<<
เมษายน 2558
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
17 เมษายน 2558

กะเทาะแก่น นโยบายช่วยคนจนของทักษิณ

คีย์เวิร์ดที่สำคัญของทักษิณ ชินวัตรในเรื่องเศรษฐกิจคือ"การช่วยคนจน" , สิ่งนี้แสดงออกมาทั้งในคำพูด ในหนังสือชีวประวัติ และในด้านนโยบาย .... แต่ในเชิงวิชาการนั้น กลับมีการพูดถึงสิ่งนี้น้อยมาก ทั้งๆที่จริงมันสำคัญมาก และเป็นจุดแข็ง เป็นพลังที่ยังคงอยู่เสมอของพรรคไทยรักไทย, วันนี้ได้จึงเวลาที่ผมจะมา"กะเทาะแก่น" ในเชิงวิชาการกัน

++ โหมโรง 

การพัฒนาเศรษฐกิจในโลกตั้งแต่ยุคดังเดิมนั้น เป็นการพัฒนาโดยใช้อำนาจนำ เช่น ปล้นทรัพยากร ทำสงคราม การใช้แรงงานทาสของ การใช้ไพร่ติดที่ดิน การค้าขายที่ส่วนกลางควบคุม(ระบบอำมาตย์) จวบจนการเริ่มต้นของยุคตลาดเสรี ทั้งหมดนั้น เป็นเศรษฐศาสตร์ที่เน้นจากอำนาจการผลิต และอำนาจการขาย เป็นตัวขับเคลื่อน หรือที่เรียกว่าเศรษฐศาสตร์ด้านอุปทาน (Supply-side Economic)

++
เศรษฐศาสตร์มี 2 สำนักที่ยังถกเถียงกันอยู่ในปัจจุบัน
1. ) เศรษฐศาสตร์ด้านอุปทาน (Supply-side)
2. ) เศรษฐศาสตร์ด้านอุปสงค์ (Demand-side)


.....

ทั้ง 2 สำนัก ต่างอ้างว่าแนวทางของตัวเองดีกว่า , แต่ก็ยังไม่มีใครฟันธงได้ว่าอันไหนดีที่สุด และประเทศอย่างอเมริกาก็ใช้มาทั้ง 2 แบบแล้ว ในยุคสมัยที่ต่างกัน , แต่สำหรับประเทศไทย ควรใช้สำนักไหนนั้น วันนี้เราจะมารู้ทันทักษิณกัน ... สิ่งสำคัญคือ การพูดว่าเน้นอุปทาน หรือเน้นอุปสงค์ ไม่ได้หมายความว่า จะเอาสิ่งหนึ่ง และและทิ้งอีกสิ่งหนึ่งไป เพราะว่าอุปสงค์ และอุปทาน จะต้องมาคู่กันเสมอ ... แต่การที่ 2 สำนักคิดต่างกันนั้น คือเถียงกันในประเด็นที่ว่า "ใครเดินก่อน และใครเดินตาม" เถียงกันว่าใครคือหัวจักรใหญ่ที่เคลื่อนที่ และใครคือขบวนที่พ่วงตาม

.....

เศรษฐศาสตร์ด้านอุปทาน (Supply-side)
Supply-side เชื่อว่าอุปทาน หรือพูดบ้านๆคืออำนาจการผลิต อำนาจการเสนอขาย ต้องมาก่อน , โดยมีตัวอย่างคือ การที่คนเรานั้นจะซื้ออะไรนั้น มันไม่ใช่เพราะเขาอยากซื้อจริงๆ แต่เพราะมันมีคนผลิตมาขายต่างหาก เขาถึงได้ซื้อ , ดังนั้นเราจึงควรกระตุ้นให้มีการผลิตมากๆ มีการขายมากๆ เพราะการผลิตนั้นจะนำมาสู่การจ้างงาน เมื่อมีการจ้างงาน คนถึงได้มีเงิน และเมื่อมีเงินคนถึงได้ซื้อของมากๆ โรงงานก็ได้กำไร เอาไปผลิตต่อ ไปสร้างงานต่อ เป็นวัฒจักร

ดังนั้นสรุปโมเดลของ Supply-side ดังนี้

Supply รวม ( การสร้างโรงงาน อำนาจการผลิตรวม) มาก่อน -- / เป็นที่ 1
ตามมาด้วยรายได้รวม (รายได้ประชาชาติ) -- / เป็นที่ 2
ตามมาด้วย Demand รวม ( การซื้อรวม) -- / เป็นที่ 3

.......

เศรษฐศาสตร์ด้านอุปสงค์ (Demand-side)
Demand-side เชื่อว่าความต้องการซื้อต่างหากที่มาก่อน , คนเราต้องมีความต้องการก่อน มีอำนาจซื้อ จึงมีการผลิตมาตอบสนอง , โดยมีตัวอย่างคือ การทีคนเราต้องการเครื่องอำนวยความสะดวก เช่น รถยนต์ เป็นเพราะเราต้องการมัน เราอาจจะมีทอง มีเงิน แต่ยังใช้เกวียนอยู่ ดังนั้น มันจึงมีคนคิดค้นรถยนต์ขึ้นมาเพื่อตอบสนอง และดังนั้น คนเราจึงซื้อรถ และโรงงานรถก็ต้องผลิตมากขึ้นๆ จึงต้องจ้างงาน ต้องซื้อเหล็ก ซื้อยาง ทำให้ผู้คนมีงานทำ มีรายได้

ดังนั้นสรุปโมเดลของ Demand-side ดังนี้
Demand รวม ( ความต้องการซื้อ อำนาจซื้อรวม) มาก่อน -- / เป็นที่ 1
ตามมาด้วย Supply รวม ( การสร้างโรงงาน อำนาจการผลิตรวม) -- / เป็นที่ 2
ตามมาด้วยรายได้รวม (รายได้ประชาชาติ) -- / เป็นที่ 3

..........
เมื่อเข้าใจหลักการดังนี้แล้ว ต่อไป เราจะได้เข้าในวิธีคิดของทักษิณ และพิจารณากัน ว่าสำหรับประเทศไทยนั้น ทักษิณ คิดถูกหรือไม่


............................




การเกิดขึ้นของคนจนและคนรวย ,
ในยุค 2-3 ร้อยปีก่อน นโยบายเศรษฐกิจของโลกตอนนั้นเป็นการค้าขายโดยรัฐ ทุกการผลิต ทุกการขาย ทุกการติดต่อต่างประเทศนั้น รัฐจะเป็นคนจัดการเอง โดยรัฐจะบอกว่าให้ประชาชนผลิตอะไร เท่าไหร่ ... นายทุนยุคแรกๆจึงเป็นราชวงค์ และขุนนาง , โดยยุคนี้เอง ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ทางธุรกิจ จึงเกิดขึ้นระหว่างชาติต่างๆ โดยทำให้เกิดสงคราม เช่น สงครามแย่งอินเดีย ระหว่างฝรั่งเศส-อังกฤษ สงครามล่าอาณานิคม และมาสิ้นสุดที่โลกครั้งที่ 1 ... ธุรกิจของชาติในตอนนั้นเรียกว่า " ลัทธิพานิชย์ชาตินิยม " (centrally planned economy) ที่ชาติมหาอำนาจต่างแย่งทรัพยากรกัน แย่งทองกัน แย่งตลาดกัน

++
ยุคนี้เอง ได้มีผู้เสนอทางออก ของการสร้างผลประโยชน์ร่วมในรูปแบบใหม่ , คนที่มีชื่อเสียงที่สุดคือนักปราชญ์ชาวสกอตแลนด์ ชื่อว่า"อดัม สมิธ" เขาเขียนหนังสือชื่อ "The Wealth of Nations" (ความมั่งคั่งแห่งชาติ) ที่สอนว่าแท้จริงนั้น ความมั่งคั่งไม่ได้หมายถึงการที่เราจะต้องไปแย่งทรัพยาการ ไปปล้นทอง ปล้นเครื่องเทศมาขาย แต่หมายถึง การทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่มีค่า จากความต้องการ และการพัฒนาต่างหาก

....

และการจะทำเช่นนั้นได้ เราต้องปล่อยไปให้ทุกคนผลิต และค้าขายอย่างเสรี , รัฐบาลไม่ต้องไปสั่ง ไมต้องไปตีกรอบ ไม่ต้องไปกำหนดว่าให้ใคร ทำอะไร เท่าไหร่ อย่างไร ... แต่เสรีภาพของมนุษย์ จะเป็นตัวบอกเอง ว่าอะไรเจ๋ง อะไรเจ๊ง อะไรขายดี อะไรขายไม่ได้  ธนาคารกลางไม่ต้องคอยกำกับอัตราดอกเบี้ย ปล่อยให้มันเป็นไปตามธรรมชาติ (อุปสงค์-อุปทาน)... เมื่อคนเรามีเสรี เราก็จะมีผลิตภัณฑ์ที่ดีและหลากหลาย เช่น คนนึงปลูกข้าวเก่ง อีกคนปลูกข้าวไม่เก่ง ก็แทนที่จะบังคับเขาให้ปลูกข้าวต่อไป ก็ปล่อยเขาซะ เขาอาจจะไปปลูกกล้วย อาจจะไปค้าไม้ อาจจะทำไร่ฝ้าย จนชาติเกิดผลิตผลมากมาย , ... อย่างไรก็ดี แนวคิดของสมิธนั้น ยังจัดเป็น Supply-Side ที่เน้นพลังซัพพลาย (เช่น เพิ่มการผลิต) เป็นใหญ่

++
แน่นอน ในยุโรป ทุนเก่า-อำนาจเก่า ก็ย่อมได้เปรียบอยู่วันยังค่ำ เพราะมีทุนเดิมที่เหนือกว่า ดังนั้น Supply-Side ในยุโรป จึงให้โอกาสกับคนรวยมาก่อน โดยคิดว่าคนรวยจะค่อยๆดึงคนจนขึ้นมา แบบ Top-down ( เจ้าของโรงงาน จ้างงานมากขึ้น กรรมการก็รวยขึ้นๆ )... รัฐบาลจึงอัดฉีดไปที่การสร้างโรงงาน ธนาคาร และระบบอุตสาหกรรม โดยเมืองอย่างลอนดอน มีการเติบโตมากขึ้นๆ โดยใหญ่กว่าเมืองอื่นๆหลายเท่า จนเกิดความแออัดและมลพิษมาก .... มีการกระจุกตัวของโรงงาน มีการใช้แรงงานเด็ก มีการกดขี่ค่าแรง ที่ถูกเรียกว่าทุนนิยมสามานย์ .... จนในที่สุดมีนักปราชญ์อีกคน ชื่อคาร์ล มากซ์ กำเนิดทฤษฏีคอมมิวนิสต์ขึ้นเพื่อต่อต้านนายทุน

++
, แต่ทว่าในดินแดนอีกฝากของแอตแลนติก สหรัฐอเมริกาประเทศเกิดใหม่ที่สามัญชนเป็นใหญ่ ประเทศแห่งเสรีภาพและโอกาส , ทรัพยาการอันมหาศาลของแผ่นดินนี้ ได้ถูกประชาชนเอาไปใช้ลองผิด ลองถูก พัฒนาตามแนวทางของอดัม สมิธ ... คนจำนวนมากอยากได้โอกาสเช่นนี้ จึงอพยพไปอยู่ และร่วมพัฒนาจนมีเศรษฐกิจใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ มีการพัฒนาระบบตลาด สร้างโครงสร้างพื้นฐาน เช่น คลองอีรี ธนาคาร และรางรถไฟ เศรษฐีใหม่ได้เกิดขึ้นมากมาย , ... และแม้อเมริกาจะมีทั้งคนจน และคนรวย แต่ปูมหลังของเศรษฐกิจของอเมริกาไม่เหมือนยุโรป เพราะมันเริ่มจากรากฐานใหม่ และโอกาสใหม่ๆ

....

นายทุนที่เกิดใหม่ เข้าใจธรรมชาติของคนและสังคมได้ดีกว่า และพวกเขาเห็นประชาชนทั่วๆไปเป็นคนสำคัญ เพราะเป็นผู้ซื้อ เป็นผู้ทำให้โรงงานเขาเริ่มต้นขึ้นมาได้ ... ในทัศนะของผม อเมริกา มีสำนึกเรื่อง Demand-side ซ่อนอยู่ แม้ว่าระบบเศรษฐกิจจะเป็น Supply-Side แบบคลาสสิกก็ตาม ... ดังนั้น "วิชาการตลาด"จึงพัฒนาที่อเมริกา โดยการตลาดต่างจากการขายและการผลิตก็ตรงที่ การตลาดจะศึกษาถึงพฤติกรรมของผู้ซื้อ การตอบสนองต่อลูกค้า การเห็นลูกค้าเป็นคนสำคัญ ... เจ้าของโรงงาน จึงรู้ถึงบุญคุณของลูกค้า และกรรมกรที่ร่วมกันสร้างผลผลิต .... อเมริการู้เรื่องพวกนี้ก่อนใคร (ต่อตอนต่อไป จะเข้าถึงทักษิณแระ)



ภาพจาก //www.scb.co.th/th/wholesale-banking/business-lending-2


.............

กะเทาะแก่น นโยบายช่วยคนจนของทักษิณ 
นโยบายของฝั่งชินวัตรที่ผ่านมาทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นกองทุนหมู่บ้าน โอท๊อป ขึ้นค่าแรง จำนำข้าว รถคนแรก ฯลฯ ผมสรุปว่า มันคือเศรษฐศาสตร์แบบ Demand-side (เน้นด้านอำนาจซื้อของประชาชน ) ... คำถามคือ ทำไม ? ควรหรือไม่ ? ได้ผลดีแค่ไหน ?

++
ต้องเข้าใจก่อน ว่าแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับแรก ( พ.ศ. 2504) เมื่อผู้ใหญ่ลีตีกลองประชุม เพื่อบอกชาวบ้านว่า ทางการสั่งมาให้ชาวนาเลี้ยงเป็ดและสุกร และฝ่ายตาสีหัวคลอน ถามว่าสุกรนั้นคืออะไร ...สุกรนั้นไซร้คือหมาน้อยธรรมดา , เป็นการพัฒนาเศรษฐศาสตร์แบบ Supply-Side ที่เน้นการผลิตเป็นตัวนำ , รัฐบาลสฤษฏ์ ส่งเสริมการตั้งโรงงาน และกดราคาพืชผล ชาวนาก็ยังยากจน ลูกหลานต้องมาใช้แรงงานในเมือง เพื่อนำส่วนเกินเหล่านั้นเข้ากรุงเทพฯ พัฒนาเป็นเมืองศูนย์กลางที่ใหญ่โต  , มีการสร้างมหาลัยต่างๆเพื่อผลิตแรงงาน , นักศึกษาถูกสอนให้เป็นแรงงานที่ดี ใช้การเรียนการสอนแบบเน้นคำตอบ ... ทุนหลั่งไหลเข้าสู่ศูนย์กลาง ด้วยความเชื่อว่า คนรวยจะดึงคนจนขึ้น (โรงงาน จะจ้างงานมากขึ้น คนก็จะมีเงินมากขึ้นๆ) , และการพัฒนานี้เอง ที่ได้สร้างช่องว่างทางรายได้ขึ้นอย่างมหาศาล จนต้องมีการเปลี่ยนแผนในภายหลัง โดยจัดให้การกระจายรายได้หรือลดความเลื่อมล้ำ เป็นเป้าหมายหนึ่งที่สำคัญ

++
ประเทศไทยจึงต่างกับอเมริกา , เพราะเนื่องจาก
1 ) ระบบชนชั้น ระบบอุปถัมภ์ ยังฝั่งแน่นในค่านิยม เพราะการเติบโตเริ่มจากศูนย์กลาง
2 ) ด้วยเหตุดังกล่าว ระบบตลาดจากทุนเก่า จึงเน้นพึงพาอำนาจส่วนกลาง , ไม่ได้พัฒนาด้วยระบบตลาด แต่มีการผูกขาดโดยการจับกลุ่มระหว่างอำนาจการเมืองและกลุ่มทุนเก่า ทำให้การเมืองไทยอยู่ในวงจรของเผด็จการเสมอๆ และนักการเมืองไม่ว่าฝ่ายไหน ต่างเห็นกลุ่มทุนเก่ามีน้ำหนักมากกว่าประชาชน
3) ประเทศไทยจึงไม่ได้เติบโตด้วยการสร้างนวัตกรรม การตั้งราคามูลค่าเพิ่ม , แต่เกิดจากผลิต
4) การอัดฉีดแบบ Supply-Side (เน้นพลังการผลิต ส่งเสริมเจ้าของโรงงาน) จะไม่ได้มีผลให้เกิดนวัตกรรม หรือการแข่งขัน ตามที่อดัม สมิธสอนไว้ เพราะ การที่อุตสากรรมส่วนใหญ่เป็นของต่างชาติ  อีกืทั้งการผูกขาด และการฝากอำนาจที่ส่วนกลางของทุนเก่าไทย
5) ผลิตภัฒน์และทรัพยากรไทยน้อยกว่าอเมริกามาก ดังนั้นชนชั้นล่างของไทย อย่างเช่น ชาวนา ชนชั้นหรือแรงงาน ไม่สามารถหาโอกาสใหม่ๆได้มากนัก เพราะถ้าปล่อยมือจากงาน ก็ตาย ไม่มีทุนสำรองมากพอในการเสี่ยง ไม่มีสวัสดิการรองรับ (ลืมตาอ้าปากไม่ขึ้น)


++
ด้วยมุมมองดังกล่าว รัฐบาลไทยรักไทยจึงรู้ว่า จะต้องใช้ Demand-side โดยการอัดฉีดเงินทุน ไปยังกลุ่มคนรากหญ้าเป็นเป้าหมายสำคัญ , เพื่อให้รากฐานได้ยกระดับขึ้นมา เกิดงานใหม่ๆในระดับรากหญ้า เช่น โอท็อป หรือการมีรายได้มากขึ้นจากโครงการจำนำข้าว , คนรากหญ้าจึงจ่ายมากขึ้น ซื้อของมากขึ้น มีโอกาสทางการศึกษามากขึ้น ... โดยแทนที่เงินเหล่านี้จะไหลไปสู่ชนชั้นกลาง หรือพ่อค้าคนกลาง , แต่มันจะเปลี่ยนมือเข้าสู่คนจน ... และคนจนจำนวนมาก จะซื้อของมากกว่าคนรวยจำนวนน้อย ทำให้โรงงานต่างๆก็จะขายดีขึ้น ดังนั้นรายได้ประชาชาติของไทย(GDP)จะโตมากขึ้น เศรษฐกิจในประเทศจะโตอย่างมั่นคงขึ้น และช่องว่างระหว่างรายได้ก็จะลดลง ... เรียกว่า"ยิงปืนนัดเดียว ได้นกหลายตัว" ทั้งสามเป้าหมายหลักของเศรษฐกิจ 1 )เติบโต 2) เสถียรภาพ 3) เสมอภาค

++
คนจน ซื้อของมากกว่าคนรวยจริงหรอ ?
ถ้าคุณเป็นนผู้ค้าอัญมณี หรือเสื้อผ้าแบรนด์เนม คุณอาจจะคิดว่าลูกค้าของคุณคือคือพวกคนมีตังค์ , แต่ในการเป็นชาติ "คนรากหญ้าจะใช้จ่ายเพื่อกระตุ้น GDP มากกว่า" เพราะอะไร
1 ) มีจำนวนมากกว่ามหาศาล
2 ) คนรวยใช้เงินสัดส่วนเล้กน้อย แต่คนจนใช้เกือบทั้งหมด เช่น
คนรวยมีเงินเดือน 1 ล้าน แต่กินข้าวก็เดือนละ 2 หมื่น ,
คนจนมีเงินเดือน 1 หมื่น แต่ก็กินข้าวไป 9 พัน ...
ส่วนต่างทางรายจ่ายไม่ต่างกันมาก

... ดังนั้นถ้าอัดฉีดเงินไปที่คนจนให้เพิ่มเป็น 1.5 หมื่น
คนจนจะบริโภคสูงขึ้นเป็น 1.3 หมื่น สูงถึง 30 %

.....

ดังนั้น ทักษิโนมิค หรือ Demand-side of Thailand จะเพื่อประชานิยม หรือเพื่อยกระดับคนจน ก็แล้วแต่ แต่ผมบอกได้ ว่าเป็น"นโยบายที่โค่นไม่ลง" ... และมีแต่คนทำตาม  แต่ถ้าไม่ได้รู้ปูมหลังของมัน พวกเขาไม่มีทางทำได้ดีเท่าคนชื่อทักษิณ ชินวัตร แน่นอน







 

Create Date : 17 เมษายน 2558
0 comments
Last Update : 17 เมษายน 2558 15:28:31 น.
Counter : 2536 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


สมาชิกหมายเลข 1085247
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




[Add สมาชิกหมายเลข 1085247's blog to your web]