<<
มีนาคม 2558
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
31 มีนาคม 2558

ธนาคาร หารายได้ และควบคุมเศรษฐกิจอย่างไร ?

  ธนาคารที่เรารู้จักนั้น ไม่ว่าจะเป็นธนาคารไทยพาณิชย์ กสิกร กรุงศรี กรุงไทย TMB  คือธนาคารพาณิชย์ อันเป็นธนาคารที่ทำหน้าที่รับฝากเงินจากประชาชน และให้ดอกเบี้ยกับเรา อัตรา 0.5 บ้าง 2 บ้าง แล้วแต่สถานะการณ์างเศรษฐกิจ


ธนาคารทำรายได้จากอะไร ?
แน่นอนว่าธนาคารที่รับฝากเงินเรานั้น ไม่ได้รับไปเก็บเฉยๆ  แต่เขาเอาเงินเราไปหากินอีกต่อหนึ่ง , โดยรายได้จากธนาคารนั้น "เกิดจากดอกเบี้ยในการปล่อยกู้" กล่าวคือ เมื่อธนาคารรับฝากเงินของประชาชน ธนาคารก็จะเอาเงินจำนวนนี้ไปปล่อยกู้ในรูปแบบต่างๆ หรือที่เรียกว่าการให้สินเชื่อ เช่น สินเชื่อเพื่อการทำธุรกิจ สินเชื่อการเคหะ(ซื้อบ้าน อาคาร) สินเชื่อส่วนบุคคล ต่างๆ โดยที่จะคิดดอกเบี้ยจากสินเชื่อเหล่านี้ในอัตราที่สูง เช่น 7 % บ้าง 15 % บ้าง แล้วแต่ประเภทของสินเชื่อ เช่น ธนาคารรับฝากเงินจากประชาชนไป 100 ล้าน เขาก็จะเอาไปปล่อยกู้ต่างๆ และทยอยเก็บดอกเบี้ย จนมีรายได้เป็น 115 ล้าน ส่วนเงินนี้ก็เอาไปจ่ายดอกเบี้ยให้คนรับฝาก เช่น อาจจะ 2 ล้าน

เพียงแค่บริหารเงิน 100 ล้านนี้ ธนาคารก็มีกำไรมาแล้ว 13 ล้าน เป็นต้น

นอกจากนี้ธนาคารยังมีรายได้ในทางอื่นๆอีก เช่น รายได้จากอัตราแลกเปลี่ยน (exchange rate)  หรือการบริหารกองทุนรวม พวก ltf(กองทุนรวมหุ้นระยะยาว)  หรือ rmf (กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ)



อย่างไรก็ดี การกำหนดอัตราดอกเบี้ย ไม่ว่าจะเงินฝาก หรือเงินกู้นั้น ธนาคารพาณิชย์ทุกๆธนาคาร จะต้องคล้อยตามดอกเบี้ยนโนบาย ที่ออกโดยธนาคารกลาง (Central bank) หรือในเมืองไทยเรียก ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ แบงต์ชาติ (Bank of Thailand) หรือถ้าเป็นของอเมริกา จะเรียกว่า Federal Reserve หรือ Fed ที่จะเป็นองค์กรที่ควบคุมนโนบายการเงินของประเทศ เพื่อให้เศรษฐกิจมีเสถียรภาพ เช่น เมื่อเศรษฐกิจมีการลงทุนมากเกินไป 



ถ้าเศรษฐกิจโตเร็วเกินไป
คนกู้เงินลงทุนมาก(ดี) = ผลิตมาก(ดี)=จ้างงานมาก (ดี)
= มีการซื้อปัจจัยการผลิตต่างๆมาก(ดี) = ของต่างๆขายดีมาก (ดี)
= ของต่างๆราคาแพงขึ้น/เงินเฟ้อ (ไม่ดี) = คนเริ่่มประหยัดมาก
= ของเริ่มขายได้น้อยลง (ไม่ดี) = การจ้างงานน้อยลง (ไม่ดี)
= คนตกงาน ไม่มีเงิน ไม่มีจ่าย
= คนจึงหยุดการลงทุน เศรษฐกิจไม่โต หนี้อาจจะใช้ไม่หมด

การชะลอเศรษฐกิจจึงต้องเกิดขึ้น
โดยธนาคารกลาง หรือธนาคารแห่งชาติ จะทำการเพิ่มอัตราดอกเบี้ย
เมื่อเพิ่มดอกเบี้ย แปลว่าผู้กู้จะต้องจ่ายเงิน+ดอกเบี้ย มากขึ้น ดังนั้นจึงกู้น้อยลง
หรือชะลอการกู้ออกไปก่อน ทำให้การลงทุนน้อยลง
และรักษาระดับการเติบโตของเศรษฐกิจไม่ให้โตมากเกินไป





หรือในทางตรงกันข้าม
ถ้าเศรษฐกิจชงักงัน

คนไม่ค่อยกู้ลงทุน =  ผลิตน้อย = จ้างงานน้อย = ซื้อวัตถดิบน้อย
= คนไม่ค่อยมีงานทำ/พ่อค้าขาดรายได้ = ประหยัดเงิน =  ของข่ายไม่ออก
= ราคาของถูกลงๆ (เงินฝืด) = กำไรไม่ดี = คนจึงไม่ค่อยลงทุน

ดังนั้น ธนาคารกล่างจึงต้องลดอัตราดอกเบี้ย เพื่อให้คนกู้มากขึ้น เพิ่มการใช้สินเชื้อง่ายขึ้น ดาวน์น้อย ผ่อนนาน ดอกถูก = ทำให้คนซื้อของมากขึ้น ลงทุนมากขึ้น เพื่อให้เศรษฐกิจกลับมาเดินได้อีกครั้ง




นี้เป็นบทอธิบายคร่าวๆ ของการทำงาน และการหารายได้ของธนาคารต่างๆครับ

www.scb.co.th/th/about-scb/rates-and-fees



Create Date : 31 มีนาคม 2558
Last Update : 1 เมษายน 2558 9:47:38 น. 0 comments
Counter : 1477 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 1085247
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




[Add สมาชิกหมายเลข 1085247's blog to your web]