All Blog
เมื่อโบสถ์ใช้ต่อต้านคอมมิวนิสต์ในโปแลนด์


โบสถ์ทรงโพสต์โมเดิร์นในฐานะเครื่องมือต่อต้านคอมมิวนิสต์ในช่วงสงครามเย็นในโปแลนด์
.
.
แม้ว่าโปแลนด์จะได้รับผลกระทบจากสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างหนักหน่วง และอาคารส่วนมากก็ถูกทำลายไปเป็นจำนวนมาก จนมีโครงการจะซ่อมแซมปฏิสังขรณ์ขึ้นมาในช่วงทศวรรษ 1950 แต่โครงการเหล่านั้นก็ยังล่าช้าอยู่ จนกระทั่งเกิดสงครามเย็นขึ้น และในช่วงปลายของสงครามเย็นคือในราวทศวรรษที่ 1980 โซเวียตเข้าครอบครองโปแลนด์ และปกครองในแบบคอมมิวนิสต์ ชาวโปแลนด์ส่วนมากที่ไม่พอใจโซเวียต จึงหันมาพึ่งศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ในฐานะที่เป็นศูนย์รวมจิตใจและเป็นปฏิปักษ์กับฝ่ายคอมฯที่ประกาศตัวว่าไม่เอาศาสนาอย่างชัดเจน
.
.
ชาวโปลฯจำนวนมากรวมตัวประท้วงเพื่อที่จะไปสร้างโบสถ์ในเมือง Nowa Huta ซึ่งเป็นเมืองอุตสาหกรรมใหม่ที่โซเวียตตั้งขึ้น และถูกมองว่าเป็นเมืองไร้ศาสนา จึงเป็นที่น่าอัศจรรย์ใจว่า โบสถ์คริสต์ทรงโพสท์โมเดิร์นผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดในช่วงทศวรรษที่ 1980 มากกว่าจำนวนโบสถ์ใด ๆ ที่สร้างขึ้นในยุโรปร่วมสมัยกัน เพื่อเป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาวโปลในการเคลื่อนไหวต่อต้านความคิดนอกศาสนา
.
.
ที่น่าแปลกคือ ชาวโปลเลือกที่จะใช้โบสถ์ทรงโพสโมเดิร์น แทนที่จะเป็นโบสถ์โกธิคโบร่ำโบราณ และสถาปนิกส่วนมากก็มีอายุไม่ถึง 30 การสมาทานความคิดโพสโมเดิร์น ที่ชาวอเมริกันส่วนใหญ่มองว่าเป็นการคิดมุมกลับและเป็นการวิพากษ์ “โมเดิร์น” แต่ในโปแลนด์ โพสโมเดิร์น กลับกลายเป็นสัญลักษณ์ของชาตินิยมและความสามัคคี เพราะโซเวียตเองแม้จะไม่มีศาสนา แต่ก็ไม่กล้าไปแตะต้องวัดวาอารามใด ๆ 
.
.
อย่างไรก็ตาม พวกเขาก็ไม่สนับสนุนเครื่องมือเครื่องใช้ ดังนั้น โบสถ์เหล่านี้จึงเป็นโบสถ์แฮนด์เมดที่สร้างจากพลังของชาวบ้าน ที่ค่อย ๆ รวบรวมเงินบริจาคประจำสัปดาห์จากโบสถ์ หรือสร้างด้วยเครื่องมือตามมีตามเกิด และถูกควบคุมอย่างเคร่งครัดจากคอมมิวนิสท์ซึ่งอนุญาตให้หยุดงานได้เฉพาะในวันอาทิตย์ โบสถ์สมัยใหม่ในโปแลนด์เหล่านี้ จึงได้สมญานามว่า Gothic postmodernist เพราะไม่ได้สร้างด้วยทุนก้อนโต แต่ค่อย ๆ สร้างไปทีละนิด ๆ ใช้เวลายาวนาน เหมือนมหาวิหารโกฑิคในยุคกลาง 
.
.
ที่น่าขันก็คือ รัฐบาลกลับยอมให้ชาวคาทอลิกสร้างโบสถ์ได้ตามใจชอบ เพราะถ้าไม่ยอม พวกเขาก็จะออกมาเดินประท้วงแทน กลายเป็นว่าสมประโยชน์กันทั้งสองฝ่าย และทีละเล็กทีละน้อย โบสถ์ก็กลายเป็นกลไกขับเคลื่อนการตกต่ำของคอมมิวนิสต์ในโปแลนด์ไปอย่างไม่รู้ตัว
จนทุกวันนี้ โบสถ์เหล่านี้ซ่อนตัวอยู่ในแมกไม้มานานจนคนลืมไปว่าครั้งหนึ่งมันเป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้ และมักถูกอธิบายว่าเป็นพัฒนาการของสไตล์ทางศิลปะในยุค 60 70 80 90 มากกว่าจะพูดถึงพลังทางจิตวิญญาณที่แฝงมากับสถาปัตยกรรม 
.
.
.
จริงๆ อยากจะเอามาเปรียบเทียบกับไทยนะ โดยเฉพาะโบสถ์ยุคสงครามเย็นหลายโบสถ์ในภาคอีสาน ในสังฆมณฑล 4 อีสาน ได้แก่ อาสนวิหารของอุดร (2510) อุบล (2510) โคราช (2522) ท่าแร่ (สกลนคร) (2518) เป็นอาคารที่สร้างขึ้นในยุคคอมมิวนิสต์กำลังฟูทีเดียว และสร้างขึ้นในสไตล์โพสโมเดิร์นทั้งนั้น ศาสนาคริสต์จะเป็นเครื่องมือในการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในไทย (เหมือนวัดป่า) บ้างหรือเปล่า เดี๋ยวลองคิดก่อนนะครับ

https://www.archdaily.com/782902/these-churches-are-the-unrecognized-architecture-of-polands-anti-communist-solidarity-movement



Create Date : 17 กรกฎาคม 2561
Last Update : 17 กรกฎาคม 2561 18:53:49 น.
Counter : 563 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ปลาทองสยองเมือง
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 23 คน [?]



New Comments