[13]สมาธิหลับตาหรือลืมตา

สมาธิหลับตา หรือ ลืมตา

ในปัจจุบันนี้ ได้มีความเห็นขัดแย้งในหมู่นักธรรมะ เรื่องปฏิบัติสมาธิ ต้องหลับตา หรือ ต้องลืมตา กล่าวคือ

ฝ่ายหนึ่งมีความเห็นว่า ต้องลืมตาจึงจะรู้เห็นว่าอะไรเป็นอะไร และเกิดปัญญาขึ้นได้

อีกฝ่ายหนึ่งก็มีความเห็นว่า ต้องหลับตาเพื่อตัดอารมณ์ที่พากันเข้ามาทางตาเสียก่อน จึงคงปฏิบัติสมาธิ เพื่อตัดความรู้สึกที่เกิดจากความนึกคิดเพียงด้านเดียว ทำให้จิตสงบได้ง่ายขึ้น

ในสมัยที่พระพุทธองค์ทรงปฏิบัติสมาธิจงกรม อยู่ในโรงกระเดื่อง เมืองอาตุมา และได้มีสายฟ้าผ่าชาวนาสองคนกับโคพลิพัทสี่ตัวตาย แถวใกล้ๆกันนั้น ฝูงชนได้พากันมากราบทูลถามว่า ทรงเห็นหรือได้ยินฟ้าผ่าหรือไม่ พระองค์ได้ทรงกล่าวตอบว่า ไม่เห็นและไม่ได้ยิน ทั้งๆที่ตื่นอยู่และความทรงจำยังดีอยู่

ฝูงชนเหล่านั้นจึงเกิดเลื่อมใสในวิหารธรรม(ที่ตั้งของจิต)อันสงบของพระองค์ ว่าเป็นที่น่าอัศจรรย์ ถึงกับกราบทูลถวายผ้าเนื้อทองสิงคีสองผืนสำหรับทรงใช้ด้วย

ทั้งนี้แสดงว่า ในขณะที่ทรงปฏิบัติสมาธิจนจิตสงบอยู่นั้น พระพุทธองค์ได้ทรงหลับตาอย่างมิต้องสงสัย จึงไม่เห็นฟ้าผ่าชาวนาสองคนและโคพลิพัทสี่ตัวตาย ดังนั้นการปฏิบัติสมาธิจึงจำเป็นต้องหลับตาอย่างแน่นอน

การที่มีผู้เห็นว่าเวลาปฏิบัติสมาธิต้องลืมตา โดยอ้างเหตุผลว่า เพื่อให้รู้เห็นอะไรๆตามที่เป็นจริงนั้น สันนิษฐานว่าน่าจะเกิดจาก ดูตำราธรรมะของเว่ยหล่างที่ใช้ปัญญาตัดอารมณ์อย่างฉับพลัน หรือดูตำราปัญญานิเทศในคัมภีร์พระอภิธรรม ซึ่งได้ละคำว่าสมาธิไว้ในฐานที่เข้าใจ เพราะได้กล่าวมาอย่างละเอียดก่อนหน้านี้แล้ว

เพียงแต่นำผลของการปฏิบัติสมาธินั้น ไปใช้ตัดอารมณ์ที่เข้ามาทางช่องทางทั้ง ๖ (ซึ่งเรียกว่า วิปัสสนา) ซึ่งเป็นขณะที่ลืมตาอยู่ โดยไม่ให้จิตถูกปรุงแต่งเลย,เท่านั้น

ดังนั้น ที่พระพุทธองค์ทรงออกจากสมาธิ แล้วจึงสนทนากับฝูงชนข้างต้นนั้น ทรงลืมตาอย่างมิต้องสงสัย กล่าวคือ ทรงเปลี่ยนจากการปฏิบัติสมาธิ แล้วทรงติดต่อสนทนากับฝูงชน โดยใช้พระสติแทนสมาธิ เพื่อมิให้จิตหวั่นไหวไปกับอารมณ์ที่เกิดขึ้น

จึงสรุปได้ว่า

ในขณะที่ปฏิบัติสมาธินั้น เป็นขณะที่ฝึกตัดอารมณ์ทางความนึกคิดเพียงอย่างเดียว จึงต้องหลับตาเพื่อตัดอารมณ์ชั้นนอกที่เข้ามารวม ๕ ทางออกเสีย เพื่อศึกษาวิธีตัดอารมณ์ชั้นในเพียงทางเดียวเท่านั้น

แต่ในขณะที่ใช้ผลของการปฏิบัติสมาธิ คือ วิปัสสนา นั้น เปลี่ยนเป็นใช้สติแทนเพื่อรองรับอารมณ์ชั้นนอกโดยให้จิตตั้งมั่นอยู่ได้ จึงต้องลืมตาเป็นธรรมดา.



Create Date : 22 เมษายน 2551
Last Update : 29 กันยายน 2556 17:46:21 น. 2 comments
Counter : 544 Pageviews.  

 
ยินดีเจ้า
ได้คำรู้อีกนักเลย
ขอความเจริญในธรรมจงมีแก่ จขบ.


โดย: ออริกาโน วันที่: 22 เมษายน 2551 เวลา:16:01:58 น.  

 
ขอบคุณที่คุณออริกาโน เข้ามาเยี่ยมครับ
ยินดีในธรรมเช่นกันครับ


โดย: หนูเล็กนิดเดียว IP: 202.133.176.50 วันที่: 23 เมษายน 2551 เวลา:8:40:57 น.  

หนูเล็กนิดเดียว
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




พระพุทธศาสนา
มีหลักการที่ตั้งอยู่บนเหตุ-ผล

อริยสัจ ๔
ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค


เหตุ-จิตชอบแส่ส่ายออกไปหาเรื่อง
(สมุทัย)
ผล-ทุกข์โหมกระหน่ำทับถมจิตใจ
(ทุกข์)

เหตุ-ปฏิบัติสัมมาสมาธิตามหลักมรรค ๘
ให้จิตระลึกรู้อยู่ที่ฐานที่ตั้งสติ
ไม่แส่ส่ายออกไปหาเรื่อง

(มรรค)
ผล-จิตสงบตั้งมั่นไม่หวั่นไหว
ทุกข์ไม่โหมกระหน่ำทับถมจิตใจ

(นิโรธ)

เหตุ-รู้อยู่ที่เรื่อง (สมุทัย)
ผล-เป็นทุกข์ (ทุกข์)

เหตุ-รู้อยู่ที่รู้ (มรรค)
ผล-ไม่ทุกข์ (นิโรธ)



ธรรมบรรยาย โดย อ.ไชยทรง จันทรอารีย์


[Add หนูเล็กนิดเดียว's blog to your web]