อมตะมหานิพพาน ผู้เบิกบาน-ผู้รู้-และผู้ตื่น ไม่มีกลางวันและกลางคืน แสนสดชื่นบรมสุขอยู่ทุกยาม คิดดี-พูดดี-ทำดี สร้างบารมีให้งดงาม สดใสใต้ฟ้าคราม ทำหน้าที่ตราบวันตาย ฯ
Group Blog
 
 
มกราคม 2549
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
23 มกราคม 2549
 
All Blogs
 
มหาสติปัฏฐาน 4-ทางสายเอกที่มีสายเดียว.......



มหาสติปัฏฐาน 4 หรือ ทางสายเอก คือ อะไร ? กล่าวกันว่า เส้นทางนี้เท่านั้น ที่พระอรหันต์ทุกองค์ต้องเดินผ่านเส้นทางสายนี้ เพื่อไปสู่ความหลุดพ้น อันเป็นบรมสุขตลอดกาล จริงหรือไม่ ประการใด?.......


Create Date : 23 มกราคม 2549
Last Update : 23 มกราคม 2549 17:20:19 น. 5 comments
Counter : 895 Pageviews.

 


ทางสายเอก คือ อะไร ? มีหลักการอย่างไร ? และมีวิธีการปฏิบัติอย่างไรบ้าง?

ผู้ตั้งกระทู้ ช่อผกา กทม. ( chorpakar@hotmail.com ) ::วันที่ 06/01/2548

ความเห็นที่ 1 (33752)
ทางสายเอก

อ่านทางสายเอกแล้วน่าสนใจทีเดียวเอาหลักการมาจากไหนครับ ถ้าสนใจการปฏิบัติแนะนำไปที่ไหนบ้างและต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง


From: อุดม [4 Jun 2003 22:10] Viewer [1808] Answer[44] delete




Response no.1 From: ชัย กรุงศรี
5 Jun 2003 08:46 #242390 delete

เฉพาะทางสายเอกนี้ข้อมูลได้มาจากการเข้าปฏิบัติธรรมโดยตรงจากคุณแม่ ดร.สิริ กรินชัย และหลวงพ่อจรัญ ฐิตญาโณ วัดอัมพวัน สิงห์บุรี นอกนั้นก็ศึกษาจากคำสอนของหลวงปู่เทพโลกอุดรและพระอาจารย์โชดก ญาณสิทธิ วัดมหาธาตุที่เคารพนับถือเป็นครูบาอาจารย์ครับ ถ้าสนใจอยู่ในกรุงเทพหรือใกล้เคียงให้ไปปฏิบัติที่วัดมหาธาตุ กทม.หรือวัดอัมพวัน ถ้าอยู่ได้7วันครบหลักสูตรจะดีมากครับไม่ต้องไปเรียนที่ไหนอีก ค่าใช้จ่ายไม่มี เอากายกับใจไปเท่านั้นพอครับ....





Response no.2 From: รัตนาภรณ์ กทม.
17 Jul 2003 21:27 #278607 delete

ตอนนี้มีคนมาชมทางสายเอก สติปัฏฐาน4มากมายน่าชื่นใจจริงๆนะคะ ขออนุโมทนาค่ะ





Response no.3 From: อุดม
17 Jul 2003 21:29 #278612 delete

เห็นด้วยครับ อยากให้ทุกคนได้เข้ามาชมแล้วเอาไปปฏิบัติด้วยก็ดีนะครับ





Response no.4 From: เนิน นราธร
23 Jul 2003 13:34 #282319 delete

ตอนนี้ทางสายเอกมีครบวงจรแล้วนะครับ ใครมีเวลาน้อยก็ชม ทางสายเอก(สติปัฏฐาน4)ฉบับย่อ หรือไปดูทางไปนิพพานแบบลัดสั้น.....ท่องแดนพระนิพพานถึง2ภาค(จะมีต่อภาค3ด้วยครับ) หากเวลามากก็ดูฉบับสมบูรณ์ ติดปัญหาเรื่องลำดับญาณก็ดู โสฬสญาณ(ญาณ16)ตอนนี้ผู้เข้าชมมากขึ้นทุกวันครับ ผมหาย
เหนื่อยเลยและมีความสุขกับการทำงานตรงนี้มากครับ....





Response no.5 From: เอมอร เชียงใหม่
24 Jul 2003 12:32 #283059 delete

ขออนุโมทนาด้วยค่ะ อย่าลืมเขียนท่องแดนพระนิพพานภาค3ต่อด้วยนะคะ สนุกและมีประโยชน์เห็นภาพพจน์ดีค่ะ ไม่ทราบว่าภาค3จะเป็นเรื่องอะไรคะ





Response no.6 From: ชัย กรุงศรี
30 Jul 2003 17:37 #287503 delete

ตอนนี้ท่องแดนพระนิพพานภาค3(ความว่าง-ประตูสู่นิพพาน)นำลงเวบไซต์ตั้งแต่เมื่อวานแล้ว เชิญเข้ามาชมได้เลยครับ....





Response no.7 From: รัตนาภรณ์ กทม.
24 Sep 2003 12:13 #327702 delete

อ่านสติปัฏฐาน4แล้วดีมากค่ะ รู้สึกว่าฐานทั้ง4นี้ดีหมดทุกฐานเหมือนๆกันใช่ไหมคะ แล้วฐานไหนคะที่สำคัญที่สุดในการปฏิบัติค่ะ





Response no.8 From: เนิน นราธร
24 Sep 2003 12:47 #327719 delete

หลวงพ่อจรัญฯพระอาจารย์ของผมท่านเน้นที่"เวทนาสติปัฏฐาน"ครับ ท่านบอกตัวนี้เป็นตัวระลึกชาติ เมื่อก่อนผมก็ไม่เชื่อครับ ได้ทดลองกับตัวเองวันหนึ่งเกิดนิมิตขึ้นมาระหว่างปฏิบัติดูความปวดที่ขาขวาจนเหลืออยู่นิดเดียวก็มีเหมือนวิดีโอภาพสีฉายให้ดูเลยว่าตั้งแต่เด็กมาจนปัจจุบันเราไปทำผิดศีลข้อไหนมาบ้างและได้รับผลกรรมตอบแทนอะไรบ้าง มันน่ากลัวมากเลย ผมได้เขียนบันทึกรายงานหลวงพ่อ ท่านบอกว่าดีแล้วให้ปฏิบัติต่อไป ท่านจะเอาเป็นข้อมูลเพื่อสอนคนอื่นต่อไป เรื่องต่างๆที่ปรากฏขึ้นประมาณ35ปีเศษซึ่งผมลืมไปหมดแล้ว พอจิตเราสงบดีได้ที่มันก็รีวายย้อนมาให้ดูได้ครับ ก่อนที่เราจะระลึกชาติก่อนๆได้ก็น่าที่จะระลึกเหตุการณ์ในชาตินี้ให้ได้ก่อนนะครับ....สติปัฏฐาน4ทุกข้อมีความสำคัญเท่าๆกันเหมือนเกลียวเชือกเพราะจิตคนจะคิดไปเรื่อยๆเรื่องนั้นเรื่องนี้ซึ่งก็ไม่พ้นฐานใดฐานหนึ่งใน4ฐานนี้ เราคิดอะไรเข้าฐานไหนก็เอาตัวนั้นมาจับให้ได้ไล่ให้ทัน รู้สึกตัวทั่วพร้อมตามทันอยู่เสมอแล้วทุกอย่างจะดีขึ้นเองเรื่อยๆครับ.....ข้อสำคัญที่สุดต้องถือศีล5ให้บริสุทธิ์ก่อนครับ บริสุทธิ์ได้มากเท่าไรยิ่งดีเพราะปฏิบัติๆไปจะทราบว่าศีล5มีควาละเอียดอ่อนมากขึ้นเรื่อยๆครับ ถ้าศีลไม่ได้ไม่ดีก็ไม่ก้าวหน้าแน่นอนครับ ผมเคยผ่านจุดนี้มาแล้วขอยืนยันครับ.....





Response no.9 From: เซียน
24 Sep 2003 17:46 #327998 delete

จริงครับผมเห็นด้วย..





Response no.10 From: เนิน นราธร
25 Sep 2003 11:39 #328492 delete

จุดสำคัญที่สุดในมหาสติปัฏฐาน4ที่หลวงพ่อจรัญฯและคุณแม่สิริฯสอนผมมาก็คือตัว"สติ"ครับ ได้ตัวนี้แล้วตัวอื่นๆคือสมาธิและปัญญาจะตามมาเองโดยอัตโนมัติครับ บางคนบอกไม่มีเวลา ไม่ชอบเดินจงกรม ชอบแต่นั่งสมาธิ บางคนชอบนอนภาวนาก็ว่ากันไป จริงๆแล้วไม่ต้องนั่งหลับตาภาวนาหรอก พระอรหันต์ ท่านไม่ต้องทำอย่างนั้นก็ได้เช่นหลวงพ่อจรัญฯท่านไม่นอนท่านทำมาหลายปีแล้ว...ในเวลาปกติ ทำงานหรือทำอะไรก็ตามให้เรามีสติรู้ตัวตามทันอยู่เสมอว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ เท่านี้พอแล้วครับ....เท่านี้นิวรณ์5ความฟุ้งซ่านก็ไม่มี จะไปคิดอะไรไม่ดีก็ไม่มี ถ้ามีมันก็รู้แล้วก็Deleteตัดทิ้งไป เพราะมันรู้ว่าไม่มีประโยชน์ มันก็ไม่เอา จะเอาแต่สิ่งที่ดีๆเอาเก็บสะสมไว้ในเมมโมรี่เราคือการAddไว้นั่นเอง ทำไปเรื่อยๆครับ ไม่มีอะไรยากหรอก ทำได้ทุกคนด้วยและทุกเวลาด้วยครับ.....ลองดูก็ได้ครับ






Response no.11 From: เซียน
10 Oct 2003 17:25 #339634 delete

สิทธัตถะเจ้าชายสายศากยะ นายฉันนะพร้อมกัณฑกะอาชาศรี
มุ่งหน้าข้ามฝั่งอโนมามหานที สามชีวีเร่ร่อนหลบซ่อนไป
เพราะเหตุนิมิตเจ็บแก่ตายได้ประจักษ์ น่าทุกข์นักจะหาเหตุแก้ได้ฤไฉน
สมณะนิมิตอร่ามเรืองผ่องอำไพ แน่แล้วไซร้เป็นทางนั้นควรน่าลอง
ฉลององค์พระราชาแลกยาจก เป็นนักพรตแสวงธรรมนำสุขี
ลองผิดถูกอยู่นั่นแล้วกว่าหกปี เอาชีวีเข้าแลกแทบล้มประดาตาย
ด้วยประทัยแน่วแน่จักช่วยสัตว์ ข้ามสังสารวัฏประกอบด้วยโลภโกรธหลง
อมตะธรรมแท้อยู่ยั่งตั้งยืนยง ช่วยขนคนก้าวล่วงพ้นขอบนรกอเวจี
เคลื่อนกงล้อสัจจ์ธรรมลั่นกลองอมตะ ทั่ววัฏฏะแสงธรรมะส่องไปได้ไพศาล
กาลเวลาสี่สิบห้าปีไช่เนิ่นนาน เวไนยสัตว์นั้นได้รู้แจ้งแลเห็นจริง
อุตสาหะสั่งสอนเหล่าเวไนยได้เจ็ดแคว้น พุทธบริษัทสี่เนืองแน่นตั้งหลักฐาน
ปฏิบัติในธรรมไม่ล้ำเส้นเข้าบ่วงมาร อมตะนฤพานคือเบื้องปลายตั้งใจไป
**** ครับเป็นบทกลอนเล็กน้อย ฝากมาให้อ่านกันครับ****





Response no.12 From: เนิน นราธร
14 Oct 2003 13:17 #342525 delete




ทางสายเอกคือมหาสติปัฏฐาน4นี้ท่านว่าพระอรหันต์ทุกองค์ที่จะสำเร็จธรรมะขั้นสูงสุดนี้ได้ต้องผ่านมาทางนี้ทางเดียวครับ ไม่มีสายอื่น มีแค่สายเดียวครับ ถึงเรียกว่าทางสายเอก.....จะไปทางไหน วิธีไหนก็ตาม ถ้าจะไปพระนิพพานก็ต้องวกหรือเลี้ยวเข้ามาทางสายเอกนี้จนได้ ไม่งั้นไม่มีทางเข้าถึงพระนิพพานแน่นอนครับ.....หลวงปู่พุทธะอิสระท่านบอกอยู่เสมอว่าหนทางเข้าพระนิพพานน่ะแคบกว่าปลายเข็มอีก มีสักกี่คนที่เข้าไปได้ในช่องทางนี้ ท่านแนะนำสั่งสอนให้ใช้การทำงานต่างๆประจำวัน อยู่กับปัจจุบันธรรม ให้ได้มากที่สุดยิ่งได้ตลอด24ชั่วโมงยิ่งดีมากๆจักสำเร็จได้ง่ายกว่าวิธีอื่น....จริงๆแล้วที่หลวงปู่สอนนี่ก็คือให้มีสติ อยู่กับปัจจุบันตลอดเวลา เป็นการทำมหาสติปัฏฐาน4ทุกลมหายใจเข้าออกเลยทีเดียว เมื่อรู้ตัวทั่วพร้อมโอกาสทำผิดย่อมไม่มี มีสติ-สมาธิ-ปัญญาจะตามมาเองเหมือนลูกโซ่...แต่การทำสมาธิแบบนั่งหลับตาคือเหมือนการนั่งทับหญ้า พอลุกขึ้นหญ้าก็โงหัวงอกงามต่อไปได้ผลกว่ากันเยอะครับ.....หากใครเห็นด้วยก็เอาไปทดลองทำนะครับ....นี่เป็นหลักการของหลวงปู่ฯที่ผมพอสรุปได้ครับ....





Response no.13 From: เอมอร เชียงใหม่
14 Oct 2003 14:07 #342567 delete

เห็นด้วยและชัดเจน คมมากค่ะ ขอน้อมรับไปปฏิบัติด้วยความขอบคุณมากๆนะคะ หากมีอะไรดีๆก็ขอให้มาบอกเพิ่มเติมอีกนะคะ สาธุๆๆๆค่ะ





Response no.14 From: เนิน นราธร
14 Oct 2003 17:47 #342720 delete




หนทางเดินไปไหนมาไหนเช่นจะไปเชียงใหม่ไปได้หลายทางจะเดินไปก็ได้ วิ่งไปก็ได้ นั่งรถไฟ เรือบินไปก็ได้ ...แต่ทางสายเอกมหาสติปัฏฐาน4นี้ไม่ใช่นั่งเรือบินครับ นั่งจานบินหรือจานผีของมนุษย์ต่างดาวไปเลยครับ.....ท่านว่าบางเอกบุคคลที่บารมีเต็มแล้วชั่วแว่บเดียวเหมือนสายฟ้าแลบก็สำเร็จได้แล้วครับ....มีรูปหลวงปู่เทพโลกอุดรมาให้ชมด้วยครับ....





Response no.15 From: เนิน นราธร
14 Oct 2003 17:56 #342729 delete




วันสองวันนี้จะนำเรื่อง"สติ"ที่หลวงปู่พุทธะอิสระท่านเขียนไว้ไม่ยาวครับประมาณ10หน้า....ท่านเขียนไว้ดีมาก อธิบายได้ชัดเจน แจ่มแจ๋วเหมือนส่องกระจกดูหน้าตัวเองเลยทีเดียว....ยังไม่เคยอ่านพบใครอธิบายได้คม-ชัด-ลึกแบบหลวงปู่ฯเลยครับ คอยติดตามชมนะครับ ไม่นานเกินรอแน่นอน.....คราวนี้มีภาพของคุณแม่ดร.สิริ กรินชัย พระวิปัสสนาจารย์องค์แรกของผมครับ.....





Response no.16 From: เซียน
18 Oct 2003 18:38 #345788 delete

วันนี้มีอารมภ์ฟุ้งซ่าน กวีศิลป์กำเริบ ขอระบายสู่กันฟัง(อ่าน)แก้คันมือนะครับ
ธรรมแสนกว้างไกลใครรู้หมด ตถาคตรู้แจ้งแถลงไข
วัฏฏสงสารหมุนเปลี่ยนเวียนเวไนย กระจัดพลัดพลายเกิดดับนับหกภูมิ
โลภโกรธหลงเกิดดับนับไม่ถ้วน ทุกสิ่งล้วนอนิจจังทั้งสังสาร
สรรพสัตว์รัดยึดติดชิดอยู่นาน ความสุขนั้นแท้อยู่ไหนไม่รู้จริง
แสวงหาความสุขจากรูปรส ปรุงแต่งหมดเวทนาแลสังขาร
สัญญาคือความจำทั้งวิญญาณ อีกทั้งบาปชั่วบุญทานคานกันไป
พุทธองค์ทรงชี้ทางสว่างใส อยู่นั่นไงนิพพานเกษมสันต์
ปล่อยวางว่างทุกอย่างทั้งอนันต์ จิตตนพลันให้หลุดพ้นก้นอเวจี
ทำไมเล่าเรายึดติดวิธีการ ว่าอย่างนั้นอย่างนี้ฤไฉน
ลำดับขั้นล้วนมากมีที่เป็นไป บายพาสส์ไซร์ก็ใช่จะไม่มี
ธรรมะธรรมนำทำปฏิบัติ ให้รู้ชัดในทุกสิ่งสิ้นสงสัย
ใครทำใครใครก็ได้พ้นภัยไป ทุกสิ่งไซร้ไม่อยู่ไกลในวงกลม
อมตะธรรมนั้นเลอเลิศประเสริฐศรี ล้วนมากมีอยู่ในคำพระธรรมสอน
ให้รีบฝึกปฏิบัติตั้งใจอย่ามัวนอน อบายซ่อนอยู่ในจิตคิดหลีกไกล
ตัวตูของตูนั้นว่าตูแน่ ในเนื้อแท้มังกรเพลิงเริงรังสรรต์
ปรากฏบนฝ่ามือระบือพลัน อยากเป็นอาจารย์ชื่อเสียงระบือไกล
ธรรมาจารย์ทั้งอดีตในอดีต ล้วนพ้นขีดอจินไตยไม่สงสัย
ปัจจุบันมีมากแล้วแก้วเจียรนัย แล้วแต่ใครบุญมาวาสนาเกย
รวมแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ มีอยู่นานในอดีตคิดจำได้
พระมหากัสสัปปะมีจิตคิดการณ์ไกล สังคยานาไว้ให้ดำรงค์และคงทน
หลังจากอโศกามหาราช ให้เหล่าปราชญ์ผู้มีใจในกุศล
เผยแผ่พุทธคำสอนต้อนนรชน จิตหลุดพ้นจากอบายไกลโศกา
ปัจจุบันนี้นั้นเล่าเป็นไฉน ใครต่อใครตั้งจิตคิดปรารถนา
เสกสรรค์ธรรมปั้นแต่งอภิญญา ว่าตูข้าสำเร็จเสร็จทุกนัย
***่ก้องฟ้าเสียงอ้าคำรามก้อง เสียงท้องร้องจ๊อกจ๊อกไม่หดหาย
กายสังขารไม่เที่ยงเปลี่ยนทุกราย มนุษย์ไซร้ภิกษุสงฆ์ไม่ต่างกัน
เงินตราหามาใช่เก็บไว้ได้ ที่สุดท้ายเชิงตะกอนสี่คอนหาม
เหลือแต่ทรากกระดูกไว้ทุกคาม ชื่อเสียงนามดีหรือชั่วรู้ทั่วไป
ยังมีอะไรอีกเล่าให้ควาญหา ไก่รู้ค่าของพลอยหรือไฉน
ลิงได้แก้วคิดแล้วใช่ดีใจ อาหารไซร้เลอค่าถ้าต้องการ
อาหารใจ อาหารคน อาหารสัตว์ สิ่งผูกมัดทั่วไปในวัฏฏะ
ต้องแยกแยะสิ่งใดควรไม่ควรละ ใช่ตะบันดะของตูใช่ใส่ฤทธี
พญามารหัวเราะเริงร่าข้าชนะ เจ้าไม่ละสิ่งอนันต์ในสังสาร
เวียนว่ายกันต่อไปนิจนิรันดร์กาล ดอกบัวพลันจมหายใต้โคลนดิน
แปดแสนสี่หมื่นพุทธเจ้าทแกล้วกล้า เวียนเปลี่ยนมาสั่งสอนสัตว์สหัสสา
เวไนยนับล้านโกฏิจักรวาลา จิตธรรมมาหยั่งรู้ได้ในตัวตนพ้นภัยเอยฯ
วิจารณ์กันได้นะครับ กบ 1-2-C อย่างผมจะได้ตาแจ้งขึ้นอีกนิด








Response no.17 From: เนิน นราธร
29 Oct 2003 12:39 #353491 delete




ตอนนี้เรื่องมหาสติปัฏฐาน4ได้ลงเพิ่มเติมเป็นบทความในเว็บใหม่ของเราชื่อbuddha-dhamma.comมีเรื่องสติ-สมาธิ-ปัญญา.....ศิลปะในการหายใจ....การหายใจเป็น ฯลฯ และคัดเลือกคำสอน โศลกที่เด็ดๆเจ็บๆของหลวงปู่พุทธะอิสระไว้หลายแห่งครับ เชิญติดตามชมกันได้ครับ.....บทกลอนของท่านเซียนเขียนได้ดีครับ แต่รู้สึกจะเป็นกลอนด้น ไม่มีสัมผัส อาจจะอ่านยากนิดหน่อย ขอนิมนต์ให้ท่านเขียนมาสั่งสอนเผยแพร่บ่อยๆนะครับ......นี่ตือโลโก้ของเว็บใหม่ครับ....





Response no.18 From: เนิน นราธร
20 Nov 2003 21:16 #372798 delete




มหาสติปัฏฐาน4 หลวงพ่อจรัญฯพระอาจารย์ของผมท่านสรุปไว้สำคัญ3ประการคือ1.ทำให้ระลึกชาติได้2.ทำให้รู้กฎแห่งกรรมและ3.ทำให้แก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวันได้.....หลวงพ่อฯเน้นที่3ข้อนี้เพราะปัญหาของคนในยุคปัจจุบันมันยอกย้อน สับสนมากกว่าสมัยก่อนๆมาก ต้องให้คนเห็นประโยชน์ เขาถึงจะปฏิบัติธรรมกัน หลวงพ่อฯท่านละไว้ในฐานที่เข้าใจที่เป็นข้อสำคัญยิ่งของมหาสติปัฏฐาน4คือ ทำให้บรรลุถึงพระนิพพานเลยทีเดียว หากไม่ถึงก็ใกล้เคียงอย่างน้อยก็ได้มรรคผลในระดับรองจากพระนิพพานลงมา เช่นพระโสดาบัน พระสกิทาคามี และพระอนาคามี.....หลวงพ่อฤาษีลิงดำ(พระราชพรหมยาน)วัดท่าซุง ท่านเน้นที่พระโสดาบัน เพราะเข้าถึงได้ไม่ยากนัก เพียงแต่รักษาศีล5 ยึดพระรัตนตรัยเป็นสรณะอย่างมั่นคงแน่วแน่ ประกอบบุญกุศลสม่ำเสมอแล้วก็มีโอกาสมาก เมื่อได้พระโสดาบันแล้วก็ปลอดภัย พ้นจากอบายภูมิเด็ดขาด จะกลับมาเกิดอีก1-7ชาติก็ไปนิพพานเลยครับ.....ดังนั้นการปฏิบัติเพื่อบรรลุธรรมที่สำคัญหลักใหญ่ต้องรักษาศีล5ให้ได้ ให้บริสุทธิ์เป็นอธิศีล หมายถึงยอมตายเสียดีกว่าที่จะทำผิดศีลข้อใดข้อหนึ่ง แล้วฝึกสติให้เป็นมหาสติ คือรู้ตัวทั่วพร้อมตลอดเวลาไม่ว่าจะอยู่อิริยาบถใดๆ ยืน-เดิน-นั่ง-นอน ทั้งหลับและตื่น นอนก็ต้องให้หลับไปพร้อมกับสมาธิจะดีมากๆ สังเกตได้คนหลับแบบนี้นอนพลิกไปมากี่ครั้งก็รู้ ยุงกัดก็รู้ กำหนดตื่นเมื่อไรก็ได้ ไม่ต้องใช้นาฬิกาปลุก เมื่อได้อธิศีล +มหาสติแล้วตัว มหาปัญญาก็จะเกิดขึ้นเอง ถึงตอนนั้นจะรู้แจ้งทุกอย่างที่ต้องการจะรู้ จะเห็นทุกอย่างที่ต้องการจะเห็น จะมีความสามารถพิเศษเหนือบุคคลธรรมดาสามัญจะนึกคิดทำอะไรก็ได้หมดเหมือนมีแก้วสารพัดนึกยังไงยังงั้นแหละครับ.....นี่คือภาพของหลวงพ่อจรัญฯครับ





Response no.19 From: เนิน นราธร
24 Nov 2003 18:12 #376079 delete




การปฏิบัติกายานุปัสสนาโดยการเฝ้าสังเกตกาย.....การปฏิบัติเวทนานุปัสสนาโดยสังเกตความรู้สึกที่เกิดขึ้นบนร่างกาย....การปฏิบัติจิตตานุปัสสนาโดยการสังเกตดูจิต....และการปฏิบัติธัมมานุปัสสนาโดยการสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นในจิต ก็มีอยู่แค่4อย่างนี้เอง การปฏิบัติครบทั้ง4ส่วนนี้ จึงจะถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติสติปัฏฐาน4อย่างสมบูรณ์ การปฏิบัติแต่ละอย่างจะต้องใช้หลัก" อาตาปี สัมปชาโน สติมา" คือปฏิบัติด้วยความเพียรอันแรงกล้าเพื่อให้จิตตื่นตัวทั่วพร้อมอยู่เสมอ ด้วยจิตที่เป็นอุเบกขาด้วย จึงจะได้ผลสูงสุดครับ......วันนี้มีภาพพระอาจารย์โชดก ญาณสิทธิแห่งวัดมหาธาตุหรือที่คนทั่วไปเรียก"หลวงพ่อหนอ"นั่นแหละครับ แล้วผมจะเอาหลักการของท่านมาแนะนำเป้นการเพิ่มเติมความรู้ให้แตกฉานยิ่งขึ้นครับ.....





Response no.20 From: เนิน นราธร
26 Nov 2003 14:45 #378172 delete

ทางสายเอกคือมหาสติปัฏฐาน4 หลวงพ่อจรัญฯท่านสรุปไว้ง่ายๆน่าฟังยิ่งครับ..."สติปัฏฐาน4ประการ ก็สรุปแล้วได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา ได้แก่สติสัมปชัญญะ ไม่ลดละภาวนา อยู่ด้วยความไม่ประมาท ดังคำบาลีที่ว่า....นัตถิ สันติ ปะรัง สุขัง.....สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี"....ถ้าเราเจริญกรรมฐานได้เข้าสู่จุดหมายแล้วนั้น การเป็นอยู่ของชีวิตก็จะอยู่เจริญรุ่งเรือง วัฒนาสถาพรสืบต่อไปภายภาคหน้า ก็.....เจริญสติปัฏฐาน4 เจริญกุศลบุญราศี ให้เข้าสู่สภาวะ.....ให้สู่ภาวะของตนที่เป็นอยู่ต่อไปได้ตามสมควรกับอัตภาพ ตามสมควรแก่ความเป็นอยู่และเป็นไป.....





Response no.21 From: เนิน นราธร
28 Nov 2003 15:24 #380034 delete

หลวงพ่อจรัญฯท่านสรุปสติปัฏฐาน4แบบย่อสุดๆว่า"การเจริญสติปัฏฐาน4 สรุปเหลือ2....สติสัมปชัญญะ ตัวกำหนดเป็นคุณธรรมสำคัญ ปัญหาเรื่องคนเรื่องสังคมที่สำคัญอยู่ตรงนี้ คือ การเจริญสติปัฏฐาน4 การพัฒนาตัวเอง การมีสติสัมปชัญญะ เป็นการพัฒนาตัวเอง ให้มีความเจริญก้าวหน้าพอที่จะเป็นที่พึ่งของตนได้ เราต้องเริ่มปลูกฝังธรรมะ คือคุณธรรม ศีลธรรม ภูมิธรรม จริยธรรม ตลอดถึงวินัยให้มีขึ้นในตน พอที่จะกำกับอาชีพหน้าที่และสังคมได้ ถ้าไม่เช่นนั้นก็ไม่มีทางพัฒนาตัวเองสำเร็จได้เช่นเดียวกัน ขอให้ทุกคนได้โปรดยอมรับสัจจธรรมอันนี้ การเจริญกรรมฐานอยู่ตรงนี้ชัดมาก....การมีสติปัญญา การมีศีลธรรม จึงจะพบความสำเร็จแห่งความหวังได้....ผู้ที่พัฒนาตัวเองได้ตามแบบตามแนวสติปัฏฐาน4นี้ ย่อมได้รับผลดีตามที่ปรารถนา คือ มีทรัพย์สมควรแก่ฐานะ เพื่อความสะดวกในการเป็นอยู่และมีเกียรติมีชื่อเสียง...."





Response no.22 From: "สุนทรพวง"
28 Nov 2003 21:22 #380373 delete

ทางสายเอก...อยู่ที่ไหนใครรู้บ้าง ทางนี้กว้างแต่ลัดตรงสุดถึงจุดหมาย.....คือนิพพานบรมสุขไร้ทุกข์กราย ทั้งหญิงชายไปได้หากใจปอง.....ฝึกสติด้วยฐานสี่นี้ไม่ยาก ไม่ลำบากเพราะหายใจกันได้คล่อง หายใจทิ้งเสียเปล่าๆเข้าทำนอง เมื่อฝึกคล่องมหาสติชำนิชำนาญ.....ก็ไม่ยากเข้าออกในนอกรู้ สั้นยาวอยู่ตามติดจิตประสาน...รู้สึกตัวทั่วพร้อมย่อมไม่นาน ปัญญาญาณจะเกิดประเสริฐเอย......





Response no.23 From: เนิน นราธร
23 Dec 2003 13:24 #399116 delete

ทางสายเอกมหาสติปัฏฐาน4 เป็นหนทางราบเรียบ กว้างใหญ่ ลัดตัดตรงสู่พระนิพพาน ไม่มีใครไปนิพพานได้โดยไม่ผ่านทางสายเอกนี้ครับ.....ธรรมญาณบอกเทคนิคสำคัญเพิ่มเติมให้คือ ก่อนนั่งสมาธิให้เดินจงกรมก่อนอัตราส่วนเดิน3ชั่วโมง นั่ง1 ชั่วโมง จะพบเห็นอะไรแปลกๆ อาจพบถึงตัวรู้ได้โดยไม่ยากนัก ถ้าน้อยกว่านี้ก็คงลดลงตามส่วน.....เทคนิคสำคัญของหลวงพ่อจรัญฯคือยืนหนอ 5 ครั้ง หลายคนสำเร็จมรรค ผล ได้จากการ"ยืนหนอ"นี่เอง......การยืนไม่ยาก แต่การยืนนานๆเป็นชั่วโมงๆหรือ2-3ชั่วโมงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก มันเมื่อย มันปวด มันทรมานอย่าบอกใคร....บางคนก็ถนัดนั่งมากว่ายืนหรือเดิน ก็แล้วแต่ความชอบ ความถนัด ความเคยชินที่ฝึกหัดมาแต่ครั้งอดีตครับ อย่างไรก็ได้ขอให้ทำไปเถอะ.....ส่วนของหลวงปู่พุทธะอิสระเน้นที่การทำงานในชีวิตประจำวัน คือเน้นที่ตัวสติ+สัมปชัญญะนี่เอง เรียกว่าดูกัน ทำกันตลอด24ชั่วโมงเลยทีเดียว การทำงานคือการปฏิบัติธรรมเหมือนหลักการของท่านพุทธทาสนั่นแหละครับ หมายถึงการเจริญสติด้วยการดูอิริยาบถย่อยของตัวเรานั่นเองครับ ติดตามดูไปทุกฝีก้าว ทั้งกายและจิต ความคิด ความรู้สึก สัมผัส เย็น ร้อน อ่อน แข็ง......คนเราเมื่อมีสติรู้ทันทุกอย่างเสียแล้ว ก็ไม่มีโอกาสทำผิด ทำชั่วได้ ก็ทำแต่ความดี ทำแต่บุญกุศล เมื่อปัจจุบันดี อดีต อนาคตไม่ต้องพูดถึงกล่าวถึงก็ย่อมจะต้องดีตามไปด้วยอย่างไม่เป็นที่สงสัย นี่คือ ความไม่ประมาทของพุทธะ ผู้รู้ ผู้ตื่นและผู้เบิกบานครับ......





Response no.24 From: ธรรมญาณ
5 Feb 2004 09:16 #439979 delete

มหาสติ-ธาตุรู้ที่ยิ่งใหญ่......สติที่กำหนดรู้ในกายมีอยู่ 6 ขั้นตอน คือ1.รู้ลมหายใจเข้า-หายใจออก....เข้าสั้นออกยาวรู้ เข้ายาวออกสั้นก็รู้....2.รู้อิริยาบถ นั่ง-นอน-ยืน-เดิน.....ทั้ง4 ตามดู ตามรู้และตามเห็น....3.รู้สัมปชัญญะ....รู้ตัวทั่วพร้อม ในการคิด-พูด-เคลื่อนไหวในอิริยาบถต่างๆให้สัมพันธ์กัน กำลังเคลื่อนไหว คู้เข้า เหยียดออกให้ต่อเนื่อง.....4.รู้อาการ 32 ตลอดเวลา.....ผม-ขน-เล็บ-ฟัน-หนัง-กระดูก-ตับ-ไส้-ม้าม-ปอด-หัวใจ-อาหารเก่า-อาหารใหม่-น้ำเลือด-น้ำเหลืองต่างๆ-มันข้น-มันเหลว ฯลฯ5.รู้ธาตุทั้ง 6.....ธาตุดิน-น้ำ-ไฟ-ลม-วิญญาณธาตุ-และอากาศธาตุ...6.รู้จักอสุภะทั้ง 9.....ตั้งแต่เริ่มขาดลมหายใจ ขึ้นอืด ตัวพอง เขียวคล้ำ น้ำหนอง น้ำเลือด เปื่อย เน่า ผุ พัง สลายไปตามกาลเวลา จนกระทั่งเป็นฝุ่นละออง เหลือแต่อากาศธาตุ ความว่างเปล่า.....อาการทั้ง 6 ต้องเจริญปฏิบัติให้สัมพันธ์กันตลอดเวลา เพื่อละลายอัตตา ความยึด ความอยาก ความหลงผิด เป็นการค้นกายในกาย การเจริญสติในกาย ถือเป็นการปฏิบัติธรรมที่ลัดสั้นที่สุด ตรงที่สุด ละกาย ละรูป ละนาม คือความหลงที่ติดอยู่กับมายาของโลก ของอัตตาตัวตน ให้รู้เท่าทันการปรุงแต่งตัวเราของเรา ที่ฝังอยู่ในใจของมนุษย์ทุกรูปทุกนามครับ.....





Response no.25 From: ธรรมญาณ
9 Feb 2004 15:06 #444147 delete

อันความจริง จิตใจก็เปรียบดังแก้วเปล่าอยู่แล้ว แต่เมื่อทำมาเกิดในโลกก็ใส่ดิน-น้ำ-ไฟ-ลม ลงไป จนเกิดเป็นตัวตน เป็นชีวิตที่เล่นละครอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน เป็นนั่นเป็นนี่ เกิดเป็นคนโน้น คนนี้ ตามแต่เราจะสมมุติกันไป.....ทุกคนล้วนเกิดมาเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของละครที่เล่นอยู่บนพื้นพิภพนี้ชั่วครั้งชั่วคราว มิได้ชั่วตลอดไปหรือถาวร....เกิดมาแล้วก็กระทำถูกบ้าง ผิดบ้าง ล้วนแต่เป็นบทเรียน ให้มนุษย์ได้ศึกษา เพื่อดำรงให้อยู่ในโลกอย่างปกติสุข เพื่อเป็นครูสอนโลก......ตา-หู-จมูก-ลิ้น-กาย-ใจ คือครูทั้ง6ที่เป็นประตูเดินไปสู่ความสุขและความทุกข์ เป็นประตูที่เดินไปสู่นรก สวรรค์ พรหม และนิพพานถ้าหากท่านรู้ เป็นประตูที่เดินไปสู่ ผี เปรต อสุรกาย และสัตว์เดรัจฉานที่ท่านไม่รู้......
"มนุษย์จะหลุดพ้นจากความหลงไม่ได้ ถ้าไม่ละความเห็นผิด"........."มนุษย์จะหลุดพ้นจากความโกรธไม่ได้ ถ้าไม่ละความคิดผิด"....."มนุษย์จะหลุดพ้นจากความโลภไม่ได้ ถ้าไม่ละความเข้าใจผิด"....."โลภ-โกรธ-หลงคือตัวเราที่ไม่รู้จักตัวเอง."....."ตัวเรามีความคิด-การพูดและการกระทำ"......การแก้กรรม ต้องแก้ที่ความคิด การกระทำและคำพูด.....คิดดี-พูดดี-ทำดี คือ กรรมดี........คิดชั่ว-พูดชั่ว-ทำชั่ว คือ กรรมชั่ว......ท่านจะดีหรือชั่ว อยู่ที่ท่านเผลอ มีสติหรือไม่??





Response no.26 From: เนิน นราธร
27 Feb 2004 14:03 #468504 delete




**เคล็ดลับในการปฏิบัติให้ได้ผล**(หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม).....

ต้องย้ำไว้เป็นพิเศษสำหรับผู้ปฏิบัติปล่อยปละละเลยกันมาก ไม่ปฏิบัติกันโดยต่อเนื่อง เราจะเดินไปห้องน้ำ ห้องส้วม ให้เดินจงกรมไปและรับประทานอาหาร ก็ให้เราพิจารณาปัจจเวกขณ์ด้วยการกำหนด กินหนอ เคี้ยวหนอ กลืนหนอ เป็นต้นให้ช้าที่สุด อันนี้พิจารณาปัจจัยไปในตัวด้วย แต่งกายแต่งใจอยู่เสมอ.....ส่วนใหญ่แล้วผู้ปฏิบัติ จะทำโดยต่อเมื่อเดินจงกรม กับพองหนอยุบหนอเท่านั้น เพราะว่ายังไม่สามารถจะใช้ได้ ที่จะให้ได้นั้น ต้องกำหนดสิ่งแวดล้อมทั้งหมด การปฏิบัติของเราก็จะได้รับผลสมความมุ่งมาดปรารถนา.....ขอเจริญพรผู้ปฏิบัติธรรมทุกท่าน โปรดได้ปฏิบัติโดยต่อเนื่อง จะไปอยู่ในอิริยาบถใดก็ตาม ต้องกำหนดเรื่อยไป เป็นการสะสมเรื่อยไป และมันเกิดเต็มเปี่ยมขึ้นมาแล้ว มันจะเย็นอัตโนมัติ เห็นได้ชัดคือปัญญา.......





Response no.27 From: เนิน นราธร
1 Mar 2004 15:10 #470853 delete




(ต่อ.....เพราะฉะนั้น การเจริญวิปัสสนากับการศึกษาแบบอื่นต่างกัน ต้องทำขึ้นมาเอง ต้องทำไม่รู้ไม่ชี้ ฝากสิ่งทิฐิมานะเก็บไว้ใช้ในตัวเราที่แสดงออกด้วย กาย ด้วยวาจา ด้วยใจ แล้วใช้สติกำหนดไปตลอดภาวะของรูปนามขันธ์5เป็นอารมณ์ จึงจะเรียกว่า วิปัสสนากรรมฐาน แสดงผลงานของปัญญา
ให้ชัดแจ้งต่อไปด้วย......ผู้ปฏิบัติธรรม เดินจงกรมแล้วนั่งภาวนา นอนกำหนด เสร็จแล้ว เราก็มาที่ห้องพระ ถ้าไม่มีห้องพระตรงไหนก็ได้ อย่าลืมแผ่เมตตา โทรจิตอุทิศส่วนกุศลให้ผู้มีพระคุณ มีบิดามารดา เป็นต้น ตลอดจนเจ้ากรรมนายเวร บรรดาญาติทั้งหลายผู้ล่วงลับไปแล้ว และเจ้ากรรมนายเวรที่จะมาทวงถามเราอยู่ทุกขณะ เราจะได้ไม่ปฏิเสธ ใช้หนี้เวรหนี้กรรม จากการกระทำโดยอโหสิกรรมนั่นเอง ไม่โกรธ ไม่เกลียด ไม่อาฆาตเคียดแค้นต่อท่านผู้ใด กรรมนั้นเป็นอโหสิ ไม่มีเวรกรรมต่อเนื่องกันไป อันนี้ถือว่าเป็นประโยชน์สำหรับที่ได้มาเจริญวิปัสสนากรรมฐาน......

**อุทิศส่วนกุศล อโหสิกรรมทุกเวลา**

หลังจากนั้น ก็จงอุทิศส่วนกุศลและโทรจิตออกไปทุกทิศา อโหสิกรรมทุกเวลา ท่านจะได้รับผลทุกประการ จะทำกิจการงานทางโลกทางธรรม ทำแล้วไม่ไร้ผล จะเรียกเงินเรียกทองก็ได้ เรียกแบบไหน เพราะจิตใจของเราเข้าสู่ภาวะของผู้มีปัญญาแล้ว จะคิดอ่านอันใดสิ่งนั้นเป็นประโยชน์ สิ่งนั้นมีอานิสงส์ คิดเงินจะได้ไหลนอง คิดทองจะได้ไหลมา กิจการจะได้สำเร็จตามเป้าหมาย นี่เรียกว่าปัญญารอบรู้ในกองสังขาร รอบรู้ในเหตุการณ์ สามารถใช้ชีวิตให้เกิดประโยชน์ของตนเองและบุคคลทั่วไปได้ สมปรารถนาทุกประการ......จึงขอเจริญพรผู้ปฏิบัติธรรม อย่าคิดว่าเป็นเรื่องเหลวไหลและเป็นเรื่องทำง่ายนะ ทำยากที่สุด ถึงยากอย่างไรก็ตาม ก็พยายามทำ พยายามที่จะกำหนดและปรารภขันติ.....ความอดทนไว้ ฝืนใจไว้ให้ได้จนกว่าจะเคยชิน เข้าสู่ภาวะแห่งความสงบ นัตถิ สันติ ปะรัง สุขัง....สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี แล้วในโลกมนุษย์นี้ เอาไปใช้ให้เป็นประโยชน์ได้ทันเวลาทันท่วงทีทุกประการ นี่แหละเป็นอาวุธที่พระพุทธเจ้าทรงประทานไว้แก่เรา.......(หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม)





Response no.28 From: เนิน นราธร
2 Mar 2004 16:02 #471950 delete




**ข้อสำคัญของการเจริญวิปัสสนา**(หลวงพ่อจรัญฯ)

แต่ข้อใหญ่ใจความของการเจริญวิปัสสนานั้น ผู้ปฏิบัติธรรมอย่าลืมอีกอันหนึ่งคือ สัมผัสอายตนะ ต้องกำหนด ตา....เห็นรูป กำหนด หู...ได้ยินเสียง กำหนด จมูก....ได้กลิ่น กำหนด ลิ้น....รับรสกำหนด กาย...สัมผัสต้องกำหนด เพราะที่มาของทวารหก เป็นที่มาของกิเลส และเป็นที่มาของขันธ์5รูปนาม เกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน จำเป็นต้องกำหนดตลอดเวลา ให้เชี่ยวชาญและชำนาญทุกอย่าง หูได้ยินเสียงตั้งสติไว้.....การกำหนด ก็คือ ตัวตั้งสตินั่นเอง ปัญญาก็บอกได้ในการฟังจากเรื่องต่างๆที่เกิดขึ้น เกิดปัญญาในการฟัง ตาเห็นรูปก็ดี ตั้งสติไว้ที่หน้าผาก กำหนดเสียให้ได้ในการสัมผัส รับรองปัญญาก็เกิดสะสมเข้าไว้เป็นหน่วยกิต และมาเดินจงกรม นั่งภาวนา รับรองได้ไว.......





Response no.29 From: เนิน นราธร
26 Apr 2004 20:26 #526071 delete




วิธีปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแบบพระอาจารย์โชดก ญาณสิทธิ แห่งวัดมหาธาตุ(หลวงพ่อหนอ)

1.ให้เดินจงกรม-เช่นขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ มีวิธีเดิน วิธีกลับ
2.วิธีนั่ง-เช่นเวลานั่ง ให้กำหนดท้องที่พองยุบว่า พองหนอ ยุบหนอและมีวิธีนอน
3.ให้กำหนดเวทนาต่างๆ เช่น เวลาเจ็บให้กำหนดว่า เจ็บหนอๆ เป็นต้น
4.ให้กำหนดจิตในเวลานึกคิดอารมณ์ต่างๆ เช่น เวลาคิดให้กำหนดว่า คิดหนอๆ เป็นต้น
5.ให้กำหนดตามทวารทั้ง 6 คือ ตา-หู-จมูก-ลิ้น-กาย-ใจ ตัวอย่าง
5.1 เวลาเห็น -ให้กำหนดว่า เห็นหนอ เห็นหนอ
5.2 เวลาได้ยิน - ให้กำหนดว่า ได้ยินหนอ ได้ยินหนอ
5.3 เวลาได้กลิ่น-ให้กำหนดว่า ได้กลิ่นหนอ ได้กลิ่นหนอ
5.4 เวลาได้รส -ให้กำหนดว่า รสหนอ รสหนอ
5.5 เวลาถูกต้อง- เย็น-ร้อน-อ่อน-แข็ง ให้กำหนดว่า ถูกหนอ ถูกหนอ
5.6 เวลาคิด - ให้กำหนดว่า คิดหนอ คิดหนอ
6.ให้กำหนดอิริยาบถย่อย เช่น ก้าวไป ถอยกลับ เหลียวซ้าย แลขวา คู้ เหยียด พาดสังฆาฏิ ถือบาตร ห่มจีวร นุ่งผ้า กินดื่ม เคี้ยว ลิ้ม ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ ยืน เดิน นั่ง นอน หลับตื่น พูด นิ่ง เป็นต้น
หมายเหตุ ในวันแรกๆถ้าคนมีปริยัติ(ความรู้ทฤษฎี)น้อย หรือคนมีอายุ ให้ปฏิบัติเพียงแค่ เดินจงกรม นั่งกำหนดท้องพองยุบ กำหนดเวทนา และจิต เท่านี้ก็พอแล้ว ในวันต่อๆไปจึงค่อยเพิ่มขึ้นโดยลำดับ แม้คนหนุ่มหรือเด็กๆก็อนุโลมตามนี้ได้.......





Response no.30 From: เนิน นราธร-ธรรมญาณและคณะ
27 Apr 2004 20:53 #527072 delete

พระพุทธวัจนะกล่าวไว้ว่า......

"ยถาปิ สัพพะสัตตานัง มรณัง ธุวสัสสตัง ตะเถวะ พุทะเสฏฐานัง วจนัง ธุวสัสสตัง"......
ความตายของสัตว์ทั้งหลาย เป็นของยั่งยืน และแน่นอนฉันใด พระดำรัสสของพระพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐสุดก็ยั่งยืนและแน่นอน ฉันนั้นเหมือนกัน........

"เยนวะ ยันติ นิพพานัง พุทธา เตสัญจะ สาวะกา เอกายะเนนะ มัคเคนะ สะติปัฏฐานะสัญญินา"

พระพุทธเจ้าและเหล่าพระสาวก ได้ดำเนินไปสู่พระนิพพานด้วยทางเส้นใด ทางเส้นนั้น คือ สติปัฏฐาน4 เป็นทางสายเอก ได้แก่ การเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั่นเอง......การเข้าถึงพระพุทธศาสนานั้น ต้องเขาถึงด้วยหลัก3ประการ คือ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ......
"ปริยัติ" เปรียบเหมือนแผนที่ เป็นเพียงภาคทฤษฎีเท่านั้น
"ปฏิบัติ" เปรียบเหมือนการเดินทางตามแผนที่
"ปฏิเวธ" เปรียบเหมือนการถึงจุดหมายปลายทางตามที่แผนที่ชี้บอกไว้....ทางไปนิพพานคือการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ตามที่กล่าวมาแล้วเป็นลำดับมา เป็นแนวทางเดียวกันทั้งสิ้น คือ สติ-สัมปชัญญะ-สมาธิ-ปัญญา แนวทางนี้มีความงามถึง3อย่างคือภาคปริยัติ งามในเบื้องต้น ภาคปฏิบัติ งามในท่ามกลางและภาคปฏิเวธ งามในที่สุด ผู้ที่มีความตั้งใจจริงที่จะไปนิพพานในชาตินี้ หลวงพ่อพระอาจารย์โชดกฯมีแบบฝึกหัดภาคปฏิบัติที่รับรองผลได้ถึง 16 แบบฝึกหัดเป็นลำดับๆไป ขอเชิญติดตามได้ต่อไปครับ.......





Response no.31 From: เนิน นราธร
27 Apr 2004 21:09 #527088 delete




ในขั้นต่อๆไป พระอาจารย์โชดกฯขอให้ผู้ปฏิบัติควรปฏิบัติตามแบบฝึกหัด ดังต่อไปนี้.......

แบบฝึกหัดที่ 1

1.เวลานั่ง......ให้กำหนดที่ท้อง ซึ่ง"พองขึ้น"ในเวลาหายใจเข้า และ"ยุบลง" ในเวลาหายใจออก นึกอยู่ในใจว่า "พองหนอ! ยุบหนอ! "ตามจังหวะที่ท้องพองและยุบ
2.เวลานอน......ก็ให้กำหนดที่ท้องว่า "พองหนอ! ยุบหนอ!"เช่นเดียวกัน
3.เวลายืน......ให้กำหนดว่า"ยืนหนอ! ยืนหนอ!"
4.เวลาเดินจงกรม.....ให้กำหนดเป็นระยะ คือ....
ขณะก้าวเท้าขวา ให้กำหนดว่า "ขวาย่างหนอ!" ขณะก้าวเท้าซ้าย ให้กำหนดว่า "ซ้ายย่างหนอ!" ทอดสายตาไปประมาณ 4 ศอก เมื่อเดินไปจนสุดที่จงกรม จึงกลับให้ยืน แล้วกำหนดว่า "ยืนหนอ!ยืนหนอ!" ต่อนั้นเอี้ยวตัวกลับ ขณะเอี้ยวตัวกลับ ให้กำหนดว่า "กลับหนอ!กลับหนอ!" เมื่อกลับแล้วยืนอยู่ ให้กำหนดว่า "ยืนหนอ!" เมื่อเดินจงกรมต่อไป ก็ให้กำหนดเหมือนเดิมอีก.....แต่ละแบบ ต้องทำให้ชำนาญคล่องแคล่ว จนได้สมาธิดีก่อนแล้ว จึงทำแบบฝึกหัดต่อๆไป......





Response no.32 From: เนิน นราธร
11 May 2004 20:35 #539572 delete




แบบฝึกหัดที่ 2

1.เวลานั่ง ให้กำหนดเป็น 3 ระยะ คือ "พองหนอ-ยุบหนอ-นั่งหนอ"........
2.เวลานอน ให้กำหนดเป็น 3 ระยะ คือ "พองหนอ-ยุบหนอ-นอนหนอ".....
3.เวลายืน ให้กำหนดว่า "ยืนหนอ-ยืนหนอ"เท่านั้น จนกว่าจะเดินหรือนั่ง........
4.เวลาเดิน ให้ทำตามแบบฝึกหัดที่ 1 ประมาณ 30 นาทีก่อน แล้วให้เปลี่ยนวิธีกำหนดใหม่ คือ ขณะก้าวเท้าขวาหรือซ้ายไปนั้น ให้กำหนดเป็น 2 ระยะว่า "ยกหนอ-เหยียบหนอ"ประมาณ 30 นาที.......

ตัวอย่าง.........
ก.ให้กำหนดว่า "ขวาย่างหนอ-ซ้ายย่างหนอ"ประมาณ 30 นาที.........
ข.ให้กำหนดว่า"ยกหนอ-เหยียบหนอ"ประมาณ 30 นาที.......





Response no.33 From: เนิน นราธร
11 May 2004 20:43 #539577 delete

หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม พระวิปัสสนาจารย์ของผมท่านย้ำความสำคัญของ"ยืนหนอ 5ครั้ง"เป็นอย่างมาก ท่านบอกว่ามีบางคนได้ดวงตาเห็นธรรมจาก"ยืนหนอ"นี่เอง เช่น หมอบุญส่งตาทิพย์ที่ขอนแก่น ก็ได้เพราะ"ยืนหนอ"นี่แหละ และสามารถติดต่อ"โทรจิต"กับหลวงพ่อได้ทุกเวลาด้วย ผมเองเคยไปเยี่ยมพบกับหมอบุญส่งมาแล้วหลายครั้ง ปัจจุบันท่านก็ยังรับใช้ช่วยหาคนมาฝึกอบรมวิปัสสนาที่วัดอัมพวันและวัดเวฬุวัน พร้อมทั้งเผยแพร่วิชาของหลวงพ่ออีกด้วยครับ......





Response no.34 From: เนิน นราธร
15 May 2004 16:33 #542591 delete

แบบฝึกหัดที่ 3

1.เวลานั่ง ให้กำหนดเป็น 4 ระยะ คือ "พองหนอ-ยุบหนอ-นั่งหนอ-ถูกหนอ".....ใจเพ่งตรงที่ถูกนั้น เป็นวงกลมประมาณเท่าเหรียญ1บาท ให้จิตจ่ออยู่ตรงนั้น
2.เวลานอน ให้กำหนดเป็น4ระยะ คือ "พองหนอ-ยุบหนอ-นอนหนอ-ถูกหนอ"
3.เวลายืน ให้กำหนดว่า "ยืนหนอ-ยืนหนอ"
4.เวลาเดิน ให้ทำตามแบบฝึกหัดที่1-2 ก่อน ประมาณแบบละ20นาที แล้วให้เปลี่ยนวืธีกำหนดใหม่ คือขณะก้าวเท้าขวาหรือซ้ายไปนั้น ให้กำหนดเป็น3ระยะ "ยกหนอ-ย่างหนอ-เหยียบหนอ"........
ตัวอย่าง
ก.ให้กำหนดว่า "ขวาย่างหนอ-ซ้ายย่างหนอ"ประมาณ 20นาที
ข.ให้กำหนดว่า "ยกหนอ-เหยียบหนอ"ประมาณ 20 นาที
ค.ให้กำหนดว่า "ยกหนอ-ย่างหนอ-เหยียบหนอ"ประมาณ 20 นาที......





Response no.35 From: เนิน นราธร
19 May 2004 09:43 #545526 delete

แบบฝึกหัดที่ 4
1.เวลานั่ง.....ให้กำหนดเป็น4ระยะ คือ "พองหนอ-ยุบหนอ-นั่งหนอ-ถูกหนอ"เหมือนแบบที่3
2.เวลานอน.....ให้กำหนดเป็น4ระยะ คือ "พองหนอ-ยุบหนอ-นอนหนอ-ถูกหนอ"
3.เวลายืน......ให้กำหนดว่า "ยืนหนอ-ยืนหนอ"
4.เวลาเดิน.....ให้ทำตามแบบฝึกหัดที่1-2-3 ก่อนประมาณแบบละ 20 นาที แล้วก็เปลี่ยนวิธีกำหนดใหม่คือ ก้าวเท้าขวาหรือซ้ายไป ให้กำหนดเป็น 4 ระยะ ว่า "ยกส้นหนอ-ยกหนอ-ย่างหนอ-เหยียบหนอ"ประมาณ 30 นาที
ตัวอย่าง
ก.ให้กำหนดว่า "ขวาย่างหนอ-ซ้ายย่างหนอ"ประมาณ 20 นาที
ข.ให้กำหนดว่า "ยกหนอ-เหยียบหนอ"ประมาณ 20 นาที
ค.ให้กำหนดว่า "ยกหนอ-ย่างหนอ-เหยียบหนอ"ประมาณ 20 นาที
ฆ.ใหกำหนดว่า"ยกส้นหนอ-ยกหนอ-ย่างหนอ-เหยียบหนอ"ประมาณ 20 นาที......





Response no.36 From: เนิน นราธร
22 May 2004 17:22 #548396 delete




แบบฝึกหัดที่ 5

1.เวลานั่ง ให้กำหนดเป็น 4 ระยะ คือ "พองหนอ -ยุบหนอ-นั่งหนอ-ถูกหนอ" กายถูกที่ไหน ให้กำหนดที่นั้น
ตัวอย่าง
(1)"พองหนอ-ยุบหนอ-นั่งหนอ-ถูกหนอ"หมายถึง ก้นกบซ้ายถูก
(2)"พองหนอ-ยุบหนอ-นั่งหนอ-ถูกหนอ" หมายถึง ก้นกบขวาถูก
(3)"พองหนอ-ยุบหนอ-นั่งหนอ-ถูกหนอ" หมายถึง เข่าขวาถูก
(4)"พองหนอ-ยุบหนอ-นั่งหนอ-ถูกหนอ" หมายถึง เข่าซ้ายถูก
(5)"พองหนอ-ยุบหนอ-นั่งหนอ-ถูกหนอ" หมายถึง ตาตุ่มขวาถูก
(6)"พองหนอ-ยุบหนอ-นั่งหนอ-ถูกหนอ" หมายถึง ตาตุ่มซ้ายถูก
2.เวลานอน ให้กำหนดเป็น 4 ระยะ เช่นกัน คือ "พองหนอ-ยุบหนอ-นอนหนอ-ถูกหนอ" เป็นต้น
3.เวลายืน ให้กำหนดว่า "ยืนหนอ-ยืนหนอ"
4.เวลาเดิน ให้ทำตามแบบฝึกหัดที่1-2-3-4 แบบละ 20นาที แล้วให้เปลี่ยนวิธีกำหนดใหม่ คือ ขณะก้าวเท้าขวาหรือซ้ายไป ให้กำหนดเป็น 5 ระยะ ว่า "ยกส้นหนอ-ยกหนอ-ย่างหนอ-ลงหนอ-ถูกหนอ"ประมาณ 20 นาที

ตัวอย่าง
ก.ให้กำหนดว่า "ขวาย่างหนอ-ซ้ายย่างหนอ" ประมาณ 20 นาที
ข.ให้กำหนดว่า "ยกหนอ-เหยียบหนอ" ประมาณ20นาที
ค.ให้กำหนดว่า "ยกหนอ-ย่างหนอ-เหยียบหนอ"ประมาณ 20 นาที
ฆ.ให้กำหนดว่า "ยกส้นหนอ-ยกหนอ-ย่างหนอ-เหยียบหนอ"ประมาณ 20 นาที
ง.ให้กำหนดว่า "ยกส้นหนอ-ยกหนอ-ย่างหนอ-ลงหนอ-ถูกหนอ"ประมาณ 20 นาที





Response no.37 From: เนิน นราธร/ชัย กรุงศรี
26 May 2004 09:32 #551488 delete

แบบฝึกหัดที่ 6

1.เวลานั่ง ให้กำหนดดังนี้ คือ
(1)"พองหนอ-ยุบหนอ-นั่งหนอ-ถูกหนอ"หมายถึง ก้นกบข้างขวาถูก
(2)"พองหนอ-ยุบหนอ-นั่งหนอ-ถูกหนอ" หมายถึง ก้นกบซ้ายถูก
(3)"พองหนอ-ยุบหนอ-นั่งหนอ-ถูกหนอ" หมายถึง เข่าขวาถูก
(4)"พองหนอ-ยุบหนอ-นั่งหนอ-ถูกหนอ" หมายถึง เข่าซ้ายถูก
(5)"พองหนอ-ยุบหนอ-นั่งหนอ-ถูกหนอ" หมายถึง ตาตุ่มขวาถูก
(6)"พองหนอ-ยุบหนอ-นั่งหนอ-ถูกหนอ" หมายถึง ตาตุ่มซ้ายถูก
(7)"พองหนอ-ยุบหนอ-นั่งหนอ-ถูกหนอ" ถูกจี้ไปตามตัวเป็นแห่งๆไป
2.เวลานอน ให้กำหนดดังนี้ คือ "พองหนอ-ยุบหนอ-นอนหนอ-ถูกหนอ"
3.เวลายืน ให้กำหนดว่า "ยืนหนอ-ยืนหนอ"
4.เวลาเดิน ให้กำหนดดังนี้..
(ก)ให้กำหนดว่า "ขวาย่างหนอ-ซ้ายย่างหนอ"ประมาณ 10 นาที
(ข)ให้กำหนดว่า "ยกหนอ-เหยียบหนอ"ประมาณ 10 นาที
(ค)ให้กำหนดว่า"ยกหนอ-ย่างหนอ-เหยียบหนอ"ประมาณ 10 นาที
(ฆ)ให้กำหนดว่า"ยกส้นหนอ-ยกหนอ-ย่างหนอ-ลงหนอ-ถูกหนอ"ประมาณ 10 นาที
(ง)ให้กำหนดว่า "ยกส้นหนอ-ยกหนอ-ย่างหนอ-ลงหนอ-ถูกหนอ"ประมาณ 10 นาที
(จ)ให้กำหนดเพิ่มใหม่เป็น 6 ระยะว่า "ยกส้นหนอ-ยกหนอ-ย่างหนอ-ลงหนอ-ถูกหนอ-กดหนอ"ประมาณ 10 นาที






Response no.38 From: TEST
31 May 2004 15:30 #556107 delete

ทดลอง





Response no.39 From: เนิน นราธร
12 Jun 2004 11:20 #568032 delete




แบบฝึกหัดที 7

เมื่อเดินจงกรมไปสุดทางแล้วหยุดยืน จะหันกลับเวลาหยุด ให้กำหนดว่า "อยากหยุดหนอ-อยากหยุดหนอ" เวลาหยุด ให้กำหนดว่า "หยุดหนอ-หยุดหนอ" เวลาจะกลับ ให้กำหนดว่า "อยากกลับหนอ-อยากกลับหนอ" เวลากลับ ให้กำหนดว่า "กลับหนอ-กลับหนอ" เวลายืนอยู่ ให้กำหนดว่า "ยืนหนอ-ยืนหนอ" แล้วจึงเดินและกำหนดเหมือนอย่างกล่าวแล้วต่อไป
1.เวลาจะเหลียวซ้ายแลขวา เป็นต้น ให้กำหนดว่า "อยากเหลียวหนอๆ" ขณะเหลียว ให้กำหนดว่า "เหลียวหนอๆ"
2.เวลาจะคู้ จะเหยียด ให้กำหนดว่า "อยากคู้หนอๆ อยากเหยียดหนอๆ" ขณะคู้หรือเหยียด ให้กำหนดว่า "คู้หนอๆเหยียดหนอๆ"
3.เวลาจะจับสิ่งของต่างๆ เช่น จับผ้านุ่งผ้าห่ม บาตร ถ้วย โถ โอ จาน เป็นต้น ให้กำหนดว่า "เห็นหนอ-อยากจับหนอ" ขณะยื่นมือไป ให้กำหนดว่า "ไปหนอ" เวลาถูก ให้กำหนดว่า "ถูกหนอ" ขณะจับ ให้กำหนดว่า "จับหนอ" ขณะจับของแล้วหยิบยกมา ให้กำหนดว่า "มาหนอ-มาหนอ" เป็นต้น
4.เวลาบริโภคอาหารหรือดื่ม เคี้ยว ลิ้ม เลีย ให้กำหนดว่าทำนองเดียวกัน

ตัวอย่าง
(1)ขณะเห็นอาหาร ให้กำหนดว่า "เห็นหนอๆ"
(2)ขณะอยาก ให้กำหนดว่า "อยากหนอๆ"
(3)ขณะยื่นมือไป ให้กำหนดว่า "ไปหนอๆ"
(4)ขณะมือถูก ให้กำหนดว่า "ถูกหนอๆ"
(5)ขณะจับ ให้กำหนดว่า "จับหนอๆ"
(6)ขณะยกขึ้น ให้กำหนดว่า "ยกหนอๆ"
(7)ขณะอ้าปาก ให้กำหนดว่า "อ้าหนอๆ"
(8)ขณะถูกปาก ให้กำหนดว่า "ถูกหนอๆ"
(9)ขณะเคี้ยว ให้กำหนดว่า "เคี้ยวหนอๆ"
(10)ขณะกลืน ให้กำหนดว่า "กลืนหนอๆ"
(11)ขณะหมด ให้กำหนดว่า "หมดหนอๆ"

5.เวลาถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ ให้กำหนดว่า "อยากถ่ายหนอ" กำลังถ่าย ให้กำหนดว่า "ถ่ายหนอๆ"
6.เวลาจะเดิน ยืน นั่ง จะหลับ ตื่น พูด นิ่ง ให้กำหนดว่า "อยากเดินหนอ-อยากยืนหนอ-อยากนั่งหนอ-อยากหลับหนอ-ตื่นหนอ-อยากพูดหนอ-นิ่งหนอๆ"





Response no.40 From: เนิน นราธร
16 Jun 2004 15:36 #572121 delete

///สติปัฏฐานสี่///

สติปัฏฐานสี่......ฐานนั้นมีสี่ฐานบันดาลผล
หนึ่งกายาฯดูกายทั้งล่างบน ละเอียดจนกายในกายซ้อนหลายเชิง.......สองเวทนาฯหนาวเหน็บความเจ็บปวด แสนร้าวรวดหลากอารมณ์ชมอย่าเหลิง มีทั้งสุขทุกข์ผสมกันมีชั้นเชิง อย่าบันเทิงดูให้เป็นว่าเช่นไร? เวทนาเป็นประตูระลึกชาติ ต้องเด็ดขาดปวดปักลงที่ตรงไหน ปวดนั้นปวดตามร่างปวดอย่างไร? ปวดแค่ไหน?ตามดูให้รู้ดี จิตตามดูความผ่อนคลายจนหายปวด ไม่มีชวดผลสำเร็จวิเศษศรี ครูมาสอนทดลองเป็นของดี มารมากมียิ่งเสร็จสำเร็จเร็ว........สามจิตตาฯดูจิตคิดละเอียด ละไมละเมียดสนใจอย่าให้เหลว เป็นกุศลอกุศลมีผลเลว จิตตกเหวจิตหลุดพ้นเวียนวนมอง......
สี่ธัมมาฯพิจารณาธรรมประจำจิต ค้นมาคิดสุดดีไม่มีสอง ตีให้แตกทุกกระบวนถ้วนที่มอง จะพบทองสุกใสในจิตเอง......







Response no.41 From: เนิน นราธร
20 Jun 2004 08:34 #575825 delete




$$$$$ แบบฝึกหัดที่ 8 $$$$$

1.ขณะเห็น ให้กำหนดว่า "เห็นหนอ ๆ"
2.ขณะได้ยิน ให้กำหนดว่า "ได้ยินหนอ ๆ"
3.ขณะได้กลิ่น ให้กำหนดว่า "ได้กลิ่นหนอ ๆ"
4.ขณะลิ้มรส ให้กำหนดว่า "รสหนอ ๆ"
5.ขณะกายถูกต้อง ให้กำหนดว่า "ถูกหนอ ๆ"
6.ขณะคิด ให้กำหนดว่า "คิดหนอ ๆ"





Response no.42 From: ศากยะบุตร
11 Oct 2004 20:49 #693687 delete

.......ยังมีต่อ ในกระทู้ ทางสายเอก(ต่อ)จนจบบริบูรณ์ครับ.........โปรดติดตามต่อไปด้วยครับ.........






โดย: พุทธญาณ-ธรรมญาณbuddhayan@thai.com (AmataMahaNippan ) วันที่: 23 มกราคม 2549 เวลา:17:25:56 น.  

 
น่าสนใจทีเดียวค่ะ


โดย: ขนุนนาง วันที่: 23 มกราคม 2549 เวลา:18:12:58 น.  

 


กระทู้เรื่องทางสายเอกหรือมหาสติปัฏฐาน4 ในBuddhapoem.comสำคัญและได้รับความสนใจอย่างมาก จึงสำเนามาเก็บไว้เผยแพร่ที่นี่ด้วย นอกจากนี้ยังได้ร้อยกรองไว้เป็นบทกลอนมีทั้งขนาดสั้นและยาว หัวข้อชื่อเหมือนอย่างนี้แหละครับ เป็นเรื่องของการปฏิบัติล้วนๆครับ.....ชัย กรุงศรี
โดย: chai_krungsri@yahoo.com [25 ก.ย. 48 22:53] ( IP A:202.47.238.147 X: )

--------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นที่ 10

บทกลอนเรื่องทางสายเอก/มหาสติปัฏฐาน 4ภาคลัดสั้น และภาคสมบูรณ์ ผมประพันธ์ไว้ เพื่ออนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาทำความเข้าใจ และนำไปปฏิบัติได้เลย โดยนำหลักการวิธีปฏิบัติมาจากวิปัสสนาจารย์ ครูอาจารย์ที่แนะนำสั่งสอนมาคือ คุณแม่ ดร.สิริ กรินชัย หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม และพระอาจารย์เจ้าคุณโชดก ญาณสิทธิ รวมทั้งประสบการณ์ตรงจากการปฏิบัติของผมเองเป็นเวลาต่อเนื่องยาวนานกว่า 15 ปี.....




โดย: พุทธญาณbuddhayan@gmail.com (AmataMahaNippan ) วันที่: 23 มกราคม 2549 เวลา:18:20:04 น.  

 



มหาสติปัฏฐานสูตร
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เป็นที่ไปของบุคคลผู้เดียว เป็นที่ไปในที่แห่งเดียว
- เพื่อความหมดจดวิเศษของสัตว์ทั้งหลาย
- เพื่อความก้าวล่วงซึ่งความโศกและความร่ำไร
- เพื่ออัศดงค์ดับไปแห่งทุกข์และโทมนัส
- เพื่อบรรลุญายธรรม (ธรรมที่ควรรู้ ธรรมที่ถูก คือ อริยมรรค)
- เพื่อกระทำพระนิพพานให้แจ้ง

ทางนี้คือ สติปัฏฐาน ๔ อย่าง

๑. พิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆอยู่
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆอยู่
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆอยู่
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆอยู่

ข้อ ๑. พิจารณาเห็นกายในกาย

๑.๑ พิจารณากองลม แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่ระลึกอาศัย เธอย่อมไม่ติดอยู่ด้วย ย่อมไม่ยึดถืออะไรๆในโลกด้วย

๑.๒ พิจารณาอิริยาบถ

๑.๓ มีสัมปชัญญะ

๑.๔ กำหนดด้วยกายเป็นของปฏิกูล

๑.๕ กำหนดด้วยธาตุ (คือธาตุสี่)

๑.๖ ข้อกำหนดด้วยป่าช้า ๙ ข้อ
โดย: เจ๊ปุ๊ก [1 ก.พ. 49 19:31] ( IP A:202.28.180.201 X: )

--------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นที่ 1
ข้อ ๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา (ความเสวยอารมณ์)

๒.๑ สุขเวทนา

๒.๒ ทุกขเวทนา

๒.๓ อทุกขมสุขเวทนา
โดย: เจ๊ปุ๊ก [1 ก.พ. 49 19:34] ( IP A:202.28.180.201 X: )

--------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นที่ 2
ข้อ ๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต

๓.๑ รู้ว่าจิตมีกิเลส คือ
- ราคะ
- โทสะ
- โมหะ
- โลภะ
- หดหู่
- ฟุ้งซ่าน
- จิตเป็นมหรคต = ความเป็นใหญ่ หมายเอาจิตที่เป็นฌานหรือเป็นอัปปมัญญา พรหมวิหาร
- จิตเป็นสอุตตระ = กามาวจรจิต มีจิตอื่นยิ่งกว่า ไม่ถึงอุปจารสมาธิ
- จิตเป็นอนุตตระ = กามาวจรจิต ไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า หมายเอาอุปจารสมาธิ
- จิตตั้งมั่น
- จิตวิมุติ

โดยพิจารณาเห็นความเกิดขึ้น ความเสื่อมไป มีสติว่าจิตมีอยู่ เข้าไปตั้งอยู่เฉพาะหน้าแก่เธอ, สักแต่ว่ารู้, สักแต่ว่าเป็นที่อาศัยระลึก, ย่อมไม่ติดอยู่ ย่อมไม่ยึดถือ ให้พิจารณาเห็นเนืองๆ
โดย: เจ๊ปุ๊ก [1 ก.พ. 49 19:45] ( IP A:202.28.180.201 X: )

--------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นที่ 3
ข้อ ๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรม

๔.๑ พิจารณานิวรณ์ ๕
- กามฉันท์ = ความพอใจในกามารมณ์
- พยาบาท = ความคิดแช่งสัตว์ให้พินาศ
- ถีนมิทธะ = ความคร้านและง่วงเหงา
- อุทธัจจกุกกุจจะ = ความฟุ้งซ่านและรำคาญใจ
- วิจิกิจฉา = ความเคลือบแคลงสงสัย

รู้ว่ามีเกิดขึ้น, หรือไม่มี, รู้ว่าจะเกิดขึ้นด้วยประการใด, รู้ละอย่างไร, ทำอย่างไรไม่เกิดขึ้น

๔.๒ รู้ว่าจิตมีอุปาทานขันธ์ ๕
- รู้ว่าอย่างนี้คือ รูป (สิ่งที่ทรุดโทรม), อย่างนี้ความเกิดขึ้นของรูป, อย่างนี้ความดับของรูป
- รู้ว่าอย่างนี้คือ เวทนา (ความเสวยอารมณ์), อย่างนี้ความเกิดขึ้นของเวทนา, อย่างนี้ความดับของเวทนา
- รู้ว่าอย่างนี้คือ สัญญา (ความจำ), อย่างนี้ความเกิดขึ้นของสัญญา, อย่างนี้ความดับของสัญญา
- รู้ว่าอย่างนี้คือ สังขาร (ความคิด), อย่างนี้ความเกิดขึ้นของสังขาร, อย่างนี้ความดับของสังขาร
- รู้ว่าอย่างนี้คือ วิญญาน (ความรู้สึก), อย่างนี้ความเกิดขึ้นของวิญญาน, อย่างนี้ความดับของวิญญาน

สักแต่ว่ารู้, สักแต่ว่าอาศัยระลึก, ย่อมไม่ติดอยู่, ย่อมไม่ยึดถือ
โดย: เจ๊ปุ๊ก [1 ก.พ. 49 19:59] ( IP A:202.28.180.201 X: )

--------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นที่ 4
๔.๓ พิจารณาอายตนะภายใน ๖ และอายตนะภายนอก ๖

- รู้จักตา รู้จักรูป อนึ่ง สังโยชน์ (เครื่องผูกมัด) ย่อมเกิดขึ้น อาศัยตาและรูปทั้งสองนั้นอันใด ย่อมรู้จักอันนั้น อนึ่ง สังโยชน์อันยังไม่เกิดประการใด ย่อมรู้จักประการนั้น ความละสังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้วเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้จักประการนั้น อนึ่ง ความที่สังโยชน์อันตนละเสียแล้ว ย่อมไม่เกิดขึ้นต่อไปได้ด้วยประการใด ย่อมรู้จักประการนั้น

- รู้จักหู รู้จักเสียง อนึ่ง สังโยชน์ (เครื่องผูกมัด) ย่อมเกิดขึ้น อาศัยหูและเสียงทั้งสองนั้นอันใด ย่อมรู้จักอันนั้น อนึ่ง สังโยชน์อันยังไม่เกิดประการใด ย่อมรู้จักประการนั้น ความละสังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้วเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้จักประการนั้น อนึ่ง ความที่สังโยชน์อันตนละเสียแล้ว ย่อมไม่เกิดขึ้นต่อไปได้ด้วยประการใด ย่อมรู้จักประการนั้น

- รู้จักจมูก รู้จักกลิ่น อนึ่ง สังโยชน์ (เครื่องผูกมัด) ย่อมเกิดขึ้น อาศัยจมูกและกลิ่นทั้งสองนั้นอันใด ย่อมรู้จักอันนั้น อนึ่ง สังโยชน์อันยังไม่เกิดประการใด ย่อมรู้จักประการนั้น ความละสังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้วเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้จักประการนั้น อนึ่ง ความที่สังโยชน์อันตนละเสียแล้ว ย่อมไม่เกิดขึ้นต่อไปได้ด้วยประการใด ย่อมรู้จักประการนั้น

- รู้จักลิ้น รู้จักรส อนึ่ง สังโยชน์ (เครื่องผูกมัด) ย่อมเกิดขึ้น อาศัยลิ้นและรสทั้งสองนั้นอันใด ย่อมรู้จักอันนั้น อนึ่ง สังโยชน์อันยังไม่เกิดประการใด ย่อมรู้จักประการนั้น ความละสังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้วเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้จักประการนั้น อนึ่ง ความที่สังโยชน์อันตนละเสียแล้ว ย่อมไม่เกิดขึ้นต่อไปได้ด้วยประการใด ย่อมรู้จักประการนั้น

- รู้จักกาย รู้จักโผฏฐัพพะ (สิ่งที่พึงถูกต้องด้วยกาย) อนึ่ง สังโยชน์ (เครื่องผูกมัด) ย่อมเกิดขึ้น อาศัยกายและโผฏฐัพพะทั้งสองนั้นอันใด ย่อมรู้จักอันนั้น อนึ่ง สังโยชน์อันยังไม่เกิดประการใด ย่อมรู้จักประการนั้น ความละสังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้วเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้จักประการนั้น อนึ่ง ความที่สังโยชน์อันตนละเสียแล้ว ย่อมไม่เกิดขึ้นต่อไปได้ด้วยประการใด ย่อมรู้จักประการนั้น

- รู้จักใจ รู้จักธรรมารมณ์ (สิ่งที่พึงรู้ได้ด้วยใจ) อนึ่ง สังโยชน์ (เครื่องผูกมัด) ย่อมเกิดขึ้น อาศัยใจและธรรมารมณ์ทั้งสองนั้นอันใด ย่อมรู้จักอันนั้น อนึ่ง สังโยชน์อันยังไม่เกิดประการใด ย่อมรู้จักประการนั้น ความละสังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้วเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้จักประการนั้น อนึ่ง ความที่สังโยชน์อันตนละเสียแล้ว ย่อมไม่เกิดขึ้นต่อไปได้ด้วยประการใด ย่อมรู้จักประการนั้น

๔.๔ พิจารณาโพชฌงค์ (องค์แห่งปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ ๗ อย่าง)

- เมื่อมีสติสัมโพชฌงค์ (องค์แห่งปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้คือสติ) มี ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่ามีสติสัมโพชฌงค์มีในจิต รู้ว่าสติสัมโพชฌงค์ไม่มีในจิต รู้ว่าสติสัมโพชฌงค์อันยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นด้วยประการใด รู้ว่าความเจริญบริบูรณ์ของสติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วเป็นประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้น

- เมื่อมีธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ (องค์แห่งปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้คือความเลือกเฟ้นธรรม) มี ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่ามีธัมมวิจยสัมโพชฌงค์มีในจิต รู้ว่าธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ไม่มีในจิต รู้ว่าธัมมวิจยสัมโพชฌงค์อันยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นด้วยประการใด รู้ว่าความเจริญบริบูรณ์ของธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วเป็นประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้น

- เมื่อมีวิริยสัมโพชฌงค์ (องค์แห่งปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้คือความเพียร) มี ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่ามีวิริยสัมโพชฌงค์มีในจิต รู้ว่าวิริยสัมโพชฌงค์ไม่มีในจิต รู้ว่าวิริยสัมโพชฌงค์อันยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นด้วยประการใด รู้ว่าความเจริญบริบูรณ์ของวิริยสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วเป็นประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้น

- เมื่อมีปิติสัมโพชฌงค์ (องค์แห่งปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้คือปิติความปลื้มกายปลื้มใจ) มี ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่ามีปิติสัมโพชฌงค์มีในจิต รู้ว่าปิติสัมโพชฌงค์ไม่มีในจิต รู้ว่าปิติสัมโพชฌงค์อันยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นด้วยประการใด รู้ว่าความเจริญบริบูรณ์ของปิติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วเป็นประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้น

- เมื่อมีปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ (องค์แห่งปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้คือปัสสัทธิความสงบกายสงบจิต) มี ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่ามีปัสสัทธิสัมโพชฌงค์มีในจิต รู้ว่าปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ไม่มีในจิต รู้ว่าปัสสัทธิสัมโพชฌงค์อันยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นด้วยประการใด รู้ว่าความเจริญบริบูรณ์ของปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วเป็นประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้น

- เมื่อมีสมาธิสัมโพชฌงค์ (องค์แห่งปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้คือสมาธิ ความที่จิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว) มี ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่ามีสมาธิสัมโพชฌงค์มีในจิต รู้ว่าสมาธิสัมโพชฌงค์ไม่มีในจิต รู้ว่าสมาธิสัมโพชฌงค์อันยังไ
โดย: [0 3] ( IP )

--------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นที่ 5
ม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นด้วยประการใด รู้ว่าความเจริญบริบูรณ์ของสมาธิสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วเป็นประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้น

- เมื่อมีอุเบกขาสัมโพชฌงค์ (องค์แห่งปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้คืออุเบกขา ความที่จิตมัธยัสถ์เป็นกลาง) มี ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่ามีอุเบกขาสัมโพชฌงค์มีในจิต รู้ว่าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ไม่มีในจิต รู้ว่าอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นด้วยประการใด รู้ว่าความเจริญบริบูรณ์ของอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วเป็นประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้น







โดย: เจ๊ปุ๊ก [1 ก.พ. 49 21:00] ( IP A:202.28.180.201 X: )

--------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นที่ 6
ยังไม่หมดนะ...ยังไม่หมด ต่อพรุ่งนี้จ้ะ
โดย: เจ๊ปุ๊ก [1 ก.พ. 49 21:05] ( IP A:202.28.180.201 X: )

--------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นที่ 7
ยินดีด้วยนะครับในกุศลเจตนาและความพากเพียรพยายาม
อวยพรให้ทำพระนิพพานให้แจ้งได้สมดังความปรารถนานะครับ


โดย: ไม้ใหญ่ [1 ก.พ. 49 23:13] ( IP A:203.114.125.182 X: )

--------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นที่ 8
อนุโมทนาด้วยนะเจ๊ดร.ปุ๊กกี้
โดย: กระบี่น้อยลอยลม [1 ก.พ. 49 23:37] ( IP A:202.47.238.138 X: )

--------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นที่ 9
ขอขอบคุณและอนุโมทนาเช่นเคยค่ะ แต่เปี่ยมด้วยความตั้งใจทุกครั้งที่ได้รับรู้สิ่งที่ดีๆ ทั้งหลายทั้งปวง โดยเฉพาะเจ้ปุ๊กได้ออกตัวไว้แล้วว่าไม่ถนัดพิมพ์เยอะๆ ขนาดนี้ แต่ด้วยเมตตาเผื่อแผ่เพื่อนร่วมโลก จึงผลักดันออกมาจนได้ ขอแสดงความนับถือจริงๆ ค่ะ พี่สาวที่แสนดี
โดย: อ๋อ [2 ก.พ. 49 12:56] ( IP A:203.209.117.254 X: )

--------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นที่ 10
ขอบคุณค่ะคุณไม้ใหญ่ คุณกระบี่ และน้องอ๋อ

เอาล่ะ เตรียมอ่านที่เหลือต่อจ้ะ
โดย: เจ๊ปุ๊ก [2 ก.พ. 49 16:43] ( IP A:202.28.180.201 X: )

--------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นที่ 11
๔.๕ พิจารณาอริยสัจ ๔ (ของจริงแห่งพระอริยเจ้า)

ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี่ทุกข์
ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี่ทุกขสมุทัย (เหตุที่เกิดทุกข์)
ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี่ทุกขนิโรธ (ธรรมเป็นที่ดับทุกข์)
ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี่ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงธรรมเป็นที่ดับทุกข์)

ทุกข์ เป็นอย่างไร ?

แม้ชาติ (ความเกิด) ก็เป็นทุกข์
แม้ชรา (ความแก่) ก็เป็นทุกข์
แม้มรณะ (ความตาย) ก็เป็นทุกข์
แม้โสกะ (ความโศก) ปริเทวะ (ความร่ำไรรำพัน) ทุกข์ (ความไม่สบายกาย) โทมนัส (ความเสียใจ) และอุปายาส (ความคับแค้นใจ) ก็เป็นทุกข์
ความประสบสัตว์และสังขารซึ่งไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์
ความพลัดพรากจากสัตว์และสังขารซึ่งเป็นที่รักก็เป็นทุกข์
สัตว์ปรารถนาสิ่งใดย่อมไม่ได้แม้ข้อที่สมประสงค์นั้น ก็เป็นทุกข์
โดยย่ออุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์

ชาติ (ความเกิด) เป็นอย่างไร ?
= ชลาพุชะ (เกิดจากมดลูก), อัณฑชปฏิสนธิ (เกิดจากไข่), สังเสทชปฏิสนธิ (เกิดจากเถ้าไคล), และอุปปาติกปฏิสนธิ (เกิดโดยอุบัติขึ้น)
ชรา เป็นอย่างไร ?
= ความแก่, ความคร่ำคร่า, ความเสื่อมแห่งอายุ
โสกะ เป็นอย่างไร ?
= ความโศกความเศร้าใจ, ความแห้งใจ, ความผาก ณ ภายในของสัตว์ ผู้ประกอบด้วยความฉิบหายอันใดอันหนึ่ง และผู้มีความทุกข์อันใดอันหนึ่ง
ปริเทวะ = ความร่ำไรรำพัน ความคร่ำครวญ
ทุกข์ = ความไม่สบายกาย
โทมนัส = ความเสียใจ
อุปายาส = ความคับแค้นใจ
ความพลัดพรากจากสัตว์และสังขารอันเป็นที่รัก เป็นทุกข์
ปรารถนาสิ่งใคย่อมไม่ได้ แม้ของที่ไม่สมประสงค์นั้น เป็นทุกข์
ตัณหา (ความทะยานอยาก) => มีความเกิดเป็นปกติ, ประกอบด้วยความกำหนัด, ความอยากในอารมณ์ที่สัตว์รักใคร่, ความอยากมีอยากเป็น, ความไม่อยากมีอยากเป็น

ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ เป็นข้อที่หนึ่งของอริยสัจ ๔ คือ ทุกข์
โดย: เจ๊ปุ๊ก [2 ก.พ. 49 17:11] ( IP A:202.28.180.201 X: )

--------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นที่ 12
ต่อไปจะกล่าวถึงอริยสัจข้อที่ ๒ คือทุกขสมุทัย (เหตุแห่งทุกข์)

ตัณหาที่เกิดขึ้นนั้น ย่อมเกิดที่อายตนะภายในทั้ง ๖ และอายตนะภายนอกทั้ง ๖
=> ความรู้ทางอายตนะภายใน ๖
ความตั้งอยู่จากความรู้ทางอายตนะภายนอก ๖
ความกระทบทางอายตนะภายใน ๖
ความตั้งอยู่จากความกระทบทางอายตนะภายใน ๖
เวทนาที่อายตนะภายใน ๖
ตัณหาเกิดจากเวทนาซึ่งเกิดจากอายตนะภายใน ๖
ตัณหาเกิดจากความจำในอายตนะภายนอก ๖
ตัณหาเกิดจากความคิดถึงในอายตนะภายนอก ๖
ตัณหาเกิดจากความอยากในอายตนะภายนอก ๖
ตัณหาเกิดจากความตรึกในอายตนะภายนอก ๖
ตัณหาเกิดจากความตรองในอายตนะภายนอก ๖

จบส่วนทุกขสมุทัย หรือเหตุแห่งทุกข์ หรืออริยสัจข้อที่ ๒
ต่อไปเราจะมาดูว่าตัณหาดับได้ที่ใด ก็มาดูต่อที่ทุกขนิโรธ หรือธรรมเป็นที่ดับทุกข์ซึ่งเป็นอริยสัจข้อที่ ๓
โดย: เจ๊ปุ๊ก [2 ก.พ. 49 17:26] ( IP A:202.28.180.201 X: )

--------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นที่ 13
ทุกขนิโรธ (ธรรมเป็นที่ดับทุกข์)

จะดับตัณหาให้ดับที่ใด ?

เมื่อจะดับย่อมดับที่อายตนะภายนอก ๖ และอายตนะภายใน ๖
ดับความรู้ทางอายตนะภายนอก ๖ และอายตนะภายใน ๖
ดับความกระทบทางอายตนะภายใน ๖
ดับเวทนาที่สัมผัสของอายตนะภายใน ๖ ดับเวทนาที่เกิดแต่การสัมผัสของอายตนะภายใน ๖
ดับความจำที่อายตนะภายนอก ๖
ดับความคิดถึงที่อายตนะภายนอก ๖
ดับความอยากที่อายตนะภายนอก ๖
ดับความตรึกที่อายตนะภายนอก ๖
ดับความตรองที่อายตนะภายนอก ๖

(กล่าวคือ เกิดตัณหาอะไร ก็ดับอันนั้น - เจ๊ปุ๊ก)
โดย: เจ๊ปุ๊ก [2 ก.พ. 49 19:12] ( IP A:202.28.180.201 X: )

--------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นที่ 14
ต่อไปเป็นอริยสัจข้อสุดท้ายคือ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา หรือมรรค หรือข้อปฏิบัติให้ถึงธรรมเป็นที่ดับทุกข์

ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงธรรมเป็นที่ดับทุกข์)

ทางอันประเสริฐประกอบด้วยทาง 8 ทาง
ความเห็นชอบ
ความดำริชอบ
วิรัติเป็นเครื่องเจรจาชอบ
วิรัติธรรมเป็นเครื่องเจรจาชอบ
วิรัติธรรมเป็นที่เลี้ยงชีพชอบ
ความพยายามชอบ
ความระลึกชอบ
ความตั้งจิตมั่นชอบ

สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ)
=> ความรู้ในทุกข์, รู้ในเหตุให้เกิดทุกข์, ความรู้ในธรรมเป็นที่ดับทุกข์, ความรู้ในข้อปฏิบัติให้ถึงธรรมเป็นที่ดับทุกข์ (คืออริยสัจ ๔ )

สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ)
=> ความดำริในการออกบวช (ออกจากกามารมณ์)
ความดำริในความไม่พยาบาท
ความดำริในการไม่เบียดเบียน

สัมมาวาจา (วิรัติเป็นเครื่องเจรจาชอบ)
=> เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการกล่าวเท็จ
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากวาจาส่อเสียด
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากวาจาหยาบคาย
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากเจรจาสำราก เพ้อเจ้อ

สัมมากัมมันตะ (วิรัติธรรมเป็นเครื่องกระทำชอบ)
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการฆ่าสัตว์
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากความประพฤติผิดในกาม

สัมมาอาชีวะ (วิรัติธรรมเป็นที่เลี้ยงชีพชอบ)
=> ละความเลี้ยงชีพผิด

สัมมาวายามะ (ความพยายามชอบ)
=> ยังอกุศลธรรมอันเป็นบาปที่ยังไม่เกิดขึ้น ไม่ให้เกิดขึ้น
- เพื่อจะละอกุศลธรรม อันเป็นบาปที่เกิดขึ้นแล้ว
- เพื่อจะยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น ให้เกิดขึ้น
- เพื่อความตั้งอยู่ ไม่ให้สาบสูญ เจริญยิ่ง ไพบูลย์ มีขึ้นเต็มเปี่ยมแห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้น
=> เพื่อยังความพอใจให้บังเกิด
- เพื่อจะละอกุศลธรรม อันเป็นบาปที่เกิดขึ้นแล้ว
- เพื่อจะยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น ให้เกิดขึ้น
- เพื่อความตั้งอยู่ ไม่ให้สาบสูญ เจริญยิ่ง ไพบูลย์ มีขึ้นเต็มเปี่ยมแห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้น
=> พยายาม
- เพื่อจะละอกุศลธรรม อันเป็นบาปที่เกิดขึ้นแล้ว
- เพื่อจะยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น ให้เกิดขึ้น
- เพื่อความตั้งอยู่ ไม่ให้สาบสูญ เจริญยิ่ง ไพบูลย์ มีขึ้นเต็มเปี่ยมแห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้น
=> ปรารภความเพียร
- เพื่อจะละอกุศลธรรม อันเป็นบาปที่เกิดขึ้นแล้ว
- เพื่อจะยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น ให้เกิดขึ้น
- เพื่อความตั้งอยู่ ไม่ให้สาบสูญ เจริญยิ่ง ไพบูลย์ มีขึ้นเต็มเปี่ยมแห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้น
=> ประคองตั้งจิตไว้
- เพื่อจะละอกุศลธรรม อันเป็นบาปที่เกิดขึ้นแล้ว
- เพื่อจะยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น ให้เกิดขึ้น
- เพื่อความตั้งอยู่ ไม่ให้สาบสูญ เจริญยิ่ง ไพบูลย์ มีขึ้นเต็มเปี่ยมแห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้น

สัมมาสติ (ความระลึกชอบ)
=> พิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆอยู่
มีความเพียรให้กิเลสเร่าร้อน มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงนำอภิชฌาและโทมนัส (ความยินดีและยินร้าย) ในโลกเสียให้พินาศ
=> พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆอยู่
มีความเพียรให้กิเลสเร่าร้อน มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงนำอภิชฌาและโทมนัส (ความยินดีและยินร้าย) ในโลกเสียให้พินาศ
=> พิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆอยู่
มีความเพียรให้กิเลสเร่าร้อน มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงนำอภิชฌาและโทมนัส (ความยินดีและยินร้าย) ในโลกเสียให้พินาศ
=> พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆอยู่
มีความเพียรให้กิเลสเร่าร้อน มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงนำอภิชฌาและโทมนัส (ความยินดีและยินร้าย) ในโลกเสียให้พินาศ
โดย: เจ๊ปุ๊ก [2 ก.พ. 49 19:42] ( IP A:202.28.180.201 X: )

--------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นที่ 15
สัมมาสมาธิ (ความตั้งจิตมั่นชอบ)

=> สงัดแล้วจากกามารมณ์ สงัดแล้วจากธรรมที่เป็นอกุศล
- เข้าถึงปฐมฌาน (ความเพ่งที่ ๑) ประกอบด้วยวิตกและวิจาร มีปิติและสุขอันเกิดจากวิเวก เพราะความที่วิตกและวิจารระงับลง
- เข้าถึงทุติยฌาน (ความเพ่งที่ ๒) เป็นเครื่องผ่องใสใจ ณ ภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอก ผุดมีขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปิติและสุขที่เกิดจากสมาธิ อนึ่ง เพราะความที่ปีติวิราศ (ปราศ)ไป ย่อมเป็นผู้เพิกเฉยอยู่ และมีสติสัมปชัญญะ และเสวยความสุขด้วยกาย อาศัยคุณคืออุเบกขา สติ สัมปชัญญะ และเสวยสุขอันใดเล่าเป็นเหตุ พระอริยเจ้าทั้งหลายย่อมกล่าวสรรเสริญผู้นั้น ว่าเป็นผู้อุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข
- เข้าถึงตติยฌาน (ความเพ่งที่ ๓) เพราะละสุขเสียได้ เพราะละทุกข์เสียได้ เพราะความที่โสมนัสและโทมนัสในกาลก่อนอัศดงค์ดับไป
- เข้าถึงจตุตถฌาน (ความเพ่งที่ ๔) ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติ บริสุทธิ์เพราะอุเบกขา

อริยสัจคือทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงธรรมเป็นที่ดับทุกข์)

พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเป็นภายใน
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเป็นภายนอก
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเป็นทั้งภายในและภายนอก
พิจารณาเห็นธรรมดา คือความเกิดขึ้นในธรรม
พิจารณาเห็นธรรมดา คือความเสื่อมไปในธรรม
พิจารณาเห็นธรรมดา คือทั้งความเกิดขึ้นในธรรม ทั้งความเสื่อมไปในธรรม

ก็หรือสติว่า ธรรมมีอยู่ เข้าไปตั้งอยู่เฉพาะหน้า แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก ย่อมไม่เป้นผู้ติดอยู่ด้วย ย่อมไม่ยึดถืออะไรๆในโลก ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คืออริยสัจ ๔ อย่างนี้แล...

จบธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

โดย: เจ๊ปุ๊ก [2 ก.พ. 49 20:03] ( IP A:202.28.180.201 X: )

--------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นที่ 16
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้อย่างนั้นตลอด ๗ ปี ผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง คือพระอรหัตผลในชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ (คือสังโยชน์) ยังเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑

ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้อย่างนั้นตลอด ๖ ปี ผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง คือพระอรหัตผลในชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ (คือสังโยชน์) ยังเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑

ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้อย่างนั้นตลอด ๕ ปี ผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง คือพระอรหัตผลในชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ (คือสังโยชน์) ยังเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑

ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้อย่างนั้นตลอด ๔ ปี ผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง คือพระอรหัตผลในชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ (คือสังโยชน์) ยังเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑

ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้อย่างนั้นตลอด ๓ ปี ผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง คือพระอรหัตผลในชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ (คือสังโยชน์) ยังเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑

ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้อย่างนั้นตลอด ๒ ปี ผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง คือพระอรหัตผลในชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ (คือสังโยชน์) ยังเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑

ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้อย่างนั้นตลอด ๑ ปี ผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง คือพระอรหัตผลในชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ (คือสังโยชน์) ยังเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑

ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้อย่างนั้นตลอด ๗ เดือน ผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง คือพระอรหัตผลในชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ (คือสังโยชน์) ยังเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑

ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้อย่างนั้นตลอด ๖ เดือน ผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง คือพระอรหัตผลในชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ (คือสังโยชน์) ยังเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑

ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้อย่างนั้นตลอด ๕ เดือน ผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง คือพระอรหัตผลในชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ (คือสังโยชน์) ยังเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑

ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้อย่างนั้นตลอด ๔ เดือน ผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง คือพระอรหัตผลในชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ (คือสังโยชน์) ยังเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑

ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้อย่างนั้นตลอด ๓ เดือน ผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง คือพระอรหัตผลในชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ (คือสังโยชน์) ยังเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑

ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้อย่างนั้นตลอด ๒ เดือน ผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง คือพระอรหัตผลในชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ (คือสังโยชน์) ยังเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑

ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้อย่างนั้นตลอด ๑ เดือน ผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง คือพระอรหัตผลในชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ (คือสังโยชน์) ยังเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑

ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้อย่างนั้นตลอด ๑๕ วัน ผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง คือพระอรหัตผลในชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ (คือสังโยชน์) ยังเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑

ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้อย่างนั้นตลอด ๗ วัน ผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง คือพระอรหัตผลในชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ (คือสังโยชน์) ยังเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความหมดจดวิเศษของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงเสียซึ่งความโศกและความร่ำไร เพื่ออัศดงค์ดับไปแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อกระทำพระนิพพานให้แจ้ง"


โดย: เจ๊ปุ๊ก [2 ก.พ. 49 20:24] ( IP A:202.28.180.201 X: )

--------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นที่ 17
จบแล้วค่ะสำหรับมหาสติปัฏฐานสูตรอย่างย่อ ถ้าไม่ย่อล่ะก็จะละเอียดมากมายมหาศาล

อยากให้ท่านผู้สนใจลองค่อยๆอ่านให้เข้าใจดูอย่างช้าๆ ใช้ปัญญาพิจารณาตามไปอย่างถี่ถ้วน เจ๊ปุ๊กเชื่อว่าทุกคนในที่นี้เคยฝึกกันมาบ้างแล้ว ไม่มากก็น้อย จึงไม่ใช่ของแปลกใหม่อะไรสำหรับพวกเรา คงพอจะนึกตามได้ว่า ที่ครูบาอาจารย์ท่านสอนนั้นเป็นอย่างไร อยู่ส่วนไหน กาย เวทนา จิต หรือธรรม

ท่านผู้ที่จะบรรลุธรรมเข้าสู่กระแสพระนิพพานนั้น จะต้องอยู่ในนี้แหละ ไม่มีทางนอกเหนือจากนี้ได้ ต้องผ่านเส้นทางนี้ทั้งนั้น ผู้ที่ปฏิบัติไปเอง คิดไปเองต่างๆนานา ให้ลองกลับมาเทียบใหม่ว่าถูกต้องหรือยัง

ในระหว่างที่นั่งเรียบเรียงอยู่นั้น ก็พยายามนึกตามคำสอนปฏิบัติของพระเดชพระคุณหลวงพ่อ ก็พบว่าสิ่งที่ท่านสอนนั้นอยู่ในสติปัฏฐานสี่เลยครบทุกข้อ เพียงแต่ท่านสอนแบบกว้าง ๆไม่ได้ขยายความ ท่านนั้นเมตตาศิษย์มากขนาดที่ไม่อธิบายละเอียด เพราะมันจะกลายเป็นวิปัสสนึก ท่านจะให้รู้ด้วยตนเองอย่างแท้ๆ รู้จนเข้าไปถึงกระดูก ถ้าหมั่นทำตามที่ท่านสอนตลอดเวลา อย่างช้าก็ ๗ ปีเท่านั้นค่ะ

ขอให้กำลังใจทุกท่านในการปฏิบัติต่อไป เพียงแต่ขอให้เดินถูกๆทางหน่อยเท่านั้นเอง...

ขอให้สิ่งที่ท่านหวัง จงสมความมุ่งมาดปรารถนาทุกประการ

ขออนุโมทนาบุญ......
โดย: เจ๊ปุ๊ก [2 ก.พ. 49 20:49] ( IP A:202.28.180.201 X: )

--------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นที่ 18
โมทนาบุญด้วยจริงๆครับ
ขอพรทั้งหลายจงมีแด่คุณเจ๊ปุ๊กจงทุกประการด้วยเช่นกันครับ


โดย: ไม้ใหญ่ [2 ก.พ. 49 21:08] ( IP A:58.147.89.7 X: )

--------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นที่ 19


เจ๊เราก็พิมพ์เก่งเหมือนกันนี่นา มีปัญญาบารมี วิริยะบารมี เมตตาบารมีดีใช้ได้ทีเดียว เจ๊ก็พิมพ์สามสี่นิ้วเหมือนผมแหละ ส่วนใหญ่ก็สองนิ้วนะซ้าย-ขวา แต่พิมพ์บ่อยๆก็เร็วได้นะ ไม่เลวหรอก จะเอาให้เหมือนมืออาชีพแบบน้องอ้อได้อย่างไรกันล่ะ?จริงม๊ะ....บางเรื่องอย่างหลวงพ่อเอนก พระสุปฏิปันโน ผมพิมพ์ลงเว็บฯต่อเนื่องไปเรื่อยๆนี่ กว่าจะจบก็สี่ห้าเดือนเชียวนา นี่ของเจ๊ปุ๊ก ก็เกือบ2เดือนไปแล้วนา ไม่กี่วันคงจบ แล้วผมจะเอามาลงที่นิพพานด้วย บางคนยังคงไม่ได้อ่านเรื่องดีๆของเจ๊แบบนี้ก็ได้ เป็นตัวอย่างที่ดีมากครับ ผมอยากสรุปเรื่องมหาสติปัฏฐาน4ช่วยเจ๊สักหน่อยนะ ความจริงลงไว้ต่อจากดูตนเอง เพลงนิพพานที่นี่ไปแล้ว แต่จะคัดมาลงไว้ตรงนี้อีก เพื่อความสมบูรณ์ของเรื่องนี้ อนุโมทนากับเจ๊ด้วยจริงๆ ขอให้จบ ดร.เร็วๆ แล้วอย่าลืมมาช่วยงานสถาบันพัฒนาทางจิตต่อยอดปัญญาบารมีของเจ๊ให้ถึงปรมัตถบารมีด้วยนะ ผมและธรรมญาณรอเจ๊อยู่นะ มีงานที่เหมาะกับเจ๊มากๆรออยู่ งานนี้ไม่มีเงินเดือน ไม่มีค่าจ้าง ไม่มีเอาเข้า มีแต่เอาออกนะ ค่าจ้างหรือสิ่งที่จะเข้ามาในจิตวิญญาณของเจ๊คือบุญกุศล ปัญญาและบารมี 30 ทัศที่น้อยคนนักจะเอาจริงๆ มีแต่ทำเหลาะๆแหละๆ หนักไม่เอาเบาก็ไม่สู้.......ที่ผมมาโพสไว้ก่อนนี้น่ะ มันแว๊บขึ้นมาจนนอนไม่หลับ เล่าให้ธรรมญาณฟัง เขาหัวร่อยาวไปเลยนะ.......


วิปัสสนากรรมฐาน-งานดูกาย ดูจิต 24 ชั่วโมง หมั่นดูทุกวันๆ.....
มหาสติปัฏฐาน 4-ทำสติ ให้เป็นมหาสติ> พัฒนาสู่มหาปัญญา เพื่อประหารกิเลสเป็นสมุจเฉทปหานเป็นลำดับๆต่อไป..........
กาย-เวทนา-จิต-ธรรม.....คนเราก็มีเพียง 4 ฐานเท่านี้เอง ทุกเวลา ไม่ว่าใครๆทั้งนั้น ทำได้ทุกคน ทุกสถานที่ ทุกขณะจิต ทุกอิริยาบถ ยืน-เดิน-นั่ง-นอน และทำได้ทุกเวลา แม้หลับก็ให้หลับอยู่ในฌานด้วย(ฝึกได้ไม่ยาก).....

ดูกาย-ก็ดูร่างกาย ดูลมหายใจเข้า-ออก นั่นแหละ ดูไปเรื่อยๆ ติดตามจ้องดู ไม่รู้ห่าง ต่อเนื่องไม่วาง เหมือนแมวจ้องจับหนู กระนั้น ฯ.....
ดูใจ-ดูเวทนา ดูอารมณ์ ปวดเจ็บเหน็บชา เกิดตรงไหน? ที่ใด อย่างไร? เมื่อดูลมหายใจเข้า-ออก สั้นหรือยาว เบา หรือหนัก หยุดไป หรือเริ่มขึ้นใหม่ เมื่อลมเบาแล้วหยุด เหมือนไม่หายใจนี่คือ ฌาน1-ปฐมฌาน กำลังจะเข้าฌาน2 -ทุติยฌาน.....เกิดเวทนาอารมณ์สุข-ทุกข์ ปวดเจ็บ ทรมาน ให้ดูไปเรื่อยๆตรงนี้สำคัญมาก หลวงพ่อจรัญฯ มหาวิปัสสนาจารย์อันดับ1 ของเมืองไทยบอกว่า "เวทนา"เป็นตัวระลึกชาติ ก็เป็นจริงที่ผมพิสูจน์ด้วยตนเองมาแล้ว แต่ต้องเริ่มจากระลึกเรื่องเก่าๆในชาตินี้ไปก่อน 10ปี 20-30-40 ปี ต่อไปก็ย้อนไปถึง 100 ปีชาติก่อนๆได้เอง เป็นไปตามลำดับญาณ-สมาธิ เรื่องนี้ไม่ห้องห่วง ไม่ต้องสนใจนัก ถึงเวลามาเอง ได้เองและรู้เองครับ.....
ดูจิต: กาย-เวทนาหายไปแล้ว ขึ้นฌาน3-ตติยฌาน ทุกอย่างสงบมากขึ้น มองเห็นจิตสว่างอยู่กลางใจ ดูต่อไป จี้ติดไม่ปล่อย ดูเข้าไปข้างใน ดูความคิด ดูจิตดูใจ ว่าจิตใจเรามีความดี ความชั่วหรือไม่ อย่างไร อะไรบ้าง?....อะไรดี อะไรชั่ว อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล ? รู้แล้ว แจ้งแล้ว เอาไปพัฒนาปรับปรุงแก้ไข ทีละอย่าง ทีละข้อ ค่อยเป็นค่อยไป ไม่ต้องรีบร้อน แต่ทำทุกวัน ทุกเวลา ทุกอย่างมีทางออก ทุกอย่างแก้ไขปรับปรุงพัฒนาได้ทั้งสิ้น......
ดูธรรม-ดูกาย-ดูเวทนา-ดูจิตมาแล้ว จนจิตหายไป เหลือแต่ใจ ใจที่เป็นกลางอย่างเดียว เข้ามาฌาน4-จตุตฌาน ตัวตน ความรู้สึก ทุกอย่างหายวับไปหมด ไม่รู้ไปไหน ? ก็เข้าไปสู่ความว่าง ที่ไร้ขอบเขตไงล่ะ นิ่ง ว่าง สว่าง สงบ เย็น และรู้!!!!.....ตอนนี้เป็นอกาลิโก ไม่มีกาลเวลาแล้ว จะอยู่นานแค่ไหนก็อธิษฐานเอาได้ แต่ไม่จำเป็นต้องอยู่นาน ปล่อยตามธรรมชาติ ตรงนี้จะมีธรรมะผุดขึ้นมาได้เอง เรียกว่า"จิตสอนจิต" "ธรรมสอนธรรม" จิต-ที่เป็นผู้รู้ของเราเองนั่นแหละ ลุกขึ้นมาสอนธรรม อบรมตัวเรา ว่าอะไรดี ไม่ดี ถูกหรือผิด ตรงไหนบ้าง ที่ถูกต้องเป็นอย่างไร ทำอย่างไร ? อยากรู้อะไร ก็ถามจิตตนเองได้ ไม่ต้องรอคอยคำตอบ จิตจะสแกนเสาะหาคำตอบให้เอง ตอบเองเมื่อค้นหาได้แล้ว อาจเป็นเดี๋ยวนั้น หรือเวลาต่อมาในสมาธิ หรือออกจากสมาธิแล้วก็ได้ บางทีก็ออกมาทางความฝันก็ได้ ในชั้นนี้ จิตพิจารณาธรรมอะไรไม่ได้ เพราะสมาธิลึกดิ่งมากไป ถ้าจะพิจารณาธรรมอะไร ก็ต้องถอนถอยจากอัปปนาสมาธิ(ฌาน4) ลงมาอยู่ที่ อุปจาระสมาธิ-ที่อยู่กลางๆช่วงระหว่าง ฌาน1-2-หรือ3 เป็นมัชฌิมา นั่นแหละ จึงจะพิจารณาวิจัยวิเคราะห์แยกแยะธรรมได้......

ที่กล่าวมาทั้งหมด คือ กายานุปัสสนา-เวทนานุปัสสนา-จิตตานุปัสสนา-และธัมมานุปัสสนากรรมฐานนั่นเอง ผมอธิบายให้ง่ายๆเพื่อทำความเข้าใจและปฏิบัติตามได้ง่ายๆไม่ยากนัก ไม่มีอะไรนอกเหนือไปจากหลักเหล่านี้........
สติปัฏฐาน4- ก็ดูแค่กายกับจิต ที่มีใจอยู่ตรงกลาง
โดย: [0 3] ( IP )

--------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นที่ 20
กาย-เวทนา-จิต-ธรรม ก็เวียนวนอยู่ตลอดเวลา แต่การปฏิบัติต้องเริ่มต้นที่กาย-เวทนา-จิต-ธรรมไปตามลำดับ ไม่มีทางข้าม เพราะเป็นทางสายเอก ที่มีสายเดียวต้องเดินไปตามนี้เท่านั้น แต่เมื่อดำเนินไปแล้ว ก็เดินหน้าถอยหลัง กลับไปกลับมาเป็นอนุโลม ปฏิโลมได้โดยอัตโนมัติ ไม่มีใครเริ่มต้นกระโดดไปดูจิต พิจารณาธรรมได้เลย เพราะกาย-ลม-จิตยังไม่สงบ สติ-สมาธิยังไม่พอ จะก้าวล่วงไปถึงสุดปลายขั้นบันไดได้อย่างไร ? การเดินขึ้นบันได ก็ต้องก้าวขึ้นไปทีละขั้น เดินลงก็ต้องลงมาทีละขั้น จะกระโดดขึ้น กระโดดลงมาพรวดพราดข้ามขั้น หลายขั้น ก็ต้องเกิดอุบัติเหตุ หลุดพลัดตกหกคะเมนเกงเก้ เจ็บตัวแน่นอนครับ......

**นิพพานัง ปรมัง สุญญัง นิพพานัง ปรมัง สุขัง นิพพานะ ปัจจโย โหตุ สาธุ สาธุ สาธุ**.........


โดย: พุทธญาณBuddhayan@gmail.com [4 ก.พ. 49 9:32] ( IP A:202.47.238.152 X: )

--------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นที่ 21
อนุโมทนาค่ะเจ๊
โดย: ใจแก้ว [4 ก.พ. 49 10:51] ( IP A:61.19.59.3 X: )



โดย: เนิน นราธรNernnaratorn@thai.com IP: 202.47.238.235 วันที่: 4 กุมภาพันธ์ 2549 เวลา:22:15:14 น.  

 
เห็นกาย

เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับกาย

เห็นจิต

เห็นอการทั้งหมดแล้ว เข้าใจว่า มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป


โดย: แอนนี่ IP: 125.24.119.115 วันที่: 29 สิงหาคม 2552 เวลา:17:01:15 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

AmataMahaNippan
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




อภิมหาอมตะนิพพาน เหนือวิมานพรหมสวรรค์ ณ ชั้นไหน ?
บรมสุขแห่งนิพพานเบิกบานใจ ไม่เหมือนใครไหนเลยที่เคยมี....

บัวบาน บางเขน
Buaban_Bangkhen@hotmail.com
New Comments
Friends' blogs
[Add AmataMahaNippan's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.