จะรู้สึกแบบไหนก็ได้ ขอไห้หลุดพ้นก็พอ

ตอบ เห็น เวทนา ว่า มัน เป็น ทุกข์ ก็ได้ ครับ แต่ เวทนา มัน มี สุข ทุกข์ อุเบกขา ทีนี้ พอ เราสุข เราก็ ไม่ค่อยจะเห็นโทษ พอเราเฉยๆว่างๆๆ เราก็ไม่เห็น โทษ ของมันอีก มันก็เป็นการยากที่จะหลุดพ้น โดยเฉพาะ อุเบกขา เนี่ย ปล่อยยากมาก เพราะ พระพุทธองค์ตรัสว่า เราไม่เห็นโทษของอุเบกขาเลย นอกจากว่า มันดับไปได้ นี่ไง อุเบกขา ไม่มีโทษเลย โทษของมันคือ มันดับ เพราะฉะนั้น ก็ ต้องคอยเห็นโทษของมันจนเกิดนิพิททาญาณ นั่นแหละครับ

5 ถามต่ออีกนิดนึงว่า...ที่บอกว่า ผู้ที่ได้ฌาณ ขั้นที่ 4 แล้ว จะสามารถ รู้แจ้งแทงตลอด ธาตุ อันเป้นอเนก นี่หมายความว่าไงครับ

ตอบ หมายความว่า สามารถ น้อมจิต ไป ทำอะไรก็สามารถทำได้ เช่น บุเพนิวาสานุสติญาณ จุตูปปาตญาณ จะเหาะไปพรหมโลก ลงไป นรก ดู เปรต ดำดิน เดินบนน้ำ ลูบคลำดวงอาทิตย์ดวงจันทน์ ทั้งๆที่ ยังนั่งสมาธิอยู่ สามารถทำได้หมด

6 ดูรู้อยู่กับ ตัวเวทนา และสังขาร ทีเป็นธรรมกลางๆ ไม่ใช่กรรมดำและกรรมขาว และขณะที่ดูอยู่นั้น อย่าเข้าไปเป็นมัน และอย่ายึดว่ามันเป็นเรา...แต่ที่อธิบายมานี้ เป้นการ แฏิบัติ ที่ ทำงานตามปกติไปด้วยได้เลยนะครับ....แบบนี้ เป็นไง โอเค ไหมครับ....หรือต้องปรับเปลื่ยนมุมไหน ช่วยบอกหน่อย นะครับ

ตอบ ที่ปฎิบัติมา ก็ ถูกต้องแล้ว น๊ะครับ ไม่ต้องปรับเปลี่ยนอะไร

7 ผมค่อนข้าง งง กับตัวเองอยู่นิดนึง ที่บอกว่า ผม กดข่ม ราคะ โทสะ และ กดข่ม โมหะ(อวิชชา) ด้วย ผมก็ไม่แน่ว่า กดข่ม โมหะ(อวิชชา) ด้วยได้ใช่ไหมครับ หรือว่า โมหะ(อวิชชา) กดข่มไม่ได้ แต่มันเป็นผลที่ เกิดจากจิตที่หลุดพ้นแล้ว หรือว่าไงครับ ตรงนี้ผม งงครับ บอกหน่อยนะครับ...55....???

ตอบ โมหะ คือ ความ หลง หรือ ความไม่รู้ คงข่มไม่ได้ ครับ ข่มได้แต่ ราคะ กับ โทสะ สำหรับโมหะ ข่มไม่ได้ นอกจากละมันเลย คือ ต้องมี วิชชา เกิดขึ้น ดับอวิชา ได้ โมหะ ก็จะดับไป ครับ

8 นึกออกว่า มันอะไรสักอย่างนึง ที่ผมฟังจาก พระอาจารณ์ ที่บอกว่า อะไร เป็นสายของอะไรสักอย่าง เช่น ศีล เป็นเหตุไห้เกิด อวิปปตสาร และต่อๆไป มีพวก สุข สมาธิ ยถาภูตญาณทัสนะ นิพพิทา เบื่อหน่าย แล้วก็ หลุดพ้น วิมุต อะไรพวกนี้ มันคืออะไรครับ เป็นสายของอะไร ไม่เห็นเน้น เหมือน ปฏิจจสมุปบาทเลยครับ.......... ???

ตอบ อ๋อ นั่น ก็ เป็น ปฏิจจสมุปบาท เหมือนกันครับ แต่ เป็นสายดับ ครับ

คำถาม น่าจะตอบให้หมดแล้ว ถ้ายังสงสัยตรงใหน ก็ มาถามใหม่น๊ะครับ อนุโมทนาด้วยครับ


โดย: จูปีเตอร์เทพแห่งดาวพฤหัส วันที่: 20 ตุลาคม 2553 เวลา:13:01:17 น.  

 
...มีข้อสงสัย อยากถาม แต่โปรดอย่าเพ่งรำคาญ นะครับ 55 กลัวคุณนนท์ อาจจะคิดว่า ทำไม มาจม อยู่กับ สมาธิอย่างเดียวล้วนๆ โดยไม่สนใจ เห็นเกิดดับ....!!!

(((...คือ ผมอยากรู้ สภาวะ โดยละเอียด ของ ฌาณ น่ะครับ...ว่าเป็นยังไง...))) จึงอยากถามดังต่อไปนี้...

1. ...ปฐมฌาณ คือสภาวะ ของจิต ในขณะที่ กดข่ม นิวรณ์5 ใว้ได้ คือ ขณะนั้น สภาพจิตใจ ก็ยังเป็นเหมือนปกติธรรมดา ไม่ได้พิเศษอะไร เพียงแต่ เราไม่ตกเป็นทาษของ นิวรณ์ธรรม ถูกต้องไหมครับ...?

...แต่อยากรู้ว่า ขณะที่เป็น ปฐมฌาณ นั้น มันจะไม่มีอะไรแปลกพิเศษไปกว่าธรรมดา เหมือน ฌาณ ขั้นที่ 2 หรือ ขั้นที่สูงๆ ขึ้นไป คือก็ยังเป็นสภาวะปกตินี่แหละ ใช่ไหมครับ...??

2. ...คำว่า [วิตก-วิจาร] นั้น (วิตก หมายความว่า กำหนดเพ่งจิตให้อยู่กับอารมณ์นั้น) และ (วิจาร หมายความว่า ประคองจิตให้อยู่กับอารมณ์นั้นไปตลอด) คืออยากถามว่า มีความหมายนี้ ความหมายเดียวใช่ไหมครับ...?

...แต่ [วิตก-วิจาร] ไม่ได้หมายความว่า จิตปรุงแต่ง หรือ คิดนึก อะไรแบบนี้ ใช่ไหมครับ เพราะ รู้ลมหายใจ ก็คือ จิตที่คิดนึก ปรุงแต่ง นั่นแหละ แต่ เป็นการ คิดนึก ปรุงแต่ง ในลักษณะที่เพ่งอยู่กับอารมณ์เดียว นานๆ...??

3. ...ทุติยฌาณ คือสภาวะ ของจิต ที่ปล่อยละ [วิตก-วิจาร] คือ จิตไม่ไปคิดถึงลมอีกแล้ว คือไม่สนใจลมหายใจแล้ว แต่ เปลื่ยนไป คิดถึง ปีติ แทน ถูกต้องใช่ไหมครับ...?

4. ...ในขณะที่ อยู่ใน ฌาณ2 (ทุติยฌาณ) และ ต้องการ ไปสู่ ฌาณที่3 (ตติยฌาณ) นั้น ก็ ให้เพิกเฉย หรือปล่อย ปีติไป คือไม่สนใจมัน และมาอยู่กับ อุเบกขา แทน ถูกต้องไหมครับ พอละเอียดขึ้น ก็จะเข้าสู่ ฌาณที่3 (ตติยฌาณ) ได้ และฌาณขั้นที่สูงขึ้นๆไป ก็ทำแบบเดียวกันนี่ไปเรื่อยๆ....แบบนี้ใช่ไหมครับ.....?

...คือผม งง ตรงที่ว่า ถ้าอยู่ตั้งแต่ ในฌาณที่ 2 (ทุติยฌาณ) และต้องการไปสู่ฌาณขั้นสูงๆ ต่อไป ก็คือไห้ปล่อยหรือเพิกเฉยต่อ องค์ฌาณนั้นๆ แล้วอยู่อุเบกขา ไปแบบนั้น หรือว่า มารู้ลมหายใจเข้าออกต่อไปอีก...งง ตรงนี้ล่ะครับ...??

...เพราะถ้าอยู่ใน ฌาณที่ 2 แล้วไป กำหนดรู้ลมหายใจต่ออีก เพื่อให้จิตสงบ เพื่อผลักดันไปสู่ฌาณที่สูงขึ้น ...ก็เท่ากับว่า ถอยกลับ ไป ฌาณที่ 1(ปฐมฌาณ) อีกแล้ว มันก็ขัด กับที่บอกว่า ตั้งแต่ ฌาณที่ 2 จะปล่อย [วิตก-วิจาร] คือปล่อยการกำหนดลมหายใจเข้าออกไปแล้ว ตกลงเป็นยังไง...งงครับ....???

5. ...สมาธิ ระดับ รูปฌาณ4 ในทุกขั้น นั้น ก็มีจิตที่ คิดนึกปรุงแต่งอยู่ด้วยตลอด จนไปถึงฌาณที่4 ก็ยังมี ความคิดนึกปรุงแต่งอยู่ด้วยตลอด แต่เป็นการคิดนึกที่ อยู่กับอารมณ์เดียวนานๆ ถูกต้องไหมครับ...?

...แต่ไม่ได้หมายความว่า การคิดนึงปรุงแต่ง นั้น จะอยู่กับอารมณ์เดียวไปตลอด ทุกๆขณะจิต เลย แต่เป็นการคิดนึกในอารมณ์เดียวติดต่อกันนานๆ เป็นส่วนใหญ่ คือต้องเน้นคำว่า {{{ เป็นส่วนใหญ่ }}} ในลักษณะที่ เรียกว่า ทรงใว้ได้....ถูกต้องไหมครับ...??

6. ...คือข้อนี้ ผมอยากรู้ สภาวะของคำว่า (((ทรงจิตใว้ได้))) ใน ฌาณ แต่ละขั้นนั้น คือ 1 ในบรรดาผลทั้งหลาย ที่เกิดปรากฏเหล่านั้น คือ มันต้องมีสภาวะอะไรสักอย่างนึง ที่เกิดเป็นผลต่อ (((จิตใจ และ ร่างกาย))) ด้วย อย่างที่เราก็รู้ได้จากการศึกษามาหรือท่องจำได้ใช่ไหมครับ...?

...เพราะฉะนั้น คุณนนท์ บอกว่า ได้ฌาณที่ 2 และ เฉียดๆ ฌาณที่ 3 มาแล้ว ผมจึงอยากถามว่า มันเป็นสภาวะ เหมือนกับที่เราท่องจำได้ใช่ไหมครับว่า...เช่น พวก (กายไหวโคลง) (จิตแนบแน่น) (น้ำตาไหล) (ขนพองสยองเกล้า) อะไรต่างๆนานา...ฯลฯ...??

...และที่สำคัญ คือ อยากรู้ว่า มันจะมี ((((สภาวะหรือพลัง)))) อะไรสักอย่าง มาแผ่ซ่าน อยู่กับร่างกายและจิตใจ คือตรึงอยู่กับเราตลอดเวลา ในลักษณะที่เราจะรู้สึกได้ชัดว่า มันกำลัง ครอบคลุมเราอยู่แบบนี้ไหมครับ....ตรงนี้อยากรู้มากๆ...?????......0_o...????????

###############

!!!..เอ๊ อีกนิดนึงที่คุณ นนท์ อธิบายความหมายของคำว่า (รู้แจ้งแทงตลอดซึ่งธาติอันเป็นเอนก) งงเลยครับ ผมนึกว่าหมายความว่า ได้ วิปัสนาญาณ อะไรประมาณนี้ แต่ดันหมายความว่า น้อมจิตไปเพื่อคุณวิเศษ 555 ....งงเลยครับ ไม่เห็นตรงกับ คำว่า (ธาตุอันเป็นเอนก) เลยครับ....!!!....0_o....!!!

###############


โดย: อะไรกัน IP: 192.168.1.53, 61.7.133.145 วันที่: 21 ตุลาคม 2553 เวลา:17:25:52 น.  

 
ตอบ คุณ อะไรกัน

ไม่เป็นไร ครับ ไม่ได้รำคาญเลย ถ้าถามปัญหาที่เกี่ยวกับ ธรรมะ ยินดีที่จะตอบให้ ตลอดเวลา ครับ

1 อยากรู้ว่า ขณะที่เป็น ปฐมฌาณ นั้น มันจะไม่มีอะไรแปลกพิเศษไปกว่าธรรมดา เหมือน ฌาณ ขั้นที่ 2 หรือ ขั้นที่สูงๆ ขึ้นไป คือก็ยังเป็นสภาวะปกตินี่แหละ ใช่ไหมครับ...??

ตอบ ที่จริง ฌาน ในระดับต่างๆ ก็ไม่ได้มีอะไรพิเศษ ไปกว่าธรรมดาเลยนี่ครับ ยังไม่เข้าใจคำถามที่ว่า พิเศษไปจากธรรมดานี่หมายถึงอะไรครับ

2. ...คำว่า [วิตก-วิจาร] นั้น (วิตก หมายความว่า กำหนดเพ่งจิตให้อยู่กับอารมณ์นั้น) และ (วิจาร หมายความว่า ประคองจิตให้อยู่กับอารมณ์นั้นไปตลอด) คืออยากถามว่า มีความหมายนี้ ความหมายเดียวใช่ไหมครับ...?

ตอบ คำว่า วิตก วิจาร นั้น ยังไม่พบคำตอบ ที่อธิบายโดยพุทธวจน แต่ ถ้าตาม คำแปล ตามที่ต่างๆแปลไว้ วิตก แปลว่า การปักจิตลงสู่อารมณ์ หรือ จิตจดจ่ออยู่กับอารมณ์ วิจาร แปลว่า การพิจารณาอารมณ์ ถ้าจะแปลตามความหมายที่ถามมา ก็ น่าจะไม่ผิดอะไรน๊ะครับ คือ เพ่งจิตอยู่กับอารมณ์ และ ประคองจิตให้อยู่กับอารมณ์นั้นๆ ก็ น่าจะได้ เหมือนกัน

2.1 [วิตก-วิจาร] ไม่ได้หมายความว่า จิตปรุงแต่ง หรือ คิดนึก อะไรแบบนี้ ใช่ไหมครับ เพราะ รู้ลมหายใจ ก็คือ จิตที่คิดนึก ปรุงแต่ง นั่นแหละ แต่ เป็นการ คิดนึก ปรุงแต่ง ในลักษณะที่เพ่งอยู่กับอารมณ์เดียว นานๆ...?

ตอบ คือ ในปฐมฌาน พระองค์อธิบายว่า ความคิดอกุศลดับ แสดงว่าสามารถ คิดปรุงแต่งไปในทางกุศลได้ การ คิดปรุงแต่งไปในทางกุศล หรือ โยนิโสมนัสสิการ การนึกคิดปรุงแต่งไปในทางกุศล หรือ การพิจารณาธรรมะในลักษณะที่ใคร่ครวญอยู่ในอารมณ์นั้นนานๆ ก็ ถือว่า อยู่ในขั้นปฐมฌานได้เช่นกันครับ

3. ...ทุติยฌาณ คือสภาวะ ของจิต ที่ปล่อยละ [วิตก-วิจาร] คือ จิตไม่ไปคิดถึงลมอีกแล้ว คือไม่สนใจลมหายใจแล้ว แต่ เปลื่ยนไป คิดถึง ปีติ แทน ถูกต้องใช่ไหมครับ...?

ตอบ พอขึ้น ทุติยฌาน วิตก วิจาร ดับ ไป คือ ไม่คิดพิจารณาอะไรแล้ว ในปฐมฌาน เราคิดพิจารณา ธรรมจน เกิด ปิติ สุข จิตตั้งมั่น เป็นอารมณ์อันเดียว ได้นานพอสมควร สักพัก นึง พอ มี ปิติ เกิด สุขเกิด มันจะเลิกพิจารณาธรรมไปเอง วิตกวิจาร จะดับไปเอง หลือ แต่ ปิติ สุข อุเบกขา ทรงอยู่ อย่างนั้น นานพอสมควร สักพัก ปิติ ก็ จะเริ่ม สงบลง และดับไปในที่สุด

4. ...ในขณะที่ อยู่ใน ฌาณ2 (ทุติยฌาณ) และ ต้องการ ไปสู่ ฌาณที่3 (ตติยฌาณ) นั้น ก็ ให้เพิกเฉย หรือปล่อย ปีติไป คือไม่สนใจมัน และมาอยู่กับ อุเบกขา แทน ถูกต้องไหมครับ พอละเอียดขึ้น ก็จะเข้าสู่ ฌาณที่3 (ตติยฌาณ) ได้ และฌาณขั้นที่สูงขึ้นๆไป ก็ทำแบบเดียวกันนี่ไปเรื่อยๆ....แบบนี้ใช่ไหมครับ.....?

ตอบ พอเราทรง ฌานที่สอง ได้เป้นเวลานานๆ ปิติ มันจะดับไปเอง ครับ ลมหายใจมันเริ่มสงบรำงับไปเรื่อยๆ เริ่มละเอียดไปเรื่อย สักพัก ปิติ มันจะดับไปเอง ก็ เข้าสู ฌานที่สาม คือ เหลือแต่สุข กับ อุเบกขา คือพอเราได้ ฌานที่สอง ให้เราพยามทรงฌานนั้นๆไว้ให้ได้ เป็นเวลานานๆ แล้ว มันจะเริ่ม สงบไปเรื่อยๆ อารมณ์อะไรที่มันหยาบ มันจะดับไปเรื่อย ทุกอย่างเริ่มจะละเอียดขึ้นๆ จนอารมณ์ที่หยาบ มันจะค่อยๆดับไปในที่สุด

4.1 ผม งง ตรงที่ว่า ถ้าอยู่ตั้งแต่ ในฌาณที่ 2 (ทุติยฌาณ) และต้องการไปสู่ฌาณขั้นสูงๆ ต่อไป ก็คือไห้ปล่อยหรือเพิกเฉยต่อ องค์ฌาณนั้นๆ แล้วอยู่อุเบกขา ไปแบบนั้น หรือว่า มารู้ลมหายใจเข้าออกต่อไปอีก...งง ตรงนี้ล่ะครับ...??

ตอบ พอได้ฌานที่สอง ก็ ทรงอารมณ์ ฌานที่สอง ให้ได้นานๆจนชำนาญ พอเราชำนาญแล้ว เดี๋ยว มันก็ ขึ้นฌานที่สามไปเองครับ เราไม่ต้องไปทำอะไร ไม่ต้องไปสนใจมันก็ได้ ทำไปเรื่อยๆ มันจะสงบรำงับไปเรื่อยๆเราคอยสังเกตดูก็ได้ครับ ว่า ปิติ ที่เกิดขึ้นมันดับไปไหม ถ้ามันดับไป ก็ แสดงว่า เราขึ้นสู่ฌานที่สามแล้ว เราก็ รู้ลมหายใจต่อไป หรือ จะอยู่กับ อุเบกขา ต่อไป ก็ ได้เหมือนกัน ครับ ใน ทุกๆ องค์ฌาน เราสามารถ อยู่กับลมก็ได้ หรือ อยู่กับ อุเบกขา ก็ได้ ครับ ไม่ได้ผิดอะไร

4.2 ถ้าอยู่ใน ฌาณที่ 2 แล้วไป กำหนดรู้ลมหายใจต่ออีก เพื่อให้จิตสงบ เพื่อผลักดันไปสู่ฌาณที่สูงขึ้น ...ก็เท่ากับว่า ถอยกลับ ไป ฌาณที่ 1(ปฐมฌาณ) อีกแล้ว มันก็ขัด กับที่บอกว่า ตั้งแต่ ฌาณที่ 2 จะปล่อย [วิตก-วิจาร] คือปล่อยการกำหนดลมหายใจเข้าออกไปแล้ว ตกลงเป็นยังไง...งงครับ....???

ตอบ การรู้ลมหายใจ พระพุทธองค์ตรัสว่า ทำได้ตั้งแต่ ฌานที่หนึ่ง จนถึง ฌานที่สาม แต่ลมหายใจเข้า และ ลมหายใจออก ความหยาบและละเอียด จะแตกต่างกัน พอฌานที่สูงขึ้นไป ลมหายใจเริ่มจะเบาเริ่มจะละเอียดมากขึ้น เราก็หายใจเป็นปรกตินี่แหละครับ แต่ลมมันจะละเอียดมากขึ้นไปเรื่อยๆ เราก็ไม่ต้องไปกำหนดอะไร แค่หายใจเป็นปรกติธรรมดานี่แหละครับ แค่รู้ว่า ลมมันเข้า ลมมันออก ก็รู้แค่นี้ พอ ไม่ต้องไปทำอะไร หรืออยู่กับ ความนิ่งความว่าง อุเบกขาก็ได้ ครับ

5. ...สมาธิ ระดับ รูปฌาณ4 ในทุกขั้น นั้น ก็มีจิตที่ คิดนึกปรุงแต่งอยู่ด้วยตลอด จนไปถึงฌาณที่4 ก็ยังมี ความคิดนึกปรุงแต่งอยู่ด้วยตลอด แต่เป็นการคิดนึกที่ อยู่กับอารมณ์เดียวนานๆ ถูกต้องไหมครับ...?

ตอบ พระพุทธองค์ตรัสว่า สมาธิในระดับ รูปฌาน ทุกระดับ ตั้งแต่ ฌานที่หนึ่งถึงฌานที่สี่ ขันธ์ทั้งห้า ยังทำงานอยู่ครับ ยังมีการเกิดดับอยู่ อยู่ที่ว่า มันไปเกิดที่ใหน เช่น เราพยายามอยู่กับลมหายใจ เดี๋ยวมันก็ไป คิดอดีต บ้าง อนาตค บ้าง สุขบ้าง ทุกข์บ้าง อุเบกขาบ้าง มันจะไปใหนก็ตาม ให้เราดึงจิตกลับมา ที่ลมหายใจหรือ อุเบกขา ทำแบบนี้ ไปเรื่อย ในทุกระดับขององค์ฌาน ตั้งแต่ฌานที่หนึ่ง จนถึงฌานที่สี่เลย ครับ แต่ การเกิดดับ มันก็จะละเอียดไปตามระดับของฌาน ในฌานสูงๆการเกิดดับจะละเอียดมาก เหมือนความคิดต่างๆมันเบาบางมาก ต้องใช้สมาธิดีดีในการสังเกตครับ

5.1 แต่ไม่ได้หมายความว่า การคิดนึงปรุงแต่ง นั้น จะอยู่กับอารมณ์เดียวไปตลอด ทุกๆขณะจิต เลย แต่เป็นการคิดนึกในอารมณ์เดียวติดต่อกันนานๆ เป็นส่วนใหญ่ คือต้องเน้นคำว่า {{{ เป็นส่วนใหญ่ }}} ในลักษณะที่ เรียกว่า ทรงใว้ได้....ถูกต้องไหมครับ...??

ตอบ การนึกคิดปรุงแต่ง พระพุทธองค์เรียกว่า เพลิน หรือ นันทิ เมื่อเรามีสติ รู้ตัว ต้องรีบดับหรือทิ้งอารมณ์นั้นๆให้ไว ผู้ใด ทิ้งอารมณ์ได้ไว ดุจกระพริบตา พระองค์จะทรงชมว่าเป็นผู้มีอินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศ อย่าไปนึกคิด ติดต่อกันเป็นเวลานานๆ จิตที่พระองค์ให้ทรงไว้อยู่เป็นเวลานานๆ ท่านให้ตั้งไว้ที่ กาย ลมหายใจ หรือ อุเบกขา เท่านั้น จึงเรียกว่า เป็นผู้ที่มี สติ สัมปชัญญะ

6. ...คือข้อนี้ ผมอยากรู้ สภาวะของคำว่า (((ทรงจิตใว้ได้))) ใน ฌาณ แต่ละขั้นนั้น คือ 1 ในบรรดาผลทั้งหลาย ที่เกิดปรากฏเหล่านั้น คือ มันต้องมีสภาวะอะไรสักอย่างนึง ที่เกิดเป็นผลต่อ (((จิตใจ และ ร่างกาย))) ด้วย อย่างที่เราก็รู้ได้จากการศึกษามาหรือท่องจำได้ใช่ไหมครับ...?

ตอบ ทรงจิตไว้ในฌาน ก็ คือ ทำฌานแต่ขั้น ทำให้ชำนาญ ทำบ่อยๆ มันก็จะทรงไว้ได้เอง มันเป็น สัญญาที่เราจะจำได้ว่า เราเคยได้ฌานระดับนี้ ฌานระดับนี้ ต้องทำอย่างไร มันจะรู้เอง แล้วเราได้ฌานสูงๆ เช่นเราได้ ฌานที่สี่ จนชำนาญ ต่อไป พอเรากำหนดลมหายใจปุ๊บ มันก็เข้าฌานที่สี่เลย โดย ไม่ต้องผ่านฌาน หนึ่ง สอง หรือ สาม ความสงบ ความเบา ความละเอียด ท่องจำ มันก็ ไม่รู้หรอกครับ นอกจากได้ สัมผัสโดยการปฎิบัติ

6.1 เพราะฉะนั้น ที่ คุณ นนท์ บอกว่า ได้ฌาณที่ 2 และ เฉียดๆ ฌาณที่ 3 มาแล้ว ผมจึงอยากถามว่า มันเป็นสภาวะ เหมือนกับที่เราท่องจำได้ใช่ไหมครับว่า...เช่น พวก (กายไหวโคลง) (จิตแนบแน่น) (น้ำตาไหล) (ขนพองสยองเกล้า) อะไรต่างๆนานา...ฯลฯ...??

ตอบ พวกกายไหวโคลง นี่ พระพุทธเจ้าไมได้สอน ครับ พระพุทธเจ้า สอนแต่ ทำกายสังขาร ให้สงบรำงับ มันจะไหวโคลงไปได้อย่างไร ส่วนน้ำตาไหล มันเป็นอาการของปิติ ซึ่ง แต่ละคน อาการจะไม่เหมือนกัน บางคนอาจจะเย็นวาบ ขนลุก ตัวชา มีหลายแบบ แล้วแต่ ว่าแต่ละคน จะเกิดอาการแบบใหน

6.2 และที่สำคัญ คือ อยากรู้ว่า มันจะมี ((((สภาวะหรือพลัง)))) อะไรสักอย่าง มาแผ่ซ่าน อยู่กับร่างกายและจิตใจ คือตรึงอยู่กับเราตลอดเวลา ในลักษณะที่เราจะรู้สึกได้ชัดว่า มันกำลัง ครอบคลุมเราอยู่แบบนี้ไหมครับ....ตรงนี้อยากรู้มากๆ...?????......

ตอบ อาการนี้ น่าจะเรียกว่า ปิติ น๊ะ ครับ อยู่กับมันไปเรื่อยๆ เดี๋ยวมันก็ดับไปเอง

6.3 อีกนิดนึงที่คุณ นนท์ อธิบายความหมายของคำว่า (รู้แจ้งแทงตลอดซึ่งธาติอันเป็นเอนก) งงเลยครับ ผมนึกว่าหมายความว่า ได้ วิปัสนาญาณ อะไรประมาณนี้ แต่ดันหมายความว่า น้อมจิตไปเพื่อคุณวิเศษ 555 ....งงเลยครับ ไม่เห็นตรงกับ คำว่า (ธาตุอันเป็นเอนก) เลยครับ

ตอบ วิปัสสนาญาณ ก็ คือ การเห็นการเกิดดับของขันธ์ทั้งห้า ก็ ไม่เกี่ยวกับ แทงตลอดซึ่งธาตุเป็นอเนก ครับ การแทงตลอดซึ่งธาตุเป็นอเนก ก็อย่างที่ได้อธิบายไปแล้วว่า สามารถ น้อมจิตไปเพื่อทำอะไรก็ได้ครับ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ต้องมีความสามารถและความชำนาญในการเข้าฌานที่สี่ก่อน แล้วก็ อยากรู้อะไร ก็ ทดลองทำดู อันนี้ อาจจะทำไม่ได้ทุกคนน๊ะครับ

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น มันจะทำให้เราเพลิน เสียเวลา ไปหลงติดในคุณวิเศษต่างๆ จนลืมมรรคผลนิพพานไปก็ได้ เมื่อเราได้แล้ว ก็ อย่าไปเพลินกับมันเลย มันจะทำให้เราเนิ่นช้า ไม่มีประโยชน์ เหมือน คนที่สร้างจรวด ไปดวงจันทน์ ได้ เหาะไปดวงจันทน์ได้ เราคิดว่า คนที่สร้างจรวดเหาะไปดวงจันทน์ได้นี่เก่งมาก สุดยอดเลย ก็เหมือนกันกับที่เรา ได้ ฌานสี่ เหาะไปพรหมโลกได้ แต่ มันก็ ไม่พ้น แก่เจ็บตายไปได้

ถ้าเรามัวแต่ ไปสนใจแต่เรื่องที่เราเหาะได้ หายตัวได้ ไปโน่นมานี่ได้ แสดง ปาฏิหาริย์ต่างๆได้ เราก็ ไม่ได้ต่างอะไรกับพวกที่สร้างจรวด ไปนอกโลก ไปดวงจันทน์ สุดท้าย ก็ ตาย เหมือนกัน แล้วจะไปเกิดเป็นอะไรอีกกี่ชาติก็ไม่รู้ พระพุทธองค์ ทรงอึดอัดขยะแขยง กับ พวก ปาฏิหาริย์ พวกนี้ เพราะ ไม่มีประโยชน์อะไรเลย

คำตอบ ทุกคำถามตอบให้หมดแล้วครับ ถ้ามีข้อสงสัยอีก ก็มาถามใหม่ได้ ไม่ต้องเกรงใจ ครับ อนุโมทนาด้วยครับ


โดย: จูปีเตอร์เทพแห่งดาวพฤหัส วันที่: 21 ตุลาคม 2553 เวลา:20:35:49 น.  

 
ยาจโก อปฺปิโย โหติ

ผู้ขอ ย่อมไม่เป็นที่รักของผู้ถูกขอ



เดินสายมา ๓ วัน....

ขอนำความสุขที่ได้รับ ทั้งทางโลกและทางธรรม
มาฝากเพื่อนบล๊อกทุกท่าน...นะคะ


โดย: พรหมญาณี วันที่: 26 ตุลาคม 2553 เวลา:12:49:54 น.  

 
...อยากถามเรื่อง วิมุติ ก็คือว่า ผมเพิ่งฟัง พระอาจารณ์ คึกฤทธิ์ ในส่วนของเนื้อหาที่มีคำอธิบายนิดนึงประมาณว่า...

(...อันอาศัย วิเวก ความนิ่ง ความจางคลาย ขณะที่วิญญาณดวงนี้ดับ เราปล่อยวางเลย อาศัยความดับ อันน้อมไปเพื่อ โวสสัคคะ คือพอดับปุ๊บ ให้ปล่อยวางปั๊บทันทีเลย ในเสี้ยววินาทีนั้น วิมุติ เกิดทันที แต่เราไม่เคยทันมัน จิตก็ไปจับอารมณ์ดวงอื่นต่อ...)

1. ...คือ เพิ่งเคยรู้ ประเด็นตรงนี้ เลยอยากรู้ว่า มันเป็นเหตุเป็นผลกันยังไงครับ เกี่ยวกับประโยคที่ว่า...(ขณะที่วิญญาณดวงนี้ดับ เราปล่อยวางเลย ในเสี้ยววินาทีนั้น วิมุติ เกิดทันที)...คือ ฟังดู งง น่ะครับ...

...หรือหมายความว่า เราพยายามดูจิตดวงที่กำลังดับ และดับไป และในเสี้ยววินาทีนั้น ไห้เราปล่อยวางเลย จิตก็จะ เข้าสู่วิมุติ หรือครับ...หรือหมายความว่า จิตที่สั่งสมกำลังมา พอเหตุปัจจัยพร้อม มันก็จะปล่อยวางเอง ก็จะเกิด วิมุติ หรือครับ...

...คือ ตรงนี้ ให้เราไปพยายามปล่อยวาง โดยไห้เห็นเกิดดับ ไปเรื่อยๆ และ พออาศัยวิเวก คืออยู่ในสมาธิ ก็ไห้เราพยายาม ดูให้ทันจิตแต่ละดวง พอทันเห็นจิต แต่ละดวง ที่มันกำลังดับไป ก็ให้เราปล่อยวาง ก็จะได้ วิมุติ แบบนั้นหรือครับ...

...หรือหมายความว่า หน้าที่เราคือ แค่ ไห้เห็นเกิดดับ ไปเรื่อยๆแค่นั้นพอ จากนั้นอาศัยวิเวก เพื่อให้ไปถึงจุดตรงนั้น มันจะ ปล่อยวางเอง หรือว่าเราต้อง พยายาม จับจิตแต่ละดวงให้ทันมันครับ เพราะผมฟังดูไม่น่าจะเป็นเหตุเป็นผล ของการบรรลุธรรม...

...คือผมอยากรู้ ความเป็นเหตุเป็นผล ตรงนี้น่ะครับ...ว่าทำเหตุ แบบนี้ แล้วจะเป็นผล อย่างนั้น ได้ในลักษณะไหน...???????

2. ...อยากถามเรื่อง การบรรลุเป็นโสดาบัน ย้ำอีก เพราะยังไม่เข้าใจ ก็คือว่า จิต ที่มี เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว ในวัฏสงสาร ถ้าเอาเฉพาะ ในส่วนของ บุคคล 8 จำพวก ก็คือ จิตของ พระอริยะบุคคล ดังนี้...

1 โสดาปัตติมรรคจิต
2 โสดาปัตติผลจิต
3 สกิทาคามิมรรคจิต
4 สกิทาคามิผลจิต
5 อนาคามิมรรคจิต
6 อนาคามิผลจิต
7 อรหัตมรรคจิต
8 อรหัตผลจิต

คือ พอ จิต ทั้ง 8 ดวงนี้เกิด เราก็จะรู้ชัดได้เอง ถูกต้องไหมครับ เช่น บรรลุอนาคามี เราก็จะรู้ได้ชัด ว่า บรรลุ อนาคามี แล้ว หรือบรรลุ อรหันต์ ก็จะรู้ชัดได้ว่า เราบรรลุแล้ว ดังที่มี พระพุทธพจน์ที่ว่า...

[รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้วกิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี]

...เห็นไหมครับ ว่า พอบรรลุแล้วก็จะรู้ขณะนั้นทันทีเลยว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว อะไรประมาณนี้..แต่ผม งงที่สุดว่า ทำไมตอน บรรลุโสดาบัน จึงไม่รู้ชัดแบบนี้หรือครับ...

...สรุปก็คือ การบรรลุในส่วนของ โสดาบัน เราก็อาจจะยังไม่รู้ก็ได้หรือครับ เช่น เราอาจจะ บรรลุโสดาบันแล้ว แต่เรายังไม่รู้ตัว แบบนี้ มีด้วยหรือครับ ไม่งั้นจะบอกไห้เราพยากรณ์ ตนเองตามหลักการที่วางใว้ทำไม...

...ก็ถ้าเราบรรลุ โสดาบัน เราก็จะต้องรู้ชัดขึ้นมาเองขณะที่ โสดาปัตติผลจิต เกิด ทันที ไม่ใช่หรือ เหมือนกับที่ บรรลุอรหันต์ ก็รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้วฯ อะไรประมาณนี้...

...ไม่เข้าใจว่า ทำไม ยังต้อง มา พยากรณ์ อะไรอีกว่า เป็นหรือยัง ธรรมข้อนั้นข้อนี้ ละหรือยัง อะไรได้ขนาดไหน เข้าเกณ มากน้อยขนาดไหน งงติ๊บเลยครับ 5555 คือสงสัยว่า เราบรรลุโสดาบันโดยที่เราไม่รู้ตัวว่า บรรลุแล้ว เลยต้องไปพยายามดูหลัก เพื่อมาพยากรณ์ตนเอง อีกหรือครับ งงที่สุดเลยครับ....

...เหมือนกับ หลายๆคำที่ผมฟังแล้ว งงมากเช่น (ความเป็นโสดาบัน ไม่มีป้ายบอก) อ้าวทำไมงั้นล่ะครับ งงมากกกกกกกกก เลยครับ ต้องมีป้ายบอกสิครับ !!! คือเราจะรู้ชัดได้เองเลย ไม่ใช่หรือครับ...ถ้างั้น ก็อาจจะมีคนที่ บรรลุ อรหันต์แล้ว แต่ยัง ไม่แน่ใจเหมือนกันว่า บรรลุอรหันต์ แล้วหรือยัง และไปหาข้อธรรม มาพยากรณ์ตนเองว่า เป้นอรหันต์หรือยัง เช่น สังโยช10 หมดหรือยัง เพราะยังไม่แน่ใจ เหมือน โสดาบัน หรือครับ...

...เพราะไม่งั้น ก็ขัดกับพระพุทวจณ ที่ว่า [รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้วกิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี] คำถามคือ ทำไม โสดาบัน จึงไม่รู้ชัดเหมือน อรหันต์ ครับ คุณ นนท์ ช่วยอธิบายไห้ฟังหน่อยนะครับ????????????????....0_o...


โดย: อะไรกัน IP: 192.168.1.101, 61.7.133.132 วันที่: 26 ตุลาคม 2553 เวลา:16:21:56 น.  

 
ตอบ คุณ อะไรกัน

1...คือ เพิ่งเคยรู้ ประเด็นตรงนี้ เลยอยากรู้ว่า มันเป็นเหตุเป็นผลกันยังไงครับ เกี่ยวกับประโยคที่ว่า...(ขณะที่วิญญาณดวงนี้ดับ เราปล่อยวางเลย ในเสี้ยววินาทีนั้น วิมุติ เกิดทันที)...คือ ฟังดู งง น่ะครับ

ตอบ การปล่อยวางขันธ์ทั้งห้า หรือ ปล่อยวิญญาณขันธ์ ตัวเดียว ก็ เข้าสู่วิมุติได้เลย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น มันไม่ใช่ของง่ายนัก เพราะตัววิมุติญาณทัศนะ มันยังมีอวิชชา(ความไม่รู้ )อยู่ พอจิตดวงหนึ่งดับไปปุ๊บ วิมุติญาณทัศนะวิ่งไปหาจิตดวงใหม่เกาะสำหรับเกิดใหม่อีกทันที

ช่วงที่จะเข้าสู่วิมุติ ก็ต้องอาศัยจิตดวงที่กำลังจะดับพอมันดับไปปุ๊บ ให้น้อมไปเพื่อการปล่อยวาง อย่าให้ตัววิมุติญาณฯไปเกิดพร้อมกับจิตดวงใหม่ ก็ จะหลุดพ้นเข้าสู่วิมุติหรือนิพพานได้ ครับ

แต่ การที่จะน้อมไปเพื่อการปล่อยวาง ได้ ต้องเห็นการเกิดดับของขันธ์ทั้งห้าจนตัววิมุติญาณฯเบื่อในขันธ์ทั้งห้าเสียก่อน ไม่เช่นนั้น ต่อให้เราน้อมไปเพื่อการปล่อยเท่าไร มันก็ปล่อยไม่ได้หรอกครับ เพราะตัววิมุติญาณฯมันยังไม่เชื่อเรา มันยังหลงขันธ์ห้าว่าเป็นตัวมันอยู่ พระพุทธเจ้าจึงทรงให้เราเห็นการเกิดการดับของขันธ์ทั้งห้า ให้มากๆจนวิมุติญาณฯมันเบื่อขันธ์ห้า เสียก่อน แล้วเราน้อมไปเพื่อการปล่อยวาง มันก็จะปล่อยวางขันธ์ห้าไปเอง

2...อยากถามเรื่อง การบรรลุเป็นโสดาบัน ย้ำอีก เพราะยังไม่เข้าใจ ก็คือว่า จิต ที่มี เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว ในวัฏสงสาร ถ้าเอาเฉพาะ ในส่วนของ บุคคล 8 จำพวก ก็คือ จิตของ พระอริยะบุคคล พอบรรลุแล้วก็จะรู้ขณะนั้นทันทีเลยว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว อะไรประมาณนี้..แต่ผม งงที่สุดว่า ทำไมตอน บรรลุโสดาบัน จึงไม่รู้ชัดแบบนี้หรือครับ...

ตอบ การบรรลุ พระโสดาบันกับสกทาคามี มันไม่มีเครื่องหมายที่ชัดเจน แบบ ของพระอนาคามี หรือ พระอรหันต์ครับ เพราะพระโสดาบัน แค่ เปลี่ยนความเห็น กับ มีศีลห้า การเปลี่ยนความเห็น จากมิจฉาทิฐิ เป็นสัมมาทิฐิ มันไม่มีอะไรมาวัดหรอกครับว่า เราเปลี่ยนได้จริงไหม และ ไม่มีใครรู้ ได้นอกจากตัวเราเอง หรือ นอกจากพระพุทธเจ้าเท่านั้นที่รู้

ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงทรงวางหลักเกณฑ์ ให้ไว้ สำหรับ พยากรณ์ตนเอง ว่า ผู้ใด มี โสดาปัตติยังคะสี่ คือ ไม่หวั่นไหว ในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มีศีลอันเป็นที่รักของพระอริยะเจ้า ให้พยากรณ์ตนและตนว่า เป็นโสดาบันแล้ว ก็ ใช้ เครื่องวัดสอบตนเองตามที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติ

ถ้ายังหวั่นไหว ยังไหว้ ผีสางนางไม้ ยังต้องไปรดน้ำมนต์ ยังทำเรื่องมงคล หรือ ศีล ตามแบบของสมณะพราหมณ์เหล่าอื่น ก็ แสดงว่า ยังหวั่นไหวไม่เชื่อมั่น ในพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์ ก็ยังไม่ใช่โสดาบัน เครื่องวัดสอบ การพยากรณ์ตนเองว่าเป็นโสดาบันรึยัง ให้ไปอ่านใน คู่มือ พระโสดาบัน ครับ

ส่วน พระสกทาคามี ยิ่งเป็นการยาก ที่จะทราบว่า เราเป็นพระสกทาคามี แล้วหรือยัง เพราะ พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้แค่ ว่า พระสกทาคามี เป็นผู้ที่ละสังโยชน์สามได้ เหมือนพระโสดาบัน แต่ ราคะ กับ โทสะ เบาบางกว่า แต่ก็ ไม่มีเครื่องวัดว่า เบาบางขนาดไหนถึงจะเรียกว่า เป้นพระสกทาคามี

ส่วนพระอนาคามี นี่ อาจจะเห็นได้ชัดเจน คือ ละ สังโยชน์ได้ห้าประการ คือ ปล่อยวางในส่วนของ รูปได้หมดสิ้นแล้ว เหลือแต่ในส่วนของนาม ที่ยังปล่อยวางไม่ได้ ราคะ กับ โทสะ ละได้หมด เหลือ แต่ โมหะ ยังละไม่ได้ นี่น่าจะเห็นได้ชัดเจน

ส่วนพระอรหันต์ นี่ก็ ชัดเจนว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นอันเพื่อเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก

ฉะนั้น การบรรลุ โสดาบัน กับ พระอรหันต์ ต่างกัน จะเทียบว่า พอบรรลุ เป็นพระอรหันต์แล้วจะยังไม่แน่ใจเหมือนพระโสดาบันไม่ได้ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ว่า พระอรหันต์ ละกิเลสได้หมด ย่อมทราบเองแน่นอนว่าชาติสิ้นแล้ว

ส่วนพระโสดาบัน แค่เปลี่ยนความเห็น จึงยังไม่ทราบว่า เราเปลี่ยนความเห็น ได้ หมดจดชัดเจนหรือเปล่า จนกว่าเราจะแน่ในด้วยตัวของตัวเองว่า ไม่หวั่นไหวในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยอริยะมรรคมีองค์แปด มีความเพียรที่ไม่ถอยกลับ มีศีลห้าเป็นที่พอใจของพระอริยะเจ้า เราจึงพยากรณ์ตนและตนว่า คือ โสดาบัน ชัวส์ ส่วนคนอื่นเขาไม่มีทางรู้ ความเห็นเราได้เลย จึงพยากรณ์เราไม่ได้ พระพุทธเจ้าจึงให้ พยากรณ์ตนเอง ครับ

คำถามได้ตอบให้ครบแล้ว ถ้ายังสงสัยอยู่ก็ให้มาถามใหม่น๊ะครับ ขออนุโมทนาด้วยครับ


โดย: จูปีเตอร์เทพแห่งดาวพฤหัส วันที่: 26 ตุลาคม 2553 เวลา:20:21:59 น.  

 
สติมา สุข เมธติ
คนมีสติ ย่อมได้รับความสุข




โดย: พรหมญาณี วันที่: 29 ตุลาคม 2553 เวลา:12:26:36 น.  

 
####################

(...ตรงนี้ แค่บอกเล่าเกี่ยวกับ การเจริญสมาธิ ที่กำลังทำอยู่น่ะครับ อ่านผ่านๆ ก็ได้นะครับ เพราะเดี๋ยวกลัวจะหาว่า มาพร่ามเรื่องของตัวเอง 555555 เฮ้อออออออ....ก็คือว่า...)

(((...คือ เมื่อคืน ผม ได้ฌาณที่ 3 แล้วครับ...)))

...แต่ เดี๋ยวค่อยมาบอกเล่ารายละเอียด นะครับ ว่า ฌาณที่ 2 และที่ 3 รู้สึกเป็นยังไงและแตกต่างกันยังไงบ้าง แต่อย่างนึงก็คือ พอได้แล้วก็คือได้เลย คือ จะทรงใว้ได้นานเท่าไหร่ก็ได้ กลัวบอกไปแล้ว คุณนนท์ว่า ไปหลงมัวเมาอีก งั้นเอาใว้ก่อนครับ 555...

...คือว่า ผมจะลองสู้กับมันดูสักตั้งไงครับ ตอนแรกก็สนใจแค่ฌาณที่ 1 อย่างเดียว และเน้นเจริญวิปัสนาไปอย่างเดียวพอ แต่พอคุณนนท์แนะนำไห้ ลองทำดูควบคู่ไปด้วย จนได้ฌาณที่ 2 ที่ไม่คาดคิดว่าจะได้ ก็เลย จะลองเน้นทำต่อไปสู้กับมันสักตั้ง ทำดูแล้ว ดันก้ววหน้าขึ้นเรื่อยๆ เลยทำต่อ...

...นับตั้งแต่ตอนนั้น ที่เริ่มได้ฌาณ รวมเป็น ประมาณ 1 เดือน แล้ว ผมแทบไม่ได้ทำอะไรเลย นอกจาก เจริญสมาธิ อย่างเดียว เป็นส่วนไหญ่ของวัน และ 2 อาทิตย์หลังมานี่ วันละ 4 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย พอมา 3 วันสุดท้ายก่อนได้ ฌาณที่ 3 ก็คือ ทำวันละ 6 ชั่วโมงเลยครับ...

...นั่ง กำหนดจิต เพ่ง อยู่กับมันอย่างเดียวเลยครับ 555 คือ ประมาณว่า ทำแบบ เอาเป็นเอาตายเลย เวียนหัวแน่นหน้าอก ไปหมดเลย แต่ตอนนี้หายแล้วครับ 555...คือคิดว่า จะเน้นอยู่กับมันอย่างเดียวไปเลย วันละ 8 ชั่วโมง จนถึงวัน อาทิตย์นี้ สิ้นเดือนพอดี ถ้าไม่ได้ ฌาณที่ 3 ก็ จะ ชลอลงแล้ว แต่ คืนวัน ศุกร์ ก็สำเร็จจนได้ครับเร็วเกินคาดอีกเช่นกัน....

...คือขณะที่ กำหนดเพ่งจิต ผมก็จะเน้นทำไปอย่างเดียว เลย ไม่ได้ ไปสนใจว่า จะ เห็นเกิดดับ อะไร แต่พอ หยุดทำ และอยู่ในฌาณขั้นที่ 3 อยู่นั้น ก็ ค่อยมาเจริญ วิปัสนา หรือมาเห็นเกิดดับ โดยมี ฌาณ เป็นบาทฐานไปด้วยน่ะครับ จะยังไม่ทำสลับกันไป...

...แต่ผมไม่ได้ หลงติด ไปกับฌาณครับ เพราะปกติมองเห็นเป็นด้านลบด้วยซ้ำ เพราะ คิดว่า สมถะ ไม่มีประโยชน์ ไม่ใช่ วิปัสนา แต่เพิ่งมารู้ และทำแล้วก้าวหน้า...และเห็นประโยชน์ จึงจะลองทำไห้ได้ฌาณที่ 4 ต่อไป เลยครับ คือไม่เกินปีไหม่ คิดว่าได้แน่นอน...

...คือถ้า เน้นอยู่กับมัน ต่ออีก 2 เดือนเต็มโดยไม่ทำอะไรเลยนอกจาก เจริญสมาธิเพื่อมุ่งไห้ได้ฌาณที่ 4 อย่างเดียวเลย ก็คิดว่า เป็นไปได้แน่นอน เพราะ ที่ทำมาก็ ไม่คิดว่าได้จะง่ายขนาดนี้ แต่มันก็ได้แล้ว และต่อไปอีกก็คงไม่ใช่เรื่องยาก...

...เอาแค่นี้ก่อน เดี๋ยวคุณนนท์จะคิดว่า หลงมัวเมาไปกันใหญ่ 55555 แต่ข้อสังเกตุ ก็คือ ผมไม่เชื่อว่าทั้งหมดนี้ ผมจะเข้าใจผิดไปเอง ว่าได้ฌาณ อะไรทำนองนั้น ถ้าไม่งั้นมันจะเป็นอะไรล่ะครับ คงเป็น ผี มาแกล้งผมหรือ 5555 ผมจึงรอดูไปอีกระยะนึงก่อน...

...แต่ที่แน่ๆ ถ้าใช่ ก็เป็นที่แน่นอนว่าผม ต้องเคยมีของเก่ามาแล้ว จึงได้ฌาณ ง่ายเกินกว่าที่คาดใว้ และอีกอย่างก็คือ ที่ผมบอกว่า พอได้แล้วคือได้เลย จะทรงไห้อยู่นานเท่าไหร่ก็ได้ คือถ้าผมพูดแบบนี้ ก็ เท่ากับบอกว่า ผม เป็น โสดาบัน สิครับ!!!...เพราะได้แล้วได้เลย และฌาณเสื่อมยากด้วย คือจะต้องเป้น (โลกุตรฌาณ) ไม่ใช่ (โลกียฌาณ)...

...แต่ผมยังไม่สรุปแบบนั้น จึงได้ถามคุณ นนท์ไงครับ ว่า ถ้าเป็น โสดาบัน แล้วทำไมไม่รู้ชัด เพราะผมไม่เห็นรู้เลย จึง กำลัง ย้อนไปอ่าน คู่มือโสดาบันอีกครั้งไห้ละเอียดดูอีกรอบ แต่ก็เคยอ่านมาแล้ว ตั้งแต่ตอนนั้น แต่จำไม่ได้ครับ ว่ามีหลักอะไรบ้างโดยละเอียด...และพิจรณาดูอีกครั้งว่า ตรงทั้งหมดหรือเปล่า โดยจะไม่ตีความสรุปเข้าข้างตัวเองแม้แต่น้อยนะครับ 5555......

...คือผม จะไม่ตีความอะไรเข้าข้างตัวเองไปก่อน ถ้าไม่แน่ใจก็จะไม่ สรุปแบบนั้น ถ้าไม่ประกอบด้วยประโยชน์.....ก็เหมือนกับว่า ถ้าผมบอกว่าได้ฌาณ ก็คือผมรู้สึกได้อย่างชัดเจนว่า มันใช่ คือทรงใว้ได้นานตามความต้องการด้วย...เพราะหลายอย่างมันดันได้ผลเกินที่คาดหวังใว้ จึงแน่ใจที่จะบอกว่าใช่ ครับ...

...คือมีหลายอย่างที่ผมเกิดความรู้สึกขึ้นมา และสรุปข้อธรรมได้เองหลายข้อ มันเริ่มชัดเจนหลังจากวันแรกที่ผมบอกว่า มัน วูบบบบบบ ไป และกลับมาทรงฌาณที่ 2 ได้อย่างมั่นคง และตั้งแต่วันนั้นเป็นเป้นครั้งแรกที่ทรงอยู่ได้ตลอดตามความต้องการน่ะครับ...

... จนล่าสุดได้ฌาณที่ 3 มันก็มีความเพียรที่อยากจะ เร่งปฏิบัติ ไปอย่างไม่ถอยกลับน่ะครับ....หมายถึงทั้ง สมาธิ และ วิปัสนา เลยนะครับ อย่างมากก็อยู่กับที่ แต่ความเพียรจะไม่ถอยกลับ ครับ....

################

...เพราะฉะนั้นจึงอยากบอกเล่า ไห้คุณนนท์ พิจรณาดูแค่นี้ก่อน น่ะครับ....เพราะถ้าไง เดี่ยวค่อย บอกเล่าโดยละเอียดก็ได้ ว่าอาการ ที่อยู่ในฌาณ มันจะตรงกับคุณ นนท์ หรือเปล่า เพราะว่า ถ้าถูกต้อง มันจะต้องตรงกันหมด.....

...เพราะฉะนั้นสรุปก็คือ ทั้งหมดนี้ ผมอาจจะเข้าใจผิดทั้งหมดไปเองคนเดียวก็ได้ จึงยังไม่สรุปนะครับ ต้องรอดูไปเรื่อยๆก่อน..........

...เพราะฉะนั้น ผมจึงอยาก ขอบคุณ กัลยานนท์ ครับ ที่ เป็นตัวพลิกประวัตศาสตร์ของผม เพราะถ้าไม่มาเจอ คุณ พุทธโฆษ์นนท์ ที่เป็น ธรรมโฆษ์นนท์ และทำหน้าที่ ธรรมกถึกนนท์ ผมก็ยังคง ศึกษาพระอภิธรรม อยู่ครับ 555 ...

...ว่าแล้วทำไม ปฏิบัติไม่ได้สักที เพราะมัวไปศึกษาอะไรก็ไม่รู้ พะรุงพะรัง เต็มไปหมด พอมาเจอ คุณ พุทธโฆษ์นนท์ ดันเพิ่งรู้ว่า นี่คือทางที่ถูกต้องนั่นเอง.................ขออนุโมทนาครับ.........ขอไห้หลุดจากกองทุกข์ทั้งปวง.....


โดย: อารันไก IP: 192.168.1.123, 61.7.133.141 วันที่: 30 ตุลาคม 2553 เวลา:19:10:51 น.  

 
ตอบ คุณ อะรันไก อะไรกัน

โอ้โห ทำได้ยังไง วันละ 6 ชั่วโมง เก่งมากครับ นับว่า มีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา อินทรีย์ บารมี เริ่ม แก่กล้าแล้ว ทำไปเรื่อยๆครับ อย่าไปเร่งมาก เดี๋ยวจะเป็นการเครียดคัด ให้หาความสมดุลแห่งธรรม มัชฌิมา ปฏิปทา น๊ะครับ

ที่ผ่านมา ทำได้ดีมากแล้ว สิ่งที่จะบอกต่อไป คือ การ ให้เห็น การเกิดดับของ ขันธ์ทั้งห้า ให้ ดูจิต ว่า มันไป ขันธ์ไหนบ้าง แล้วก็ ดึงมันกลับมาที่เสาเขื่อนเสาหลักของเราที่เดิม ถ้ามันไปไหน ให้ละนันทิ หรือ ความเพลิน ให้รู้ให้ไว แล้วดับให้ไวดุจกระพริบตา จึงจะเป็นผู้ที่มีอินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศ อย่าเอาแต่เพ่ง อย่างเดียวโดยไม่ดูการเกิดดับของจิต ถ้าเพ่งอย่างเดียว

พระพุทธเจ้าบอกว่า นั่นเพ่งอย่างม้ากระจอก ไม่ใช่ ม้าอาชาไนย ให้เห็นการเกิดดับ ของ วิญญาณ ขันธ์ เห็นการเกิดดับ ของรูป และ นาม อย่าไปเพลินกับ อารมณ์ อย่าไปเพลินกับภพ ให้เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ รู้ ตัวอยู่ตลอด พยายามทิ้งภพ ทิ้งความเพลิน ไปเรื่อยๆ น๊ะครับ เดี๋ยว สายปฏิจจสมุปบาท มันจะสั้นลงไปเรื่อยๆเอง

ให้ตามดูจิต ดูอาการของจิต ว่าอยู่ตรงไหนของสาย ปฏิจจสมุปบาท แล้ว พยายามตัดมัน ให้มีสติ รู้ตัวอยู่ตลอดวัน อยู่กับเรื่องที่เราทำ อยู่กับ คำที่เรากล่าว ทิ้งเรื่องราวที่เราคิด ให้จิตอยู่กับ ลมหายใจ หรือ อุเบกขา แล้ว คอยดู ตอนจิตมันหายไปจากลม หรือ ดู อุเบกขามันดับ ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆน๊ะครับ เดี๋ยวจะรู้เองว่า เราได้พัฒนาไปมาก อย่าเพิ่งไปสนใจฌานมาก ว่าเป็น ฌานไหน เราได้โสดาบันรึยัง ทำไปเรื่อยๆสร้างเหตุไปเรื่อยๆผลมันจะตามมาเอง

ส่วนการคิดว่า เราจะสำคัญผิดคิดว่าเราเป็นโสดาบันแล้ว พระพุทธเจ้า ไม่กลัวว่าคนจะสำคัญผิด เพราะ คนไหนสำคัญผิด มันก็ยิ่ง ทำให้ดีมากขึ้น กลัวผิดศีล กลัวไม่ใช่โสดาบัน ก็ เลยยิ่งระวังมากขึ้น พระพุทธเจ้าเลยไม่กลัวคนที่สำคัญผิด เลยบอกเครื่องวัดไว้ให้หมด ถึงจะสำคัญผิด ก็ไม่เป็นไรครับ ทำให้คน ได้วัดสอบได้รู้ว่า เรายังไม่ใช่ หรือเราใช่ ขอให้ใช้ เครื่องวัดสอบตามที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ก็พอ

สุดท้าย ก็ ขออนุโมทนาด้วยจริงๆครับ ตื่นเต้น และยินดีมาก ที่มีผู้ตั้งใจปฏิบัติ เพื่อจะหวังมรรคผลนิพพาน เหมือนกัน และมันทำให้เรา มีศรัทธามากขึ้น ทำให้เรารู้ว่า พระพุทธเจ้า มีจริง นิพพาน มีจริง ไม่ใช่ คำสอนลอยๆ ที่ใครแต่งขึ้นมาเอง แล้ว เราจะได้เร่งปฏิบัติเพื่อให้หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด ไม่ให้ กลับมา เกิดตาย เกิดตาย ไปไม่รู้อีกกี่ชาติ ไปเรื่อยๆแบบนี้ ขอนุโมทนาด้วยน๊ะครับ ขอให้ การปฏิบัติ ตรงตามที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัตินี้ ให้เป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่จะเข้าสู้ มรรคผลนิพพานในอนาคตกาลอันใกล้นี้ ขออนุโมทนา



โดย: จูปีเตอร์เทพแห่งดาวพฤหัส วันที่: 31 ตุลาคม 2553 เวลา:15:10:20 น.  

 


ธุค่ะ ลุง
คุณอะไรกันนี่ จองบล็อคนี้เลย เน๊อะ อิอิ



โดย: พธู วันที่: 31 ตุลาคม 2553 เวลา:16:59:48 น.  

 
อ๋อ ใช่ครับ จองดนเดียวเลย ใคร ห้ามยุ่ง 555555 ล้อเล่นครับๆๆ .....
#################

อ๋อ...ให้หา (((ความสมดุลแห่งธรรม))) มัชฌิมา ปฏิปทา นั่นเอง หรือครับ 55 เอ๊ คำว่า มัชฌิมา นี่ใช้กับทุกเรื่องเลยหรือครับ คือแปลว่า ทำแบบพอดี จะดีที่สุด...

...แต่ งงเลยที่บอกว่า (เพ่งอย่างม้ากระจอก ไม่ใช่ ม้าอาชาไนย) 5555 แสดงว่า ผมเป็นม้ากระจอก นั่นเอง 555 เฮ้อออออออ เคยได้ยินแต่ นกกระจอก แต่ ม้ากระจอก เพ่งเคยได้ยินครับ 555 อ้าว เริ่มเพ้อเจ้อแล้ว...

.... แต่ผมไม่ได้เป็นแค่ ม้ากระจอก แต่ เป็น เนื้อ ด้วย คือ เนื้อที่นอนจมบ่วงแต่ไม่ติดบ่วง คือรู้อยู่เสมอ และพร้อมที่จะกระโดดออกมา และคุณ นนท์ ก็ เป็น เนื้อที่นอนจมบ่วงแต่ไม่ติดบ่วง อยู่ใช่ไหมครับ...

...งั้น ขอถาม คุณ ม้าอาชานนท์ ต่ออีก 4-5 ข้อ นะครับ...

...คือ จริงๆแล้ว ก็เป็นการถามแบบเดิมๆนั่นแหละ แต่ว่า ลึกลงไปเรื่อยๆ ใช่ไหมครับ เพราะจริงๆแล้ว ก็เป็นการถาม วนอยู่ในลักษณะนี้แหละ แต่ว่า เข้าใจยังไม่แจ่มแจ้ง ก็ต้อง เป็นเหมือนกับว่า ถามคำถามเดิม แต่ถามลึกเข้าไปเรื่อยๆ...ก็คือว่า...

1.ที่บอกว่า ให้ พยายามทิ้งภพ ทิ้งความเพลิน ไปเรื่อยๆ ก็เหมือนกับ ที่บอกว่า (ให้ปล่อยวาง ตัว วิญญาณ) ใช่ไหมครับ คือ ให้ทิ้งหรือปล่อยวาง นั้น โดยความหมาย นั้น หมายความว่า อย่าเข้าไปเป็นมัน ใช่ไหม ครับ...

...เพราะถ้าบอกว่า ให้ ทิ้งภพ คือ ปล่อยตัว วิญญาณ ไม่ไห้เกิด นั้นเป็นไปไม่ได้ ผมเลย งง เพราะ ขันธ์5 มันก็ทำงานของมัน คือ เกิดขึ้นเพราะปัจจัยปรุงแต่งเป็นเหตุหนุนเนืองกันไป แต่ ความหมายที่บอกว่า (ให้พยายามทิ้งภพ ทิ้งความเพลิน) นั้น ความหมายคือ อย่าเข้าไปเป็นมัน ต่างหาก ไม่ใช่ไปหนี ตรงนี้ถูกต้องไหมครับ...

...แต่ถ้า หนี ก็จะหนี ตัว เวทนา หรือ หนี ความเพลิน เท่านั้น ตรงนี้เข้าใจครับ ว่าต้อง หนี คือต้อง ขว้างทิ้ง ทำไห้กระจัดกระจาย ทำไห้มอด ไม่ทำไห้ลุกโพลง แต่ ถ้าบอกว่า หนีตัว วิญญาณ ซึ่งเป็นธรรมกลางๆ ไม่ใช่กรรมดำและกรรมขาว จะไปหนีทำไมหรือครับ...

...เพราะ ที่บอกว่า (ให้พยายามทิ้งภพ ปล่อยวางตัว วิญญาณ) ภพเกิด คือ วิญญาณเกิด ซึ่งตรงนี้เป็น กลางๆ ไม่ใช่กรรมดำและกรรมขาว ซึ่งถ้าบอกว่า ไห้ตามดูตามรู้มัน ก็พอเข้าใจ คือว่า ตามดูตามรู้ แต่ อย่าเข้าไปเป็นมัน และ อย่ายึดว่ามันเป็นเรา ตรงนี้ก็เข้าใจ...

...แต่ถ้าบอกว่า (ให้พยายามทิ้งภพ ปล่อยวางตัว วิญญาณ) ก็พอดีไม่ต้องทำอะไรเลย และก็เป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว เพราะ ธรรมทั้งหลายเกิดไปตามเหตุปัจจัย เพราะฉะนั้น ตรงนี้จึงอยากถามว่า คำกล่าวที่ว่า (ให้พยายามทิ้งภพ ปล่อยวางตัว วิญญาณ) นั่น ก็คือ หมายความว่า อย่าเข้าไปเป็นมัน และ อย่ายึดว่ามันเป็นเรา ถูกต้องไหมครับ แต่ไม่ใช่ ทิ้งหรือปล่อยวาง คือหนีเลยอะไรแบบนั้น ครับ 5555.....งงติ๊บ....????

2. ...อยากถาม ตัว สักกายทิฏฐิ ที่เป็น 1 ในคุณสมบัติ โสดาบัน คือ...สักกายทิฏฐิ คือ(มีความรู้สึกว่าร่างกายนี้เป็นเรา เป็นของเรา เรามีในร่างกาย ร่างกายมีในเรา) ...คือที่โสดาบัน ละตัวนี้ได้ หมายความว่า แค่มีความเข้าใจที่ถูกต้องขึ้นมาว่า ไม่ใช่ตัวตน สัตว์บุคคล เฉยๆ ใช่ไหมครับ...

...คือ แต่ไม่ได้หมายความว่าละคลายจากการยึดมั่นในตัวตน ได้จริงๆ เพราะถ้าละได้จริงๆ ทำไมยังมี สังโยชที่เหลืออีกตั้ง 7 ตัว ใช่ไหมครับ ก็อย่างที่คุณ นนท์บอกว่า แค่เปลื่ยนความเห็น หมายความว่า แค่รู้ว่า ความจริงแล้วเป็นแบบนั้น แต่ยังทำตามความจริงนั้นไม่ได้เป็น สมุทเฉท...แบบนี้ถูกไหมครับ...

...อ๋อ จริงด้วยพอพิมพ์ไปเริ่มสังเกตุเห็นว่า ก็มีคำว่า ทิฏฐิ นั่นเอง สักกายทิฏฐิ ก็เป็นเพียง ความเห็น และเข้าใจแล้วว่า นั่นเป็นความเห็นที่ถูกต้อง ซึ่งไม่ใช่ สัตว์บุคคล ตัวตน แต่ยังทำตามความเห็นที่ถูกต้องนั้น ไม่ได้แบบสมบูรณ์ นั่นเอง คือรู้แล้ว แต่ ยังทำไม่ได้ แบบนี้ ถูกต้องไหมครับ...

...เหมือนกับที่เปรียบกับอะไร เช่น เข้าไปดูช้างในป่า พระโสดาบัน แค่รู้ว่า มีช้าง แต่ยังไม่เห้นช้างจริงๆ เอ๊ถ้าเป้นแบบนี้ มันก็ง่ายสิครับ เพราะ ใครๆก็น่าจะรู้ได้ไม่ยากว่าว่า จริงๆแล้ว ไม่มีสัตว์บุคคล ตัวตน เป็นแค่ ธาตุแต่ละอย่าง เกิดขึ้นเพราะปัจจัยปรุงแต่ง เป็นเหตุหนุนเนืองกันไป...

3. ...อีกนิดนึง คือ คำว่า (มีนิพพานเป็นอารมณ์) นี่โสดาบัน ก็คือ มีนิพพานเป็นอารมณ์ ได้ ตรงนี้ ถูกหรือผิดครับ..เพราะก็บอกว่า โสดาบัน เข้าถึงกระแสแห่งนิพพาน ก็สามารถ นึกถึง นิพพานเป็นอารมณ์ ได้ หรือไม่ได้ ครับ ถ้าได้ จะได้ในลักษณะไหน หรือ โสดาบัน ต้องเข้าฌาณ4 ถึงจะมีนิพพานเป้นอารมณ์ได้ครับ....หรือว่า ที่ถามมาตรงนี้ ผิดหมดครับ 55555555555 เฮ้ออออออออออ ...0_o...

4. ......อยากรู้เรื่อง สภาวะของฌาณ นิดนึงครับ ก็คือ...

...ฌาณที่ 1 ละอกุศล ได้ หมายถึง ขณะช่วงเวลานั้นๆ กำหนดจิตข่ม นิวรณ์5 ใว้ได้ คือเรามีอำนาจ กดข่มมันใว้ได้นานพอสมควรเป็นส่วนใหญ่ และมันจะไม่มีอำนาจเหนือเรา ในขณะที่เป็นฌาณ ที่ 1 ถูกต้องไหมครับ...

...คืออยากรู้ว่า ปฐมฌาณ นี้ มันก็เป็น สภาวะปกติธรรมดา เหมือนกับที่เราดำเนินชีวิตอยู่ทั่วไป ใช่ไหม (แตกต่างแค่ กำหนดจิตข่ม นิวรณ์5 ใว้ได้ชั่วคราว) และคนปกติธรรมดาทั่วๆ ก็ทำได้อย่างง่ายดาย ใช่ไหมครับ เพราะแค่ กดข่ม อกุศลใว้ได้...

... แต่ว่า ปฐมฌาณ มันจะยังไม่มี สภาวะหรือพลัง อะไร มามีผลต่อจิตใจและร่างกายเราอยู่ เหมือน ฌาณที่ 2 หรือสูงขึ้นไปๆ ดังเช่น อาการต่างๆ ที่เกิดจากการได้ฌาณ..ใช่ไหมครับ ???

...ผมว่าคุณ นนท์ งง แน่เลยว่า ก็ไหนบอกว่า ผมได้ฌาณขั้นสูงขึ้นไปแล้ว แต่ทำไมยังมา สงสัย กับฌาณ ขั้นที่ 1 ซึ่งผมก็น่าจะรู้ดี เพราะได้มากกว่า ฌาณที่ 1 แล้ว ใช่ไหมครับ ก็ผม งงจริงๆน่ะครับ ว่า อะไรจะเป็นตัววัดล่ะ คือมันคลุมเคลือน่ะครับ แค่ไม่มีอกุศลหรือ...

...ผมว่า สภาวะ ของ (ปฐมฌาณ) น่าจะ คลุมเคลือ เหมือนกับ สภาวะของ (โสดาบัน) ผมเปรียบแบบนี้ได้ไหมครับ คือ ไม่มีตัวบ่งบอกที่เราจะรู้เองในใจขึ้นมาได้อย่าง ชัดเจนแจ้มแจ้ง ...ซึ่ง ผมก็ยังนึกไปว่า เป็นโสดาบัน แล้ว มันจะมีชั่ว 2-3 ขณะจิตนั้น ที่ เกิดปิ้ง...ขึ้นมาในใจที่ทำไห้เรารู้ได้เองเลย ว่าเราเป้น โสดาบันแล้ว.?????????...แต่ก็ไม่เห็นปิ้งเลย 55555555555....

...เพราะผมนึกไปถึง คำว่า ธรรมจักษุ (ดวงตาเห็นธรรม) ก็เลย นึกว่า พระโสดาบัน จะ เกิด ปิ๊ง !!! ขึ้นมาในใจใงครับ แต่รออยู่นาน ไม่เป็นมี ปิ้ง ปั๊ง อะไรเลย 555555555 เฮ้อออออออออ...

...แต่ตอนนี้ เข้าใจแล้วว่า คำว่า (ได้ดวงตาเห็นธรรม) ใช้เฉพาะการบรรลุ อนาคามี หรือ อรหันต์ นั่นเอง..แต่โสดาบันไม่ ปิ๊ง ว่าแล้ว ไม่เห็นมี ปิ๊ง อะไรเลย มีแต่ ปิ๊ง สาวข้างบ้าน 5555555...อ้าวเวรกรรม พูดเพ้อเจ้ออีกแล้ว...555555 เฮ้ออออออออ .......((( ไม่เป็นไรครับ เพราะเราจะรู้อยู่ตลอดว่า เราเป็น เนื้อที่นอนจมบ่วงแต่ไม่ติดบ่วง นั่นเอง..!!!....)))

####################

...เอ๊ ถามอีกนิดได้ไหมครับ ตรงนี้ไม่จำเป็น ต้องตอบ ก็ได้นะครับ คือทำไม คุณ พธู เรียกคุณ นนท์ ว่า ลุง ครับ ไม่เข้าใจ ต้องเรียกว่า ม้าอาชานนท์ สิครับ ถึงจะถูกกับคุณสมบัติ.....ZZZZZZZZZZZZZZZZZZZZ 55....0_o...


โดย: อะไรกัน@งงตึ๊บ!!! IP: 192.168.1.123, 61.7.133.235 วันที่: 31 ตุลาคม 2553 เวลา:20:40:53 น.  

 
ตอบ คุณ อะไรกัน

1.ที่บอกว่า ให้ พยายามทิ้งภพ ทิ้งความเพลิน ไปเรื่อยๆ ก็เหมือนกับ ที่บอกว่า (ให้ปล่อยวาง ตัว วิญญาณ) ใช่ไหมครับ คือ ให้ทิ้งหรือปล่อยวาง นั้น โดยความหมาย นั้น หมายความว่า อย่าเข้าไปเป็นมัน ใช่ไหม ครับ

ตอบ การปล่อยวาง ตัว วิญญาณ ก็ เหมือนกันกับการทิ้งภพ ครับ เพราะ ภพที่เป็น นามมัน เกิดดับ พร้อมกัน กับตัววิญญาณ ถ้าเราปล่อยได้ หรือ ทิ้งได้ ก็เท่ากับ เราไม่เข้าไปเป็นมัน ตัว วิมุติญาณทัศนะ ก็ จะแยกตัวออกมา ไม่ไปจับวิญญาณ ที่เกิดดับว่าเป็นตัวมัน

1.1เพราะถ้าบอกว่า ให้ ทิ้งภพ คือ ปล่อยตัว วิญญาณ ไม่ไห้เกิด นั้นเป็นไปไม่ได้ ผมเลย งง เพราะ ขันธ์5 มันก็ทำงานของมัน คือ เกิดขึ้นเพราะปัจจัยปรุงแต่งเป็นเหตุหนุนเนืองกันไป แต่ ความหมายที่บอกว่า (ให้พยายามทิ้งภพ ทิ้งความเพลิน) นั้น ความหมายคือ อย่าเข้าไปเป็นมัน ต่างหาก ไม่ใช่ไปหนี ตรงนี้ถูกต้องไหมครับ...

ตอบ ถูกต้องแล้วครับ พอเราปล่อยวางตัววิญญาณได้ ตัวเราก็ไม่มี , ไม่มี สัตว์ ตัวตน บุคคลเราเขา แต่ ขันธ์ ห้า มันก็ทำงานของมันไป โดยที่ ไม่มีผู้เข้าไปเป็นตัวขันธ์ห้า คำว่า ปล่อยตัววิญญาณ ไม่ให้เกิดนี่คือ ไม่ให้ ตัว วิมุติญาณทัศนะ ไปเกิด พร้อมกับตัววิญญาณ ครับ แต่ ตัววิญญาณ มันก็เกิดดับของมัน ตามธรรมชาติ ที่มีอยู่แล้ว นั่นเอง


1.2 แต่ถ้าบอกว่า (ให้พยายามทิ้งภพ ปล่อยวางตัว วิญญาณ) ก็พอดีไม่ต้องทำอะไรเลย และก็เป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว เพราะ ธรรมทั้งหลายเกิดไปตามเหตุปัจจัย เพราะฉะนั้น ตรงนี้จึงอยากถามว่า คำกล่าวที่ว่า (ให้พยายามทิ้งภพ ปล่อยวางตัว วิญญาณ) นั่น ก็คือ หมายความว่า อย่าเข้าไปเป็นมัน และ อย่ายึดว่ามันเป็นเรา ถูกต้องไหมครับ แต่ไม่ใช่ ทิ้งหรือปล่อยวาง คือหนีเลยอะไรแบบนั้น ครับ 5555.....งงติ๊บ....????


ตอบ การทิ้งภพ หรือ ปล่อย ตัววิญญาณ ก็ เหมือนกัน ครับ เพราะ ภพที่เป็น นาม เกิดดับ พร้อมกัน กับ ตัววิญญาณ ส่วน การ ปล่อยตัววิญญาณ แล้ว ก็ ทำทุกอย่างได้ตามปรกติ เหมือน คนธรรมดา นี่แหละครับ และสามารถ ใช้ ขันธ์ห้าทำงานได้ตามปรกติ

แต่ ความยึดมั่นถือมัน ในขันธ์ทั้งห้า มันหมดไปแล้ว ขันธ์ห้า ก็ยังทำงานเหมือนเดิม แต่ไม่มีผู้เข้าไปเป็นตัวมันแล้ว มันสักแต่ว่าเป็นธาตุตามธรรมชาติ เท่านั้นเอง วิมุติญาณทัศนะ ปล่อย ตัววิญญาณ ก็ แยกตัวออกมา พอแยกออกมาแล้ว ขันธ์ห้าก็ ทำงานปรกติ แต่ ตัวเราไม่มีแล้ว มันไม่ได้ไปเกิดดับพร้อมกับตัววิญญาณ เหมือนแต่ก่อน แต่ ตัว จิตหรือวิญญาณ ก็ ยังเกิดดับเหมือนเดิม ตามธรรมชาติของมัน แต่ไม่ใช่ตัวเราที่เกิดดับ ครับ

ไม่ทราบว่า ยัง งง ตึ๊บ อยู่ไหมหนอ

2. ...อยากถาม ตัว สักกายทิฏฐิ ที่เป็น 1 ในคุณสมบัติ โสดาบัน คือ...สักกายทิฏฐิ คือ(มีความรู้สึกว่าร่างกายนี้เป็นเรา เป็นของเรา เรามีในร่างกาย ร่างกายมีในเรา) ...คือที่โสดาบัน ละตัวนี้ได้ หมายความว่า แค่มีความเข้าใจที่ถูกต้องขึ้นมาว่า ไม่ใช่ตัวตน สัตว์บุคคล เฉยๆ ใช่ไหมครับ...

ตอบ คำว่า ละสักกายทิฐิ แค่เรา มีความเห็นว่า กายนี้ ไม่ใช่เรา ไม่มี สัตว์ ตัวตน บุคคล เราเขา เป็นสักแต่ว่า ธาตุต่างๆตามธรรมชาติ ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไปเท่านั้น แต่ มีความเห็น ว่า กายนี้ ไม่ใช่เรา ก็ ถือว่า ละสักกายทิฐิแล้วครับ แต่เรายังละรูปกายนี้ไม่ได้หรอก ถ้าละได้ ก็ เป็นพระอนาคามีเลย แต่นี่แค่เปลี่ยนความเห็นเท่านั้น ครับ


2.1 คือ แต่ไม่ได้หมายความว่าละคลายจากการยึดมั่นในตัวตน ได้จริงๆ เพราะถ้าละได้จริงๆ ทำไมยังมี สังโยชที่เหลืออีกตั้ง 7 ตัว ใช่ไหมครับ ก็อย่างที่คุณ นนท์บอกว่า แค่เปลื่ยนความเห็น หมายความว่า แค่รู้ว่า ความจริงแล้วเป็นแบบนั้น แต่ยังทำตามความจริงนั้นไม่ได้เป็น สมุทเฉท...แบบนี้ถูกไหมครับ...

ตอบ ก็ ได้บอกไปแล้วว่า โสดาบัน แค่เปลี่ยนความเห็นที่ผิด มาเห็นถูกต้อง และพยายามตั้งใจพยายามปฏิบัติ ศีลห้าก็ ถือว่า ได้เป็นพระโสดาบัน ได้ดวงตาเห็นธรรมแล้วครับ ละสังโยชน์ได้ 3 ตัว แต่ยังเหลือ สังโยชน์ อีกตั้ง 7 ตัว อย่าที่ว่าครับ


3. ...อีกนิดนึง คือ คำว่า (มีนิพพานเป็นอารมณ์) นี่โสดาบัน ก็คือ มีนิพพานเป็นอารมณ์ ได้ ตรงนี้ ถูกหรือผิดครับ..เพราะก็บอกว่า โสดาบัน เข้าถึงกระแสแห่งนิพพาน ก็สามารถ นึกถึง นิพพานเป็นอารมณ์ ได้ หรือไม่ได้ ครับ ถ้าได้ จะได้ในลักษณะไหน หรือ โสดาบัน ต้องเข้าฌาณ4 ถึงจะมีนิพพานเป้นอารมณ์ได้ครับ....หรือว่า ที่ถามมาตรงนี้ ผิดหมดครับ 55555555555 เฮ้ออออออออออ

ตอบ น่าจะเรียกว่า โสดาบัน มี นิพพาน เป็นเป้าหมายที่ชัดเจนมากกว่า ครับ มีแผนที่ชัดเจน ว่า เดินมรรคมีองค์แปด ไปเรื่อยๆแบบนี้ ต้องถึงที่หมายเป็นแน่นอน โสดาบัน จะไม่สงสัยในเส้นทางว่า ทางนี้ เราเดินถูกรึเปล่า หรือ ต้องไป ให้ เทวดา อินทร์ พรหม ดลบันดาลให้เราเดินให้ถูก เพราะ เทวดา พรหม ที่ไม่ใช่อริยะ ก็ ไม่มีแผนที่ เดิน มั่วชั่วไปเรื่อยเหมือนกัน หรือ ไม่ใช่เดินมั่วซั่วไปเรื่อยๆเหมือนพวก ฤๅษี โยคี ต่างๆ

แต่โสดาบัน จะมีแผนที่ชัดเจน มีเป้าหมายที่ชัดเจนว่า เดินตามที่พระพุทธเจ้าบอก ถึงเป้าหมายแน่นอน มีความ มั่นใจ มั่นคง ไม่หวั่นไหว ใน พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ครับ แล้ว ก็ ไม่ต้อง ถึงขนาดได้ ฌานสี่ พระพุทธองค์ตรัสว่า วิมุติ หรือ นิพพาน สามารถ เข้า ถึงได้ ตั้งแต่ ฌานที่หนึ่ง เป็นต้นไป ครับ



4. ......อยากรู้เรื่อง สภาวะของฌาณ นิดนึงครับ ก็คือ......ฌาณที่ 1 ละอกุศล ได้ หมายถึง ขณะช่วงเวลานั้นๆ กำหนดจิตข่ม นิวรณ์5 ใว้ได้ คือเรามีอำนาจ กดข่มมันใว้ได้นานพอสมควรเป็นส่วนใหญ่ และมันจะไม่มีอำนาจเหนือเรา ในขณะที่เป็นฌาณ ที่ 1 ถูกต้องไหมครับ...คืออยากรู้ว่า ปฐมฌาณ นี้ มันก็เป็น สภาวะปกติธรรมดา เหมือนกับที่เราดำเนินชีวิตอยู่ทั่วไป ใช่ไหม (แตกต่างแค่ กำหนดจิตข่ม นิวรณ์5 ใว้ได้ชั่วคราว) และคนปกติธรรมดาทั่วๆ ก็ทำได้อย่างง่ายดาย ใช่ไหมครับ เพราะแค่ กดข่ม อกุศลใว้ได้...

ตอบ ถูกต้องครับ

4.1 ผมว่าคุณ นนท์ งง แน่เลยว่า ก็ไหนบอกว่า ผมได้ฌาณขั้นสูงขึ้นไปแล้ว แต่ทำไมยังมา สงสัย กับฌาณ ขั้นที่ 1 ซึ่งผมก็น่าจะรู้ดี เพราะได้มากกว่า ฌาณที่ 1 แล้ว ใช่ไหมครับ ก็ผม งงจริงๆน่ะครับ ว่า อะไรจะเป็นตัววัดล่ะ คือมันคลุมเคลือน่ะครับ แค่ไม่มีอกุศลหรือ...

ตอบ พระพุทธเจ้าวางหลักเกณฑ์ไว้ว่า ใน ระดับ ฌานที่หนึ่ง คือแค่ เรามี สติ สัมปชัญญะอยู่ แต่ นิวรณ์ห้า ไม่มี กับ อกุศล ไม่มี แค่นั้นเองอย่างอื่น ไม่ใช่เครื่องวัด ทีนี้ เราก็ ลองเช็คดูสิครับ ว่า เรามีสติอยู่ไหม มี นิวรณ์ห้าไหม มีอกุศล เกิดภายในจิต อยู่รึเปล่า ถ้า มีคุณสมบัติตามนั้น นั่นก็ ถือว่า ได้ ฌานที่หนึ่งแล้วครับ


4.2 เพราะผมนึกไปถึง คำว่า ธรรมจักษุ (ดวงตาเห็นธรรม) ก็เลย นึกว่า พระโสดาบัน จะ เกิด ปิ๊ง !!! ขึ้นมาในใจใงครับ แต่รออยู่นาน ไม่เป็นมี ปิ้ง ปั๊ง อะไรเลย 555555555 เฮ้อออออออออ...

ตอบ โสดาบัน จะว่ามันปิ๊ง ก็สามารถ เป็นได้เหมือนกัน ถ้าเรา รู้ว่า เราเปลี่ยนความเห็นผิดให้มาเห็นถูกต้อง และมีเป้าหมายชัดเจน ที่จะไปนิพพาน แต่นั่น ต้องหมายถึง พวกที่ปฏิบัติมามาก แต่ปฏิบัติในทางที่ผิด เช่น ฤๅษี สมณะพราหมณ์ เหมือนในสมัย พุทธกาล เขาปฏิบัติมามาก แต่ว่า เขาไม่รู้เส้นทางหนทาง ที่จะเข้าสู่มรรคผลนิพพาน พอพระพุทธเจ้า แนะนิดเดียว ก็ ปิ๊ง ขึ้นมาเลย ได้ดวงตาเห็นธรรม ยกตัวอย่าง เช่น ปัญจวัคคีย์ทั้งห้า พระพุทธเจ้าแนะนิดเดียวก็ ปิ๊งขึ้นมาได้เช่นกัน หรือ พระสารีบุตร พอได้ฟังธรรม จากพระอัสชิ นิดเดียว ก็ ปิ๊ง เป็นพระโสดาบันเลย เป็นต้น

สำหรับ พวกเรา มันไม่ปิ๊ง ก็ ไม่เป็นไร แต่ให้เดิน มรรค วิธีที่พระพุทธเจ้าสอน ไปเรื่อย ทำอย่างถูกต้อง มันได้ โสดาบัน เป็นอย่างน้อยแน่นอน ตามที่ พระพุทธเจ้า ได้ถามพระสารีบุตร ว่า

..........ดูกร ! สารีบุตร ที่เรียกว่า โสดาบันๆ ดังนี้โสดาบันเป็นไฉน?

..........สารีบุตร . ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผู้ใดประกอบด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ผู้นี้ เรียกว่าพระโสดาบัน ท่านผู้นี้นั้น มีนามอย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้

แค่ตั้งใจเดินมรรคมีองค์๘ ศีล สมาธิ ปัญญา มีเป้าหมาย คือพระนิพพาน มีความเพียรที่ไม่ถอยกลับ ก็ ปิ๊งได้เลย ว่าเรา คือพระโสดาบันแล้ว ไม่ต้องกลัวว่าเราจะสำคัญตนผิด บอกแล้วว่า ไม่เป็นไร ขอให้ เดินมรรควิธี ตามที่พระพุทธเจ้าบัญญัติ ก็ แล้วกัน ได้ โสดาบัน เป็นอย่างน้อยแน่นอนครับ

ส่วน ที่ว่า ได้ดวงตาเห็นธรรม มันได้ตั้งแต่ เราเป็นโสดาบันแล้วครับ ไม่ใช่ได้ตอนบรรลุ อนาคามี


คำถาม ตอบให้หมดแล้ว น๊ะครับ ไม่ทราบยังมึนตึ๊บ อยู่ไหม ถ้ายังมึนอยู่ก็มาถามใหม่ได้ ครับ

ขออนุโมทนาครับ


โดย: จูปีเตอร์เทพแห่งดาวพฤหัส วันที่: 1 พฤศจิกายน 2553 เวลา:2:07:04 น.  

 
...โอ้โห...น่าสนใจจริงๆครับ โดยเฉพาะในส่วน ที่คุณ นนท์ อธิบายเกี่ยวกับ (การทิ้งภพ หรือ ปล่อย ตัววิญญาณ) ...ก็คือเป็นกระบวนการในการทำให้...

(((((...ทำให้ วิมุติญาณทัศนะ ปล่อย ตัววิญญาณ ให้ได้ เพื่อ แยกตัวออกมา พอแยกออกมาแล้ว ขันธ์ห้าก็ ทำงานปรกติ แต่ ตัวเราไม่มีแล้ว มันไม่ได้ไปเกิดดับพร้อมกับตัววิญญาณ เหมือนแต่ก่อน แต่ ตัว จิตหรือวิญญาณ ก็ ยังเกิดดับเหมือนเดิม ตามธรรมชาติของมัน แต่ไม่ใช่ตัวเราที่เกิดดับ...)))))

...ที่กล่าวมานี้เป็นผลใช่ไหมครับ และเราต้อง ทำเหตุให้สมควรแก่ผล ก็คือ กระบวนการในการ ฝึก เห็นเกิดดับ และ ฝึกทิ้งภพ ฝึกปล่อย ตัววิญญาณ อย่าเข้าไปเป็นมัน อย่าคิดว่ามันเป็นเรา อะไรประมาณนี้ ไปเรื่อยๆ นั่นเอง...น่าสนใจมากเลยครับตรงนี้ ผมจะเอาตรงนี้ไปใคร่ครวญ และ ลองภาวนา ดูเรื่อยๆนะครับ...ขออนุโมทนาที่ ให้สิ่งที่วิเศษสุดครับ !!!!!....

...ตอนก่อนนั้น ครั้งแรก ที่คุณนนท์ บอกว่า (อย่าเข้าไปเป็นมัน) ประโยคนี้ สำหรับผม ชัดเจนดีมากเลยครับ ผมเลยจำใว้แม่นเลย คือ อย่าเข้าไปเป็นมัน เพราะ ถ้าเทียบกับประโยคอื่นๆ เช่น ( ไม่ใช่ สัตว์บุคคล ตัวตน เรา เขา เป็นเพียงธาตุต่างๆตามธรรมชาติ อย่ายึดว่า เป็นเรา อะไรประมาณนี้ )...

...แต่ประโยคนี้ น่าสนใจ เพราะผมรู้สึก เห็นภาพเลย กับประโยคที่ คุณนนท์ บอกว่า (อย่าเข้าไปเป็นมัน) คือ สำหรับผม ฟังดูชัดเจนมากกว่า บอกว่า (อย่ายึดว่ามันเป็นเรา) อีกนะครับ เพราะรู้สึกว่า มันเป็นหัวใจ ในการทำเหตุให้สมควรแก่ผล ดีครับ เลยเพิ่งเคยได้ยินประโยคนี้ด้วย ครับ 555 ดีมากเลยครับ....(((อย่าเข้าไปเป็นมัน))) ขออนุโมทนา.......

...ส่วนที่อธิบาย เกี่ยวกับ โสดาบัน [ 1 ในคุณสมบัติเหล่านั้นคือ มาเห็นว่า นี่คือเส้นทางที่ถูกต้อง และเพียรพยายามเดินตาม มรรค8 ไปโดยมี นิพพานเป้นเป้าหมาย ] ก็ชัดเจนแจ่มแจ้ง เข้าใจดีแล้วครับ...ขออนุโมทนา...กับคุณ ม้าอาชานนท์ ด้วยนะครับ...

(((...งั้นขอถาม อีก 1 ข้อ นะครับ ข้อนี้ ก็สงสัยมากๆ เหมือนกัน...ก็คือว่า...)))

1. คือ อยากรู้เกี่ยวกับ (ญาณ) เฉพาะในส่วนของ [วิปัสสนาญาณ และ อาสวักขยญาณ] 2 ฌาณ นี้น่ะครับ คืออยากรู้ว่า เราก็ทำให้ได้ ฌาณขั้นที่ 4 แล้ว น้อมจิตไปเพื่อบรรลุ วิปัสสนาญาณ และ อาสวักขยญาณ ได้เลยไหมครับ...

...เพราะอ่านดูแล้ว ก็เหมือนง่ายนะครับ ก็แค่ทำฌาณที่ 4 ให้ได้ และ น้อมจิตไปเพื่อ [วิปัสสนาญาณ และ อาสวักขยญาณ] ก็ บรรลุ อรหันต์ หลุดพ้น เลย นี่ไงครับ !!! ไม่เห็นต้อง ศึกษาอะไรไห้มาก หรือต้องเพียรพยายาม เห็นเกิดดับ ฝึกทิ้งภพ ละนันทิ ความเพลิน อะไรไห้ยุ่งยากเลย...

...หรือว่า ผมเข้าใจผิด ซึ่งผมคิดว่า น่าจะไม่ง่าย อย่างนั้น คงต้องประกอบไปด้วยรายละเอียดอื่นอีก ใช่ไหมครับ ไม่ใช่แค่ว่า ทำฌาณขั้นที่ 4 ให้ได้ แล้วน้อมไปเพื่อ
[วิปัสสนาญาณ และ อาสวักขยญาณ] ก็ บรรลุ อรหันต์ หลุดพ้น ได้เลย...

...เช่น ที่คุณ นนท์บอกว่า คนที่ ได้ฌาณ ที่ 4 ก็ไม่ใช่ทุกคนเสมอไป ใช่ไหมครับ ที่จะ น้อมไปเพื่อ คุณวิเศษ ได้หมดทุกคน เพราะฉะนั้น ได้ฌาณที่ 4 แล้ว ก็ไม่ได้หมายความว่า จะน้อมจิตไปเพื่อ [วิปัสสนาญาณ และ อาสวักขยญาณ] ได้เลยทันที ...

...แต่อยากรู้ว่า ต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยอะไรอีก ครับ แต่ความเข้าใจผมคือ เดาเอาว่า ต้องมีความรู้พื้นฐานมาพอสมควรบ้างแหละ คือเช่นถ้าไม่รู้เรื่องมรรค 8 เลย เช่นพวก ฤๅษี โยคี หรืออื่นๆ ที่ บรรลุฌาณ 4 ได้ แต่ ไม่มีความรู้เรื่อง อริยสัจ4 ก็ไม่สามารถ น้อมจิตไปเพื่อ[วิปัสสนาญาณ และ อาสวักขยญาณ] ได้ใช่ไหมครับ...

...ถ้าใช่ งั้นผม คิดต่อว่า ต้องเป็น ในกรณีของ โสดาบันแล้ว เท่านั้น ที่พอเข้า ฌาณที่ 4 จากนั้น จึงจะสามารถ โน้มน้อมจิตไปเพื่อ [วิปัสสนาญาณ และ อาสวักขยญาณ] แต่ถ้า ไม่ได้เป็น โสดาบัน เช่นพวก ฤๅษี โยคี ที่ไม่รู้มรรค8 ถึงได้ฌาณที่ 4 ก็อาจจะได้ คุณวิเศษข้ออื่นๆ แต่จะทำไม่ได้ 2 ข้อ คือ [วิปัสสนาญาณ และ อาสวักขยญาณ] ที่จะทำไห้หลุดพ้นได้ ที่ผมอธิบายมานี้ ถูกไหมครับ เพราะผมสรุปเอาเอง จากฐาณข้อมูลที่ผมมี ครับ....???

...เอ๊ หรือว่าผมเข้าใจผิดหมด เพราะว่า พิจรณาดู ก็ งง นะครับ ว่า [วิปัสสนาญาณ และ อาสวักขยญาณ] มันเป็นแค่ ความรู้ว่า สิ้นกิเลส หรือว่า เป็นผลที่มำไห้สิ้นกิเลส ครับ พิมพ์ไปพิมพ์ มาเริ่ม งง กับตัวเองอีกแล้ว 555 เฮ้อออออออ...คือมันเป้นแค่ความรู้ หรือว่า เป็นตัวผล ที่ทำไห้บรรลุธรรม เลยครับ...

...เพราะฉะนั้น ก็คือ อยากถามว่า ถ้าสมมุติผมเป็น โสดาบัน แล้ว และทำฌาณขั้นที่4ไห้ได้ จากนั้นก็ น้อมจิตไปเพื่อ [วิปัสสนาญาณ และ อาสวักขยญาณ] มันก็ทำไห้ บรรลุ อรหันต์ได้ใช่ไหม คือไม่ต้อง ยุ่งยากไป ทิ้งความเพลิน ตามเห็นเกิดดับ เป้นร้อย เป็นพัน เป็นหมื่น เป้นแสน เป็นล้านๆ ครั้ง ๆ เพื่อไห้เบื่อหน่าย และหลายความกำหนัดในโลกออกเสียได้...

...คือ ผมรู้สึกว่า ผมก็เบื่อหน่าย คลายความกำหนัด มาก แล้วนะครับ และอยากรู้ว่า มันมากพอแล้วหรือยัง ที่ต่อจากนี้ ผมจะพยายามทำฌาณขั้นที่ 4 ให้ได้ เพื่อ น้อมจิตไปเพื่อ [วิปัสสนาญาณ และ อาสวักขยญาณ] เพื่อ บรรลุ ธรรมขั้นสูงสุด ได้เลยไหมครับ...ตรงนี้อยากรู้มากๆครับ....

...เพราะว่า นี่ คือเป็นเหตุผลหลัก น่ะครับ ที่ผมต้อง การได้ฌาณ ขั้นที่ 4 เพราะ อยากน้อมจิตไปเพื่อ [วิปัสสนาญาณ และ อาสวักขยญาณ] เลย ง่ายดี ไม่ต้อง ยุ่งยากไป ทิ้งความเพลิน ตามเห็นเกิดดับ เป้นร้อย เป็นพัน เป็นหมื่น เป้นแสน เป็นล้านๆ ครั้ง ๆ...

...ตรงนี้ ช่วยบอกหน่อยนะครับ ว่า มันจะเป็นการง่ายกว่าไหม ซึ่งผมคิดว่า ต้องง่ายกว่า สิครับ ยิ่งถ้า มี โสดาบัน เป็นทุน และ ใช้ สมาธิขั้นที่ 4 ช่วยในการ น้อมจิตไปเพื่อ [วิปัสสนาญาณ และ อาสวักขยญาณ] ก็บรรลุได้ ง่ายและเร็วกว่า........ทั้งหมดนี้ ผมเข้าใจถูกไหมครับ.....โปรดไล่ตัวกังขา ไห้หน่อยครับ........????

...คุณ นนท์ คงคิดในใจ จะรีบบรรลุไปไหน ??? 5555 ต้อง (((ความสมดุลแห่งธรรม))) มัชฌิมา ปฏิปทา ใช่ไหมครับ 55555555.......ก็ต้องรีบ สิครับ เพราะ เราไม่รู้ว่า เราจะตายตอนไหน !!! ใช่ไหมครับ เช่นเผลอไปกินอะไร เม็ดผลไม้อะไร ดันไปติดที่คอ หายใจไม่ออกนิดเดียวก็ เรียบร้อยแล้ว ลาโลกเลย !!! เพราะฉะนั้น ผมจะไม่ประมาท แม้แต่ วินาทีเดียว แต่ถ้ายังทำไม่ได้ ก็จะคิดว่า เราเป็น (เนื้อที่นอนจมบ่วงแต่ไม่ติดบ่วง) นั่นเองครับ.......ขออนุโมทนา.......0_o...

...มีพระสูตรไหน จำไม่ได้ว่า ที่ ถ้าถามว่า ท่านคิดถึง มรณานุสติ กี่ครั้งต่อวัน ถ้าคิดครั้งเดียวต่อวัน ถือว่ายังน้อยอยู่ 2 ครั้ง ก็ถือว่ายังน้อย ต้องคิดไห้บ่อยๆ ถึงจะดี...แต่ถ้าดูตามความคิดเห็นของหลายคน จะคิดว่า เป็นเรื่อง อัปมงคล นะครับ มาคิดถึงเรื่องความตาย อะไรประมาณนี้ เช่นบอกว่า งานศพเป็นงาน ไม่มงคล อะไรประมาณนี้....แต่น่าเสียใจที่เขาเป้นผู้มิได้สดับ จึงยังไม่รู้....นั่นเอง...

################

...เอ๊ มีอีกนิดนึง แค่บอกเล่าไห้ฟัง แต่ยังไม่เคยเล่า ก็คือ เป็นเรื่องที่ดีมากๆ คือเป็นช่วงที่ผมเริ่มศึกษาธรรมะใหม่ๆ และศึกษา มาได้ระยะนึงแล้ว ย้อนไปเมื่อประมาณ 8 ปีที่แล้ว น่ะครับ คือ ตอนนั้น ก็ฟังธรรมะ ทางวิทยุ ไปด้วย ตามปกติ...

...และตอนนั้น ผมรู้สึกเบื่อหน่าย คลายความกำหนัดในโลกมากๆเลยนะครับ และอยากบรรลุ นิพพาน มากๆ พอมาวันนึง ได้ยินเนื้อหาประมาณว่า ยุคนี้ ไม่มีพระอรหันต์แล้ว คือเป็นยุคที่ว่างจากพระอรหันต์ เพราะว่าเป็นยุคที่ ไม่เหมือนกับ ยุคพุทธกาล อันเป็นยุคที่ รองรับพระอรหันต์ได้ แต่ยุคนี้ พศ. 2500 เป็นต้นมา เป็นยุคที่ ไม่มี อรหันต์แล้ว อย่างมากก็มีแค่ พระอนาคามี ...

...ได้ฟังแบบนี้ผมเลยเสียใจมากเลย เพราะอยากบรรลุ อรหันต์ ในชาตินี้ อย่างที่สุด เพราะเห็นภัยในวัฏสงสาร ผมเลยตั้งเป้าว่า ยุคนี้รองรับ พระอรหันต์ไม่ได้ ก็ ไม่เป็นไร และตั้งเป้าหมายไหม่ว่า ต้องบรรลุ อนาคามี และค่อยไปเกิดใน พรหมชั้น อะไร สุทาวาส หรือเปล่า จำไม่ได้ อีกชาติเดียว แล้วค่อยบรรลุ อรหันต์ ที่นั่นน่ะครับ....

...นั่นแหละ นี่คือ เมื่อ ประมาณ 8 ปีที่แล้ว ที่ผม รู้สึก เข้าถึง ความเบื่อหน่ายคลายความกำหนัดในโลกมากที่สุดเลยครับ...และต่อมาก็ค่อยๆคลายความรู้สึกนั้นลงๆ เพราะ ยังไม่ได้ศึกษาอะไรมาก ก็ศึกษาต่อมา เป็นระยะๆ เรื่อยๆ ...

...และมาถึง ช่วงหลังนี้ พอศึกษามากขึ้น ก็เริ่มรู้ว่า มันไม่ใช่อย่างที่เราได้ยินมา ว่ายุคนี้ไม่รองรับ พระอรหันต์ เพราะ พระพุทธองค์ ก็บอกเองว่า [ตราบใดที่มีผู้ปฏิบัติ โลกจะไม่ว่างจากพระอรหันต์] ใช่ไหมครับ เลยเริ่มเข้าใจว่า ที่เราเข้าใจมานั้นผิดนั่นเอง....

...พอมาตอนนี้ ผมก็รู้เลยว่า นี่คือผลเสีย ที่เรา ไปจำคำพูดใครมาก็ไม่รู้ หรืออาจจะเป็นคำพูดของ อรรถกถา ที่ ไม่ตรงกับ พุทธวจณ เป้นผลเสียทำไห้เราเข้าใจผิด นั่นเอง....ก็ใครจะไปรู้ล่ะ ก็แค่เข้าใจว่า พระอภิธรรม ก็คือ คำสอนของพระพุทธเจ้า นั่นแหละ....

...มีอีกเยอะเลย ที่ผมศึกษามาแล้วจำได้ เช่น การอุทิตส่วนกุศล ต้องทำทันที หลัง ทำบุญเสร็จ เพราะขณะนั้นจะมี พวก เปรต ที่เป็นญาติ เรามารออยู่กันเต็มเลย...

...แต่พอเราทำบุญเสร็จ แล้วไม่อุทิต ทันที เปรตเหล่านั้นก็จะกลับไป ไม่ได้บุญ เพราะเราไม่ยอม อุทิตไห้ แต่ วันนั้น ฟัง อาจารณ์ คึกฤทธิ์ บอกว่า ไม่จำเป็นต้อง อุทิต ทันทีก็ได้ แต่ที่ฟังมาบอกว่าไม่ได้ ต้องทันที 555 ตกลงเป็นไงครับ...???

...เพราะมันไปตรงกับ เรื่อง เปรต ที่เป้น ญาติ ของ พระเจ้า พิมพิศาร ใช่ไหมครับ แล้ว ถ้าจะอุทิตบุญได้ ต้อง ทำเฉพาะ ถวายทานข้าวสุกขนมสด ปัจจัย 4 เท่านั้นหรือ แล้ว ทำสมาธิได้ฌาณ นี่ จะอุทิตได้เหมือนกันหรือ ถ้างั้น ก็ ทำสมาธิ วิปัสนา แล้ว อุทิตไปก็ได้ เหมือนกัน ไม่ต้อง ไป ถวายพัตราหารปัจจัย4 ไห้ยุ่งยาก ไม่ดีกว่าหรือครับ....????


โดย: อะไรกัน@งงต่อ !!! IP: 192.168.1.123, 61.7.133.176 วันที่: 1 พฤศจิกายน 2553 เวลา:14:27:39 น.  

 
ตอบ คุณอะไรกัน

1.คือ อยากรู้เกี่ยวกับ (ญาณ) เฉพาะในส่วนของ[วิปัสสนาญาณ และ อาสวักขยญาณ] 2 ฌาณ นี้น่ะครับ คืออยากรู้ว่า เราก็ทำให้ได้ ฌาณขั้นที่ 4 แล้ว น้อมจิตไปเพื่อบรรลุ วิปัสสนาญาณ และ อาสวักขยญาณ ได้เลยไหมครับ...

ตอบ วิปัสสนาญาณ ก็ คือ การเห็นการเกิดดับของขันธ์ทั้งห้าครับ ก็ สามารถทำได้ตั้งแต่ ฌานที่หนึ่งเป็นต้นไป ในฌานที่สี่ ก็ สามารถเห็นการเกิดดับของขันธ์ทั้งห้าได้เช่นกัน ก็ สามารถได้วิปัสสนาญาณ ได้เช่นกัน ส่วน อาสวักขยญาณ เป็นผลจาก ที่เราเจริญวิปัสสนาญาณ แล้ว เราจะได้ อาสวักขยญาณ ตามมา ครับ

1.1เพราะอ่านดูแล้ว ก็เหมือนง่ายนะครับ ก็แค่ทำฌาณที่ 4 ให้ได้ และ น้อมจิตไปเพื่อ [วิปัสสนาญาณ และ อาสวักขยญาณ] ก็ บรรลุ อรหันต์ หลุดพ้น เลย นี่ไงครับ !!! ไม่เห็นต้อง ศึกษาอะไรไห้มาก หรือต้องเพียรพยายาม เห็นเกิดดับ ฝึกทิ้งภพ ละนันทิ ความเพลิน อะไรไห้ยุ่งยากเลย...

ตอบ ถ้าเราไม่ฝึกละความเพลิน ไม่ฝึกทิ้งภพ เราก็ จะทิ้ง หรือ ปล่อยวางขันธ์ห้าไม่ได้หรอกครับ เพราะมันยังเพลินในภพ เพลินในขันธ์ห้า ว่าเป็นตัวเราของเราอยู่ การ จะได้ อาสวักขยญาณ มันก็ คือ การปล่อยวางขันธ์ห้าให้ได้ทั้งหมด ถ้าปล่อยวางไม่ได้ ยังเพลินในขันธ์ทั้งห้าอยู่ อาสวักขยญาณ ก็ เกิดไม่ได้หรอกครับ

1.2หรือว่า ผมเข้าใจผิด ซึ่งผมคิดว่า น่าจะไม่ง่าย อย่างนั้น คงต้องประกอบไปด้วยรายละเอียดอื่นอีก ใช่ไหมครับ ไม่ใช่แค่ว่า ทำฌาณขั้นที่ 4 ให้ได้ แล้วน้อมไปเพื่อ[วิปัสสนาญาณ และ อาสวักขยญาณ] ก็ บรรลุ อรหันต์ หลุดพ้น ได้เลย...

ตอบ การได้ ฌานที่สี่ สามารถแทงตลอดซึ่งธาตุเป็นอเนกได้ นั่นหมายถึง สามารถทำได้ในเรื่องญาณหยั่งรู้ อดีต อนาคต แสดงฤทธิ์ ปาฏิหาริย์ ต่างๆได้ เหาะเหินเดินอากาศ ดำดิน แต่ไม่ได้หมายความว่า ถ้าน้อมจิตไปเพื่อ อาสวักขยญาณ แล้วจะสามารถทำได้ ถ้า เรายังไม่มี วิปัสสนาญาณ เป็น บาทฐานก่อน

คือ ต้อง ตามเห็น การเกิดการดับ ของขันธ์ทั้งห้า เห็น อุเบกขาดับ เมื่อเราสร้างเหตุโดยการ เจริญวิปัสสนาญาณ คือการเห็นการเกิดดับของขันธ์ทั้งห้าจนชำนาญแล้ว เราจึงสามารถน้อมไปเพื่อ อาสวักขยญาณ ได้ ครับ ลำพัง ได้ แค่ฌานสี่อย่างเดียว ยังไม่สามารถทำได้ ผมจะยกตัวอย่าง พระเทวทัต ได้ฌานสี่ มีฤทธิ์ เหาะเหิน ทำอะไรก็ได้ แต่ ก็ น้อมไปเพื่อ อาสวักขยญาณ ไม่ได้

1.3แต่อยากรู้ว่า ต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยอะไรอีก ครับ แต่ความเข้าใจผมคือ เดาเอาว่า ต้องมีความรู้พื้นฐานมาพอสมควรบ้างแหละ คือเช่นถ้าไม่รู้เรื่องมรรค 8 เลย เช่นพวก ฤๅษี โยคี หรืออื่นๆ ที่ บรรลุฌาณ 4 ได้ แต่ ไม่มีความรู้เรื่อง อริยสัจ4 ก็ไม่สามารถ น้อมจิตไปเพื่อ[วิปัสสนาญาณ และ อาสวักขยญาณ] ได้ใช่ไหมครับ...

ตอบ ใช่ครับ ได้ ฌานสี่อย่างเดียว จะน้อมไปเพื่อ อาสวักขยญาณ ยังไม่สามารถทำได้ ต้องสร้างเหตุ โดยการเจริญ วิปัสสนาญาณ เป็นบาทฐานจนชำนาญเสียก่อนครับ

1.4ถ้าใช่ งั้นผม คิดต่อว่า ต้องเป็น ในกรณีของ โสดาบันแล้ว เท่านั้น ที่พอเข้า ฌาณที่ 4 จากนั้น จึงจะสามารถ โน้มน้อมจิตไปเพื่อ [วิปัสสนาญาณ และ อาสวักขยญาณ] แต่ถ้า ไม่ได้เป็น โสดาบัน เช่นพวก ฤๅษี โยคี ที่ไม่รู้มรรค8 ถึงได้ฌาณที่ 4 ก็อาจจะได้ คุณวิเศษข้ออื่นๆ แต่จะทำไม่ได้ 2 ข้อ คือ [วิปัสสนาญาณ และ อาสวักขยญาณ] ที่จะทำไห้หลุดพ้นได้ ที่ผมอธิบายมานี้ ถูกไหมครับ เพราะผมสรุปเอาเอง จากฐาณข้อมูลที่ผมมี ครับ....???

ตอบ โสดาบัน ได้ ฌานที่สี่ ก็ ยังไม่สามารถ น้อมจิตไปเพื่อ อาสวักขยญาณ ได้ดังที่กล่าวมาแล้วว่า การได้ อาสวักขยญาณ ต้องมีบาทฐานมาจากการเจริญ วิปัสสนาญาณเสียก่อน ครับ

1.5เพราะฉะนั้น ก็คือ อยากถามว่า ถ้าสมมุติผมเป็น โสดาบัน แล้ว และทำฌาณขั้นที่4ไห้ได้ จากนั้นก็ น้อมจิตไปเพื่อ [วิปัสสนาญาณ และ อาสวักขยญาณ] มันก็ทำไห้ บรรลุ อรหันต์ได้ใช่ไหม คือไม่ต้อง ยุ่งยากไป ทิ้งความเพลิน ตามเห็นเกิดดับ เป้นร้อย เป็นพัน เป็นหมื่น เป้นแสน เป็นล้านๆ ครั้ง ๆ เพื่อไห้เบื่อหน่าย และหลายความกำหนัดในโลกออกเสียได้

ตอบ ไม่ได้หรอก ครับ ตราบใดที่เรายังเพลินในขันธ์ทั้งห้าอยู่ มันจะน้อมไปเพื่อ ละขันธ์ มันเป็นเรื่องที่ยาก แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย เราจะต้องละความเพลิน ในขันธ์ทั้งห้าก่อน แต่ ถ้าจะเอาลัดสั้นง่าย ก็ อย่างที่เคยบอกไว้ ว่าให้ ละความเพลิน ในตัววิญญาณขันธ์ ตัวเดียว ก็ เหมือน เราละ ห้าขันธ์เลย ใช้วิธี สักแต่ว่า คือ วิญญาณมันไปรับ รู้อะไร ก็ ทิ้ง คือ สักแต่ว่าไป รู้ก็สักแต่ว่ารู้ เห็นก็สักแต่ว่าเห็น มรรควิธี ละความเพลินในตัววิญญาณ นี่คือวิธี ลัดสั้นง่ายสะดวกสบายต่อการเข้ามรรคผลนิพพาน ครับ

1.6คือ ผมรู้สึกว่า ผมก็เบื่อหน่าย คลายความกำหนัด มาก แล้วนะครับ และอยากรู้ว่า มันมากพอแล้วหรือยัง ที่ต่อจากนี้ ผมจะพยายามทำฌาณขั้นที่ 4 ให้ได้ เพื่อ น้อมจิตไปเพื่อ [วิปัสสนาญาณ และ อาสวักขยญาณ] เพื่อ บรรลุ ธรรมขั้นสูงสุด ได้เลยไหมครับ...ตรงนี้อยากรู้มากๆครับ....

ตอบ ถ้ารู้สึกเบื่อ ในขันธ์ ทั้งห้าแล้ว เวลา เราเจริญสมาธิ ก็ พระพุทธเจ้าบอกว่า ให้ อาศัย วิเวก อาศัย วิราคะ อาศัยนิโรธ แล้วน้อมไปเพื่อ โวสสัคคะ ( คือ เพื่อการปล่อยวาง ) อาศัย วิเวก คือ อาศัยจิต ที่กำลังตั้งมั่นเป็นสมาธิ อาศัย วิราคะ คือ เมื่อจิตเริ่มจะจางคลาย อาศัยนิโรธ พอจิตมันดับ เราก็น้อมไปเพื่อ การปล่อยวาง คือ อย่าให้ ตัว วิมุติญาณฯมันไปเกิดขึ้นพร้อมกับจิตดวงใหม่อีก คือ จิต มันจะเกิดดับ ก็เรื่องของมันแล้ว เราไม่เอาด้วย ไม่ตามไปเป็นมันอีกต่อไป

1.7คือเป็นเหตุผลหลัก น่ะครับ ที่ผมต้อง การได้ฌาณ ขั้นที่ 4 เพราะ อยากน้อมจิตไปเพื่อ [วิปัสสนาญาณ และ อาสวักขยญาณ] เลย ง่ายดี ไม่ต้อง ยุ่งยากไป ทิ้งความเพลิน ตามเห็นเกิดดับ เป้นร้อย เป็นพัน เป็นหมื่น เป้นแสน เป็นล้านๆ ครั้ง

ตอบ การจะเข้ามรรคผลนิพพาน เคยบอกแล้วว่า สามารถ ทำได้ ตั้งแต่ฌานที่หนึ่ง เพราะฉะนั้น ก็ ไม่จำเป็นว่า เราจะต้องทำฌานสี่ให้ได้ก่อน คือ สามารถ เข้ามรรคผลนิพพาน ได้ ในทุกๆ ระดับขั้น ขององค์ฌาน แต่ ก็ อย่างที่บอก ถ้า ได้ ฌานสี่ แต่ยังเพลิน ใน สุข ทุกข์ อุเบกขา อยู่ มัน ก็ เข้านิพพานไมได้ ครับ ต้อง ละความเพลิน ในขันธ์ทั้งห้า อย่างเดียว จึงสามารถ บรรลุมรรคผลได้

แต่การ ได้ ฌานสี่ ช่วงจังหวะ ที่ อาศัยวิราคะ อาศัย นิโรธ นี่ มันจะเห็น ชัดๆ และมันจะ เคลื่อนไปช้ากว่า ในฌานหนึ่ง สอง สาม เราจะเห็น มันจางคลาย เห็นมันดับ แบบ สโลว์โมชั่น เราก็ สามารถ น้อมไปเพื่อการปล่อยวางได้ง่ายกว่า ฌาน หนึ่ง สอง สาม ประโยชน์ มันก็ มีแค่นี้

แต่ ถ้า เรา ไม่ละความเพลิน มัน ปล่อยไม่ได้หรอกครับ มันก็ ไปเกิด ในขันธ์ อื่นๆต่อไปอีก มันยังหลงขันธ์ห้าอยู่
ส่วนที่ว่า ไม่อยากละความเพลิน หรือ เห็นการเกิดดับ เป็นแสน เป็นล้าน ครั้ง มันก็ ไม่แน่ครับ ถ้า บารมีเราเต็ม เห็นครั้งเดียว ก็ ปล่อยได้เลย

ดังตัวอย่าง ของ พาหิยะ มาลุมกายบุตร สันตติอำมาตย์ เป็นต้น เขาเห็นครั้งเดียว หลุดพ้น เป็นพระอรหันต์เลย เรา ก็ ไม่รู้ว่าของเรา มันต้องเห็นกี่ครั้ง ก็ ได้แต่ ทำไปเรื่อยๆหละครับ พระพุทธเจ้าบอกว่า เธอ ไม่ได้มีหน้าที่ บันดาลว่าลูกไก่ จงออกมาจากไข่ วันนั้นวันนี้ แต่ เธอมีหน้าที่ กกไข่ ไป สร้างเหตุไป ถึงเวลา ลูกไก่ มันจะออกมาเอง ครับ

1.8พอเราทำบุญเสร็จ แล้วไม่อุทิต ทันที เปรตเหล่านั้นก็จะกลับไป ไม่ได้บุญ เพราะเราไม่ยอม อุทิตไห้ แต่ วันนั้น ฟัง อาจารณ์ คึกฤทธิ์ บอกว่า ไม่จำเป็นต้อง อุทิต ทันทีก็ได้ แต่ที่ฟังมาบอกว่าไม่ได้ ต้องทันที 555 ตกลงเป็นไงครับ

ตอบ นั่งสมาธิ อุทิศ ไปสิครับ อุทิศตอนใหน ก็ ได้ แล้วจะได้ บุญ มากกว่า การทำทานเสียอีก เปรตกลับไปแล้ว เรานั่งสมาธิไป ตอนไหนก็ได้ เปรต ได้บุญ มากว่า ที่เราทำทานอีกครับ เผลอๆเขาอาจจะหลุดพ้นจากการ เป็นเปรตเลย ก็ ได้ ดีกว่าการ ทำทานอุทิศให้เขาเป็นไหนๆ

คำตอบได้ตอบให้หมดแล้วหวังว่าคงได้รับความกระจ่างไม่มากก็น้อย ถ้ายังสงสัยประการใด ก็ ให้มาถามใหม่ได้ ไม่ต้องเกรงใจครับ

สุดท้าย ขอปิดท้ายด้วยพระสูตร ที่ พระพุทธองค์ ทรงตรัส กับ สุภัททะ ปริพาชก ว่า




……….ดูกร ! สุภัททะ ในธรรมวินัยใด ไม่มีอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ในธรรมวินัยนั้น ไม่มีสมณะที่ ๑ สมณะที่ ๒ สมณะที่ ๓หรือสมณะที่ ๔ในธรรมวินัยใด มีอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ในธรรมวินัยนั้น มีสมณะที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ หรือที่ ๔

……….ดูกร ! สุภัททะ ในธรรมวินัยนี้ มีอริยมรรคประกอบด้วย องค์ ๘ ในธรรมวินัยนี้เท่านั้น มีสมณะที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ หรือที่ ๔ ลัทธิอื่นๆ ว่างจากสมณะผู้รู้ทั่วถึง ก็ภิกษุเหล่านี้พึงอยู่โดยชอบ โลกจะไม่พึงว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย ฯ


สาธุ ครับ


โดย: จูปีเตอร์เทพแห่งดาวพฤหัส วันที่: 1 พฤศจิกายน 2553 เวลา:21:09:39 น.  

 
ยํ ลทธํ เตน ดุฎฐพพํ

ได้สิ่งใด พึงพอใจในสิ่งนั้น

มีความสุขในชีวิตด้วยความพอเพียงและพอใจ ตลอดไป..นะคะ



ระยะนี้ ปอป้า ผลุบ ๆ โผล่ ๆ หน่อย..นะคะ งานราษฎร์-งานหลวง....เพียบ
อากาศหนาว ปอป้ามีความสุขมากมาย เพราะคุณป่วนไม่ชอบอากาศเย็น ๆ
หน้าร้อนเป็นทีของคุณป่วน ส่วนหน้าหนาวเก๊าะเป็นทีของปอป้า
ทีใคร..ทีมัน...นิ...อิ อิ

คนที่ไม่ชอบหน้าหนาว ก็ระวังรักษาสุขภาพด้วย..นะคะ

คิดถึงเสมอ..ค่ะ





โดย: พรหมญาณี วันที่: 2 พฤศจิกายน 2553 เวลา:12:32:27 น.  

 
(((((...โอ้โห...ที่ตอบคำถาม อธิบายมาทั้งหมดทั้งมวลแล้วนั้น...)))))

[ ภาษิต ของคุณ กัลยานนท์ แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือ ตามประทีปในที่มืดด้วยหวังว่า ให้คนอื่นเข้าใจ ]..............ขออนุโมทนาครับ...

##################

มิตรดีเป็นนิมิตแห่งอริยมรรค

[๑๒๙] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้น สิ่งที่ขึ้นก่อน สิ่งที่เป็นนิมิตมาก่อน คือ แสงเงินแสงทอง สิ่งที่เป็นเบื้องต้น เป็นนิมิตมาก่อน เพื่อความบังเกิดแห่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ของภิกษุ คือ ความเป็นผู้มีมิตรดี ฉันนั้นเหมือนกัน ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้มีมิตรดี พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ จักทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘.

[๑๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้มีมิตรดี ย่อมเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปใน
การสละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีมิตรดี ย่อมเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มาก ซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล.

##################

อีกประการหนึ่ง บพิตรพึงทรงระลึกถึงกัลยาณมิตรทั้งหลายว่า เป็นลาภของเราหนอ เราได้ดีแล้วหนอ ที่เรามีกัลยาณมิตรผู้เอ็นดู ผู้ใคร่ประโยชน์ ผู้กล่าวสอน ผู้พร่ำสอน ดูกรบพิตร บพิตรพึงเข้าไปตั้งสติไว้ในภายใน ปรารภกัลยาณมิตร ด้วยประการดังนี้แล ฯ

##################

สุภาษิตสอนการคบมิตร

[๓๒๒] บุคคลปรารถนาความสุขอันแน่นอน พึงเว้นบาปมิตรแล้ว พึงคบหากัลยาณมิตร และพึงตั้งอยู่ในโอวาทของกัลยาณมิตรนั้น เต่าตาบอดเกาะขอนไม้เล็กๆ จมอยู่ในห้วงน้ำใหญ่ ฉันใด กุลบุตรอาศัยคนเกียจ
คร้านเป็นอยู่ ย่อมจมลงในสังสารวัฏ ฉันนั้น เพราะฉะนั้น บุคคลพึงเว้นคนเกียจคร้าน มีความเพียรเลวทราม ควรอยู่ร่วมกับบัณฑิตทั้งหลาย ผู้สงัดเป็นอริยะ มีใจเด็ดเดี่ยว เพ่งฌาน ปรารภความเพียรเป็นนิตย์.

##################

.....ขอขอบคุณ คุณกัลยานนท์ ผู้พลิกประวัตศาสตร์ของเพื่อนมนุษย์ ได้อีก 1 คน หรืออาจจะ อีกหลายคนที่ อาจจะแวะเวียนมาอ่าน แต่ไม่ได้ แสดงความคิดเห็น นะครับ......


โดย: อะไรกัน IP: 192.168.1.58, 61.7.133.97 วันที่: 2 พฤศจิกายน 2553 เวลา:13:22:06 น.  

 

https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=araikan&month=11-2010&date=02&group=1&gblog=5

...นี่คือ การอธิบาย สรุปกระบวนการ ในการ เจริญสมาธิ ที่ผมทำมา และ ได้ผลมาแบบนี้ นะครับ ซึ่ง ขณะนี้ เป็นแบบนี้ และ ก็จะรอดูต่อไปว่าจะเป็นยังไงต่อ เพราะยังไม่สรุปว่า มันจะเป็น ฌาณ จริงๆ หรือเป็นอะไรกันแน่ นะครับ ต้อง ลองถาม คุณนนท์ หรือคนอื่นๆ ที่ มีประสบการณ์ ในการได้ฌาณ มาก่อนแล้วว่า ตรงกันไหม เพราะถ้าใช่ อาการก็น่าจะต้องตรงกันหมด...แต่ถ้า ไม่ตรง หรือไม่ใช่ อะไรยังไง ก็จะพิจรณากันต่อไป ว่าจะยังไง นะครับ.......


โดย: อย่านะ วันที่: 2 พฤศจิกายน 2553 เวลา:18:39:42 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

จูปีเตอร์เทพแห่งดาวพฤหัส
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




ดูกรภิกษุทั้งหลาย : บัดนี้ เราขอเตือนพวกเธอว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา พวกเธอจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด ฯ
Friends' blogs
[Add จูปีเตอร์เทพแห่งดาวพฤหัส's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.