เวลาไม่เคยคอยใคร.... สายน้ำไม่ไหลย้อนกลับ.... ค่าของคน.....อยู่ที่ผลแห่งกรรมดี
Group Blog
 
All Blogs
 

เราจะเชื่อมต่อกับอินเทอเน็ตได้อย่างไร

1.อุปกรณ์

1.1) คอมพิวเตอร์

1.2) โมเด็ม (Modulator Demodulator Machine)โมเด็มคืออุปกรณ์ซึ่งทำหน้าที่แปลงข้อมูลที่ได้จากเครื่องคอมพิวเตอร์ไปเป็นสัญญาณไฟฟ้ารูปแบบหนึ่ง (Impulse) ซึ่งสามารถส่งผ่านสายโทรศัพท์ทั่วไปได้ซึ่งสัญญาณโทรศัพท์นั้นจะเป็นสัญญาณอนาล๊อกส่วนสัญญาณข้อมูลที่มาจากคอมพิวเตอร์จะเป็นสัญญาณ ดิจิตอลทำให้ต้องใช้ โมเด็มในการแปลงสัญญาณอนาล๊อกเป็นดิจิตอลและดิจิตอลเป็นอนาล๊อกก่อน โมเด็มสามารถแยกได้เป็น 3 ชนิด แต่ละชนิดก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไปดังนี้

โมเด็มแบบติดตั้งภายใน โมเด็มชนิดนี้จะมีลักษณะเป็นแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกนำมาติดตั้งเข้ากับภายในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรง รูปร่างจะแตกต่างกันตามที่ผู้ผลิตจะออกแบบมาสำหรับคอมพิวเตอร์ชนิดนั้นๆโมเด็มชนิดนี้จะใช้ไฟฟ้าจากพาวเวอร ์ซับพายที่มันต่ออยู่ทำให้เราไม่ต้องต่อไฟหม้อแปลงต่างหากจากภายนอก ส่วนมากโมเด็มติดตั้งภายในจะทำการติดตั้งผ่านทาง Port อนุกรม RS-232C รวมอยู่ด้วย ทำให้ไม่มีปัญหาในเรื่อง port อนุกรมรุ่นเก่าที่ติดมากับเครื่องคอมพิวเตอร์ การเชื่อมต่อโมเด็มกับเครื่องคอมพิวเตอร์จะต่อทาง slot มาตรฐานในเครื่องคอมพิวเตอร์และเมื่อติดตั้งแล้วจะไม่เปลืองเนื้อที่ภายนอกใดๆ เลย และโมเด็มสำหรับติดตั้งภายในจะมีจุดให้ผู้ใช้เสียบสายโทรศัพท์เข้ากับโมเด็มโดยใช้ปลั๊กโทรศัพท์ธรรมดา แบบ RJ-11 และมีลำโพงประกอบด้วย
โมเด็มแบบติดตั้งภายนอก จะมีลักษณะเป็นกล้องสี่เหลี่ยมแบนๆภายในมีวงจรโมเด็มไฟสถานะและลำโพง เนื่องจากต่อภายนอกจึงต้องมี adapter แปลงสัญญาณก่อนและจะมีสายต่อแบบ 25 ขา DB25 เอาไว้ใช้เชื่อมต่อผ่านทาง port อนุกรม RS - 232C 1
PCMCIA (Personal Computer Memory Card International Asociation) จะเป็นโมเด็มที่มีขนาดเล็ที่สุดคือ มีขนาดเท่าบัตรเครดิตรอละหนาเพียง 5 มิลเท่านั้นซึ่งโมเด็มชนิดนี้ออกแบบมาโดยให้คอมพิวเตอร์โน๊ตบุคโดย เฉพาะซึ่งในปัจจุบันโมเด็มชนิดนี้จะมีความเร็วพอๆ กับโมเด็มที่ติตตั้งภายนอกและภายใน ในปัจจุบันนี้โมเด็มมีความเร็วสูงสุดที่ 56Kbps(Kilobyte per second)โดยจะใช้มาตรฐาน V.90 เป็นตัวกำหนด

โมเด็มชนิดติดตั้งภายในและภายนอก
โมเด็มแบบ PCMCIA
2.วิธีการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต
เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราสามารถติดต่อกับอินเทอร์เน็ตได้หลายวิธี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการความเร็วมากน้อยเพียงใดในการติดต่อรวมทั้งสถานที่ที่เราใช้เครื่องของเราด้วยว่าห่างไกลจากศูนย์คอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องที่แจกจ่ายข้อมูลและก็ขึ้นอยู่กับงบประมาณของผู้ใช้ว่าต้องการความเร็วหรือความสะดวกรวดเร็วมากน้อยเพียงใดด้วย ในปัจจุบันผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่ไม่ได้เป็นสมาชิกของสถาบันการศึกษาจะต้องเสียค่าบริการอินเทอร์เน็ตในอัตราที่ค่อนข้างสูง กล่าวกันว่าอัตราค่าบริการอินเทอร์เน็ตของบุคคลทั่วไปในประเทศไทยนี้สูงที่สุดในโลก ทั้งนี้ก็เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่จะถือว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเป็น คนร่ำรวยและ สามารถจ่ายค่าบริการจำนวนนี้ได้โดยไม่เดือดร้อน ทั้งนี้การเก็บค่าบริการอินเทอร์เน็ต นี้ยังคงเป็นการผูกขาดของการสื่อสารแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้ควบคุมดูแลการโทรคมนาคมระหว่างประเทศทั้งหมด การสื่อสารฯได้รายได้จากการผูกขาดนี้เป็นกอบเป็นกำ เหตุผลที่การสื่อสารมักจะอ้างก็คือว่า เนื่องจากผู้ใช้ อินเทอร์เน็ตมีฐานะดี ดังนั้นจึงควรเก็บค่าบริการแพงๆเหมือนกับการเก็บภาษีกลายๆเพื่อเป็นทุนในการช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส เหตุผลนี้ดูเหมือนจะมีน้ำหนักพอสมควร แต่ถ้าพิจารณาว่า การใช้จ่ายเงินของภาครัฐฯไม่มีความโปร่งใสใดๆ ให้ตรวจสอบได้อย่างจริงจัง ก็ไม่น่าเชื่อว่าข้ออ้างดังกล่าวนี้เป็นความจริง นอกจากนี้การอ้างว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นผู้ร่ำรวยเท่านั้นยังเป็นการแบ่งชนชั้นวรรณะอย่างโจ่งแจ้ง และเท่ากับว่าคนอื่นๆ ที่ไม่ใช่คนรวยจะไม่มีวันสัมผัสกับอินเทอร์เน็ตได้ ความคิดเช่นนี้ไม่เอื้อต่อการผลักดันให้ประเทศไทยก้าวไปข้างหน้าได้เป็นอย่างยิ่ง ย้อนมาพูดถึงเรื่องการติดต่อกับอินเทอร์เน็ต ในขณะนี้เรามีวิธีติดต่ออยู่ 4 วิธี

การติดต่อแบบถาวร หรือ Permanent Connection การติดต่อแบบนี้เป็นแบบที่รวดเร็วที่สุด แต่ก็สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากที่สุดด้วยเช่นกัน ระบบเครือข่ายที่เรียกว่า Ethernet ซึ่งเป็นระบบฮาร์ดแวร ์ของเครือข่ายที่ใช้กันมากที่สุด สายที่เชื่อมต่อจากแม่ข่ายมายังอาคารอบรมนี้เป็นสายใยแก้วนำแสง ซึ่งให้ความเร็วข้อมูลสูงมาก
การติดต่อโดยตรงเมื่อต้องการ หรือการติดต่อโดยตรงผ่านสายโทรศัพท์ (On Demand Permanent Connection) การติดต่อแบบนี้เป็นวิธีที่ดีที่สุดถ้าเครื่องของเราไม่ได้ติดต่อโดยตรงโดยเครือข่าย แบบ Ethernet วิธีการก็คือเราใช้สายโทรศัพท์ธรรมดาที่เราใช้กันอยู่เป็นเส้นทาง ในการเชื่อมโยงข้อมูลแทน การที่คอมพิวเตอร์ติดต่อกันโดยผ่านสายโทรศัพท์จำเป็น ที่จะต้องมีอุปกรณ ์อันหนึ่งเรีกว่า "โมเด็ม" (modem) ซึ่งทำหน้าที่แปรข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นข้อมูลแบบดิจิตัล เป็นสัญญาณโทรศัพท์ซึ่งเป็นสัญญาณแบบอนาล็อก และนอกจากโมเด็มแล้วก็จะต้องมีโปรแกรมพิเศษ อีกโปรแกรมหนึ่งเพื่อทำให้เครื่องของเราทำงานเป็นส่วนหนึ่งของอินเทอร์เน็ตจริงๆ โปรแกรมนี้ก็เป็นภาษาเครือข่ายบนอินเทอร์เน็ตอีกภาษาหนึ่ง เรียกว่า "PPP" ซึ่งย่อมาจาก Point-to-Point Protocol การใช้โปรแกรมนี้ทำให้เครื่องของเราสามารถทำงานได้ทุกอย่าง เช่นเดียวกับที่เครื่องแม่ข่ายหรือเครื่องที่ต่อกับแม่ข่ายด้วย Ethernet ทำได้ เพียงแต่ว่าสายโทรศัพท์ นั้นจะเท่ากับมีการพูดสายอยู่ตลอดเวลาที ่เราต่อกับระบบอยู่ศูนย์บริการอินเทอร์เน็ตมักจะเรียกการบริการแบบนี้ว่า "แบบรูปภาพ" หรือ Graphic Service เนื่องจากการติดต่อแบบนี้ทำให้เราสามารถดึงเอาข้อมูลที่เป็นรูปภาพหรือ เสียงมาดูหรือฟังได้โดยตรง
การติดต่อแบบเทอร์มินัล (Dial-Up Terminal Connection) การใช้โปรแกรม PPP นี้จำเป็นต้องอาศัยเครื่อง ที่มีสมรรถนะสูงพอสมควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเราใช้โปรแกรมใหม่ๆสำหรับค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต แต่ถ้าเราไม่มีเครื่องแบบนั้น เราก็ยังไม่หมดหวังเสียทีเดียว เนื่องจากยังมีการติดต่ออีกวิธีหนึ่ง ได้แก่การติดต่อแบบเทอร์มินัล ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องเร็วๆแต่อย่างใดเลย วิธีการนี้ก็คล้ายคลึงกับวิธีที่สองตรงที่เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับอินเทอร์เน็ตโดยใช้โมเด็ม แต่แตกต่างกันที่ในการต่อแบบนี้เครื่องของเรามีฐานะเป็นเพียงจอของเครื่องที่เราต่อไปหาเท่านั้น เครื่องของเราไม่มีฐานะเป็นส่วนหนึ่งของอินเทอร์เน็ตแต่ประการใด แต่ในขณะที่เราใช้การติดต่อแบบนี้อยู่นั้น การประมวลผลของเครื่องไม่มีบทบาทอะไรเกี่ยวกับการติดต่อนี้เลย นอกจากบทบาทเล็กน้อยเวลาเราถ่ายโอนข้อมูลระหว่างเครื่องที่เราต่อไปหากับเครื่องของเราเท่านั้น โปรแกรมที่ใช้สำหรับการติดต่อแบบนี้ก็เป็นโปรแกรมสั่งงานโมเด็มตามปกติ เช่น Procomm หรือ Terminal ใน Windows หรือ Zterm ในเครื่องแมคอินทอช การติดต่อแบบนี้ก็ทำให้เราสามารถติดต่อกับทุกๆ ส่วนของอินเทอร์เน็ตได้ เพียงแต่ว่าเราต้องใช้วิธีการบางอย่างเปลี่ยนข้อมูลที่ไม่ใช่ตัวอักษรมาเป็นไฟล์ที่ใช้งานได้ ศูนย์บริการอินเทอร์เน็ตมักเรียก การบริการแบบนี้ว่า "ตัวอักษรล้วนๆ" (Text only) เนื่องจากการติดต่อมีแต่ทางตัวอักษรเท่านั้น แต่ไม่ได้หมายความว่าเราไม่สามารถดึงเอาข้อมูลชนิดอื่นมาได้
การติดต่อแบบไปรษณีย์เท่านั้น (E-mail Only Connection ) การติดต่อแบบนี้เป็นวิธีที่มีข้อจำกัดมากที่สุด แต่ก็ประหยัดทรัพยากรมากที่สุดด้วยเช่นกัน วิธีนี้เกือบจะเหมือนกับแบบที่สาม ต่างกันเพียงแค่ว่าเราใช้บริการได้แต่เพียงไปรษณีย์อิเล็กโทรนิกส์ หรืออีเมล์เท่านั้น ไม่สามารถใช้บริการอื่นๆบนอินเทอร์เน็ตได้ (เช่น การถ่ายโอนข้อมูล การสืบค้นข้อมูลบนเวิร์ลไวด์เว็บ ฯลฯ) บริการอย่างเดียวที่เราใช้ได้ก็คือ ไปรษณีย์อิเล็กโทรนิกส์




 

Create Date : 21 ธันวาคม 2550    
Last Update : 21 ธันวาคม 2550 10:11:23 น.
Counter : 320 Pageviews.  

ประวัติความเป็นมาของอินเทอเน็ตในประเทศไทย

อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย

การเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตของประเทศไทยมีจุดกำเนิดมาจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัย หรือที่เรียกว่า "แคมปัสเน็ตเวอร์ก" ( Campus Network ) เครือข่ายดัง กล่าวได้รับการสนับสนุนจาก "ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ" ( NECTEC ) จนกระทั่งได้ เชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตโดยสมบูรณ์ในเดือนสิงหาคม ปี พ.ศ.2535 พัฒนาการ ประเทศไทยได้เริ่มติดต่อกับอินเทอร์เน็ตโดยใช้ E-mail ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 โดยเริ่มที่ "มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่" เป็นแห่งแรก และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ภายใต้ความร่วมมือระหว่างไทยและออสเตรเลียในช่วงเวลาต่อมา ในขณะนั้นยังไม่ได้มีการเชื่อมต่อ แบบ On-line หากแต่เป็นการแลกเปลี่ยนข่าวสาร ด้วย E-mail โดยใช้ระบบ MSHnet ละ UUCP โดยทางออสเตรเลียจะโทรศัพท์เชื่อมเข้ามาสู่ระบบวันละ 2 ครั้ง ในปีถัดมา NECTEC ซึ่งอยู่ภายใต้ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน ( ชื่อเดิมในขณะนั้น ) ได้จัดสรรทุนดำเนินโครงการ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ของสถาบันอุดมศึกษา โดยแบ่ง โครงการออกเป็น 2 ระยะ การดำเนินงานใน ระยะแรกเป็นการเชื่อมโยง 4 หน่วยงาน ได้แก่
- กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ
- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ระยะที่สองเป็นการเชื่อมต่อสถาบันอุดมศึกษาที่เหลือ คือ
- มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- มหาวิทยาลัยมหิดล
- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยาเขตธนบุรี
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยา เขตพระนครเหนือ
- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่




เดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2534 คณะทำงานของ NECTEC ร่วมกับกลุ่มอาจารย์และ นักวิจัยจากสถาบันอุดมศึกษาได้ก่อตั้งกลุ่ม NEWgroup ( NECTEC E-mail Working Group) เพื่อ ประสานงานและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารด้วย E-mail โดยยังคงอาศัยสถาบัน เทคโนโลยีแห่งเอเชียเป็นทางออกสู่อินเทอร์เน็ตผ่านทางออสเตรเลีย ปี พ.ศ.2538 รัฐบาลไทยได้ประกาศให้เป็นปีแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศ(Information Technology Year ) เนื่องจากตระหนักถึงความสำคัญของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสารข้อมูลใน ขณะเดียวกันก็มีการดำเนินการจัดวางเครือข่ายความเร็วสูงโดยใช้ใยแก้วนำแสงเพื่อใช้เป็นสายสื่อสาร ไทยสาร เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2535 สำนักวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าวงจร สื่อสารความเร็ว 9600บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่ "บริษัท ยูยูเน็ตเทคโนโลยี ประเทศสหรัฐอเมริกา" ภายใต้ข้อตกลงกับ NECTEC ในการพัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อร่วมใช้วงจรสื่อสาร จนกระทั่งในเดือนธันวาคมปีเดียวกันมีหน่วยงาน 6 แห่งที่ เชื่อมต่อแบบ On-lineโดยสมบูรณ์ ได้แก่ NECTEC ,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ,สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เครือข่ายที่ก่อตั้งมี ชื่อว่า "ไทยสาร" ( Thaisarn : Thai Social/scientific ,Academic and Research Network ) หรือ "ไทยสารอินเทอร์เน็ต" ในปี พ.ศ. 2536 NECTEC ได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 64 กิโลบิตต่อวินาทีจากการสื่สารแห่งประเทศไทยเพื่อ เพิ่มความสามารถในการขนส่งข้อมูล ทำให้ประเทศไทยมีวงจรสื่อสารระดับ ที่ให้บริการแก่ผู้ใช้ไทยสารอินเทอร์เน็ต 2 วงจร ในปัจจุบันวงจรเชื่อมต่อไปยังต่างประเทศที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ NECTEC ได้รับการปรับปรุงให้มีความ เร็วสูงขึ้นตามลำดับ นับตั้งแต่นั้นมาเครือข่ายไทยสารได้ขยายตัวกว้างขึ้น และมีหน่วยงานอื่นเชื่อมเข้ากับ ไทยสารอีกหลายแห่งในช่วงต่อ มากลุ่มสถาบันอุดมศึกษาประกอบด้วย สำนักวิทยบริการ จุฬาฯ ,สถาบันเทค- -โนโลยีแห่งเอเชีย,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญได้ร่วมตัวกันเพื่อแบ่งส่วนค่าใช้จ่ายวงจร สื่อสาร โดยเรียกชื่อกลุ่มว่า "ไทยเน็ต" ( THAInet ) สมาชิกส่วนใหญ่ของไทยสาร คือ สถาบันอุดมศึกษา กับหน่วยงานราชการบางหน่วย งาน และ NECTECยังเปิดโอกาสให้กับบุคลากรของหน่วยงานราชการที่ยังไม่มีเครือข่ายภายในเป็นของตัว เองมาขอใช้บริการได้ แต่ทว่ายังมีกลุ่มผู้ที่ต้องการใช้บริการอินเทอร์เน็ตอีกเป็นจำนวนมาก ทั้งบริษัทเอกชนและบุคคลทั่วไปซึ่งไม่สามารถใช้บริการ จากไทยสารอินเทอร์เน็ตได้ ทั้งนี้เพราะไทยสารเป็นเครือข่ายเพื่อการศึกษาและวิจัยที่ใช้เงินงบประมาณอุดหนุนจากรัฐภาย ใต้ข้อบังคับของกฏหมายด้านการสื่อสารจึงไม่สามารถให้นิติบุคคลอื่นร่วมใช้เครือข่ายได้




 

Create Date : 21 ธันวาคม 2550    
Last Update : 21 ธันวาคม 2550 10:08:04 น.
Counter : 238 Pageviews.  

ประวัติความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต

....ในยุคแห่งสังคมข่าวสารเช่นปัจจุบัน การสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ยิ่งทวีความสำคัญมาก ขึ้นเป็นลำดับเครือข่าคอมพิวตอร์ให้แลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างกันได้โดยง่าย ในปัจจุบันมี เครือข่ายคอมพิวเตอร์เชื่อมโยงไปทั่วโลก ผู้ใช้ในซีกโลกหนึ่งสามารถติดต่อกับผู้ใช้ในซีกโลกหนึ่ง ได้อย่างรวดเร็วเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่รู้จักกันในชื่อของ"อินเทอร์เน็ต"(Internet) จัดว่าเป็น เครือข่ายที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในยุคของสังคมข่าวสารปัจจุบัน อินเทอร์เน็ตมีขอบข่ายครอบ คลุมพื้นที่แทบทุกมุมโลกสมาชิกในอินเทอร์เน็ตสามารถใช้คอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่ที่จุดใด ๆ เพื่อส่งข่าวสารและข้อมูลระหว่างกันได้บริการข้อมูลในอินเทอร์เน็ตมีหลากรูปแบบและมีผู้นิยมใช้ ้เพิ่มมากขึ้นทุกวัน จากการคาดการณ์โดยประมาณแล้วปัจจุบันมีเครือข่ายทั่วโลกที่เชื่อมเข้าเป็น อินเทอร์เน็ตราว 45,000 เครือข่าย จำนวนคอมพิวเตอร์ในทุกเครือข่ายรวมกันคาดว่ามีประมาณ 4 ล้านเครื่อง หรือหากประมาณจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกคาดว่ามีประมาณ 25 ล้านคน และ มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น เราจึงกล่าวได้ว่า อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายมหึมาที่ครอบคลุมพื้นที่กว้างขวาง ที่สุด มีการขยายตัวสูงที่สุด และมีสมาชิกมากที่สุดเมื่อเทียบกับเครือข่ายอื่นที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน พัฒนาการของอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ตมิได้เป็นเครือข่ายที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะเจาะจงหากแต่มี ประวัติความเป็นมาและมีการ พัฒนามาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่การเกิดของเครือข่ายอาร์พาเน็ต ในปี พ.ศ.2512ก่อนที่จะก่อตัวเป็น อินเทอร์เน็ตจนกระทั่งถึงทุกวันนี้อินเทอร์เน็ตมีพัฒนาการมา จากอาร์พาเน็ต ( ARPAnet ) ซึ่งเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายใต้ การรับผิดชอบของ อาร์พา ( Advanced Research Projects Agency ) ในสังกัดกระทรวงกลาโห ของสหรัฐอเมริกาอาร์พาเน็ต ในขั้นต้นเป็นเพียงเครือข่ายทดลองที่ตั้งขึ้นเพื่อเป็นการสนับสนุนงานวิจัยด้านการทหารและ โดยเนื้อแท้แล้วอาร์พาเน็ตเป็นผลพวงมาจากการเมืองโลกในยุคสงครามเย็นระหว่างค่าย คอมมิวนิสต์และค่ายเสรีประชาธิปไตย ยุคสงครามเย็น ในทศวรรษของปีพ.ศ.2510 นับเป็นเวลาแห่งความตึงเครียดเนื่องจากภาวะ สงครามเย็นระหว่างประเทศในค่ายคอมมิวนิสต์และค่ายเสรีประชาธิปไตย สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศผู้นำ กลุ่มเสรีประชาธิปไตยได้ก่อตั้งห้องปฏิบัติการทดลองเพื่อค้นคว้าและพัฒนาเทคโนโลยีอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีด้านระบบคอมพิวเตอร์ช่วงท้ายของทศวรรษ 2510 ห้องปฏิบัติการวิจัย ในสหรัฐ ฯ และในมหาวิทยาลัยใหญ่ ๆล้วนแล้วแต่มีคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยในยุคนั้นติดตั้งอยู่




คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะแยกกันทำงานโดยอิสระมีเพียงบางระบบที่ตั้งอยู่ใกล้กันเท่านั้นที่สื่อสารกันทางอิเล็กทรอนิกส์แต่ก็ด้วยความเร็วต่ำ ห้องปฏิบัติการหลายแห่งได้พัฒนาระบบสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภาพ ยิ่งขึ้น หากแต่ยังไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบได้กับเทคโนโลยีการสื่อสารที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน ปัญหาและ อุปสรรคสำคัญ คือคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายจะต้องอยู่ในสภาพทำงานทุกเครื่องหากเครื่องใดเครื่องหนึ่งหยุดทำงานลง การสื่อสารจะไม่สามารถดำเนินต่อไปได้จนกว่าจะตัดเครื่องออกไปจาก เครือข่ายข้อจำกัดนี้ทำให้ระบบเครือข่ายไม่อยู่ในสภาพที่เชื่อถือได้และลำบากต่อการควบคุมดูแล โครงการอาร์พาเน็ต อาร์พาเป็นหน่วยงานย่อยของกระทรวงกลาโหมของสหรัฐ ฯ ทำหน้าที่สนับสนุนงานวิจัยพื้นฐานทั้งด้านเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ อาร์พาไม่ได้ทำหน้าที่วิจัยโดยตรงอีกทั้งยังไม่มีห้องทดลอง เป็นของตนเอง หากแต่กำหนดหัวข้องานวิจัยและให้ทุนแก่หน่วยงานอื่น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมหาวิทยาลัย และบริษัทเอกชนที่ทำงานวิจัยและพัฒนา อาร์พาได้จัดสรรทุนวิจัยเพื่อทดลองสร้างเครือข่ายให้คอมพิวเตอร์สามารถแลก เปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ในชื่อโครงการ"อาร์พาเน็ต" ( ARPAnet ) โดยเริ่มต้นงานวิจัยในเดือนมกราคม พ.ศ. 2512 รูปแบบเครือข่ายอาร์พาเน็ตไม่ได้ต่อเชื่อมโฮสต์ ( Host ) คอมพิวเตอร์เข้าถึงกันโดย ตรง หากแต่ใช้คอมพิวเตอร์ เรียกว่าIMP ( Interface Message Processors ) ต่อเชื่อมถึงกันทางสาย โทรศัพท์เพื่อทำหน้าที่ด้านสื่อสารโดยเฉพาะ ซึ่งแต่ละIMP สามารถเชื่อมได้หลายโฮสต์

กำเนิดอาร์พาเน็ต วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2512 ได้มีการทดลองเชื่อมโยง IMP ระหว่างมหาวิทยาลัย 4 แห่งโดยมีโฮสต์ต่างชนิดกันที่ใช้ในระบบปฏิบัติการต่างกัน คือ

มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย แห่ง ลอส แอนเจลิส ใช้เครื่อง SDS Sigma 7 ภายใต้ระบบปฏิบัติ การ SEX ( Sigma EXecutive )
สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด ใช้เครื่อง SDS 940และระบบปฏิบัติการ Genie
มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย แห่ง ซานตา บาร์บารา มีเครื่อง IBM 360/75ทำงานภายใต้ระบบปฏิบัติการ OS/MVT
มหาวิทยาลัยยูทาห์ ที่ซอลต์เลคซิตี้ ใช้เครื่อง DEC PDP-10ภายใต้ระบบปฏิบัติการ Tenex


เครือข่ายที่เชื่อมโยงมหาวิทยาลัยทั้ง 4 แห่ง นับเป็นจุดกำเนิดของอาร์พาเน็ตก่อนที่จะพัฒนาจน กระทั่งกลายเป็นอินเทอร์เน็ตในเวลาต่อมา อาร์พาเน็ตในขั้นต้นเป็นเครือข่ายเชิงทดลองเพื่อ ศึกษาว่ารูปแบบเครือข่ายที่ใช้จะมี ความเชื่อถือได้มากน้อยเพียงใด สามารถส่งผ่านข้อมูลได ้รวดเร็วเพียงใด โดยจุดประสงค์หลักแล้วอาร์พา ต้องการพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อการ ทหารที่มีคุณลักษณะเฉพาะ คือ แม้ว่าอมพิวเตอร์บางจุดในเครือข่ายจะหยุดทำงานหรือสายสื่อสา รบางเส้นทางถูกตัดขาด คอมพิวเตอร์ส่วนที่เหลือในเครือข่ายยังควรติดต่อสื่อสารถึงกันได้อยู่ นอกจากนี้ยังต้องสามารถต่อเชื่อมคอมพิวเตอร์ที่มี Hardware แตกต่างกันเข้าสู่ เครือข่ายได้ อาร์พาเน็ตเปิดตัวสู่สาธารณชนเป็นทางการครั้งแรกในงาน ICCC ( International Conference on Computers and Communications ) ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงวอชิงตัน ดี ซี เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2525 ยุคของโปรโตคอลทีซีพี/ไอพี หนึ่งปีให้หลังจากงาน ICCC อาร์พาเ ปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "ดาร์พา" ( Defense AdvanceProject Agency ) และได้เริ่มงานวิจัยโครงการ ใหม่เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการต่อเชื่อมระหว่าง คอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์จะรับส่งข้อมูลถึงกันได ้ย่อมต้องปฏิบัติตามข้อตกลงที่กำหนดวิธีการ สื่อสารถึงกัน ตัวอย่างของข้อตกลงในการสื่อสารมีดัง เช่น ลักษณะของข้อมูล ขนาดข้อมูลจะส่งถึงกันครั้งละ กี่ไบต์ชุดข้อมูลที่ส่งไปจะต้องมีข้อมูลอื่นส่ง ผนวกไปอย่างไรบ้าง หรือเมื่อมีความผิดพลาดเกิดขึ้นในการรับส่งจะต้องตรวจสอบหรือดำเนิน การอย่างไรต่อไป ข้อตกลงระหว่างกันนี้เรียกตามศัพท์เทคนิคว่า โปรโตคอล ( Protocol ) Protocol เป็นข้อกำหนดที่อธิบายวิธีสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายเพื่อใช้ เป็นเกณฑ์ในการออก แบบโปรแกรมไม่ว่าคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายจะมี Hardware แตกต่างกันหรือไม่ก็ตาม หากว่าทำ งานตาม Protocolที่กำหนดแล้วสามารถสื่อสารถึงกันได้เสมอ Protocol ที่ใช้ในระยะต้นของอาร์พา เน็ตเป็น Protocol ที่เรียกว่า Network Control Protocol ซึ่ง Protocol นี้มีข้อจำกัดด้านรูปแบบของ การใช้สายสื่อสาร และจำนวนโฮสต์ที่จะเชื่อม ต่อเข้าด้วยกัน อาร์พาได้วางแผนการขยายเครือข่าย และเปิดการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอื่นการเชื่อมต่อระหว่าง เครือข่ายกับเครือข่ายต้องการ Protocol ซึ่งทำงานได้กับสายสื่อสาร และ Hardware หลากรูปแบบและสามารถรองรับโอสต์จำนวน มากได้ Protocol ซึ่งมีลักษณะตรงกับความต้องการในช่วง เวลาดังกล่าวได้แก่ Protocol TCP/IP ซึ่งย่อมาจาก Transmission Control Protocol / Internet Protocol ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น ศูนย์ วิจัยซีรอกซ์แห่งพาโลอัลโต ( Xerox Palo Alto Research Center ) ได้พัฒนาระบบสื่อสารแบบส่ง ข้อมูลออกไปเป็นกลุ่ม และต่อมาได้พัฒนาไปเป็นระบบ แลนอีเธอร์เน็ต ( Ethernet Local Area Network ) ทั้ง TCP/IP และ ระบบ LAN นับเป็นแรงผลักดันให้ มีการขยายตัวของอาร์พาเน็ตอย่างรวดเร็ว TCP/IP และ UNIX ในปี พ.ศ. 2523 ดาร์พาตัดสินใจเลือกใช้ TCP/IP เป็น Protocol ของ อาร์พาเน็ตและเพื่อกระตุ้นให้นักวิจัยในมหาวิทยาลัยหันมาใช้ TCP/IP ด้วย ดาร์พาจึงว่าจ้างบริษัท BBN ทำหน้าที่พัฒนา Protocol TCP/IP สำหรับ UNIX ซึ่งแพร่หลายในมหาวิทยาลัยของสหรัฐ ฯ UNIX รุ่นแรกที่มี TCP/IP ใช้ชื่อว่า 4.2BSD(Berkley Software Distribution ) ยุคแห่งการกำเนิด เครือข่าย ผู้ใช้อาร์พาเน็ตในขณะนั้นจำกัดอยู่แต่เพียงผู้ใช้ในหน่วยงานของกองทัพและหน่วยงาน เอกชนที่มีงานวิจัยด้านการทหารกับดาร์พาเท่านั้น ในขณะที่มหาวิทยาลัยและหน่วยงานอื่นอีกเป็น จำนวนมากต้องการเชื่อมต่อกับอาร์พาเน็ต แต่ดาร์พามีขอบเขตการดำเนินงานเน้นทางด้านการทหาร จึงไม่สามารถให้เงินทุนสนับสนุนแก่หน่วยงานโดยทั่วไปได้ ทคโนโลยีของเครือข่ายที่มีต้นแบบมาจากอาร์พาเน็ตส่งผลให้มีการก่อตั้งเครือข่ายขึ้นอีกหลายเครือข่าย เครือข่ายของเอ็นเอสเอฟ เอ็นเอสเอฟเป็นหน่วยงานที่เล็งเห็นความสำคัญด้านเทคโนโลยีเครือข่าย เพื่องานวิจัยจึงได้เตรียม แผนการขยายโอกาสการใช้เครือข่ายให้กว้างขวางออกไปยิ่งขึ้น ในปี พ.ศ. 2523 เอ็นเอสเอฟ ได้จัดสรรงบประมาณสร้างศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ระยะแรกขึ้น 6 แห่ง และปีถัดมาได้ปรับ ปรุงเครือข่ายที่ที่ต่อเชื่อมศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์เหล่านี้ใหม่ โดยใช้ Protocol TCP/IP และให้ชื่อเครือข่ายว่า "เอ็นเอสเอฟเน็ต" ( NSFNET ) ศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ทั้ง 6 แห่งประกอบด้วย

ศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์แห่งชาติ จอห์น วอน นอยมานน์ ( John von Neumann national; Super Computer Center :JVNNSC ) ในเมืองพรินเซตัน มลรัฐนิวเจอร์ซี
ศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ซานดิเอโก ( San Diego Supercomputer Center : SDSC ) มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย
ศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ประยุกต์แห่งชาติ ( National Center for Supercomputing Applications : NCSA ) มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์
ศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์แห่งชาติที่คอร์เนลล์ (Cornell National Supercomputing Facility : CNSF ) มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์
ศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์พิทสเบอร์ก ( Pittsburgh Supercomputer Center : PSC ) มหาวิทยาลัยพิทสเบอร์ก
แผนกวิทยาศาสตร์คำนวณแห่งศูนย์วิจัยบรรยากาศแห่งชาติ ( The Scientific Computing Division of the National Center for Atmospheric Research : NCAR ) ที่เมืองบูลเดอร์ มลรัฐ โคโลราโด
นักวิจัยที่ทำงานกับ NSFสามารถใช้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์เพื่อการวิจัยและใช้บริการ เครือข่ายอื่น ๆ เช่น E-mail การถ่ายโอนแฟ้ม และการใช้ข้อมูลร่วมกัน เป็นต้น ซึ่งปุจจุบันก็ยังเปิดให้บริการ ตามวัตถุประสงค์นี้อยู่

จากอาร์พาเน็ตสู่อินเทอร์เน็ต

ในระยะต้นของการพัฒนาเครือข่าย อาร์พาเน็ตเป็นเส้นทางสื่อสารหลักของเครือข่าย ที่เรียกว่า "สันหลัง" หรือ "Backbone" ภายในทวีป และในช่วงต่อมาจึงมีเครือข่ายอื่นเชื่อมต่อเข้ามา เช่น NSFnet และ เครือข่ายของ NASA เป็นต้น ชื่อที่ใช้เรียกเครือข่ายก็เปลี่ยนไปเป็นลำดับจาก อาร์พาอินเทอร์เน็ต เป็น เฟเดอรัล รีเสิร์ช อินเทอร์เน็ต และยังเปลี่ยนไปเป็น TCP/IP Internet กระทั่งในที่สุดกลายมาเป็นชื่อที่ร ู้ จักในปัจจุบันว่า "อินเทอร์เน็ต" พัฒนาการต่อมา ในปลาย พ.ศ. 2526 อาร์พาเน็ตถูกแบ่งแยกเป็น 2 เครือข่าย คือ เครือข่ายด้านการ วิจัยและเครือข่ายของกองทัพ เครือข่ายด้านงานวิจัยยังคงใช้ชื่อ อาร์พาเน็ตอยู่เช่นเดิม ส่วนเครือข่ายของ กองทัพมีชื่อเรียกใหม่ว่า "มิลเน็ต" ( MILNET ) อาร์พาเน็ตให้บริการจนกระทั่งถึงจุดที่สมรรถนะของเครือข่ายไม่พอเพียงที่จะรับภาระการสื่อสาร หลักของอินเทอร์เน็ตอีกต่อไป ดาร์พาจึงได้ปลดระวางอาร์พาเน็ตลงในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2533 และเอ็นเอสเอฟเน็ตได้รับเป็นเส้นทางหลักของการสื่อสารแทน การเติบโตของอินเทอร์เน็ต ในช่วงหนึ่งปีให้หลังของการเปลี่ยนมาใช้ TCP/IP มีจำนวนโฮสต์ในอินเทอร์เน็ต รวมกัน 213 โฮสต ์ ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2529 จำนวนโฮสต์ในอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นเป็น 1,024 โฮสต์ และในเดือน มกราคมปี พ.ศ.2536 จำนวนโฮสต์ในอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นไปกว่า 1,000,000 โฮสต์ แต่ละวันจะ มีโฮสต์เพิ่มเข้าสู่ระบบและมีผู้ใช้รายใหม่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จำนวนโฮสต์โดยประมาณภายใน อินเทอร์เน็ตนับจากปี พ.ศ. 2524 ถึง 2537 มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นแบบเอ๊กโปเนนเชียล นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 จำนวนโฮสต์ในอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่าตัวในทุก ๆ ปี และยังคงเพิ่มขึ้นอย่าง ไม่หยุดยั้ง จำนวนโฮสต์โดยประมาณใน พ.ศ. 2538 คาดว่ามีราวหกล้านเครื่อง หากประเมินว่าโฮสต ์หนึ่งมีผู้ใช้เฉลี่ย 5-8 ราย จะประมาณว่า มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกอยู่กว่า 30 ล้านคน การขยายตัว ของอินเทอร์เน็ตในปัจจุบันอยู่ในอัตรา 10-15 % ต่อเดือน




 

Create Date : 21 ธันวาคม 2550    
Last Update : 21 ธันวาคม 2550 10:06:09 น.
Counter : 297 Pageviews.  

เน็ตความเร็วสูงผ่าน ADSL ทางเลือกใหม่ของคนไซเบอร์

ช่วงนี้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตหลายเจ้าเริ่มบุกตลาดอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง สังเกตได้จากสื่อโฆษณาต่างๆ ที่เห็นกันบ่อยขึ้น อย่างโฆษณาที่มีชายหนุ่มนายหนึ่งนั่งเล่นเน็ตแล้วอยากดาวน์โหลดข้อมูล แล้วก็ปรากฏสิ่งอัศจรรย์ใจที่เน็ตที่ใช้โหลดข้อมูลได้เร็วจนไม่มีเวลาแว่บไปเข้าห้องน้ำ เจอเข้าแบบนี้คงมีชาวไซเบอร์หลายคนที่อยากทำให้เครื่องที่บ้านเร็วเหมือนในโฆษณาแน่ๆ ใช่ไหมครับ ถ้าสนใจก็ต้องเตรียมตัวให้ดี เพราะบทความที่ผมกำลังจะพูดถึงนี้ จะทำให้คุณก้าวเข้าสู่โลกอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงแบบในโฆษณา ส่วนจะต้องรู้อะไรและทำอย่างไรบ้างนั้นต้องอ่านที่นี่เลยครับ

ช่วงนี้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตหลายเจ้าเริ่มบุกตลาดอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง สังเกตได้จากสื่อโฆษณาต่างๆ ที่เห็นกันบ่อยขึ้น อย่างโฆษณาที่มีชายหนุ่มนายหนึ่งนั่งเล่นเน็ตแล้วอยากดาวน์โหลดข้อมูล แล้วก็ปรากฏสิ่งอัศจรรย์ใจที่เน็ตที่ใช้โหลดข้อมูลได้เร็วจนไม่มีเวลาแว่บไปเข้าห้องน้ำ เจอเข้าแบบนี้คงมีชาวไซเบอร์หลายคนที่อยากทำให้เครื่องที่บ้านเร็วเหมือนในโฆษณาแน่ๆ ใช่ไหมครับ ถ้าสนใจก็ต้องเตรียมตัวให้ดี เพราะบทความที่ผมกำลังจะพูดถึงนี้ จะทำให้คุณก้าวเข้าสู่โลกอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงแบบในโฆษณา ส่วนจะต้องรู้อะไรและทำอย่างไรบ้างนั้นต้องอ่านที่นี่เลยครับ

ฝันที่ไม่ไกลเกินเอื้อมของคนไซเบอร์
การใช้งานอินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วที่สูงขึ้นเป็นความฝันสำหรับบรรดาเหล่านักไซเบอร์ทุกคน เพราะความเร็วของอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้น จะช่วยให้คุณก้าวเข้าสู่โลกแห่งไซเบอร์เร็วมากขึ้นอย่างที่ต้องการ ทั้งการค้นหาข่าวสารข้อมูล การรับส่งอีเมล์ ความบันเทิง สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น การเล่นเกม การดูตัวอย่างภาพยนตร์จากอินเทอร์เน็ต รวมไปถึงการสนทนาที่เรียกว่า Voice-over IP รวมถึงการคุยแบบเห็นภาพ หรือว่า Video Conference นั่นเอง

ในอดีตอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงสำหรับการใช้งานภายบ้านดูเหมือนจะเป็นฝันที่เกินจริง เพราะสายโทรศัพท์ธรรมดาคงใช้สำหรับดาวน์โหลดไฟล์ขนาดใหญ่ได้ยาก แต่ล่าสุดจากการพัฒนาระบบสื่อสารในบ้านเรา ช่วยให้สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านทางคู่สายโทรศัพท์ได้ ซึ่งก็คือเทคโนโลยีแห่งการสื่อสารที่เรียกว่า ADSL (Asymmetric Digital Subscriber Line) นั่นเองครับ
อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงดียังไง
ผมคิดว่าเราคงจะพบกับปัญหาเดียวกัน สำหรับการใช้งานอินเทอร์เน็ตจากบ้าน ไม่ว่าจะเป็นการรับหรือส่งอีเมล์ ซึ่งหากมีขนาดใหญ่หน่อย ก็ต้องรอกันนานปานประหนึ่งว่าข้ามชาตินั่นแหละครับ กว่าอีเมล์ที่จะถูกส่งออกไปได้ หรือหาต้องการดาวน์โหลดไฟล์โปรแกรมต่างๆ จากอินเทอร์เน็ตก็ต้องใช้เวลานาน กว่าจะดาวน์โหลดได้สำเร็จ โดยเฉพาะหากว่าเป็นไฟล์ที่สำคัญ เช่น แพตช์สำหรับแก้ไขช่องโหว่ในวินโดวส์เพื่อป้องกันไม่ให้ถูกโจมตีผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยไวรัส Blaster เหมือนกับที่ผ่านมา หรืออาจจะเป็นไฟล์อัพเดตสำหรับวินโดวส์ เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงจะช่วยเหลือให้ให้คุณสามารถโหลดไฟล์เหล่านี้ได้รวดเร็วขึ้น จากที่ต้องใช้เวลาเป็นชั่วโมงๆ ก็อาจจะเหลือเพียงไม่กี่นาทีเท่านั้น ซึ่งอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงไม่เพียงช่วยให้คุณใช้งานอินเทอร์เน็ตได้รวดเร็วขึ้นเท่านั้น ยังช่วยประหยัดเวลาที่คุณต้องใช้งานอินเทอร์เน็ต หรือเสียเวลาไปกับการรอคอยข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตด้วย

อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ไม่ได้มีประโยชน์สำหรับการเอาไว้ดาวน์โหลดเพียงอย่างเดียวเท่านั้น จะเอาไว้ใช้ประโยชน์ในการสื่อสารอัน นอกเหนือจากการรับส่งอีเมล์ที่เร็วขึ้นแล้ว ยังใช้ในการสื่อสารข้อมูลด้วยเสียงหรือภาพวิดีโอผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้ด้วย และในปัจจุบันแอพพลิเคชันที่อำนวยให้ต้องใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงก็มีเพิ่มมากขึ้น เช่น ทางด้านความบันเทิง ก็มีเกมออนไลน์ที่หลายๆ เจ้า ต่างก็พากันออกเกมใหม่ๆ สู่ตลาด เพื่อดึงให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตได้สัมผัสกับโลกของเกมออนไลน์มากขึ้น หรือบรรดาวงการศึกษาก็น่าจะใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงอำนวยความสะดวกสำหรับการเรียนรู้ผ่านทางอินเทอร์เน็ต หรือที่เรียกว่า E-learning ซึ่งก็จะทำให้ผู้เรียนได้ประโยชน์จากทั้งภาพและเสียง มากกว่าการใช้งานอินเทอร์เน็ตธรรมดา

อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงมีให้เลือกใช้งานกันหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นอินเทอร์เน็ตที่วิ่งผ่านทางบริการของ ISDN หรือว่าเคเบิลโมเด็ม แต่ที่กำลังมาแรงและมีการผลักและดันให้ใช้งานกันมากขึ้น ในผู้ใช้และประชาชนทั่วๆ ไปตามโครงการของ ICT ก็คือ ADSL หรือบรอดแบนด์สำหรับบ้านนั่นเอง ในคราวนี้เรามารู้รักกับ ADSL กันดีกว่า ว่าทำไมถึงได้สารพัดประโยชน์ขนาดนั้น

ทำไมต้องเป็น ADSL
ADSL คือเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูง บนเครือข่ายสายทองแดง หรือคู่สายโทรศัพท์นั่นเองครับ โดย ADSL เป็นเทคโนโลยีในตระกูล xDSL ที่มีลักษณะสำคัญคืออัตราการเร็วในการรับข้อมูล (Downstream) และอัตราการเร็วในการส่งข้อมูล (Upstream) ไม่เท่ากัน ซึ่งอัตรารับข้อมูลสูงสุดที่ 8 เมกะบิตต่อวินาที และอัตราการส่งข้อมูลสูงสุดที่ 1 เมกะบิตต่อวินาที ระดับความเร็วในการ รับ-ส่ง ข้อมูลจะขึ้นอยู่กับ ระยะทาง และคุณภาพของคู่สาย ข้อดีของ ADSL ก็คือคุณสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตไปพร้อมๆ กับคุยโทรศัพท์ได้ เพราะได้ใช้เทคนิคการเข้ารหัสสัญญาณ ที่จะแบ่งย่านความที่บนคู่สายทองแดง ออกเป็น 3 ช่วงคือ ช่วงความถี่โทรศัพท์ (POTS) ช่วงความถี่ของการส่งข้อมูล (Upstream) ช่วงความถี่ในการรับข้อมูล (Downstream) จึงทำให้สามารถส่งข้อมูล และใช้โทรศัพท์ได้ในเวลาเดียวกัน ลืมปัญหาของการที่ต้องใช้คู่สายถึงสองเส้น หากต้องการใช้งานโทรศัพท์ธรรมดา และอินเทอร์เน็ตพร้อมๆ กันบนเทคโนโลยีของโมเด็ม 56K ไปได้เลย ด้วยเหตุนี้เมื่อคู่สายโทรศัพท์ของเรามีความเร็วที่เพิ่มขึ้นแล้ว ก็เท่ากับว่า เราสามารถเข้าใช้งานไปยังผู้ให้บริการทางด้านอินเทอร์เน็ตได้รวดเร็วขึ้นนั่นเอง

ADSL จัดว่าเป็นบรอดแบนด์อย่างหนึ่งครับ แต่เป็นบรอดแบนด์ในราคาประหยัด ที่มีค่าใช้จ่ายต่ำ และออกแบบมาให้เหมาะสมสำหรับการใช้งานอินเทอร์เน็ตจากบ้านที่มีความต้องการในการดาวน์โหลดข้อมูลมากกว่าการส่งข้อมูลออกจากเครื่อง ดังนั้นเทคโนโลยี ADSL จึงมีประโยชน์มากสำหรับผู้ต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่บ้าน เพราะช่วยให้สายโทรศัพท์มีความสามารถในการรับส่งข้อมูลที่สูงขึ้น ช่วยให้ใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ในความเร็วไม่แตกต่างไปจากที่ทำงาน ซึ่งเรื่องราวที่เราจะพูดถึงกันในคราวนี้ก็คือเรื่องของ ADSL นี่หล่ะครับ เนื่องจากอินเทอร์เน็ตที่ให้บริการในปัจจุบัน ต่างก็อาศัยเจ้า ADSL พาสัญญาณอินเทอร์เน็ตมาถึงบ้านได้อย่างรวดเร็วขึ้น กันซะเป็นส่วนใหญ่ และเรียกกันง่ายๆ ว่า Hi Speed Internet นั่นเอง
ความแตกต่างระหว่าง ADSL และโมเด็ม 56K
ADSL ไม่เหมือนกับโมเด็ม 56K ที่ติดมากับเครื่องโดยทั่วๆ ไป เพราะไม่ใช่ว่าคุณนึกอยากจะใช้งาน ADSL ก็ไปหาซื้อชุดคิทอินเทอร์เน็ตจากร้าน 7-Eleven แล้วต่อสายโทรศัพท์เข้ากับโมเด็มเพื่อใช้งานได้เลย เพราะ ADSL มีขั้นตอนที่ยุ่งยากกว่า เนื่องจากปัจจัยที่สำคัญสองสามประการ อย่างแรกชุดสายโทรศัพท์ในเขตโทรศัพท์ที่คุณใช้งานอยู่ จะต้องมีการติดตั้งฮาร์ดแวร์เพื่อให้บริการไว้เตรียมรองรับอยู่แล้ว ตามมาด้วยว่าสายโทรศัพท์ที่คุณต้องการใช้งานนั้น มีคุณภาพพอเพียงสำหรับบริการ ADSL หรือไม่ และสุดท้าย ก็คือต้องใช้โมเด็มพิเศษที่ทำงานในระบบ ADSL โดยเฉพาะ ถึงจะใช้งานได้

ดังนั้น ถึงแม้ ADSL จะได้เปรียบตรงที่ให้อัตราการโอนถ่ายข้อมูลสูง แต่ข้อจำกัดของการใช้งาน ADSL ก็คือจำกัดเบอร์โทรศัพท์เอาไว้ โดยจะต้องใช้งาน ADLS กับคู่สายโทรศัพท์ที่ได้ร้องขอไปเท่านั้น ไม่สามารถใช้งานข้ามเบอร์ หรือสลับสายโทรศัพท์ไปยังเบอร์อื่นๆ ได้ ไม่เหมือนกับ 56K ที่คุณสามารถนำไปใช้งานที่ไหนก็ได้ในทุกที่ที่ต้องการ ขอเพียงให้โทรศัพท์เข้าถึงได้เท่านั้นเอง

การติดตั้งและใช้งาน ADSL ใช่ว่าจะได้ความเร็วตามที่เราร้องขอเสมอไป เช่น หากขอการติดตั้งใช้งานที่บริการ 128 kbps แต่ ADSL ยังมีข้อจำกัดในเรื่องระยะทางเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะยิ่งห่างจากชุมสายมากเท่าไหร่ อัตราของการรับส่งข้อมูลก็จะต่ำลงเท่านั้น ดังนั้นหากคุณอยู่ห่างจากศูนย์กลางของพื้นที่ให้บริการของชุมสาย อัตราการรับส่งข้อมูลก็จะลดลง ซึ่งทางผู้ให้บริการส่วนมากจึงต้องมีการทดสอบก่อนว่าคู่สายโทรศัพท์ของคุณสามารถรองรับบริการของ ADSL ได้อย่างเต็มความสามารถหรือไม่ ?

สิ่งที่ตามมาอีกเรื่องหนึ่งก็คือบริการของ ADSL ใช่ว่าจะให้คุณได้บริการเต็มความสามารถของแบนด์วิดธ์ที่ขอไป เช่น การใช้งานที่ 128 kbps คุณจะใช้งานได้เต็ม 128 kbps บางช่วงเวลาเท่านั้น เพราะ 128 kbps จะถูกแชร์ให้กับผู้ร้องของบริการรายอื่นๆ ที่อยู่ละแวกเดียวกันกับคุณ ซึ่งจะทำให้ต้องแบ่งปันแบนด์วิดธ์ของการใช้งานออกตามจำนวนของผู้ใช้ แต่ในปัจจุบันยังคงไม่ได้เป็นปัญหามากมายนัก ทั้งนี้ก็เพราะจำนวนของการใช้งาน ยังคงไม่มากเท่าไหร่นั่นเอง

สรุปก็คือ หลังจากที่คุณได้ร้องขอบริการ ADSL ไปแล้ว คุณจะสามารใช้งาน ADSL ได้เฉพาะกับเบอร์ที่ขอไปเท่านั้น ไม่สามารถเปลี่ยบนเบอร์ หรือนำโมเด็ม ADSL ไปใช้ในที่อื่นๆ ได้ และแบนด์วิดธ์ที่ได้ก็ไม่ใช่ว่าจะได้เต็มตามจำนวนที่ร้องขอบริการไป เพราะปัจจัยหลายๆ ประการ เช่น คุณภาพของสายโทรศัพท์ ระยะทางจากชุมสายถึงบ้านคุณ และจำนวนผู้แบ่งปันการใช้งาน ADSL ที่อยู่ละแวกเดียวกันนั่นเอง ซึ่งหากว่ามีการแชร์กันมากๆ ไม่เพียงแค่แบนด์วิดธ์เท่านั้นที่ถูกแบ่งปันไป การเข้าใช้งานอาจจะมีปัญหาตามมา เช่น ล็อกอินเข้าไปใช้งาน ADSL ไม่ได้ หรืออินเทอร์เน็ตช้ามากๆ นั่นเองครับ อันนี้พูดถึงกรณีที่อยู่ในช่วงเวลาที่คนใช้งานพร้อมๆ กันเยอะๆ นะครับ แต่ส่วนมากก็ไม่ได้เป็นถึงขนาดนั้น เพราะผู้ให้บริการส่วนใหญ่ก็รักษาคุณภาพของการให้บริการอยู่พอสมควร ...
อยากใช้ ADSL แบบฟรีๆ มีไหม
เนื่องจาก ADSL เป็นบรอดแบนด์อย่างหนึ่ง ดังนั้นจึงต้องมีส่งสัญญาณ ADSL มาจากผู้ให้บริการก่อน และต้องการล็อกอินเข้าใช้งาน ซึ่งไม่เหมือนกับโมเด็ม 56K ใช้การส่งข้อมูลผ่านทางสายโทรศัพท์โดยตรง ซึ่งเพียงคุณมีแอ็กเคานต์เซิร์ฟเวอร์ผู้ให้บริการก็สามารถใช้งานได้ทันที ดังนั้น คนที่ชอบของฟรีคงต้องทำใจยอมควักกระเป๋าจ่ายค่าใช้บริการ ADSL เนื่องจากต้องมีสัญญาณของ ADSL ส่งมายังหมายเลขโทรศัพท์ที่คุณจะใช้งานก่อนจึงจะใช้งานได้


จะเริ่มต้นยังไงดี
ถึงตอนนี้ก็คงอยากจะใช้ ADSL บ้างแล้วนะครับ ที่นี้เราจะไปติดต่อที่ไหนดี เพราะส่วนใหญ่อาจจะคิดว่าเราต้องติดต่อกับผู้ให้บริการชุมสายโทรศัพท์ก่อนว่าเขตที่เราอยู่นั้น ได้ให้บริการหรือไม่ ? อันที่จริงเราสามารถต่อต่อกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงรายต่างๆ ได้เลยครับ โดยไม่ต้องเช็กกับกับทางผู้ให้บริการโทรศัพท์ก่อน ซึ่งทางผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตก็จะตรวจสอบว่าเบอร์โทรศัพท์ของเรานั้น สามารถใช้งาน ADSL ได้หรือไม่ ถ้าทางโน้นเช็กว่าใช้งานได้ เขาก็จะแจ้งการตอบรับมาให้ ที่นี้ก็ถึงเวลาที่ต้องเสียเงินแล้ว
ค่าใช้จ่ายสำหรับบริการ ADSL
ADSL มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง และคุ้มไหมหากว่าจะติดตั้ง ADSL ไว้ใช้งานที่บ้าน แน่นอนว่าอันดับแรกสุดหลังจากที่คุณร้องของการบริการ ADSL ไปแล้ว และได้รับการตอบรับว่าสามารถใช้งานได้ สิ่งที่คุณต้องจ่ายเป็นอันดับแรกก็คือค่าโมเด็มตัวใหม่ในระบบ ADSL ซึ่งอาจจะหาซื้อได้จาก บรรดาห้างสรรพสินค้าไอทีทั่วๆ ไป หรืออาจจะขอซื้อจากผู้ให้บริการ ADSL เลยก็ได้ โดยสนนราคาจะอยู่ที่พันกว่าๆ ไปจนถึง สามพันบาท แล้วแต่ยี่ห้อและรูปแบบการทำงานของโมเด็ม ซึ่งกลัวว่าถ้าหาซื้อโมเด็มแล้วจะนำมาใช้งานไม่ได้ หรือได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ก็จะซื้อจากผู้ให้บริการเลยก็ได้ หรือหากคุณมีโมเด็ม ADSL อยู่แล้ว ก็ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายตรงจุดนี้ แต่ก็ต้องทดสอบก่อนว่าโมเด็มที่มีอยู่สามารถใช้งานร่วมกับผู้ให้บริการ ADSL ได้

ค่าใช้จ่ายหลักของการใช้งาน ADSL ก็คือค่าบริการรายเดือน อยู่ระหว่างห้าร้อยบาทจนถึงพันกว่าบาท แล้วแต่บริการที่คุณเลือกใช้ เช่นในปัจจุบันที่ TA ได้ให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านทาง ADSL โดยมีอัตราการให้บริการอยู่ที่ 550 บาท แต่ก็สามารถใช้งานได้เฉพาะเว็บหรืออินเทอร์เน็ตภายในประเทศเท่านั้น หากต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตเพื่อต่อออกไปต่างประเทศ ก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายสำหรับชั่วโมงอินเทอร์เน็ตเพิ่มต่างหากนอกเหนือจาก 550 บาท ที่คุณต้องจ่ายไปก่อนแล้ว ส่วนผู้ให้บริการรายอื่นๆ ที่มีการให้บริการแพงกว่า เพราะอาจจะมีการรวมค่าใช้งานอินเทอร์เน็ตต่างประเทศเข้าไปแล้ว อันนี้คุณต้องสอบถามกับผู้ให้บริการเอง

ดูเหมือนว่าค่าใช้งานบริการของ ADSL จะแพงกว่าค่าใช้งานอินเทอร์เน็ตจากการใช้งานโมเด็มทั่วๆ ไป แต่ ADSL ก็มีข้อได้เปรียบก็คือ คุณไม่ต้องเสียค่าโทรศัพท์เพื่อโทรออกไปยังผู้ให้บริการ เพราะบริการ ADSL เป็นการให้บริการในรูปแบบของ always on คือเปิดเครื่องแล้วใช้งานได้เลย ไม่ต้องกลัวสายตัดแล้วต้องเสียค่าโทรออกหลายๆ ครั้ง เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับโมเด็ม 56K ที่นอกจากชั่วโมงอินเทอร์เน็ตที่ต้องจ่ายแล้ว ยังต้องมีค่าโทรออกไปยังผู้ให้บริการเพิ่มเข้ามาอีกด้วย ซึ่งหากนับกันเป็นเดือนๆ แล้ว ก็อาจจะไม่แพ้กับการใช้งานบริการ ADSL เลยก็ได้

นอกจากนี้ เราอาจจะยังได้ใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในราคาถูกจากนโยบายของกระทรวง ICT ที่ทั้งผลักและดันใหคนหันมาใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงกันมากขึ้น เพราะปัจจุบันยังมีผู้ใช้งานเพียงหมื่นกว่ารายเท่านั้นเอง ซึ่งจะทำให้ต้นทุนของการให้บริการนั้นสูง แต่ถ้ามีผู้ใช้ที่จำนวนที่เพิ่มขึ้น ราคาของค่าบริการก็จะถูกลง และเราก็อาจจะได้คุณภาพให้การให้บริการจากผู้ให้บริการรายต่างๆ เพิ่มขึ้นมากกว่านี้
ยังคงใช้งานโทรศัพท์ได้เหมือนเดิม
ข้อดีอีกอย่างหนึ่งสำหรับการใช้งาน ADSL ก็คือ คุณสามารถใช้โทรศัพท์ควบคู่ไปพร้อมๆ กับการใช้อินเทอร์เน็ตได้ ไม่ต้องกลัวว่าอินเทอร์เน็ตจะหลุดหากมีว่าโทรศัพท์เข้ามา เพราะช่วงสัญญาณของโทรศัพท์และสัญญาณของ ADSL นั้นจะแยกคนละส่วนกัน แต่หากว่าจะใช้งานโทรศัพท์ไปพร้อมๆ กัน ก็ต้องมีตัวแยกสัญญาณโทรศัพท์เข้ามาช่วยครับ และราคาค่าใช้จ่ายก็ไม่ได้มากอะไร แต่มันจะช่วยให้คุณไม่ต้องขอคู่สายโทรศัพท์มาใช้งานสำหรับการใช้งานอินเทอร์เน็ตโดยเฉพาะ ซึ่งก็เรียกว่าคุ้มค่ามากกว่าการใช้คู่สายต่างสำหรับอินเทอร์เน็ตอย่างแน่นอน

คราวนี้ผมคิดว่าหลายคนคงพอจะรู้จักกับอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงกันไปแล้ว และคงจะไม่มีปัญหาหากว่าจะต้องใช้งานกัน เพราะการติดตั้งนั้นไม่ยากอะไร เปรียบไปก็เหมือนกับการติดตั้งโมเด็มเข้ากับคอมพิวเตอร์นั่นเองล่ะครับ แต่เสียบสายระหว่างคอมพิวเตอร์กับโมเด็มเข้าด้วยกัน แล้วติดตั้งไดรเวอร์ก็เรียบร้อยแล้ว ยิ่งสมัยนี้วินโดวส์รองรับระบบ Plug and Play เป็นส่วนใหญ่จึงไม่สร้างความยุ่งยากสำหรับมือใหม่แต่อย่างใด สำหรับคราวหน้าเรายังคงวนเวียนอยู่กับอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงกันต่อนะครับ แต่ผมจะเน้นสำหรับผู้ที่มีคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่อง และต้องการจะแชร์อินเทอร์เน็ตให้กับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ได้ใช้งานด้วย คราวหน้าเรามาดูกันครับว่า จะแชร์อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้เครื่องอื่นๆ ได้ต้องทำอย่างไรบ้าง


คัดลอกมาจากหนังสือนิตยสารคอมพิวเตอร์ทูเดย์ อ้างอิง //www.arip.co.th




 

Create Date : 19 ธันวาคม 2550    
Last Update : 19 ธันวาคม 2550 2:14:19 น.
Counter : 217 Pageviews.  

1  2  

บูรพาราศีเมษ
Location :
ชลบุรี Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ยินดีต้อนรับเพื่อนๆ ทุกท่านครับ ก็มีเพลงเพราะๆ มาให้ฟังกันด้วยครับ
Friends' blogs
[Add บูรพาราศีเมษ's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.