<<
พฤษภาคม 2558
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
15 พฤษภาคม 2558

กองทุนรวมตราสารหนี้ คืออะไร ?

กองทุนรวมตราสารหนี้  (FixedIncome Fund)
เป็นกองทุนรวมชนิดหนึ่ง ที่ลงทุนในตราสารหนี้ อันได้แก่ พันธบัตรทั้งรัฐบาลและเอกชนรวมถึงหุ้นกู้ด้วย โดยมีข้อดีคือ รับความเสี่ยงได้ต่ำ ไม่หวือหวาโดยข้อเสียก็คือผลตอบแทนจะน้อย โดยต่างจากกองทุน
ตราสารทุน (Equity Fund) ที่ลงทุนในตลาดหุ้นที่มีความหวือหวากว่า  ทีนี้ท่านผู้อ่านคงสงสัยว่ามันจะต่างจากกองทุนอื่นยังไงล่ะ เราจึงต้องมาศึกษาลักษณะของ“ตราสารหนี้” กันก่อนครับ เพราะมันคือแหล่งของการลงทุนนี้ประเภทนี้

ตราสารหนี้ (
Bound)
คือเอกสารที่สัญญาในการกู้เงินทุน โดยระบุว่าจะใช้คืนในอนานคตในวันไหน และจำนวนเท่าไหร่ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยดังนั้นมาดูลักษณะของมัน แบ่งได้เป็นปรการดังนี้
1) มีระยะกำหนดอายุการไถ่ถอนที่แน่นอน
2) มีการตรามูลค่าเมื่อครอบกำหนดไถ่ถอน (เงินต้น)
3) อัตราดอกเบี้ย (มักจะจ่ายครึ่งปี หรือรายปี)


โดยตราสารหนี้มีหลายประเภท ได้แก่


1. ของรัฐบาล
เมื่อรัฐบาลต้องการกู้เงินประชาชน การที่จะให้รัฐบาลเขียนสัญญาประชาชนแบบคนต่อคนนั้นเป็นไปไม่ได้ดังนั้นรัฐบาลจึงออกเป็นตราสารหนี้ (เอกสารสัญญาว่าจะใช้เงินคืน)และออกแก่ธนาคารและสถาบันการเงินต่างๆเพื่อออกขอเงินกู้(ขาย)ไปยังประชาชน โดยรัฐบาลจะมีดอกเบี้ยเป็นสิ่งตอบแทน
- ตั๋วเงินคลัง (รัฐบาลกู้ประชาชนระยะสั้นต่ำว่า1 ปี)
- พันธบัตรรัฐบาล (รัฐบาลกู้ประชาชนระยะยาว1 ปีขึ้นไป)


2. ของเอกชน
คือเมื่อบริษัมทต่างๆต้องการเพิ่มทุน โดยการกู้เงินมาจากมหาชน(ผู้ซื้อหุ้นกู้) ดังนั้นผู้ซื้อหุ้นกู้จึงมีสถานะเป็น
“เจ้าหนี้” มีสิทธิได้รับดอกเบี้ย และเงินต้นตามกำหนดอย่างพาะเจาะจงและชัดเจนไม่ว่าบริษัมจะได้กำไรหรือขาดทุน แต่จะไม่มีสิทธิในการเสอนความคิดเห็น โดยจะต่างจากหุ้นสามัญ(หุ้นทุน)ที่ผู้ซื้อหุ้นมีสถานะเป็น “เจ้าของ”ดังนั้นผู้ซื้อหุ้นสามัญจึงต้องรับผิดชอบต่อทั้งผลกำไรหรือการขาดทุน
ตราสารหนี้เอกชนแบ่งได้เป็น
- ตั๋ว
B/E คือตราสารหนี้ระยะสั้น (อายุคงเหลือไม่เกิน 1ปี)
- หุ้นกู้ ตราสารหนี้ระยะยาว (อายุเกิน 1 ปี)


ใบหุ้นกู้ (คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่)
f.ptcdn.info/479/012/000/1385194321-cpallstock-o.jpg



3)พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ
เป็นพันธบัตรที่ออกโดยองค์กรรัฐวิสาหกิจ




ที่นี่ท่านผู้อ่านคงจะได้พื้นฐานแนวคิด ในการลงทุนกับกองทุนตราสารหนี้ หรือจะนำไปประเมินกองทุนประเภทต่างๆได้ถูกต้องบ้างขึ้นนะครับ

//www.scb.co.th/th/personal-banking/investment/funds/mutual-funds



Create Date : 15 พฤษภาคม 2558
Last Update : 15 พฤษภาคม 2558 13:12:44 น. 0 comments
Counter : 4851 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 1085247
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




[Add สมาชิกหมายเลข 1085247's blog to your web]