คุยไปเรื่อยๆตามประสาเด็กหัวตลาด

๔๒.ดราม่าเรื่อง เวร ๒๔ ชั่วโมง



ดราม่าเรื่องของผมกับหมอตอนที่ ๔๒ เวร ๒๔ ชั่วโมง



ช่วงนี้ในโซเชี่ยลกำลังดราม่ากันหนักถึงกรณีที่น้องหมอเยาว์วัยคนหนึ่งป่วยตายและว่ากันว่าน้องต้องไปดูคนไข้ทั้งๆที่ยังคาสายน้ำเกลือ

รองปลัดกระทรวงหมอคนหนึ่งก็ออกมาให้ข่าวแบบปากพาไปเพลินไปจนเป็นประเด็นร้อนผมจะไม่ไปยุ่งเรื่องนั้นถือว่า โบราณว่าปลาหมอตายเพราะปากแต่ปัจจุบันกำลังเปลี่ยนเป็น ตาหมอตายเพราะปาก

มีประเด็นอื่นที่น่าสนใจคือการที่กระทรวงหมอออกมายืนยันว่าไม่มีแพทย์ทำงานตลอด๒๔ ชั่วโมง

ประเด็นนี้น่าสนใจครับแพทย์กับพยาบาลต่างก็เป็นบุคลากรที่มีหน้าที่ให้บริการทางการแพทย์แต่ระบบการจัดเวรต่างกัน

พยาบาลจะจัดเวรปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยแบบวันละ๓ เวร เช้า ๘ ชั่วโมง บ่าย ๘ ชั่วโมง ดึก ๘ ชั่วโมง ไล่ไปตั้งแต่ ๐๘.๐๐น.วันนี้จนถึง ๐๘.๐๐ น.วันรุ่งขึ้น
ของพยาบาลนี่เขาไม่มีวันราชการ วันหยุดราชการนะครับจัดเวรไล่ไปเรื่อยๆหัวหน้าก็สับหลีกกระจายกันไปให้เฉลี่ยขึ้นเวรวันหยุดเท่าๆกัน การจัดเวรก็เช่นขึ้นเวรเช้า๒ วัน ต่อด้วยเวรบ่าย ๒ วัน เวรดึก ๒ วัน หยุด ๒ วันดังนั้นบางเดือนพยาบาลจะมีวันหยุดเป็นวันราชการ มีวันหยุดราชการเป็นวันทำงาน

ช่วงนี้เราจะเห็นข่าวว่าพยาบาลหลายๆแห่งถูกจับขึ้นเวรแบบโหนเช้าต่อดึก ดึกต่อบ่าย อะไรทำนองนั้นคือวันละ ๑๖ ชั่วโมง ให้พักระหว่างกลาง ๘ชั่วโมง บางคนอาจจะทำติดต่อกันไปเลย ๑๖ ชั่วโมง

สำหรับแพทย์การจัดเวรก็เป็นระบบเช้า ๘ ชั่วโมง บ่าย ๘ ชั่วโมง ดึก ๘ ชั่วโมงเหมือนกับพยาบาล
แต่ต่างจากพยาบาลที่ทุกวันราชการ ๐๘.๓๐-๑๖.๓๐ น.ถือเป็นเวลาราชการที่ต้องมาปฏิบัติงานขาดไม่ได้(แต่หลายคนก็โกงได้อันนี้จะไม่พูดในที่นี่ตอนนี้นะครับ)

การจัดเวรก็จะแล้วแต่ระดับโรงพยาบาล ที่แน่ๆคือมีเวรห้องฉุกเฉินกับเวรผู้ป่วยในอย่างน้อย ๒ อย่าง
ในเวลาราชการแพทย์ทุกคนจะมีภารกิจหลักคือออกตรวจผู้ป่วยนอกดูแลคนไข้ในหอผู้ป่วย ดูแลคนไข้ที่ห้องฉุกเฉินทำหัตถการเล็กใหญ่แล้วแต่โรงพยาบาลเช่นผ่าตัดเล็ก ทำคลอด ทำหมัน ผ่าตัดใหญ่ ฯลฯ



อยากให้มองในแง่มุมบวกนะครับ
หมอที่ทำงานในโรงพยาบาลรัฐบาลมีสถานภาพเป็นข้าราชการเป็นพนักงานของรัฐเหมือนหน่วยงานอื่นๆ เวลาทำงานก็ควรจะเป็น ๐๘.๓๐-๑๖.๓๐ น.และหยุดทุกวันหยุดราชการ

แต่ในชีวิตจริงมิใช่เช่นนั้น
หมอจะมีงานประจำที่ต้องทำแบบไม่มีวันหยุดคือการตรวจผู้ป่วยในหอผู้ป่วยตามความรับผิดชอบของตนหรือที่เรียกกันว่าราวน์วอร์ด
ปกติเราจะแบ่งกันรับผิดชอบผู้ป่วยในหอผู้ป่วยหรือที่เรียกว่าวอร์ดอาจจะแบ่งกันคนละวอร์ด หรืออาจจะแบ่งกันตามเวรรับผู้ป่วยคือถ้าผู้ป่วยเข้ามานอนในเวลารับผิดชอบของหมอคนไหนหมอคนนั้นก็ต้องดูแลไปจนกว่าผู้ป่วยจะหายกลับบ้านหรือส่งต่อไปรักษายังแผนกอื่นหรือโรงพยาบาลอื่น หรือตาย

ดังนั้นในแต่ละวัน หมอจะต้องมาราวน์วอร์ดดูแลผู้ป่วยในความรับผิดชอบและทำงานอื่นๆตามตารางเช่นออกตรวจผู้ป่วยนอกหรือโอพีดี เข้าห้องผ่าตัด ฯลฯ
โดยทั่วไปก่อนที่จะไปออกตรวจโอพีดี หรือเข้าห้องผ่าตัดหมอจะไปราวน์วอร์ดเพื่อสั่งการรักษาผู้ป่วยที่นอนอยู่ก่อนและต้องไปราวน์วอร์ดตั้งแต่เช้า บางคนไปตั้งแต่ ๖ โมงเช้าเพื่อดูแลผู้ป่วยให้ทันไปออกตรวจผู้ป่วยนอกเวลา ๐๙.๐๐ น. หรือเข้าห้องผ่าตัดถ้ามีคนไข้หนักก็อาจจะต้องไปราวน์วอร์ดทั้งเช้าและเย็น

วันไหนที่อยู่เวรนอกเวลาราชการหากว่ามีผู้ป่วยยุ่งมากอาจจะอดหลับอดนอน ทำให้ตื่นสายตื่นมาก็ต้องรีบไปทำงานโดยไม่ได้ราวน์วอร์ดก็ต้องไปราวน์วอร์ดช่วงเย็น
เวลาอยู่เวรถึงจะอดนอนก็ไม่ได้หมายความว่าวันรุ่งขึ้นจะได้หยุด
วันหยุดราชการมีโปรแกรมจะพาครอบครัวไปเที่ยวไหนก็ต้องไปราวน์วอร์ดให้เสร็จก่อนจึงจะไปได้
จึงอยากให้เข้าใจลักษณะงานของหมอบ้างครับ

ปล. ที่ว่ามานี่หมายถึงหมอดีๆทั่วๆไปนะครับแต่หมอบางคนบางกลุ่มที่เช้าเปิดคลินิก เที่ยงเปิดคลินิก เย็นเปิดคลินิกนั่นก็คงเป็นอีกแบบ
วันไหนไปโรงพยาบาลแล้วเป็นคิวหมอคนนั้นออกตรวจ ถึงเวลาแล้วยังไม่มาก็ลองเวียนไปดูหน้าคลินิกเลยครับว่ายังตรวจคนไข้ที่คลินิกอยู่หรือเปล่า ฮิิๆๆ

10 สิงหาคม 2016 22:25




Create Date : 26 พฤศจิกายน 2560
Last Update : 26 พฤศจิกายน 2560 9:35:05 น. 0 comments
Counter : 648 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

เด็กหัวตลาด
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




เรียนจบหมอ เคยผ่านการเป็นอาจารย์ แล้วลาออกไปเป็นหมอจนๆ เพราะไม่ชอบใช้วิชาชีพหากิน
ปัจจุบันเลิกรักษาคน หันไปบริหารเงิน คอยดูคนอื่นรักษาคนไข้แทน
รับผิดชอบการจัดชุดสิทธิประโยชน์สำหรับโรคเรื้อรัง
และโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงของผู้ป่วยสิทธิหลักประกันสุขภาพ (บัตรทอง ๓๐ บาท)
สนใจเรื่องราวประวัติตระกูล และประวัติศาสตร์บ้านเกิด ณ หัวตลาด หรือตลาดจีนเมืองตานี เป็นพิเศษ
[Add เด็กหัวตลาด's blog to your web]