กลยุทธ์การลงทุนในกองทุนรวม

 

กลยุทธ์การลงทุนในกองทุนรวม

 

     จากการวิเคราะห์ข้อแนะนำของผู้มีประสบการณ์ในการลงทุนโดยตรง รวมทั้งผู้จัดการกองทุนรวม และเหล่านักวิเคราะห์กองทุนรวม สรุปกลยุทธ์ที่น่าสนใจในการลงทุนกองทุนรวมได้ดังนี้

 

     1. ให้พิจารณาถึงต้นทุนในการเลือกซื้อกองทุนรวม  เช่นกองทุนรวมที่อ้างอิงดัชนีSET50 ที่มีต้นทุนต่ำ  และง่ายในการติดตามการเปลี่ยนแปลง โดยพิจารณาเปรียบเทียบจากดัชนีอ้างอิง 

 

     2. อย่าให้ค่ากับผลงานในอดีตของกองทุนมากเกินไป อดีตไม่ได้ประกันผลงานอนาคต

 

    3. ใช้ผลงานในอดีตมาเป็นตัวกำหนดว่ากองทุนรวมนั้นมีความสม่ำเสมอของผลงานและเสี่ยงขนาดไหน โดยเฉพาะกองทุน LTF-RMF ซึ่งถือเป็นการลงทุนระยะยาว   ไม่ซื้อเพราะความสะดวกเพียงอย่างเดียว

 

    4. ระวัง กองทุนรวมที่เป็น ดารา” ที่มีผลงานที่โดดเด่น เพราะอนาคตอาจจะ “ตกอับ” หลังจากที่เราเข้าไปลงทุน

 

     5. ระวังขนาดของกองทุน เพราะเมื่อกองทุนยังเล็กนั้น อาจทำได้โดดเด่น แต่เมื่อกองทุนใหญ่ขึ้น ผลตอบแทนการลงทุนก็มักจะแย่ลง

 

     6. อย่าลงทุนในหลายกองทุนเกินไป  ไม่ได้เพิ่มผลตอบแทนให้เรา

 

     7. ซื้อกองทุนเท่าที่เหมาะสมกับตนเองแล้วถือไว้ ไม่ต้องซื้อขายหรือเปลี่ยนกองทุนไปมา 

 

     8. กำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน และเลือกกองทุนทีเหมาะสมกับตนเอง หากเลือกกองทุนประเภท “ACTIVE MANAGEMENT”  ต้องพิจารณาจากหลายปัจจัยเช่น ความมั่นคงของกิจการที่กองทุนเลือกไปลงทุน  มีทีมผู้บริหารรวมถึงผู้จัดการกองทุนที่มีความสามารถหรือไม่  มีผลงานสม่ำเสมอและที่สำคัญต้องสร้างผลตอบแทนดีกว่าดัชนีเทียบวัด (BENCHMARK) แล้วค่อยมาเลือกความสะดวกในการใช้บริการ แต่สำหรับนักลงทุนทั่วไปควรจะพิจารณาเลือกกองทุนจากผลงานในอดีตที่มีความสม่ำเสมอต่อเนื่องในระยะยาวเป็นสำคัญ

 

    9. ใช้หลักการออมก่อนค่อยใช้จ่าย ใช้เงินออมมาลงทุน ไม่ไปกู้เงินมาลงทุน เนื่องจากไม่ว่าจะลงทุนในกองทุนรวมประเภทใดก็ตาม ยังมีความเสี่ยงตั้งแต่ระดับที่1ถึงระดับ 8 การลทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนจึงต้องศึกษาให้เข้าใจก่อนเสมอ

 

    10. การจับจังหวะลงทุน ควรทยอยลงทุนอย่างสม่ำเสมอด้วยวงเงินเท่าๆ กัน ตามรอบระยะเวลาที่กำหนดไว้ ที่หวังจะซื้อในราคาที่ถูกที่สุดในปีไม่ใช่เรื่องง่าย

 

      จากสถิติ “หุ้นจะดีช่วงไตรมาสที่ 1 ไตรมาสมาสที่ 2-3 ไม่ดี ส่วนไตรมาสที่ 4 จะเริ่มกลับมาดี”

 

สถิติส่วนใหญ่พบว่าช่วงเดือนก.ย.-ต.ค.น่าจะเป็นช่วงที่ซื้อหุ้นได้ถูกที่สุด แล้วไปสวิตชิ่งออกจากหุ้นกลับเข้ากองทุนตราสารตลาดเงินอีกครั้งในช่วงเดือนก.พ. โดยหลังจากนั้นจะซื้อเป็นปกติทุกเดือนอาจซื้อกองทุนตลาดเงินมากหน่อย แล้วเมื่อถึงช่วงจังหวะเดือน ก.ย.-ต.ค. ค่อยโยกเงินในกองทุนตราสารตลาดเงินไปเข้าหุ้นอีกครั้งช่วงปลายปี

 

     11. ทบทวนพอร์ตการลงทุนอย่างน้อยปีละครั้ง และปรับพอร์ตให้เพิ่มผลตอบแทนหรือลดความเสี่ยง

 

     12.  ไม่กลัวความเสี่ยงมากเกินไป  กองทุนรวมตราสารหนี้แบบมีกำหนดเวลา เหมาะกับเงินลงทุนระยะสั้นที่กำหนดเวลาใช้เงินชัดเจน มีความเสี่ยงต่ำให้ผลตอบแทนไม่มาก   ส่วนกองทุนรวมหุ้นแม้จะมีความผันผวน แต่ในระยะยาวแล้วให้ผลตอบแทนได้สูง เฉลี่ยถึงปีละ 12% ดังนั้น ถ้าตั้งใจจะออมเงินระยะยาว ควรเลือกกองทุนรวมหุ้นเพื่อผลตอบแทนได้เพิ่มขึ้น

 

     13.  ไม่รอซื้อนาทีสุดท้าย  ไม่ควรรอจนเกือบสิ้นปีแล้วค่อยลงทุน ปกติถ้าไม่ใช่ปีที่ตลาดผันผวนมาก มูลค่าหน่วยลงทุนจากต้นปีไปปลายปีมักค่อยเพิ่มขึ้น ถ้าปล่อยให้เวลาผ่านไป อาจจะต้องซื้อของแพง

 

     14. ควรลงทุนให้เต็มสิทธิในการลดหย่อนภาษี ทั้งในส่วนของกองทุน LTF-RMF แต่ไม่ควรลงทุนในกองทุนดังกล่าวเกินสิทธิที่ได้รับการลดหย่อนภาษี เพราะเงินลงทุนส่วนเกินหากมีกำไรจากการลงทุน หรือ Capital Gain จะถูกนับรวมเป็นรายได้เพื่อคำนวณเสียภาษีเงินได้บุคคล

 

      15. ไม่มองข้ามกองทุนรวมเพื่อการเกษียณ   ซึ่งเป็นเครื่องมือการออมที่มีเงื่อนไขบังคับ ก็เพื่อสร้างวินัยการออมและป้องกันไม่ให้นำเงินออกมาใช้ก่อนเกษียณ  RMF มีการลงทุนให้เลือกหลากหลาย ผู้ลงทุนเลือกให้เหมาะกับตัวเอง ปัจจัยหลักคือมีเวลาอีกนานแค่ไหนกว่าจะเกษียณ หากยาวนานถึง 10 ปี การลงทุนในหุ้นเป็นสัดส่วนมาก ก็จะช่วยให้เงินเกษียณก้อนนี้เติบโตได้ดี

 

     16. มีผู้รู้ได้เสนอตัวอย่างเทคนิคลงทุนกองทุนรวมโดยการทยอยซื้อทยอยขาย เพื่อลดความเสี่ยง (ที่มา //www.eanic.com/momeblog)

 

         - ทยอยซื้อ แต่มีช่วงหุ้นตก ควรยิ่งซื้อหรือซื้อมากเข้าไว้  อย่าลงทุนหมด อนาคตอาจผันผวน

 

         - รอจนกว่าดัชนีหุ้นขึ้น จะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับต้นทุน หากต้นทุนต่ำ ก็เร็วหน่อย

 

         - เมื่อได้กำไรแล้ว ทยอยปล่อยกำไรออกมา  เหลือต้นทุนไว้เพื่อทำกำไรต่อ   เหลือไว้แต่มูลค่าต้นทุน โดยเฉพาะพอหุ้นตกต่อเนื่องประมาณ 10 จุด รีบขายทันที

 

         - เมื่อหุ้นตกมากๆ ก็ควรเก็บซื้อใหม่อีกครั้ง กำหนดต้นทุนไว้ชัดเจน

 

    17. มีผู้รู้ได้เสนอตัวอย่างเทคนิคการลงทุนโดยนำดัชนีการวิเคราะห์เทคนิคใช้กำหนดจังหวะลงทุน ( ที่มา //cway-investment.blogspot.com/ 28 ธ.ค. 53          สำหรับผู้มีความรู้ในด้านกร๊าฟเทคนิคเฉพาะ)

 

         การกำหนดจังหวะซื้อขายหน่วยลง)ทุนจะใช้แนวโน้มของ SET50 เป็นตัวกำหนด โดยอาศัยหลักการพื้นฐาน คือการซื้อที่ดัชนีมีแนวโน้มจะเคลื่อนที่ขาขึ้น และขายเมื่อดัชนีมีการกลับทิศเป็นขาลง  และจะหยุดรอไม่ลงทุนในกรณีที่ตลาดทรงตัว เครื่องมือที่ใช้คือเส้นดัชนี EMA5 EMA10 และ EMA20 (Exponential Movimg Average)

 

         กลยุทธการลงทุน กรณีขาขึ้น : EMA 20 ความชันเป็นบวก

 

- ซื้อเมื่อ EMA5 มากกว่า EMA10 ในรอบแรก 40% และซื้อเมื่อ EMA5 มากกว่า EMA20 อีก 60%

 

- ขายเมื่อEMA5 น้อยกว่า EMA10 ในรอบแรก 40% และซื้อเมื่อ EMA5 น้อยกว่า EMA20 อีก 60%

 

         ซึ่งจะไม่ลงทุน(แม้ว่าจะมีสัญญาณซื้อ-ขาย)ในกรณีแนวโน้มออกข้าง (sideway) : EMA20 ความชันเป็น 0 และ กรณีแนวโน้มขาลง (down trend) : EMA20 ความชันเป็นลบ

 

      เมื่อ ดัชนีไม่ผ่านแนวต้านที่ 2 ที่ EMA20 ก็จะรอจนกว่าจะผ่านจึงจะซื้อหน่วยลงทุนเพิ่ม หรือถ้าเกิดกลับทิศแนวโน้ม มีสัญญาณขายก็จะทำการขายหน่วยลงทุนตามเงื่อนไข

 

          การซื้อขายด้วยเทคนิคนี้ไม่จำเป็นต้องลงทุนซื้อขายบ่อย การผิดพลาดจะน้อยกว่าการซื้อขายเองโดยที่ไม่วิเคราะห์ และไม่มีอารมณ์และจิตวิทยาของผู้ลงทุนมาเกี่ยวข้อง เพราะในตลอดปีการแกว่งเคลื่อนที่ขึ้นลงของดัชนีเกิดขึ้นตลอดเวลา ถ้าจับจังหวะได้โอกาส กระแสที่ทำกำไรก็มีสูง ที่สำคัญต้องไม่ลงทุนในช่วงตลาด sideway หรือ downtrend ด้วยเทคนิคนี้

 

        18. การสับเปลี่ยนกองทุนรวมRMF/LTF ใช้การจับจังหวะการลงทุน โดยคาดว่าเมื่อดัชนีตลาดหลักทรัพย์จะปรับตัวลดลง ให้สับเปลี่ยนจากกองทุนหุ้นมายังกองทุนเปิดตราสารหนี้ระยะสั้นเพื่อการเลี้ยงชีพ  แต่หากตลาดหุ้นปรับเพิ่มขึ้นให้สับเป็นกองทุนหุ้น จะไม่เสียโอกาสในการได้รับผลตอบแทนสูงเช่นกัน ทั้งนี้การสับเปลี่ยนกองทุนเป็นความสามารถของการตัดสินใจใช้ข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจ และการลงทุน

 

         19. พักเงินไว้ที่กองทุนตราสารตลาดเงิน (Money Market Fund) เพื่อ "รอจังหวะลงทุน” ให้ลดสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงลงในช่วงภาวะผันผวนไม่ว่าจะเป็นหุ้น ทองคำ หรือน้ำมันเพราะอยู่ในช่วงที่ตลาดมีโอกาสปรับฐาน จึงควรจะขายลดความเสี่ยงเข้ามาพักเงินไว้ในกองทุนตราสารตลาดเงินก่อนบางส่วนเพื่อรอความชัดเจนและหาโอกาสเข้าลงทุนต่อไป

 

          20. การลงทุนปี 2556   ปัจจัยเสี่ยงต่อการลงทุนได้แก่ ความเสี่ยงจากการฟื้นตัวของสหรัฐฯ ความเสี่ยงจากเศรษฐกิจถดถอยในยุโรป ความเสี่ยงจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน และความเสี่ยงจากเศรษฐกิจไทยเอง

 

        ความเสี่ยงของเศรษฐกิจไทย อยู่ที่การอุปโภคและบริโภค รวมถึงการลงทุนในประเทศ และการใช้จ่ายของภาครัฐ จะมีส่วนช่วยผลักดันการเติบโตของเศรษฐกิจไทยได้ดีเพียงไร และจะมีปัญหาการเมืองบั่นทอนความเชื่อมั่นของนักลงทุนเหมือนที่เกิดขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมาหรือไม่

 

          นักวิเคราะห์กองทุนรวมได้เสนอแนะว่า ควรกระจายเงินลงทุน 30% ออกไปในหุ้น ตราสารหนี้ และตลาดเงิน (Money Market) อย่างละเท่ากัน แล้วแบ่งเงินที่เหลือ 10% ลงทุนในทองคำหรือกองทุนอสังหาริมทรัพย์ แต่หากนักลงทุนรายใดชอบความท้าทายในตลาดหุ้น อาจเพิ่มน้ำหนักหุ้นแล้วลดน้ำหนักตราสารหนี้แทนได้

 

          หรือให้แบ่งเงินเป็น 4 ส่วน

 

      -ส่วนแรก 35% นำไปลงทุนตราสารหนี้ (ในจำนวนนี้อาจกระจายความเสี่ยงด้วยกองทุนในประเทศ 15% ที่เหลือลงทุนต่างประเทศ)

 

     -ส่วนที่สองนำเงิน 30% ลงทุนหุ้น (ให้น้ำหนักหุ้นต่างประเทศไม่เกิน 10%)

 

     -ส่วนที่สาม 10% ลงทุนทองคำ

 

     -และส่วนสุดท้าย 25% ถือเป็นเงินสด หรือพักไว้ใน Money Market เพื่อรอจังหวะลงทุน

 

 




Create Date : 21 พฤศจิกายน 2556
Last Update : 21 พฤศจิกายน 2556 17:44:48 น. 0 comments
Counter : 1326 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

ผู้ประสบภัยจากความรัก
 
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




[Add ผู้ประสบภัยจากความรัก's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com