ติดตาม twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด

ไอเอสจุดประกายให้ต้องทบทวน "ค่านิยมอิสลาม" หรือไม่

วิดีโอที่กลุ่มรัฐอิสลามหรือไอเอสเผยแพร่ภาพการสังหาร ร.ท.โมแอซ อัล คาซัสเบห์ นักบินชาวจอร์แดน ด้วยการเผาทั้งเป็น ไม่เพียงแสดงถึงความโหดเหี้ยมทารุณ แต่จุดประกายคำถามว่าเหตุใดไอเอสถึงนำหลักคำสอนของอิสลามมาเป็นเดิมพันจุดชนวนสงคราม และถึงเวลาที่จะต้องทบทวนการตีความความหมายของอิสลามในโลกยุคปัจจุบันแล้วหรือยัง

นสพ.อัล อาห์ราม ของรัฐบาลอียิปต์ ชี้ก่อนหน้านี้ว่าการตายของ ร.ท.อัล คาซัสเบห์ ส่อชัดว่าเป็นความเข้าใจผิดเกี่ยวกับอิสลาม เพราะทั้งในวรรณกรรม คำพิพากษาและคำวินิจฉัยทางศาสนาที่บัญญัติขึ้นมาหลายศตวรรษนั้น น่าจะเป็นแนวคิดที่บริสุทธิ์ที่อาจเป็นที่ยอมรับได้ในยุคก่อน แต่ขัดกับแก่นของหลักอิสลาม

ในที่ประชุมเวทีเศรษฐกิจโลกเมื่อเดือนมกราคม ประธานาธิบดีอับเดล ฟัตตาห์ อัล-ซิซี ของอียิปต์ เรียกร้องให้ชาวมุสลิมหันมาทบทวนความคิดเกี่ยวกับศาสนาของตัวเองเสียใหม่ เขาเห็นว่าอิสลามเป็นศาสนาแห่งความอดทนอดกลั้นและให้อภัย ไม่ควรถูกนำมาตีค่าผ่านการกระทำเยี่ยงอาชญากรรมเช่นนี้ ประธานาธิบดีอัล ซิซี บอกว่าไม่มีใครควรยอมอ่อนข้อให้คนกลุ่มน้อยมาบิดเบือนประวัติศาสตร์ของอิสลาม

พระราชินีราเนียแห่งจอร์แดน ทรงมองไม่ต่างกัน ทรงเห็นว่าจอร์แดนเองไม่เพียงแต่จะต้องสู้รบกับกองทัพไอเอสเท่านั้น แต่ยังต้องต่อสู้ทางความคิดและดึงเอาความเป็นอิสลามกลับคืนมา

แน่นอนว่าไอเอสมองไปคนละอย่าง ทอม ฮอลแลนด์ นักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษ บอกว่าไอเอสนั้นมองตัวเองเสมือนเป็นผู้สร้างความเปลี่ยนแปลง เข้ามากำจัดธรรมเนียมปฏิบัติอันยาวนานที่เห็นว่าไม่จำเป็นทิ้งเสีย เพื่อเผยธรรมเนียมและเนื้อแท้ของอิสลาม แต่จริง ๆ แล้ว ทอม ฮอลแลนด์ เห็นว่าไอเอสนั่นเองที่เข้ามาทำลายรากฐานของอิสลาม ทำลายวัฒนธรรมที่สลับซับซ้อน เปี่ยมไปด้วยวิชาการและปรัชญาอันสูงส่ง แนวคิดสุดโต่งของกลุ่มไอเอสคือการเหยียดหยามในสิ่งที่หลายคนมองว่าเป็นอารยธรรมอิสลาม หลักที่ไอเอสยึดนั้นไม่ได้เดินตามแนวของศาสดามูฮัมหมัด

อิหม่าม อาห์เม็ด อัล ตาเย็บ ผู้นำสูงสุดของอิสลามสายซุนนีย์แห่งมัสยิดอัลอัซฮาร์ เป็นอีกคนที่ออกมาประกาศว่าแท้จริงแล้วไอเอสนั้นสมควรที่จะถูกลงโทษอย่างรุนแรงหรือด้วยการตัดแขนตัดขา ตามที่คัมภีร์กุรอ่านบัญญัติไว้

แต่นอกเหนือจากบุคคลเหล่านี้แล้ว ชาวมุสลิมทั่วไปรู้สึกนึกคิดอย่างไรกับการคงอยู่ของอิสลามในสังคมร่วมสมัยในยุคปัจจุบัน

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว รายการ Talking Point ของบีบีซีภาคภาษาอาหรับ ถามความเห็นคนฟังว่าทุกวันนี้นักการศาสนา ทำหน้าที่ของตัวเองเพียงพอหรือยังที่จะทัดทานแนวคิดของไอเอส คนฟังรายการบางส่วนตอบชัด ๆ ว่าไม่พอ และเห็นว่านักการศาสนาเองมีส่วนรับผิดชอบกับสิ่งที่เกิดขึ้น นักการศาสนาไม่ใส่ใจปรับแนวคิดอิสลามให้เข้ายุคเข้าสมัย แต่ยังยึดติดกับการตีความที่กำหนดขึ้นมาช้านาน บางคนเห็นว่าสถาบันทางศาสนาถูกทำให้กลายเป็นขนบธรรมเนียม ที่มีจุดประสงค์เดียวคือสนับสนุนกฎเกณฑ์ที่เคร่งครัดและสร้างขอบเขตอำนาจที่เป็นประโยชน์เฉพาะในวงการศาสนาเท่านั้น

แต่ว่าสิ่งที่เกิดนี้จะเปลี่ยนแปลงได้หรือไม่ ฮัสซัน ฮัสซัน นักวิเคราะห์แห่งสถาบันเดลมา ในอาบูดาบี บอกว่าได้และบางคนต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลง แต่สิ่งสำคัญกว่านั้นคือรัฐอิสลามเป็นผู้ที่สร้างความเปลี่ยนแปลงแต่ไปในแนวทางอื่น

ฮัสซัส ฮัสซัน บอกว่า แนวคิดที่ว่าอุมมะห์ หรือชุมชนอิสลามรวมตัวเป็นกลุ่มก้อนเดียวกันนั้นกลายเป็นสิ่งคร่ำครึไปเสียแล้ว กลุ่มรัฐอิสลามมองว่าพวกตนต่างหากที่เป็นแนวหน้าของภราดรภาพแห่งศาสนา แนวคิดในอดีตที่ถือว่าคนทุกคนไม่ว่าจะมีพฤติกรรมอย่างไรก็ถือเป็น “มุสลิม” กำลังถูกท้าทาย อิสลามสายกลางกำลังถูกกดดันให้เป็นฝ่ายตั้งรับ

ท่ามกลางความขัดแย้งในซีเรีย ลิเบีย อิรัก และเยเมนที่ยังดำเนินอยู่จึงดูเหมือนว่าจะไม่มีใครมีเวลาพอจะทัดทานกระแสที่ว่านี้ได้เสียแล้วในเวลานี้





Create Date : 10 กุมภาพันธ์ 2558
Last Update : 10 กุมภาพันธ์ 2558 22:19:41 น. 0 comments
Counter : 1032 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ข่าวดี
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 55 คน [?]










ติดตามข้อมูลของเว็บทาง twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด







Online Users


New Comments
[Add ข่าวดี's blog to your web]