ความรู้คู่ความก้าวหน้า
 
 

IP Address ฉบับ Advance การคำนวณ Subnet ระดับลึก

  จากบทความที่ผ่านมาเรื่อง IP address ตอนที่ 1 - 6 ที่ท่านได้ติดตามมานั้น เป็นการปูพื้นแบบเทคอนกรีตให้ครับ แต่นั่นก็ยังเป็นพื้นฐานนะครับ เพราะสิ่งที่เราจะเรียนเพิ่มเติมต่อไปนี้ เป็นการเรียนรู้ IP address ขั้นประยุกต์ ซึ่งจะยากขึ้นไปอีกขั้น แต่นี่ไม่ใช่การขู่เพื่อให้หมดกำลังใจนะครับ เพียงแค่ต้องการจะบอกว่า ตั้งใจอ่านดีๆ ครับ เนื่องจากหลายๆ คน จะงงกับ IP address ขั้นประยุกต์นี้ครับ แต่ไม่ต้องห่วงครับ ผมจะพยายามอธิบายให้ท่านทั้งหลายเข้าใจให้จงได้ครับ (หวังว่าจะเป็นเช่นนั้น)

ความรู้พื้นฐานที่ท่านควรจะมีก่อนอ่านบทความนี้
1. Network ID และ Host ID คืออะไร ซึ่งท่านสามารถไปอ่านได้ในบทความก่อนๆ ที่ผมเขียนไปแล้วคือ
IP address ตอนที่ 1 - มารู้จัก IP address ในเชิงเปรียบเทียบกับการส่งจดหมายกัน
IP address ตอนที่ 2 - IP address ก็มีการแบ่งเป็นบ้านเลขที่และเมืองครับ

2. กาำรแปลง IP address จากเลขฐานสิบเป็นเลขฐานสอง และการแปลง IP address จากเลขฐานสองเป็นฐานสิบ โดยลองดูได้จากบทความที่ผมเขียนไว้คือ
IP address ตอนที่ 4 -การแปลงเลขฐานสองกับฐานสิบสำหรับ IP address /ทำไม IP จึงมีค่าตั้งแต่ 0.0.0.0-255.255.255.255?

3. Subnet Mask คืออะไร? โดยลองดูได้จากบทความที่ผมเขียนไว้คือ
IP address ตอนที่ 5 - Subnet Mask คืออะไร ทำไมมี IP ต้องมี Subnet Mask? (Subnet Mask แบบพื้นฐาน)

หมายเหตุ Subnet Mask ขั้นประยุกต์ จะถูกกล่าวรวมอยู่ในหัวข้อ IP address-Advance ตอนใดตอนหนึ่งครับ

4. การแบ่ง Class ให้กับ IP address หรือการจัดกลุ่มให้กับ IP address เพื่อจะนำพาไปสู่การเริ่มต้นใช้ Subnet Mask ให้ตรงกับ IP address เบอร์นั้นๆ โดยลองดูได้จากบทความที่ผมเขียนไว้คือ
IP address ตอนที่ 3 - การแบ่ง Class ให้กับ IP address ขั้นพื้นฐาน (ก่อนครับ)
IP address ตอนที่ 6 - ลึกอีกนิดกับ Class ของ IP และ loopback address (127.0.0.1/localhost)

จากหัวข้อที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด ถ้าท่านมีความรู้อยู่แล้ว หรือเคยอ่านแล้วและแม่นแล้วก็ข้ามไปได้เลยครับ

IP address-Advance ฉบับนายโก้-ชัยวัฒน์ (kochaiwat) คืออะไร?
IP address-Advance ฉบับนายโก้-ชัยวัฒน์ (kochaiwat) คือ การออกแบบและคำนวณ IP address ในเครือข่าย IP โดยมีการแบ่ง Network ID จากระดับ Class (Major Network) ให้เป็น Network ID ระดับย่อยลงมาอีก (เรียกว่า Subnet) เพื่อให้เป็นการใช้งาน IP address อย่างคุ้มค่าที่สุด และเพื่อเป็นการย่อย Broadcast Domain ให้เล็กมาอีก  

-Network ID ระดับ Class เรียกว่า Major Network
-Network ID ย่อย เรียกว่า Subnet (หรือ Sub Network)

ทำไมต้องทำ Network ID ระดับ Class (Major Network) ให้เป็น Network ID ระดับย่อย (Subnet)?

โดยปกติแล้ว Network ID 1 Network ID จะมีจำนวนของ Host ที่เป็นไปได้ ซึ่งอ้างอิงตาม Class ดังนี้
หมายเหตุ Host หมายถึง เครื่อง Computer ที่ใช้งานอยู่ภายใน Network ID นั้นๆ

Class A จะมีจำนวนของ Host ที่เป็นไปได้คือ 16,777,214 host
Class ฺB จะมีจำนวนของ Host ที่เป็นไปได้คือ 65,534 host
Class C จะมีจำนวนของ Host ที่เป็นไปได้คือ 254 host

สำหรับการคำนวณ Subnet ระดับ Advance นั้น จากที่ผมอยากจะเขียนให้ละเอียดนั้น มันเยอะมากๆ จนผมไม่ได้เริ่มสักที เลยเอา VDO ที่ record ไว้ระหว่างสอน มาปล่อยให้ท่านๆ ได้ดู ได้ชมแทนการเขียนบทความ โดยจะสอนละเอียบแบบเอาฝุ่น PM 2.5 มาบดให้เล็กลงไปอีก แต่คุณภาพเสียงไม่ได้ดี แต่ถ้าใช้หูฟัง จะฟังได้นะครับ 
หากสนใจ เข้าไปดูตาม link นี้เลยครับ



Pre CCNA KoChaiwat Vol. 5:
อธิบายพื้นฐาน IP addressing และเรื่องของ Class ต่างๆ

Link VDO:  https://www.youtube.com/watch?v=RAGpKIdAnxw


Pre CCNA KoChaiwat Vol. ุ6:
อธิบายการแบ่ง Subnet ด้วยวิธีพื้นฐาน และวิธีลัด ที่คำนวณ subnet ได้อย่างรวดเร็ว ที่สามารถเอาไปใช้ในการสอบได้ และนำไปใช้ในการทำงานได้ (สามารถประยุกต์กับการคำนวณ IP address ได้ด้วยนิ้วเพียง 8 นิ้ว) VDO นี้จะแบ่งเป็น 2 Part คือ 6-1 กับ 6-2

Part 1 Link VDO: https://www.youtube.com/watch?v=YeAL9vrkEO0&t=695s
Part 2 Link VDO: https://www.youtube.com/watch?v=wCKi8PujazY

โก้-ชัยวัฒน์ (KoChaiwat)




 

Create Date : 14 มีนาคม 2562   
Last Update : 14 มีนาคม 2562 8:49:42 น.   
Counter : 18247 Pageviews.  


หัวใจหลักในการเรียนรู้ Technology

 
 
 
 
หลักในการเรียนการสอนของผมคือ:
 
วิธีในเรียนรู้ network ให้คิดแบบ "Inside-Out" ซึ่งเป็นวิธีที่ผมใช้ในการเรียนรู้ IP network มาตลอด
หากใครมีโอกาสได้ดูการ์ตูน Animation เรื่อง Inside Out แล้ว ท่านจะเข้าใจในสิ่งที่ผมกำลังจะบอก
การเรียนรู้ technology อะไรก็ตาม "ในการคิด หรือวิเคราะห์ technology นั้น จงอย่าทำตัวเป็นคนที่มองไปที่ network diagram หรือมองไปที่ภาพของ network diagram เพราะเราจะเห็นข้อมูลทุกสิ่งทุกอย่างจากภาพนั้นๆ ซึ่งมันจะทำให้เราไม่เข้าใจระบบอย่างแท้จริง แต่ให้คิดว่าถ้าเราเป็นอุปกรณ์ตัวนั้นๆ หรือกำลังนั่งอยู่ภายในอุปกรณ์ตัวนั้นๆ แล้วเราจะเกิดคำถามกับตัวเองขึ้นมาทันทีว่า "เราจะมีวิธีการ ในการเรียนรู้ข้อมูลต่างๆ ใน netowrk ได้อย่างไร" เช่น
- ถ้าเราทำตัวเป็น Router หรือคิดว่าตัวเองกำลังนั่งอยู่ใน Router แล้ว เราจะเกิดคำถามกับตัวเองทันทีว่า "เราจะสามารถเรียนรู้ subnet ต่างๆ ใน network ซึ่งไม่ได้ถูก configure อยู่บน Interface ของเราได้อย่างไร --> คำตอบง่ายๆ ก็คือ การเรียนรู้ข้อมูลต่างๆ จากการแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันกับ Router ตัวที่อยู่ข้างๆ ซึ่งภาษาของอุปกรณ์ที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล เราจะเรียกมันว่า protocol และภาษาแบบเน้นๆ หรือเจาะจง ที่ใช้ในการแลกเปลี่ยน subnet หรือเส้นทางที่จะใช้ในการส่งข้อมูล เราจะเรียกมันว่า routing protocol
และเพราะว่าเรากำลังเป็น Router หรือเรากำลังนั่งอยู่ใน Router ดังนั้น หากมีใครสักคนส่ง IP packet มาหาเราแล้ว เราก็จะเกิดคำถามกับตัวเองว่า เราจะจัดการกับ IP packet นั้นอย่างไร เราจะส่งต่อข้อมูลนั้นออกไปทางไหน ในกรณีที่สามารถส่งออกไปได้หลายทาง
นี่คือแนวทาง หรือวิธีการในการเรียนรู้ network ครับ ท่านอาจจะลองนำไปประยุกต์ใชักับสไตล์ของท่านได้นะครับ
 
ไม่มีข้อความกำกับภาพอัตโนมัติ
ดั่งที่โบาณว่าไว้ "เอาใจอุปกรณ์ มาใส่ใจเรา" ^^
 
โก้-ชัยวัฒน์




 

Create Date : 06 กรกฎาคม 2558   
Last Update : 1 เมษายน 2562 12:21:38 น.   
Counter : 12196 Pageviews.  


IP address ตอนที่ 9 - FLSM VS. VLSM

ก่อนอื่นขอให้เข้าใจคำว่า Classful กับ FLSM (Fixed-Length Subnet Mask) ก่อนนะครับ

FLSM (Fixed-Length Subnet Mask) คือ การ design Subnet โดยที่ Subnet ทั้งหมดจะต้องมี Subnet Mask ที่เหมือนๆ กัน หรือมี Length ของ Prefix ที่ fix หรือไม่มีการเปลี่ยนแปลง

ในสมัยก่อน ตอนที่ IP network ยังไม่เป็นที่นิยมเหมือนในปัจจุบันนี้ และ routing protocol อย่างเช่น RIPv1 และ IGRP ซึ่งเป็น routing protocol ประเภท Classful ยังเป็นที่นิยมใช้ในตอนนั้น
การ design network ในสมัยก่อนตอนที่ใช้ FLSM คู่กับ Classful routing protocol จะเป็นการ design ที่ทุกๆ network จะมี prefix length ที่เท่าๆ กัน หรือเป็นการใช้ subnet mask เดียวกันในทุกๆ จุด

Note: Classful คือ สนใจในเรื่องของ Class ดังนั้น Classful routing protocol ก็คือ routing protocol ที่สนใจในเรื่องของ Class นั่นเอง

การ design ในรูปแบบของ FLSM อย่างเช่น

เราตัดสินใจที่จะเลือกใช้ Major Network ของ Class B คือ 172.16.0.0/16 มาทำการแบ่ง subunet แบบ FLSM ที่มี prefix length คือ /24 (หรือ Subnet Mask 255.255.255.0) เราก็จะใช้ subnet ต่างๆ มากำหนดให้กับ network แต่ละวงดังนี้

----LAN----
172.16.1.0/24 : ใช้กับ LAN ของฝ่าย Engineer มี 220 host
172.16.2.0/24 : ใช้กับ LAN ของฝ่าย HR มี 100 host
172.16.3.0/24 : ใชักับ LAN ของฝ่ายบัญชี มี 80 host

----WAN----
ไม่เว้นแม้แต่ WAN link ที่เป็นแบบ point-to-point ซึ่งใช้ IP address เพียงแค่ 2 เบอร์ ต่อ subnet เท่านั้น
172.16.4.0/24 : WAN Point-to-Point ระหว่าง Router R1 กับ R2
172.16.5.0/24 : WAN Point-to-Point ระหว่าง Router R2 กับ R3
172.16.6.0/24 : WAN Point-to-Point ระหว่าง Router R3 กับ R4

แต่เมื่อการใช้งาน IP network เริ่มเป็นที่นิยมกันมากขึ้นเรื่อยๆ การแบ่ง subnet แบบ FLSM เริ่มจะมีปัญหาทำให้ IP address ไม่พอใช้

ดังนั้น จึงมีเริ่มมีการแบ่ง subnet แบบไม่สนใจว่าจะต้องเป็น prefix เดียวกันทั้ง network อีกต่อไป (ไม่สนใจการ design subnet แบบ FLSM อีกต่อไปแล้ว) และเริ่มหันมาสนใจการ design subnet แบบให้สอดคล้องกับความต้องการใช้งาน IP address จริงๆ จังๆ 

เช่น 
- LAN ที่มีใช้งานไม่เกิน 254 host ก็จะใช้ prefix length /24 (หรือ Subnet Mask 255.255.255.0
- ส่วน WAN ที่มีการใช้ IP address เพียงแค่ 2 เบอร์เท่านั้น ก็จะใช้ prefix length /30 (หรือ Subnet Mask 255.255.255.252

ซึ่งเราจะเรียกการ design subnet ที่ไม่สนใจว่า จะต้องใช้ prefix length แบบเดียวกันทั้ง network นี้ว่า VLSM

VLSM (Variable-Lngth Subnet Mask) ซึ่งก็คือ Subnet Mask ที่มี Length ของ Prefix ที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้

Note:
- VLSM จะใช้คู่กับ Classless routing protocol
- Classless คือ ไม่สนใจในเรื่องของ Class ดังนั้น Classless routing protocol ก็คือ routing protocol ที่ไม่สนใจในเรื่องของ Class นั่นเอง

การ design ในรูปแบบของ VLSM อย่างเช่น

----LAN----
172.16.1.0/24 : ใช้กับ LAN ของฝ่าย Engineer มี 220 host
172.16.2.0/25 : ใช้กับ LAN ของฝ่าย HR มี 100 host
172.16.2.128/25 : ใชักับ LAN ของฝ่ายบัญชี มี 80 host

----WAN----
172.16.3.0/30 : WAN Point-to-Point ระหว่าง Router R1 กับ R2
172.16.3.4/30 : WAN Point-to-Point ระหว่าง Router R2 กับ R3
172.16.3.8/30 : WAN Point-to-Point ระหว่าง Router R3 กับ R4

และจำไว้ว่าการ design Subnet แบบ VLSM นั้น เราจะต้องใช้คู่กับ Classless routing protocol เท่านั้นนะครับ อย่างเช่น RIPv2, OSPF, และ EIGRP เป็นต้น

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเรื่อง FLSM, VLSM, Classful และ Classless routing protocol ท่านสามารถไปศึกษาเพิ่มเติมได้ตาม link นี้ครับ


==============================================
เสริมให้อีกหน่อยครับ
หากเราอยากรู้ว่า subnet mask อะไร หรือ prefix อะไร รองรับจำนวน IP address ที่สามารถ assign ให้กับ host ได้เท่าไหร่
ให้เอา 2 ยกกำลังจำนวน bit ที่เป็น host แล้ว ลบออกด้วย 2

2^bit_host - 2

เช่น 
/27 หรือ 255.255.255.224 
ดังนั้น bit ที่เป็น host = 5 bit (/32 - /27 = 5 bit) ดังนั้นจะได้ว่า จำนวน host ที่เป็นไปได้ หรือจำนวน IP address ที่สามารถ setup ให้กับ host ได้ จะมีจำนวนเท่ากับ:

2^5 - 2 = 32 - 2 = 30 IP address หรือ 30 host

ยกกำลัง เมื่่อ 2 คือ ความน่าจะเป็น มี 2 ค่า คือ ไม่ 0 ก็ 1 จากเลขฐาน 2

ลบออกด้วย 2 คือ Network Address และอีกหนึ่ง address คือ Broadcast Address
- Network Address ซึ่งเป็น address เบอร์แรกของ range ที่มี bit ของ host เป็น 0 ทั้งหมด
- Broadcast Address คือ address เบอร์สุดท้ายของ range ที่มี bit ของ host เป็น 1 ทั้งหมดทุก bit

โดยทั้ง Network Address และ Broadcast Address จะไม่สามารถ assign ให้กับ host ได้เลย ถ้าอยากรู้ ลองกำหนด address ทั้ง 2 เบอร์นี้บน Windows สิ แล้วมันฟ้องว่า

ตึ๊ง!!!! "Address ที่นายใช้อยู่มันใช้ไม่ได้นะจ๊ะ"
หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ท่านที่สับสนกับ address เหล่านี้ได้เคลียร์บ้างไม่มากก็น้อยนะครับ

ขอบคุณครับ
โก้-ชัยวัฒน์ (KoChaiwat)




 

Create Date : 23 เมษายน 2558   
Last Update : 2 สิงหาคม 2558 8:35:22 น.   
Counter : 18553 Pageviews.  


IP address ตอนที่ 8 - สรุปหลักของ IPv4 address และ Bits to Borrow

บทความนี้เป็นการสรุปหลักการของIPv4 address โดยจะใช้ตัวแปรแทน IPv4 address จริงเพื่อให้เรียนรู้แบบยืดหยุ่นในลักษณะ และหลักการของมัน

----------------------------------------------------------

ก่อนที่ท่านจะอ่านบทความนี้ท่านควรมีความเข้าใจเรื่อง Class ของ IPv4 address มาแล้ว แต่หากท่านไม่ทราบ ท่านสามารถเข้าไปอ่านเรื่อง Class ของ IPv4 ได้ตาม link ข้างล่างนี้ครับ:

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=likecisco&date=20-08-2011&group=1&gblog=9

-----------------------------------------------------------

เมื่อ IP address คือ A.B.C.D/X

1. /X เมื่อ X คือ bit ที่เป็น network

2. Bit ที่เป็น host = 32 – X = Y (เพราะ IP address มี 32 bits)

3. IP address ทั้งหมดที่มี X bit ที่เหมือนกัน (หรือ bit ที่เป็น network ที่เหมือนกัน) จะอยู่ใน network ID หรือ subnetID เดียวกัน

4. Bits to borrow จะเป็น bit ของ host ที่ขอยืมมาใช้เป็น bit ของ Sub-network ID โดยอิงจาก class เป็นหลัก

ตัวอย่างเช่น

10.B.C.D/24 นั่นคือ
    - Major Network: 10.0.0.0/8
    - Subnet: 10.B.C.D/24 (Subnet ของ Class A)
    - Bits to borrow: /24 – /8 = 16

-172.16.C.D/24 นั่นคือ

  - Major Network: 172.16.0.0/16
  - Subnet: 172.16.C.D/24 (Subnet ของ Class B)
  - Bits to borrow: /24 – /16 = 8


-192.168.1.D/27 นั่นคือ
  - Major Network: 192.168.1.0/24
  - Subnet: 192.168.1.D/27 (Subnet ของ Class C)
  - Bits to borrow: /27 – /24 = 3

5. อ้างอิงต่อจากหัวข้อที่ 2 ที่ว่า "Bit ที่เป็น host =
32 – X = Y (เพราะ IP address มี 32 bits)"
IP Address ที่มี
Y bits (bitที่เป็น host) เท่ากับ “0 (ศูนย์ ทั้งหมดทุกๆ bit จะหมายถึง IP Address เบอร์นั้นๆ เป็น NetworkID หรือ Network Address (เป็น IP Address เบอร์แรกสุดของ range)

6. IP address ที่มี Y bits (bit ที่เป็น host) เท่ากับ “1” ทั้งหมดทุกๆ bit จะหมายถึง IP address เบอร์นั้นเป็น Broadcast Address (เป็น IP Address เบอร์สุดท้ายของ range)


        สำหรับเรื่อง Network Address กับ Broadcast Address คืออะไรนั้น ท่านสามารถไปดูได้ตาม link นี้ครับ  

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=likecisco&month=06-08-2014&group=1&gblog=12

โก้-ชัยวัฒน์




 

Create Date : 05 เมษายน 2558   
Last Update : 24 เมษายน 2558 12:00:11 น.   
Counter : 8297 Pageviews.  


IP address ตอนที่ 7 - IPv4 Address ที่ถูกจองเอาไว้



บทความ CCNA นี้ ผมคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับหลายๆ ท่านนะครับ

สำหรับท่านใดที่ยังไม่แม่นในเรื่อง Class A, B และ C ของ IP address ท่านสามารถเข้าไปศึกษาตาม link นี้ ได้ก่อน แล้วค่อยกลับมาที่ page นี้นะครับ
หัวข้อ: IP address ตอนที่ 6 - ลึกอีกนิดกับ Class ของ IP และ loopback address (127.0.0.1/localhost)

IPv4 address ที่ถูกจองเอาไว้ไม่ให้นำมากำหนดให้กับ device หรืออุปกรณ์ในเครือข่าย มีดังนี้:
- Network address
- Directed broadcast address
- Local broadcast address (255.255.255.255)
- Local loopback address (127.0.0.1)
- All zeros address (0.0.0.0)

- Network Address:
Network address เป็นวิธีการที่เป็นมาตรฐานในการอ้างอิงถึง network โดย IP address ที่มีตำแหน่งของ host bit เป็นเลขฐานสอง 0 หมดทุก bit จะถูกจองไว้สำหรับให้เป็น network address

ตัวอย่าง network address ใน Class A
ใน network ของ Class A จะเน้นที่ 8 bit แรกเป็น network และ 24 bit หลังเป็น host เช่น 
20.X.X.X00010100.xxxxxxxx.xxxxxxxx.xxxxxxxx 
โดย 
- 20 หรือ 00010100 จะอยู่ในตำแหน่งของ network
- X.X.X หรือ .xxxxxxxx.xxxxxxxx.xxxxxxxx จะอยู่ในตำแหน่งของ host 
เมื่อ x = 0 หรือ 1 และ X = 0 ถึง 255

ดังนั้น 20.0.0.0 หรือ 00010100.00000000.00000000.00000000 ซึ่งเป็น IP address เบอร์แรกของ range จะเป็น network address ที่มี host ได้ตั้งแต่ 20.0.0.1 ไปจนถึง 20.255.255.254 (สำหรับ 20.255.255.255 หรือ IP address เบอร์สุดท้ายของ range จะเป็น Directed broadcast address ซึ่งจะกล่าวในลำดับถัดไปครับ) โดย host ทุกๆ host ที่อยู่ใน network 20.0.0.0  จะต้องมี network bit ที่เหมือนๆ กันทั้งหมด นั่นคือ host ทุกๆ host จะต้องมี 8 bit แรกที่เหมือนกัน คือ 00010100 

ตัวอย่าง network address ใน Class ฺB เช่น 172.16.0.0 (16 bit แรกเป็น network bit และ 16 bit หลังเป็น host bit)
ตัวอย่าง network address ใน Class C เช่น 192.168.1.0 (24 bit แรกเป็น network bit และ 8 bit หลังเป็น host bit)

Network IP address นี้จะเป็น address ที่อยู่ใน IP routing table ของ router โดยเมื่อ router ได้รับ IP packet มา มันจะเข้าไปตรวจสอบ destination IP address ที่อยู่ใน IP header แล้วนำมาเปรียบเที่ยบกับ network address ที่อยู่ใน IP routing table ของมัน ว่า destination IP address นั้น match กับ network address ไหนมากที่สุด และจะ forward IP packet นั้นออกไปบน interface ที่สอดคล้องกับ network address นั้นๆ  

- Directed Broadcast Address:
Broadcast IP address ของ network เป็น address ที่พิเศษ (special address) สำหรับ network แต่ละ network ที่จะทำให้สามารถสื่อสารไปยัง host ทุกๆ host ที่อยู่ภายใน network เดียวกันได้ ซึ่งในการส่งข้อมูลไปยัง host ทุกๆ host ที่อยู่ใน network เดียวกันนั้น, host จะสามารถส่ง packet เพียงแค่ packet เดียวได้ ซึ่งเป็น packet ที่ถูกระบุ destination address เป็น broadcast address ของ network โดย broadcast address จะเป็น address สูงสุด หรือเป็น address เบอร์สุดท้ายของ range ซึ่งก็คือ IP address ที่มีตำแหน่งของ host bit เป็น 1 ทั้งหมดทุกๆ bit นั่นเอง

ตัวอย่าง broadcast address ใน Class A (8 bit แรกเป็น network bit และ 24 bit หลังเป็น host bit)
เช่นใน network 20.X.X.X หรือ 00010100.xxxxxxxx.xxxxxxxx.xxxxxxxx จะมี broadcast address คือ 20.255.255.255 หรือ 00010100.11111111.11111111.11111111
ซึ่ง address ที่มีตำแหน่งของ host bit เป็น 1 ทั้งหมดทุกๆ bit นี้จะถูกอ้างถึงเป็น directed broadcast address

ตัวอย่าง broadcast address ใน Class ฺB เช่น 172.16.255.255 (16 bit แรกเป็น network bit และ 16 bit หลังเป็น host bit)
ตัวอย่าง broadcast address ใน Class C เช่น 192.168.1.255 (24 bit แรกเป็น network bit และ 8 bit หลังเป็น host bit)

Directed broadcast address สามารถที่จะถูก route ได้ แต่การ routing directed broadcast ไม่ได้เป็นพฤติกรรมที่เป็น default
ซึ่งผมขอขยายความเพิ่มดังนี้ครับ
โดยปกติแล้ว router จะไม่ forward IP packet ที่มี destination address เป็น broadcast address (เพราะ router เกิดมาเพื่อแบ่ง broadcast domain) แต่หากเราต้องการให้ router ทำการ forward หรือทำการส่งผ่าน IP packet ที่มี destination เป็น directed broadcast address ไปยัง subnet ปลายทางแล้ว ก็สามารถที่จะทำได้ แต่ต้องไป manual configure ด้วย command "ip directed-broadcast" บน interface ของ router เองโดยเฉพาะนะครับ 

ตัวอย่างการ enable IP Directed Broadcast บน Interface ของ router เพื่อให้ router ยอม forward IP packet ที่มี destination address เป็น directed broadcast address

1. ตรวจสอบค่า default ของ router เกี่ยวกับ feature "IP Directed Broadcast"

R2#show ip interface fa0/1 | include Directed broadcast
  Directed broadcast forwarding is disabled
R2#

ซึ่งจะพบว่า feature "IP Directed Broadcast" ถูก disable อยู่ โดย default นั่นก็หมายความว่า โดย default แล้ว router ตัวนี้จะไม่ forward directed broadcast IP packet

2. Enable feature "IP Directed Broadcast" บน interface ของ router

R2#conf t
R2(config)#interface FastEthernet 0/1
R2(config-if)#ip directed-broadcast
R2(config-if)#end
R2#

3. ตรวจสอบ feature "IP Directed Broadcast" บน interface ของ router อีกครั้งหนึ่ง

R2#show ip interface fa0/1 | include Directed broadcast
  Directed broadcast forwarding is enabled
R2#

สำหรับวิธีการทดสอบอย่างละเอียดนั้น ถ้าผมพอมีเวลา จะเขียนให้ในหัวข้อใหม่นะครับ แต่ในเบื้องต้น หากใครต้องการทดสอบด้วยตัวเองแล้ว แนะนำให้ทำการ debug หรือ capture packet ดูนะครับ เพราะถ้ายังไม่ได้ enable feature "IP Directed Broadcast" แล้ว เวลาคุณ ping ไป (เช่น ping 20.255.255.255) แล้ว คุณอาจจะได้รับการ reply กลับ แต่ไม่ได้จากวงของ directed broadcast นั้นๆ โดยตรงนะครับ เพราะ router ที่ reply กลับมาหาคุณจะเป็น connected router ที่ต่อโดยตรงกับคุณแทน (มันทำตัวเป็น proxy) ดังนั้นเพื่อให้แน่ใจว่าคุณได้รับ reply จาก destination ที่เป็น directed broadcast วงนั้นจริง ขอให้ debug หรือไม่ก็ capture packet นะครับ

- Local ฺBroadcast Address (255.255.255.255):
ถ้าอุปกรณ์ IP ต้องการที่จะสื่อสารกับอุปกรณ์ทั้งหมดที่อยู่บน local network (บน LAN วงเดียวกัน) มันจะทำการ set destination address ให้เป็น bit 1 ทั้งหมดทุกๆ bit (255.255.255.255) และจากนั้นจึงส่ง packet ออกไป 

ตัวอย่างเช่น host ที่ไม่รู้จัก หมายเลข network ของพวกมันเอง และมันกำลังถามหา server อยู่ มันจะใช้ destination address เป็น 255.255.255.255 เช่น client ที่ยังไม่มี IP address ต้องการร้องขอ IP address จาก DHCP server มันจะส่ง DHCP Discover และ Request message ไปยัง DHCP Server ด้วย destination address ที่เป็นแบบ local broadcast address (255.255.255.255) ดังภาพตัวอย่างข้างล่าง

ภาพแสดงถึง "Client พยายามส่ง DHCP message เพื่อร้องขอ IP address จาก DHCP server"




Local broadcast address จะไม่สามารถถูก route ได้ 
ซึ่งผมขอขยายความเพิ่มดังนี้ครับ
โดยปกติแล้ว router จะไม่ forward IP packet ที่มี destination address เป็น broadcast address  (เพราะ router เกิดมาเพื่อแบ่ง broadcast domain)
และโดยเฉพาะสำหรับ Local Broadcast Address แล้วนั้น, router จะไม่ forward IP packet ที่มี destination 255.255.255.255 ข้ามผ่านตัวมันไปยัง destination subnet ใดๆ อย่างเด็ดขาด มิฉนั้้นแล้ว เราจะมี router ไปเพื่ออะไร?

สรุปข้อแตกต่างระหว่าง Directed Broadcast กับ Local Broadcast Address:

- สำหรับ Directed Broadcast Address นั้น client จะรู้ว่าตนเองอยู่ใน network หมายเลขอะไร และ address ประเภทนี้สามารถที่จะถูก route ได้
- สำหรับ Local Broadcast Address นั้น client จะไม่รู้ว่าตนเองอยู่ใน network หมายเลขอะไร และ address ประเภทนี้จะไม่สามารถถูก route ได้

- Local Loopback Address (127.0.0.1):
Local Loopback Address ถูกใช้เพื่อที่จะให้ system ทำการส่ง message ไปยังตัวของมันเอง เพื่อที่จะทำการ testing โดย loopback address จะสร้างวิธีลัด (shortcut method) สำหรับ TCP/IP application และ services ที่ run อยู่บน device ตัวเดียวกัน เพื่อที่จะสื่อสารซื่งกันและกัน ซึ่งโดยปกติแล้ว local loopback address จะเป็น 127.0.0.1 

ตัวอย่างเช่น Web Server และ Web Client run อยู่บน device ตัวเดียวกัน จากนั้นให้ทำการเปิด web browser (เช่น Internet Explorer) แล้วกรอก URL คือ "https://127.0.0.1" เป็นต้น

- All Zeros Address (0.0.0.0):
Address 0.0.0.0 แสดงให้เห็นถึง host ที่อยู่ใน network นี้ และ address นี้จะถูกใช้เป็น source address เท่านั้น

ตัวอย่างเช่น ในช่วงของการร้องขอ IP address นั้น client จะทำการกำหนด source IP address ของมันเป็น 0.0.0.0 ไปก่อนบน DHCP Discover และ Request message จนกว่ามันจะได้ IP address ที่สามารถใช้งานได้จริง ดังตัวอย่างในภาพข้างบน ที่แสดงถึง "Client พยายามส่ง DHCP message เพื่อร้องขอ IP address จาก DHCP server"

==============================================
เสริมให้อีกหน่อยครับ

หากเราอยากรู้ว่า subnet mask อะไร หรือ prefix อะไร รองรับจำนวน IP address ที่สามารถ assign ให้กับ host ได้เท่าไหร่
ให้เอา 2 ยกกำลังจำนวน bit ที่เป็น host แล้ว ลบออกด้วย 2

2^bit_host - 2

เช่น 
/27 หรือ 255.255.255.224 
ดังนั้น bit ที่เป็น host = 5 bit (/32 - /27 = 5 bit) ดังนั้นจะได้ว่า จำนวน host ที่เป็นไปได้ หรือจำนวน IP address ที่สามารถ setup ให้กับ host ได้ จะมีจำนวนเท่ากับ:

2^5 - 2 = 32 - 2 = 30 IP address หรือ 30 host

ยกกำลัง เมื่่อ 2 คือ ความน่าจะเป็น มี 2 ค่า คือ ไม่ 0 ก็ 1 จากเลขฐาน 2

ลบออกด้วย 2 คือ Network Address และอีกหนึ่ง address คือ Broadcast Address
- Network Address ซึ่งเป็น address เบอร์แรกของ range ที่มี bit ของ host เป็น 0 ทั้งหมด
- Broadcast Address คือ address เบอร์สุดท้ายของ range ที่มี bit ของ host เป็น 1 ทั้งหมดทุก bit

โดยทั้ง Network Address และ Broadcast Address จะไม่สามารถ assign ให้กับ host ได้เลย ถ้าอยากรู้ ลองกำหนด address ทั้ง 2 เบอร์นี้บน Windows สิ แล้วมันฟ้องว่า

ตึ๊ง!!!! "Address ที่นายใช้อยู่มันใช้ไม่ได้นะจ๊ะ"

สำหรับการแบ่ง subnet ด้วยหลักการของ Bit to Borrow ท่านสามารถไปอ่านได้ตาม link นี้ครับ


หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ท่านที่สับสนกับ address เหล่านี้ได้เคลียร์บ้างไม่มากก็น้อยนะครับ

ขอบคุณครับ
โก้-ชัยวัฒน์ (KoChaiwat)




 

Create Date : 06 สิงหาคม 2557   
Last Update : 26 มีนาคม 2561 9:38:24 น.   
Counter : 18429 Pageviews.  


1  2  3  

kochaiwat
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 693 คน [?]




เริ่มงานครั้งแรกที่บริษัท UIH (United Information Highway) ซึ่งเป็นบริษัทผู้ให้บริการทางด้านการสื่อสารข้อมูล อาทิเช่น Lease Line, Frame Relay และ MPLS และได้ย้ายไปร่วมงานกับบริษัท dtac โดยได้ทำงานเกี่ยวกับ IP Network (Switch/Router/Firewall/F5-Loadbalancer) รวมถึง MPLS Network และ IPRAN (IP Radio Access Network) ซึ่งเป็น IP Network ที่รองรับ Access ของ Mobile System นอกจากนั้นยังสนใจศึกษาเรื่อง IPv6 Address ที่จะมาใช้แทน IPv4 ที่เราใช้งานอยู่ในปัจจุบัน
แต่ด้วยความชอบในการแบ่งปันความรู้ จึงได้มีโอกาสสอน CCNA อยู่ที่สถาบันแห่งหนึ่งในอาคารฟอร์จูนทาวน์ในวันเสาร์-อาทิตย์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 จนถึง พ.ศ. 2553 รวมเป็นเวลา 4 ปี, หลังจากนั้นในระหว่างที่ทำงานที่ dtac ก็ได้สอนเสาร์-อาทิตย์เรื่อยมา

เคยเป็น Trainer หรือ Instructor อย่างเต็มตัว สอนวิชาต่างๆ ของ Cisco อย่างเป็นทางการ (Authorize Training) ที่บริษัท Training Partner Thailand จนถึง มีนาคม 2014 และได้ตัดสินใจออกมาสอนเอง เพราะด้วยความรักในอาชีพการสอน และต้องการที่จะแบ่งปันความรู้ให้กับบุคคลในระดับกลางและล่างเพื่อส่งเสริมให้ได้มีโอกาสได้เรียน และได้มีโอกาสสมัครงาน แต่ด้วยใจรักในบริษัท Cisco ดังนั้น เมื่อมีโอกาสเข้ามา จึงได้ตัดสินใจหยุดการสอน และได้เข้าไปเป็นพนักงาน หรือทำงานที่บริษัท Cisco Thailand ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2559 (2016) จนถึงปัจจุบัน

ลูกค้าที่เคยมารับการอบรม เช่น
- Lao Telecom Company Ltd
- CAT Telecom
- TOT
- True
- dtac
- CDG Group
- SITA air transport communications and information technology (www.sita.aero/)
- Infonet Thailand
- MultiLink Co., Ltd
- โรงพยาบาลไทยนครินทร์
- และเคยไปเป็นวิทยากรพิเศษที่ มหาวิทยลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ

ปัจจุบัน โก้-ชัยวัฒน์ ได้ผ่านการสอบ:
- Cisco Certified Internetwork Expert (CCIE) No. 51353 และ
- Cisco Certified Systems Instructor (CCSI) ซึ่งเป็น Certificate ที่ออกให้โดย Cisco สำหรับผู้ที่จะเป็นผู้สอน Cisco Certificate อย่างเป็นทางการ และได้รับ CCSI ID: 34784

วิชาที่สามารถได้สอนได้สำหรับ Cisco Certificate ในขณะนี้คือ
- CCNA Routing & Switching
- CCNA Security (IINS)
- CCNP Route & Switch: ROUTE
- CCNP Route & Switch: SWITCH
- CCNP Route & Switch: TSHOOT
- MPLS (IOS)
- MPLS Traffic Engineering (IOS)
- CCNP Service Provider: SPROUTE (OSPF, IS-IS, BGP, Prefix-List, Route-Map and RPL (Routing Policy Language))
- CCNP Service Provider: SPADVROUTE (Advance BGP, Multicast, and IPv6)
- CCNP Service Provider: SPCORE (MPLS, MPLS-TE, QoS)
- CCNP Service Provider: SPEDGE (MPLS-L3VPN, MPLS-L2VPN (AToM and VPLS)
- IPv6

Certification ที่มีอยู่ในปัจจุบัน CCIE# 51353, CCSI# 34784, CCNA Routing & Switching, CCNA Security (IINS), CCNA Design, CCNP Routing & Switching, CCIP, CCNP Service Provider ซึ่งเป็น Certification ของ Cisco product รวมถึง Certification ของสถาบัน EC-Council (www.eccouncil.org) นั่นคือ Certified Ethical Hacker (CEH)

"เป้าหมายมีไว้ให้ไล่ล่า บ้างเหนื่อยล้าบ้างหยุดพัก
ชีวิตแม้ยากนัก แต่เรารักเราไม่ถอย
ชีวิตแม้ต้องคอย จะไม่ปล่อยไปวันๆ
ชิวิตไม่วายพลัน แม้นสักวันต้องได้ชัย"

"แม้ระยะทางจะไกลแค่ไหน แม้ต้องใช้เวลามากเพียงใด
ขอเพียงแค่มีความตั้งใจ เราต้องได้ไปให้ถึงมัน"

ผมจะไม่ยอมทิ้งฝัน แต่จะไล่ล่ามันให้ถึงที่สุด สักวันฝันอาจจะเป็นจริง ถึงจะไปไม่ถึง แต่ผมก็ภูมิใจที่ได้ทำ
==============================
ความรู้ = เมล็ดพืช
ความพยายามในการเรียนรู้ = ปุ๋ย, น้ำ และความใส่ใจที่จะปลูก
สรุปคือ
ยิ่งพยายามเรียนรู้ ยิ่งพยายามศึกษาในเรื่องใดๆ ผลที่ได้คือ จะได้ความรู้ในเรื่องนั้นๆ อย่างลึกซึ้ง เปรียบเสมือนปลูกต้นไม้ด้วยความใส่ใจ ให้น้ำ ให้ปุ๋ย ผลที่ได้ก็คือ ต้นไม้ที่เติบโตอย่างแข็งแรง และผลิดอกและผลที่งดงามให้เราได้ชื่นชม
ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จจะอยู่ที่นั่น หรือที่ไหนก็ช่าง แต่เชื่อเถอะ เราจะได้ผลลัพธ์ที่ดีจากความพยายามนั้นๆ ไม่มากก็น้อย
อยากได้อะไรให้พยายาม แล้วความสำเร็จมันจะเข้ามาหาเอง
ผมเชื่อ และมั่นใจอย่างนั้น
===============================
ตอนนี้ผมได้ไปถึงฝัน (CCIE) แล้ว และสิ่งที่ไม่คาดฝัน คือได้ทำงานที่บริษัท Cisco ซึ่งถือได้ว่าไกลเกินฝัน

กว่าผมจะมาถึงจุดนี้ได้ เกิดจากความตั้งใจ มุ่งมั่น และพยายามอย่างไม่ย่อท้อ ศึกษาหาความรู้ และฝึกฝนตนเองอยู่เสมอ จนกระทั่งประสบความสำเร็จ และผมก็ได้พิสูจน์แล้วว่า ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น ขอเพียงแค่อย่าท้อ อย่าถอย และอย่าหยุด

ผมขอเป็นกำลังใจให้กับทุกคน และขอให้ประสบความสำเร็จดังที่มุ่งหวัง ไม่ว่าท่านจะหวังสิ่งใดก็ตามครับ

ท้ายที่สุด ผมขอฝากข้อคิดในเรื่อง Certificate ไว้สักนิดนะครับ:
*** "CCIE และ Certificate อื่นๆ มีไว้เพื่อทำมาหากิน และมีไว้เพื่อข่มตนไม่ให้เกรียน เพราะความเกรียนจะนำมาซึ่งการเป็นเป้าให้คนที่เค้าหมั่นไส้ยิงเอานะครับ" ***

Facebook: Chaiwat Amornhirunwong
New Comments
[Add kochaiwat's blog to your web]

MY VIP Friends


 
 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com