<<
พฤศจิกายน 2558
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
23 พฤศจิกายน 2558

เทียบกันจะๆ อุตสาหกรรมเครื่องบินรบ อเมริกา VS รัสเซีย

F22 แห่งกองทัพสหรัฐฯ

VS

Su-30 ของรัสเซีย



เครื่องบินรบ ถือเป้นนวัตกรรมที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูงมากๆชนิดหนึ่งของโลก
และมีแต่ชาติมหาอำนาจเท่านั้นที่จะครอบครองเทคโนโลยีการผลิตนี้ได้
อุตสาหกรรมการบินนั้นจึงปรากฎอยู่แต่ในประเทศยักษ์ใหญ่ ที่มีต้นทุนสูงทั้งความรู้และเทคโนโลยี
วันนี้เราจะมาดูเพื่อเปรียบเทียบกัน ว่าระหว่าง 2 ชาติมหาอำนาจ สหรัฐอเมริกา และรัสเซีย
เครื่องบินรบของใครเป็นยังไงกันบ้าง


มาเริ่มกันที่โรงงานการผลิต
ฝ่ายรัสเซีย  Su-30

เครื่องบินก็ไม่ต่างกับรถยนต์ เมื่อประกอบลำตัวกับชิ้นส่วนต่างๆ เข้าด้วยกันเสร็จสรรพ ก็จะมีการติดตั้งระบบต่างๆ ทั้งระบบนำร่อง ระบบเรดาร์ อุปกรณ์นิวเมติกส์  เครื่องอัดอากาศ และระบบควบคุมอาวุธ ฯลฯ แตกต่างกันไปตามลักษณะภารกิจที่จะนำไปใช้ Su-30 ก็จึงแตกออกไปเป็น Sub-type หรือ เรียกง่ายๆ ว่า “เวอร์ชัน” ต่างๆ มากมาย ตามความต้องการของผู้ใช้ จะใช้ในภารกิจทางทะเล หรือบนบกเป็นหลัก โจมตีทางอากาศหรือบินขับไล่ หรืออะไรก็ตามแต่ จากรุ่นส่งออกทั่วไปที่ใช้รหัส MK2 ก็กลายเป็น MKM สำหรับมาเลเซีย หรือ MKI สำหรับอินเดีย MKV สำหรับเวเนซุเอลา และ MK2V สำหรับเวียดนาม เป็นต้น

เครื่องบิน Su-27/30 เป็นผลงานวิจัยและออกแบบ และพัฒนาระบบต่างๆ โดยกลุ่มบริษัทซูคอย (Sukhoi Company) ที่มีวิวัฒนาการมายาวนานตั้งแต่ยุคสหภาพโซเวียตจนถึงยุคใหม่ ก็จึงได้รหัสรุ่นของเครื่องบินเป็น Su เช่นเดียวกันกันรุ่นก่อน และรุ่นหลังของค่ายผู้ผลิตเดียวกัน และซูคอยก็ได้เครดิตแต่เพียงผู้เดียวล้วนๆ มาโดยตลอด ขณะที่แหล่งผลิตเป็นแหล่งต้องห้าม แทบจะไม่เป็นที่รู้จัก

       โรงงานประกอบอีร์คุตซ์แห่งนี้ จ้างคนงาน วิศวกร และช่างเทคนิคราว 12,500 คน อายุเฉลี่ยของพนักงานคือ 40 ปี แบ่งออกเป็น 7 แผนก ตั้งแต่ระบบไฮดดรอลิค ระบบเชื้อเพลิง เครื่องยนต์ ปีก air dryer อุปกรณ์ลงจอดบนพื้น ระบบปั๊มลม ระบบเอวิโอนิกส์ต่างๆ และระบบอาวุธ 90% ของเนื้องานนั้น “ทำด้วยมือ” ทั้งสิ้น ซึ่งไม่น่าจะง่ายนัก ยกตัวอย่างเพียงรายการเดียว เช่น สายไฟที่ใช้ใน Su-30 แต่ละลำนั้นรวมกันยาวกว่า 70 กม.

       นี่เป็นโอกาสดีที่สุดที่จะได้เห็นการทำงานของแผนกต่างๆ ภายในโรงงาน ตั้งแต่ขั้นตอนที่ผลิตชิ้นส่วนหลายชิ้่นด้วยมือที่ชำนาญ หรือด้วยเครื่องมือพื้นๆ จนถึงส่วนที่ต้องใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์เข้าช่วย จนกระทั่งแล้วเสร็จครบวงจร และขึ้นบินได้ตามสเปกที่กำหนดทุกประการ

และความนี้ มาถึงฝ่ายของชาติมหาอำนาจอันดับหนึ่ง
สหรัฐอเมริกา


ข้อดี-ข้อเสีย เครื่องบินรบประเทศต่างๆ
โดย facebook.com/Aircraft.Fighter/posts/111387232365164


สหรัฐอเมริกา
ข้อดี:
- สหรัฐอเมริกาคือจ้าวแห่งเทคโนโลยีทางทหารครับ เครื่องบินรบของพวกเขาจึงได้ชื่อว่ามีประสิทธิภาพสูง ทั้งในแง่ของระบบการบิน ระบบอาวุธต่าง ๆ เนื่องจากมีประสบการณ์และเม็ดเงินจำนวนมาก
- คุณภาพการผลิตอยู่ในเกณฑ์สูงครับ อะไหล่มีอายุการใช้งานยาวนาน ไม่ต้องเปลี่ยนปล่อย
- ระบบส่งกำลังบำรุงยอดเยี่ยม อะไหล่มีการจัดการที่เป็นระบบ ส่งตามเวลา คุณภาพดี
- เครื่องบินได้ผ่านการพิสูจน์มาแล้วจากการรบจริง ซึ่งมีสถิตดที่ค่อนข้างดี ทำให้เกิดความมั่นใจในคุณภาพ
- มีระบบฝึกศึกษาที่ยอมเยี่ยม


ข้อเสีย:
- ราคาค่อนข้างสูงครับ และยากมากที่จะยอมให้มีเงื่อนไขในการจ่ายเป็นสินค้าอื่น ๆ นอกจากเงินสด
- อเมริกาเป็นโรคอย่างหนึ่งที่ต้องการ "ดุลยภาพทางทหารในภูมิภาค" ถ้าเค้าพิจารณา (กันไปเอง) ว่าขายอาวุธนี้ไปแล้ว อาจจะทำให้ประเทศใดประเทศหนึ่งมีอาวุธเหนือกว่าประเทศรอบข้างหรือในภูมิภาค ก็มักจะหาเหตุผลมาอ้างเพื่อจะไม่ขายให้
- อเมริกาจะเลือกที่รักมักที่ชังในการขายอาวุธ ประเทศที่แตกต่างกันจะถูกเสนออาวุธที่มีประสิทธิภาพต่างกัน
- คุณอาจจะเจอ Weapon Enbrago หรือการคว่ำบาตรการขายอาวุธถ้าเกิดประเทศคุณทำอะไรขัดใจ เช่นในอินโดนิเซียหรือเวเนซุเอล่า

รัสเซีย
ข้อดี:
- เครื่องบินประสิทธิภาพคับแก้ว รวดเร็ว รุนแรง มีความคล่องตัวสูงมาก บรรทุกอาวุธได้เยอะ
- อาวุธปล่อยต่าง ๆ ถือว่าดีที่สุด เช่น R-77 หรือ R-73 และ R-74
- ไม่มีกั๊ก ไม่มีเงื่อนไข รัสเซียพร้อมจะขายทุกอย่างที่คุณต้องการ ขอเพียงมีเงิน แต่ไม่มีเงินก็ไม่เป็นไร เรายินดีรับแลกทุกอย่าง
- เครื่องบินไม่ต้องการการดูแลรักษามาก จะจอดตากแดดตากฝนยังไงก้บินได้ ต้องการการดูแลรักษาน้อยกว่าเครื่องตะวันตก
- ได้ของดีราคาเหมาะสม
ข้อเสีย:
- คุณภาพการผลิตยังถือว่าต่ำกว่าของตะวันตก อุปกรณ์ต่าง ๆ อาจจะต้องเปลี่ยนบ่อยกว่า
- การส่งกำลังบำรุงที่ไม่ดี อะไหล่กว่าจะมาต้องรอนาน


ยุโรป
ข้อดี:
- ระบบต่าง ๆ ทันสมัย
- สามารถใช้อาวุธได้ทั้งของยุโรปเอง หรือของสหรัฐ หรือแม้แต่อิสราเอล
- มีผู้ใช้ในยุโรปหลายประเทศ ทำให้ดีต่อการด้านอะไหล่ที่จะมีเพียงพอ
- ไม่มีปัญหามากนักในการขายอาวุธ
- ยุโรปมีการวิจัยอาวุธเป็นของตัวเอง ซึ่งมีประสิทธิภาพสูง และยินดีขายให้


ข้อเสีย:
- แพงมากครับ เป็นค่ายที่แพงที่สุด
- เครื่องบินบางรุ่นอาจจะไม่เหมาะกับภูมิประเทศแบบบ้านเรา ทำให้อายุการใช้งานสั้น และมีปัญหาในการซ่อมบำรุง
- อาวุธบางอย่าง ยังต้องพึ่งพาสหรัฐ หรือไม่ก็ต้องใช้ระบบของสหรัฐ ทำให้อาจจะมีปัญหาถ้าสหรัฐคว่ำบาตร


จีน
ข้อดี:
- ราคาถูกมากครับ ใคร ๆ ก็สามารถซื้อได้
- ไม่มีกั๊กเหมือนกัน มีความจริงใจในการขายอาวุธ
- ประสิทธิภาพดี "ถ้าเทียบกับราคา"
- สามารถใช้อาวุธจากค่ายรัสเซียหรือยุโรปบางประเทศได้


ข้อเสีย:
- คุณภาพยังไม่ค่อยดีนัก อะไหล่มีอายุการใช้งานที่สั้น
- การส่งกำลังบำรุงดีแค่ในระดับหนึ่ง
- ความแม่นยำและเทคโนโลยีรวมถึงประสทธิภาพยังต้องมีการพัฒนากันต่อไป



สนับสนุนเนื้อหาโดย




Create Date : 23 พฤศจิกายน 2558
Last Update : 23 พฤศจิกายน 2558 21:51:58 น. 1 comments
Counter : 1447 Pageviews.  

 
เนื้อหาน่าสนใจมากครับ


โดย: mr.popsong วันที่: 23 พฤศจิกายน 2558 เวลา:22:34:00 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

สมาชิกหมายเลข 1085247
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




[Add สมาชิกหมายเลข 1085247's blog to your web]