ความรู้คู่ความก้าวหน้า
 
 

VLAN ตอนที่ 2



สำหรับตอนที่ 2 ผมยังไม่มีเวลามาเขียนอะไร แต่จะขอให้ภาพเป็นสื่อแทนคำพูดล้านๆ คำไปก่อนนะครับ และจะมาใส่ configuration ที่สอดคล้องภาพให้ในวันหลังนะครับ และจะแจ้ง update ใน face นะครับ
Facebook: ชัยวัฒน์ อมรหิรัญวงศ์
Link: https://www.facebook.com/chaiwat.amorn









จะหาเวลามาเขียนบทความสำหรับ VLAN ตอนนี้ 2 นี้เพิ่มนะครับ และจะแจ้ง update ใน face ครับ

โก้-ชัยวํฒน์




 

Create Date : 11 กุมภาพันธ์ 2561   
Last Update : 11 กุมภาพันธ์ 2561 17:18:17 น.   
Counter : 12485 Pageviews.  


VLAN ตอนที่ 1



ก่อนที่ท่านจะอ่านเอกสารนี้ ท่านควรจะพอมีความรู้เรื่อง Broadcast Domain มาบ้างนะครับ

สำหรับการท่านที่ต้องการรู้ว่า Switch เรียนรู้ MAC address ได้อย่างไร ท่านสามารถเข้าไปดูได้ตาม link ข้างล่างนี้ครับ และให้ดูที่ VDO หัวข้อ 
Vol 6: Switch ทำงาน และเรียนรู้ MAC address อย่างไร? 
Vol 7: Switch สร้าง MAC table ได้อย่างไร (เป็นภาคต่อจาก Vol 6) 
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=likecisco&date=31-05-2014&group=8&gblog=3

VLAN เป็น feature ที่ถูกเพิ่มเข้ามาใน switch ที่สามารถถูก managed ได้ หรือที่เราเรียกกันว่า managed switch  

ประโยชน์ของ VLAN โดยหลักๆ แล้ว
มันเกิดขึ้นมาเพื่อแบ่ง หรือแยก Broadcast Domain โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ การแบ่ง Broadcast Domain ใน Switch ตัวหนึ่งๆ


บางท่านที่ไม่เคยศึกษาเรื่อง Broadcast Domain ก็อาจจะไม่เข้าใจว่า Broadcast Domain คืออะไร ดังนั้น ผมจะยกตัวอย่างกรณีศึกษา หรือ use case ให้ ดังนี้ครับ

กรณีศึกษา อย่างเช่น เรามี swich อยู่ตัวนึง ซึ่งมี port 48 port
- วันแรกของการใช้งาน: เรามี PC แค่ 20 เครื่อง สำหรับแผนก A อยู่ในวง subnet 10.1.1.0/24 ซึ่งต่ออยู่บน switch 48 port ตัวนี้ และยังเหลือ port ที่ยังไม่ได้ใช้งานอีก 28 port
- 3 เดือนผ่านไป: เรามีแผนกใหม่ (แผนก B) เกิดขึ้นมา มี PC อีก 10 เครื่องที่อยู่ในวง subnet 172.16.1.02/4 

คำถามคือ: หากเราต้องการ switch สักตัวมาใช้กับ PC ใหม่ 10 เครื่อง สำหรับแผมก B (subnet 172.16.1.0/24) เราจะมีวิธีการอย่างไรบ้าง?

วิธีที่ 1:
ซื้อ switch ตัวใหม่มาใช้กับแผนก B (subnet 172.16.1.0/24)
(ไม่ได้ใช้ switch 48 port ตัวเก่า ที่เหลือ port อีกตั้ง 28 port)

วิธีที่ 2: คือ พยายามเอา switch 48 port ตัวเดิม มาใช้งานกับแผนกใหม่ (แผนก B) โดยเอา port ที่เหลือ (เหลือ 28 port) มาใช้กับ แผนก B (subnet 172.16.1.0/24)

จากวิธีที่ 1 แล้ว เราจะเห็นได้ว่าเป็นการแบ่ง Broadcast Domain อย่างชัดเจน เพราะเราใช้ Hardware Swtich คนละตัว ดังนั้นหากมี PC ในแผนก A ที่อยู่ switch 48 port ปล่อย traffic แบบ broadcast ออกมาแล้ว,
traffic นั้นย่อมจะไม่ไปรบกวนกับ PC อีก 10 เครื่องของ แผนก B ที่อยู่บน switch ตัวใหม่
แต่วิธีที่ 1 นี้ ถือว่าเป็นการใช้ทรัพยากรแบบไม่คุ้มค่า

แต่สำหรับวิธีที่ 2 แล้ว ถ้ามองในมุมของการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าแล้ว ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี แต่ทว่าหาก PC เครื่องใด เครื่องหนึ่งใน 20 เครื่อง ของแผนก A ปล่อย traffic แบบ broadcast ออกมาแล้ว,
traffic นั้นย่อมจะไปรบกวนกับ PC อีก 10 เครื่องของ แผนก B ที่อยู่บน switch 48 port ตัวเดียวกัน

ถึงตรงนี้ จึงเกิดคำถามว่า:
จะทำอย่างไร ให้เราสามารถใช้ ทรัพยากร switch 48 port ให้คุ้มค่า ในขณะที่เราสามารถแยก Broadcast Domain ระหว่าง แผนก A และแผนก B ไม่ให้ broadcast traffic มารบกวนกันได้?
(หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ การนำข้อดีของวิธีที่ 1 กับวิธีที่ 2 มารวมกันนั่นเอง)

คำตอบ คือ การใช้ VLAN 

สำหรับตอนที่ 1 ขอจบแต่เพียงเท่านั้นครับ สำหรับ VLAN ตอนที่ 2 ตาม link นี้ครับ

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=likecisco&date=11-02-2018&group=3&gblog=62

โก้-ชัยวัฒน์







 

Create Date : 11 กุมภาพันธ์ 2561   
Last Update : 11 กุมภาพันธ์ 2561 17:03:19 น.   
Counter : 15619 Pageviews.  


การเลือก forward IP packet ของ router ตามหลัก longest match




ช้อ link แนะนำ ก่อนจะอ่านบความนี้

หากท่านใดที่ยังไม่แม่นในเรื่อง routing แล้ว ผมขอแนะนำให้ไปดู VDO ข้างล่างนี้ก่อนนะครับ 

CCNA kochaiwat Vol5 Routing Concept

https://www.youtube.com/watch?v=nJ10dy-FjEk


เริ่มกันเลย สำหรับบทความนี้:

จากที่มีคนมาถาม เพื่อขอปรึกษาเกี่ยวกับการ forward IP packet ของ router ตามหลัก longest match ดังภาพข้างล่าง







Question: According to the routing table, where will the router send a packet destined for 10.1.5.75?

คำถาม: ตาม routing table แล้ว, router จะส่ง packet ที่ถูกกำหนด destination เป็น 10.1.5.75 ไปยังที่ไหน (ส่ง packet นี้ไปยัง next-hop ไหน)?

คำตอบที่ถูกเฉลย คือ: 
Router จะ forward IP packet ที่มี destination 10.1.5.75 ไปยัง next-hop 10.1.2.2 

แต่มีคนถามมาว่า ทำไม 10.1.3.3 จึงไม่ใช่คำตอบที่ถูก ทั้งๆ ที่มี prefix เป็น 29 (/29) ซึ่งเป็น prefix ที่ยาวที่สุด ทำไม ทำไม และทำไม?


เฉลยด้วยภาพ และตามด้วยคำอธิบายครับ




เฉลยครับ ว่าทำไม next-hop ถึงเป็น 10.1.2.2 ให้ดูภาพข้่างบนประกอบนะครับ
-------------------------------------------------
Step 1: Network ID ที่จะถูกเลือก และใช้ next-hop ในการ forward IP packet ที่มี destination 10.1.5.75 จะต้องเป็น Network ID ที่มี range ของ Available IP address ที่ซึ่งจะต้องครอบคลุม Destination IP 10.1.5.75 ก่อน เป็นอันดับแรก ซึ่ง Network ที่เข้ารอบแรก มีดังนี้ (ผมเรียกว่า "เข้าวิน')
- 10.1.5.0/24 (Available IP: 10.1.5.1 - .254)
- 10.1.5.64/28 (Available IP: 10.1.5.65 - .79)
- 10.1.5.64/27 (Available IP: 10.1.5.65 - 255)
Note: 10.1.5.64/29 ไม่เข้าวิน เพราะมี Available IP: 10.1.5.65 - .70 เท่านั้น แต่ Destination IP address ที่เราสนใจเคือ 10.1.5.75
Step 2: หลังจากที่ได้ Network ID ที่เข้าวินในรอบแรกแล้ว ก็มาถึงรอบตัดเชือก คือ ดูที่ Prefix ที่ยาวที่สุด ซึ่งเป็นไปตามกฎ longest match
นั่นคือ Network ID 10.1.5.64/28 เป็นผู้ชนะ เพราะมี bit ที่ match มากที่สุด
ดังนั้น IP packet ที่มี destination address เป็น 10.1.5.75 จะถูก forward ไปยัง next-hop ที่สัมพันธ์กับ Network ID 10.1.5.64/28 นั่นคือ packet นี้จะถูก forward ไปยัง next-hop 10.1.2.2


เรามาลองพิสูจน์กันด้วย Lab:




คำเตือน!!!!!

ในชีวิตจริงแล้ว สำหรับการใช้งานแบบ Unicast ห้ามใช้ IP address ซ้ำกันนะครับ แต่สำหรับในบทความนี้ และใน lab นี้แล้ว มันเป็นกรณีพิเศษนะครับ เพราะผมต้องการที่จะแสดงให้ท่านเห็นว่า ในกรณีที่ R2, R3, และ R5 ใช้ IP address 10.1.5.75 ซ้ำกันแล้วนั้น, เมื่อ R1 ต้องการจะ forward IP packet ที่มี destination 10.1.5.75 แล้ว, R1 จะ forward IP packet นี้ออกไปยัง next-hop ไหน?

สำหรับการใช้งานแบบ Anycast แล้ว จะสามารถใช้งาน IP address ซ้ำกันได้นะครับ แต่ขอไม่กล่าวถึงในรายละเอียด (แต่ในตัวอย่างนี้เป็นการใช้งานแบบ Unicast นะครับ)

พิสูจน์ด้วยผลของ Lab กันนะครับ ลองเอาไปทำกันดูตามแนวทางนี้นะครับ
จากภาพ Diagram จะเห็นว่า R2, R3, R5 มี IP address 10.1.5.75 บน Interface Loopback 0 เหมือนกัน แต่มีแค่ R4 ที่ไม่สามารถ configure 10.1.5.75 ได้ เพราะ Network 10.1.5.64/29 มี Broadcast คือ 10.1.5.71 แต่ 10.1.5.75 มันอยู่นอก range ดังนั้นผมจึงต้องใช้ IP address เบอร์ 10.1.5.70/29 เพื่อทำให้เกิด Network ID 10.1.5.64/29 บน R4 แล้วให้ R4 update network นี้มาให้ R1 ผ่านทาง routing protocol OSPF

=======================================

R2 Configuration
---------------------------------
!
interface Loopback0
ip address 10.1.5.75 255.255.255.0
ip ospf network point-to-point
!
interface Ethernet0/0
ip address 10.1.1.2 255.255.255.0
ip ospf network point-to-point
!
router ospf 1
router-id 2.2.2.2
network 0.0.0.0 255.255.255.255 area 0
!



=======================================

R3 Configuration
---------------------------------
!
interface Loopback0
ip address 10.1.5.75 255.255.255.240
ip ospf network point-to-point
!
interface Ethernet0/1
ip address 10.1.2.2 255.255.255.0
ip ospf network point-to-point
!
router ospf 1
router-id 3.3.3.3
network 0.0.0.0 255.255.255.255 area 0
!



=======================================

R4 Configuration
---------------------------------
!
interface Loopback0
ip address 10.1.5.70 255.255.255.248
ip ospf network point-to-point
!
interface Serial1/0
ip address 10.1.3.3 255.255.255.0
ip ospf network point-to-point
!
router ospf 1
router-id 4.4.4.4
network 0.0.0.0 255.255.255.255 area 0
!



=======================================

R5 Configuration
---------------------------------
!
interface Loopback0
ip address 10.1.5.75 255.255.255.224
ip ospf network point-to-point
!
interface Serial1/1
ip address 10.1.4.4 255.255.255.0
ip ospf network point-to-point
!
router ospf 1
router-id 5.5.5.5
network 0.0.0.0 255.255.255.255 area 0
!



=======================================

R1 Configuration
---------------------------------
!
interface Ethernet0/0
ip address 10.1.1.1 255.255.255.0
ip ospf network point-to-point
!
interface Ethernet0/1
ip address 10.1.2.1 255.255.255.0
ip ospf network point-to-point
!
interface Serial1/0
ip address 10.1.3.1 255.255.255.0
ip ospf network point-to-point
!
interface Serial1/1
ip address 10.1.4.1 255.255.255.0
ip ospf network point-to-point
!
router ospf 1
router-id 1.1.1.1
network 0.0.0.0 255.255.255.255 area 0
!




เรามาลอง Traceroute จาก R1 ไปยัง destination 10.1.5.75 กันว่ามันจะ forward IP packet ที่มี destination 10.1.5.75 ออกไปทาง next-hop ไหน?





จากภาพ จะเห็นได้ว่า ผลของการ Traceroute บน R1 คือ R1 forward IP packet ที่มี destination 10.1.5.75 ออกไปยัง next-hop 10.1.2.2 ซึ่งเป็นไปตามกฎของ longest match 

ท้ายสุดนี้ ฝากไว้ให้คิดกันเล่น คือ 
1. ค่า Administrative Distance หรือ AD จะถูกนำมาใช้ในการพิจารณาการ forwarding IP packet ที่มี destination 10.1.5.75  นี้หรือไม่ และเมื่อไหร่?
2. ค่า Metric จะถูกนำมาใช้ในการพิจารณาการ forwarding IP packet ที่มี destination 10.1.5.75  นี้หรือไม่ และเมื่อไหร่?

สิ่งเหล่านี้ผมขอฝากไว้ให้คิดกันเล่นๆ ก่อนนะครับ หากมีเวลา จะเอามาอธิบายเพิ่ม ถ้าไม่เพิ่มในบทความนี้ ก็อาจจะเขียนบทความใหม่ ที่ link บทความนี้อีกที แต่ตอนนี้ขอพักการเขียน ไปเคลียร์งานหลักก่อนนะครับ งานเยอะมาาาาาาก ^^

หวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะทำให้ทานเข้าใจเรื่อง longest match กันมากขึ้นนะครับ

ขอบคณครับ
โก้-ชัยวัฒน์





 

Create Date : 15 กันยายน 2560   
Last Update : 18 กันยายน 2560 10:26:20 น.   
Counter : 8293 Pageviews.  


การ configure EtherChannel และ 802.1Q Trunking ระหว่าง Switch กับ Router



ตาม link: //www.cisco.com/c/en/us/support/docs/switches/catalyst-2950-series-switches/24042-158.html จะมีตัวอย่าง configuration และบอกว่า router รุ่นไหนบ้างที่รองรับการทำ EtherChannel

ตารางข้างล่างจะบอกว่า Router รุ่นไหนบ้างที่ทำ EtherChannel ได้ 

Router Platform EtherChannel IEEE 802.1Q Encapsulation
Cisco 1710 router No Yes
Cisco 1751 router No Yes
Cisco 2600 series No1 Yes
Cisco 3600 series No1 Yes
Cisco 3700 series No1 Yes
Cisco 4000-M series (4000-M, 4500-M, 4700-M) No Yes
Cisco 7000 series (RSP2 7000, RSP 7000CI) Yes Yes
Cisco 7100 No Yes
Cisco 7200 series Yes Yes
Cisco 7500 series (RSP1, RSP2, RSP4) Yes Yes


ความคิดเห็นส่วนตัว:

Solution ที่ใช้ router มาทำ EtherChannel นั้น อาจจะทำได้ก็จริง แต่ก็ไม่ใช่ว่า router ทุกรุ่นจะทำได้ ดังนั้น หากเป็นผมแล้ว ผมจะเลือก Layer 3 Switch มาใช้แทน router (นำเอา L3 Switch มาแทน Router R1 - อิงตัวภาพตัวอย่างข้างล่าง)


สำหรับ L2 Switch:
ในกรณีที่เราใช้ Emulator/Simulator มาทดลองแล้ว ผมไม่แนะนำการ add module Switch บน RouterCisco 7200 นะครับ เพราะ EtherChannel บน module Switch ที่เคย test มา มีปัญหาเยอะ

ในกรณีของการใช้งาน EtherChannel บน Emulator/Simulator แล้ว ผมแนะนำให้หา IOU L2 มาใช้ครับสำหรับ IOU L2 ที่ผมใช้ คือ “i86bi-linux-l2-adventerprisek9-15.1a.bin”

สำหรับ Router:
สำหรับในตัวอย่างนี้ ผมใช้ Router รุ่น Cisco 7200 

----------------------------------

สำหรับตัวอย่าง configuration ที่ผมได้ลองทำ Test เพื่อ POC (Prove of Concept) ว่าใช้งานได้หรือไม่ และได้ทำการ ping test เพื่อตรวจสอบผลของ config ว่าสามารถใช้งานได้หรือไม่ ตามนี้ครับ



Ethernet Switch:

IOU_SW1# show version

Cisco IOS Software, Solaris Software (I86BI_LINUXL2-ADVENTERPRISEK9-M), Experimental Version 15.1(20130726:213425) [dstivers-july26-2013-team_track 104]

-------------- ตัดบางส่วนออกไป ---------

IOU_SW1 uptime is 44 minutes

System returned to ROM by reload at 0

System image file is "unix:/opt/gns3/images/IOU/i86bi-linux-l2-adventerprisek9-15.1a.bin"

----- ตัดบางส่วนออกไป ---------

IOU_SW1#

IOU_SW1# show cdp neighbor

Capability Codes: R - Router, T - Trans Bridge, B - Source Route Bridge

                  S - Switch, H - Host, I - IGMP, r - Repeater, P - Phone, 

                  D - Remote, C - CVTA, M - Two-port Mac Relay 


Device ID        Local Intrfce     Holdtme    Capability  Platform  Port ID

R2               Eth 0/2           146               R    7206VXR   Fas 0/0

R3               Eth 0/3           160               R    7206VXR   Fas 0/0

R1               Eth 0/1           150               R    7206VXR   Fas 0/1

R1               Eth 0/0           135               R    7206VXR   Fas 0/0

IOU_SW1#

IOU_SW1#

IOU_SW1# show run

!

hostname IOU_SW1

!

interface Port-channel1

 switchport

 switchport trunk encapsulation dot1q

 switchport mode trunk

!

interface Ethernet0/0

 switchport trunk encapsulation dot1q

 switchport mode trunk

 duplex auto

 channel-group 1 mode on

!

interface Ethernet0/1

 switchport trunk encapsulation dot1q

 switchport mode trunk

 duplex auto

 channel-group 1 mode on

!

interface Ethernet0/2

 switchport access vlan 10

 switchport mode access

 duplex auto

!

interface Ethernet0/3

 switchport access vlan 20

 switchport mode access

 duplex auto

!

IOU_SW1#

IOU_SW1#

IOU_SW1#

IOU_SW1# show vlan


VLAN Name                             Status    Ports

---- -------------------------------- --------- -------------------------------

1    default                          active    Et1/0, Et1/1, Et1/2, Et1/3

                                                Et2/0, Et2/1, Et2/2, Et2/3

                                                Et3/0, Et3/1, Et3/2, Et3/3

10   VLAN0010                         active    Et0/2

20   VLAN0020                         active    Et0/3

1002 fddi-default                     act/unsup 

1003 token-ring-default               act/unsup 

1004 fddinet-default                  act/unsup 

1005 trnet-default                    act/unsup 


VLAN Type  SAID       MTU   Parent RingNo BridgeNo Stp  BrdgMode Trans1 Trans2

---- ----- ---------- ----- ------ ------ -------- ---- -------- ------ ------

1    enet  100001     1500  -      -      -        -    -        0      0   

10   enet  100010     1500  -      -      -        -    -        0      0   

20   enet  100020     1500  -      -      -        -    -        0      0   

1002 fddi  101002     1500  -      -      -        -    -        0      0   

1003 tr    101003     1500  -      -      -        -    -        0      0   

1004 fdnet 101004     1500  -      -      -        ieee -        0      0   

1005 trnet 101005     1500  -      -      -        ibm  -        0      0   


Primary Secondary Type              Ports

------- --------- ----------------- ------------------------------------------


IOU_SW1#


IOU_SW1# show interfaces trunk 


Port        Mode             Encapsulation  Status        Native vlan

Po1         on               802.1q         trunking      1


Port        Vlans allowed on trunk

Po1         1-4094


Port        Vlans allowed and active in management domain

Po1         1,10,20


Port        Vlans in spanning tree forwarding state and not pruned

Po1         1,10,20

IOU_SW1# 

IOU_SW1#

IOU_SW1#

IOU_SW1# show etherchannel summary 

Flags:  D - down        P - bundled in port-channel

        I - stand-alone s - suspended

        H - Hot-standby (LACP only)

        R - Layer3      S - Layer2

        U - in use      f - failed to allocate aggregator


        M - not in use, minimum links not met

        u - unsuitable for bundling

        w - waiting to be aggregated

        d - default port



Number of channel-groups in use: 1

Number of aggregators:           1


Group  Port-channel  Protocol    Ports

------+-------------+-----------+-----------------------------------------------

1      Po1(SU)          -        Et0/0(P)    Et0/1(P)    


IOU_SW1# 
==========================

Router R1:

R1# show version

Cisco IOS Software, 7200 Software (C7200-ADVENTERPRISEK9-M), Version 15.2(4)S5, RELEASE SOFTWARE (fc1)

R1 uptime is 47 minutes



R1#

R1# show cdp neighbor

Capability Codes: R - Router, T - Trans Bridge, B - Source Route Bridge

                  S - Switch, H - Host, I - IGMP, r - Repeater, P - Phone, 

                  D - Remote, C - CVTA, M - Two-port Mac Relay 


Device ID        Local Intrfce     Holdtme    Capability  Platform  Port ID

IOU_SW1          Fas 0/0           130             R S I  Linux Uni Eth 0/0

IOU_SW1          Fas 0/1           130             R S I  Linux Uni Eth 0/1

R1#

R1#

R1# show run

!

hostname R1

!

interface Port-channel1

 no ip address

!

interface Port-channel1.10

 encapsulation dot1Q 10

 ip address 10.1.1.1 255.255.255.0

!

interface Port-channel1.20

 encapsulation dot1Q 20

 ip address 20.1.1.1 255.255.255.0

!

interface FastEthernet0/0

 no ip address

 speed 10

 duplex half

 channel-group 1

!

interface FastEthernet0/1

 no ip address

 speed 10

 duplex half

 channel-group 1

!

end


R1#

R1#

R1# ping 10.1.1.2

Type escape sequence to abort.

Sending 5, 100-byte ICMP Echos to 10.1.1.2, timeout is 2 seconds:

!!!!!

Success rate is 100 percent (5/5), round-trip min/avg/max = 8/22/36 ms

R1#

R1#

R1#

R1# ping 20.1.1.2

Type escape sequence to abort.

Sending 5, 100-byte ICMP Echos to 20.1.1.2, timeout is 2 seconds:

!!!!!

Success rate is 100 percent (5/5), round-trip min/avg/max = 8/16/36 ms

R1#

===================

Router R2:

R2# show ver

Cisco IOS Software, 7200 Software (C7200-ADVENTERPRISEK9-M), Version 15.2(4)S5, RELEASE SOFTWARE (fc1)


R2#

R2# show cdp neighbor

Capability Codes: R - Router, T - Trans Bridge, B - Source Route Bridge

                  S - Switch, H - Host, I - IGMP, r - Repeater, P - Phone, 

                  D - Remote, C - CVTA, M - Two-port Mac Relay 


Device ID        Local Intrfce     Holdtme    Capability  Platform  Port ID

IOU_SW1          Fas 0/0           121             R S I  Linux Uni Eth 0/2

R2#

R2#

R2# show run

!

hostname R2

!

interface FastEthernet0/0

 ip address 10.1.1.2 255.255.255.0

 speed 10

 duplex half

!

end


R2#

R2#

R2# ping 10.1.1.1

Type escape sequence to abort.

Sending 5, 100-byte ICMP Echos to 10.1.1.1, timeout is 2 seconds:

!!!!!

Success rate is 100 percent (5/5), round-trip min/avg/max = 12/22/36 ms

R2#
===================================

Router R3:

R3# show version

Cisco IOS Software, 7200 Software (C7200-ADVENTERPRISEK9-M), Version 15.2(4)S5, RELEASE SOFTWARE (fc1)


R3#

R3# show cdp neighbor

Capability Codes: R - Router, T - Trans Bridge, B - Source Route Bridge

                  S - Switch, H - Host, I - IGMP, r - Repeater, P - Phone, 

                  D - Remote, C - CVTA, M - Two-port Mac Relay 


Device ID        Local Intrfce     Holdtme    Capability  Platform  Port ID

IOU_SW1          Fas 0/0           173             R S I  Linux Uni Eth 0/3

R3#

R3#

R3#show run

!

hostname R3

!

interface FastEthernet0/0

 ip address 20.1.1.2 255.255.255.0

 speed 10

 duplex half

!

end


R3#

R3#

R3# ping 20.1.1.1

Type escape sequence to abort.

Sending 5, 100-byte ICMP Echos to 20.1.1.1, timeout is 2 seconds:

!!!!!

Success rate is 100 percent (5/5), round-trip min/avg/max = 16/29/64 ms

R3#

หวังว่าจะมีประโยชน์กับทุกๆ ท่านนะครับ

โก้-ชัยวัฒน์
(KoChaiwat)




 

Create Date : 28 พฤษภาคม 2560   
Last Update : 29 พฤษภาคม 2560 17:32:42 น.   
Counter : 8986 Pageviews.  


วิธีการ set route table บน PC/Notebook กรณีมี 2 card LAN หรือ Gateway มากกว่า 1 Gateway



วิธีการ set route table บน PC/Notebook กรณีมี 2 card LAN หรือ Gateway มากกว่า 1 Gateway: ให้ภาพแทนคำพูด และคำอธิบายนะครับ
- ประมาณว่า subnet ไหน/ปลายทางไหน ที่จะต้องออกทาง Gateway แบบเฉพาะเจาะจง ก็ให้ระบุให้ชัดเจน แต่ที่อื่นๆ และ Internet ก็ให้ออก default route (0.0.0.0/0 หรือ 0.0.0.0 mask 0.0.0.0) ไป

หมายเหตุ จากภาพไม่ใส่ option -p (persistent) เพราะเกรงว่าบางท่านที่ไม่เข้าใจ หรือไม่รู้ถึง option นี้ แล้วใส่ตาม พอมีการเปลี่ยนแปลง gateway หรือเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่างที่จะต้องมาแก้ route แล้ว จะทำให้เกิดปัญหา แล้วหาไม่เจอ เลยให้ท่านที่สนใจไปศึกษาว่า option -p คืออะไร แล้วให้ท่านเป็นคนตัดสินใจใส่เองนะครับ เพื่อเวลาเกิดปัญหา ท่านก็จะได้รู่ว่าท่านใส่ -p ลงไป เพราะอะไร



KoChaiwat




 

Create Date : 21 มีนาคม 2560   
Last Update : 22 มีนาคม 2560 17:08:58 น.   
Counter : 11777 Pageviews.  


1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  

kochaiwat
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 693 คน [?]




เริ่มงานครั้งแรกที่บริษัท UIH (United Information Highway) ซึ่งเป็นบริษัทผู้ให้บริการทางด้านการสื่อสารข้อมูล อาทิเช่น Lease Line, Frame Relay และ MPLS และได้ย้ายไปร่วมงานกับบริษัท dtac โดยได้ทำงานเกี่ยวกับ IP Network (Switch/Router/Firewall/F5-Loadbalancer) รวมถึง MPLS Network และ IPRAN (IP Radio Access Network) ซึ่งเป็น IP Network ที่รองรับ Access ของ Mobile System นอกจากนั้นยังสนใจศึกษาเรื่อง IPv6 Address ที่จะมาใช้แทน IPv4 ที่เราใช้งานอยู่ในปัจจุบัน
แต่ด้วยความชอบในการแบ่งปันความรู้ จึงได้มีโอกาสสอน CCNA อยู่ที่สถาบันแห่งหนึ่งในอาคารฟอร์จูนทาวน์ในวันเสาร์-อาทิตย์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 จนถึง พ.ศ. 2553 รวมเป็นเวลา 4 ปี, หลังจากนั้นในระหว่างที่ทำงานที่ dtac ก็ได้สอนเสาร์-อาทิตย์เรื่อยมา

เคยเป็น Trainer หรือ Instructor อย่างเต็มตัว สอนวิชาต่างๆ ของ Cisco อย่างเป็นทางการ (Authorize Training) ที่บริษัท Training Partner Thailand จนถึง มีนาคม 2014 และได้ตัดสินใจออกมาสอนเอง เพราะด้วยความรักในอาชีพการสอน และต้องการที่จะแบ่งปันความรู้ให้กับบุคคลในระดับกลางและล่างเพื่อส่งเสริมให้ได้มีโอกาสได้เรียน และได้มีโอกาสสมัครงาน แต่ด้วยใจรักในบริษัท Cisco ดังนั้น เมื่อมีโอกาสเข้ามา จึงได้ตัดสินใจหยุดการสอน และได้เข้าไปเป็นพนักงาน หรือทำงานที่บริษัท Cisco Thailand ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2559 (2016) จนถึงปัจจุบัน

ลูกค้าที่เคยมารับการอบรม เช่น
- Lao Telecom Company Ltd
- CAT Telecom
- TOT
- True
- dtac
- CDG Group
- SITA air transport communications and information technology (www.sita.aero/)
- Infonet Thailand
- MultiLink Co., Ltd
- โรงพยาบาลไทยนครินทร์
- และเคยไปเป็นวิทยากรพิเศษที่ มหาวิทยลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ

ปัจจุบัน โก้-ชัยวัฒน์ ได้ผ่านการสอบ:
- Cisco Certified Internetwork Expert (CCIE) No. 51353 และ
- Cisco Certified Systems Instructor (CCSI) ซึ่งเป็น Certificate ที่ออกให้โดย Cisco สำหรับผู้ที่จะเป็นผู้สอน Cisco Certificate อย่างเป็นทางการ และได้รับ CCSI ID: 34784

วิชาที่สามารถได้สอนได้สำหรับ Cisco Certificate ในขณะนี้คือ
- CCNA Routing & Switching
- CCNA Security (IINS)
- CCNP Route & Switch: ROUTE
- CCNP Route & Switch: SWITCH
- CCNP Route & Switch: TSHOOT
- MPLS (IOS)
- MPLS Traffic Engineering (IOS)
- CCNP Service Provider: SPROUTE (OSPF, IS-IS, BGP, Prefix-List, Route-Map and RPL (Routing Policy Language))
- CCNP Service Provider: SPADVROUTE (Advance BGP, Multicast, and IPv6)
- CCNP Service Provider: SPCORE (MPLS, MPLS-TE, QoS)
- CCNP Service Provider: SPEDGE (MPLS-L3VPN, MPLS-L2VPN (AToM and VPLS)
- IPv6

Certification ที่มีอยู่ในปัจจุบัน CCIE# 51353, CCSI# 34784, CCNA Routing & Switching, CCNA Security (IINS), CCNA Design, CCNP Routing & Switching, CCIP, CCNP Service Provider ซึ่งเป็น Certification ของ Cisco product รวมถึง Certification ของสถาบัน EC-Council (www.eccouncil.org) นั่นคือ Certified Ethical Hacker (CEH)

"เป้าหมายมีไว้ให้ไล่ล่า บ้างเหนื่อยล้าบ้างหยุดพัก
ชีวิตแม้ยากนัก แต่เรารักเราไม่ถอย
ชีวิตแม้ต้องคอย จะไม่ปล่อยไปวันๆ
ชิวิตไม่วายพลัน แม้นสักวันต้องได้ชัย"

"แม้ระยะทางจะไกลแค่ไหน แม้ต้องใช้เวลามากเพียงใด
ขอเพียงแค่มีความตั้งใจ เราต้องได้ไปให้ถึงมัน"

ผมจะไม่ยอมทิ้งฝัน แต่จะไล่ล่ามันให้ถึงที่สุด สักวันฝันอาจจะเป็นจริง ถึงจะไปไม่ถึง แต่ผมก็ภูมิใจที่ได้ทำ
==============================
ความรู้ = เมล็ดพืช
ความพยายามในการเรียนรู้ = ปุ๋ย, น้ำ และความใส่ใจที่จะปลูก
สรุปคือ
ยิ่งพยายามเรียนรู้ ยิ่งพยายามศึกษาในเรื่องใดๆ ผลที่ได้คือ จะได้ความรู้ในเรื่องนั้นๆ อย่างลึกซึ้ง เปรียบเสมือนปลูกต้นไม้ด้วยความใส่ใจ ให้น้ำ ให้ปุ๋ย ผลที่ได้ก็คือ ต้นไม้ที่เติบโตอย่างแข็งแรง และผลิดอกและผลที่งดงามให้เราได้ชื่นชม
ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จจะอยู่ที่นั่น หรือที่ไหนก็ช่าง แต่เชื่อเถอะ เราจะได้ผลลัพธ์ที่ดีจากความพยายามนั้นๆ ไม่มากก็น้อย
อยากได้อะไรให้พยายาม แล้วความสำเร็จมันจะเข้ามาหาเอง
ผมเชื่อ และมั่นใจอย่างนั้น
===============================
ตอนนี้ผมได้ไปถึงฝัน (CCIE) แล้ว และสิ่งที่ไม่คาดฝัน คือได้ทำงานที่บริษัท Cisco ซึ่งถือได้ว่าไกลเกินฝัน

กว่าผมจะมาถึงจุดนี้ได้ เกิดจากความตั้งใจ มุ่งมั่น และพยายามอย่างไม่ย่อท้อ ศึกษาหาความรู้ และฝึกฝนตนเองอยู่เสมอ จนกระทั่งประสบความสำเร็จ และผมก็ได้พิสูจน์แล้วว่า ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น ขอเพียงแค่อย่าท้อ อย่าถอย และอย่าหยุด

ผมขอเป็นกำลังใจให้กับทุกคน และขอให้ประสบความสำเร็จดังที่มุ่งหวัง ไม่ว่าท่านจะหวังสิ่งใดก็ตามครับ

ท้ายที่สุด ผมขอฝากข้อคิดในเรื่อง Certificate ไว้สักนิดนะครับ:
*** "CCIE และ Certificate อื่นๆ มีไว้เพื่อทำมาหากิน และมีไว้เพื่อข่มตนไม่ให้เกรียน เพราะความเกรียนจะนำมาซึ่งการเป็นเป้าให้คนที่เค้าหมั่นไส้ยิงเอานะครับ" ***

Facebook: Chaiwat Amornhirunwong
New Comments
[Add kochaiwat's blog to your web]

MY VIP Friends


 
 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com