ความรู้คู่ความก้าวหน้า
 
 

MPLS L2VPN คืออะไร?

MPLS L2VPN คืออะไร?
หลายคนที่ติดต่อกับ Service Provider เพื่อขอเช่า link และเมื่อ Service Provider มีการขาย link ประเภท MPLS L2VPN แล้ว บางคนอาจจะสงสัยว่า แล้วฝั่งเค้า ซึ่งเป็นลูกค้า จะต้อง configure อะไรเกี่ยวกับ MPLS บนอุปกรณ์ของเค้าบ้างไหม?

คำตอบคือ ในมุมมองฝั่งลูกค้าแล้ว:

1. กรณีคุณลูกค้าเช่า MPLS L2VPN link แบบ Point-to-Point หรือบาง Service Provider เรียกว่า VLL (Virtual Lease Line)
ให้คุณลูกค้ามอง Network MPLS ของ Service Provider เป็นสาย LAN ระยะไกล หรือมองเป็น Virtual สาย LAN ที่มาต่อกับ Switch ของท่านทั้ง 2 site และทั้ง 2 site สามารถเป็น Subnet เดียวกันได้ ดังภาพตัวย่าง ภาพ  MPLS L2VPN Point-to-Point or VPWS ที่ 1-3

Note: MPLS L2VPN link แบบ Point-to-Point มีชื่อย่างเป็นทางการคือ VPWS (Virtual Private Wire Service)






2. กรณีคุณลูกค้าเช่า MPLS L2VPN แบบ Multipoint-to-Multipoint 
ให้คุณลูกค้ามอง Network MPLS ของ Service Provider เป็น Switch ตัวใหญ่ๆ หนึ่งตัว (มอง MPLS Network เป็น Virtual Switch) และทุก site ที่ต่ออยู่บน MPLS Network แบบ L2VPN Multipoint-to-Multipoint จะสามารถ configure ให้อยู่ใน Subnet เดียวกันได้ ดังตัวอย่างภาพ MPLS L2VPN VPLS ที่ 1-3
 
Note: MPLS L2VPN แบบ Multipoint-to-Multipoint มีชื่อย่างเป็นทางการคือ VPLS (Virtual Private LAN Service)









คำถามถัดมาว่า:
เมื่อไหร่ถึงจะใช้ MPLS L2VPN แบบ Point-to-Point และเมื่อไหร่ถึงจะใช้ MPLS L2VPN แบบ Multipoint-to-Multipoint

คำตอบคือ:

- หากท่านมีแค่ 2 site ที่ต้องเป็น subnet เดียวกัน
ท่านก็เช่าแค่ MPLS L2VPN แบบ Point-to-Point หรือ VPWS ก็พอ

- หากท่านมี site ตั้งแต่ 3 site ขึ้นไป ที่ต้องเป็น subnet เดียวกัน
ท่านก็จำเป็นที่จะต้องเช่า MPLS L2VPN แบบ Multipoint-to-Multipoint หรือ VPWS

หากมีเวลา ก็จะทำภาพ MPLS L3VPN และอธิบายมุมมองของลูกค้าว่า จะต้อง configure router ของคุณลูกค้าอย่างไร เมื่อต้องต่อเข้ากับ MPLS Network แบบ L3VPN

หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์กับพี่น้องนะครับ

โก้-ชัยวัฒน์ (KoChaiwat)




 

Create Date : 10 ธันวาคม 2563   
Last Update : 10 ธันวาคม 2563 15:49:12 น.   
Counter : 5390 Pageviews.  


MPLS VPNv4 คืออะไร?

MPLS VPNv4 คืออะไร?
ขออธิบายแบบง่ายๆ นะครับ (จากที่มีคนถามมา) ก็ต้องมีการกล่าวถึงจุดกำเนิดของ MPLS กันหน่อย

VPNv4 คือ RD+IPv4

Network ของลูกค้า หลายๆ บริษัทจะใช้ IPv4 ที่เป็น private IPv4 ซึ่งแน่นอน Private IPv4 address ของแต่ละบริษัทจะถูกกำหนดโดย network administrator แบบไม่ใหซ้ำกันภายในบริษัทนั้น แต่การกำหนด Private IPv4 ของแต่ละบริษัท จะไม่เคยมาคุยกัน หรือมาตกลงกันว่าใครจะใช้ IP address อะไร ซึ่งไม่เหมือนอย่าง Public IPv4 address ที่จะต้องมีการตกลงกัน

ในยุคแรกๆ ของ Service Provider ที่ให้บริการ WAN แบบ Point-to-Point Layer 1 อย่าง Lease Line หรือ Point-to-Point Layer 2 อย่าง Framer Relay นั้น
ลูกค้าแต่ละรายจะมี HQ (สำนักงานใหญ๋) เป็น Hub และมี Branch เป็น Spoke ซึ่งหาก Branch1 ต้องการติดต่อกับ Branch2 แล้ว Branch1 จะต้องส่ง traffic วิ่งขึ้นมาที่ HQ (Hub) ก่อน ต่อจากนั้น HQ จะทำการ forward ต่อลงไปให้ Branch2

ซึ่งใหนทางปฎิบัติแล้ว ไม่มีลูกค้ารายไหนลงทุนเช่า link Point-to-Point จาก Branch ไป Branch เพราะราคาค่าเช่า Lease Line หรือ Frame Relay แพงมากๆ

จึงเกิดโจทย์ และคำถามจากลูกค้าว่า จะเป็นไปได้ไหมที่ Service Provider จะให้บริการ Layer 3 (ให้บริการ routing) แทน Lease Line หรือ Frame Relay เพราะการให้บริการแบบ Layer 3 จะทำให้ Branch สามารถติดต่อกับ Branch ได้โดยตรงผ่านการ routing ของระบบ IP network

แต่เนื่องจากลูกค้าแต่ละรายใช้ Private IP address ซึ่งจะมีโอกาสที่ลูกค้า A ใช้ 10.1.1.0/24 และมี host ที่ใช้ IP address 10.1.1.1 และในขณะที่ลูกค้า B ก็ใช้ 10.1.1.0/24 และมี host ที่ใช้ IP address 10.1.1.1 ด้วยเช่นกัน

หาก Service Provider เอา router ธรรมดามาต่อกับลูกค้า A และลูกค้า B และจากนั้น ทั้งลูกค้า A และ B ประกาศ subnet 10.1.1.0/24 ที่เหมือนกันมาให้ router ของ Service Provider แล้ว คำถามคือ Service Provider จะแยกแยะ และรู้ได้อย่างไรว่า 10.1.1.0/24 ไหน เป็นของลูกค้าอะไร และจะ update 10.1.1.0/24 ของลูกค้าทั้งสองต่อไปยังที่ router อื่นๆ ของ Service Provider อย่างไร โดยไม่ให้เกิดการ update net 10.1.1.0/24 สลับกันระหว่างลูกค้า A กับ B

และหากมี traffic ที่มี destination 10.1.1.1 มายัง router ของ Service Provider ตัวนี้แล้ว router ตัวนี้จะรู้ได้อย่างไรว่าจะ forward traffic นี้ไปให้ลูกค้า A หรือลูกค้า B ที่ซึ่งมี host 10.1.1.1 ด้วยกันทั้งคู่ ????

คำตอบคือ ต้องใช้ MPLS และทำ IPv4 address ของลูกค้าแต่ละรายที่ซ้ำกัน ให้มันกลายเป็น address ชนิดใหม่ที่ไม่มีการซ้ำกัน โดยการเพิ่มค่าอะไรสักอย่างเข้าไปผสมกับ IPv4 route ของลูกค้า ซึ่งค่าอะไรสักอย่างที่ว่า ก็คือ RD หรือ Route-Distinguisher นั่นเอง
Note: Route-Distinguisher แปลเป็นไทยได้ว่า "ตัวแยกแยะที่ทำให้เกิดความแตกต่าง"

การนำ RD มาผสม กับ IPv4 route (นำ RD ไปแป่ะไว้ข้างหน้า IPv4 route) จะทำให้เกิดเป็น route ชนิดใหม่ที่เรียกว่า VPNv4 route

นั่นคือ การแปลง IPv4 route ของลูกคัาให้กลายเป็น VPNv4 route โดย

VPNv4 = RD:IPv4

ซึ่ง RD จะทำหน้าที่เป็นตัวแยกแยะ ให้ IPv4 route ของลูกค้าแต่ละราย ให้เกิดความแตกต่างนั่นเอง

ดังนั้น Service Provider จะต้องกำหนด RD ของลูกค้าแต่ละรายไม่ให้ซ้ำกัน เช่น
ลูกค้า A ใช้ RD = 100:1
ลูกค้า B ใช้ RD = 100:2

ดังนั้น:
VPNv4 route ของ A = 100:1:10.1.1.0/24
VPNv4 route ของ B = 100:2:10.1.1.0/24

ซึ่งถึงตรงนี้แล้ว จะเห็นได้ว่า VPNv4 route ของลูกค้าทั้งสองไม่ซ้ำกันอีกต่อไปแล้ว และ VPNv4 route ก็จะถูก update กันใน MPLS network ต่อไป และสิ่งเหล่านี้จะถูกนำมาใช้งานคู่กับ MPLS Label ต่อไป













มีคนถามมาว่า RD มีกี่แบบ
RD มี 2 format ครับ คือ
==================

แบบที่ 1:
16 bits : 32 bits เช่น 65501 : 100 --> AS Number : Id ของลูกค้า

แบบที่ 2:
32 bits IP address : 16 bits เช่น 192.168.1.1 : 100 --> Loopback 0 IP address ของ Provider Edge Router : Id ของลูกค้า

ส่วนจะเลือกใช้แบบไหน ก็ขึ้นอยู่กับการตกลงกันครับ



ขอจบแต่เพียงเท่านี้ครับ

โก้-ชัยวัฒน์ (KoChaiwat)




 

Create Date : 05 ธันวาคม 2563   
Last Update : 6 ธันวาคม 2563 10:06:24 น.   
Counter : 1802 Pageviews.  


MPLS L3VPN และ MPLS L2VPN คืออะไร และแตกต่างกันอย่างไร?



จากการที่ผมได้ไปตอบคำถามใน CCNA Hunter Group ผมขอเอามาแป่ะไว้ใน Blog เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ท่านๆ ที่สนใจในเรื่องนี้         


โดยท่านที่จะอ่านบทความนี้ ควรจะมีความรู้เรื่อง network infrastructure และเรื่อง routing มาบ้าง เพราะผมจะไม่ได้ปูพื้นฐานนัก แต่จะเป็นการอธิบายแบบตรงจุดเลยนะครับ

===============================================
คำศัพท์ที่ควรรู้สักหน่อย เกี่ยวกับ L2VPN และ L3VPN ที่ใช้งานอยู่บน MPLS Network

PE router = Provider Edge router เป็น router ของ Service Provider ที่อยู่ตรงขอบของ Service Provider Network ที่หันหน้าหา CE หรือ Network ของ ลูกค้า
CE router = Customer Edge router เป็น router ของ Customer ที่อยู่ตรงขอบของ Customer Network ที่หันหน้าหา PE หรือ Service Provider Network

[Customer Network--CE]--(PE--Service Provider Network--PE)--[CE--Customer Network]

L3 = Layer 3 (Network Layer ก็เกี่ยวกับ IP)
L2 = Layer 2 (Data Link Layer เกี่ยว Layer 2 frame)
VPN = ความเป็น private บน shared network หรือ Infrastructure เดียวกัน

-----------------------------------------------------------------------------------

L3VPN คือ Service Provider Network ให้บริการ การ routing ระดับ Layer 3 แก่ลูกค้า โดยที่ routing information (subnet) ของลูกค้าแต่ละรายไม่มาปะปนกัน โดย router ของลูกค้ามอง network ของ Service Provider ทั้ง Network เป็นเสมือน router ตัวใหญ่ๆ ตัวหนึ่ง

L3VPN นั้น PE กับ CE จะต้อง connect กันด้วย Layer 3 (IP) และ Interface ของทั้งคู่จะต้องอยู่ใน subnet เดียวกัน ในมุมมองของลูกค้าแล้ว PE จะเป็นเสมือน router ตัวหนึ่งใน network ของลูกค้า โดย CE กับ PE จะต้อง run routing protocol แล้วแลกเปลี่ยน routing information ซึ่งกันและกัน

-----------------------------------------------------------------------------------

L2VPN คือ Service Provider Network ไม่ได้ให้บริการ Layer 3 routing และไม่ได้เข้าไปร่วมการแลกเปลี่ยน routing information กับลูกค้า แต่จะส่งผ่าน Layer 2 frame ทั้ง frame จาก router ของลูกค้าฝั่งหนึ่งไปยัง router ของลูกค้าอีกฝั่งหนึ่ง (ในกรณีที่ทั้ง 2 ฝั่งทำการ encapsulation ด้วย Layer 2 protocol ที่เหมือนกัน) ผ่านทาง Virtual Link หรือ VC (Virtual Circuit) โดยลูกค้ามอง router ของ Service Provider เป็นเสมือนตัว MUX (Multiplexer) หรือ Lease Line Switching หรือมอง Service Provider Network เป็นเสมือนสาย LAN หรือสายทองแดงระยะไกล

Note ในกรณีที่ PE router ทั้งสองฝั่งของ Service Provider ให้บริการ Point-to-Point L2VPN โดยทำการ encapsulation Layer 2 protocol ไม่เหมือนกันนั้น PE router จะทำการ de-encapsulation Layer 2 header ออกไปก่อน แล้วทำการส่งผ่านเป็น IP packet ไปบน Virtual Circuit 
จากนั้น เมื่อ IP packet นี้ เดินทางไปถึง PE อีกฝั่งแล้ว PE ปลายทางจะทำการ encapsulate ด้วย Layer 2 header protocol อีก protocol หนึ่ง ก่อนส่งเป็น Layer 2 frame ไปยัง CE router ที่อยู่ฝั่งลูกค้า

L2VPN นั้น PE จะเป็นแค่ทางผ่าน โดย PE ทั้ง 2 ฝั่งจะต้องสร้างสายเสมือนระหว่างกัน (หรือที่เรียกกันว่า สายโดวู - สูโดวาย pseudowire [PW]) หรือเรียกกันอีกชื่อว่า VC (Virtual Circuit) ซึ่งจะมอง PW ดังกล่าวเป็นเสมือนเพียงแค่ link โดย Interface ของ CE router ทั้งสองฝั่งจะต้องถูก configure IP address ให้อยู่ใน subnet เดียวกัน - PE router จะไม่เข้าไปแลกเปลี่ยน routing update กับ CE ดังนั้น PE router จะไม่ run routing protocol กับ CE แต่จะทำหน้าที่ส่งผ่าน routing update จาก CE ไปยัง CE เท่านั้น

-----------------------------------------------------------------------------------

หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็น Guideline ให้ท่านสามารถศึกษาต่อได้ง่ายขึ้นนะครับ

หากท่านต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ท่านอาจจะเข้าไป download ข้อมูล ตาม link นี้ได้นะครับ




 

Create Date : 04 พฤศจิกายน 2561   
Last Update : 4 พฤศจิกายน 2561 16:31:16 น.   
Counter : 12291 Pageviews.  


MPLS-TE (TE = Traffic Engineering) Concept หรือ หลักการของ MPLS-TE



MPLS-TE (TE = Traffic Engineering)

ท่านที่จะอ่านบทความย่อนี้ หากท่านเข้าใจ Basic MPLS และ LSP ที่ถูกสร้างจาก protocol LDP มาบ้างก็จะเป็นการดีนะครับ 

MPLS พื้นฐานแต่ดั้งเดิมนั้น มันจะทำการสร้าง LSP (Label Switching Path) เพื่อที่จะให้ในการ forwarding data traffic ซึ่ง LSP นั้นจะสร้างมาจาก protocol LDP ที่ทำงานอยู่บนพื้นฐานของ IGP อีกทีหนึ่ง ทำให้การเลือก the best path ของ LSP-LDP จะเป็นไปตาม IGP ซึ่ง IGP จะสนใจแต่ค่า cost แต่ไม่เคยสนใจเลยว่าเส้นทางนั้นๆ มี bandwidth เพียงพอต่อการใช้งานหรือไม่ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดเหตุการณ์ บางเส้นทางใช้งานหนักจนเกิดไป หรือ overload เกิน 100% และทำให้เกิด congestion แต่ในขณะที่บางเส้นทางมี traffic วิ่งน้อยมาก หรืออาจจะไม่มีเลย

MPLS-TE เกิดขึ้นมาเพื่อแก้ไขสิ่งเหล่านี้ โดยมันจะทำการสร้าง LSP ขึ้นมาบนพื้นฐานของ Available Bandwidth หรือบนพื้นฐานของเส้นทางที่มี bandwidth ที่เพียงพอต่อความต้องการใช้งาน โดย MPLS-TE จะใช้้ CBR ( Constraint-Based Routing) หรือการหาเส้นทางแบบตั้งเงื่อนไขได้ (CBR จะเป็น routing protocol OSPF-TE หรือไม่ก็ IS-IS-TEซึ่งจะมีเพียงแค่ 2 protocol เท่านั้นที่รองรับ TE เนื่องจาก MPLS-TE จะต้องเห็นภาพรวมของ topology และ resource ตามจุดต่างๆ ของ topology ดังนั้นมันจึงจำเป็นที่จะต้องใช้ Link-State routing protocol) ซึ่งจะเป็น routing protocol ที่ไม่ได้มองแต่เพียงค่า cost เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่จะมองถึง Available Bandwidth ด้วย และหลังจากได้ explicit path (path ที่ชัดเจน) แล้ว มันก็จะใช้ RSVP เป็น signalling ที่ใช้ในการคุยกันระหว่าง node ทุกๆ node ใน path ที่ได้ทำการเลือกแล้ว เพื่อที่จะทำการจอง bandwidth เอาไว้สำหรับ LSP-TE

Note: Explicit Path สามารถสร้างได้ทั้งแบบ static และแบบ dynamic (CBR)

หลังจากที่เราได้ LSP-TE (หรือ LSP-RSVP) แล้ว เราจำเป็นที่จะต้องทำการ route data traffic เข้า LSP-TE (TE Tunnel) ด้วยการใช้วิธีใดวิธหนึ่งคือ:
1. static route ให้ route ออกทาง interface tunnel (mode mpls traffic engineering)
2. PBR (Policy Based Routing)
3. Autoroute (มันจะ route เข้าไปใน TE tunnel ให้เองอย่างอัตโนมัติ)

เป็นอันจบแก่นแท้ของ MPLS-TE

บทความนี้เป็นการชี้แก่น และสรุปสำหรับ MPLS-TE เพื่อให้ท่านไปอ่านเองต่อยอดได้นะครับ หวังว่าจะมีประโยชน์กับคนที่เกี่ยวข้องกับมัน


====================================

ในตอนนี้จะกล่าวถึงการประกาศ หรือแลกเปลี่ยน label ที่จะถูกใช้ในการ forwarding ใน MPLS network อีก protocol หนึ่ง นั่นคือ RSVP

MPLS-TE (TE = Traffic Engineering) จะใช้ IGP ประเภท Link-State protocol ที่ได้รับการ upgrade ให้รองรับ parameter ที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณ best path บนพื้นฐานของ Traffic Engineering โดย IGP เหล่านั้นก็คือ OSPF-TE หรือ ISIS-TE

ถึงแม้ว่า OSPF-TE และ ISIS-TE จะได้รับการ upgrade แต่มันก็ยังไม่มีความสามารถในการประกาศ หรือแลกเปลี่ยน label ดังนั้นมันจึงต้องมี protocol อีก protocol หนึ่งเข้ามาช่วยในการประกาศ หรือแลกเปลี่ยน label นั่นก็คือ RSVP protocol ซึ่ง protocol นี้โดยดั้งเดิมแล้วมันถูกใช้อยู่ใน QoS แบบ Integrated Service หรือ IntServ

ด้วยความสามารถของ RSVP protocol ที่สามารถทำ signaling ในการ request and confirm การจอง bandwidthได้ ดังนั้นมันจึงถูกเลือกเอามาใช้การ reserve bandwidth ใน MPLS-TE โดยขั้นตอนโดยสังเขป จะเป็นดังนี้

Step 1: PE router ต้นทางจะทำการคำนวณเลือก the best path จากตัวมันไปยัง PE router ปลายทางบนพื้นฐานของ bandwidth ที่ต้องการจอง ด้วย IGP protocol สำหรับ TE ซึ่งถ้าไม่ใช้ OSPF-TE ก็จะใช้ ISIS-TE ตัวใดตัวหนึ่งในการคำนวณหา the best path จาก PE ต้นทางไปยัง PE ปลายทาง (ทั้ง OSPF-TE และ ISIS-TE จะใช้ algorithm CSPF ในการคำนวณ the best path)

Note: สำหรับ CSPF มีหลักการอย่างไร ท่านสามารถเข้าไปอ่านได้ตาม link นี้ครับ

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=likecisco&date=28-06-2017&group=12&gblog=3

Step 2: หลังจากที่ PE router ต้นทาง เลือก the best path แล้ว PE router ต้นทางก็จะทำการส่ง RSVP signalling ประเภท RSVP PATH message ไปบอกกับ router ที่อยู่ระหว่างทางให้ช่วยจอง bandwidth ให้มันหน่อย ประมาณว่า "เราเลือกนายเป็นทางผ่านนะ และเราต้องการผ่าน link xx ของนาย นายช่วยจอง bandwidth ขนาด yy ให้เราด้วยนะ" และ router ระหว่างทาง ก็จะทำการส่ง RSVP signaling ประเภท RSVP PATH message ในลักษณะนี้ต่อไปเรื่อยๆจนถึง PE ปลายทาง

Step 3: หลังจาก PE ปลายทางได้รับ RSVP signaling ประเภท RSVP PATH message เพื่อขอจอง bandwidth แล้ว มันจะทำการจอง bandwidth ให้ แล้วทำการ confirm การจองกลับไปยัง PE router ต้นทางผ่าน router กลางทางไปทีละ hop ทีละ hop ด้วย RSVP signalling ประเภท RSVP Reserve message ซึ่งในการ confirm การจอง bandwidth นี้ router ที่ทำการส่ง RSVP Reserve message นี้ จะทำการ allocate หรือทำการจัดสรร label ให้กับ router ต้นทางด้วย และเอา label ที่ได้จัดสรรเอาไว้แล้วนี้ ใส่ลงไปใน RSVP Reserve massage ด้วย เพื่อบอกกับต้นทางประมาณว่า "ถ้านายจะส่งข้อมูลมาทางฉัน ขอให้นายส่งมาด้วย MPLS frame ที่มี label เป็นเบอร์นี้นะจ๊ะ"

Note: RSVP ที่ใช้อยู่ใน MPLS-TE จะถูกเรียกว่า RSVP-TE

ถึงตรงนี้ เราจะเห็นได้ว่า MPLS-TE จะใช้ RSVP ในการประกาศ หรือแลกเปลี่ยน label

สรุป MPLS ธรรมดา (MPLS-LDP) กับ MPLS-TE

- MPLS ธรรมดาจะใช้ LDP protocol ในการประกาศ หรือแลกเปลี่ยน label ที่จะใช้ในการ forwarding ใน MPLS network

- MPLS-TE จะใช้ RSVP protocol ในการประกาศ หรือแลกเปลี่ยน label ที่จะใช้ในการ forwarding ใน MPLS network

สิ่งหนึ่งที่จะต้องบอกไว้ตรงนี้คือ

โดยดั้งเดิมแล้วเมื่อเราพูดถึง MPLS ธรรมดาแล้ว เรามักจะเหมารวมด้วยความรู้สึกว่า MPLS ธรรมดา กับ LDP protocol เป็นสิ่งเดียวกันโดยปริยาย แต่เมื่อมี technology Segment Routing เกิดขึ้นมาในโลกใบนี้แล้ว เราจำเป็นต้องเข้าใจ Keyword ของคำว่า MPLS กับ LDP กันใหม่


สำหรับ MPLS (MPLS-LDP) และ MPLS-TE แล้ว มันจะใช้ IGP (routing protocol) ในการคำนวณ the best path เท่านั้น แต่จะใช้ protocol อื่นในการประกาศ หรือแลกเปลี่ยน label 

- MPLS (หรือ MPLS-LDP) จะใช้ LDP protocol ในการแลกเปลี่ยน label (LSP label)

- MPLS-TE จะใช้ RSVP protocol ในการแลกเปลี่ยน label (LSP label)

บทความตรงนี้ เป็นบทความที่ตัดบางส่วนที่เกี่ยวกับ MPLS (MPLS-LDP) มาจากบทความ "Segment Routing เหมือน หรือต่างกับ MPLS ที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันอย่างไร?" อีกทีหนึ่ง

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=likecisco&date=03-11-2018&group=12&gblog=4

โก้-ชัยวัฒน์ (KoChaiwat)




 

Create Date : 04 พฤศจิกายน 2561   
Last Update : 4 พฤศจิกายน 2561 16:45:46 น.   
Counter : 5087 Pageviews.  


MPLS Concept หรือหลักการของ MPLS พื้นฐาน



MPLS ดั้งเดิม (MPLS LDP)

MPLS จะ forward IP packet หรือ Ethernet frame บนพื้นฐานของ label โดยการ forwarding and swap label จากต้นทางไปยังปลายทาง ตามชื่อเต็มๆ ของ MPLS คือ Multiprotocol Label Switching (การ switching ข้อมูล หรือการส่งข้อมูลบนพื้นฐานของการ swap label header โดยมี payload ของของ MPLS frame เป็น protocol อะไรก็ได้ (multiprotocol) คือ payload ของ MPLS frame จะเป็น Layer 3 packet (IP packet ) หรือเป็น Layer 2 frame (Ethernet frame, HDLC frame, PPP frame) ก็ได้

โดยดั้งเดิมแล้วเนื่องจาก IGP (Routing protocol อย่างเช่น OSPF, ISIS, EIGRP, RIP) ดั้งเดิมจะแลกเปลี่ยนกันแค่ routing information หรือ IPv4 subnet / IPv6 subnet และไม่สามารถแลกเปลี่ยน label ที่จะใช้ในการ forwarding ใน MPLS network ได้ ซึ่งในช่วงแรกๆ มีการพิจารณา และตัดสินใจสร้าง protocol ใหม่ขึ้นมา คือ LDP (Label Distribution Protocol) ซึ่ง protocol ตัวนี้จะทำหน้าที่เป็นขั้นตอนคือ

Step 1: รอให้ IGP แลกเปลี่ยน routing information (เช่น IPv4 subnet) ให้เสร็จสิ้นเสียก่อน

Step 2: จากนั้น LDP protocol จะเอา IGP route (หรือ IPv4 subnet) ทั้งหมดที่เป็น the best path ใน routing table มาจัดสรร (allocate) label (โดย default แล้วจะเอาทุกๆ route ที่เป็น IGP route ใน routing table มาจัดสรร label)

Step 3: จากนั้น LDP protocol จะประกาศ label และแลกเปลี่ยน label ซึ่งกัน และกันในทำนองว่า "ต่อไป ถ้านายจะส่งข้อมูลมาหาชั้นนะ แทนที่จะ forwarding data มาในรูปแบบของ IP packet แต่ขอให้นาย encapsulate IP packet ไว้ใน MPLS frame นะ แล้วให้ส่งมันออกมาหาชั้นด้วย label เบอร์นี้แทนนะจ๊ะ"


บทความตรงนี้ เป็นบทความที่ตัดบางส่วนที่เกี่ยวกับ MPLS (MPLS-LDP) มาจากบทความ "Segment Routing เหมือน หรือต่างกับ MPLS ที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันอย่างไร?" อีกทีหนึ่ง

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=likecisco&date=03-11-2018&group=12&gblog=4

โก้-ชัยวัฒน์ (KoChaiwat)




 

Create Date : 04 พฤศจิกายน 2561   
Last Update : 4 พฤศจิกายน 2561 15:55:54 น.   
Counter : 3119 Pageviews.  


1  2  

kochaiwat
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 693 คน [?]




เริ่มงานครั้งแรกที่บริษัท UIH (United Information Highway) ซึ่งเป็นบริษัทผู้ให้บริการทางด้านการสื่อสารข้อมูล อาทิเช่น Lease Line, Frame Relay และ MPLS และได้ย้ายไปร่วมงานกับบริษัท dtac โดยได้ทำงานเกี่ยวกับ IP Network (Switch/Router/Firewall/F5-Loadbalancer) รวมถึง MPLS Network และ IPRAN (IP Radio Access Network) ซึ่งเป็น IP Network ที่รองรับ Access ของ Mobile System นอกจากนั้นยังสนใจศึกษาเรื่อง IPv6 Address ที่จะมาใช้แทน IPv4 ที่เราใช้งานอยู่ในปัจจุบัน
แต่ด้วยความชอบในการแบ่งปันความรู้ จึงได้มีโอกาสสอน CCNA อยู่ที่สถาบันแห่งหนึ่งในอาคารฟอร์จูนทาวน์ในวันเสาร์-อาทิตย์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 จนถึง พ.ศ. 2553 รวมเป็นเวลา 4 ปี, หลังจากนั้นในระหว่างที่ทำงานที่ dtac ก็ได้สอนเสาร์-อาทิตย์เรื่อยมา

เคยเป็น Trainer หรือ Instructor อย่างเต็มตัว สอนวิชาต่างๆ ของ Cisco อย่างเป็นทางการ (Authorize Training) ที่บริษัท Training Partner Thailand จนถึง มีนาคม 2014 และได้ตัดสินใจออกมาสอนเอง เพราะด้วยความรักในอาชีพการสอน และต้องการที่จะแบ่งปันความรู้ให้กับบุคคลในระดับกลางและล่างเพื่อส่งเสริมให้ได้มีโอกาสได้เรียน และได้มีโอกาสสมัครงาน แต่ด้วยใจรักในบริษัท Cisco ดังนั้น เมื่อมีโอกาสเข้ามา จึงได้ตัดสินใจหยุดการสอน และได้เข้าไปเป็นพนักงาน หรือทำงานที่บริษัท Cisco Thailand ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2559 (2016) จนถึงปัจจุบัน

ลูกค้าที่เคยมารับการอบรม เช่น
- Lao Telecom Company Ltd
- CAT Telecom
- TOT
- True
- dtac
- CDG Group
- SITA air transport communications and information technology (www.sita.aero/)
- Infonet Thailand
- MultiLink Co., Ltd
- โรงพยาบาลไทยนครินทร์
- และเคยไปเป็นวิทยากรพิเศษที่ มหาวิทยลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ

ปัจจุบัน โก้-ชัยวัฒน์ ได้ผ่านการสอบ:
- Cisco Certified Internetwork Expert (CCIE) No. 51353 และ
- Cisco Certified Systems Instructor (CCSI) ซึ่งเป็น Certificate ที่ออกให้โดย Cisco สำหรับผู้ที่จะเป็นผู้สอน Cisco Certificate อย่างเป็นทางการ และได้รับ CCSI ID: 34784

วิชาที่สามารถได้สอนได้สำหรับ Cisco Certificate ในขณะนี้คือ
- CCNA Routing & Switching
- CCNA Security (IINS)
- CCNP Route & Switch: ROUTE
- CCNP Route & Switch: SWITCH
- CCNP Route & Switch: TSHOOT
- MPLS (IOS)
- MPLS Traffic Engineering (IOS)
- CCNP Service Provider: SPROUTE (OSPF, IS-IS, BGP, Prefix-List, Route-Map and RPL (Routing Policy Language))
- CCNP Service Provider: SPADVROUTE (Advance BGP, Multicast, and IPv6)
- CCNP Service Provider: SPCORE (MPLS, MPLS-TE, QoS)
- CCNP Service Provider: SPEDGE (MPLS-L3VPN, MPLS-L2VPN (AToM and VPLS)
- IPv6

Certification ที่มีอยู่ในปัจจุบัน CCIE# 51353, CCSI# 34784, CCNA Routing & Switching, CCNA Security (IINS), CCNA Design, CCNP Routing & Switching, CCIP, CCNP Service Provider ซึ่งเป็น Certification ของ Cisco product รวมถึง Certification ของสถาบัน EC-Council (www.eccouncil.org) นั่นคือ Certified Ethical Hacker (CEH)

"เป้าหมายมีไว้ให้ไล่ล่า บ้างเหนื่อยล้าบ้างหยุดพัก
ชีวิตแม้ยากนัก แต่เรารักเราไม่ถอย
ชีวิตแม้ต้องคอย จะไม่ปล่อยไปวันๆ
ชิวิตไม่วายพลัน แม้นสักวันต้องได้ชัย"

"แม้ระยะทางจะไกลแค่ไหน แม้ต้องใช้เวลามากเพียงใด
ขอเพียงแค่มีความตั้งใจ เราต้องได้ไปให้ถึงมัน"

ผมจะไม่ยอมทิ้งฝัน แต่จะไล่ล่ามันให้ถึงที่สุด สักวันฝันอาจจะเป็นจริง ถึงจะไปไม่ถึง แต่ผมก็ภูมิใจที่ได้ทำ
==============================
ความรู้ = เมล็ดพืช
ความพยายามในการเรียนรู้ = ปุ๋ย, น้ำ และความใส่ใจที่จะปลูก
สรุปคือ
ยิ่งพยายามเรียนรู้ ยิ่งพยายามศึกษาในเรื่องใดๆ ผลที่ได้คือ จะได้ความรู้ในเรื่องนั้นๆ อย่างลึกซึ้ง เปรียบเสมือนปลูกต้นไม้ด้วยความใส่ใจ ให้น้ำ ให้ปุ๋ย ผลที่ได้ก็คือ ต้นไม้ที่เติบโตอย่างแข็งแรง และผลิดอกและผลที่งดงามให้เราได้ชื่นชม
ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จจะอยู่ที่นั่น หรือที่ไหนก็ช่าง แต่เชื่อเถอะ เราจะได้ผลลัพธ์ที่ดีจากความพยายามนั้นๆ ไม่มากก็น้อย
อยากได้อะไรให้พยายาม แล้วความสำเร็จมันจะเข้ามาหาเอง
ผมเชื่อ และมั่นใจอย่างนั้น
===============================
ตอนนี้ผมได้ไปถึงฝัน (CCIE) แล้ว และสิ่งที่ไม่คาดฝัน คือได้ทำงานที่บริษัท Cisco ซึ่งถือได้ว่าไกลเกินฝัน

กว่าผมจะมาถึงจุดนี้ได้ เกิดจากความตั้งใจ มุ่งมั่น และพยายามอย่างไม่ย่อท้อ ศึกษาหาความรู้ และฝึกฝนตนเองอยู่เสมอ จนกระทั่งประสบความสำเร็จ และผมก็ได้พิสูจน์แล้วว่า ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น ขอเพียงแค่อย่าท้อ อย่าถอย และอย่าหยุด

ผมขอเป็นกำลังใจให้กับทุกคน และขอให้ประสบความสำเร็จดังที่มุ่งหวัง ไม่ว่าท่านจะหวังสิ่งใดก็ตามครับ

ท้ายที่สุด ผมขอฝากข้อคิดในเรื่อง Certificate ไว้สักนิดนะครับ:
*** "CCIE และ Certificate อื่นๆ มีไว้เพื่อทำมาหากิน และมีไว้เพื่อข่มตนไม่ให้เกรียน เพราะความเกรียนจะนำมาซึ่งการเป็นเป้าให้คนที่เค้าหมั่นไส้ยิงเอานะครับ" ***

Facebook: Chaiwat Amornhirunwong
New Comments
[Add kochaiwat's blog to your web]

MY VIP Friends


 
 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com