<<
กุมภาพันธ์ 2558
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
17 กุมภาพันธ์ 2558

ความสัมพันธ์ของอำนาจเศรษฐกิจ และเหตุการณ์ทางการเมือง



นักเศรษฐศาสตร์เชื่อเหมือนกัน ว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดของเศรษฐกิจนั้นคือ"ปัจจัยพื้นฐาน" , แต่อะไรล่ะคือปัจจัยพื้นฐานที่แท้จริง ? ... แรงงาน  การเงิน  ทรัพยากร  การเมือง  เทคโนโลยี  หรือทุกอย่างรวมกันๆ , มันยากเกินไป จึงได้ลองถามตัวเอง "อะไรคือพื้นฐานที่ทำให้คนเรายั่งยืน" ? ... เงินเก็บ? สินทรัพย์+มรดก ? สุขภาพ ? ความรู้ความสามารถ ? เพื่อนฝูงและคอนเนกชั่น ? จิตใจที่ทะเยอทะยานและระวังตน ? ... สิ่งต่างๆเหล่านี้แหละ ที่คือพื้นฐานของความพร้อมและอำนาจ มันคือการรู้จักตัวเองและใช้จุดแข็งให้เป็นประโยชน์ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น จุดอ่อนก็สำคัญ เพราะอย่าลืมว่าโลกนี้มีคู่แข่งเสมอ และจุดอ่อนก็จะกลายเป็นจุดตาย ... อย่างไรก็ดีครับ สิ่งที่เป็นพื้นฐานและปฏิเสธไม่ได้ก็คือ"วัฏจักร" อันได้แก่ เติบโต รุ่งเรือง ถดถอย และตกต่ำ , สิ่งนี้แทบจะเรียกได้ว่าเป็นสัจธรรมของทุกๆสิ่งเลยทีเดียว

++
ขอเริ่มที่ อำนาจ = การบริโภค(Consumption)+การลงทุน(Investment)
จอห์น ม. เคนส์ เชื่อว่ามนุษย์เริ่มจาก"การบริโภค" , เพราะแม้ไม่มีเงินเราก็ยังต้องบริโภค เพราะฉะนั้นการบริโภคคือพื้นฐานอันดับและมีเสถียรภาพที่สุด , เช่น มนุษย์คนนึงกินข้าววันละ 3 จาน ถ้าเป็นหนึ่งล้านคน ก็วันละ 3 ล้านจาน , ไม่ว่าอย่างอื่นจะเป็นเช่นไร มนุษย์ก็ต้องกิน (ดีมานด์คงที่) ... และการกินนี่เอง ที่ทำให้เกิดการลงทุน มนุษย์จะใช้เงินแลกเปลี่ยนอาหาร (สมัยโบราณคือ เอาปลา แลก ไก่) เมื่อมีการบริโภค จึงมีการทำงานและการลงทุน , มนุษย์จะทำงานเพื่อเงิน ,
ทำมากขึ้น โดยเงินส่วนหนึ่งจะเก็บสำรองไว้ (s,save) และอีกส่วนจะจ่ายเพื่อการบริโภค

++
มนุษย์ทำงานมากขึ้น ก็ได้ผลผลิตมากขึ้น
> และก็จะกินมากขึ้น หลากหลายขึ้น
> และส่วนเกิน(S) เช่น เงินฝากประจำและไม่ประจำของประชาชน รวมถึงประกันชีวิต กองทุนรวม ltf  rmf หุ้น ...ก็จะมากขึ้น
> ก็เกิดการนำ S มาปล่อยกู้ (นักธุรกิจกู้เงินไปลงทุน)
> การปล่อยกู้นั้น  ก็จะไปกระตุ้นการลงทุน   โดยมีอัตราดอกเบี้ยเป็นตัวกำหนดระดับปริมาณการกู้
> จนกลายเป็นระบบการค้าที่ใหญ่ขึ้นๆ
> การค้าขยายตัวมาก สินค้าสำรองมีมากขึ้นๆ คนก็ไม่ต้องล่าสัตว์ตลอดเวล
> และเริ่มมีเวลา และเมื่อมีเวลาก็เริ่มมีการศึกษา เริ่มมีระบบ
> การศึกษานี้เองที่นำไปสู่อำนาจใหม่ๆ ทฤษฏีใหม่ๆ แลเทคโนโลยีใหม่ๆ ,
> มีการปกป้องผลประโยชน์ แบ่งสรรทรัพยากรซัพซ้อนขึ้นเกิดเป็นกองทัพและการเมือง


ทั้งนี้ในการให้สินเชื่อนั้น ก็ต้องมุ่งเน้นให้ถูกเป้าหมาย
ว่าจะเป็นการกระตุ้นการผลิต (เพื่อเพิ่มการจ้างงาน และนวัตกรรมใหม่ๆ) การกระตุ้นการบริโภค เพื่อเพิ่มอุปสงค์มวลรวมในระบบ (เช่น กู้ไปผ่อนของ ซื้อของ สินเชื่อบ้าน สินเชื่อรถยนต์) แต่ในอีกทางหนึ่ง การให้สินเชื่อนั้นก็อาจนำไปสู่การเก็งกำไร (ไม่ยั่งยืนต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ)
หากประเทศนั้นๆธนาคารกลางมีอำนาจควบคุมที่มากพอ , การปล่อยสินเชื่อในประเทศก็จะสามารถถูกจำแนกให้เป็นไปในทางที่เหมใาะสมได้



++
อำนาจ = การบริโภค(C)+การลงทุน(I) + การใช้จ่ายของรัฐ(G)
เมื่อมีรัฐบาล รัฐบาลจึงต้องดูแล"อำนาจ"ของประเทศ
เช่น เมื่อมีบางอย่างที่ต้องลงทุนสูงและไม่ได้กำไร แต่มันจะนำการเติบโตในระยะยาวมาสู่ทุกคน เช่น ถนน ท่าเรือ ไฟฟ้า ปะปา ทหาร ตำรวจ ครู ฯลฯ รัฐบาลก็ต้องสร้างมันขึ้น แต่จะสร้างได้รัฐบาลจึงต้องเก็บเงินจากทุกคน เรียกว่า ภาษี (T) , ภาษีเป็นเหมือนเงินเก็บ (S) แต่เป็นเงินเก็บที่เอามาใช้จ่ายโดยรัฐบาล(G) ... รัฐบาลสามารถจ้างประชาชนสร้างถนน สร้างเรือรบ สร้างอาวุธ สร้างรถไฟได้

> เกิดการจัดระบบรัฐชาติ และขอบเขตอำนาจ
> การค้า การเมือง ขยายตัวข้ามดินแดน ล่าอาณานิคมเพื่อวัตถุดิบ (Input)
> ผลิตมากขึ้นหลายร้อยเท่า ต้องระบายของสู่ชาติอาณานิค
> โลกทั้งโลกเกิดการหลอมรวม มีการแลกเปลี่ยนระหว่างกันในทุกด้าน
> มีการคานอำนาจทางการค้า และเมื่อใดที่คานไม่ได้ ก็อาจจะเกิดสงคราม

++

อำนาจ = การบริโภค(C)+การลงทุน(I) + การจ่ายของรัฐ(G) + ส่งออกสุทธิ (X-M)

**
ระหว่างเหตุการณ์นี้ เกิดความขัดแย้งต่างๆ จึงเกิดกฎหมาย ปรัชญา ต่างๆ , เพื่อรักษาความสงบและสมดุลย์ ไม่มีปรัชญาใดเป็นที่เด็ดขาด ,มนุษย์ต้องสิ่งที่เหนือกว่าปรัชญา นั่นคือประชาธิปไตย ... ทั้งนี้ มีหลายชาติที่ไม่เข้าใจ และเป็นอำนาจนิยม อำนาจเจว็ด คอมมิวนิสต์ , ชาติเหล่านั้นจึงเป็นชาติที่เก็บความขัดแย้งไว้ข้างใน รวมถึงความไม่สมดุลย์ทางการลงทุน และปัญหาทางสังคมต่างๆนานๆ , อำนาจไม่สามารถกระจายสู่ประชาชนได้อย่างแท้จริง = พื้นฐานเปราะบาง

++
มุมของเทคโนโลยี
เทคโนโลยี = อำนาจ , และส่วนมากนั้นเป็นอำนาจที่ขายได้ คนทั้งโลกล้วนต้องการ
> อำนาจใหม่ สร้างความต้องการ(อุปสงค์)ใหม่ และส่งเสริมอุปทานใหม่ๆ
> คนก็เรียนมาก ทำงานมาก หาเงินมาก เพื่อซื้อสิ่งที่ประสงค์
> คนเรียนรู้มาก ก็พัฒนาเทคโนโลยีมาก
> เทคโนโลยีพัฒนามาก ทรัพยากรหาได้มาก การค้าพัฒนามาก
> อำนาจขยายตัวเรื่อยๆ กองทัพใหญ่ขึ้น สื่อสารไกลขึ้น พันธมิตรมากขึ้น ฯลฯ

++
ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของผม
ก็คือ"อำนาจ ความสมดุลย์ แะเสรีภาพที่ชาตินั้นๆมี "
เมื่อ อำนาจ = ความขัดแย้งและอันตราย เช่น สงครามกลางเมืองอเมริกา ที่เกี่ยวกับปัจจัยด้านภาคแรงงานและการผลิต ที่เป็นทาสผิวดำ , หรือกรณีความเลื้อมล้ำด้านรายได้ , การกระจุกตัวของการลงทุน , การกระจุกตัวของเงิน ... รัฐต้องแก้ไขปัญหาด้วยกฎหมาย การบังคับใช้กฎหมาย และค่านิยมประชาธิปไตยของชาติ

....

ปัญหาเมื่อเงินถูกกระจุกตัวของเงินทุน
คนกลุ่มหนึ่งจะใช้จ่ายได้มาก = อุปสงค์มากมีอำนาจซื้อได้มา
= ทำให้ของขึ้นราคาเรื่อยๆเพื่อทำกำไรกับคนมีอำนาจซื้อ
(พ่อค้าจะขายคนรวยก่อน โดยชาร์จกำไร ขายหมดไวๆก็ดี = ของขึ้นราคา)
= เงินปัญหาเงินเฟ้อในสินค้าบางกลุ่มหรือหลายกลุ่ม , อาจถึงฟองสบู่
= คนจนยิ่งจนลง (จากเงิน 10 บาท ซื้อขาว 3 จาน เงินเฟ้อ จนต้องใช้เงิน 120 บาท)
= ปัญหาสังคมต่างๆ , ปัญหาขาดแรงจูงใจทางการผลิต , ขาดเวลาและการพัฒนาตัวเอง
= ขาดทรัพยากรบุคคล ขาดความเข้มแข็งของประชาชน = นวัตกรรมไม่เกิด
= ผู้คนเริ่มลดการบริโภคลง (ประหยัดกันหมด) = เศรษฐกิจถดถอยและฉะงักงัน
= ประเทศพัฒนาช้า = ประเทศอ่อนแอ


++
ปัจจัยทางด้านการเมืองและกฎหมาย
> รายได้มาก สามารถซื้อกฏหมายได้
> กฎหมายตีกินให้คนรวย (อีลีท) รวยขึ้นได้เรื่อยๆ
> จนนำสู่ความไม่สมดุลย์เปราะบางทางโครงสร้างเศรษกิจ การเงิน
> คนจนเดือดร้อน นำไปสู่การปฏิวัติเปลี่ยนระบบ หรือปลดแอก
> ความวุ่นวายและสงคราม
> อำนาจ ต้องพัฒนาตัวเองในสมดุลย์ เป็นอารยะ
> สู่หลักประชาธิปไตย เสรีทางการค้า ภาษีที่ยุติธรรม และการไม่ผูกขาด
> เพื่อสนับสนุนนวัตกรรม การแข่งขันเสรี-ยุติธรรม และการประกันปัจจัยดำรงชีพ

ข้อมูลบางส่วน  //www.scb.co.th/th/home





 

Create Date : 17 กุมภาพันธ์ 2558
0 comments
Last Update : 17 กุมภาพันธ์ 2558 17:56:19 น.
Counter : 1169 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


สมาชิกหมายเลข 1085247
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




[Add สมาชิกหมายเลข 1085247's blog to your web]