มกราคม 2561
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
12 มกราคม 2561

เกล็ดผีเสื้อหนอนคูน




By Witoon Wattananit

ผีเสื้อ และผีเสื้อกลางคืน เป็นแมลงในอันดับ Lepidoptera  ซึ่งคำนี้มาจากภาษากรีกโบราณ λεπίδος (Lepis)ที่แปลว่าเกล็ด(Scale) และ πτερόν( Pteron)ที่แปลว่าปีก(Wing) โดยปีกของแมลงในอันดับนี้จะมีเกล็ดขนาดเล็กมากปกคลุมอยู่ทั่วไป

ถ้าใครเคยใช้มือเปล่าจับผีเสื้อจะพบว่าบนมือจะติดผงละเอียดเล็ก ๆ เบา ๆ บางอย่างจากตัวผีเสื้อ ซึ่งนั่นก็คือเกล็ดของผีเสื้อนั่นเอง

ภาพขยายกำลังสูงจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด(Scanning Electron Micrograph) ของเกล็ดผีเสื้อในภาพที่แสดงด้านล่าง เป็นภาพเกล็ดจากปีกผีเสื้อหนอนคูน Catopsilia pomona จากกล้องที่มีแหล่งกำเนิดอิเล็กตรอนแบบ Field Emission  บางภาพจะขยายจนถึงรายละเอียดในระดับนาโน

ในส่วนของการเตรียมตัวอย่าง จะตัดปีกผีเสื้อในบริเวณที่สนใจมา และติดบน Stub ด้วยเทปกาวคาร์บอน ซึ่ง Stub เป็นฐานติดตัวอย่างที่ทำด้วยอลูมิเนียม จากนั้นนำไปเคลือบด้วยทองเพื่อเพิ่มการนำไฟฟ้าที่พื้นผิว

Scanning Electron Micrograph ทุกภาพ ถ่ายด้วยกล้อง TESCAN MIRA3 - Field Emission Scanning Electron Microscope จากศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร


ผีเสื้อหนอนคูน Orange Emigrant



เกล็ดบนปีกผีเสื้อหนอนคูนเหลือง บางส่วนหลุดหายไป(ถ่ายที่ 10 kV และใช้เทคนิค Averaging เพื่อแก้ปัญหาCharging effect)

โดยปกติแล้วบนปีกจะมีเกล็ดซ้อนกันเป็นจำนวนมากแม้เคลือบด้วยทอง ทองก็จะกระจายไปไม่ถึงในบริเวณที่ถูกซ้อนทับ ทำให้เกิดปัญหาการสะสมของประจุลบที่ผิวตัวอย่าง(charging effect) เกิดเป็นแถบสว่างรบกวนภาพ ใน TESCAN MIRA3 มีระบบช่วยในการถ่ายภาพเรียกว่า Averaging โดยจะถ่ายภาพในบริเวณเดิมซ้ำๆ หลายๆ เฟรม แล้วนำมาซ้อนเฉลี่ยเพื่อสร้างเป็นภาพใหม่ภาพเดียว โดยในภาพด้านบน ใช้อัตราการสแกนที่เร็ว แต่ถ่ายซ้อนกันถึง 100 ภาพ เพื่อแก้ปัญหาการสะสมของประจุ


ปีกผีเสื้อถ่ายที่ 3 kV และใช้เทคนิค Averaging เพื่อแก้ปัญหาCharging effect


ภาพบนถ่ายที่ 10 kV และใช้เทคนิค Averaging


เกล็ดผีเสื้อ ถ่ายที่ 10 kV


กำลังขยายที่สูงขึ้นไปอีก ยังถ่ายที่ 10 kV ถ่ายด้วยอัตราการสแกนที่ช้า ไม่ใช้เทคนิคAveraging


ขยายขึ้นไปอีกในภาพที่ผิวของเกล็ดจะเห็นมีเม็ดๆ เกาะอยู่ที่ผิว ซึ่งคือเม็ดของทองจากการเคลือบตัวอย่างด้วย Sputter Coater


ภาพนี้ถ่ายที่กำลังขยายสองแสนเท่า สเกลบอกขนาดในภาพอยู่ที่ 200 นาโนเมตร ใช้ศักดิ์ไฟฟ้าเร่งอิเล็กตรอน 20 kV และใช้ตัวรับสัญญาณ Secondary Electron ที่ติดตั้งภายในคอลัมน์ ซึ่งTESCAN เรียกตัวรับสัญญาณนี้ว่า In-Beam SE








สี่ภาพท้ายสุด ใช้ศักดิ์ไฟฟ้าเร่งอิเล็กตรอน 20 kV และใช้ตัวรับสัญญาณ Secondary Electron ที่ติดตั้งภายในคอลัมน์ หรือ In-Beam SE

หวังว่าทุกท่านคงมีความสุขกับสาระเล็กๆ น้อยๆ ที่นำเสนอ ขอความสุขสวัสดีสถิตย์กับทุกท่าน





Create Date : 12 มกราคม 2561
Last Update : 12 มกราคม 2561 16:06:33 น. 4 comments
Counter : 3199 Pageviews.  

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณกาบริเอล


 
เคยจับผีเสื้อมาเล่น แล้วมีผงบางอย่างติดมือ
ก็นึกว่าเป็นผงเฉย ๆ ... ไม่นึกว่าจะเป็นเกล็ดแบบนี้ได้
ยิ่งขยายดูก็อย่างละเอียดก็แทบไม่น่าเชื่อ
ที่จริงแล้ว พวกแมลงนี่ก็เป็นสิ่งมีชีวิตที่น่าสนใจดีนะคะ

สวัสดีปีใหม่ค่ะพี่ไบท์


โดย: กาบริเอล วันที่: 12 มกราคม 2561 เวลา:17:57:46 น.  

 
สวัสดีปีใหม่ครับคุณฟ้า
ใช่เลยครับแมลงเป็นสิ่งมีชีวิตที่น่าสนใจมาก เดี๋ยวมีไรน่าสนใจจะนำมาใช้ชมอีกนะครับ


โดย: Bite25 ไม่ได้ล็อคอิน IP: 184.22.53.57 วันที่: 13 มกราคม 2561 เวลา:10:41:39 น.  

 
เคยลองหัดถ่ายแมลง แต่มันบินไปมาไม่อยู่นิ่งเลย
(ยังกับขี่ช้างไล่จับตั๊กแตน) เห็นโลกของเขาแล้ว
บางทีก็ใหญ่เท่าต้นไม้พุ่มเล็ก ๆ นี่เอง

ช่วงนี้ฟ้าเข้าแต่บล็อกแก็ง
เลยไม่รู้ว่าพี่ไบรท์ลงเรื่องไว้ที่ไหนบ้าง
ดีใจที่เอามาลงให้ดูกันอีกค่า :)



โดย: กาบริเอล วันที่: 13 มกราคม 2561 เวลา:11:23:21 น.  

 
สวัสดีครับคุณฟ้า

ขำเลยที่บอกว่าถ่ายแมลงอย่างกับขี่ช้างไล่จับตั๊กแตน

ผมเองหลังๆ ไม่ได้เขียนเรื่องอะไรนัก ถ่ายภาพไว้เล็กน้อยลงไว้แค่ในFB พอดีช่วงนี้ผมได้เดินเครื่องกล้องจุลทรรศน์ตัวใหม่ ซึ่งถ่ายที่กำลังขยายสูงได้ดี เลยอยากเอาภาพและเรื่องราวมาให้ชมกันครับ


โดย: bite25 วันที่: 15 มกราคม 2561 เวลา:10:19:58 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

bite25
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]




New Comments
[Add bite25's blog to your web]

MY VIP Friend