ข้อควรรู้ในการเปิดบัญชีซื้อ-ขายหุ้น

 

ขั้นตอนการเปิดบัญชีออนไลน์

 

1.เลือกบริษัทหลักทรัพย์ที่ต้องการขอเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านอินเทอร์เน็ต

 

2.กรอกแบบฟอร์มขอเปิดบัญชี พร้อมกรอกแบบฟอร์มเพิ่มเติมอื่น ๆ เช่น เอกสารคำขอให้หักบัญชีเงินฝากอัตโนมัติ ATS

 

3.เตรียมและจัดส่งหลักฐานที่ใช้การเปิดบัญชี

 

4.รอผลการพิจารณา (ประมาณ 1 สัปดาห์) และจะได้รับ Username และ Password
เพื่อนำไปใช้เข้าสู่ระบบซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านอินเทอร์เน็ต เช่น StreamingPro

 

 

ประเภทบัญชี

 

บัญชีเงินสด (Cash Account)

 

เป็นบัญชีที่ต้องชำระค่าหลักทรัพย์เต็มจำนวนด้วยเงินสด โดยโบรกเกอร์จะพิจารณาอนุมัติวงเงิน
ที่นักลงทุนจะสามารถ ใช้ซื้อหลักทรัพย์จากหลักฐานการเงิน แต่จะต้องฝากเงินเพื่อเป็น
หลักประกัน (15%) ทั้งนี้จะต้องชำระค่าซื้อหลักทรัพย์ภายใน 3 วันทำการนับจากวันที่ซื้อ
หลักทรัพย์ซึ่งนักลงทุนสามารถโอนเงินหรือตัดเงินผ่านบัญชีเงินฝากธนาคารอัตโนมัติ (ATS)
ส่วนในกรณีที่ขายหลักทรัพย์นักลงทุนจะได้รับชำระค่าขายหลักทรัพย์จากโบรกเกอร์ภายใน 3
วันทำการนับจากวันที่ขายหลักทรัพย์

 

 

บัญชีเงินฝาก (Cash balance Account)

 

สามารถลงทุนได้ตั้งแต่ 5,000 บาท  เป็นบัญชีที่นักลงทุนสามารถซื้อหลักทรัพย์ได้เท่ากับจำนวนเงินที่นำมาฝากไว้กับทางโบรกเกอร์ก่อน
การซื้อหลักทรัพย์ ทั้งนี้เงินฝากของนักลงทุนจะได้รับดอกเบี้ยเงินฝากตามอัตราที่โบรกเกอร์กำหนด

 

บัญชีเครดิตบาลานซ์ ( Credit balance Account)

 

เป็นบัญชีเงินกู้ยืมเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์ ซึ่งต้องเสียอัตราดอกเบี้ยตามที่โบรกเกอร์กำหนด
โดยนักลงทุนจะต้องวางเงินสดหรือหลักทรัพย์จดทะเบียนเป็นประกัน

 

 

บัญชีซื้อขายตราสารอนุพันธ์ (Derivatives Trading Account)

 

เป็นบัญชีสำหรับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท Futures หรือสัญญา Options
ซึ่งจดทะเบียนซื้อขายในตลาดอนุพันธ์แห่งประเทศไทย (TFEX) ทั้งนี้ นักลงทุนต้องวางเงิน
หลักประกัน ก่อนการลงทุนและอาจถูกเรียกหลักประกันเพิ่มหากระดับเงินประกันลดต่ำกว่า
อัตราที่กำหนด

 

 

หลักฐานที่ใช้ในการเปิดบัญชี

 

·       สำเนาบัตรประชาชน บัตรข้าราชการ หรือหนังสือเดินทาง

 

·       สำเนาทะเบียนบ้าน

 

·       สำเนาใบแจ้งรายการบัญชีธนาคารหรือสำเนาสมุดเงินฝากย้อนหลัง 6 เดือน

 

·       แบบคำขอให้หักบัญชีเงินฝากอัตโนมัติ (ATS)

 

·       ค่าอากรณ์แสตมป์ 30 บาท

 




 

Create Date : 27 พฤศจิกายน 2556   
Last Update : 27 พฤศจิกายน 2556 17:57:03 น.   
Counter : 880 Pageviews.  


กลยุทธ์การลงทุนในกองทุนรวม

 

กลยุทธ์การลงทุนในกองทุนรวม

 

     จากการวิเคราะห์ข้อแนะนำของผู้มีประสบการณ์ในการลงทุนโดยตรง รวมทั้งผู้จัดการกองทุนรวม และเหล่านักวิเคราะห์กองทุนรวม สรุปกลยุทธ์ที่น่าสนใจในการลงทุนกองทุนรวมได้ดังนี้

 

     1. ให้พิจารณาถึงต้นทุนในการเลือกซื้อกองทุนรวม  เช่นกองทุนรวมที่อ้างอิงดัชนีSET50 ที่มีต้นทุนต่ำ  และง่ายในการติดตามการเปลี่ยนแปลง โดยพิจารณาเปรียบเทียบจากดัชนีอ้างอิง 

 

     2. อย่าให้ค่ากับผลงานในอดีตของกองทุนมากเกินไป อดีตไม่ได้ประกันผลงานอนาคต

 

    3. ใช้ผลงานในอดีตมาเป็นตัวกำหนดว่ากองทุนรวมนั้นมีความสม่ำเสมอของผลงานและเสี่ยงขนาดไหน โดยเฉพาะกองทุน LTF-RMF ซึ่งถือเป็นการลงทุนระยะยาว   ไม่ซื้อเพราะความสะดวกเพียงอย่างเดียว

 

    4. ระวัง กองทุนรวมที่เป็น ดารา” ที่มีผลงานที่โดดเด่น เพราะอนาคตอาจจะ “ตกอับ” หลังจากที่เราเข้าไปลงทุน

 

     5. ระวังขนาดของกองทุน เพราะเมื่อกองทุนยังเล็กนั้น อาจทำได้โดดเด่น แต่เมื่อกองทุนใหญ่ขึ้น ผลตอบแทนการลงทุนก็มักจะแย่ลง

 

     6. อย่าลงทุนในหลายกองทุนเกินไป  ไม่ได้เพิ่มผลตอบแทนให้เรา

 

     7. ซื้อกองทุนเท่าที่เหมาะสมกับตนเองแล้วถือไว้ ไม่ต้องซื้อขายหรือเปลี่ยนกองทุนไปมา 

 

     8. กำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน และเลือกกองทุนทีเหมาะสมกับตนเอง หากเลือกกองทุนประเภท “ACTIVE MANAGEMENT”  ต้องพิจารณาจากหลายปัจจัยเช่น ความมั่นคงของกิจการที่กองทุนเลือกไปลงทุน  มีทีมผู้บริหารรวมถึงผู้จัดการกองทุนที่มีความสามารถหรือไม่  มีผลงานสม่ำเสมอและที่สำคัญต้องสร้างผลตอบแทนดีกว่าดัชนีเทียบวัด (BENCHMARK) แล้วค่อยมาเลือกความสะดวกในการใช้บริการ แต่สำหรับนักลงทุนทั่วไปควรจะพิจารณาเลือกกองทุนจากผลงานในอดีตที่มีความสม่ำเสมอต่อเนื่องในระยะยาวเป็นสำคัญ

 

    9. ใช้หลักการออมก่อนค่อยใช้จ่าย ใช้เงินออมมาลงทุน ไม่ไปกู้เงินมาลงทุน เนื่องจากไม่ว่าจะลงทุนในกองทุนรวมประเภทใดก็ตาม ยังมีความเสี่ยงตั้งแต่ระดับที่1ถึงระดับ 8 การลทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนจึงต้องศึกษาให้เข้าใจก่อนเสมอ

 

    10. การจับจังหวะลงทุน ควรทยอยลงทุนอย่างสม่ำเสมอด้วยวงเงินเท่าๆ กัน ตามรอบระยะเวลาที่กำหนดไว้ ที่หวังจะซื้อในราคาที่ถูกที่สุดในปีไม่ใช่เรื่องง่าย

 

      จากสถิติ “หุ้นจะดีช่วงไตรมาสที่ 1 ไตรมาสมาสที่ 2-3 ไม่ดี ส่วนไตรมาสที่ 4 จะเริ่มกลับมาดี”

 

สถิติส่วนใหญ่พบว่าช่วงเดือนก.ย.-ต.ค.น่าจะเป็นช่วงที่ซื้อหุ้นได้ถูกที่สุด แล้วไปสวิตชิ่งออกจากหุ้นกลับเข้ากองทุนตราสารตลาดเงินอีกครั้งในช่วงเดือนก.พ. โดยหลังจากนั้นจะซื้อเป็นปกติทุกเดือนอาจซื้อกองทุนตลาดเงินมากหน่อย แล้วเมื่อถึงช่วงจังหวะเดือน ก.ย.-ต.ค. ค่อยโยกเงินในกองทุนตราสารตลาดเงินไปเข้าหุ้นอีกครั้งช่วงปลายปี

 

     11. ทบทวนพอร์ตการลงทุนอย่างน้อยปีละครั้ง และปรับพอร์ตให้เพิ่มผลตอบแทนหรือลดความเสี่ยง

 

     12.  ไม่กลัวความเสี่ยงมากเกินไป  กองทุนรวมตราสารหนี้แบบมีกำหนดเวลา เหมาะกับเงินลงทุนระยะสั้นที่กำหนดเวลาใช้เงินชัดเจน มีความเสี่ยงต่ำให้ผลตอบแทนไม่มาก   ส่วนกองทุนรวมหุ้นแม้จะมีความผันผวน แต่ในระยะยาวแล้วให้ผลตอบแทนได้สูง เฉลี่ยถึงปีละ 12% ดังนั้น ถ้าตั้งใจจะออมเงินระยะยาว ควรเลือกกองทุนรวมหุ้นเพื่อผลตอบแทนได้เพิ่มขึ้น

 

     13.  ไม่รอซื้อนาทีสุดท้าย  ไม่ควรรอจนเกือบสิ้นปีแล้วค่อยลงทุน ปกติถ้าไม่ใช่ปีที่ตลาดผันผวนมาก มูลค่าหน่วยลงทุนจากต้นปีไปปลายปีมักค่อยเพิ่มขึ้น ถ้าปล่อยให้เวลาผ่านไป อาจจะต้องซื้อของแพง

 

     14. ควรลงทุนให้เต็มสิทธิในการลดหย่อนภาษี ทั้งในส่วนของกองทุน LTF-RMF แต่ไม่ควรลงทุนในกองทุนดังกล่าวเกินสิทธิที่ได้รับการลดหย่อนภาษี เพราะเงินลงทุนส่วนเกินหากมีกำไรจากการลงทุน หรือ Capital Gain จะถูกนับรวมเป็นรายได้เพื่อคำนวณเสียภาษีเงินได้บุคคล

 

      15. ไม่มองข้ามกองทุนรวมเพื่อการเกษียณ   ซึ่งเป็นเครื่องมือการออมที่มีเงื่อนไขบังคับ ก็เพื่อสร้างวินัยการออมและป้องกันไม่ให้นำเงินออกมาใช้ก่อนเกษียณ  RMF มีการลงทุนให้เลือกหลากหลาย ผู้ลงทุนเลือกให้เหมาะกับตัวเอง ปัจจัยหลักคือมีเวลาอีกนานแค่ไหนกว่าจะเกษียณ หากยาวนานถึง 10 ปี การลงทุนในหุ้นเป็นสัดส่วนมาก ก็จะช่วยให้เงินเกษียณก้อนนี้เติบโตได้ดี

 

     16. มีผู้รู้ได้เสนอตัวอย่างเทคนิคลงทุนกองทุนรวมโดยการทยอยซื้อทยอยขาย เพื่อลดความเสี่ยง (ที่มา //www.eanic.com/momeblog)

 

         - ทยอยซื้อ แต่มีช่วงหุ้นตก ควรยิ่งซื้อหรือซื้อมากเข้าไว้  อย่าลงทุนหมด อนาคตอาจผันผวน

 

         - รอจนกว่าดัชนีหุ้นขึ้น จะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับต้นทุน หากต้นทุนต่ำ ก็เร็วหน่อย

 

         - เมื่อได้กำไรแล้ว ทยอยปล่อยกำไรออกมา  เหลือต้นทุนไว้เพื่อทำกำไรต่อ   เหลือไว้แต่มูลค่าต้นทุน โดยเฉพาะพอหุ้นตกต่อเนื่องประมาณ 10 จุด รีบขายทันที

 

         - เมื่อหุ้นตกมากๆ ก็ควรเก็บซื้อใหม่อีกครั้ง กำหนดต้นทุนไว้ชัดเจน

 

    17. มีผู้รู้ได้เสนอตัวอย่างเทคนิคการลงทุนโดยนำดัชนีการวิเคราะห์เทคนิคใช้กำหนดจังหวะลงทุน ( ที่มา //cway-investment.blogspot.com/ 28 ธ.ค. 53          สำหรับผู้มีความรู้ในด้านกร๊าฟเทคนิคเฉพาะ)

 

         การกำหนดจังหวะซื้อขายหน่วยลง)ทุนจะใช้แนวโน้มของ SET50 เป็นตัวกำหนด โดยอาศัยหลักการพื้นฐาน คือการซื้อที่ดัชนีมีแนวโน้มจะเคลื่อนที่ขาขึ้น และขายเมื่อดัชนีมีการกลับทิศเป็นขาลง  และจะหยุดรอไม่ลงทุนในกรณีที่ตลาดทรงตัว เครื่องมือที่ใช้คือเส้นดัชนี EMA5 EMA10 และ EMA20 (Exponential Movimg Average)

 

         กลยุทธการลงทุน กรณีขาขึ้น : EMA 20 ความชันเป็นบวก

 

- ซื้อเมื่อ EMA5 มากกว่า EMA10 ในรอบแรก 40% และซื้อเมื่อ EMA5 มากกว่า EMA20 อีก 60%

 

- ขายเมื่อEMA5 น้อยกว่า EMA10 ในรอบแรก 40% และซื้อเมื่อ EMA5 น้อยกว่า EMA20 อีก 60%

 

         ซึ่งจะไม่ลงทุน(แม้ว่าจะมีสัญญาณซื้อ-ขาย)ในกรณีแนวโน้มออกข้าง (sideway) : EMA20 ความชันเป็น 0 และ กรณีแนวโน้มขาลง (down trend) : EMA20 ความชันเป็นลบ

 

      เมื่อ ดัชนีไม่ผ่านแนวต้านที่ 2 ที่ EMA20 ก็จะรอจนกว่าจะผ่านจึงจะซื้อหน่วยลงทุนเพิ่ม หรือถ้าเกิดกลับทิศแนวโน้ม มีสัญญาณขายก็จะทำการขายหน่วยลงทุนตามเงื่อนไข

 

          การซื้อขายด้วยเทคนิคนี้ไม่จำเป็นต้องลงทุนซื้อขายบ่อย การผิดพลาดจะน้อยกว่าการซื้อขายเองโดยที่ไม่วิเคราะห์ และไม่มีอารมณ์และจิตวิทยาของผู้ลงทุนมาเกี่ยวข้อง เพราะในตลอดปีการแกว่งเคลื่อนที่ขึ้นลงของดัชนีเกิดขึ้นตลอดเวลา ถ้าจับจังหวะได้โอกาส กระแสที่ทำกำไรก็มีสูง ที่สำคัญต้องไม่ลงทุนในช่วงตลาด sideway หรือ downtrend ด้วยเทคนิคนี้

 

        18. การสับเปลี่ยนกองทุนรวมRMF/LTF ใช้การจับจังหวะการลงทุน โดยคาดว่าเมื่อดัชนีตลาดหลักทรัพย์จะปรับตัวลดลง ให้สับเปลี่ยนจากกองทุนหุ้นมายังกองทุนเปิดตราสารหนี้ระยะสั้นเพื่อการเลี้ยงชีพ  แต่หากตลาดหุ้นปรับเพิ่มขึ้นให้สับเป็นกองทุนหุ้น จะไม่เสียโอกาสในการได้รับผลตอบแทนสูงเช่นกัน ทั้งนี้การสับเปลี่ยนกองทุนเป็นความสามารถของการตัดสินใจใช้ข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจ และการลงทุน

 

         19. พักเงินไว้ที่กองทุนตราสารตลาดเงิน (Money Market Fund) เพื่อ "รอจังหวะลงทุน” ให้ลดสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงลงในช่วงภาวะผันผวนไม่ว่าจะเป็นหุ้น ทองคำ หรือน้ำมันเพราะอยู่ในช่วงที่ตลาดมีโอกาสปรับฐาน จึงควรจะขายลดความเสี่ยงเข้ามาพักเงินไว้ในกองทุนตราสารตลาดเงินก่อนบางส่วนเพื่อรอความชัดเจนและหาโอกาสเข้าลงทุนต่อไป

 

          20. การลงทุนปี 2556   ปัจจัยเสี่ยงต่อการลงทุนได้แก่ ความเสี่ยงจากการฟื้นตัวของสหรัฐฯ ความเสี่ยงจากเศรษฐกิจถดถอยในยุโรป ความเสี่ยงจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน และความเสี่ยงจากเศรษฐกิจไทยเอง

 

        ความเสี่ยงของเศรษฐกิจไทย อยู่ที่การอุปโภคและบริโภค รวมถึงการลงทุนในประเทศ และการใช้จ่ายของภาครัฐ จะมีส่วนช่วยผลักดันการเติบโตของเศรษฐกิจไทยได้ดีเพียงไร และจะมีปัญหาการเมืองบั่นทอนความเชื่อมั่นของนักลงทุนเหมือนที่เกิดขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมาหรือไม่

 

          นักวิเคราะห์กองทุนรวมได้เสนอแนะว่า ควรกระจายเงินลงทุน 30% ออกไปในหุ้น ตราสารหนี้ และตลาดเงิน (Money Market) อย่างละเท่ากัน แล้วแบ่งเงินที่เหลือ 10% ลงทุนในทองคำหรือกองทุนอสังหาริมทรัพย์ แต่หากนักลงทุนรายใดชอบความท้าทายในตลาดหุ้น อาจเพิ่มน้ำหนักหุ้นแล้วลดน้ำหนักตราสารหนี้แทนได้

 

          หรือให้แบ่งเงินเป็น 4 ส่วน

 

      -ส่วนแรก 35% นำไปลงทุนตราสารหนี้ (ในจำนวนนี้อาจกระจายความเสี่ยงด้วยกองทุนในประเทศ 15% ที่เหลือลงทุนต่างประเทศ)

 

     -ส่วนที่สองนำเงิน 30% ลงทุนหุ้น (ให้น้ำหนักหุ้นต่างประเทศไม่เกิน 10%)

 

     -ส่วนที่สาม 10% ลงทุนทองคำ

 

     -และส่วนสุดท้าย 25% ถือเป็นเงินสด หรือพักไว้ใน Money Market เพื่อรอจังหวะลงทุน

 

 




 

Create Date : 21 พฤศจิกายน 2556   
Last Update : 21 พฤศจิกายน 2556 17:44:48 น.   
Counter : 1336 Pageviews.  


วิธิคิดดอกเบี้ยบัตรเครดิต เค้าคิดยังไง มาดูกัน

  ดอกเบี้ยบัตรเครดิต คิดยังไงมาดูกัน

         บัตรเครดิต คือปัจจัยทางการเงินที่มีติดกระเป๋ากันแทบทุกคนในยุคนี้ แต่ในการรูดบัตรแต่ละครั้งนั่นหมายความว่าจะต้องมีดอกเบี้ยตามมาเมื่อจ่ายไม่ทันกำหนดหรือมีการแบ่งจ่าย ดังนั้นเพื่อคงประสิทธิภาพให้วินัยทางการเงินของคุณ เราลองมาทำความรู้จักกับ ดอกเบี้ยบัตรเครดิต เพื่อคิดคำนวณรายจ่ายในการใช้บัตรเครดิตของคุณให้คุ้มค่ากันดีกว่าค่ะ โดยเรามีข้อมูลของดอกเบี้ยบัตรเครดิต จาก ธนาคารแห่งประเทศไทย มาฝาก จะเป็นอย่างไรบ้างไปดูกันเลย


 ดอกเบี้ยบัตรเครดิต จะเกิดขึ้นใน 2 กรณี

           คือ กรณีที่ชำระค่าสินค้าไม่เต็มจำนวนหรือทยอยผ่อนชำระ (และไม่ได้อยู่ภายใต้เงื่อนไขปลอดดอกเบี้ย หรือดอกเบี้ย 0%) หรือกรณีที่มีการเบิกถอนเงินสดมาใช้จ่ายล่วงหน้า แต่ไม่ว่าจะเป็นกรณีใด ธนาคารจะคิดอัตราดอกเบี้ยสูงสุดได้ไม่เกิน 20% ต่อปี ซึ่งการคิดดอกเบี้ยทั้งสองรูปแบบสามารถคำนวณได้ ดังนี้

         
(1) กรณีชำระคืนค่าสินค้าหรือบริการขั้นต่ำ หรือ บางส่วน (Interest on Revolving Credit)

           ตัวอย่าง วันที่ 5 ตุลาคม 2554 นาย ค. ใช้บัตรเครดิตซื้อสินค้าที่ร้านค้าแห่งหนึ่งจำนวน 18,000 บาท ธนาคาร ส่งใบแจ้งหนี้ที่ระบุรายละเอียด ดังนี้

 


ณ วันที่ 9 พฤศจิกายน 2554 นาย ค. ชำระเงินขั้นต่ำ คือ ร้อยละ 10 ของยอดค่าสินค้าทั้งหมด หรือเท่ากับ 1,800 บาท ดังนั้น ในรอบบัญชีถัดไป ธนาคารจะจัดส่งใบแจ้งหนี้ ซึ่งมีรายละเอียดยอดคงค้าง เท่ากับ 18,000-1,800 = 16,200 บาท และดอกเบี้ยอีกจำนวน  298.84 บาท
 โดยธนาคารจะคำนวณดอกเบี้ยแยกเป็น 2 ส่วน ดังนี้

          1) ส่วนแรก : ดอกเบี้ยจะคิดจากค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งหมดในรอบบัญชีที่แล้ว หรือ 18,000 บาท โดยจำนวนวัน จะนับจากวันที่สรุปยอดรายการ (25 ต.ค. 2554) จนถึงวันก่อนที่ธนาคารได้รับชำระเงินขั้นต่ำ (8 พ.ย. 2554) หรือเท่ากับ 15 วัน  (ทั้งนี้ ธนาคารหรือผู้ประกอบการบางราย อาจนับจำนวนวันจากวันที่เกิดรายการนั้น ๆ ซึ่งในกรณีนี้ คือ วันที่ 5 ต.ค. 2555)

          2)  ส่วนที่สอง : ดอกเบี้ยจะคิดจากยอดเงินต้นคงเหลือ หรือ 16,200 บาท โดยจำนวนวัน จะนับจากวันที่ชำระเงิน ขั้นต่ำ (9 พ.ย. 2554) จนถึงวันสรุปยอดรายการเดือนถัดไป (25 พ.ย. 2554) หรือเท่ากับ 17 วัน 

ตารางสรุปการคำนวณดอกเบี้ยบัตรเครดิต ในกรณีเลือกจ่ายชำระคืนค่าสินค้าหรือบริการขั้นต่ำ

 


(2) กรณีเบิกเงินสดล่วงหน้า (Interest on Cash Advance)


         ตัวอย่าง : วันที่ 1 ตุลาคม 2554 นาย ค. ใช้บัตรเครดิตเบิกเงินสดล่วงหน้ามาจำนวน 20,000 บาท ต่อมาได้รับใบแจ้งหนี้จากธนาคารพาณิชย์ซึ่งสรุปยอดรายการถึงวันที่ 25 ตุลาคม 2554 และกำหนดชำระเงินในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2554 (กรณีนี้วันสรุปยอดรายการถึงก่อนวันชำระเงิน) โดยธนาคารพาณิชย์คิดดอกเบี้ย 20% ต่อปี นาย ค. ต้องเสียดอกเบี้ยจากการเบิกเงินสดล่วงหน้าเป็นจำนวนเท่าไร

รู้ไหมว่า : ในการเบิกเงินสดล่วงหน้า นอกจากต้องจ่ายดอกเบี้ยแล้ว ยังอาจจะมีค่าธรรมเนียมตามอัตรา ที่ผู้ออกบัตรแต่ละรายกำหนดด้วย แต่แบงก์ชาติกำหนดให้ผู้ออกบัตรเรียกเก็บได้ไม่เกินร้อยละ 3 ของจำนวนเงินสดที่เบิกถอน

        
ทั้งนี้ ผู้สนใจใช้บริการบัตรเครดิตสามารถศึกษาวิธีการคำนวณดอกเบี้ยเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ของ ผู้ออกบัตรแต่ละราย หรือด้านหลังของใบแจ้งยอดบัญชีบัตรเครดิต

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก kapook.com และ ธปท.






 

Create Date : 21 พฤศจิกายน 2556   
Last Update : 21 พฤศจิกายน 2556 15:57:22 น.   
Counter : 1405 Pageviews.  


ตรวจสุขภาพทางการเงินกันเถอะ

 

การจะบอกได้ว่าคนๆ นั้นมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงหรือไม่ คงดูเพียงแค่เรื่องความอ้วนความผอมไม่ได้ บ่อยครั้งที่คนผอมกลับกลายเป็นคนอมโรค เช่นเดียวกับสุขภาพทางการเงิน ที่เราไม่สามารถตัดสินคนจากข้าวของเครื่องใช้ที่เขามีอยู่ได้ เพราะบางคนใช้ของราคาแพงมีแบรนด์เนมทุกชิ้น แต่เงินที่นำมาซื้อนั้นมาจากการก่อหนี้ แต่ละเดือนมีภาระผ่อนค่าบัตรต่างๆ จนแทบไม่เหลือไว้ใช้อย่างอื่น หรือเรียกง่ายๆ ว่าเป็นเจ้าแม่หรือเจ้าพ่อเงินผ่อน อย่างนี้คงบอกได้ยากว่าคนนั้นมีสุขภาพทางการเงินที่ดี

 

 ดังนั้น เพื่อจะบอกได้ว่าคุณมีสุขภาพทางการเงินที่แข็งแรงหรือไม่ เราต้องมาตรวจสุขภาพทางการเงินกันก่อน แล้วจะตรวจได้อย่างไร? ลองนึกถึงภาพเวลาที่เราต้องไปพบคุณหมอ คุณหมอจะบอกได้ว่าเราเป็นโรคอะไรหรือมีความเสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง คุณหมอก็จะส่งเราไปเจาะเลือดเพื่อเช็คค่าต่างๆ เสียก่อน การตรวจสุขภาพทางการเงินก็มีกระบวนการในทำนองเดียวกัน โดยต้องเริ่มจากการนำตัวเลขในงบการเงินส่วนบุคคลมาบวกลบคูณหารกันนิดหน่อย ก็จะได้อัตราส่วนทางเงินในด้านต่างๆ ที่จะบอกได้ว่าสุขภาพทางการเงินของเราเป็นอย่างไร ซึ่งแบ่งได้เป็น 4 ด้านหลักๆ คือ สภาพคล่อง หนี้สิน การออมการลงทุน และการคุ้มครองความเสี่ยง

 

อัตราส่วนสภาพคล่องเป็นตัวหนึ่งที่บอกได้ว่า เรามีการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับเหตุการณ์อันไม่คาดคิดเพียงพอแล้วหรือยัง โดยทั่วไปควรมีการสำรองเงินเผื่อกรณีฉุกเฉินไว้ประมาณ 3-6 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน ยกตัวอย่างเช่น หากเรามีค่าใช้จ่ายอยู่ประมาณเดือนละ 10,000 บาท ก็ควรกันเงินส่วนหนึ่งไว้เป็นสภาพคล่องประมาณ 30,000 – 60,000 บาท เป็นต้น การสำรองสภาพคล่องจะช่วยให้เราไม่ต้องไปกู้หนี้ยืมสินจากคนอื่นกรณีที่เกิดเหตุจำเป็นต้องใช้จ่ายนั่นเอง

 

อัตราส่วนด้านหนี้สินก็จะช่วยให้เราเห็นภาพว่า ปัจจุบันเรามีภาระหนี้มากน้อยเกินไปหรือยังเมื่อเทียบกับทรัพย์สินที่เรามี หรือเทียบกับรายได้ของเรา คนที่นิยมการซื้อสินค้าด้วยเงินผ่อนก็อาจมีอัตราส่วนด้านหนี้สินมากหน่อย ยิ่งคนที่มีภาระเงินผ่อนต่อเดือนมากเท่าไหร่ นั่นเท่ากับว่า ในแต่ละเดือนคุณเหลือเงินไว้ใช้จ่ายให้ตัวเองน้อยเท่านั้น

 

สำหรับ อัตราส่วนด้านการออมและการลงทุน บอกเราว่า ในแต่ละเดือนหรือแต่ละปีที่ผ่านไป เรามีการเก็บออมเงินบ้างหรือยัง หากมีการออมแล้ว คิดเป็นประมาณกี่เปอร์เซนต์เมื่อเทียบกับรายได้ การออมนั้น อาจเรียกได้ว่าเป็นรายจ่ายตัวหนึ่ง แต่เป็นรายจ่ายเพื่อตัวเอง บางครั้งเราจะเห็นว่าค่าใช้จ่าย (เพื่อคนอื่น) บางรายการนั้น มากกว่าการออม (เพื่อตัวเราเอง) เสียอีก โดยปกติควรกันเงินส่วนหนึ่งเป็นเงินออมอย่างน้อย 10% ของรายได้ต่อเดือน

 

และที่ขาดไม่ได้ คือ การคุ้มครองความเสี่ยง ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าด้านอื่น เราสามารถคุ้มครองความเสี่ยงและปกป้องคนที่เรารักได้ทางหนึ่งจากการทำประกัน แต่คนทั่วไปเมื่อได้ยินว่าประกัน ก็มักปิดประตูทันที อันที่จริงแล้วการทำประกันเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยให้เราจำกัดความเสียหายอันอาจเกิดขึ้น  รวมถึงใช้เป็นเครื่องมือในการส่งมอบความมั่งคั่งไปยังลูกหลานได้ด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการประกันอัคคีภัย ประกันภัยรถยนต์ ประกันสุขภาพ หรือประกันชีวิต อย่างไรก็ดี การคุ้มครองความเสี่ยงด้วยการทำประกันนั้น ต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับความจำเป็นและความสามารถในการชำระเบี้ยของตัวเราด้วย

 

แล้ววันนี้ คุณมีสุขภาพทางการเงินที่ดีแล้วหรือยัง?




 

Create Date : 20 พฤศจิกายน 2556   
Last Update : 20 พฤศจิกายน 2556 17:45:07 น.   
Counter : 380 Pageviews.  


งบการเงินส่วนบุคคลบอกอะไรคุณ

 

   

     ทันทีที่ได้ฟังว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับงบการเงิน บางท่านอาจส่ายหน้าไม่อยากพูดถึง อันที่จริงแล้วงบการเงินส่วนบุคคลเป็นเรื่องใกล้ตัวเรานิดเดียวเพราะเกี่ยวกับเรื่องเงินๆ ทองๆ ของเรานี่เอง เพียงแต่นำมาจัดให้เป็นหมวดหมู่เสียหน่อยเพื่อให้เห็นรูปร่างหน้าตาทางการเงินของตัวเราเองได้ชัดเจนขึ้น

 

  เพื่อดูถึงผลการดำเนินงานที่ผ่านมาในแต่ละปีของบริษัทว่า มีทรัพย์สิน หนี้สินเป็นอย่างไร มีกำไรหรือขาดทุนมากน้อยแค่ไหน งบการเงินของบริษัทเป็นรายงานหนึ่งที่สามารถตอบคำถามดังกล่าวได้ ซึ่งคนส่วนใหญ่ก็คงคุ้นเคยกันดี การจัดทำงบการเงินส่วนบุคคลก็เช่นเดียวกันที่จะเป็นคำตอบให้กับเราได้ถึงสถานะการเงินของตัวเราเองว่าเป็นอย่างไร ซึ่งงบการเงินจะประกอบไปด้วยงบดุลส่วนบุคคล งบกำไรขาดทุน รวมไปถึงประมาณการงบกระแสเงินสด

 

งบดุลส่วนบุคคล ช่วยบอกให้เราทราบถึงฐานะทางการเงินของเราว่าเป็นอย่างไรบ้าง แบ่งออกเป็น 2 ด้าน ด้านแรกเป็นรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินว่ามีอะไรบ้าง ซึ่งทรัพย์สินที่ว่านี้ก็ต้องไล่เรียงตั้งแต่เงินสด เงินฝาก เงินลงทุนต่างๆ ไปจนถึงรายการทรัพย์สินอย่างรถยนต์และบ้าน ส่วนอีกด้านหนึ่งเป็นรายละเอียดเกี่ยวกับหนี้สินและส่วนที่เป็นของเราจริงๆ จากชื่อที่บอกว่างบดุล เพราะฉะนั้น ตัวเลขในบรรทัดสุดท้ายของทั้งสองฝั่งต้องเท่ากัน หรือพูดอีกนัยหนึ่งก็คือ ตัวเลขด้านทรัพย์สินเมื่อหักหนี้สินแล้ว ส่วนที่เหลือก็คือ ส่วนของเราหรือเรียกได้ว่า ความมั่งคั่งสุทธินั่นเอง

 

ตัวเลขในงบดุลจะช่วยบอกเราได้ว่าเรามีสภาพคล่องเป็นอย่างไร มีสำรองเพียงพอที่จะรับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดคิดหรือยัง มีเงินลงทุนมากน้อยแค่ไหน ก่อร่างสร้างตัวจนมีบ้านและรถยนต์มูลค่าเท่าไหร่ รวมทั้งยังบอกถึงภาระหนี้สินที่เราต้องรับผิดชอบในการผ่อนชำระ ไม่ว่าจะหนี้ระยะสั้นหรือหนี้ระยะยาว ซึ่งการมีตัวเลขทรัพย์สินมากๆ อย่างรถยนต์หรือบ้านราคาแพง ไม่ได้เป็นการยืนยันว่าคนๆ นั้นร่ำรวยมาก เพราะเขาอาจได้ทรัพย์สินนั้นมาจากการกู้หนี้ยืมสินเพียงอย่างเดียว ซึ่งเมื่อหักลบกลบหนี้กันแล้ว เขาอาจเหลือส่วนที่เป็นของเราหรือความมั่งคั่งสุทธิเพียงน้อยนิด ดังนั้น การมีส่วนของเรามากๆ จะเป็นตัวสะท้อนที่บอกถึงฐานะที่แท้จริง ยิ่งมีส่วนที่เป็นของเรามากเท่าไร แปลว่าเรามีความมั่งคั่งสุทธิมากเท่านั้น

 

ส่วนงบกำไรขาดทุน บอกให้เรารู้ว่าเรามีเงินได้จากทางไหนบ้าง และยังชี้ให้เราเห็นว่าเมื่อมีรายรับเข้ามาแล้ว เราใช้จ่ายหมดไปกับอะไร มีการเก็บออมเท่าไร รวมทั้งยังบอกอีกด้วยว่า แต่ละเดือนเรามีรายจ่ายที่ต้องจ่ายแน่ๆ มากน้อยแค่ไหน ซึ่งการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายจะเป็นการช่วยบันทึกข้อมูลในแต่ละวันเพื่อนำมาสรุปไว้ในงบรายได้และค่าใช้จ่ายส่วนบุคคลนั่นเอง หากตัวเลขรายได้หักค่าใช้จ่ายแล้วออกมาเป็นบวก ก็บอกได้ว่าเรายังมีเงินเหลือเพื่อนำไปเก็บออมสำหรับเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ แต่หากตัวเลขรายได้หักค่าใช้จ่ายต่างๆ แล้วออกมาติดลบ ก็คงเป็นสัญญาณทางการเงินที่ไม่ดีนัก เพราะนั่นแปลว่าเราได้ใช้จ่ายเกินที่หามาได้แล้ว หรือใช้เงินเกินตัวนั่นเอง

 

 




 

Create Date : 20 พฤศจิกายน 2556   
Last Update : 20 พฤศจิกายน 2556 17:43:24 น.   
Counter : 818 Pageviews.  


1  2  3  4  5  6  7  

ผู้ประสบภัยจากความรัก
 
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




[Add ผู้ประสบภัยจากความรัก's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com